start

Action unknown: copypageplugin__copy

ถาม: ผู้ปฏิบัติธรรมตามปริยัติ ปฏิบัติกันอย่างไร?

ตอบ: ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้งทรงจำพระไตรปิฎกอย่างคล่องปากขึ้นใจ มุขปาฐะสืบๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่น อาจารย์กรรมฐานของวัด @pa-auk เป็นต้น นั้น:

ท่องจำกรรมฐานอย่างย่อจากปากพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้

  1. ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
  2. ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
  3. ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
  4. วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
  5. อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
  6. อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)

นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 

ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปรับกรรมฐานเพิ่มให้ละเอียดขึ้นๆ 

ถ้าจะศึกษาเอง ไม่กลัวว่าจะตายก่อนบรรลุ และไม่สามารถหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติข้างต้นได้เลย:

พระอรรถกถาจารย์ให้เริ่มที่ท่องจำขุททกปาฐะบาลีและแปล ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ในปฐมสังคายนาล้วนพากันไปฟังคำอธิบายธรรมะจากพระสารีบุตรกันทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงต้องท่องจำมาติกาปฏิสัมภิทามรรคและมาติกาสุตมยญาณ มหาสติปัฏฐานสูตร  อภิธัมมมาติกา เนตติปกรณ์สังคหะ-อุทเทส-นิทเทส ในกรณีพระภิกษุ เพิ่มปาติโมกขอุทเทส และการท่องจำตามหลักสูตรนิสสยมุจจกะเข้าไปด้วย.

ท่องจำทั้งหมดนั่นด้วยความเคารพดุจที่ทำกับพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้

  1. ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
  2. ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
  3. ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
  4. วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
  5. อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
  6. อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)

นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 

ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปดูส่วนของนิทเทสหรืออรรถกถาของเรื่องนั้นๆ เพิ่ม.

ในภิกษุนั้น จะมีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติพร้อมหรือไม่มีก็ตาม จะต้องทำตามหลักสูตรภิกขุนิสสยมุจจกะให้แตกฉาน ไม่เช่นนั้นมีอาบัติทุกคืนเมื่ออยู่ปราศจากอุปัชฌาย์ผู้มีคุณสมบัติภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ. นี้สำหรับวิปัสสนาธุระ ตามจักขุปาลัตเถรวัตถุกล่าวไว้ คือ มีพรรษา 5 พ้นนิสสัยจากอาจารย์แล้ว พระจักขุปาละก็เลือกไปทำวิปัสสนาต่อ โดยมีคุณสมบัติของนิสสยมุจจกะติดตัวไป.

ส่วนคันถธุระนั้น ตาม วินย.อ. นั้น เหมาะสำหรับพระอรหันต์ (ในฏีกาแปลอย่างนี้ แต่คำว่าขีณาสพ ที่ใช้ทั่วไปสามารถหย่อนลงมาได้ถึงพระโสดาบัน) หรืออย่างน้อยที่สุดแม้กัลยาณปุถุชนผู้ที่ทำองค์ของนิสสยมุจจกะครบแล้ว ก็มาทำคันถธุระในหลักสูตรภิกขุปริสูปัฏฐาปกะและภิกขุโนวาทกะต่อ.