How I did change myself from a reader to a practitioner
วิธีทำความเข้าใจสายพะอ็อคตอยะ
All I wrote below are hacked method for a person who doubt in ven. Pa-Auk's teaching to stop their CetoKhila(rm.r.9.145) in the tipitaka-memorizer, six time reading, like ven. Pa-Auk tawya and get back to meditate follow him, so the best way to understand ven. Pa-Auk tawya still be "doing follow him directly, start with the jhana-meditation" and this hacked method is only a choice for the poor wholesome-mind-power like me.
สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้เป็นเพียงวิธีอ้อมๆ สำหรับแก้เจโตขิล(th.r.9.145)กิเลสที่ฉุดจิตไม่ให้พัฒนาของคนที่ลังเลสงสัยในคำสอนพะอ็อคตอยะ ผู้ซึ่งชำนาญกรรมฐานทุกกองและทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอรรถกถาบาลีถึง 6 รอบ เพื่อให้ผู้ที่ปรามาสท่านไว้มีทางกลับมาปฏิบัติตามท่านได้, ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด ยังคงเป็นการทิ้งความรู้ความเข้าใจเดิมๆให้หมด แล้วทุ่มเทปฏิบัติตามคำสอนของท่านโดยไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งสิ้น.
Every sutta below must be memorized every character in Pali form with deep understood follow ์Netti cannon's rule such as PubbaparaSandhi (context's relativity), etc. and the hacker must meditate all 40 meditations follow tipitaka before, no exception because you are doubt in the tipitaka memorizer. You need to act like him every step to understand him.
Let's go…
ผู้ที่จะทำความเข้าใจพะอ็อคตอยะ จะต้องทรงจำพระสูตรและอรรถกถาที่อ้างอิงถึงทั้งหมดเป็นภาษาบาลีที่เชื่อมโยงตามหลักเนตติปกรณ์ทุกๆอักขระเท่านั้น เช่น หลัก ปุพพาปรสนธิ เป้นต้น และจะต้องเคยทำกรรมฐานทุกกอง ทั้ง 40 กอง ในพระไตรปิฎกมาแล้วอย่างชำนาญ. ที่ต้องทำทุกอย่างไม่มีข้องดเว้นให้ เพราะผู้ที่สงสัยพะอ็อคตอยะกำลังสงสัยในผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีพร้อมทั้งอรรถกถาบาลี ฉะนั้น คุณต้องทำให้ได้แบบท่านทุกๆ อย่าง จึงจะสามารถเข้าใจวิธีคิดของท่านได้โดยที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด (ถ้าผิดพลาดปุ๊ป ก็มีโอกาสเป็นอริยุปวาทะ เป็นเจโตขีละ ได้ทันที).
All autocracy, democracy, and righteousnessy could be right or wrong depending on the doer's mind moments, wholesome is right, unwholesome is wrong.
อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธัมมาธิปไตย สามารถจะผิดก็ได้ จะถูกก็ได้ ขึ้นอยู่กับขณะจิตล้านๆ ครั้งของผู้ที่ทำว่า เป็นกุศลทั้งหมดหรือไม่ หรือมีอกุศลเกิดแทรกโดยไม่รู้ตัว?
However the ordinaries normally often decide right as wrong and wrong as right because of clinging on view (ditthi-upadana), such as thinking about 'what I am answer must be right, others' must be wrong', etc. This always happen because of no virtues/moral (sila), no 8 jhana (samadhi), and no 8 knowledges(8 vijja) according to DN1 BrahmajalaSutta, DN 2 SamannaphalaSutta, DN 10 SubhaSutta, and DN 15 MahanidanaSutta.
อย่างไรก็ตาม, ปุถุชนปกติมักจะตัดสินถูกเป็นผิด ตัดสินผิดเป็นถูก เพราะยังมีทิฏฐุปาทาน ศีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทานอยู่ เช่น ปุถุชนชอบคิด (โดยไม่รู้ตัวว่า) ว่า "ฉันคนเดียวพูดถูกเท่านั้น คนอื่นหน่ะพูดผิดทั้งนั้นแหละ" เป็นต้น ซึ่งไม่ตรงตามสภาวะจริงที่เกิดขึ้นมากมายมหาศาล เพราะเหมารวมสิ่งที่ต่างกันยิบย่อบให้เป็นเหมือนกันหมดว่า "ทั้งหมดนี่ผิด ทั้งหมดนี่ถูก". สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในปุถุชนตลอดเวลา เพราะเขาไม่มี ศีล ไม่มีสมาบัติ 8 ไม่มีวิชชา 8 ตามที่ท่านอธิบายไว้ใน ที.พรหมชาลสูตร, ที.สามัญญผลสูตร, ที.สุภสูตร, ที. มหานิทานสูตร, ม.กายคตาสติสูตร, และ ที. มหาสติปัฏฐานสูตร.
So, according to DN 2 SamannaphalaSutta, the Buddha taught about virtues/moral (sila), 8 jhana (samadhi), and 8 knowledges(8 vijja) to let the listener understood the way to cease the argument of teacher and student at the beginning of DN2 and DN1.
ดังนั้น เพื่อที่จะแก้ไขปุถุชนผู้มากไปด้วยความคิดเห็นผิดเพี้ยนจากสิ่งที่เกิดได้จริงเหล่านั้นให้เป็นเขากลายเป็นพระอริยะเจ้าได้, พระพุทธเจ้าจึงสอนศีล สมาบัติ 8 และวิชชา 8 ไว้ใน ที.สามัญญผลสูตร เพื่อให้ผู้ฟังสะสางอุปาทาน 4 โดยเฉพาะสักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นเหตุแห่งทิฏฐิ 62 ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งตอนต้น (ศิษย์กับอาจารย์เถียงกันและลัทธิครูทั้ง 6) และตอนท้ายของที.พรหมชาลสูตร (สูตรตรแรกของสูตรทั้งปวง) และที.สามัญญผลสูตร (สูตรที่ 2 ของสูตรทั้งปวง). ซึ่งท่านพระอานนท์เรียงลำดับไว้ใน ที.สุภสูตรว่า อธิจิตตสิกขา คือ ฌาน 4 และ อธิปัญญาสิกขา คือ วิชชา 8.
To access insight the second to the seventh knowledge, the Buddha taught MN 119 Kāyagatāsatisutta to let the practitioner practice AdhiCittaSkkha (concentration meditation), and taught DN 2 SamannaphalaSutta to start the second to the seventh knowledge.
According to DN 10 SubhaSutta, every 8 vijja is AdhiPannaSikkha base on 4th Mastery Jhana.
ฉะนั้นเพื่อที่จะได้วิชชาที่ 2-7 พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอน ม.กายคตาสติสูตรไว้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับฝึกอธิจิตตสิกขา ซึ่งเป็นบาทฐานของ วิชชาทั้ง 8 (ฌาน 4 จะทำให้ได้ปริกัมมโอภาส ซึ่งเป็นพื้นฐานของ photographic memory ที่ทางฝั่งตะวันตกจัดพวกที่มีความสามารถนี้ว่าเป็นพวกอัจฉริยะ เช่น ไอนสไตน์, นุน วรนุช เป็นต้น). และเมื่อได้ฌานสมาบัติแล้วจึงทรงสอน ที. สามัญญผลสูตร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึก วิชชาที่ 2-7.
สมดังที่ท่านพระอานนท์แสดงไว้ใน ที.สุภสูตร สรุปความได้ว่า อาโลกสัญญาเป็นบาทฐานของฌานสมาบัติ และว่า อธิปัญญาสิกขา คือ วิชชา 8 ที่มีฌาน 4 เป็นบาทฐาน.
To access insight the first knowledge, VipassanaNanaVijja, in the smallest particle, smaller than atom, which the ordinary think they are only same one, the Buddha taught DN 22 MahāsatipaṭṭhānaSutta to analysis the molecules of smallest particles (samuha-ghana), time-period of smallest particles' various moments (santatighana), co-working-duties of smallest particles' various duties (kicca-ghana), same time being-knew-objects of smallest particles' various being knew in same time.
According to DN 15 MahanidanaSutta, all above particles (plus nibbana and pannatti) are relative each others as 24 conditions, which means every particle is impermanence, suffering, and uncontrollable.
DN 15 is the end of DN 1 which I've quoted above.
ต่อจากนั้น เพื่อจะแทงตลอดวิชชาที่ 1 คือ วิปัสสนาญาณวิชชาที่เป็นไปในปรมัตถธรรมที่เล็กละเอียดที่สุด ละเอียดยิ่งกว่าอะตอม ที่ซึ่งปุถุชนมักจะคิดถึงแบบลวกๆ รวมๆ เป็นก้อนว่า "ก้อนคน", "หนึ่งวินาทีที่สนทนาธรรมนี้เป็นกุศลทั้งหมดเลย" เป็นต้น, พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอน ที. มหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อสอนฝึกแยกแยะก้อนคน ก้อนวินาทีเหล่านั้นออกเป็นชิ้นๆ ตามจริงว่า
- ปรมัตถธรรมแต่ละอย่างๆ มากมายที่เกิดพร้อมกัน จนปุถุชนผู้เชื่องช้าไม่ละเอียดยึดมั่นผิดว่า "เป็นก้อนจริงๆทั้งหมด" (สมูหฆนะ),
- ปรมัตถธรรมแต่ละขณะๆ ที่เกิดต่อกันอย่างรวดเร็วไม่มีระหว่างคั่นกว่าล้านๆครั้งในเสี้ยววินาที จนปุถุชนผู้เชื่องช้าไม่ละเอียดยึดมั่นผิดว่า "เป็นดวงเดียวกันหมดตลอด 1 วินาที" (สันตติฆนะ),
- ปรมัตถธรรมแต่ละอย่างๆ ทำหน้าที่ไม่เหมือนกันแต่ทำด้วยกันอย่างรวดเร็ว จนปุถุชนผู้เชื่องช้าไม่ละเอียดยึดมั่นผิดว่า "จิตเป็นผู้รู้อย่างเดียว จึงเที่ยงแท้ (ทั้งๆ ที่มีเจตสิกและรูปมากมายร่วมกันทำหน้าที่อื่นๆ ทำให้จิตไม่เสถียรดับไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา แต่ปุถุชนไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นด้วยตาปัญญาเลย)" (กิจฆนะ),
- นามปรมัตถ์รับรู้ฆนะ 4 ซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยต่างๆกัน เกิดดับรวดเร็วนับไม่ถ้วนดังกล่าวข้างต้น จนปุถุชนผู้เชื่องช้าไม่ละเอียดยึดมั่นผิดว่า "กำลังคิดถึงสิ่งๆเดียว (only one object)" (สันตติฆนะ)
ซึ่งตาม ที. มหานิทานสูตรนั้น ปรมัตถธรรมข้างต้น ปรุงแต่งซึ่งกันและกันเป็นปัจจัย 24 และเพราะความละเอียดยิบย่อยมีปัจจัยนับไม่ถ้วนเช่นนี้ สังขตธรรมทั้งปวงจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้เลย.
All of what I answered above are described follow the the relativity of entire DN's structure. According to the history record, DN was memorized by Ananda-thera, the Buddha's brother. He was the main role in the first Buddhist council who accepted by almost all Buddhist party.
สิ่งที่เข้าพเจ้าอธิบายมาข้างต้น ได้อธิบายตามโครงสร้างของสูตรในทีฆนิกาย เพราะตามประวัติศาสตร์แล้ว พระอานนท์ น้องชายของพระพุทธเจ้า ท่านและลูกศิษย์เป็นผู้ที่สงฆ์ 500 ในสังคายนาครั้งที่ 1 มอบให้ทรงจำรักษาทีฆนิกายนี้ ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทุกนิกาย ฉะนั้น การจะใช้พระสูตรที่ท่านรักษาไว้มาเป็นอรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎกจึงให้ความชัดเจนที่สุด นอกจากนี้พระอานนท์ยังเป็นพระเถระที่เป้นที่ยอมรับทั้งของฝ่ายเถรวาทและมหายานอีกด้วย.