บทความนี้ต้องทรงจำคล่องปากขึ้นใจในบาลีมาติกา(th.r.45.1.0.1)และนิทเทส(th.i.45) พร้อมทั้งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคบาลี(th.i.104)ก่อน พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของทั้งหมดนั่น, และต้องเข้าใจสัมมสนญาณกถาในวิสุทธิมรรค, รวมถึงต้องเข้าใจอุทยัพพยญาณกถา ภังคญาณกถา ในวิสุทธิมรรคด้วย โดยเฉพาะนามรูปปัสสนาการสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการ พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของแต่ละเรื่อง.
ต่อไปจะเป็นคำอธิบายสนธิอนุสนธิของขุ.ปฏิ.ญาณกถา ในธัมมัฏฐิติญาณอุทเทสแสดงการแยกปัจจัยเพื่อเอาสภาวธรรมเป็นอารมณ์(ที่นี้ ปริคฺคห>กายารมฺมณํ ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา อารมฺมณํ กโรติ) แล้วในนิทเทสอธิบายว่าเป็นการแยกปัจจัยออกเป็นอัทธากาล 3 ซึ่งรวมถึงคำว่า "ปุริมกมฺมภวสฺมิํ อิธ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยา" และ "อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ" ซึ่งในอรรถกถาอธิบายสรุปว่า เห็นกรรมและกิเลสของตนที่ีกระทำอยู่ในอดีตชาติ ซึ่งตรงกับการปฏิบัติบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยามของพระโพธิสัตว์ และตรงกับการเรียงไว้ในลำดับแรกของวิปัสสนาญาณวิชชาของวิชชา 8 ใน ที.สี.สุภสูตร.
เพราะในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาสอนแยกนามรูปแบบอัทธากาล 3 ดังอธิบายข้างต้นแล้ว มาติกาข้อถัดไปจึงสอนวิธีเอาปัจจุบันอัทธากาล 3 มาแยกจนเป็นสันตติกาล 3 สมยกาล 3 และขณะกาล 3 อรรถกถาสัมมสนญาณมาติกาจึงแสดงว่า "อทฺธาสนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ(th.r.104.12.0.43) อิธาธิปฺเปตํฯ" ในคำว่า สนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ คือ แยกอัทธาเป็นสันตติ แล้วแยกสันตติเป็นขณะ, ส่วนคำว่า สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ อิธาธิปฺเปตํ คือ ในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาแยกอัทธากาล 3 แล้ว ในสัมมสนญาณมาติกาจึงมาเอาปัจจุบันอัทธากาลนั้นมาแยกจนเป็นสันตติกาล เพื่อที่จะตามเห็นนามรูปขณะเกิดดับแบบปรมัตถ์ว่า "เอตฺถ จ ขณาทิกถาว(th.r.104.227.0.7) นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ".
ในอรรถกถา ญาณปัญจกะ บทว่า วตฺถุนานตฺเต(th.r.104.12.0.43) อธิบายสนธิอนุสนธิไว้ว่า การววัตถานนามรูป (ตั้งแต่ "อตีตานาคต… ววตฺถาเน"เป็นต้น ของสัมมสนญาณขึ้นไป) ไม่ได้กล่าวอธิบายไว้ในมาติกาญาณ 12 ท่านพระสารีบุตรจึงแสดงญาณปัญจกมาติกาต่อจากมาติกาของญาณ 12 แรก เพื่ออธิบายคำว่าววัตถานนั้น. ซึ่งในจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโสของญาณปัญจกนิทเทสนี้เอง แสดงการกำหนดวิถีจิตทีละดวงไว้ตั้งแต่ "อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา" เป็นต้นไป. ฉะนั้น เมื่อในสัมมสนญาณ**อุทเทส**จึงดึงเอาคำว่าอัทธาในธัมมัฏฐิติญาณ**นิทเทส**นั้นมา แล้วแยกออกเอาเฉพาะปัจจุบันอัทธามาเป็นอุทเทสของตนว่า "ธมฺมมานํ" ในอรรถกถาของอุทเทสจึงกล่าวคำว่า "สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ อิธาธิปฺเปตํ(th.r.104.12.0.43)" และ เตสํ (สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนานํ) อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ ปญฺจกฺขนฺธธมฺมานํ เป็นต้น เพราะการพิจารณาเป็นอัทธานั้นสำเร็จในธัมมัฏฐิติญาณไปแล้ว จึงนำอัทธาปัจจุบันมาแยกออกเป็นสันตติปัจจุบัน เพื่อที่จะเห็นขณปัจจุบันในอุทยัพพยานุปัสสนาญาณนั่นเอง. และเพราะเหตุนี้เองเช่นกัน อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทสจึงแสดงกาล 3 แบ่งจากหยาบไปละเอียดได้ 4 ว่า "อดีตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, อนาคตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, และปัจจุบันแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ" ซึ่งในที่นี้เองท่านจึงอธิบายว่า "ในคำว่า รูปอดีตไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ มุ่งหมายเอาอดีตขณะเป็นต้นเป็นหลัก ส่วนอดีตอัทธาสมยะสันตตินั้นมุ่งหมายเอาโดยอ้อม เอตฺถ จ ขณาทิกถาว นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ(th.r.104.227.0.7)" หมายความว่า ค่อยๆ แบ่งซอยความไม่เที่ยงจากหยาบระดับปัจจุบันอัทธาไปจนกว่าจะละเอียดเป็นปัจจุบันขณะ แบบที่แสดงไว้ในจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโส(th.r.45.77.0.4) วิสุทธิมรรค รูปอรูปสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการะ และอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ เรื่องมูลปริญฺญา(th.r.70.258.0.17).
การที่อรรถกถาทุกแห่ง แสดงการรู้วิถีจิตที่ละปรมัตถ์ขณะไว้ ก็สอดคล้องกับ ขุ.ปฏิ.ญาณปัญจกนิทเทสนี้ที่แสดงการววัตถานปรมัตถขณะของนามรูปไว้ว่า th.r.45.77.0.4.อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา เป็นต้น และสอดคล้องกับอภิธัมมปิฎกด้วย.
เมื่อท่านพระสารีบุตรสอนววัตถานเป็นการแยกนามรูปจนกว่าไตรลักษณ์จะชัดระดับขณะปรมัตถ์ไปแล้ว ผู้ปฏิบัติก็สามารถจะเห็นอุปาทอนุขณะและภังคอนุขณะของนามรูปได้ เพราะสงฺขตลกฺขณสุตฺต(th.r.19.52)และอภิ.ธ.อ.ติกมาติกา อุปฺปนฺนตฺติเก(th.r.106.88) แสดงไว้สรุปว่า สังขตธรรมเท่านั้นมีอุปาทะและภังคะอนุขณะ, ฉะนั้น ผู้ฝึกแยกนามรูปจนเห็นปรมัตถ์ขณะที่มีสังขตลักษณะอย่างนี้ จึงจะเริ่มฝึกอุทยัพพยญาณได้ เพราะการฝึกอุทยัพพยญาณทุกตำราล้วนแสดงไว้สรุปว่า เป็นการเห็นอุปาทะอนุขณะและภังคอนุขณะของขันธ์ ตั้งแต่ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคว่า จิตฺตสฺส ภงฺคํ อนุปสฺสติ(th.r.45.55), ที.ม.มหาสติปัฏฐานสูตรว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี(th.r.7.232), ตำราของพระมหาเถระรุ่นก่อนๆทั้งหลาย เช่น พระพุทธโฆสเถระ-ภงฺคกฺขเณ(th.r.151.265.0.4), พระมหานามเถระ-ภงฺคกฺขเณ(th.r.151.265.0.4), พระพุทธทัตตะเถระ-ยทุปฺปาทฏฺฐิติอาทีหิ ปสฺสโต(th.r.146.476), วิสุทธิมรรคมหาฏีกา พระธัมมปาลเถระ (เป็นทั้งพระอรรถกถาจารย์และพระฏีกาจารย์)-สนฺตติวเสน หิ รูปารูปธมฺเม อุทยโต, วยโต จ มนสิ กโรนฺตสฺส อนุกฺกเมน ภาวนาย พลปฺปตฺตกาเล ญาณสฺส ติกฺขวิสทภาวปฺปตฺติยา ขณโต(th.r.153.422) อุทยพฺพยา อุปฏฺฐหนฺตีติฯ อยญฺหิ ปฐมํ ปจฺจยโต อุทยพฺพยํ มนสิ กโรนฺโต อวิชฺชาทิเก ปจฺจยธมฺเม วิสฺสชฺเชตฺวา อุทยพฺพยวนฺเต ขนฺเธ คเหตฺวา เตสํ ปจฺจยโต อุทยพฺพยทสฺสนมุเขน ขณโตปิ อุทยพฺพยํ มนสิ กโรติฯ, พระอนุรุธาจารย์-ขณวเสน(th.r.147.64), พระสุมังคลมหาสามี-อตีตาทิขณวเสน(th.r.147.270), พระอุปติสสเถระ (วิมุตติมรรค) เป็นต้น ดังได้ยกหลักฐานมาข้างต้น.
เมื่อท่องทบทวนบาลีปฏิสัมภิทามรรคจนเห็นสนธิอย่างนี้แล้ว ผู้ที่แคลงใจเรื่องกาล 3 แบบอัทธาสมยะสันตติและขณะนี้ จึงจะตัดสินใจได้ชัดเจนว่า อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคสมบูรณ์ดี ไม่ได้ขัดแย้งกัน.
บางมติว่า "น สาวกานํ(th.r.163.426)-สาวกไม่สามารถเห็นขณะปรมัตถ์ได้" คำนั้นข้าพเจ้าไม่พบหลักฐานจากตำราใดๆ ที่ตรงกันเลย. และเป็นมติที่ขัดแย้งกับพระบาลีจำนวนมาก เช่น ตามหลักวิถีจิตในอภิธรรมที่แม้แต่ปัญจทวารวิถีของเดรัจฉานก็สามารถรับรู้ขณะปรมัตถ์ได้ และ แม้อกุศลจิตก็รู้ขณะปรมัตถ์ได้ (อกุสลานิ(th.r.147.21.1.0)…โลกุตฺตรวชฺชิตสพฺพารมฺมณานิ) ถ้าจิตแม้อกุศลยังรู้ขณะปรมัตถ์จะมีเหตุอะไรให้กุศลจิตรู้ขณะปรมัตถ์และญาณสัมปยุตจิตแทงตลอดขณะปรมัตถ์ไม่ได้เล่า, ถ้ามีความเห็นว่าไม่สามารถเห็นปรมัตถขณะได้ ก็เท่ากับทำอริยุปวาทในพระอริยเจ้าผู้ทรงจำพระบาลีสืบกันมาทั้งหลายว่า "อภิธรรมที่เรียนสืบกันมาทั้งหมดเป็นแค่จินตนาการตามๆ กันมาเท่านั้น ไม่ได้เห็นของจริง" ซึ่งอริยุปวาทะเป็นเหตุให้เรียนพระบาลีไม่รู้เรื่องและบรรลุยาก, หรือ หลักฐานข้างต้นที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาก่อนนั้นทั้งหมด ก็ล้วนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน. ความจริง ขณะปรมัตถ์มีอยู่แล้วและหมู่สัตว์ก็รู้จักอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก แต่ไม่มีใครสามารถจะแยกนามรูปปรมัตถ์ขณะในทุกอย่างจนเหลือเพียงฆนวินิพโภคสัญญาอันเป็นปหานปริญญาได้แบบที่พระพุทธเจ้าทำได้เป็นพระองค์แรก จึงตรัสสอนสาวกให้รู้ตามได้ด้วย.
ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายที่มีในโลกที่ข้าพเจ้าเคยศึกษามา ข้าพเจ้าไม่พบคำสอนใดเลยที่สอนเรื่องนามรูปนับไม่ถ้วนเกิดดับล้านๆครั้งในเสี้ยววินาที แม้แต่วิทยาศาสตร์ที่รู้ว่าอนุภาควิ่งได้ไวมากนั้น ก็ยังถือว่าอนุภาค 1 วินาทีนั้นเป็นอนุภาคเดียวกันทั้ง 1 วินาที ไม่ได้เกิดดับ(แค่เคลื่อนที่เร็ว), หรือ เรื่องแสงปริกัมโมภาสซึ่งเป็นของปรากฎได้ยากก็ยังมีกล่าวถึงในลัทธิอื่น แต่เรื่องนามรูปปรมัตถ์นี้ไม่เคยมีลัทธิไหนกล่าวถึงสมบูรณ์แบบในระดับสภาคฆฏนาแบบฆนะ 4 มาก่อน และก็จะไม่มีต่อไปในอนาคตด้วย. และข้าพเจ้าไม่พบวิธีใดๆ ที่จะสอนเรื่องเกิดดับปรมัตถ์นี้ให้รู้เรื่องได้ง่ายเลย นอกจากการทำฌานสมาธิแล้วแยกนามรูปไปตามลำดับเป็นระบบตามพระอริยเจ้าผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีสอนสืบๆกันมา. บัณฑิตทั้งหลาย ควรเรียนเอาพระกรรมฐานและพระไตรปิฎกทั้งปวงจากผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอย่างเช่นพะอ็อคตอยะสยาดอเถิด เพราะท่านเป็นผู้มีความละอาย ผู้ทรงจำสืบต่อจากพระอริยเจ้ารุ่นก่อนๆ ผู้ชำนาญกรรมฐานทั้งปวงและผู้ทบทวนพระไตรปิฎกบาลีมาแล้วถึง 6 รอบ. อย่าประมาทว่าจะสามารถอ่านเรื่องพวกนี้แล้วแทงตลอดได้เองเลย เพราะพระเถระทั้งหลายจะตำหนิเอาเป็นแน่ ดังที่มีมาแล้วว่าแม้ผู้ทรงจำนิกายทั้ง 5 ก็ถูกตำหนิ เพราะไม่ได้เรียนวิธีรักษาพระบาลีสืบต่อจากผู้ทรงจำพระไตรปิฎกรุ่นก่อนๆใน วิสุทฺธิ. คนฺโถ(th.r.150.92) ปลิโพโธ แสดงไว้.
ตอบว่า การทำฆนวินิพโภคะจนเห็นนามรูปขณะปรมัตถ์เกิดดับ คือ จุดสูงสุดของการแยกนามรูปขั้นที่ไม่หลงเหลือนามรูปใดๆ ที่ไม่ได้แทงตลอดด้วยทุกฺเข ญาณํ และทุกฺขสมุทเย ญาณํ. ตัวอย่างเช่น เหตุให้คาหะ 3 ยังเกิดได้ในฌานลาภีปุถุชนบุคคลที่ไม่ได้เข้าสมาบัติอยู่ เพราะปุถุชนแม้ได้ฌานวสีก็ไม่สามารถเห็นคาหะ 3 ตัณหาทิฏฐิมานะปรมัตถ์ได้ เนื่องจากยังแยกแยะนามรูปจนเป็นขณะปรมัตถ์อย่างชำนาญในภพ 3 ในกาลทุกเมื่อไม่ได้, อุปมาเหมือนบุตรผู้มีแม่ดูแลแม่ได้ แต่เมื่อแม่เจ็บป่วยหนัก ก็ไม่อาจผ่าตัดให้แม่ได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องอะตอมและอนุภาคพอจะผ่าตัดอย่างที่หมอใหญ่ต้องมี ฉันนั้น ผู้ได้ฌานนอกศาสนาก็เหมือนบุตร การดูแลแม่ก็เหมือนฌานจิตที่ป้องกันนิวรณ์ 5 ได้ แต่ไม่อาจผ่าตัดความเจ็บป่วยหนัก คือ อนุสัยได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องอะตอมอนุภาคพอจะผ่าตัด คือ ฆนวินิพโภคะ อย่างที่หมอใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าจะต้องมี. แต่เมื่อทำวินิพโภคะฆนะ 4 จนชำนาญ ก็ไม่มีคาหะใดหลุดรอดสายตาไปได้. เมื่อเห็นคาหะ 3 ในนามรูปขณปรมัตถ์ได้ตรงตามเป็นจริง สักกายทิฏฐิก็ไม่สามารถมีช่องให้เกิด อธิบายว่า ที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นปัจจัยปัจจยุปบันผิดเพี้ยนอย่างชำนาญ, ที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ คือ เห็นขันธ์ 5 ผิดเพี้ยนปัจจัยปัจจยุปบันอย่างชำนาญ, ที่ชื่อว่า ปัสสนา คือ เห็นชำนาญก็ได้ ยังไม่ชำนาญก็ได้, ที่ชื่อว่า อนุปัสสนา คือ ฝึกการเห็นนั้นแหละให้ชำนาญกลายเป็นทิฏฐิ, ที่ชื่อว่า ทิฏฐิ คือ เห็นอย่างชำนาญ, ในคำว่าปัญญากับญาณ,ปชานาติกับญาณ, ปชานาติกับสัมปชัญญะ แห่งมาติกาปฏิสัมภิทามรรคญาณกถาและมหาสติปัฏฐานสูตรก็อธิบายโดยนัยเดียวกันนี้ เพราะในที่นี้เป็นปัญญัตติหาระ แต่บางแห่งก็เป็นเววจนหาระเช่นในธัมมสังคณี. จริงอยู่ ปุถุชนผู้ไม้ได้สดับพระพุทธเจ้า แม้เขากำลังอ่านธรรมะอยู่ก็ตาม ฟังธรรมอยู่ก็ตาม สนทนาธรรมอยู่ก็ตาม ตัณหาทิฏฐิมานะก็ตามยึดถือจิตฟังธรรมเป็นต้นนั้นที่เป็นไปอยู่กว่าล้านๆครั้งในเสี้ยวินาทีก็เหมารวมอยู่เป็นก้อน 1 วินาทีว่า "ก้อนจิต 1 วินาทีนี้เป็นกุศลทั้งหมด มีทวารอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งกุศลทั้งหมด" เป็นต้น ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากปัจจัยปัจจยุปบันตามที่เป็นจริงที่ 1 วินาที มีกุศลอกุศลวิบากกิริยาเกิดสลับกันมากมาย, แต่เมื่อได้สดับญาณปัญจกนิทเทสจึงทำนามรูปววัตถานญาณแทงตลอดปัจจัยได้ว่า "ทสฺสนตฺถาย อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา วิญฺญาณจริยา รูเปสุ, ทสฺสนฏฺโฐ จกฺขุวิญฺญาณํ วิญฺญาณจริยา รูเปสุ" เป็นต้น จึงเข้าฌานให้เป็นบาท แยกนามขณะได้ว่า "อย่างนีี้อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา, อย่างนี้จกฺขุวิญฺญาณํ" และแยกได้ว่า "อย่างนี้สราคา จรติ ไม่ใช่ นีราคา จรติ" เมื่อเห็นนามรูปทางทวาร 6 เกิดดับอยู่อย่างนี้เป็นปัสสนา เป็นปัญญา เป็นปชานาติ, เมื่อทำให้ต่อเนื่องก็เป็นภาวนา เป็นอนุปัสสนา เป็น สัมปชานการี เป็นญาณ, ในขณะจิตเดียวที่ขันธ์กับไม่เที่ยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมกับกิเลสขาดสะบั้นลง พร้อมกับจิตมีอารมณ์เป็นนิพพาน และพร้อมกับวิปัสสนาถึงระดับอัปปนาฌาน ขณะนี้แหละชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอริยสัจจญาณทั้ง 4 ถึงที่สุดรอบ ปฏิเวธะแทงตลอดทุกอย่างที่ฝึกมาได้ในขณะเดียว.
ตอบว่า จิตที่ไม่อาจรวมเป็นหนึ่งด้วยอำนาจโลกุตตรอัปปนาสมาธิ แม้ถึงยอดของวิปัสสนา (สิขาปฺปตฺตา(th.r.151.276.0.1)) เพราะการยังจำเป็นต้องอนุปัสสนากามธรรมตรงๆ อยู่ อย่างเช่นพลววิปัสสนาญาณ จึงไม่อาจมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้, ต่อเมื่อทำวิปัสสนาในจิตที่ออกจากกามมาก่อนแล้ว คือ อัปปนาฌานจิตหรือพลววิปัสสนาจารจิต และมีองค์ประกอบ 3 อย่างของอุปจารฌาน วิปัสสนาจารจิตจึงจะสามารถรวมเป็นหนึ่งได้จนมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้. จริงอย่างนั้น ตำราบาลีของโบราณาจารย์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าแสดงไว้ข้างต้น ข้าพเจ้ามองเห็นสนธิอนุสนธิอย่างนี้ว่า 'ถ้ายังต้องพิจารณานามรูปละเอียดเป็นปรมัตถ์อดีตอนาคตปัจจุบันเป็นต้นอยู่ จิตก็ไม่อาจได้แม้เพียงพลววิปัสสนาสมาธิ จะป่วยกล่าวไปใยถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิเล่า?' ที่ข้าพเจ้าเห็นสนธิอย่างนั้น เพราะพลววิปสฺสนาสมาธิ(th.r.104.117)ในมาติกา ขุ.ปฏิ. ภังคานุปัสสนาญาณมาติกาว่า วิปสฺสเน ญาณํ(th.r.45.1.0.1) ซึ่งพลววิปัสสนานี้มาก่อนภังคานุปัสสนาญาณเสียอีก ท่านเรียกว่า วิปสฺสนาสิขํ ญาณํ(th.r.104.20) ซึ่งในอภิ.วิ. แสดงภาวนามยปัญญาหมายถึงอัปปนาสมาธิว่า สพฺพาปิ สมาปนฺนสฺส ปญฺญา ภาวนามยา ปญฺญา(th.r.50.337) ซึ่งธรรมที่ใกล้ของอัปปนาสมาธิก็คือ อุปจารสมาธิและพลววิปัสสมาธิข้างต้น ซึ่งมีองค์เหมือนกัน คือ 1. ต้องไม่มีอกุศลเกิดแทรก (สมถะไม่มีนิวรณ์, วิปัสสนาไม่มีคาหะ 3) 2. มีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติของอารมณ์กรรมฐานชัดเจนเจิดจ้า ทั้ง 2 ภาวนาชัดทั้งคู่ แต่สมถะเลือกทิ้งปรมัตถ์ถือเอาบัญญัติเพื่อออกจากกาม ส่วนพลววิปัสสนาสมาธิทิ้งภพ 3 ด้วยการถือเอาไตรลักษณ์บัญญัติ ซึ่งเป็นตัวแทนของนิพพาน เนื่องจากไม่สามารถมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้แบบปฏิภาคนิมิตของอุปจารสมาธิ (สมถะมีปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิตที่เกือบจะเป็นปฏิภาคนิมิต เช่น จตุธาตุมีก้อนแสงกลาปะเป็นอารมณ์คู่ไปกับธาตุ 4) และ 3. อินทรีย์ 5 ที่มีพลัง อุปการธรรม 8 ที่มีกำลัง. ในองค์ของการได้อุปจารแห่งอัปปนาฌาน 3 ข้อนี้ จะเห็นว่า การอนุปัสสนาของญาตปริญญาและตีรณปริญญานั้นแม้จะเป็นบาทฐานของปหานปริญญา แต่สุดท้ายก็จะเป็นอุปสรรคของพลววิปัสสนาสมาธิและโลกุตตรอัปปนาสมาธิ เพราะยังมีกามธรรมซึ่งใกล้ต่อกามคุณอันเป็นเหตุใกล้ของอกุศลเป็นอารมณ์อยู่ เพราะไตรลักษณ์บัญญัติที่เป็นอารมณ์ก็อาศัยบัญญัติจากกามธรรมตรงๆ อยู่ เพราะวิปัสสนาไม่สามารถพัฒนาอาโลกสัญญาในอุปการธรรม 8 ให้เป็นปฏิภาคนิมิตแทนที่กามคุณ 5 ได้ (ถ้าทำอย่างนั้นก็ได้โลกิยฌานแทน) และเพราะอุปจาระของวิปัสสนาไม่สามารถมีอารมณ์เดียวกับอัปปนาของตนได้จนกว่าจะถึงโคตรภูจิต. เพราะเหตุนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรแสดงการพิจารณานามรูปอย่างละเอียดนับไม่ถ้วนทั้งโดยอัทธาสมยะสันตติและขณะในธัมมัฏฐิติญาณและสัมมสนญาณไปแล้ว กลับแสดงแต่เฉพาะขณะปัจจุบันในอุทยัพพยญาณ และเพิกเฉยต่ออดีตและอนาคตด้วยการแสดงปัจจักขญาณแยกออกจากอนุโพธญาณไว้ในภังคญาณ เพราะความที่วิปัสสนาถึงความแก่รอบแล้ว แต่วิปัสสนาสมาธิยังไม่ถึงความแก่รอบถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ.
โดยทำนองดังกล่าวมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปนี้ ให้บัณฑิตววัตถานซึ่งธรรมที่เป็นไปทางทวาร คือ อารมณ์ วัตถุ วิญญาณ ภูมิ และธรรม 9 ในภพ 3 เป็นต้นอย่างนี้ตามแบบที่ท่านแสดงไว้ใน ขุ.ปฏิ.ญาณปัญจกนิทเทส มีจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโส(th.r.45.77.0.4)ในท่ามกลาง ก็จะสิ้นสงสัยในพระอริยะเจ้า และหยุดทำอริยุปวาทะได้.
ตอบว่า ในอนัตตลักขณสูตรนั้นพระปัญจวัคคีย์เป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคลผู้ได้ฌานวสีมาก่อนแล้วและมีบารมีถึงพร้อม เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติกับพระโพธิสัตว์ซึ่งได้สมาบัติ 8 มาก่อนจะได้ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเสียอีก จึงไม่ใช่ฐานะจะเอามาเปรียบเทียบกับการแสดงกรรมฐานอย่างละเอียดสำหรับบุคคลทุกเหล่าอย่างในมาติกาปฏิสัมภิทามรรคนั้นได้ เพราะอุคฆฏิตัญญูบุคคลผู้มีบุญญาธิการสามารถจะทำจิตให้เป็นพลววิปัสสนาสมาธิและโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้โดยไม่ลำบาก แต่ฐานะอย่างนั้น บุคคล 3 ที่เหลือไม่อาจทำได้โดยง่าย. อธิบายว่า บุคคลมี 4 โดยสีหวิกกีฬิตนัยในเนตติปกรณ์ เทสนาหารวิภังค์ ในบุคคล 4 นั้น เป็น 3 โดยอังกุสนัย ในบุคคล 3 นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลจะทำอะไรก็สำเร็จอัปปนาได้อย่างรวดเร็ว คือ ได้สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4 สัมมัปปธาน 4 ไม่ยาก ท่านจึงแสดงข้ามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไปที่สัจจะ 4 ได้เลยว่า "ทิฏฺฐิจริโต อุทตฺโต(th.r.46.5.0.5) ปญฺญินฺทฺริเยน สุขาย ปฏิปทาย ขิปฺปาภิญฺญาย นิยฺยาติ สจฺเจหิ นิสฺสเยหิฯ" เพราะด้วยบุพเพกตปุญญตาเป็นต้นทำให้อุคฆฏิตัญญูบุคคลได้อยู่ในปฏิรูปเทสที่ไม่มีพาลบุคคลเป็นต้นจึงตั้งจิตได้ตรงโดยง่ายมาก่อน, แต่บุคคล 3 ที่เหลือหาได้เป็นเช่นนั้นไม่. เป็นความจริงทีเดียวว่า พระปัญจวัคคี อาฬารดาบส ชฏิละและอุปติสมาณพทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ชำนาญในกุศลได้ฌานไม่ยากมาตั้งแต่ก่อนจะตรัสรู้ทั้งนั้น.
ด้วยเหตุผลโดยประการทั้งปวงข้างต้น จึงไม่สมควรตามยุตติหาระที่จะยกอนัตตลักขณสูตรซึ่งแสดงกับอุคฆฏิตัญญูบุคคลมาสมอ้างกับมาติกาปฏิสัมภิทามรรคที่แสดงกับบุคคลทุกประเภทจนทำให้ผู้ปฏิบัติถึงยอดของวิปัสสนาแล้วไขว้เขว่จิตไม่อาจตั้งมั่น ไม่อาจทำจิตให้ถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้ตามที่ในอุทยัพพยญาณและภังคญาณแนะนำให้เพิกเฉยต่อการพิจารณาอดีตอนาคตไว้ เพื่อพอกพูนพลววิปัสสนาสมาธิจนกว่าจะถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ.
ตอบว่า กรณีท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุเมื่อเทียบกันก็เท่ากับนิทเทสแห่งมาติกาปฏิสัมภิทามรรคที่มีความยาวและเป็นลำดับจึงจะถูก แต่ไม่อาจเทียบกับอนัตตลักขณสูตรที่มีความย่อปรับแต่งเฉพาะบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าได้ เพราะในพระไตรปิฎกบาลีโดยมากถ้าคฤหัสถ์ที่จะบรรลุนั้นบรรลุในทีแรกที่ฟังธรรมเลย ก็มักจะย่อธรรมที่แสดงกับคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่มาณพปริพาชกนักบวรที่สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันในสูตรนั้นไว้ เพราะเนื้อหามีความยาวมาก เมื่อจะไม่ย่อก็จะยาวมากดังที่สามัญญผลสูตรกะพระเจ้าอชาตสัตตุไว้ ซึ่งยากต่อการท่องจำในระบบมุขปาฐะจึงย่อไว้. แม้คฤหัสถ์ที่บรรลุในธัมมบทและชาดกท่านก็ทำสนธิอนุสนธิไว้อย่างนี้เช่นกัน คือ ถ้าเป็นครั้งแรกก็แสดงยาวมากแล้วย่อไว้ว่าเป็นอนุปุพพิกถาบ้าง เป็นมัคคสัจในอริยสัจจกถาบ้าง (ซึ่งก็ย่อในย่ออีกที) แต่ถ้าผู้ฟังเคยติดตามฟังจำธรรมของพระพุทธเจ้ามาก่อนแล้วจึงอาจจะแสดงสั้นลงก็น่าจะเป็นไปได้. เป็นความจริงว่า ผู้ที่อ่านฉบับแปลเอาเองไม่ได้ทรงจำในระบบมุขปาฐะกะผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีที่ชำนาญกรรมฐาน อย่างเช่นพะอ็อคตอยะสยาดอ เป็นต้น จะไม่สามารถขยายบท 6 อรรถ 6 ที่ย่อไว้เหล่านี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้เลย เขาผู้ประมาทในพระอริยเจ้าทั้งหลายก็จะสัมพันธ์บทต่างๆ ในพระไตรปิฎก ด้วยอำนาจคาหะ 3 บ้าง ด้วยอำนาจความเคยชินของตนเองบ้าง ซึ่งอาจไม่สมควรต่อพุทธพจน์และบางครั้งอาจไม่เหมาะกะผู้ฟังทำให้ไม่อาจเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ เหตุนี้พระเถระในสมัยโบราณจึงได้ตำหนิการเรียนผิดวิถีนี้ไว้ในเรื่องใน วิสุทฺธิ. คนฺโถ(th.r.150.92) ปลิโพโธ. ฉะนั้น ไม่สมควรจะกล่าวเปรียบเทียบว่า "ในอนัตตลักขณสูตรท่านแสดงการพิจารณานามรูปในอดีตอนาคตปัจจุบันแก่บุคคลผู้ไม่มีบุญและไม่ได้ฌานวสีมาก่อน" นั้นไปเองว่าเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงแสดงกะท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุ แต่ควรจะกล่าวว่า "สูตรที่แสดงกะคฤหัสถ์อย่างท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุนั้น แสดงละเอียดเป็นเช่นเดียวกับมาติกาปฎิสัมภิทามรรคที่ข้าพเจ้าได้แสดงไว้ข้างต้น".
ตอบว่า คำถามนั้นตั้งขึ้นผิดด้วยอำนาจตัณหาทิฏฐิมานะ ความไม่เคารพเพื่อนสหธรรมิกตีตัวเสมอท่านลบหลู่คุณท่าน และความที่ไม่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรผู้โจทก์ผู้เป็นอุปัชฌาย์จารย์ผู้เป็นธัมมกถิกะ เป็นต้น. อธิบายว่า คำว่า "คนสมัยนี้" แสดงให้เห็นถึงการไม่แยกนามรูปจนเป็นขณะปรมัตถ์ จึงได้กล้าที่จะทำอุปวาทะรวมๆ ที่ได้ใจความลบหลู่คุณคนสมัยนี้ทั้งหมดว่า "คนสมัยนี้แค่เพียงญาตปริญญาก็ไม่ได้แล้ว" ทั้งๆที่ ตามเป็นจริงแล้ว คนที่ทำได้ก็มีและคนที่ทำไม่ได้ก็มี ผู้พูดกลับสำคัญเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันหมดว่า "คนสมัยนี้ไม่ได้ญาตปริญญา". และที่กล้าทำอุปวาทะตั้งคำถามเช่นนี้ ก็เพราะไม่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรผู้โจทก์ผู้เป็นอุปัชฌาย์จารย์ผู้เป็นธัมมกถิกะนั่นเอง, เป็นความจริงว่า ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติกล่าวพลาดเพี้ยน เช่น เมื่อพลาดไปลวกๆอ่านค้นคว้าภิกขุนิขันธกะและอรรถกถาแปลเรื่องอายุพระศาสนาเป็นต้นโดยปราศจากฌานวสีและความชำนาญในพระบาลี ก็จะเข้าใจผิดและตั้งคำถามที่ปรามาสคุณธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายเช่นนั้นได้ง่ายๆ เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้มักง่ายอ่านผ่านๆเอา ไม่ได้เรียนปริยัติและปฏิบัติด้วยมุขปาฐะสืบต่อมาจากพระอริยเจ้าที่มีคุณสมบัติดังกล่าวตามที่พระวินัยปิฎก ตำราบาลี และพระโบราณเถระทั้งหลายย้ำไว้เป็นอย่างหนักมากๆ. เป็นความจริงอีกว่า ผู้ที่ตั้งคำถามเช่นนั้น เมื่ออ่านภิกขุนิขันธกะและอรรถกถาแปล จิตที่มีปัญญาทุรพลของเขาก็ไม่อาจแทงตลอดตำราทั้งหลายที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้เข้าใจถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าและพระโบราณเถระทั้งหลายได้ เพราะมีความลึกซึ้งมากเกิน 10 แหล่งอ้างอิง จึงเกินปัญญาของเขาที่จะแทงตลอดทั้งหมดนั่น.
อธิกรเช่นนี้เป็นของหนัก เป็นอันตรายต่อผู้กล่าว และเป็นเหตุเสื่อมแห่งศาสนาที่ร้ายแรง จงอย่าประมาทในการเปล่งวาจาแม้เล็กน้อยเถิด เพราะจิตเป็นของไปไว ทำให้ปากไวปากพล่อยไปด้วย อันตรายเกินจะเปรียบได้. ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวให้หนักขนาดนี้เลย ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่ร้ายแรงและเป็นอันตรายจริงๆ.
ดู http://dhammacomment.blogspot.com/2020/03/blog-post_5.html (อาจมีบทความช่วงที่ข้าพเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิปนอยู่บ้าง อ่านด้วยความระมัดระวัง)
องค์ของผู้โจทก์ องค์ของกัลยาณมิตร องค์ของอุปัชฌาย์ อุคคหปริปุจฺฉาสวนธารณสัมมสนปฏิเวธปัจจเวกขณะ
ดูข้อวิปปฏิสาร
ดูข้อวิปปฏิสาร
บาลีเป็นสภาคะฆฏนาตามปัฏฐาน ถ้าเข้าใจถูกจะปรากฎเป็นก้อนสภาคะฆฏนา เช่น องค์ของผู้โจทก์ ถ้าผิดข้อหนึ่ง มักจะพบว่า จะผิดข้ออื่นๆ อีกหลายสิบข้อเต็มไปหมดด้วย และลามไปถึงมิจฉาวาจาในจูฬศีล และกถาวัตถุสูตรด้วย.
ฉะนั้น การสังวรวาจาด้วยอัปปนาฌาน และการกราบขอขมาบ่อยๆ จึงจำเป็นมากๆ ในการรักษาชีวิตสมณะ.
ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย กสิณนิมิตฺตาทิกา เจติ(th.r.147.57)
คือ อาโลกสญฺญา อุปจารปฺปตฺตา วา อปฺปนาปฺปตฺตา วาฯ
จิตในภพ 3 มีบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอารมณ์สลับกันอย่างรวดเร็ว จิตที่มีกำลังน้อยที่สุดเจตสิกน้อยสุดอารมณ์ละเอียดกระจัดกระจายสุด คือ กามจิตภวังค์และกามจิตที่เกิดทางทวาร 6 แต่เกิดง่ายเพราะมีกรรมเป็นปัจจัยหลายอย่าง ทั้งอนันตรปัจจัย วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย และกัมมปัจจัย ทำให้แม้มีปัจจัยน้อยแต่เกิดง่าย, จิตที่มีกำลังมากกว่าเจตสิกมากกว่า คือ ตทนุวัตติกมโนทวารที่มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แต่เกิดยากกว่าเพราะหทยวัตถุไม่เป็นอินทริยปัจจัย เป็นความจริงว่าต่อให้ไม่อยากนอนก็ต้องนอน ไม่อยากเจ็บก็ต้องเจ็บ, จิตที่มีกำลังมากกว่าอีก คือ ตทนุวัตติกมโนทวารที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่เกิดยากกว่า เพราะต้องประมวลอารมณ์มากกว่าจะมีบัญญัติปรากฎ เป็นความจริงว่า แม้ได้ฌานซึ่งมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เสื่อมได้ถ้าเจ็บทางปัญจทวารมากๆ และถ้ายังเห็นเป็นสีปรมัตถ์อยู่ก็ไม่อาจเข้าฌานที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ได้, จิตที่มีกำลังมากกว่า คือสุทธมโนทวารที่มีกามปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แต่จิตที่มีกำลังมากที่สุดของกามบุคคลผู้ไม่ได้อรูปฌาน คือ จิตที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เพราะประมวลได้ยาก เช่น ปุถุชนทั่วไปจำเสียงปริตตารมณ์ปรมัตถ์ได้แต่จำหน้าคนสมูหบัญญัตไม่ได้ หรือ จำหน้าสีปริตตารมณ์ปรมัตถ์และอัตถบัญญัติได้แต่จำชื่อนามบัญญัติไม่ได้ หรือ กัลยาณปุถุชนจำกลิ่นปริตตารมณ์ปรมัตถ์ได้แต่จำศพอุคคหนิมิตอัตถบัญญัติไม่ได้ หรือ จำศพอุคหนิมิตอัตถบัญญัติได้แต่บังคับให้เป็นปฏิภาคนิมิตอัตถบัญญัตไม่ได้ (ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย กสิณนิมิตฺตาทิกา(th.r.147.57.0.1)) เป็นต้น.
ในบัญญัติเหล่านั้น บัญญัตที่เป็นอารมณ์ของอกุศลในที.สุภสูตร เรียกว่า นิมิตและอนุพยัญชนะ ส่วนบัญญัติของกุศลที่มาแทนที่นิมิตและอนุพยัญชนะ เรียกว่า อาโลกสัญญาที่ละถีนมิทธนิวรณ์. ในอรรถกถาและฏีกาเรียกว่า อาโลกสัญญา อาโลกกสิณ ปริกัมมโอภาส(ของวิชชา 8) และวิปัสสโนภาส คือ แสงสว่างที่มีญาณ(ปัญญาที่ชำนาญ)เป็นสมุฏฐานนั่นแหละ- สโหภาสนฺติ สญาโณภาสํฯ ถินมิทฺธวิโนทนอาโลโกปิ วา โหตุ กสิณาโลโกปิ วา ปริกมฺมาโลโกปิ วา, อุปกฺกิเลสาโลโก วิย สพฺโพยํ อาโลโก ญาณสมุฏฺฐาโนว(th.r.137.177)าติฯ ที่เรียกต่างเพื่ออธิบายความแตกต่างสภาวะได้ละเอียดขึ้นโดยไม่ทำบริบทให้สับสนง่ายเมื่อทรงจำแบบมุขปาฐะ ไม่ใช่การอวดปัญญา. นัยก็ดังเช่นที่นักไวยากรณ์อธิบายจิตและวิญญาณในอนัตตลักขณสูตรและอาทิตตปริยายสูตรว่าไม่เหมือนกันนั่นเอง (อ่านต่อในหัวข้อ จิตกับวิญญาณต่างกันในบริบทปัญญัตติหาระเหมือนกันในบริบทเววจนหาระ).
สมถะกรรมฐานทุกกองมีอุคคหนิมิตที่มาทดแทนนิมิตและอนุพยัญชนะ (กามคุณ 5) ดังนั้นใน ที.สี.สุภสูตรท่านจึงแสดงอินทริยสังวรไว้ในสมาธิขันธ์ว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหี(th.r.6.188.0.17) กรรมฐานทุกกองแยกสภาวะแล้วถือเอา (ปริคฺคห) โดยสมถะแยกแล้วถือเอาที่แยกเป็นก้อนรวมๆ เพื่อถือเอาบัญญัติที่ไม่ใช่กามคุณ 5 ส่วนวิปัสสนาแยกแล้วถือเอาเป็นสภาวะแต่ละอย่างๆ ที่แม้เป็นกามคุณ 5 แต่มีไตรลักษณ์บัญญัตซึ่งเป็นเหตุแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ดังท่านกล่าวไว้ว่า กายปริคฺคาหิกนฺติ วุตฺเต สมโถ กถิโต โหติ, กายารมฺมณนฺติ วุตฺเต วิปสฺสนาฯ(th.r.72.102) หมายความว่า กรรมฐานทุกกองมีทั้งบัญญัตและปรมัตถ์เป็นอุคคหนิมิต แต่จิตถือเอากรรมฐานบัญญัต (ปฏิภาคนิมิตหรือกรรมฐานนิมิตนั้นๆ) เมื่อทำสมถะทุกกองจนถึงอุปจารสมาธิ โดยกรรมฐานที่ไม่ถึงอัปปนาทุกกองแม้แต่พุทธานุสสติก็มีกามคุณเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจปัจจัยปัจจยุปบันที่ถูกพิจารณาในสมถะกองนั้นๆ เหตุนี้แม้เมื่อจิตของผู้ภาวนาพุทธานุสสติชำนาญจนเห็นอุคคหนิมิตบัญญัติแล้วก็ออกจากกามคุณที่เป็นอารมณ์ไม่ได้ จึงหยุดอยู่แค่อุปจารสมาธิที่มีปริกัมมโอภาสคืออาโลกสัญญาที่เป็นปฏิปักข์ของถีนมิทธะนิวรณ์เป็นอารมณ์สลับกับอารมณ์ภาวนาที่เป็นปรมัตถ์ ส่วนพลวิปัสสนานั้นไม่อาจเป็นอุปจาระได้ เพราะไม่สามารถมีอารมณ์เดียวกับอัปปนาของตนคือนิพพานได้ด้วย ไม่มีอนุสัยเกิดอยู่ให้ข่มด้วย ทั้งยังมีกามคุณเป็นอารมณ์คู่ไปด้วย และกรรมฐานทุกกองมีปริกัมมโอภาสคืออาโลกสัญญาปรากฎเมื่อสามารถข่มนิวรณ์ได้ด้วยขณิกสมาธิหรือตรุณวิปัสสนาสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ผู้ปฏิบัติชอบทั้งหลายอธิบายปริกัมมโอภาสว่า จำมาจากสีของจิตตชรูปของจิตที่มีกำลัง สว่างเจิดจ้าแม้ในที่มืด.
ข้าพเจ้าสรุปสนธิอนุสนธิจากตำราทั้งหลายได้ใจความได้ว่า ปริตตารมณ์อันกระจัดกระจายบังคับไม่ได้ทำจิตให้เป็นปริตตะไปด้วย ปริตตารมณ์นี้คือนิมิตและอนุพยัญชนะซึ่งปรากฎแก่ทวาร 6 อยู่เนืองนิจ จิตของปุถุชนชอบซ่องเสพ เสพติด หลงไหล. แต่เมื่อมีอินทริยสังวรศีลด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ ตรุณวิปัสสนาสมาธิหรือพลววิปัสสนาสมาธิ ก็มีนิมิตบัญญัตอื่นเป็นอารมณ์แทนหรือเป็นอารมณ์สลับ คือ ในสมถะปริกัมมโอภาสปรากฎก่อน ตามด้วยปฏิภาคนิมิต ตามด้วยการบังคับปฏิภาคนิมิตได้ ในตรุณวิปัสสนา วิปัสสนาโอภาสปรากฎอย่างเดียวสลับกับไตรลักษณ์อัตถบัญญัตและขันธ์ 5 จนมีอนิมิตคือนิพพานเป็นอารมณ์.
ปริกัมมโอภาสนี้ ในพระสูตรท่านเรียกว่าอาโลกสัญญา ในพระสูตรจำนวนมากเป็นศัพท์ที่ปรากฎก่อนแสดงฌาน 4 เพราะเมื่อทำฌานแล้วก็กลายเป็นศัพท์ที่ใช้ในจตุตถฌานว่า ปริโยทาต (ขาวรอบ) หมายถึงจิตที่เบาอ่อนควร ซึ่งใช้ในวิชชาทั้ง 8 ที่เรียกว่าอธิปัญญาด้วยว่า ปริโยทาเต อันท่านแสดงต่อจากฌาน 4 นั่นเอง เพราะเป็นปัจจัยต่อกันและกันในหลายด้านอย่างนี้. แสงปริกรรมนี้เองที่เป็นบาทฐานของกรรมฐานนิมิต รวมถึงเป็นบาทฐานของระลึกชาติเป็นต้นด้วยวิชชา 8 เพราะจิตที่สามารถบังคับแสงนี้ได้ดังใจนึกโดยไม่มีนิวรณ์เกิดคั่น คือจิตที่เบาอ่อนควรและถึงความมีพลัง(มหัคคตะ)มากกว่าจิตที่ถนัดคิดถึงกามคุณ อธิบายว่า ธรรมชาติของกามปุถุชนถนัดคิดถึงปริตตอารมณ์ที่ละเอียดกระจัดกระจาย ไม่มีพลัง เป็นไปตามอำนาจนิวรณ์ที่ถนัดนิมิตและอนุพยัญชนะคือกามคุณ 5 กว่าที่ปุถุชนจะชำนาญในบัญญัติที่ประมวลจากกามคุณก็ต้องใช้เวลาสะสมอัธยาศัยเสพคุ้น ยิ่งจะทำให้เป็นอุคคหนิมิตปฏิภาคนิมิตที่มาทดแทนนิมิตและอนุพยัญชนะก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก เช่น ปุถุชนทั่วไปจำเสียงปริตตารมณ์ปรมัตถ์ได้แต่จำหน้าคนสมูหบัญญัตไม่ได้ หรือ จำหน้าสีปริตตารมณ์ปรมัตถ์และอัตถบัญญัติได้แต่จำชื่อนามบัญญัติไม่ได้ หรือ กัลยาณปุถุชนจำกลิ่นปริตตารมณ์ปรมัตถ์ได้แต่จำศพอุคคหนิมิตอัตถบัญญัติไม่ได้ หรือ จำศพอุคหนิมิตอัตถบัญญัติได้แต่บังคับให้เป็นปฏิภาคนิมิตอัตถบัญญัตไม่ได้ (ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย กสิณนิมิตฺตาทิกา(th.r.147.57.0.1)) เป็นต้น.
ถามว่า จตุธาตุมีก้อนแสงกลาปะเป็นอารมณ์คู่ไปกับธาตุ 4 ได้อย่างไร ในเมื่อวิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า เสสานิ อนิมิตฺตตฺตาฯ(th.r.150.109)?
ตอบว่า ในที่นั้นวิสุทธิมรรคระบุไว้ชัดเจนว่าหมายถึงปฏิภาคนิมิตเท่านั้น ปฏิภาคนิมิตฺตญฺหิ วฑฺเฒตพฺพํ นาม ภเวยฺยฯ พุทฺธานุสฺสติอาทีนญฺจ เนว '''ปฏิภาคนิมิตฺตํ''' อารมฺมณํ โหติ, ตสฺมา ตํ น วฑฺเฒตพฺพนฺติ เอวํ วฑฺฒนาวฑฺฒนโตฯ(th.r.150.109), มหาฏีกาก็เช่นกัน. ฉะนั้น การที่ผู้ทำจตุธาตุววัตถานจะมีอุคคหนิมิตและปริกัมมโอภาส ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันข้อความนั้น และตรงกับพระสูตรว่า ผู้ละถีนมิทธนิวรณ์มีอาโลกสัญญาเพื่อเข้าฌาน 4 ตรงกับวิสุทธิมรรคที่มีใจความที่ข้าพเจ้าสรุปมาว่า ผู้ทำจตุธาตุววัตถานพิจารณากลาปะ (กลาปโต), จตุธาตกลาปะไม่เกิดแยกกันแต่ปัญญาปริจเฉทเพื่อเห็นแยกได้ (วินิพฺโภคาวินิพฺโภคโต) ซึ่งถ้าดูจตุธาตุแล้วไม่เห็นกลาปบัญญัตและปริกัมมโอภาส ผู้ปฏิบัติก็จะออกจากกามไม่ได้, ผู้ทำทิฏฐิวิสุทธิแยกกลาปะ(ปริจฺฉิชฺช)เห็นรูปปรมัตถ์(ปสฺสติ).
ความจริง โลกิยอุปจาระและอัปปนาฌานทุกประเภทต้องออกจากทั้งกามและอกุศลธรรม ถ้าออกได้หมดเป็นอัปปนากัมมัฏฐาน ออกจากกามได้ไม่หมดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน. และจิตของกามปุถุชนจะออกจากกามได้ต่อเมื่อมีบัญญัติเป็นอารมณ์ เพราะไม่ได้อรูปฌานและไม่สามารถรู้นิพพานได้. จตุธาตุก็เช่นกัน ถ้าไม่ได้ปริกัมมโอภาสและกลาปนิมิต ก็ไม่ถึงที่สุดของภาวนา.
และเป็นความจริงที่ธาตุทั้ง 4 เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน เมื่อภาวนาจิตพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะเห็นทั้ง 4 พร้อมกัน เป็นกลาปบัญญัต ถ้าไม่อาจเห็นเป็นกลาปบัญญัต แสดงว่าไม่เห็นธาตุ 4 ตรงตามความเป็นจริง เพราะของที่เกิดอยู่ด้วยกันแท้ๆ เพ่งอยู่แท้ๆ กลับไม่เห็นว่าอยู่ด้วยกันเป็นสภาคฆฏนากันอยู่ ขัดกับที่ท่านแสดงไว้ว่า เมื่อแสดงปัจจัยก็เท่ากับแสดงปัจจยุปบัน. การไม่เห็นกลาปะของธาตุ 4 เมื่อจตุธาตุววัตถานมีกำลังอย่างนี้ไม่ตรงกับสภาวะที่เป็นจริง และขัดแย้งกับที่วิสุทธิมรรคที่แสดงกลาปแห่งรูปไว้ในจตุธาตววัตถานกถาและทิฏฐิวิสุทธินิทเทสด้วย.
ในกรรมฐานทั้งปวงที่เหลือก็โดยทำนองดังกล่าวมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปนี้ ให้บัณฑิตววัตถานซึ่งธรรมที่เป็นไปทางทวาร คือ อารมณ์ วัตถุ วิญญาณ ภูมิ และธรรม 9 ในภพ 3 เป็นต้นอย่างนี้ตามแบบที่ท่านแสดงไว้ใน ขุ.ปฏิ.ญาณปัญจกนิทเทส มีจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโส(th.r.45.77.0.4)ในท่ามกลาง ก็จะสิ้นสงสัยในพระอริยะเจ้า และหยุดทำอริยุปวาทะได้.
กาลามสูตรถ้าเข้าใจถูก จะได้เมตตาฌานสีมสัมเภทะ, แต่ถ้าตัดออกเหลือแค่ 10 ข้อ บางคนอาจได้วิจิกิจฉา วิปฏิสาร ระแวงกลัวคนอื่นไปหมดได้ เพราะสำคัญผิดเอาความระแวงว่าเป็นปัญญาที่ทำตามกาลามสูตร 10 ข้อ, ทั้งที่จริงๆ แล้ว เป็นอกุศล ตัดสินคนอื่นไปแล้วโดยไม่มีวิชชา 8 ตามจริง แต่จินตนาการคนอื่นไปตามตัวอักษรที่ยึดมั่นไว้ผิดๆ.
พึงตระหนักว่า กาลามสูตรก็ดี พระสูตรอะไรๆ ก็ดี ถ้าจิตของคนเรียนไม่ดี ก็ทำให้คนเรียนเป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้ง่ายๆ เช่นกัน , ฉะนั้น การทำฌานเพื่อกุศลจิตที่มีกำลัง และการมีครูอาจารย์ที่ได้ฌานและทรงจำพระไตรปิฎกบาลี จึงช่วยได้มากกว่าการอ่านพระไตรปิฎกเองเป็นสิบๆ ปี (ประสบการณ์ส่วนตัว).
โอวาทปาติโมกฺขํ(th.r.7.42.0.1) > สามัญญผลสูตร (ซึ่งถูกตกเลขไว้ในวรรคแรกของโกสลสังยุต) ซึ่งอธิบายโดยพระอานนท์ด้วย ที.สี. สุภสูตร > ซึ่งต้องแทงตลอดพรหมชาลสูตรก่อน จึงจะบริสุทธิ์ ไม่งั้นจะกลายเป็น ที.ม. มหานิทานสูตร > ซึ่งการละคลายทิฏฐิตามสองสูตรนั้น เริ่มด้วยญาณปัญจกนิทเทส ตามลำดับ ดูลิงก์อธิบายหัวข้อ ปรมัตถ์ > 5 ญาณนี้ มาสิ้นสุดที่ ธมฺมนานตฺตญาณ(th.r.45.82.0.2) ซึ่งก็คือ เจตนากรณียสุตฺตํ(th.r.26.3.0.1) > ซึ่งสูตรย่อๆ ของทุกแห่งข้างต้นก็มีลำดับตาม ที.สี. สุภสูตร ที่ขยายเป็นลำดับสมถะกรรมฐาน ตาม ม.อุ. กายคตาสติสูตร และวิปัสสนากรรมฐาน ที.ม.มหาสติปัฏฐานสูตรว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี(th.r.7.232) นั่นเอง.
(ตัวอย่าง สนธิอนุสนธิของสูตรติดๆกัน ในสังยุตตนิกาย, สนธิอนุสนธิของการให้กรรมฐาน)
วจีทุจจริต คือ จิตตุปบาทที่ยึดมั่นผิดบ่อยๆ จากที่เกิดดับจริงๆ ที่ล่วงออกมาทางวาจา
วิปปฏิสาร คือ วจีทุจจริตนั่นแหละที่เกิดสลับกับโทสธรรมและโมหะธรรม คือ อุทธัจจะกุกกุจจะ เดือดร้อนใจในวจีสุจจริตที่ไม่ได้ทำไว้ และวจีทุจจริตที่ทำไว้ (สูตรที่ 2 ที่ขยายเป็นสูตรที่ 8 และสูตรอื่นๆ ในวรรค [การให้สูตรกรรมฐานอยู่ที่ว่า ผู้รับกรรมฐานกำลังมนสิการอะไรมาก และรับกรรมฐานอะไรมาก่อน])
ตจสารํ,วิปฺปฏิปชฺชนฺติ,อติสารํ(th.r.12.73.5.1) โดยให้ท่องจำอย่างน้อยตั้งแต่สูตรที่ 1 ถึง 7 ของวรรคแรกของ โกสลสังยุต
ขนฺธวคฺค,ปาฬิ 98 ปณฺเณ วิปฺปฏิสาโร(th.r.14.98)
ซึ่งจากสูตรทั้งหลายในโกสลสังยุตนี้ จะเห็นว่า ไม่ว่าผู้แนะนำจะมีจิตอย่างไรก็ตาม, ผู้รับฟังก็ต้องรักษากุศลจิตในขณะฟังให้ได้ เพราะวิปปฏิสารไม่ได้เกิดจากผู้แนะนำ แต่เป็นธรรมในภายในที่ผู้ฟังปล่อยให้เกิดขึ้นในตนเอง. ไม่งั้น เกิดผู้แนะนำเป็นพระอริยะเจ้า แล้วผู้ฟังคุมจิตไม่ได้ เกิดวิปปฏิสารพ่นวาจาเถียงกลับ เพราะยึดมั่นถือมั่นตรงกันข้ามกับพระอริยเจ้า ผู้ฟังก็ได้อริยุปวาทะเป็นอานิสงส์ ขุดหลุมฝังตนเอง ดุจขุยไผ่ทำร้ายไผ่.
1. อัตถปฏิสัมภิทา ต้องแทงตลอดว่า "วิปัสสนาสูงสุด คือ สิขาปฺปตฺตา(th.r.151.276) (วิปัสสนาที่ถึงขั้นสูงสุดแล้ว พัฒนายังไงก็ไม่เกินไปกว่านี้, ภังคญาณเป็นต้นไปจนถึงสัจจานุโลมิกญาณ) เท่านั้น" ซึ่งตั้งแต่ภังคญาณเป็นต้นไปก็เป็นการทำพลววิปัสสนาสมาธิ คือการทำสมาธิโดยใช้วิปัสสนากรรมฐาน อันมีขันธ์เป็นปรมัตถ์อารมณ์ มีไตรลักษณ์เป็นนิมิตบัญญัต จิตต้องรู้สลับกัน จึงเป็นขณิกสมาธิ (ดู วิปสฺสนาสมาธิ(th.r.84.172.1.0), สนธิของ ขุ.ปฏิ.อุทฺเทโส อุทยพฺพยานุปสฺสเน ญาณํ,วิปสฺสเน ญาณํ(th.r.45.1), และ วิปสฺสนาสมาธิ(th.r.104.117)),
ทั้งอนุสัยกิเลสที่พลววิปัสสนาจะต้องละ ก็ไม่สามารถเกิดในระหว่างพลววิปัสสนาได้ด้วย คือ เมื่ออนุสัยเกิดเป็นปริยุฏฐาน วิปัสสนาก็ตกไปไม่มีพลัง ไม่เป็นมัคคภาวนา เริ่มใหม่ไม่ใช่สิขาปปัตตะ เป็นแค่จิตที่ไม่ได้ฝึกละนิวรณ์ คือ ไม่มีแม้กระทั่งอธิจิตตสิกขานั่นเอง (ดูสนธิอนุสนธิของของวิสุทธิ. อุทยัพพยญาณกถา, มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส, และภังคญาณกถา คือ บทก่อนและหลังของสิขาปฺปตฺตา(th.r.151.276) เป็นต้น จึงจะเข้าใจ),
และพลววิปัสสนาเอง ไม่สามารถมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ มีได้แค่ไตรลักษณ์บัญญัต จึงไม่สามารถยังอุปจารสมาธิให้เกิดได้ ต้องรอมัคควิถีอันใกล้ต่ออัปปนาฌานจริงๆ เท่านั้น, ฉะนั้นจึงเป็นได้แค่ขณิกสมาธิเท่านั้น.
จะเห็นได้ว่า เมื่อจริยานานตฺตญาณ(th.r.45.77.0.4) แยกอัญญาณจริยาแล้วก็ไม่พบปริยุฏฐานกิเลสให้ละไว้ข่มไว้ แบบตอนอุปจาระของสมถกัมมัฏฐาน เนื่องจากปริยุฏฐานกิเลสได้ถูกอธิจิตตสิกขาข่มไว้ดีแล้ว ด้วยโลกิยฌาน และพลววิปัสสนาสมาธิ, เมื่อจริยานานัตตญาณแยกความต่างของญาณจริยา คือ พลววิปัสสนาวิถีแล้ว ก็หาความเป็นอุปจาระไม่ได้ เนื่องจากแม้ทำจบทุกขั้นตอนก็ยังไปได้แค่ขณิกสมาธิ ไม่ถึงมัคคอัปปนา ทั้งโดยอารมณ์ โดยการละ และโดยกำลังของจิตตุปบาท, และเมื่อโคจรนานัตตญาณแยกความต่างของพลววิปัสสนาแล้ว ก็หาความเป็นนิมิตอันใกล้ต่ออัปปนาไม่ได้,
โดยองค์ทั้งหมดนี้ อัตถปฏิสัมภิทาก็แทงตลอดสภาวะได้ว่า "วิปัสสนายากกว่าสมถะ เพราะความละเอียดของพหิธาคือโคจรที่ละเอียด [โคจรนานัตตะ] ระดับขณะนามรูปในภพ 3 [ภูมินานัตตะ], และเพราะความละเอียดของกิเลสที่ต้องละเอียดเป็นขณะนามรูปที่ยังไม่เกิด [อปริยุฏฺฐิโต] และกำลังจะไม่เกิดอีกต่อไป [อนุสัย], และเพราะความละเอียดของนิมิต คือ ระดับอนิมิต [นิพพาน] ที่ไม่สามารถปรากฎกับตัววิปัสสนาจารจิตเองได้" (อันนี้คือสนธิของปัญจกญาณนิทเทส).
2. เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริงว่า วิปัสสนายากกว่าสมถะ ก็ไม่หลงผิดว่า "สมถะยากกว่าวิปัสสนา" ก็จะสามารถละคลายความยึดมั่นถือมั่นว่า "ไม่มีผู้ได้ฌาน ไม่มีพระอริยเจ้า ไม่มีฉฬภิญโญ ไม่มีปฏิสัมภิทัปปัตโต" ที่กลุ้มรุมอยู่เพราะยึดมั่นถือมั่นอรรถกถาพระวินัย ที่จิตของปุถุชนอ่านมาผิดเพี้ยนไป จากนามรูปที่เกิดดับได้จริง [และบางทีก็อาจจะเพราะความไม่รู้ของพระเสกขะผู้ทำอริยุปวาทะและเจโตขีละ (อันนี้ผมว่ายาก แต่โดยหลักฐานแล้วกรณีนี้ก็มีอยู่อย่างน้อย 2 ที่)] (ดูวินิจฉัยเรื่องอายุพระศาสนาที่นี่).
3. ต่อแต่นั้น ธัมมปฏิสัมภิทา จึงจะแทงตลอดบาลีพร้อมทั้งอรรถกถาทั้งหมด ได้ตรงตามสนธิอนุสนธิจริงๆ จึงจะเห็นว่า มีปาฐะตกหล่นไปจากจิตของผู้อ่านมากมายเวลาใช้ปัญจทวารอันทุรพลรับเอาปริตธรรมอันกระจัดกระจายที่บัญญัติเรียกกันว่าพระไตรปิฎก อรรถกถา กระจายมากระทบตาบ้าง กระทบหูบ้าง เช่น ในเทสนาหารวิภงฺโค(th.r.46.5.0.5)ว่า "ตณฺหาจริโต มนฺโท สตินฺทฺริเยน ทุกฺขาย ปฏิปทาย ทนฺธาภิญฺญาย นิยฺยาติ สติปฏฺฐาเนหิ นิสฺสเยหิฯ ตณฺหาจริโต อุทตฺโต สมาธินฺทฺริเยน ทุกฺขาย ปฏิปทาย ขิปฺปาภิญฺญาย นิยฺยาติ ฌาเนหิ นิสฺสเยหิฯ" จิตของผู้ไม่ทรงจำพระสูตรบาลีจะคิดบทว่า "สติปฏฺฐาเนหิ" ตกหล่นผิดเพี้ยนไปเหลือแค่ "มหาสติปฏฺฐานสุตฺเตหิ" ทั้งที่จริงๆ โดยข้อความมาในส่วนของสีหวิกกีฬิตนัยของวิภังค์จึงต้องมีลำดับสภาวะครบถ้วนตลอดสายตามหลักการบรรลือของราชสีห์ ดังนั้น "สติปฏฺฐาเนหิ" ต้องเป็น "สุภสุตฺเตหิ กายคตาสติสุตฺเตหิ มหาสติปฏฺฐานสุตฺเตหิ จ" เป็นต้น คือ ต้องรวบเอาสูตรที่แสดงลำดับมาครบตั้งแต่ต้นจนจบจึงจะได้ความว่า 'โดยลำดับสภาวะแล้ว คนที่กิเลสมากสุด ทั้งยังไม่มีธัมมสภาวะปฏิเวธะ จำเป็นต้องทำตามสุภสูตรครบทุกลำดับ ไล่ไปตั้งแต่อธิศีลทุกอย่างเพื่อให้ได้อินทริยสังวรในทุกอิริยาบถอันเป็นอธิจิตตสิกขา จนกว่าจะปิดทวาร 6 สมบูรณ์เแ็นอุปจาระหรือเป็น ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เป็นต้น ซึ่งอธิจิตตสิกขาในสุภสูตรนั้น ก็ขยายออกมาเป็นกายคตาสติสูตรนั่นเอง ตามหลักสีหวิกกีฬิตนัยยังไม่ใช่มหาสติปัฏฐานสูตรก่อน'.
เมื่อผู้อ่าน ชอบอ่าน ไม่ท่องจำพระบาลี มีอาการกุศลจิตอ่อนกำลัง (ไม่เป็นมหา หรือเป็นมหาแต่ไม่ถึงมหัค) เขาจึงไม่สามารถแทงตลอดทั้งสภาวะด้วยอัตถปฏิสัมภิทา ไม่สามารถแทงตลอดทั้งบาลีด้วยอำนาจธัมมปฏิสัมภิทาตามนัยตัวอย่างที่ยกมาเล็กน้อยในเบื้องต้น ถ้าเขาเป็นปุถุชนทิฏฐิคตสัมปยุตตโลภะมูลจิตตุปบาทก็จะเกิดยึดมั่นถือมั่นว่า "สติปฏฺฐาเนหิ ต้องเป็น มหาสติปฏฺฐานสุตฺตํ เท่านั้นจริง ถ้าพูดอย่างอื่น คำนั้นต้องเปล่าประโยชน์" เป็นต้น เป็นอันครบองค์ 2 ของมิจฉาทิฏฐิ เมื่อกล่าวคำใดๆ ในเรื่องนี้ออกไป เขาจะต้องมีตัณหาคาหะ มานะคาหะ ทิฏฐิคาหะเป็นปริยุฏฐานสลับกับนิวรณปริยุฏฐานแน่นอน แม้ขณะนั้นจะมีเมตตากุศลเกิดพูดอนุเคราะห์คนอื่นก็ตาม ก็จะเกิดสลับด้วยมิจฉาทิฏฐิเหล่านี้เป็นปกติ เพราะความที่ละสักกายทิฏฐิที่คิดลวกๆ มโนจินตนาการไปเองรวมๆเป็นก้อนเป็นสาย เป็นปกติของปุถุชน, แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทำอริยุปวาทะแม้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ แต่จะไม่มีสักกายะทิฏฐิเห็นเป็นก้อน ไม่มีอุปาทาน 3 ยึดไว้ อย่างนี้ไม่ครบองค์ของมิจฉาทิฏฐิ, แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ ผู้ไม่ได้สนใจในเรื่องเหล่านี้ เรื่องเหล่านี้ก็เป็นเท่าที่เป็นธาตุที่กระทบธาตุ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เอียง ไม่ยุบ ไม่พอง ไม่สะดุ้งอะไรๆ. โดยประการดังกล่าว การอ่านพระไตรปิฎกเอาลวกๆ เป็นก้อนๆ จึงทำให้ปาฐะตกหล่น และทำให้โลภะทิฏฐิคตสัมปยุตของปุถุชนพอกพูดเป็นหางหมูเฝ้าวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุด.
4. โดยประสบการณ์ของผู้เขียนที่เริ่มมาจากการอ่านพระไตรปิฎก เมื่อรู้ตามเป็นจริงดังกล่าวข้างต้น ก็ต้องคอยตามล้างตามเช็ดชำระโคจร วัตถุ จริยา เหล่านั้นย้อนหลังอย่างมหาศาล ทำให้ข้าพเจ้าพบเจอการตกหล่นของอัตถะธัมมะแบบเดียวกันนี้จำนวนมากจากผู้ที่ไม่ได้ท่องจำพระสูตรบาลีในสำนักของผู้ได้ฌานที่ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอรรถกถาบาลี.
5. เมื่อเข้าใจทั้ง 4 ข้อข้างต้นทั้งโดยอัตถะและธัมมะ แล้วเข้าฌาน ออกจากฌานท่องจำเนตติปกรณ์บาลี ปฏิสัมภิทามรรคบาลี วิสุทธิมรรคบาลีซ้ำๆ จะเห็นตามเป็นจริงว่า
เหตุที่ เทสนาหารวิภงฺโค(th.r.46.5.0.5)ว่า "ตณฺหาจริโต มนฺโท สตินฺทฺริเยน ทุกฺขาย ปฏิปทาย ทนฺธาภิญฺญาย นิยฺยาติ สติปฏฺฐาเนหิ นิสฺสเยหิฯ" เพราะ บุคคลผู้เป็น "ตัณหาจริตาย ทนฺธาภิญฺญาย" ยังมีตัณหายึดมั่นในรูปกายอยู่มาก และ "ตัณหาจริตาย ขิปฺปาภิญฺญาย" ยังมีตัณหายึดมั่นถือมั่นในสุขทุกข์อุเบกขาอยู่มาก ก็มีนิวรณ์เกิดมาก ไม่มีอาโลกสัญญาทำลายถีนมิทธะนิวรณ์ เมื่อไม่มีอาโลกสัญญาก็ไม่มีความสามารถระดับขิปฺปาภิญฺโญได้ เพราะอภิญฺญามาจาก อภิสทฺโท ลกฺขณตฺเถ, ญา ญาตฏฺเฐ หมายความว่า การแทงตลอดชำนาญในสภาคะฆฏนา ซึ่งคนที่จะแทงตลอดสภาคฆฏนาได้ จะต้องมีองค์ประกอบ คือ 1. พลังบุญในอดีต 2. พลังบุญในอดีตนั้นถึงพร้อมสุกงอมเพราะตัวพลังบุญในอดีตช่วยให้ในปัจจุบันมีปฏิรูปเทสวาโส กัลลยาณมิตตา มาช่วยบ่มเพาะอัตตสัมมาปณิธิในปัจจุบันให้สุกงอม ซึ่งอัตตสัมมาปณิธินี้ องค์ธรรมคือ มหากุศลและมหัคคตกุศล ซึ่งเป็นกุศลปักข์เดียวกันกับพลังบุญในอดีตนั่นเอง [พูดง่ายๆ ถ้ากุศลทั้งอดีตและปัจจุบันไม่มีกำลัง คนที่กุศลจิตมีกำลังเขาก็ไม่อยากคุยด้วย และตัวเองก็จะแยกแยะไม่ออกว่าใครมีบุญใครไม่มีบุญ อยู่ตรงไหนได้บุญ อยู่ตรงไหนได้บาป ทำจิตอย่างไรจะพัฒนาไปเป็นมหัคคตะจิต เป็นโลกุตตรจิตได้]. การจะเห็นอย่างนี้ ต้องอาศัยความเป็นอัจฉริยะ (ในภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษว่า genius ซึ่งก็คือ ขิปฺปาภิญฺญาบุคคล นั่นเอง) เท่านั้น ในทางโลกคนกลุ่ม genius คือ พวกที่ได้ photographic memory ซึ่งก็คือ อาโลกสัญญาและกัมมัฏฐานนิมิตบัญญัตินั่นเอง, ดังนั้นในพระบาลีสุภสูตร จึงแสดงการละปริตตารมณ์ คือ นิมิตและอนุพยัญชนะ ไว้ในอินทริยสังวรอันเป็นมหากุศล แล้วแสดงการละนิมิตและอนุพยัญชนะนั้นไว้ด้วยอาโลกสัญญาอันเป็นเบื้องต้นของการทำมหากุศลนั้นให้เป็นมหัคคตกุศลที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์แทนที่เสีย จากนั้นจึงทรงแสดง "ปริโยทาเต" ศัพท์ ไว้ในท่ามกลาง คือ ในจตุตถฌาน และทรงแสดงอธิปญฺญาสิกฺขาว่า "ปริโยทาเต … จิตฺตํ อภินีหรติ อภินินฺนาเมติ … อิทมฺปิสฺส โหติ ปญฺญายฯ" ไว้ในที่สุดคือวิชชา 8 กล่าว คือ อภิญญาขั้นสูงสุดนั่นเอง. ทั้งหมดนี้ มีลำดับของอารมณ์และจิตไว้ใน กายคตาสติสูตรและสุภสูตรอีกทีหนึ่ง.
ฉะนั้น เมื่อเข้าใจสภาวะอย่างนั้นแล้ว จะพบว่าในวิสุทธิมรรคที่ท่องไว้แสดงไว้ว่า "จิตฺตวิสุทฺธิ(th.r.151.222) นาม สอุปจารา อฏฺฐ สมาปตฺติโย" ไม่มีคำว่า "ขณิกสมาธิ" แต่ก็จะพบว่า ในฏีกาวิสุทธิมรรคแสดงว่า "สมถยานิกสฺส หิ อุปจารปฺปนาปฺปเภทํ สมาธิํ อิตรสฺส ขณิกสมาธิํ(th.r.152.15), อุภเยสมฺปิ วิโมกฺขมุขตฺตยํ วินา น กทาจิปิ โลกุตฺตราธิคโม สมฺภวติฯ".
ซึ่งทั้ง 2 นัยก็เป็นไปตามลำดับสีหวิกกีฬิตนัยของเนตติปกรณ์ที่ว่า ตัณหาจริตทำฌานให้ได้ก่อน เพื่อให้ได้ปริโยทาปนํ เมื่อกลายเป็นทิฏฐิจริต มีปริโยทาเต ทั้งโดยปริโยทาปนะ คือ จิตที่นุ่มนวล และโดยอารมณ์ของปริโยทาปนจิตคือปฏิภาคนิมิตแล้ว จากนั้นตาปัญญาคืออลมริยญาณทัสสนะจักขุ คือ วิชชา 8 จึงจะเกิดได้. หมายความว่า ถ้าเกิดมาเป็นตัณหาจริตก็ต้องให้ได้อุปจารอัปปนาสมาธิเพื่อมีจิตตวิสุทธิมาเห็นปฏิจจสมุปบาทเป็นขณะนามรูป, แต่ถ้าเกิดมาเป็นทิฏฐิจริต คือ คนที่ตัณหาเกิดจาก เกิดอย่างมากก็คาหะ 3 อย่างนี้เป็นวิปัสสนายานิก ไม่ต้องทำอุปจาระและอัปปนาก็ได้. โดยประการอย่างนี้ ทั้งวิสุทธิมรรคอรรถกถาและฏีกาก็เป็นสภาคฆฏนากัน ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย.
ดังนั้นจึงสรุปว่า มีบุคคลที่นิวรณ์เกิดง่ายมาก (ตัณหาจริต) กับ นิวรณ์เกิดยากมากมีแต่คาหะเกิด (ทิฏฐิจริต) ซึ่งก็เหมือนได้อุปจารสมาธินั่นเอง [เช่น พระมหากัสสปะและพระภัททกาปิลานีเถรีก่อนจะบรรลุ] บุคคล 2 นี้ เวลาทรงแสดงเทสนาคนตัณหาจริตทรงให้ทำสมถะก่อน เพื่อให้จากคนที่นิวรณ์เกิดบ่อยก็ให้เกิดยาก กลายเป็นคนฉลาดเสียก่อน จากนั้น จึงจะสอนวิปัสสนาแล้วไม่ฟุ้งซ่านเห้นนามรูปที่ละเอียดเป็นปริตตารมณ์ได้โดยไม่ซัดส่ายไปด้วยอำนาจนิวรณ์, ส่วนคนที่เป็นทิฏฐิจริต ก็ทำวิปัสสนาเลยได้.
แต่ถ้าผู้แสดงธรรมชำนาญขึ้นไปอีก จะสามารถใช้วิชชา 8 ตรวจอัธยาศัยของผู้ฟังแล้ว ใช้พระไตรปิฎกบาลีที่ร่ำเรียนมา เลือกถ้อยคำที่เหมาะสมมาจัดลำดับใหม่ให้เหมาะกับผู้ฟังด้วยติปุกฺขลนัย อย่างนี้เราจะเห็นการเปลี่ยนลำดับของเทศนาได้.
6. โดยการแทงตลอดข้างต้น ก็สามารถแทงตลอดตำราอื่นๆ ไปอีกนับไม่ถ้วนนัยยะ เช่น อรรถกถาอายุพระศาสนาเกินกว่า 4 ตำรา ที่เคยทำบทว่า เอเตเนว อุปาเยน ใน อ.องฺ.เอกก. ตกหล่นไป ก็จะเริ่มเห็นได้ตรงกับลำดับสภาวะ, หรือ ในการสนธิของบทว่า "เอตฺตาวตา อานาปานํ ฯลฯ สจฺจปริคฺคโหติ เอกวีสติ กมฺมฏฺฐานานิ วุตฺตานิฯ เตสุ อานาปานํ ทฺวตฺติํสากาโร นวสิวถิกาติ เอกาทส อปฺปนากมฺมฏฺฐานานิ โหนฺติฯ ทีฆภาณกมหาสีวตฺเถโร ปน ‘‘นวสิวถิกา อาทีนวานุปสฺสนาวเสน วุตฺตา’’ติ อาหฯ ตสฺมา ตสฺส มเตน ทฺเวเยว อปฺปนากมฺมฏฺฐานานิ, เสสานิ อุปจารกมฺมฏฺฐานานิ(th.r.70.305)ฯ" ก็จะเข้าใจสภาวะของทั้ง 2 มติว่าไม่ขัดแย้งกัน เป็นสภาคฆฏนาของกันและกัน (ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ยกมาไว้เพราะเห็นด้วยกับทั้ง 2 มติที่เป็นสภาคฆฏนากันได้ จึงไม่ได้แสดงคัดค้านไว้) ซึ่งสามารถใช้ละคลายเจโตขีละคือความระแวงสงสัยในพระมหาอัฏฐกถาหรือมหาสิวะเถระได้อีกทอดหนึ่งด้วย โดยการกำหนดจิตของผู้อ่านเองว่า "เราไม่มีอธิปัญญาสิกขา คือ วิชชา 8 ทั้งยังไม่ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอีกด้วย" อย่างนี้แทน จิตก็เป็นญาณสัมปยุตได้แล้ว วิปปฏิสารก็ไม่เกิด เป็นไปเพื่อภาวนา, และยังนำไปเชื่อมโยงกับเนตติ. เทสนาหาระวิภังค์ สีหวิกกีฬิตนัย, ที.สามัญญผลสูตร, ที.สุภสูตร (และหลายสูตรใน ที.สี.), ม.กายคตาสติสูตร ซึ่งอรรถกถาของสูตรนี้ไปอยู่ใน อ.ทีฆนิกาย อ.มูลปัณณาสก์ และวิสุทธิมรรค ทำให้เป็นเหมือนกับว่า มีอรรถกถาสั้น, เนตติใน อ. อุทฺเทสแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร, วิสุทฺธิ. จิตฺตวิสุทฺธิ นาม สอุปจารา อฏฺฐ สมาปตฺติโย(th.r.151.222.0.4) และอรรถกถาทั้งปวงโดยคำเดียวกันนี้ เป็นต้น โดยประการอย่างนี้ ก็ถึงความแตกฉานในพระไตรปิฎกปาฬิ อรรถกถาปาฬิ ได้โดยเพียงแค่ "เข้าฌาน ออกจากฌานมาท่องทบทวนปาฬิ ในสำนักของผู้ทรงจำพระสูตรปาฬิ" ไม่เรียนพระไตรปิฎกด้วยความลำบากยากแค้นอีกต่อไป.
All I wrote below are hacked method for a person who doubt in ven. Pa-Auk's teaching to stop their CetoKhila in the tipitaka-memorizer like ven' Pa-Auk tawya and get back to meditate follow him, so the best way to understand ven. Pa-Auk tawya still be "doing follow him directly, start with the jhana-meditation" and this hacked method is only a choice for the poor wholesome-mind-power like me.
สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้เป็นเพียงวิธีอ้อมๆ สำหรับแก้เจโตขีละกิเลสที่ฉุดจิตไม่ให้พัฒนาของคนที่ลังเลสงสัยในคำสอนพะอ็อคตอยะ ผู้ซึ่งชำนาญกรรมฐานทุกกองและทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอรรถกถาบาลีถึง 6 รอบ เพื่อให้ผู้ที่ปรามาสท่านไว้มีทางกลับมาปฏิบัติตามท่านได้, ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด ยังคงเป็นการทิ้งความรู้ความเข้าใจเดิมๆให้หมด แล้วทุ่มเทปฏิบัติตามคำสอนของท่านโดยไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งสิ้น.
Every sutta below must be memorized every character in Pali form with deep understood follow Netti cannon rule such as PubbaparaSandhi (context's relativity), etc. and the hacker must meditate all 40 meditations follow tipitaka before, no exception because you are doubt in the tipitaka memorizer. You need to act like him every step to understand him.
Let's go…
ผู้ที่จะทำความเข้าใจพะอ็อคตอยะ จะต้องทรงจำพระสูตรและอรรถกถาที่อ้างอิงถึงทั้งหมดเป็นภาษาบาลีที่เชื่อมโยงตามหลักเนตติปกรณ์ทุกๆอักขระเท่านั้น เช่น หลัก ปุพพาปรสนธิ เป้นต้น และจะต้องเคยทำกรรมฐานทุกกอง ทั้ง 40 กอง ในพระไตรปิฎกมาแล้วอย่างชำนาญ. ที่ต้องทำทุกอย่างไม่มีข้องดเว้นให้ เพราะผู้ที่สงสัยพะอ็อคตอยะกำลังสงสัยในผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีพร้อมทั้งอรรถกถาบาลี ฉะนั้น คุณต้องทำให้ได้แบบท่านทุกๆ อย่าง จึงจะสามารถเข้าใจวิธีคิดของท่านได้โดยที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด (ถ้าผิดพลาดปุ๊ป ก็มีโอกาสเป็นอริยุปวาทะ เป็นเจโตขีละ ได้ทันที).
All autocracy, democracy, and righteousnessy could be right or wrong depending on the doer's mind moments, wholesome is right, unwholesome is wrong.
อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธัมมาธิปไตย สามารถจะผิดก็ได้ จะถูกก็ได้ ขึ้นอยู่กับขณะจิตล้านๆ ครั้งของผู้ที่ทำว่า เป็นกุศลทั้งหมดหรือไม่ หรือมีอกุศลเกิดแทรกโดยไม่รู้ตัว?
However the ordinaries normally often decide right as wrong and wrong as right because of clinging on view (ditthi-upadana), such as thinking about 'what I am answer must be right, others' must be wrong', etc. This always happen because of no virtues/moral (sila), no 8 jhana (samadhi), and no 8 knowledges(8 vijja) according to DN1 BrahmajalaSutta, DN 2 SamannaphalaSutta, DN 10 SubhaSutta, and DN 15 MahanidanaSutta.
อย่างไรก็ตาม, ปุถุชนปกติมักจะตัดสินถูกเป็นผิด ตัดสินผิดเป็นถูก เพราะยังมีทิฏฐุปาทาน ศีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทานอยู่ เช่น ปุถุชนชอบคิด (โดยไม่รู้ตัวว่า) ว่า "ฉันคนเดียวพูดถูกเท่านั้น คนอื่นหน่ะพูดผิดทั้งนั้นแหละ" เป็นต้น ซึ่งไม่ตรงตามสภาวะจริงที่เกิดขึ้นมากมายมหาศาล เพราะเหมารวมสิ่งที่ต่างกันยิบย่อบให้เป็นเหมือนกันหมดว่า "ทั้งหมดนี่ผิด ทั้งหมดนี่ถูก". สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในปุถุชนตลอดเวลา เพราะเขาไม่มี ศีล ไม่มีสมาบัติ 8 ไม่มีวิชชา 8 ตามที่ท่านอธิบายไว้ใน ที.พรหมชาลสูตร, ที.สามัญญผลสูตร, ที.สุภสูตร, ที. มหานิทานสูตร, ม.กายคตาสติสูตร, และ ที. มหาสติปัฏฐานสูตร.
So, according to DN 2 SamannaphalaSutta, the Buddha taught about virtues/moral (sila), 8 jhana (samadhi), and 8 knowledges(8 vijja) to let the listener understood the way to cease the argument of teacher and student at the beginning of DN2 and DN1.
ดังนั้น เพื่อที่จะแก้ไขปุถุชนผู้มากไปด้วยความคิดเห็นผิดเพี้ยนจากสิ่งที่เกิดได้จริงเหล่านั้นให้เป็นเขากลายเป็นพระอริยะเจ้าได้, พระพุทธเจ้าจึงสอนศีล สมาบัติ 8 และวิชชา 8 ไว้ใน ที.สามัญญผลสูตร เพื่อให้ผู้ฟังสะสางอุปาทาน 4 โดยเฉพาะสักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นเหตุแห่งทิฏฐิ 62 ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งตอนต้น (ศิษย์กับอาจารย์เถียงกันและลัทธิครูทั้ง 6) และตอนท้ายของที.พรหมชาลสูตร (สูตรตรแรกของสูตรทั้งปวง) และที.สามัญญผลสูตร (สูตรที่ 2 ของสูตรทั้งปวง). ซึ่งท่านพระอานนท์เรียงลำดับไว้ใน ที.สุภสูตรว่า อธิจิตตสิกขา คือ ฌาน 4 และ อธิปัญญาสิกขา คือ วิชชา 8.
To access insight the second to the seventh knowledge, the Buddha taught MN 119 Kāyagatāsatisutta to let the practitioner practice AdhiCittaSkkha (concentration meditation), and taught DN 2 SamannaphalaSutta to start the second to the seventh knowledge.
According to DN 10 SubhaSutta, every 8 vijja is AdhiPannaSikkha base on 4th Mastery Jhana.
ฉะนั้นเพื่อที่จะได้วิชชาที่ 2-7 พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอน ม.กายคตาสติสูตรไว้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับฝึกอธิจิตตสิกขา ซึ่งเป็นบาทฐานของ วิชชาทั้ง 8 (ฌาน 4 จะทำให้ได้ปริกัมมโอภาส ซึ่งเป็นพื้นฐานของ photographic memory ที่ทางฝั่งตะวันตกจัดพวกที่มีความสามารถนี้ว่าเป็นพวกอัจฉริยะ เช่น ไอนสไตน์, นุน วรนุช เป็นต้น). และเมื่อได้ฌานสมาบัติแล้วจึงทรงสอน ที. สามัญญผลสูตร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึก วิชชาที่ 2-7.
สมดังที่ท่านพระอานนท์แสดงไว้ใน ที.สุภสูตร สรุปความได้ว่า อาโลกสัญญาเป็นบาทฐานของฌานสมาบัติ และว่า อธิปัญญาสิกขา คือ วิชชา 8 ที่มีฌาน 4 เป็นบาทฐาน.
To access insight the first knowledge, VipassanaNanaVijja, in the smallest particle, smaller than atom, which the ordinary think they are only same one, the Buddha taught DN 22 MahāsatipaṭṭhānaSutta to analysis the molecules of smallest particles (samuha-ghana), time-period of smallest particles' various moments (santatighana), co-working-duties of smallest particles' various duties (kicca-ghana), same time being-knew-objects of smallest particles' various being knew in same time.
According to DN 15 MahanidanaSutta, all above particles (plus nibbana and pannatti) are relative each others as 24 conditions, which means every particle is impermanence, suffering, and uncontrollable.
DN 15 is the end of DN 1 which I've quoted above.
ต่อจากนั้น เพื่อจะแทงตลอดวิชชาที่ 1 คือ วิปัสสนาญาณวิชชาที่เป็นไปในปรมัตถธรรมที่เล็กละเอียดที่สุด ละเอียดยิ่งกว่าอะตอม ที่ซึ่งปุถุชนมักจะคิดถึงแบบลวกๆ รวมๆ เป็นก้อนว่า "ก้อนคน", "หนึ่งวินาทีที่สนทนาธรรมนี้เป็นกุศลทั้งหมดเลย" เป็นต้น, พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอน ที. มหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อสอนฝึกแยกแยะก้อนคน ก้อนวินาทีเหล่านั้นออกเป็นชิ้นๆ ตามจริงว่า
ซึ่งตาม ที. มหานิทานสูตรนั้น ปรมัตถธรรมข้างต้น ปรุงแต่งซึ่งกันและกันเป็นปัจจัย 24 และเพราะความละเอียดยิบย่อยมีปัจจัยนับไม่ถ้วนเช่นนี้ สังขตธรรมทั้งปวงจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้เลย.
All of what I answered above are described follow the the relativity of entire DN's structure. According to the history record, DN was memorized by Ananda-thera, the Buddha's brother. He was the main role in the first Buddhist council who accepted by almost all Buddhist party.
สิ่งที่เข้าพเจ้าอธิบายมาข้างต้น ได้อธิบายตามโครงสร้างของสูตรในทีฆนิกาย เพราะตามประวัติศาสตร์แล้ว พระอานนท์ น้องชายของพระพุทธเจ้า ท่านและลูกศิษย์เป็นผู้ที่สงฆ์ 500 ในสังคายนาครั้งที่ 1 มอบให้ทรงจำรักษาทีฆนิกายนี้ ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทุกนิกาย ฉะนั้น การจะใช้พระสูตรที่ท่านรักษาไว้มาเป็นอรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎกจึงให้ความชัดเจนที่สุด นอกจากนี้พระอานนท์ยังเป็นพระเถระที่เป้นที่ยอมรับทั้งของฝ่ายเถรวาทและมหายานอีกด้วย.