มหาสติปัฏฐานสูตร_ฉบับปรับสำนวน

อยู่ในระหว่างปรับสำนวน

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)

เหตุเกิดพระสูตร

9. มหาสติปัฏฐานสูตร (22)

[273] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

คำบริกรรมกรรมฐานย่อ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถนน คือ มรรคนี้ มีปลายทางหนึ่งเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. มรรคนี้ คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ (สัมมาสติ 4). สติปัฏฐาน 4 ประการ เป็นไฉน?

  1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เฝ้าอนุปัสสนา 7 แยกกายในกองกรัชกายออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 มีความเพียรเผากิเลส 4 มีสัมปชัญญะทำปชานะอยู่ในฐานะ 7 มีสติ 4 กำจัดอภิชฌาและโทมนัส คือ นิวรณ์ 5 และ สังโยชน์ 10 ในโลก คือ ปิยรูปสาตรูป 60 เสียได้
  2. ตามอนุปัสสนา 7 แยกเวทนาในกองเวทนาออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 มีความเพียรเผากิเลส 4 มีสัมปชัญญะทำปชานะอยู่ในฐานะ 7 มีสติ 4 กำจัดอภิชฌาและโทมนัส คือ นิวรณ์ 5 และ สังโยชน์ 10 ในโลก คือ ปิยรูปสาตรูป 60 เสียได้
  3. ตามอนุปัสสนา 7 แยกจิตในจิตออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 มีความเพียรเผากิเลส 4 มีสัมปชัญญะทำปชานะอยู่ในฐานะ 7 มีสติ 4 กำจัดอภิชฌาและโทมนัส คือ นิวรณ์ 5 และ สังโยชน์ 10 ในโลก คือ ปิยรูปสาตรูป 60 เสียได้
  4. ตามอนุปัสสนา 7 แยกเหตุของธรรมะแต่ละอย่างในธรรมต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 มีความเพียรเผากิเลส 4 มีสัมปชัญญะทำปชานะอยู่ในฐานะ 7 มีสติ 4 กำจัดอภิชฌาและโทมนัส คือ นิวรณ์ 5 และ สังโยชน์ 10 ในโลก คือ ปิยรูปสาตรูป 60 เสียได้

จบอุทเทสวารกถา

ตาม อ.กายคตาสติสูตร ให้แยกมหาสติปัฏฐานสูตรออกเป็น 2 แบบ คือ สมถะ และวิปัสสนา เมื่อดูนิทานของทั้ง 2 สูตร พร้อมทั้งบริบทของสองสูตร จะเห็นว่า กายคตาสติสูตร แสดงกับผู้พึ่งเริ่มสนใจ จึงปิดบรรพะด้วยสมาธิ, ส่วนมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงกับผู้ทำสมถะมาก่อนแล้ว จึงปิดบรรพะด้วยวิปัสสนา. นอกจากนี้ ตามวิสุทธิ. ทิฏฐิวิสุทธินิทเทสและอานาปานกถา สามารถเอาสติปัฏฐานวิภังค์ หรือ สติปัฏฐานกถา ปฏิสัมภิทามรรค มาประกอบกับอานาปานสติสูตรได้อีกด้วย.

การหมุนบรรพะตามสีหวิกกีฬิตนัย (พุทธาสยะ) จะหมุนประมาณนี้:

กายคตาสติสูตร: นิสีทติอานาปานัสสติจตุกกะแรก ภายในภายนอก > ขยญาณ (วิปัสสนาปิดท้ายทั้งข้อนี้และทุกลำดับต่อจากนี้ ต้องทำขยญาณปิดท้ายทุกบรรพะ ด้วยบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี หรือเฉพาะอานาปานาบรรพ ตาม จตุกกะ 2-4 อานาปานสติสูตร ถ้าทำแล้วไม่บรรลุ ก็ทำข้อต่อไป) → นิสฺสินฺโนคจฺฉนฺโตฐิโตสยาโนอานาปานัสสสติจตุกกะแรก ในนอก > ขยญาณ → ฐานะ 7 ในนอก อานาปานัสสติ (จบคำว่า "วสี" จากฏีกากายคตาสติสูตรเฉพาะอานาปานะ จริงๆ โครงสร้างทั้ง 2 สูตรแสดงวสีอยู่แล้ว ทั้งลำดับ ทั้งบริบท ทั้งฏีกา) > ขยญาณ → แยกกายเป็นอวัยวะนิมิตบัญญัติ 32 ในอิ 4 ฐ 7 ในนอก > ขยญาณ → แยกธาตุ 4 ของอวัยวะ จนได้นิมิตบัญญัติ (แบบไม่สมบูรณ์ เพราะอารมณ์เป็นกามธรรมคือธาตุ 4 แต่ต้น จึงได้เพียงอุปจารฌาน) หรือ ถ้าได้อานาปานฌานจะทำทั้งตัวเลยก็ได้ เพราะเคยเห็นอานาปานกลาปนิมิตมาก่อนแล้วที่จุดกระทบ (มหาฏีกา อานาปาน) ทั้งหมด ในอิ 4 ฐ 7 ในนอก > ขยญาณ → นวสีวถิกาอัปปนาฌาน ในอิ 4 ฐ 7 ในนอก (ข้าพเจ้าเข้าใจว่า บริบทในกายคตาสติสูตรจนถึงตรงนี้เป็นอุปจารสมาธิ โดยติปุกขลนัย ที่ มหาอ.มหาสติ. ว่าไว้ จนกระทั่งถึงจุดที่กายคตาสติสูตรแสดงฌาน) > ขยญาณ → กสิณ 4 (และสมถกรรมฐาน 40 ที่เหลือ) ใน อิ 4 ฐ 7 ถึงสมาบัติ 8 และ อภิญญา 5 > ขยญาณ → มหาสติปัฏฐานสูตร ธาตุบรรพะ เริ่มวิปัสสนาแยกธาตุ 4 ให้ได้สภาวะธาตุทั้งร่าง พร้อมทั้งปัจจัย (ดึงอุธํ ปาทตลา มาจากบรรพะก่อน;ดึงปัจจัยมาจาก ยถา ยถา วา กาโย ปณิหิโต กับ ยถาฐิตํ ยถาปณิหิตํ อ.+ฏี. กับ วิสุทธิ. จตุธาตุ.) ในอิ.นั่ง ในนอก > ขยญาณ → เอาอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 มาทำสัมมสนญาณ (อ.มหาสติปัฏฐานสูตร, อ.สามัญญผลสูตร, ขุ.ปฏิ+วิสุทฺธิ.สัมมสนญาณ) > ขยญาณ → ทำอาทีนวานุปัสสนา ใน รูปกรรมฐานทั้งปวง → เอา เวทนา จิต หรือ สัญญาสังขารธรรม (นามกรรมฐาน) ที่กำลังเกิดขึ้นปรากฎชัดอยู่ มาแยกฆนะ 4 ตามในนิทเทสนั้นๆ แล้วจัดหมวดกิจ 5 ในอริยสัจ ตามธัมมานุปัสสนา > ขยญาณ → พิจารณาสัจจบรรพะ > ขยญาณ.

อนึ่ง ติปุกขลนัย (ลัดลำดับ) ให้ดูในอรรถกถานั้นๆ.

กุรุ = เมืองที่คนทำฌานภาวนากันเป็นปกติมาก่อนแล้ว, ฉะนั้น แม้สูตรนี้แสดงตามพุทธาสยะ เป็นสีหวิกกีฬิตนัย แสดงย่อ และเน้นแสดงขยวิปัสสนาเป็นหลัก แต่ชาวกุรุก็สามารถฟังแล้วบรรลุหลังจบเทสนาได้. ในสูตรอื่นที่แสดงแก่ผู้เพิ่งเริ่มทำกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เช่น กายคตาสติสูตร นั้น จะแสดงไว้โดยนัยยะของฌานสมาธิ มากกว่าวิปัสสนา.

อยโน=เป็นไป(เพื่อ) เช่น สมฺปรายโน เป็นไปเพื่อสัมปรายภพ, เอกายโน เป็นไปเพื่อนิพพานอย่างเดียว. ในที่นี้ อานิสงส์ ทั้ง 7 ข้อ หมายถึงพระนิพพานทั้งหมด เพราะเป็นที่ดับเหตุแห่งเหตุทั้งปวง (ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี นิวรณ์เป็นเหตุ) กล่าวคือ นำสติปัฏฐาน 21 บรรพะ (กาย-เวทนา-จิตฺต-ธมฺม) มาเป็นอารมณ์ของสัมมาสังกัปปมรรค (อนุปสฺสี) สัมมาวายามมรรค (อาตาปี) สัมมาทิฏฐิมรรค (สมฺปชาโน) สัมมาสติมรรค (สติมา) สัมมาสมาธิ (วิเนยฺย ตทงฺค-วิกฺขมฺภนวินเยน โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ) เพื่อดับตัณหาโดยสิ้นเชิง(นิ+วาน)ในบรรพะสุดท้าย (โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ ฯลฯ) ด้วยมรรคคือทางที่เป็นไปเพื่อการดับตัณหานั้นนั่นเองโดยสิ้นเชิง (วิเนยฺย สมุจฺเฉทวินเยน โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ).

อยํ มคฺโค = อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ใน สัจจบรรพะ.

สตฺตานํ วิสุทฺธิยา = โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ ใน สัจจบรรพะและปฏิจจสมุปาท.

โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย = โสกปริเทว ใน สัจจบรรพะและปฏิจจสมุปาท.

ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย = ทุกฺขโทมนสฺส ใน สัจจบรรพะและปฏิจจสมุปาท, อตฺถงฺคมาย ใน ขันธบรรพะ.

ญายสฺส อธิคมาย = ญายํ ธมฺมํ กุสลํ = มคฺคกุสลํ ใน สัจจบรรพะและวิวัฏฏะปฏิจจสมุปาท, อธิคม = อยโน, ญายํ อริยมคฺคกุสลํ ปุพฺพภาคมคฺคกุสเลหิ อธิคจฺฉติ.

นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย = นิ+วาน(นิพฺพาน;ตณฺหาย นิโรโธ) ใน สัจจบรรพะและปฏิจจสมุปาท.

จตฺตาโร สติปฏฺฐานา = สัมมาสติมรรค ใน สัจจบรรพะ.

วิหรติ = อิริยติ (สติปัฏฐานวิภังค์;ขุ.ปฏิ.สติปัฏฐานกถา;อ.สูตรนี้) คือ ทำอนุปัสสี ทั้งอิริยาบถ 4 ฐานะ 7 เช่น ทำอานาปานะในอิริยาบถนั่งแล้ว ก็ทำในอิริยาบถ 4 มียืน เป็นต้น และทำในฐานะ 7 มีก้าวไปถอยกลับ เป็นต้นด้วย แม้ในบรรพะอื่นๆ ก็ใช้นัยยะเดียวกันนี้. อนึ่ง เนื้อความนี้อยู่ในบทว่า "ปุน จปรํ" ซึ่งข้าพเจ้าจะอธิบายไว้ในอิริยาบถบรรพะข้างหน้า.

ที่เหลืออธิบายไว้ในบทว่า "อยโน" แล้ว.

การเติมคำว่า "แยก" นี้ มาจากนิทธารณัตถะ (each) ของ สัตตมีวิภัต ที่ปรากฎหลายแห่งในมหาสติปัฏฐานสูตร คือ กาเย, กายสฺมึ, เวทนาสุ, จิตฺเต, จิตฺตสฺมึ, ธมฺเมสุ, นีวรเณสุ, ขนฺเธสุ, อชฺฌตฺติกพาหิรายตเนสุ, โพชฺฌงฺเคสุ, อริยสจฺเจสุ ซึ่งสอดคล้องกับ อ.นิทเทสของสติปัฏฐานสูตร ที่แสดง "กาเย" ในอรรถะว่า "ถอนฆนบัญญัติ" ไว้อย่างละเอียด.

บทอื่น ได้ทำลิงก์ไปยังบรรพะนั้นๆ แล้ว คำอธิบายจักมีในบรรพะนั้นๆ.

คำบริกรรมกรรมฐานละเอียด

[274] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนปลอดคนก็ดี นั่งแล้ว คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติไว้แค่ลมหายใจ ภิกษุนั้นมีมีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้าอยู่

  1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกยาว (ที่ปลายจมูก) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้ายาว (ที่ปลายจมูก)
  2. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกสั้น (ที่ปลายจมูก) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้าสั้น (ที่ปลายจมูก)
  3. ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจออก (ที่ปลายจมูก) ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจเข้า (ที่ปลายจมูก)
  4. ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจออก ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่) ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจเข้า ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกยาว (ที่ปลายจมูก) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้ายาว (ที่ปลายจมูก) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกสั้น (ที่ปลายจมูก) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้าสั้น (ที่ปลายจมูก) ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจออก (ที่ปลายจมูก) ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจเข้า (ที่ปลายจมูก) ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจออก ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่) ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจเข้า ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)

  1. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ ในกองกรัชกายคืออิริยาบถนั่งของตนเองอยู่บ้าง
  2. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ ในกองกรัชกายคืออิริยาบถนั่งของคนอื่นอยู่บ้าง
  3. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ ในกองกรัชกายคืออิริยาบถนั่ง ทั้งของตนเองและของคนอื่นอยู่บ้าง
  4. ภิกษุนั่งตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง
  5. ภิกษุนั่งตามอนุปัสสนาเห็นเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง
  6. ภิกษุนั่งตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดและเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง

ส่วนสติของภิกษุนั้นที่ตั้งมั่นอยู่ว่า "มีกายสังขารคือลมหายใจ(เป็นต้น)อยู่(ไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ ในกรัชกายนี้)" ก็เพียงเพื่อให้ปัญญา(ปชานาติ)พัฒนาเป็นญาณเท่านั้น เพียงเพื่ออบรมสติให้ตั้งมั่นในอารมณ์เท่านั้น ภิกษุไม่ใช้อิริยาบถ 4 ฐานะ 7 อาศัยอยู่กับตัณหาและทิฐิแล้ว และไม่มีอุปาทาน 4 ยึดติดโลกใดๆ ในโลกคือปิยรูปสาตรูป 60 ทั้งสิ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า "ตามอนุปัสสนา 7 แยกกายในกองกรัชกายออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7"ฯ

จบอานาปานบรรพ

คำอธิบายผู้ปรับสำนวน

ทั้ง "อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนปลอดคนก็ดี" ในที่นี้ กับทั้ง "ความมีกัลยาณมิตร" ใน อ.นิวรณ์บรรพะ และกับทั้ง "คบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง, คบหาบุคคลผู้หมดจด, คบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร, คบหาบุคคลผู้มีปัญญา, คบหาบุคคลผู้สงบกาย, คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ, คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร" ใน อ.โพชฌงค์บรรพะ ทั้งหมดนี้ล้วนมีอรรถะอันเดียวกัน ต่างกันที่ลำดับก่อนหลัง, อธิบายว่า ใน วิสุทธิ. กัมมัฏฐานคหณนิทเทส แสดง "วิธีการเข้าหาอาจารย์ผู้กัลยาณมิตร" เป็นต้น ไว้ก่อน "ปถวีกสิณนิทเทส" เป็นต้น, ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบติมือใหม่ จะต้องฝึกปริยัติกับอาจารย์ตามวิธีในกัมมัฏฐานคหณนิทเทสนั้นก่อน ถ้าเป็นพระภิกษุก็ต้องถือนิสสัย ถ้าเป็นฆราวาสก็เข้าไปอุปัฏฐากบ้าง สนทนาหรือนั่งสมาธิด้วยกันกับผู้มีจิตเป็นสมาธิทั้งหลายบ้าง เป็นต้น ล้วนเหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติมือใหม่. แต่ท่านใดที่ได้วสีในฌานก็ดี ได้พลววิปัสสนาแล้วก็ดี ก็ถึงจะทำข้อว่า "อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนปลอดคนก็ดี" ได้. อนึ่ง แม้เมื่อเป็นอาจารย์ การจะออกจากข้อ "อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนปลอดคนก็ดี" เพื่อกลับมาเป็นกัลยาณมิตรให้กับลูกศิษย์ก็สมควร แต่ควรรักษาวสีไว้ด้วย เพราะปริยัติอาศัยกามคุณ มี สี เสียง เป็นต้น ในการอ่านพระธรรม ฟังพระธรรม ท่องจำพระธรรม ปริยัติจึงยังเป็นปฏิปักข์ต่อฌาน อาจทำให้ฌานเสื่อมได้ ถ้าวสีไม่มีกำลังพอ, ส่วนวิปัสสนานั้นวิสุทธิมรรคไม่ได้กล่าวไว้ว่า มีปริยัติเป้นปฏิปักข์ เพราะวิปัสสนาอาศัยปริยัติมาก ถึงอย่างนั้น อาจารย์ทั้งหลายก็ไม่ควรประมาท เพราะถ้าฌานเสื่อมแล้ว แม้พลววิปัสสนาก็เสื่อมด้วย อธิบายว่า เพราะนิวรณ์เป็นปฏิปักข์ต่อพลววิปัสสนาสมาธิ เนื่องจากภังคญาณตามอนุปัสสนาวิปัสสนาจารจิตอยู่ ถ้าฌานเสื่อมก็เท่ากับนิวรณ์เกิดแทรกฌานและพลววิปัสสนาญาณได้ พลววิปัสสนาญาณก็เป็นอันเสื่อมด้วย ฉะนั้น อาจารย์ทั้งหลายผู้จะอนุเคราะห์ลูกศิษย์ควรรักษาวสีในฌานไว้เถิด.

ปชานาติ (ปญฺญา) ในบรรพะนี้ รู้ 4 "ป (ปการ)" คือ 1. ลมยาว 2. ลมสั้น 3. ลมสั้นหรือยาวตลอดสาย 4. ลมสั้นหรือยาวที่เบาลงๆ.

รู้ลม ไม่ใช่รู้ธาตุ 4 ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่กระทบ ลมเป็นอัฏฐกกลาปบัญญัติที่จิตคิดขึ้นจากปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่เกิดพร้อมกันอยู่ ธาตุเหล่านี้จึงกระทบกายปสาทะได้ แต่ผู้ปฏิบัติต้องรู้ลมบัญญัติที่ยาวหรือสั้น โดยอาศัยธาตุเหล่านั้นที่จุดกระทบปลายจมูก คือ เมื่อกระทบกู็รู้ลมยาว ลมสั้น ไม่ใช่รู้เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว หรือ กระทบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นธาตุ ไม่ใช่ลมหายใจยาวสั้น. ลมชัดที่สุด จะไม่ย้ายจุดสัมผัส ไม่เช่นนั้นสมาธิจะไม่ตั้งมั่น เพราะไปเน้นรู้กระทบปรมัตถ์แทนลมบัญญัติ (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดอยู่แถวที่ใดที่หนึ่งที่ปลายจมูก ไม่ตามลมเข้าไปข้างในจากปลายจมูกและไม่ตามออกไปนอกจากปลายจมูก. และสำคัญที่สุด คือ รู้ลมเพื่อเจริญกุศลจิตให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่รู้ลมเพื่อเจริญลม.

ที่อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "รู้ลมธรรมชาติ ไม่บังคับลม" แต่ในบรรพะนี้กล่าวว่า "ฝึกอยู่ว่า (สิกฺขติ)" ทั้ง 2 คำมีความหมายเดียวกัน เพราะลมธรรมชาติ คือ ลมที่เบาลงๆ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) ซึ่งเป็นอารมณ์ของ ปชานาติ, ส่วนการฝึกนั้น คือ "ปชานาติ"ที่พยายามฝึกให้เกิดต่อเนื่องตลอดกองลมเข้า/ออก และ ปชานาติที่พยายามฝึกรู้ลมที่เบาลงๆ (ลมธรรมชาติ). อีกอย่างหนึ่ง ที่อาจารย์ทั้งหลายไม่ให้บังคับลมก็เพราะผู้ปฏิบัติใหม่บางท่านพยายามจะหายใจให้กระทบชัดๆ การทำเช่นนี้เป็นการดูธาตุ ไม่ใช่การดูลมหายใจบัญญัติ ซึ่งจะทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะธาตุเป็นกามธรรมที่พัฒนาเป็นปฏิภาคนิมิตไม่ได้ จึงเป็นปฏิปักข์ต่อสมาธิ แต่ลมหายใจเป็นบัญญัติที่สามารถพัฒนาเป็นปฏิภาคนิมิตได้, นอกจากนี้ การบังคับลมจะทำให้เครียด ซึ่งเป็นปฏิปักข์ต่อโพชฌงค์และองค์ฌาน คือ ปัสสัทธิ-สมาธิ-อุเปกขา-ปีติ-สุข ดังนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงแนะนำไม่ให้บังคับลม. แต่การไม่บังคับลมนั้น ก็ต้องฝึกรู้ลมตลอดสาย และฝึกรู้ลมที่เบาลงๆ ด้วย.

ในพระไตรปิฎก, วิสุทธิมรรค, และอรรถกถาทั้งหลาย แสดง "แสงแห่งปัญญา" ไว้เป็นจำนวนมาก ในเรื่องฌาณ อภิญญา และมรรค. แสงนี้ในพระบาลีใช้คำว่า "อาโลกสญฺญ" ตามพระบาลีข้างต้นบ่งบอกว่า เป็นแสงที่เกิดกะผู้ทำอัปปนาฌานทุกชั้น. แสงแห่งปัญญานี้ ในอรรถกถาและวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ทำนองว่า ให้นำมาพัฒนาเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน เรียกว่า "ปฏิภาคนิมิต (นิมิตที่สว่างเจิดจ้า". ถามว่า บุคคลผู้เจริญจตุธาตุววัตถานก็เกิดแสงเป็นอารมณ์เช่นกัน ทำไมไม่ได้อัปปนาเล่า? ตอบว่า เพราะธาตุ 4 เป็นกามธรรม และจตุธาตุไม่อาจทิ้งธาตุ 4 ได้ (ไม่ วิวิจฺเจว กาเมหิ) ถ้าทิ้งแสงจะเสื่อม, ฉะนั้น ในวิสุทธิมรรคจึงกล่าวว่า "จตุธาตุววัตถานไม่มีนิมิต" ซึ่งฏีกาอธิบายว่า "ไม่มีนิมิต คือ ปฏิภาคนิมิต (ของอัปปนา)" เนื่องจากแสงของจตุธาตุ ปะปนกับการรู้ธาตุ 4 ซึ่งเป็นกามธรรม จึงไม่ใช่บัญญัติบริสุทธิแบบปฏิภาคนิมิตนั่นเอง.

กาเย ในบรรพะนี้โยคเข้ากับ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ > นิสีทติ อุชุํ (กรช)กายํ ปณิธาย > อสฺสสามิ, ส่วน กาย ใน กายานุปสฺสี โยคเข้ากับ ทีฆํ/รสฺสํ กายสงฺขารํ, ส่วน กายสฺมึ โยค กายสงฺขารํ ใน กายานุปสฺสี อีกทีหนึ่ง. ส่วน อตฺถิ กาโยติ นี้ เข้ากับ กายสฺมึ อีกทีหนึ่ง เช่นกัน. ทั้งหมดดูได้จากความต่างของวิภัติ และความต่างของ วา/จ ศัพท์.


ที่ว่า "ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น (อิติ) แยกกายสังขารคือลมหายใจ (กาเย) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถนั่งของตนเองอยู่บ้าง (อชฺฌตฺตํ วา กายานุปสฺสี วิหรติ)" เพราะ อิติ โยค ปฐมจตุกฺก ของอานาปานบรรพะ กาย ศัพท์ ก็ต้องโยค "ลมหายใจ" เช่นกัน. ส่วนที่กล่าวเฉพาะอิริยาบถนั่ง เพราะตามหลักปุพฺพาปรสนฺธิด้วยอำนาจสีหวิกฺกีฬิตนัยนั้น เมื่อตอนต้นบรรพะ กล่าวว่า "นิทฺสีทติ" และบรรพะถัดไปเป็นอิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะ ที่ตรงกับคำขยายของ "วิหรติ" ในปฏิสัมภิทามรรค, วิภังค์, และอรรถกถาของสูตรนี้, รวมถึงตรงกับกายคตาสติสูตรส่วนที่ต่อจาก อิติ ของทุกบรรพะ และที่มูลบาลี,อรรถกถา,ฏีกาขยายการทำกายคตาสติ 14 ให้ถึงอัปปนาฌานที่เป็นวสีไว้ด้วย.

ที่ว่า "ภิกษุนั่งตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง (สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ)" ฏีกาขยาย สมุทยธมฺมานุปสฺสี ไว้ 2 นัย ซึ่งสมควรทั้งคู่ โดยนัยที่แปลว่า "ผู้ตามเห็นเหตุเกิด" นี้กล่าวตามหลักปุพฺพาปรสนฺธิโดยสีหวิกฺกีฬิตนัย คือ เพราะได้กล่าวสมถะจนถึงวิชชา 8 ไว้ในกายคตาสติสูตรแล้ว นำ วิชชาที่ 1 และ 8 ในสูตรนั้น ซึ่งขยายไว้ในสีลักขันธวรรค มีสามัญญผลสูตรเป็นต้น แล้วมาอธิบายให้ละเอียดด้วยอำนาจขยญาณพลววิปัสสนาเป็นต้นไปไว้ในสูตรนี้.

กาเย ในอุทเทส องค์ธรรม คือ กรชกาย เป็นต้น (ดูอรรถกถา), กาย ในกายานุปสฺสี อุทเทส องค์ธรรม คือ กาย ที่ถูกทำฆนวินิพฺโภคะ ละเอียดลงๆ จนถึง ขณะปัจจุบัน (ดู ปฏิ.สติปฏฺฐานกถา, วิภังค. สติปัฏฐานวิภังค์, อรรถกถาสูตรนี้, ปฏิ.อ. สัมมสนญาณนิทฺเทส และ อุทยัพพยญาณนิทเทส [บาลีเท่านั้น] รวมถึง วิสุทฺธิ.มหาฏี. อุทยัพพยญาณกถาวณฺณนา ด้วย.), ส่วน กาเย และ กายานุปสฺสี ในนิทเทส 14 บรรพะ ก็คือส่วนขยายของอุทเทสนั่นเอง. อรรถกถาอุทเทสตรงที่ขยายไว้โดยใช้ศัพท์ที่ปรากฎในสูตรนี้ นั่นคือ ปุพฺพาปรสนฺธิ สีหวิกฺกีฬิตนัย. ส่วนขยายอื่นๆ ก็นัยอื่นๆ (เป็นสภาคะ ฆฏนา กัน, ไม่ได้ขัดแย้งกัน). กายสฺมึ องค์ธรรมคือ ส่วนที่แยก ฆนวินิพฺโภค จาก กาเย ของบรรพะแล้ว นำมาเห็นเหตุเกิดเหตุดับต่อ เช่น ล่มหายใจ ใน ขุ.ปฏิ. อานาปานกถา ปฐมจตุกฺก ก็อธิบายในทำนองให้แยกออกเป็นสภาวะ ซึ่งก็ตรงกับจตุกฺกวิมุตฺต ใน วิสุทฺธิ. อานาปานกถา ที่แสดงการแยกนามรูปและการกำหนดไตรลักษณ์ไว้ ก่อนจะแสดงจตุกฺกที่ 2-4.

"ส่วนสติของภิกษุนั้นที่ตั้งมั่นอยู่ว่า 'มีกายสังขารคือลมหายใจ(เป็นต้น)อยู่(ไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ ในกรัชกายนี้)' ก็เพียงเพื่อให้ปัญญา(ปชานาติ)พัฒนาเป็นญาณเท่านั้น เพียงเพื่ออบรมสติให้ตั้งมั่นในอารมณ์เท่านั้น (อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย)" คือ เมื่อตามแยกสภาวะจนเหลือแต่ปรมัตถธรรมที่เกิดได้จริง โดยปัจจัย 4 โดยขณปัจจุบัน 1 ในแต่ละขันธ์ จนทำลายฆนสัญญาได้แล้ว ด้วยบทว่า "สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา" เป็นต้น ก็จะเห็นเป็นเพียงสภาวะไม่มีสัตว์บุคคลที่บังคับบัญชาได้. เมื่อเห็นขณปัจจุบัน ก็เห็นคาหะ 3 ในอุปักกิเลส 10 ได้ จึงละคาหะ 3 นั้นในวิปัสสนาจารจิตที่เพิ่งดับไปได้ ปชานาติ ก็จะกลายเป็น ญาณํ. คาหะ 3 ในสูตรนี้ ทรงตรัสขยายให้ละเอียดไว้ด้วยอำนาจอุปาทานและสมุทยสัจในสัจจบรรพะแล้ว แต่ในที่นี้ยังแสดงไว้โดยย่อ จึงตรัสว่า 'ภิกษุไม่ใช้อิริยาบถ 4 ฐานะ 7 อาศัยอยู่กับตัณหาและทิฐิแล้ว และไม่มีอุปาทาน 4 ยึดติดโลกใดๆ ในโลกคือปิยรูปสาตรูป 60 ทั้งสิ้น. (อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ)'ฯ

[275] ดูกรภิกษุทั้งหลาย และบรรพะ (จ) กายานุปัสสนาอีกข้อหนึ่ง (ปุน) หลังจากทำกายานุปัสสนาข้อก่อนนั้นแล้ว (อปรํ)

  1. ภิกษุเดินอยู่ ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนว่า เราเดิน(รู้ลมหายใจ เป็นต้น ชัดเจน)อยู่
  2. ภิกษุยืนอยู่ ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนว่า เรายืน(รู้ลมหายใจ เป็นต้น ชัดเจน)อยู่
  3. ภิกษุนั่งอยู่ ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนว่า เรานั่ง(รู้ลมหายใจ เป็นต้น ชัดเจน)อยู่
  4. ภิกษุนอนอยู่ ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนว่า เรานอน(รู้ลมหายใจ เป็นต้น ชัดเจน)อยู่
  5. หรือ กาย(เป็นต้น)ดำรงอยู่ได้โดยอาศัยปัจจยาการอะไรๆ ก็รู้กาย(เป็นต้น)ชัดเจน โดยอาศัยปัจจยาการอย่างนั้นๆ.
  1. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ของตนเองอยู่บ้าง
  2. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ของคนอื่นอยู่บ้าง
  3. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ทั้งของตนเองและของคนอื่นอยู่บ้าง
  4. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง
  5. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง
  6. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดและเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง

ส่วนสติของภิกษุนั้นที่ตั้งมั่นอยู่ว่า "มีกายสังขารคือลมหายใจ(เป็นต้น)อยู่(ไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ ในกรัชกายนี้)" ก็เพียงเพื่อให้ปัญญา(ปชานาติ)พัฒนาเป็นญาณเท่านั้น เพียงเพื่ออบรมสติให้ตั้งมั่นในอารมณ์เท่านั้น ภิกษุไม่ใช้อิริยาบถ 4 ฐานะ 7 อาศัยอยู่กับตัณหาและทิฐิแล้ว และไม่มีอุปาทาน 4 ยึดติดโลกใดๆ ในโลกคือปิยรูปสาตรูป 60 ทั้งสิ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า "ตามอนุปัสสนา 7 แยกกายในกองกรัชกายออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7"ฯ

จบอิริยาปถบรรพ

สำหรับท่านที่อ่านอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรอย่างเดียว ไม่ได้ท่องจำในระบบมุขปาฐะ อาจสงสัยในคำแปลตรงนี้ว่าทำไมจึงต่างจากอรรถกถา ข้อนั้นมีอธิบายดังนี้.-

ในกายคตาสติสูตร แสดงอิริยาบถบรรพะเป็นการฝึกฌานวสี ต่อจากบรรพะอื่นๆ มีอานาปานบรรพะและปฏิกูลมนสิการบรรพะ เป็นต้น เพราะแสดงแก่ผู้เพิ่งสนใจกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงไม่มีพยัญชนะว่า "ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ ในกองกรัชกายคืออิริยาบถนั่งของตนเองอยู่บ้าง … ภิกษุตามอนุปัสสนาเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง" เป็นต้น. แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตร อรรถกถาท่านแสดงอิริยาบถบรรพะเป็นวิปัสสนา เพราะสูตรนี้ทรงแสดงแก่ผู้ทำภาวนามาก่อนแล้ว จึงให้ทำพลววิปัสสนาทั้งในอารมณ์กรรมฐานและในนามรูปที่ทำกรรมฐานในอารมณ์อยู่ ด้วยพยัญชนะว่า "ภิกษุตามอนุปัสสนาเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง" และบทว่า "ภิกษุไม่ใช้อิริยาบถ 4 ฐานะ 7 อาศัยอยู่กับตัณหาและทิฐิแล้ว" เป็นต้น.

ในที่นี้แปลไว้กลางๆ ใช้ได้กับทั้ง 2 สูตร เพราะครึ่งแรกของอิริยาบถและสัมปชัญญะบรรพะ ปฏิบัติแบบเดียวกันทั้ง 2 สูตรจึงใช้ร่วมกันได้ ต่างกันที่ครึ่งหลัง ตามประเภทอินทรีย์อ่อนและกล้าของผู้ฟัง. ฉะนั้น ผมจึงต้องแปลอย่างนั้น ไม่สามารถแปลแต่เพียงว่า "อิริยาบถและสัมปชัญญบรรพะ คือการทำวิปัสสนาในอิริยาบถและสัมปชัญญบรรพะ" เพราะต้องแปลให้สอดคล้องกับพระสูตรอื่นๆ อรรถกถาอื่นๆ ด้วย โดยอาศัยวิธีการในระบบมุขปาฐะ มีเตติปกรณ์เป็นต้น ในที่อื่นๆ ก็นัยเดียวกันนี้.

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร แสดงอิริยาบถเป็นธาตุไว้ อาศัยบทในสูตรว่า "ปรํ", "ยถา ยถา วา กาโย ปณิหิโต", และ "ยถา ฐิตํ ยถา ปณิหิตํ" โดย ในอรรถกถา ขยายโดยใช้บทว่า "ฐิตํ" ร่วมด้วย. ฉะนั้น บรรพะที่ขยายอิริยาบถบรรพะ ก็คือ ธาตุบรรพะ (จตุธาตุววัตถาน) นั่นเอง.

ฏี-ปณิหิโตติ ยถา ยถา ปจฺจเยหิ ปกาเรหิ นิหิโต ฐปิโตฯ ในที่อื่นที่แสดงสภาวะธรรมอยู่ก็เช่นกัน ให้แปลคำว่า "อาการ" เป็นปัจจัยปัจจยุปบัน หรือ ปฏิจจสมุปปาทปฏิจจสมุปปันนะ ทั้งหมด.

[276] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

  1. ภิกษุย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะก้าว ในขณะถอย
  2. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะแล ในขณะเหลียว
  3. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะคู้เข้า ในขณะเหยียดออก
  4. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร
  5. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะกิน ขณะดื่ม ขณะเคี้ยว ขณะลิ้ม
  6. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
  7. ย่อมรู้(อารมณ์กรรมฐาน)ชัดเจนอย่างชำนาญในขณะเดิน ขณะยืน ขณะนั่งขณะหลับ ขณะตื่น ขณะพูด ขณะนิ่ง
  1. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ของตนเองอยู่บ้าง
  2. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ของคนอื่นอยู่บ้าง
  3. ภิกษุตามอนุปัสสนาดังกล่าวข้างต้น แยกกายสังขารคือลมหายใจ (เป็นต้น) ในกองกรัชกายคืออิริยาบถ 4 ทั้งของตนเองและของคนอื่นอยู่บ้าง
  4. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง
  5. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง
  6. ภิกษุตามอนุปัสสนาเห็นเหตุเกิดและเหตุดับในกายสังขารคือลมหายใจดังกล่าวข้างต้นในอิริยาบถ 4 อยู่บ้าง

ส่วนสติของภิกษุนั้นที่ตั้งมั่นอยู่ว่า "มีกายสังขารคือลมหายใจ(เป็นต้น)อยู่(ไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ ในกรัชกายนี้)" ก็เพียงเพื่อให้ปัญญา(ปชานาติ)พัฒนาเป็นญาณเท่านั้น เพียงเพื่ออบรมสติให้ตั้งมั่นในอารมณ์เท่านั้น ภิกษุไม่ใช้อิริยาบถ 4 ฐานะ 7 อาศัยอยู่กับตัณหาและทิฐิแล้ว และไม่มีอุปาทาน 4 ยึดติดโลกใดๆ ในโลกคือปิยรูปสาตรูป 60 ทั้งสิ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า "ตามอนุปัสสนา 7 แยกกายในกองกรัชกายออกเป็นส่วนๆ ดำรงอยู่อย่างนี้ในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7"ฯ

จบสัมปชัญญบรรพ

คำอธิบายผู้ปรับสำนวน

แต่นี้ไปยังไม่ได้ปรับสำนวน

[277] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตามันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลืองงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืดไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือดเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

[278] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบธาตุมนสิการบรรพ

[279] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่าถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

[280] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

[281] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ

[282] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ

[283] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ

[284] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่งกระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

[285] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ

[286] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ

[287] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้างพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบนวสีวถิกาบรรพ

จบกายานุปัสสนา

[288] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสหรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสหรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้างพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ

จบเวทนานุปัสสนา

[289] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

จบจิตตานุปัสสนา

[290] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ 5 อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยกามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ*กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเราหรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ 5 อยู่ ฯ

จบนีวรณบรรพ

[291] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ 5 ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ 5 อย่างไรเล่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ 5 อยู่ ฯ

จบขันธบรรพ

[292] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก 6 ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก 6 อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูปและรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง 2 นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง … ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น … ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส …ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย … ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง 2 นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร*ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก 6 อยู่ ฯ

จบอายตนบรรพ

[293] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ 7 ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ 7 อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯอีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ 7 อยู่ ฯ

จบโพชฌงคบรรพ

จบภาณวารที่หนึ่ง

[294] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ 4 อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ 4 อยู่ อย่างไรเล่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

จบภาณวารที่ 1

ทุกขสัจนิทเทส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ ฯ

[295] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ

ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ

ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลายความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ

ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ

ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญกิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ

ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ

ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ

ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้นภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ

ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ

ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5เป็นทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

สมุทยสัจนิทเทส

[296] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิด*เพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ

[297] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณมโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม*สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม*ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตกเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ

นิโรธสัจนิทเทส

[298] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหนเมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณมโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญาธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ

มัคคสัจนิทเทส

[299] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่าสัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา*สมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ

จบสัจจบรรพ

จบธัมมานุปัสสนา

อานิสงส์

[300] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 ปี เขาพึงหวังผล 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน 1 หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี 1 7 ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ตลอด 6 ปี … 5 ปี … 4 ปี … 3 ปี …2 ปี … 1 ปี เขาพึงหวังผล 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน 1 หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี 1 1 ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ตลอด 7 เดือน เขาพึงหวังผล 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน 1 หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี 1 7 เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 นี้ อย่างนี้ตลอด 6 เดือน … 5 เดือน … 4 เดือน … 3 เดือน … 2 เดือน … 1 เดือน … กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน1 หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี 1 กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ อย่างนี้ตลอด 7 วัน เขาพึงหวังผล 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน 1 หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี 1 ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ 9