อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
9. ปริวัตตนหารวิภังค์
[35] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ ปริวัตตนะ เป็นไฉน
นิทเทสที่กล่าวว่า "ย่อมเปลี่ยนธรรมที่เป็นข้าศึก" เป็นต้น เป็นปริวัตตนหาระ ฯ
มิจฉาทิฏฐิ ของบุรุษบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ คร่ำคร่าแล้ว (คือ การไม่เกิดขึ้น) มีอยู่ ฯ ก็อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย (มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะเป็นต้น มีโลภะเป็นต้น มีปาณาติบาตเป็นต้น) ของบุคคลนั้น พึงเกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย อกุศลธรรมเหล่านั้นของบุคคลนั้น คร่ำคร่าแล้ว(ไม่เกิดแล้ว)ฯ อนึ่ง กุศลธรรมมิใช่น้อยของบุคคลนั้น ย่อมเกิดเพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ
มิจฉาสังกัปปะ ของบุรุษบุคคลผู้เป็นสัมมาสังกัปปะ คร่ำคร่าแล้ว ก็อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยเหล่าใด ของบุคคลนั้น พึงเกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็อกุศลธรรมเหล่านั้นของบุคคลนั้น คร่ำคร่าแล้ว อนึ่งกุศลธรรมมิใช่น้อยของบุคคลนั้น ย่อมเกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ
โดยนัยที่กล่าวนี้ มิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะของบุรุษบุคคล ผู้เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิสัมมาวิมุตติ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ถึงความคร่ำคร่าแล้ว ก็อกุศลธรรมอันลามก มิใช่น้อย เหล่าใด ของบุคคลนั้น พึงเกิดขึ้น เพราะมิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะเป็นปัจจัย อกุศลธรรมเหล่านั้น คร่ำคร่าแล้ว อนึ่ง กุศลธรรมมิใช่น้อยของบุคคลนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะสัมมาวิมุตติญาณทัสสนะเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ
[36] อีกอย่างหนึ่ง ปาณาติบาตของบุคคลใด ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตเป็นอันบุคคลนั้นละแล้ว (ละด้วยตทังคปหานะเป็นต้น) ฯ อทินนาทานของบุคคลใด ผู้เว้นขาดจากอทินนทาน ก็เป็นอันบุคคลนั้นละแล้ว ฯ โดยนัยนี้อพรหมจรรย์ ของบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ มุสาวาทของบุคคลผู้มีปกติกล่าวสัจจะย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ ปิสุณาวาจาของบุคคลผู้ไม่กล่าวคำ ส่อเสียดย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ ผรุสวาจาของบุคคลผู้กล่าวคำไพเราะย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ สัมผัปปลาปะของบุคคลผู้มีปกติกล่าวตามกาลย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ อภิชฌาของบุคคลผู้ไม่มีอภิชฌาย่อมเป็นอันละได้แล้วฯ พยาบาทของบุคคลผู้อันไม่มีพยาบาทย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ มิจฉาทิฏฐิของบุคคลผู้ สัมมาทิฏฐิก็ย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ
ก็แต่ว่า มิจฉาทิฏฐิบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ติเตียน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 วาทะเป็นไปตามวาทะอันบุคคลพึงติเตียนอันเป็นไปกับเหตุที่กระทำ อันบุคคลพึงเห็นเองย่อมมาถึงบุคคลนั้น ๆ อนึ่ง บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐินั้น เจริญอยู่ย่อมติเตียนซึ่งพระธรรมคือสัมมาทิฏฐิ ฯ ก็ชนเหล่าใด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ด้วยการติเตียนนั้น สิ่งที่ควรบูชา สิ่งที่ควรสรรเสริญย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่านั้นผู้เจริญอยู่ ฯ ด้วยคำตามที่กล่าวนี้ มิจฉาทิฏฐิบุคคลเหล่านั้น เจริญอยู่ ย่อมติเตียนธรรมคือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ ก็ชนเหล่าใดเป็นมิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยการติเตียนนั้น การบูชา การสรรเสริญย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่านั้นผู้เจริญอยู่ ฯ
ก็แล ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจกามเหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า "กามทั้งหลายอันบุคลพึงกิน กามทั้งหลายอันบุคคลพึงบริโภคกามทั้งหลายอันบุคคลพึงส้องเสพ กามทั้งหลายอันบุคคลพึงเสพเป็นนิตย์กามทั้งหลายอันบุคคลพึงให้เจริญ กามทั้งหลายอันบุคคลพึงกระทำให้มาก" ดังนี้
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกามทั้งหลาย เป็นอธรรม ของชนเหล่านั้น ฯก็หรือว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "การประกอบความเพียร เพื่อทำตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)ว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์ (นิยยานิกธรรม)" ดังนี้ นิยยานิกธรรม ของชนเหล่านั้น เป็นอธรรม ฯ ก็หรือว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "ทุกข์ คือความเร่าร้อน เป็นธรรม" ดังนี้ธรรม คือ สุข จึงเป็นอธรรมของชนเหล่านั้น ฯ
หมุนกลับ วิปลาส 4อีกนัยหนึ่ง เมื่อภิกษุตามพิจารณาในอสุภะ คือความไม่งามในสังขารทั้งปวงอยู่ สุภสัญญา (ความสำคัญว่างาม) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ เมื่อตามเห็นทุกข์อยู่ สุขสัญญา (สำคัญว่าเป็นสุข) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ เมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ นิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ
เมื่อตามเห็นความไม่มีตัวตน อัตตสัญญา (ความสำคัญว่าตัวตน) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ ก็หรือว่า ภิกษุนั้น ย่อมชอบใจธรรมใด ๆ หรือเข้าใกล้ธรรมใด ๆด้วยทิฏฐิ ธรรมใดเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่ชอบใจ หรือธรรมที่เข้าใกล้นั้น ๆธรรมที่เป็นปฏิปักษ์นั้น อันเธอกำหนดรู้แล้วโดยความเป็นข้าศึกกัน ฯ ปริวัตตนหาระ พึงกระทำด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กัน ตามสมควรแก่ธรรมที่ตนปรารถนาให้เป็นไป ฉะนี้ ฯ
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "ย่อมหมุนกลับธรรมที่เป็นข้าศึกในกุศลและอกุศลว่า ธรรมนี้ควรเจริญ ธรรมนี้ควรละ" ดังนี้
จบ ปริวัตตนหารวิภังค์
10. เววจนหารวิภังค์
[37] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ เววจนะ เป็นไฉน
นิทเทสว่า "ถ้อยคำ มีอย่างต่าง ๆ มากในพระสูตร โดยปริยายแห่งธรรม มีกาม 6 บทนั้น กาม 4 บทแรก มุ่งถึง วัตถุกาม กาม 2 บทหลัง มุ่งถึงกิเลสกาม ฯ
ความหมายอย่างเดียวกัน" เป็นต้น เป็นเววจนหาระ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง โดยเววจนะ (คำไวพจน์)ซึ่่งแทนกันและกันได้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า "อาสา (ความหวัง) ปิหา (ความปรารถนา) อภินันทนา (ความยินดียิ่ง) สรา คือ ตัณหาที่ซ่านไปตั้งอยู่ในอเนกธาตุ ตัณหาที่มีความไม่รู้เป็นมูลธรรมชาติที่เกิดก่อน และธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ตัณหาทั้งหมดพร้อมทั้งมูลรากอันเรากระทำให้สิ้นแล้ว" ดังนี้ ฯ
ความหวังซึ่งประโยชน์อันมี (ในอนาคต) อันใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปรารถนาว่า ประโยชน์จักมาถึงแน่แท้ ตัณหานี้ท่านเรียกชื่อว่า อาสา ฯ ความปรารถนาซึ่งประโยชน์อันกำลังเป็นไป หรือเห็นสิ่งที่ดีกว่าแล้วปรารถนาว่า ขอเราพึงเป็นเช่นนี้ อันใด ตัณหานี้ท่านเรียกชื่อว่า ปิหา ฯ การรักษาประโยชน์ที่สำเร็จ ชื่อว่า อภินันทนา คือ ย่อมยินดียิ่ง (สนุกสนาน) กับญาติที่รัก หรือย่อมยินดียิ่งซึ่งธรรม (มีรูปที่เป็นอติอิฏฐารมณ์เป็นต้น) หรือย่อมยินดีซึ่งสัตว์และสังขารโดยความไม่ปฏิกูลด้วยอำนาจวิปลาส ฯ
คำว่า "อเนกธาตุ" ได้แก่ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ฯ (โดยย่อ 18 ธาตุ) ฯ
คำว่า "สรา" (แปลว่า ซ่านไป) ได้แก่ บางคนมีตัณหาน้อมไปในรูป (ติดในรูป) บางคนมีตัณหาน้อมไปในเสียง บางคนมีตัณหาน้อมไปในกลิ่น บางคนมีตัณหาน้อมไปในรส บางคนมีตัณหาน้อมไปในโผฏฐัพพะ บางคนมีตัณหาน้อมไปในธรรม ฯ
ในธาตุ 6 มีรูปธาตุเป็นต้นนั้น โทมนัส 6 อันอาศัยเรือน โสมนัส 6อาศัยเรือน และโทมนัส 6 อาศัยเนกขัมมะ โสมนัส 6 อาศัยเนกขัมมะ รวม 24 บทเหล่านี้เป็นฝ่ายแห่งตัณหา เป็นคำไวพจน์ของตัณหา ฯ อุเบกขา 6ที่อาศัยเรือน นี้เป็นฝ่ายแห่งทิฏฐิ ฯ
[38] ตัณหาเหล่านั้น มีประการตามที่กล่าวในอาสาเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า ธัมมนันที (ความเพลิดเพลินในธรรม) ธัมมเปมัง (ความรักในธรรม) และความยึดมั่นในธรรม เป็นไปโดยอาการแห่งความปรารถนาของตัณหา คำนี้จึงเป็นเววจนะของตัณหา ฯ
เววจนะแห่งจิตเป็นต้นคำว่า "จิตฺตํ มโน วิญฺญาณํ" นี้ เป็นเววจนะแห่งจิต ฯ คำว่า "มนินฺทริยํมโนธาตุ มนายตนํ วิชานนํ" นี้เป็นเววจนะแห่งมนะ (ใจ)ฯ ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ อธิปัญญาสิกขา ปัญญา ปัญญาขันธ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ญาณ สัมมาทิฏฐิ ตีรณะ วิปัสสนา ญาณในธรรม ญาณในอรรถะ อนุโลมญาณญาณในความสิ้นไป ญาณในความไม่เกิดขึ้น อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ จักขุ วิชชา พุทธิ ภูริ เมธา อาโลกะ ก็หรือว่า ธรรมชาติอย่างใด แม้อื่นที่มีชาติอย่างนี้ (คือ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัยและความเลือกสรรเป็นต้น) นี้เป็นเววจนะแห่งปัญญา ฯ อินทรีย์ 5 คือขเยญาณัง อนุปปาเทญาณัง และอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นต้น เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ 5 นี้ เป็นเววจนะแห่งโลกุตตรปัญญา ปัญญาทั้งปวงนอกจากเววจนะ 5 นี้ เป็นมิสสกะ คือปะปนกันทั้งโลกียะทั้งโลกุตตระ ฯ ก็อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัทธา เพราะอรรถะว่า ความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถะว่า ความริเริ่ม ชื่อว่า สติ เพราะอรรถะว่า การไม่เลอะเลือน ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถะว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ปัญญาเพราะอรรถะว่า ความรู้ทั่ว ฯ
เววจนะแห่งพุทธานุสติเววจนะนี้ เหมือนอย่างที่กล่าวในพุทธานุสติว่า"แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม"ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสมบูรณ์แห่งพละเป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งเวสารัชชญาณ เป็นผู้มีปฏิสัมภิทาอันบรรลุแล้ว เป็นผู้ละแล้วซึ่งโยคะ 4 เป็นผู้ก้าวล่วงการถึงอคติ เป็นผู้มีลูกศรอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีแผลเกิดขึ้น เป็นผู้ย่ำยีข้าศึกได้แล้ว เป็นผู้ยังปริยุฏฐานให้ดับสนิท เป็นผู้พ้นจากเครื่องจองจำ มีเครื่องผูกอันแก้ออกแล้ว เป็นผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งอัธยาสัยเป็นผู้ทำลายความมืด เป็นผู้มีจักษุ เป็นผู้ก้าวล่วงโลกธรรม เป็นผู้ปราศจากความยินดีความยินร้าย เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในธรรมที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา เป็นผู้ครอบงำเครื่องจองจำ เป็นผู้มีสงครามอันหยุดแล้ว เป็นผู้รุ่งเรืองยิ่ง เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคบเพลิง เป็นผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง เป็นผู้กระทำความรุ่งโรจน์ เป็นผู้ขจัดความมืด เป็นผู้ละการเบียดเบียนของกิเลส เป็นผู้มีวรรณะหาประมาณมิได้ เป็นผู้มีวรรณะไม่พึงประมาณ เป็นผู้มีวรรณะอันไม่พึงนับ เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง เป็นผู้กระทำพระรัศมี เป็นผู้กระทำพระธรรมให้มีรัศมีรุ่งโรจน์ ดังนี้ คำว่า "พระพุทธเจ้า และ พระผู้มีพระภาคเจ้า" นี้เป็นเววจนะของพุทธานุสติ ฯ
เววจนะแห่งธัมมานุสติอนึ่ง ในธัมมานุสติ บัณฑิตกล่าวเววจนะไว้ว่า "พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน" ดังนี้ พระธรรมนี้ใด เป็นเครื่องขจัดความเมา (มทนิมฺมทโน) เป็นเครื่องนำออกซึ่งความกระหาย(ปิปาสวินโย) เป็นเครื่องถอนขึ้นซึ่งอาลัย เป็นเครื่องตัดซึ่งวัฏฏะ เป็นธรรมว่างจากสังขตะ เป็นของได้ยากอย่างยิ่ง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นเครื่องสำรอกราคะ เป็นความดับทุกข์ เป็นพระนิพพานนิพพาน ชื่อว่า อสังขตะ ชื่อว่า อนันตะ (ไม่มีที่สุด) ชื่อว่า อนาสวะชื่อว่า ปรมัตถสัจจะ ชื่อว่า ปาระ (ฝั่ง) ชื่อว่า นิปุณะ (ละเอียด) ชื่อว่า สุทุททสะ (เห็นได้ยาก) ชื่อว่า อชัชชระ (ไม่คร่ำคร่า) ชื่อว่า ธุวะ (มั่นคง)ชื่อว่า อปโลกินะ (ไม่บุบสลาย) ชื่อว่า อนิทัสสนะ (ไม่เห็นด้วยจักษุ) ชื่อว่า นิปปปัญจะ (ไม่มีธรรมเนิ่นช้า) ชื่อว่า สันตะ (สงบจากสังขาร) ชื่อว่า อมตะ ชื่อว่า ปณีตะ (สูงสุด) ชื่อว่า สิวะ (มีความเย็น) ชื่อว่า เขมะ(ปราศจากอันตราย) ชื่อว่า ตัณหักขยะ (สิ้นตัณหา) ชื่อว่า อัจฉริยะ(อัศจรรย์) ชื่อว่า อัพภูตะ (ไม่เกิดแล้วมีอยู่) ชื่อว่า อนีติกะ (ปราศจากทุกข์)ชื่อว่า อนีติกธรรม (ธรรมปราศจากทุกข์) พระนิพพานนีิ้ อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว ฯ
พระนิพพานไม่เกิด ไม่มีปัจจัยให้เกิด ไม่มีอันตราย ไม่มีปัจจัยกระทำอันตราย ไม่มีความโศก ปราศจากความโศกแล้ว ไม่มีอุปสรรคไม่มีธรรมเป็นอุปสรรค พระนิพพานนี้ อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "นิพพานเป็นธรรมลึกซึ้ง เป็นธรรมเห็นได้ยาก เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ไม่มีธรรมอื่นเสมอ ไม่มีธรรมอื่นเปรียบ เป็นธรรมเจริญที่สุด เป็นธรรมประเสริฐที่สุด"ดังนี้ ฯ
นิพพาน ชื่อว่า เลณะ (ที่พักอันปลอดภัย) ชื่อว่า ตาณะ (ที่ต้านทาน)ชื่อว่า อรณะ (กำจัดภัย) ชื่อว่า อนังคณะ (ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน) ชื่อว่า อกาจะ (บริสุทธิ์สะอาด) ชื่อว่า วิมละ (ปราศจากมลทิน) ชื่อว่า ทีปะ(เกาะไม่จมด้วยโอฆะ 4) ชื่อว่า สุขอันสงบจากสังสาร ชื่อว่า อัปปมาณะ(ไม่มีประมาณ) ชื่อว่า ปติฏฐะ (ที่พึ่ง) ชื่อว่า อกิญจนะ (ไม่มีกังวัล) ชื่อว่า อัปปปัญจะ (ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า) อันพระสุคตแสดงไว้แล้ว ฯ คำนี้เป็นเววจนะในธัมมานุสติ ฯ
เววจนะแห่งสังฆานุสติสังฆานุสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์นี้ใดคือ คู่แห่งบุรุษ 4 เป็นบุรุษบุคคล 8 พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ควรแก่การบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นสาระมีศีลเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ผ่องใสดุจความใสของเนยใสของสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ยกคุณที่มีสาระของสัตว์ทั้งหลายเป็นเสาหลักที่มั่นคงของสัตว์ทั้งหลาย เป็นดังดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมของสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่สักการะบูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย" คำนี้ก็เป็นเววจนะในสังฆานุสติ ฯ
เววจนะแห่งสีลานุสติก็คำที่กล่าวไว้ในสีลานุสติว่า "ศีลทั้งหลายไม่ขาด (อขณฺฑานิ ไม่เป็นท่อน)ไม่ทะลุ (อจฺฉิทฺทานิ) ไม่ด่าง (อสพลานิ) ไม่พร้อย (อกมฺมาสานิ) เป็นอริยศีลเป็นศีลอันพระอริยะใคร่ เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิไม่ถูกต้องแล้ว เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ก็ศีล ชื่อว่า อลังการ เพราะเป็นเครื่องประดับองค์เบื้องบนให้งดงาม ศีล ชื่อว่า นิธานะ เพราะอรรถะว่า ก้าวล่วงอันตรายโดยประการทั้งปวง ศีล ชื่อว่า ศิลปะ (ธนูศิลปะ) เพราะความที่ธนูศิลป์ เป็นเครื่องแทงได้ตลอดเวลา ศีล ชื่อว่า เวลา (ฝั่ง) เพราะอรรถะว่า ไม่ก้าวล่วง ศีล ชื่อว่า ธัญญะ เพราะอรรถะว่า เป็นทรัพย์ตัดความขัดสน ศีลชื่อว่า อาทาสะ (แว่น) เพราะอรรถะว่าเป็นเครื่่องส่องดูธรรม ศีล ชื่อว่า ปราสาทเพราะอรรถะว่า เป็นเครื่องแลดูโลก ชื่อว่า ศีล ย่อมเป็นไปในภูมิทั้งปวงมีอมตนิพพานเป็นที่สุด" คำนี้เป็นเววจนะในสีลานุสติ ฯ
ก็ในจาคานุสติ ท่านกล่าวว่า "ในสมัยใด อริยสาวกอยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีในการสละ ควรแก่ผู้ขอ ยินดีในการจำแนกทาน" ดังนี้ คำนี้ก็เป็นเววจนะในจาคานุสติฯ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "เววจนะทั้งหลายมีมาก" ดังนี้ ฯ
จบ เววจนหารวิภังค์
11. บัญญัติหารวิภังค์
[39] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ บัญญัติ เป็นไฉน
นิทเทสว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง ด้วยบัญญัติมีอย่างต่าง ๆ มิใช่น้อย" ดังนี้ เป็นบัญญัติหาระ ฯ
เทศนา โดยปกติกถาอันใด เทศนานี้ ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติถามว่า ก็เทศนาโดยปกติกถา เป็นบัญญัติอะไรตอบว่า บัญญัติสัจจะ 4 เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "อิทํ ทุกฺขํ" ดังนี้ บัญญัตินี้เป็น นิกเขปบัญญัติ แห่งขันธ์ 5 เป็นนิกเขปบัญญัติแห่งธาตุ 6 ธาตุ 18 อายตนะ 12 และแห่งอินทรีย์ 10 ฯ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น ในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีการเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไปในที่ใด มีชาติชรามรณะต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศกก่อความยุ่งยาก มีความคับแค้น ดังนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในผัสสาหารไซร้ ฯลฯ ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศกก่อความยุ่งยาก มีความคับแค้น" ดังนี้ ฯ
บัญญัตินี้ ชื่อว่า ปภวบัญญัติแห่งทุกข์และสมุทัย ฯ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยากไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด ไม่มี ชาติชรามรณะต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีความยุ่งยาก ไม่มีความคับแค้น ดังนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยากไม่มีในผัสสาหาร ฯลฯ ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ไม่มีในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงามในอาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมไม่มีชาติ ชรา มรณะต่อไปดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีความยุ่งยากไม่มีความคับแค้น" ดังนี้ ฯ
บัญญัตินี้ ชื่อว่า ปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ชื่อว่า ปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งนิโรธ ฯ
[40] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้ไม่ประมาทมีปัญญา มีสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "จักษุไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "รูปทั้งหลายไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "จักขุวิญญาณไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "จักขุสัมผัสไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง" ดังนี้โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "ใจไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง"ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "มโนวิญญาณไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "มโนสัมผัสไม่เที่ยง" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง" ดังนี้ ฯ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า ปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ชื่อว่า ปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งนิโรธ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูกร ราธะ เธอจงรื้อ เธอจงทำลาย จงทำรูปให้เป็นของเล่นสนุกสนานไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาด้วยปัญญา เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นการสิ้นไปแห่งทุกข์ เพราะการสิ้นไปแห่งทุกข์เป็นนิพพาน ฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เธอจงรื้อ เธอจงทำลาย จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นสนุกสนานไม่ได้ เธอจงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาด้วยปัญญา เพราะการสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นการสิ้นไปแห่งทุกข์ เพราะการสิ้นไปแห่งทุกข์เป็นนิพพาน ฯ บัญญัตินี้ชื่อว่า นิโรธบัญญัติแห่งนิโรธ ชื่อว่า นิพพิทาบัญญัติแห่งความยินดี ชื่อว่า ปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ชื่อว่า ปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งนิโรธ ฯ
[41] ภิกษุนั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ปฏิเวธบัญญัติแห่งสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า นิกเขปบัญญติแห่งทัสสนภูมิ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งโสตาปัตติผล ฯ
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวะ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวสมุทัย" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา" ฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า อาสวะเหล่านั้นย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ฯ บัญญัตินี้ ชื่อว่า อุปปาทบัญญัติแห่งขยญาณ(ญาณในความสิ้นไป) ชื่อว่า โอกาสบัญญัติแห่งญาณในความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า ปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ชื่อว่า ปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ชื่อว่า อารัมภบัญญัติแห่งวิริยินทรีย์ ชื่อว่า อาหฏนาบัญญัติ(นำกิเลสเพียงดังไข่ขางออก) แห่งไข่แมลงวัน ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งภาวนาภูมิ ชื่อว่า อภินิฆาตบัญญัติ (การทำลาย) แห่งอกุศลธรรมอันลามก ฯ
บัญญัติ เทสนาธรรมจักรดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "นี้ทุกข์" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
"นี้ทุกขสมุทัย" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "นี้ทุกขนิโรธ" ดูกรภิกษุทั้งหลายดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ ฯ บัญญัตินี้ ชื่อว่า เทสนาบัญญัติแห่งสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งสุตมยปัญญา ชื่อว่าสัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตนาบัญญัติแห่งธรรมจักร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกข์นี้นั่นแล อันบุคคลควรกำหนดรู้"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "ทุกขสมุทัยนี้นั่นแล อันบุคคลควรละ" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "ทุกขนิโรธนี้นั่นแล อันบุคคลควรกระทำให้แจ้ง" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั่นแล อันบุคคลควรเจริญ" ดังนี้ ฯ
บัญญัตินี้ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า นิกเขปบัญญติแห่งจินตามยปัญญา ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอัญญินทรีย์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกข์นี้นั่นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ว่า "ทุกขสมุทัยนี้นั่นแล เราละได้แล้ว" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ว่า "ทุกขนิโรธนี้นั่นแล เรากระทำให้แจ้งแล้ว" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั่นแล เราก็เจริญแล้ว" ดังนี้ ฯ
บัญญัตินี้ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งภาวนามยปัญญา ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอัญญาตาวินทรีย์ และชื่อว่า ปวัตตนาบัญญัติแห่งพระธรรมจักร แล ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า"มุนี ได้สละแล้วซึ่งสังขารในภพ อันเป็นเหตุเกิดกรรม ที่ชั่งได้(ตุลํ) และชั่งไม่ได้ (อตุลํ) มีความยินดีในภายใน มีจิตมั่นคงปลงอายุสังขาร(เพราะ) ได้ทำลายกิเลสให้เกิดตนแล้ว ดุจการทำลายเกราะ ฉะนั้น" ฯ
คำว่า "ตุลํ" ได้แก่ สังขารธาตุ ฯ
คำว่า "อตุลํ" ได้แก่ นิพพานธาตุ ฯ
คำว่า "ตุลมตุลญฺจ สมฺภวํ" ได้แก่ อภิญญาบัญญัติแห่งธรรมทั้งปวง และนิกเขปบัญญัติแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯ
คำว่า "มุนี ได้สละแล้วซึ่งสังขารในภพ" ได้แก่ ปริจาคบัญญัติแห่งสมุทัยและปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ฯ
คำว่า "มีความยินดีในภายใน มีจิตมั่นคง" ได้แก่ภาวนาบัญญัติแห่งกายคตาสติ และฐิติบัญญัติแห่งเอกัคคตาจิต ฯ
คำว่า "ได้ทำลายกิเลสให้เกิดตนแล้ว ดุจการทำลายเกราะ" ได้แก่อภินิพพิทาบัญญัติแห่งจิต (การเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง) เป็นอุปาทานบัญญัติของพระสัพพัญญูพุทธะ เป็นปทาลนาบัญญัติ (ทำลาย) แห่งกระเปาะไข่ คือ อวิชชาฯ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ตุลมตุลญฺจ สมฺภวํ" แปลว่า เป็นเหตุเกิดกรรมที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมารว่า"บุคคลใด ได้เห็นทุกข์ มีกามใดเป็นแดนมอบให้ บุคคลนั้นพึงน้อมไปในกามทั้งหลายได้อย่างไร เพราะกามทั้งหลายเป็นเครื่องข้องในโลก บุคคลมีสติ รู้อย่างนี้ พึงศึกษาเพื่อกำจัดกามเหล่านั้น" ฯ
คำว่า "โย ทุกฺขํ" แปลว่า บุคคลใด….ทุกข์ ได้แก่ เววจนบัญญัติ และปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ฯ คำว่า "ยโตนิทานํ" แปลว่า กามใดเป็นการมอบให้เป็นปภวบัญญัติและปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ฯ คำว่า "อทฺทกฺขิ" แปลว่า ได้เห็นแล้ว เป็นเววจนบัญญัติและปฏิเวธบัญญัติแห่งญาณจักษุ ฯ
คำว่า "บุคคลนั้น พึงน้อมไปในกามทั้งหลายได้อย่างไร" เป็นเววจนบัญญัติและอภินิเวสบัญญัติแห่งกามตัณหา ฯ คำว่า "เพราะรู้กามทั้งหลายเป็นเครื่องข้องในโลก" เป็นทัสสนบัญญัติโดยเป็นข้าศึกแห่งกามทั้งหลาย ฯ จริงอยู่ กามทั้งหลายเปรียบเทียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนเหว และอสรพิษ ฯ
คำว่า "เตสํ สติมา" แปล มีสติ…. แห่งกามเหล่านั้น เป็นอปจยบัญญัติ(บัญญัติไม่สั่งสมไว้) แห่งสาระ เป็นนิกเขปบัญญัติแห่งกายคตาสติ และเป็นภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ฯ
คำว่า "วินยาย สิกฺเข" แปลว่า พึงศึกษาเพื่อการกำจัด เป็นปฏิเวธบัญญัติแห่งการกำจัดราคะ การกำจัดโทสะ การกำจัดโมหะ ฯ
คำว่า "ชนฺตุ" (บุคคล) เป็นเววจนบัญญัติแห่งพระโยคี จริงอยู่ ในกาลใดพระโยคีใด รู้ว่า "กามทั้งหลายเป็นเครื่องข้อง" ดังนี้ ในกาลนั้น พระโยคีนั้นย่อมยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้กามทั้งหลายเกิดขึ้น พระโยคีนั้นย่อมพยายามเพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น บัญญัตินี้ เป็นวายามบัญญัติเพื่อการบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เป็นนิกเขปบัญญัติของบุคคลผู้ไม่ยินดีโลกียธรรมในคำว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเป็นต้นนั้น พระโยคีนั้น ย่อมพยายาม เพื่อดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ บัญญัตินี้ เป็นอัปปมาทบัญญัติแห่งภาวนาเป็นนิกเขปบัญญัติแห่งวิริยินทรีย์ เป็นอารักขบัญญัติแห่งกุศลธรรม เป็นฐิติ-บัญญัติแห่งอธิจิตตสิกขา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"บุคคลใด ได้เห็นทุกข์แล้ว มีกามใดเป็นแดนมอบให้" เป็นต้น ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"สัตวโลก มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมเห็นเหมือนมีรูปที่ยั่งยืนคนพาลมีอุปธิเป็นเครื่องผูกไว้ ถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว ย่อมปรากฏราวกะว่าเที่ยงยั่งยืน กิเลสเป็นเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บัณฑิตผู้เห็นอยู่" ฯ
คำว่า "สัตวโลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน" เป็นเทสนาบัญญัติแห่งวิปลาส ฯ
คำว่า "ย่อมเห็นเหมือนมีรูปที่ยั่งยืน" เป็นวิปริตบัญญัติของโลก ฯ
คำว่า "คนพาล มีอุปธิเป็นเครื่องผูกไว้" เป็นปภวบัญญัติแห่งการท่องเที่ยวของตัณหาอันลามก เป็นกิจจบัญญัติของปริยุฏฐาน เป็นพลวบัญญัติของกิเลสทั้งหลาย เป็นวิรุหนาบัญญัติ (บัญญัติที่งอกงาม) แห่งสังขารทั้งหลาย ฯ
คำว่า "ถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว" เป็นเทสนาบัญญัติ และเป็นเววจนบัญญัติแห่งความโง่เขลา คือ อวิชชา ฯ
คำว่า "ย่อมปรากฏราวกะว่าเที่ยงยั่งยืน" เป็นทัสสนบัญญัติแห่งทิพยจักษุเป็นนิกเขปบัญญัติแห่งปัญญาจักษุ ฯ
คำว่า "กิเลสเครื่องกังวล ย่อมไม่มีแก่บัณฑิตผู้เห็นอยู่" เป็นปฏิเวธบัญญัติของสัตว์ทั้งหลาย ก็กิเลสเครื่องกังวล คืออะไร กิเลสเครื่องกังวล คือ ราคะกิเลสเครื่องกังวล คือ โทสะ กิเลสเครื่องกังวล คือ โมหะ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"สัตวโลก มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน" เป็นต้น ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก(นิสสรณะ) ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ เพราะฉะนั้นการสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ" ดังนี้ ฯ ข้อว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดขึ้นแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้" ดังนี้บัญญัตินี้เป็นเทสนาบัญญัติ และเป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน ฯ ข้อว่า"การสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้" ดังนี้ เป็นเววจนบัญญัติแห่งสังขตะ และเป็นอุปนยนบัญญัติ (บัญญัติที่น้อมเข้าไปใกล้) แห่งสังขตะ ฯ ข้อว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่" ดังนี้ เป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน และเป็นโชตนาบัญญัติ (บัญญัติการอธิบาย) แห่งนิพพาน ฯ
ข้อว่า "เพราะฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ" ดังนี้ บัญญัตินี้เป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน เป็นนิยยานิกบัญญัติแห่งมรรค เป็นนิสสรณบัญญัติจากสังสาระ ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "โน เจตํภิกฺขเว อภวิสฺส" ดังนี้ ฯ
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง ด้วยบัญญัติทั้งหลายมีอย่างต่าง ๆ" ดังนี้ ฯ
จบ บัญญัติหารวิภังค์
12. โอตรณหารวิภังค์
[42] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ โอตรณะ เป็นไฉน
นิทเทสที่กล่าวว่า "ปฏิจจสมุปบาทใด" เป็นต้น เป็นโอตรณหาระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า" บุคคลพ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวง ในเบื้องบน ในเบื้องต่ำ ไม่ตามเห็นว่า นี้เป็นเรา บุคคลพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะ ที่ตนยังไม่เคยข้าม เพื่อความไม่เกิดอีก" ดังนี้ ฯ
คำว่า "อุทฺธํ" ในเบื้องบน ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุ ฯ คำว่า "อโธ" ในเบื้องต่ำ ได้แก่ กามธาตุ ฯ คำว่า "สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต" (พ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวง)ความว่า การพ้นนี้ เป็นการพ้นด้วยอเสกขะในโลกธาตุ 3 (กามธาตุ รูปธาตุอรูปธาตุ) ฯ อเสกขะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละเป็นวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ เพราะความดับแห่งสังขาร วิญญาณจึงดับ เพราะความดับแห่งวิญญาณ นามรูปจึงดับเพราะความดับแห่งนามรูป สฬายตนะจึงดับ เพราะความดับแห่งสฬายตนะผัสสะจึงดับ เพราะความดับแห่งผัสสะ เวทนาจึงดับ เพราะความดับแห่งเวทนาตัณหาจึงดับ เพราะความดับแห่งตัณหา อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้โอตรณานี้ ชื่อ โอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละ บัณฑิตสงเคราะห์ไว้ด้วยขันธ์ 3 คือ ด้วยสีลขันธ์ ด้วยสมาธิขันธ์ ด้วยปัญญาขันธ์ โอตรณานี้ ชื่อโอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยขันธ์ 3 ฯ
อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร (คือหยั่งลงในสังขารขันธ์) สังขารทั้งหลายเหล่าใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งภพ (ส่วนแห่งการเกิด) สังขารเหล่านั้น บัณฑิตสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมธาตุโอตรณานี้ ชื่อ โอตรณา (คือการหยั่งลง) ด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธรรมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
คำว่า "อยํ อหสฺมีติ อนานุปสฺสี" (บุคคลไม่ตามเห็นว่า นี้เป็นเรา) ความว่าบุคคลผู้มีสักกายทิฏฐิอันถอนขึ้นแล้วนี้ใด การถอนขึ้นซึ่งสักกายทิฏฐินั้น เป็นเสกขวิมุตติ เสกขะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 5 ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
อินทรีย์ 5 ที่เป็นเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละเป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ ปฏิจจสมุปบาททั้งปวง เป็นไปด้วยอาการอย่างนี้ ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
วิชชานั้นนั่นแหละ เป็นปัญญาขันธ์ ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใดไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิดขึ้น สังขารเหล่านั้น ท่านสงเคราะห์ไว้ในธรรมธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธัมมธาตุนั้นนับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิดขึ้นเทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ บุคคลพ้นวิเศษแล้วด้วยเสกขวิมุตติ และอเสกขวิมุตติ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะที่ตนยังไม่เคยข้ามเพื่อความไม่เกิดอีก ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อุทฺธํ อโธ"ดังนี้ ฯ
[43] "การเคลื่อนไป ย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัย การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เมื่อการเคลื่อนไปไม่มี ปัสสัทธิย่อมมี เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ ความยินดีย่อมไม่มี เมื่อความยินดีไม่มีอยู่ การมาและการไปย่อมไม่มี เมื่อการมาการไปไม่มี จุติและการเกิดก็ย่อมไม่มี เมื่อจุติและการเกิดไม่มี โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มีระหว่างโลกทั้ง 2 ก็ไม่มี ปฏิจจสมุปบาทนี้นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้ ฯ
คำว่า "นิสฺสิตสฺส จลิตํ" อธิบายว่า ชื่อว่านิสสัย (ความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) มี 2 อย่าง คือ ตัณหานิสสัย และ ทิฏฐินิสสัย ในธรรมทั้ง 2 นั้น เจตนาของบุคคลผู้กำหนัดแล้ว อันใด เจตนาธรรมนี้ ชื่อว่า ตัณหานิสสัย ฯ เจตนาของบุคคลผู้หลงอันใด เจตนาธรรมนี้ ชื่อว่า ทิฏฐินิสสัย ฯ ก็เจตนาเป็นสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมี ปฏิจจสมุปบาททั้งปวงเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
ในตัณหานิสสัยและทิฏฐินิสสัยนั้น เวทนาของบุคคลผู้กำหนัด อันใด เวทนานี้เป็นสุขเวทนา (คือ นอนเนื่องในสุขเวทนา) เวทนาของบุคคลผู้หลง อันใด เวทนานี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา (คือ นอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุข) เวทนาทั้ง 2 นี้เป็นเวทนาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
ในขันธ์นั้น สุขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ สุขินทรีย์ และโสมนัสสินทรีย์ส่วนอทุกขมสุขเวทนาเป็นอุเบกขินทรีย์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแหละ หยั่งลงในสังขาร สังขารเหล่าใดมีอาสวะเป็นองค์แห่งการเกิด สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธรรมธาตุเทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธรรมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดมีอาสวะเป็นองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
คำว่า "การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่อาศัย" ความว่า บุคคลอันตัณหาไม่อาศัย ด้วยอำนาจสมถะ หรือบุคคลผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ด้วยอำนาจวิปัสสนา วิปัสสนาอันใด อันนี้ เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับปฏิจจสมุปบาททั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
วิปัสสนานั้นนั่นแหละ เป็นปัญญาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ วิปัสสนานั่นแหละ เป็น 2 อินทรีย์ คือ วิริยินทรีย์ และปัญญินทรีย์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
วิปัสสนานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งการเกิด สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธรรมธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธรรมธาตุนั้นหยั่งลงในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
คำว่า "ปสฺสทฺธิยา สติ" ได้แก่ ปัสสัทธิ 2 อย่าง คือ ความสงบอันเป็นไปทางกาย และความสงบอันเป็นไปทางใจ กายิกสุข อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิเจตสิกสุขอันใด นี้ชื่อว่า เจตสิกปัสสัทธิ ฯ บุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง บุคคลเมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะหมดความยินดี ญาณในจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า เราหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว การประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ควรกระทำ เราทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
บุคคลนั้น ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในเสียงทั้งหลายย่อมไม่น้อมไปในกลิ่นทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในรสทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในธรรมทั้งหลาย เพราะความสิ้นราคะ เพราะความสิ้นโทสะ เพราะความสิ้นโมหะ เมื่อจะบัญญัติ พึงประกาศสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ว่า กำลังยืนอยู่ กำลังเที่ยวไปด้วยรูปใด แต่เพราะความสิ้นไปแห่งรูปนั้น เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะสละ เพราะสละคืน เป็นสัตว์พ้นแล้วในการนับว่ารูป (เพราะ) สัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้นไม่ถึงแล้วซึ่งการนับว่า"มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "มีอยู่ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่" ดังนี้บ้าง โดยที่แท้ สัตว์นั้นสุขุมคือยากที่ใคร ๆ จะเข้าใจได้ เป็นสัตว์มีคุณไม่มีประมาณ อันบุคคลไม่พึงนับ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า สัตว์นั้นสงบแล้วทีเดียว เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งโทสะ เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ ฯ
เมื่อจะบัญญัติ พึงประกาศสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้นว่า กำลังยืนอยู่ กำลังเที่ยวไป ด้วยเวทนาใด ฯลฯ ด้วยสัญญาใด ฯลฯ ด้วยสังขารทั้งหลายเหล่าใดฯลฯ ด้วยวิญญาณใด แต่เพราะความสิ้นไปแห่งวิญญาณนั้น เพราะคลายกำหนัดเพราะความดับ เพราะสละ เพราะสละคืน ซึ่งเป็นสัตว์พ้นแล้ว ในการนับว่าวิญญาณ เพราะสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่"ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่ ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่ก็ไม่ใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่" ดังนี้บ้าง โดยที่แท้ สัตว์นั้นสุขุม คือยากที่ใคร ๆ จะเข้าใจได้เป็นสัตว์มีคุณไม่มีประมาณ อันบุคคลไม่พึงนับ แต่ย่อมถึงซึ่งการนับว่า สัตว์นั้นสงบแล้ว เพราะสิ้นราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะสิ้นโมหะ ฯ
คำว่า "อาคติ" ได้แก่ ผู้มาในโลกนี้คำว่า "คติ" ได้แก่ สัตว์ละภพนี้ไป ฯ อธิบายว่า แม้การมาและการไปก็ย่อมไม่มี ฯ
คำว่า "เนวิธ" แปลว่า ในโลกนี้ก็ไม่มี ได้แก่ อายตนะภายใน 6 ฯ คำว่า"น หุรํ" แปลว่า ในโลกอื่นก็ไม่มี ได้แก่ อายตนะภายนอก 6 ฯ คำว่า"น อุภยมนฺตเรน" แปลว่า ระหว่างโลกทั้ง 2 ก็ไม่มี ได้แก่ ย่อมไม่เห็นตนในธรรมทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยผัสสะ ฯ
คำว่า "เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส" แปลว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท อธิบายว่า ปฏิจจสมุปบาทนั้น มี 2 คือ โลกียะและโลกุตตระ ฯ ใน 2อย่างนั้น โลกียปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลายจนกระทั่งถึง ชรา มรณะ ฯ โลกุตตรปฏิจจสมุปบาทว่า ความไม่เดือดร้อนย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล จนกระทั่งถึงญาณรู้ว่า กิจอย่างอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"การเคลื่อนไปย่อมมีแก่ผู้อาศัย การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่อาศัย ฯลฯ ปฏิจจสมุปบาทนี้นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้ ฯ
[44] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี แต่ละอย่างมากมายในโลกนี้ เพราะอาศัยสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร้องไห้ร่ำไร และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใด ไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รักในโลกไหน ๆ" ดังนี้ ฯ ข้อว่า"ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี แต่ละอย่างมากมายในโลกนี้ เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก" นี้เป็นทุกขเวทนา ฯ
ข้อว่า "เมื่อไม่มีสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร้องไห้ร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ ย่อมไม่มี" นี้เป็นสุขเวทนาฯ เวทนา ได้แก่ เวทนาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ ชรามรณะทั้งปวงมีด้วยอาการอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ ทุกขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์เทสนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแหละหยั่งลงในสังขาร สังขารเหล่าใด มีอาสวะและเป็นองค์แห่งภพสังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธัมมธาตุนั้นนับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด มีอาสวะเป็นองค์แห่งภพนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
ข้อว่า "เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใด ไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในกาลไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุขปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักในกาลไหน ๆ" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นการละตัณหา ฯ เพราะความดับแห่งตัณหาอุปาทานจึงดับ เพราะความดับแห่งอุปาทานภพจึงดับ ชรามรณะทั้งปวงย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
การละตัณหานั้นนั่นแหละเป็นสมถะ สมถะนั้นเป็นอินทรีย์ 2 คือ สตินทรีย์และสมาธินทรีย์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ สมถะนั้นนั่นแหละเป็นสมาธิขันธ์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ สมถะนั้นนั่นแหละนับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธัมมธาตุ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เยเกจิ โสกา" เป็นต้น ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ถ้าว่าวัตถุกาม จะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ก็ย่อมมีใจเอิบอิ่ม (ปีติมโน) แน่แท้ ฯ ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิดความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไปไซร้ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนลูกศรแทง ฉะนั้น ฯ ผู้ใดงดเว้นกามทั้งหลายเหมือนอย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้" ดังนี้ ฯ
ในคาถาเหล่านั้น ความเป็นผู้มีใจเอิบอิ่มนี้ ได้แก่ ความยินดี ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ในกาลใด สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนลูกศรแทง" นี้เป็นปฏิฆะ ฯ
ก็ความยินดีและปฏิฆะ เป็นฝ่ายแห่งตัณหา ก็แล อายตนะทั้งหลายมี 10 รูป เป็นปทัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้) แห่งตัณหา นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
อายตนะที่มีรูป 10 รูปเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นรูปกาย ประกอบด้วยนามทั้ง 2 นั้น เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา พุทธวจนะนี้ทั้งปวงย่อมเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ฯ
นามรูปนั้นนั่นแหละ เป็นธาตุ 18 นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ในนามรูปนั้น รูปกายอันใด นี้เป็นอินทรีย์ที่เป็นรูป 5 นามกายอันใดนี้อินทรีย์ที่เป็นอรูป 5 อินทรีย์เหล่านี้ เป็น 10 อย่าง นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ในกาลใด ผู้ใด งดเว้นกามเหมือนอย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้" ดังนี้คาถานี้ เป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นนั่นแหละ เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ คำทั้งปวง ย่อมเป็นไป ด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละเป็นปัญญาขันธ์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
วิชชานั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 2 คือ วิริยินทรีย์และปัญญินทรีย์ นี้ชื่อว่าโอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "กามํ กามยมานสฺส" เป็นต้น ฯ
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ อินทรีย์ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ อาศัยการประชุมลงและการหยั่งลง พึงให้อินทรีย์ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะอาศัยหยั่งลงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "โย จ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท"เป็นต้น ฯ
จบ โอตรณหารวิภังค์
13. โสธนหารวิภังค์
[45] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ โสธนะ เป็นไฉน
คาถาว่า "วิสชฺชิตมฺหิ ปเญฺห" เป็นต้น เป็นโสธนหาระ ฯ
ท่านอชิตะ ย่อมทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ในปารายนวรรคโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาแล้ว โดยประการนั้น ฯ นี้พึงทราบว่า โสธนหาระ ฯ เนื้อความแห่งคาถา อันท่านอชิตะทูลถามว่า"โลก คือ หมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร พระองค์ตรัสอะไร ว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น" ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกร อชิตะ โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความสงสัย เรากล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น" ดังนี้ ฯ
ในปัญหาที่ทูลถามว่า"โลก คือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้"พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระบทด้วยพระดำรัสว่า"โลก อันอวิชชาหุ้มห่อไว้" แต่มิได้ทรงชำระบทริเริ่ม (เพราะยังไม่สิ้นสุดเนื้อความที่ต้องการเพื่อจะรู้) ฯ ในปัญหาว่า "โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร"พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระบทว่า"โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความสงสัย เพราะความประมาท" แต่มิได้ทรงชำระบทริเริ่ม ฯ ในปัญหาว่า"พระองค์ตรัสอะไรว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระบทว่า "เรากล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้" แต่มิได้ทรงชำระบทริเริ่ม ฯ ในปัญหาว่า"อะไร เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มบทอันหมดจดแล้วด้วยพระดำรัสว่า"ทุกข์ เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น" ดังนี้ เพราะเนื้อความที่ท่านอชิตะต้องการเพื่อจะรู้นั้นเป็นบทที่ให้เข้าใจ ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"โลก อันอวิชชาหุ้มห่อไว้" เป็นต้น ฯ
ท่านอชิตะทูลถามว่า"กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยอะไร" ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกร อชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา" ดังนี้ ฯ ในปัญหาที่ทูลถามว่า"กระแสทั้งหลาย ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย" ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงชำระบทว่า"สติ เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น" แต่มิใช่ทรงชำระบทริเริ่ม ฯ ในปัญหาว่า "ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยอะไร" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มบทอันหมดจดแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า"กระแสเหล่านั้น อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา" ดังนี้ ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ยานิ โสตานิ โลกสฺมิํ" เป็นต้น ฯ
ในปัญหาของท่านอชิตะว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป ณ ที่ไหน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์เถิด" ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มบทอันบริสุทธิ์ว่า"ดูกร อชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านถามแล้ว นามและรูปย่อม ดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ ย่อมดับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้ ฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ดูกร อชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านถามแล้ว" เป็นต้น ฯ ในปัญหาใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มบทอันบริสุทธิ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้ปัญหานั้น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาแล้ว ฯ แต่ในปัญหาใด พระองค์ทรงเริ่มบทอัน (ยัง) ไม่บริสุทธิ์ ปัญหานั้นย่อมไม่เป็นอันวิสัชนาก่อน ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"ในปัญหา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาแล้ว" ดังนี้ ฯ
จบ โสธนหารวิภังค์
14. อธิฏฐานหารวิภังค์
[46] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ อธิฏฐานะเป็นไฉน
คาถาว่า "เอกตฺตตาย ธมฺมา เยปิ จ เวมตฺตตาย นิทฺทิฏฺฐา" เป็นต้น เป็น
อธิฏฐานหารวิภังค์
ธรรมเหล่าใด มีทุกขสัจจะเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้ว (โดยความเป็นอันเดียวกันและต่างกัน) ในธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทรงไว้อย่างนั้น คือ ไม่พึงใคร่ครวญโดยประการอื่น ฯ
คำว่า "ทุกฺขํ" ได้แก่ เอกัตตตา (ภาวะอย่างเดียวกัน) ฯ ในอรรถะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้นนั้น ทุกข์เป็นไฉน การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติ ทุกฺขา) ความแก่เป็นทุกข์(ชรา ทุกฺขา) ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ ความแปลกกันแห่งทุกข์นั้น ๆ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา (ความต่างกัน) แห่งทุกข์ ฯ
คำว่า "ทุกฺขสมุทโย" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งสมุทัย ฯ
ในอรรถะแห่งทุกขสมุทัยนั้น ทุกขสมุทัยเป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดีและกำหนัด มีความเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา(แห่งสมุทัย) ฯ
คำว่า "ทุกฺขนิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งการดับ ฯในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธเป็นไฉน ความสำรอก ความดับโดยไม่เหลือ ความสละความสละคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ (ความไม่มีอาลัย) แห่งตัณหานั้นนั่นแหละภาวะนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกัน
แห่งปฏิปทาที่ถึงความดับทุกข์ ฯ ในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาเป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "มคฺโค" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งมรรค ชื่อเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งมรรคนั้น มรรคเป็นไฉน มรรค (หนทาง) อันยังสัตว์ให้ถึงนรก มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดอสูร มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงสวรรค์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความเป็นมนุษย์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน มรรคนี้ ชื่อว่าเวมัตตตา ฯ
คำว่า "นิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งความดับ ชื่อว่าเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งนิโรธะนั้น นิโรธะเป็นไฉน ความดับ (นิโรธะ) โดยพิจารณา (เจริญธรรมตรงกันข้าม) ความดับโดยไม่พิจารณา (ธณิกนิโรธะ) ความดับความยินดี ความดับปฏิฆะ ความดับมานะ ความดับมักขะ (ความลบหลู่)ความดับปฬาสะ (ความขึ้งเคียด) ความดับอิสสา ความดับมัจฉริยะ ความดับกิเลสทั้งปวง ความดับต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "รูปํ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความที่รูปเสมอกันโดยไม่เพ่งรูปที่ต่างกันชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งรูปนั้น รูปเป็นไฉน รูปที่เป็นมหาภูตะมี 4 การเรียกรูปอาศัยมหาภูตะ 4 (มี 24) ความต่างกัน นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งรูป ฯ
บรรดารูปเหล่านั้น มหาภูตะ 4 เป็นไฉน ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ นี้เรียกว่า มหาภูตะ 4 ฯ
[47] บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลาย โดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยสังเขปและโดยพิสดาร ฯ บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลายโดยพิสดารอย่างไร ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 20 อย่าง ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 12 อย่าง ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 4 อย่าง ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 6 อย่าง ฯ
ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้ปถวีธาตุโดยอาการ 20 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นกระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมองในศีรษะ ดังนี้ ฯ
ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้อาโปธาตุด้วยอาการ 12 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิตเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ฯ
ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 4 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้เตโชธาตุ ด้วยอาการ 4 เหล่านี้ คือ กายนี้ ย่อมเร่าร้อน ด้วยเตโชธาตุอันใดที่กำเริบแล้ว กายนี้ ย่อมคร่ำคร่าด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ให้ถึงความบกพร่องแห่งอินทรีย์ กายนี้ ย่อมแผดเผา ด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ทำให้คร่ำครวญว่า เราร้อน ฯ ของที่กินแล้ว ที่ดื่มแล้ว ที่เคี้ยวแล้ว ที่ลิ้มแล้ว ย่อมถึงการแปรเปลี่ยนไป(ย่อย) ด้วยเตโชธาตุอันใด เตโชธาตุทั้ง 4 นั้น มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ ฯ
ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 6 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้วาโยธาตุ ด้วยอาการ 6 เหล่านี้ว่า ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้องลมในสำไส้ใหญ่น้อย ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ (ทำให้เหยียดคู้เป็นต้น)ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนี้ ฯ
พระโยคาวจร พิจารณารูปพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่พิจารณาอยู่ ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้อย่างนี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งบ่อน้ำครำ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งกองอยากเยื่อ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ ซึ่งกระท่อมที่ถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใดเมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งป่าช้า (ศพ) ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใดพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่ พิจารณาอยู่ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือ ส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ก็ปถวีธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอกเหล่านี้แล ปถวีธาตุนั้นสักว่าเป็นปถวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นรูปทั้งปวงนั้นตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายในปถวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปถวีธาตุ ฯ ก็อาโปธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ ก็เตโชธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ
ก็วาโยธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก วาโยธาตุนั้น สักว่าเป็นวาโยธาตุเท่านั้นพึงเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นรูปนั้น ตามความเป็นจริงด้วยสัมมัปปัญญา อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายวาโยธาตุจิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ" ความต่างกันแห่งรูปนั้น ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งรูป ฯ
[48] คำว่า "อวิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ
บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันเป็นส่วนเบื้องต้น (อดีตอัทธา) ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันส่วนเบื้องปลาย (อนาคตอัทธา) ความไม่รู้ทั้งส่วนเบื้องต้น ทั้งส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือ เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้ตาม ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอดความไม่พิจารณา การไม่เข้าไปกำหนด การไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ การไม่เข้าไปเพ่งพินิจ การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งอวิชชา ฯ
คำว่า "วิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ
บรรดากุศลธรรมเหล่านั้น วิชชาเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตทั้งในส่วนอนาคต ความรู้ในธรรมทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ธัมมวิจยะ การกำหนดโดยชอบ การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญปัญญาดังแผ่นดิน (ภูริ) ปัญญากำจัดกิเลส (เมธา) ปัญญาเป็นเครื่องนำไป วิปัสสนาความรู้ชัด ปัญญาเป็นเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท แสงสว่างคือปัญญา ความรุ่งเรืองคือปัญญาปัญญาดังดวงแก้ว อโมหะ ธัมมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์(การณะ) แห่งอริยมรรค (มคฺคงฺคํ) การหยั่งลงในอริยมรรค (มคฺคปริยาปนฺนํ)นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งวิชชา ฯ
คำว่า "สมาปตฺติ" ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
ในอรรถะแห่งสมาบัตินั้น สมาบัติเป็นไฉน
สัญญาสมาบัติ (การเข้าฌาณประกอบด้วยสัญญา) อสัญญาสมาบัติ (คือสมาบัติที่เกิดขึ้นเพื่อสงบระงับสัญญา หรือสัญญาวิราคะ) เนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ วิภูตสัญญาสมาบัติ (คือวิญญาณัญจายตนสมาบัติ) นิโรธสมาบัติสมาบัติที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "ฌายี" คือ ฌาณลาภี ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
ในอรรถะแห่งฌายีนั้น ฌายีเป็นไฉน
พระเสกขะผู้มีปกติเพ่ง (ฌายี) มีอยู่ พระอเสกขะ ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ เนวเสกขนาเสกขบุคคล ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ อาชานิยบุคคล (พระอรหันต์) ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลเปรียบด้วยม้ามีฝีเท้าเลว มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลผู้ยิ่งด้วยทิฏฐิมีปกติเพ่ง บุคคลผู้่ยิ่งด้วยตัณหา มีปกติเพ่ง บุคคลผู้ยิ่งด้วยปัญญา มีปกติเพ่ง(ด้วยลักขณูปนิชฌาณ) มีอยู่ ฌายีที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "สมาธิ" คือ เอกัคคตา ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
ในอรรถะแห่งสมาธินั้น สมาธิเป็นไฉน
สรณสมาธิ (คือ เอกัคคตาในอกุศลจิต) อรณสมาธิ (คือ สมาธิที่เป็นกุศลและอัพยากตะ) สเวรสมาธิ (คือ เอกัคคตาในปฏิฆจิต) อเวรสมาธิ (คือ เมตตาเจโตวิมุตติ) สัพยาปัชชสมาธิ (คือ เอกัคคาในปฏิฆจิต) อัพยาปัชชสมาธิ (คือเมตตาเจโตวิมุตติ) สัปปีติกสมาธิ นิปปีติกสมาธิ สามิสสมาธิ (คือ โลกียสมาธิ)นิรามิสสมาธิ (คือ โลกุตตรสมาธิ) สสังขารสมาธิ (สมาธิข่มกิเลสได้ยาก คือทุกขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ และสุขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ) อสังขารสมาธิ (คือ นอกจากสสังขารสมาธินั้น) เอกังสภาวิตสมาธิ (สมาธิของสุกขวิปัสสกะ)อุภยังสภาวิตสมาธิ (คือ สมาธิของสมถยานิก) อุภยโย ภาวิตภาวโนสมาธิ (คือสมาธิของกายสักขีผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ หานภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นไปในส่วนที่เสื่อม) ฐิติภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่) วิเสสภาคิยสมาธิ (คือสมาธิอันเป็นส่วนวิเศษ) นิพเพธภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด) โลกียสมาธิ โลกุตตรสมาธิ มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่าเวมัตตตา แห่งสมาธิ ฯ
คำว่า "ปฏิปทา" คือ ข้อปฏิบัติ ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
ในอรรถะแห่งปฏิปทานั้น ปฏิปทาเป็นไฉน
อาคาฬหปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในการประกอบเนือง ๆ ในกามสุข) นิชฌามปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในอัตตกิลมถานุโยค) มัชฌิมปฏิปทา อขมาปฏิปทา (ไม่อดทนในการทำความเพียร) ขมาปฏิปทา สมาปฏิปทา (คือ ให้มิจฉาวิตกสงบ)ปฏิปทาที่ฝึกมนินทรีย์ ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว สุขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า สุขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
คำว่า "กาโย" คือ กาย ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
ในอรรถะแห่งกายนั้น กายเป็นไฉน
นามกาย และ รูปกาย ในนามกายและรูปกายทั้ง 2 นั้น รูปกายเป็นไฉน
เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยังยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง บัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง ปิตตัง เสมหังปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง มัตถลุงคังนี้ ชื่อว่า รูปกาย ฯ นามกาย คือ นาม เวทนา สัญญา เจตนา จิต ผัสสะ มนสิการกายทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งกาย ฯ
โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนี้ ธรรมใด (มีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง) มีภาวะเสมอแก่ธรรมใด (คือ มีภาวะเสมอแก่ชราเป็นต้น) ธรรมนั้น ชื่อว่า เอกี(มีภาวะอย่างเดียวโดยเป็นทุกข์เป็นต้น) เพราะความที่ธรรมนั้นมีความเป็นไปได้อย่างเดียว (ภาวะนี้เรียกว่า เอกัตตตา) ฯ ก็หรือว่า ธรรมใด แปลกไปด้วยภาวะใด ๆ ธรรมนั้น ย่อมถึงความต่างกันด้วยภาวะนั้น ๆ (นี้ เรียกว่า เวมัตตตา) ฯ
ด้วยอาการอย่างนี้ อันบุคคลผู้ถาม พึงพิจารณาในพระสูตร หรือในไวยากรณ์หรือในคาถาก่อน บุคคลย่อมถามอะไรโดยเอกัตตตา หรือ โดยเวมัตตตา ฯ
ถ้าถามโดยเป็นเอกัตตตา ก็พึงตอบโดยเอกัตตตา ถ้าถามโดยเวมัตตตา ก็พึงตอบโดยเวมัตตตา ฯ ถ้าถามโดยสัตตาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยสัตตาธิฏฐานถ้าถามโดยธัมมาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยธัมมาธิฏฐาน หรือถามโดยประการใด ๆก็พึงตอบโดยประการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายะจึงกล่าวว่า"ธรรมทั้งหลาย โดยที่ทรงแสดงแล้ว โดยความเป็นอย่างเดียวกัน"เป็นต้น ฯ
จบ อธิฏฐานหารวิภังค์
15. ปริกขารหารวิภังค์
[49] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ ปริกขารเป็นไฉน
คาถาว่า "เย ธมฺมา ยํ ธมฺมํ ชนยนฺติ" เป็นต้น ชื่อว่า ปริกขารหาระ ฯ
ธรรมใด ย่อมยังธรรมใดให้เกิดขึ้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ปริกขาร (ปริกฺขาโร)แห่งธรรมนั้น ปริกขารมีลักษณะอย่างไร ปริกขารมีการให้เกิดเป็นลักษณะโดยสังเขป ธรรม 2 อย่าง คือ เหตุและปัจจัย ย่อมยังธรรมให้เกิดขึ้น ฯ
บรรดาธรรม 2 นั้น เหตุมีลักษณะอย่างไร ปัจจัยมีลักษณะอย่างไรเหตุมีลักษณะไม่ทั่วไป (อสาธารณะ) คือ เหตุมีลักษณะให้ผลไม่ทั่วไป นอกจากผลที่ตนให้เกิดขึ้น ส่วนปัจจัยมีลักษณะเป็นปัจจัยทั่วไป (สาธารณะ) แก่ผลทั้งปวงทั้ง 2 นั้น พึงมีอย่างไร เหมือนเมล็ดพืช เป็นของไม่ทั่วไปแก่หน่อที่เกิดขึ้น ดิน(ปฐวี) น้ำ (อาโป) เป็นของทั่วไปแก่หน่อ เพราะดินและน้ำเป็นปัจจัย อีกนัยหนึ่งน้ำนมสดที่ใส่เก็บไว้ในหม้อ ย่อมเป็นนมส้ม (เปรี้ยว) ก็การกำหนดที่ยั่งยืน ย่อมไม่มีแก่นมสดและนมส้ม ฉันใด การกำหนดที่ยั่งยืน ก็ย่อมไม่มีแก่เหตุและปัจจัยฉันนั้น ฯ
จริงอยู่ สังสารนี้ มีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้น เพราะพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิด เพราะสังสารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงเกิด ปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ย่อมเป็นสังขารเกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นอย่างนี้ อย่างไร คือ อวิชชาเป็นเหตุแห่งอวิชชา มนสิการโดยไม่แยบคายเป็นปัจจัยแก่อวิชชา อวิชชาที่เกิดก่อนเป็นเหตุของอวิชชาที่เกิดภายหลัง ในปฏิจจสมุปบาทนั้น อวิชชาที่เกิดก่อนเป็นอวิชชานุสัย อวิชชาที่เกิดภายหลังเป็นอวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาที่เกิดก่อนเป็นเหตุพอกพูนอวิชชาปริยุฏฐานเพราะสมนันตรเหตุดุจหน่อแห่งพืช ก็ผลใด เกิดในที่ใด ผลนี้ก็เป็นเหตุโดยปรัมปรเหตุ จริงอยู่ เหตุมี 2 อย่าง คือ สมนันตรเหตุและปรัมปรเหตุ แม้อวิชชาก็เป็นเหตุทั้ง 2 อย่างนี้ ฯ
ก็หรือว่า ภาชนะกระเบื้อง ไส้น้ำมันเป็นปัจจัย คือเป็นเครื่องอุปการะแก่ประทีป มิใช่สภาวเหตุ เพราะภาชนะกระเบื้องเป็นต้น ไม่อาจให้ไฟที่ยังไม่มี เพื่อให้ลุกโพลงได้ จึงเป็นเพียงปัจจัยแก่ประทีป สภาวเหตุจึงเป็นดุจประทีป ฯ ด้วยประการฉะนี้ เหตุจึงเป็นดุจประทีปที่มีอยู่ ปัจจัยจึงเป็นดุจภาชนะกระเบื้องเป็นต้นที่ไม่มีไฟ ฉะนั้น ฯ อนึ่ง ภาวะที่มีอยู่ภายในเป็นเหตุ ภาวะภายนอกเป็นปัจจัยภาวะที่ให้เกิดเป็นเหตุ ภาวะที่อุปการะเป็นปัจจัย เหตุไม่ทั่วไปแก่ผลอื่น แต่ปัจจัยทั่วไปแก่ผลทั้งปวง ฯ
ผลใด ของเหตุกล่าวคือ เหตุปัจจัยซึ่งยังไม่ขาดสาย ผลนั้น เป็นผลแห่งการสืบต่อ ผลใด ที่เกิดจากเหตุ ผลนั้น คือการเกิด ผลใดมีปฏิสนธิ ผลนั้นมีการเกิดใหม่ในภพใหม่ อันใดเป็นอรรถะแห่งปลิโพธ อันนั้นเป็นอรรถะแห่งปริยุฏฐานอันใดไม่มีการถอนขึ้น อันนั้นเป็นอนุสัย อันใดไม่มีการแทงตลอด อันนั้นเป็นอรรถะแห่งอวิชชา อรรถะใดไม่มีการกำหนดรู้ อรรถะนั้นเป็นพืชเชื้อแห่งวิญญาณ ฯ
ในที่ใด ไม่มีการเข้าไปตัด ในที่นั้นย่อมมีสันตติ ในที่ใดมีสันตติที่นั้นย่อมมีการเกิด ในที่ใดมีการเกิดที่นั้นมีผล ที่ใดมีผลที่นั้นมีปฏิสนธิ ที่ใดมีปฏิสนธิที่นั้นมีภพใหม่ ที่ใดมีภพใหม่ที่นั้นมีปลิโพธ ที่ใดมีปลิโพธที่นั้นมีปริยุฏฐาน ที่ใดมีปริยุฏฐานที่นั้นไม่มีการถอนขึ้น ที่ใดไม่มีการถอนขึ้นที่นั้นมีอนุสัย ที่ใดมีอนุสัยที่นั้นไม่มีการแทงตลอด ที่ใดไม่มีการแทงตลอดที่นั้นมีอวิชชา ที่ใดมีอวิชชาที่นั้นมีวิญญาณเป็นไปกับอาสวะที่ไม่กำหนดรู้ ที่ใดวิญญาณอันเป็นไปกับอาสวะยังไม่หมายรู้แล้ว ที่นั้นย่อมมีพืชแห่งวิญญาณ (นี้เป็นการแสดง ปรัมปรปัจจัย คือปัจจัยที่เกิดสืบต่อกัน) ฯ
ศีลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่สมาธิขันธ์ สมาธิขันธ์เป็นปัจจัยแก่ปัญญาขันธ์ ปัญญาขันธ์เป็นปัจจัยแก่วิมุตติขันธ์ วิมุตติขันธ์เป็นปัจจัยแก่วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ฯ
ความเป็นผู้รู้จักท่าเป็นที่หยั่งลง เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้รู้จักปราโมชอันตนดื่มแล้ว ความเป็นผู้รู้จักปราโมชอันตนดื่มแล้ว เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้รู้จักธรรมอันตนบรรลุแล้ว ความเป็นผู้รู้จักธรรมอันตนบรรลุแล้ว เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้รู้จักตน ฯ
อีกนัยหนึ่ง จักขุวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยจักษุและรูป ฯ ใน 2 อย่างนั้น จักขุ ชื่อว่า ปัจจัย เพราะความเป็นใหญ่ (อินทรีย์) รูปทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจจัยเพราะความเป็นอารมณ์ อาโลกะ ชื่อว่า ปัจจัย เพราะความเป็นอุปนิสสยะ (ทั้ง 3นี้ ไม่เป็นสภาวเหตุเพราะไม่มีการสืบต่อ) มนสิการ คือ กิริยามโนธาตุ เป็นสภาวเหตุ สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ เป็นสภาวเหตุ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป เป็นสภาวเหตุ นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ เป็นสภาวเหตุเวทนาเป็นปัจจัยแก่ตัณหา เป็นสภาวเหตุ ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เป็นสภาวเหตุ อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ เป็นสภาวเหตุ ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ เป็นสภาวเหตุ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ เป็นสภาวเหตุ ชรามรณะเป็นปัจจัยแก่โสกะ เป็นสภาวเหตุ โสกะเป็นปัจจัยแก่ปริเทวะ เป็นสภาวเหตุ ปริเทวะเป็นปัจจัยแก่ทุกข์ เป็นสภาวเหตุ ทุกข์เป็นปัจจัยแก่โทมนัส เป็นสภาวเหตุ โทมนัสเป็นปัจจัยแก่อุปายาส เป็นสภาวเหตุ ฯ
เหตุปัจจัย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสภาพมีกำลัง (คือ อุปนิสสยะ) ให้เกิดขึ้นและอุปถัมภ์ตามที่ได้กล่าวมานี้ เหตุปัจจัยทั้งปวงนั้น ชื่อว่า ปริกขาระ ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "เย ธมฺมา ยํ ธมฺมํ ชนยนฺติ" เป็นต้นฉะนี้แล ฯ
จบ ปริกขารหารวิภังค์
16. สมาโรปนหารวิภังค์
[50] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ สมาโรปนะ เป็นไฉน
คาถาว่า "เย ธมฺมา ยํมูลา เย เจกตฺถา ปกาสิกตา มุนินา" เป็นต้น ชื่อว่าสมาโรปนหาระ ฯ
ปทัฏฐานทั้งหลาย (ธรรมที่เป็นเหตุ) มีประมาณเท่าไร ย่อมหยั่งลง (ประชุม)ในปทัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ปทัฏฐานเหล่าใด ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรพึงแสวงหาปทัฏฐานเหล่านั้นแล้วยกขึ้นด้วยหาระ คือ สมาโรปนะนี้ เหมือนปทัฏฐานจำนวนมาก ย่อมหยั่งลงในหาระคืออาวัฏฏะ ฉะนั้น ฯ ในหาระ คือสมาโรปนะที่พึงยกขึ้นเหล่านั้น สมาโรปนะ (คือการยกขึ้น) มี 4 อย่าง คือปทัฏฐาน 1 เววจนะ 1 ภาวนา 1 ปหานะ 1 ฯ
ในสมาโรปนะ 4 เหล่านั้น สมาโรปนะ ด้วยปทัฏฐาน เป็นไฉน
"สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํพุทฺธานสาสนํ" การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
ด้วยพระพุทธพจน์ตามที่กล่าวนี้ อะไรเป็นปทัฏฐานแห่งคำสอนนั้น สุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต สุจริต 3 นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งคำสอนในปทัฏฐาน คือ หมวด 3 แห่งสุจริตนั้น สุจริตอันเป็นไปทางกาย และทางวาจาอันใด นี้เป็นศีลขันธ์ ในมโนสุจริต คือ อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็ง) และอัพยาบาท อันใด นี้เป็นสมาธิขันธ์ และสัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เป็นปัญญาขันธ์หมวด 3 แห่งขันธ์นี้เป็นปทัฏฐาน ในหมวด 3 แห่งขันธ์นั้น ศีลขันธ์และสมาธิขันธ์ เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์ เป็นวิปัสสนา หมวด 2 แห่งสมถะและวิปัสสนานี้เป็นปทัฏฐาน ในหมวด 2 ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ เป็นผลของสมถะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา เป็นผลของวิปัสสนาหมวด 2 นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งคำสอน ฯ
วนะ (ป่า) เป็นปทัฏฐานแห่งสิ่งที่เกิดในป่า (วนถะ) ฯ
ก็อะไร ชื่อว่า ป่า อะไร ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า ฯ กามคุณ 5 ชื่อว่า ป่าตัณหา ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่า ปทัฏฐาน ฯ การถือซึ่งนิมิตว่า "หญิง" หรือว่า "ชาย" ชื่อว่า ป่า ฯ การถืออนุพยัญชนะ แห่งอวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้น ว่า"ตาสวย หูสวย จมูกสวย ลิ้นสวย กายสวย" ดังนี้ ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า (วนถะ)นี้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน ฯ
อายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก 6 อันยังมิได้รู้โดยรอบแล้ว ชื่อว่าป่า สังโยชน์อาศัยอายตนะทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้นอันใด นี้ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่าปทัฏฐาน ฯ อนุสัย ชื่อว่า ป่า ปริยุฏฐาน ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่า ปทัฏฐานฯ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "จงตัดป่าและสิ่งที่เกิดในป่า"การยกขึ้นแสดงนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยปทัฏฐาน ฯ
[51] ในสมาโรปนหาระนั้น สมาโรปนะ โดยเววจนะเป็นไฉน
ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ เป็นเสกขผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา เป็นอเสกขผล นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ เป็นอนาคามิผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาเป็นอรหัตตผลอันเลิศ นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะเป็นการก้าวล่วงกามธาตุ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา เป็นการก้าวล่วงธาตุ 3 นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ อธิปัญญาสิกขา ปัญญาขันธ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ญาณ สัมมาทิฏฐิ การพิจารณา การใคร่ครวญ ภูริวิปัสสนา ญาณในธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า เววจนะการยกขึ้นนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยเววจนะ ฯ
ในสมาโรปนะ 4 นั้น สมาโรปนะ โดยภาวนาเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภาวนาใด โดยประการใดว่า"ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออก" ดังนี้ ฯ คำว่า "อาตาปี" ได้แก่ วิริยินทรีย์ ฯ คำว่า "สมฺปชาโน"ได้แก่ ปัญญินทรีย์ ฯ คำว่า "สติมา" ได้แก่ สตินทรีย์ ฯ ข้อว่า "พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออก" ได้แก่ สมาธินทรีย์ ฯ สติปัฏฐาน 4 ของภิกษุ ผู้ตามเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ
เพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์ 4 มีลักษณะอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อสติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญอยู่ สัมมัปปธาน 4 ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ เมื่อสัมมัปธาน 4 อันภิกษุเจริญอยู่ อิทธิบาท 4 ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ เมื่ออิทธิบาท 4 อันภิกษุเจริญอยู่ อินทรีย์ 5ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ ธรรมทั้งปวง ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ ฯ เพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งปวงเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เป็นฝ่ายตรัสรู้ มีลักษณะอย่างเดียวกัน โดยมีการนำออกเป็นลักษณะ ธรรมทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์เพราะความมีลักษณะอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยภาวนา ฯ
ในสมาโรปนะ 4 นั้น สมาโรปนะ โดยปหานะเป็นไฉน
ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในความไม่งามว่างาม" ดังนี้ คำข้าวเป็นอาหารของกายนั้นย่อมถึงการรู้รอบ เป็นผู้ไม่ยึดมั่นด้วยกามุปาทาน เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยอภิชฌากายคันถะ เป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ เป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ เป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือราคะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปของกายนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในรูปธาตุของกายนั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ฯ
ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละวิปลาส"ในทุกข์ว่าเป็นสุข" ดังนี้ และผัสสะเป็นอาหารของเวทนานั้น ย่อมถึงการรู้รอบย่อมเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นด้วยอุปาทานคือภพ ย่อมไม่ประกอบด้วยภวโยคะย่อมไม่ประกอบด้วยพยาปาทกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยอาสวะคือภวาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งภโวฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือโทสะวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาของเวทนานั้นย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในเวทนาธาตุของเวทนานั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงโทสาคติ ฯ
ภิกษุผู้มีปกติเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง"ดังนี้ และวิญญาณเป็นอาหารของจิตนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ย่อมไม่เป็นผู้ยึดมั่นด้วยทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ประกอบด้วยทิฏฐิโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยทิฏฐาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งทิฏโฐฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือมานะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาของจิตนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในสัญญาธาตุย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วและย่อมไม่ถึงภยาคติ ฯ
ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา" ดังนี้ และมโนสัญเจตนาเป็นอาหารของสิ่งที่เป็นอนัตตานั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ย่อมเป็นผู้ไม่ยึดมั่นด้วยอัตตวาทุปาทาน ย่อมเป็นผู้ไม่ประกอบแล้วด้วยอวิชชาโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งอวิชโชฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือโมหะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารของสิ่งที่เป็นอนัตตานั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในสังขารธาตุของอนัตตานั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงโมหาคติ การยกเทศนาขึ้นนี้ ชื่อว่าสมาโรปนะ ด้วยปหานะ แล ฯ
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"ธรรมเหล่าใด เป็นมูลแก่ธรรมเหล่าใด และธรรมเหล่าใด มีอรรถะอย่างเดียวกัน อันพระมหามุนีทรงประกาศแล้ว ธรรมเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงยกขึ้นแสดง หาระที่มีลักษณะนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ" ดังนี้ ฯ
จบ สมาโรปนหารวิภังค์
และจบหารวิภังค์ 16 เพียงเท่านี้ ฯ
หารสัมปาตวาระ 16
ดูเพิ่ม
- เนตติปกรณ์ ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ
- เนตติปกรณ์ แปลโดยพระคันธสาราภิวังสะ