อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักรกถา
[614] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสีฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ … คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรมความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นธรรมแสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามาประชุมในสัจจะตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ
[615] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรงให้จักรเป็นไปโดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงยังประชาชนให้บรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยมในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนให้บรรลุถึงความยอดเยี่ยมในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไปทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแลสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป …ปัญญินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไปสัทธาพละเป็นธรรม …ปัญญาพละเป็นธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม … อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม สัมมาทิฐิเป็นธรรม … สัมมาสมาธิเป็นธรรม อินทรีย์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นธรรมเพราะอรรถว่านำออก มรรคเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นธรรมเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นของแท้สมถะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่เป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าพ้น วิชาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าบริจาค ญาณในความสิ้นไปในธรรมเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมเพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นประธานสติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
[616] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่าจักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ …ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป … นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
[617] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯเราละได้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไรฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม 5 ประการนี้ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัยเป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ … ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป … นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
[618] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯเราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้วจักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ จักษุ ฯลฯแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯเราเจริญแล้ว คำว่า จักษุ เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกายเป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ … ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป … นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
[619] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้วคำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น … คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ … แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะเป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ … ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป … นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้วคำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถธรรม 5 ประการ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะเป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท เป็นที่ตั้งแห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์มีอิทธิบาทเป็นโคจรสงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท เข้ามาประชุมในอิทธิบาท ตั้งอยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป … นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
จบธรรมจักรกถา ฯ
________
ยุคนัทธวรรค โลกุตรกถา
[620] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตระ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4สามัญผล 4 และนิพพานธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ ฯ
ชื่อว่าโลกุตระ ในคำว่า โลกุตฺตรา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าโลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลก ข้ามพ้นแต่โลก ข้ามไปจากโลก ล่วงพ้นโลก ล่วงพ้นโลกอยู่ เป็นอดิเรกในโลก สลัดออกแต่โลกสลัดออกจากโลก สลัดไปจากโลก สลัดออกไปจากโลก สละออกแต่โลกสละออกจากโลก สละออกไปจากโลก ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่ดำรงอยู่ในโลกไม่ติดอยู่ในโลก ไม่เปื้อนในโลก ไม่ไล้ในโลก ไม่ไล้ด้วยโลกไม่ฉาบในโลกไม่ฉาบด้วยโลก หลุดไปในโลก หลุดไปจากโลก พ้นไปจากโลก หลุดพ้นไปแต่โลก ไม่เกี่ยวข้องในโลก ไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก พรากออกแต่โลก พรากออกจากโลก พรากออกไปแต่โลก หมดจดแต่โลก หมดจดกว่าโลก หมดจดจากโลก สะอาดแต่โลก สะอาดกว่าโลก สะอาดจากโลก ออกแต่โลก ออกจากโลก ออกไปจากโลก เว้นแต่โลก เว้นจากโลก เว้นไปจากโลก ไม่ข้องในโลก ไม่ยึดในโลก ไม่พัวพันในโลก ตัดโลกขาดอยู่ ตัดโลกขาดแล้วให้โลกระงับอยู่ ให้โลกระงับแล้ว ไม่กลับมาสู่โลก ไม่เป็นคติของโลก ไม่เป็นวิสัยของโลก ไม่เป็นสาธารณะแก่โลก สำรอกโลก ไม่เวียนมาสู่โลกละโลก ไม่ยังโลกให้เกิด ไม่ลดโลกนำโลก กำจัดโลก ไม่อบโลกให้งามล่วงโลก ครอบงำโลกตั้งอยู่ ฉะนี้แล ฯ
จบโลกุตรกถา
______
ยุคนัทธวรรค พลกถา
[621] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ สัทธาพละวิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลายพละ 5 ประการนี้แล ฯ
อีกอย่างหนึ่ง พละ 68 ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละอนวัชชพละ สังคาหพละขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละอธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 ขีณาสวพละ 10 อิทธิพละ 10 ตถาคตพละ 10 ฯ
[622] สัทธาพละเป็นไฉน ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะความว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธเพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต เพราะความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่งเพราะความว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ ฯ
วิริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้านเพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ ฯ
สติพละเป็นไฉน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความประมาทเพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ ฯ
สมาธิพละเป็นไฉน ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะเพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ ฯ
ปัญญาพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ ฯ
[623] หิริพละเป็นไฉน ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถีนมิทธะด้วยโลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรมววัตถานละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌานฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นหิริพละ ฯ
โอตตัปปพละเป็นไฉน ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัว กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นโอตตัปปพละ ฯ
ปฏิสังขานพละเป็นไฉน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ ฯ
[624] ภาวนาพละเป็นไฉน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ ฯ
อนวัชชพละเป็นไฉน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้วฯลฯ ในอรหัตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ ฯ
สังคาหพละเป็นไฉน ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ ฯ
[625] ขันติพละเป็นไฉน ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ ฯ
ปัญญัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นปัญญัตติพละ ฯ
นิชฌัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ ฯ
อิสริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะเมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาทฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถอรหัตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ ฯ
อธิษฐานพละเป็นไฉน ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ ฯ
[626] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ฯ
ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน เพราะอรรถว่าจิตไม่หวั่นไหวไปในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในวิญญานัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่าจิตไม่หวั่นไหวไปในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ในกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์นี้เป็นสมถพละ ฯ
[627] วิปัสสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ ฯ
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ในกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และในขันธ์นี้เป็นวิปัสสนาพละ ฯ
[628] เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 เป็นไฉน ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฐินั้นเสร็จแล้วชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯสัมมาวิมุติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณสัมมาวิมุติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ 10อเสกขพละ 10 นี้ ฯ
[629] ขีณาสวพละ 10 เป็นไฉน ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไปเอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะสิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของพระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ 8เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เจริญดีแล้วนี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่าอาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ 10 ฯ
[630] อิทธิพละ 10 เป็นไฉน ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน 1 ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ 1ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ 1 ฤทธิ์ของพระอริยะ 1ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม 1 ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ 1 ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา 1 ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ อิทธิพละ 10 นี้ ฯ
[631] ตถาคตพละ 10 เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรงทราบซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความเป็นจริงนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงแม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมากคือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตอันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ 10 นี้ ฯ
[632] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่าสมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่าปฏิสังขานพละเพราะอรรถว่าพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละเพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละเพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อมสำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
จบพลกถา
____
ยุคนัทธวรรค สุญกถา
[633] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตนฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนรูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนจักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญกายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ฯ
[634] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญนิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ
[635] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาหูสูญ ฯลฯ จมูกสูญลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนจากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคงและจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดานี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ
[636] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร 3 คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขารอเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร 3 ฯ
สังขาร 3 อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและจิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร 3 ฯ
สังขาร 3 อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบันสังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร 3นี้สังขารสูญ ฯ
[637] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ (ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาเกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ
[638] อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่ง สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลสความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษนี้อัคคบทสูญ ฯ
[639] ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ 2 คือ พาลลักษณะ 1 ปัณฑิตลักษณะ 1พาลลักษณะสูญจากปัณฑิตลักษณะ ปัณฑิตลักษณะสูญจากพาลลักษณะ ลักษณะ 3 คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะวยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและมรณะสูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ
[640] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและสูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลกสัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไปวิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไปอรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไปฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ
[641] ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะองค์นั้นๆ) เพราะเนกขัมมะ … นิวรณ์เป็นตทังคะสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้เป็นตทังคะสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนานี้ตทังคะสูญ ฯ
[642] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและสูญไป … นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ
[643] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้วและสูญไป …นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไปนี้ปฏิปัสสัทธิสูญ ฯ
[644] นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้วและสูญไป …นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณะสูญ ฯ
[645] ภายในสูญเป็นไฉน จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯจมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยงความยั่งยืน ความมั่นคงและจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ ฯ
[646] ภายนอกสูญเป็นไฉน รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืนความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ ฯ
[647] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูปภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียงภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอกกายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ
[648] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนเสมอกัน และสูญไป อายตนะภายนอก 6 … หมวดวิญญาณ 6 … หมวดผัสสะ 6… หมวดเวทนา 6 … หมวดสัญญา 6… หมวดเจตนา 6 เป็นส่วนเสมอกันและสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ
[649] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก 6 และสูญไป อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ 6และสูญไป หมวดวิญญาณ 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดผัสสะ 6 และสูญไป หมวดผัสสะ 6เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเวทนา 6 และสูญไป หมวดเวทนา 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดสัญญา 6 และสูญไป หมวดเวทนา 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดสัญญา 6 และสูญไป หมวดสัญญา 6 เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา 6 และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ ฯ
[650] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงหาอาโลกสัญญาสูญจากถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจากอวิชชาความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ ฯ
[651] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกามฉันทะ ฯลฯความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ ฯ
[652] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะ สูญจากกามฉันทะ ฯลฯความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะสูญ ฯ
[653] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญจากกามฉันทะฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทงตลอดสูญ ฯ
[654] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉนกามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะพยาบาทเป็นความต่าง ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่สูญจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว ความที่อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่างอรติเป็นความต่าง นิวรณ์เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่างอรหัตมรรคเป็นอย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลสทั้งปวงนี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ฯ
[655] ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนในเนกขัมมะสูญจากกามฉันทะ ฯลฯความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความอดทนสูญ ฯ
[656] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ความอธิษฐานในเนกขัมมะ สูญจากกามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความอธิษฐานสูญ ฯ
[657] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญจากกามฉันทะฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่นคงสูญ ฯ
[658] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่งกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่พยาบาทครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญาครอบงำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำความเป็นไปแห่งอรติด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไปแห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
จบสุญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ 2
______
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
1. ยุคนัทธกถา 2. สัจจกถา 3. โพชฌงคกถา 4. เมตตากถา 5. วิราคกถา 6. ปฏิสัมภิทากถา 7. ธรรมจักรกถา 8. โลกุตรกถา 9. พลกถา 10. สุญกถานิกายอันประเสริฐนี้ท่านตั้งไว้แล้ว เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่ 2 ไม่มีวรรคอื่นเสมอฉะนี้แล ฯ
______
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ