ฟุตโน้ต:30:8-พาหิยสุตฺตํ

แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยะ ทารุจีริยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความ เป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม ที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น *เธอพึงฝึกฝน* อย่างนี้ว่า เมื่อเห็นรูปก็จะเป็นเท่าที่เห็น เมื่อฟังเสียงก็จะเป็นเท่าที่ฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ก็จะเป็นเท่าที่รับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็จะเป็นเท่าที่รู้แจ้ง.

พาหิยะ เธอพึงฝึกฝนอย่างนี้แล เมื่อใด เธอเมื่อเห็นรูปก็จะเป็นเท่าที่เห็น เมื่อฟังเสียงก็จะเป็นเท่าที่ฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ก็จะเป็นเท่าที่รับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็จะเป็นเท่าที่รู้แจ้ง

เมื่อนั้น เธอก็จะไม่มี, เมื่อใด เธอไม่มี, เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น, เมื่อใด เธอไม่ ยึดติดในสิ่งนั้น, เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลก ทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”

ลำดับนั้น ด้วยพระธรรมเทศนาย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค จิตของพาหิยะ ทารุจีริยะจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น 1)


1)
อรรถกถาอธิบายไว้ สรุปความรวมกับพระสูตรเองออกมาอย่างนี้ "เมื่อเห็นสีก็จะเป็นเท่าที่เห็น" คือ จักขุวิญญาณ (การเห็น) เห็นแค่สี ฉันใด, เธอก็พึงฝึกให้เห็นเท่านั้นฉันนั้น คือ เป็นเพียงแค่จักขุวิญญาณ (การเห็น) ไม่ได้เป็นเธอ ที่ต้องยึดติด, เป็นเพียงแค่สี ไม่ได้เป็นสีของเธอที่ต้องยึดติด. ที่อรรถกถาอธิบายอย่างนั้น เพราะตรงท้ายสูตรจะบอกไว้อยู่ว่า "เมื่อนั้น เธอก็จะไม่มี, เมื่อใด เธอไม่มี, เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น, เมื่อใด เธอไม่ ยึดติดในสิ่งนั้น, เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลก ทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์” สรุปก็คือ เห็นเป็นสภาคะ ฆฏนา ปัจจัยปัจจุบัน เท่าที่ตาเป็นจริงๆ เท่าที่สีเป็นจริงๆ, ไม่ใช่เป็นเธอ (ก้อนฆนะ) ไม่ใช่สิ่งที่ชอบติดยึด (ของๆเธอ) ที่คนทั่วไปฟังแล้วไม่บรรลุ ก็เพราะยังเห็นเป็นกลุ่มก้อน ก็เลยยังยึดว่า "เป็นเธอ เป็นของเธอ เป็นฉัน เป็นของฉันอยู่" ซึ่งมันเกินความจริง ที่เป็นเพียงแค่ตาเห็นสี. มันก็เลยต้องแสวงหา ยึดติด ตามยึดเพื่อรักษาตัวเรา ของเราเอาไว้ด้วยภวตัณหา ภวุปาทาน กัมมภวะ (ที. มหานิทานสูตร). https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=45