เนตติปกรณ์_05_นยสมุฏฐาน

**นี่คือเอกสารรุ่น/ฉบับเก่า**


นยสมุฏฐาน

[79] ในสมุฏฐานนั้น เหตุที่เกิดแห่งนัย เป็นไฉน

ที่สุดเบื้องต้น แห่งอวิชชาและภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ในอวิชชาและภวตัณหานั้น เครื่องกางกั้น คือ อวิชชา เครื่องผูกพัน คือ ตัณหา ฯ สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีอวิชชาประกอบไว้ ย่อมประพฤติเป็นไป โดยฝ่ายแห่งอวิชชา สัตว์เหล่านั้น ท่านเรียกว่า ทิฏฐิจริต ฯ สัตว์ทั้งหลายมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ย่อมประพฤติเป็นไป โดยฝ่ายแห่งตัณหา สัตว์เหล่านั้น ท่านเรียกว่า ตัณหาจริต ฯ สัตว์ผู้ทิฏฐิจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ ย่อมขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยคอยู่ ฯ สัตว์ผู้ตัณหาจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ ขวนขวายในกามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลายอยู่ ฯ

ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น อะไรเป็นเหตุ เหตุทั้งหลายมีอยู่เหตุนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ลำบาก บุคคลผู้มีตัณหาจริต บวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลายอยู่ ฯ การกำหนดสัจจะ ย่อมไม่มีในภายนอกจากพระศาสนานี้การประกาศสัจจะ 4 หรือความเป็นผู้ฉลาดในสมถวิปัสสนา หรือการถึงสุขอันสงบ จักมีแต่ที่ไหน ฯ ชนเหล่านั้น ไม่รู้แจ้งซึ่งสุขอันสงบระงับ มีใจวิปริต ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า "ความสุข อันบุคคลพึงบรรลุด้วยความสุข ย่อมไม่มี ชื่อว่าความสุข อันบุคคลพึงบรรลุด้วยความทุกข์ มีอยู่" ดังนี้ ฯ ชนเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า "ชนใดย่อมเสพกาม ชนนั้นย่อมยังโลกให้เจริญ คนใดยังโลกให้เจริญ คนนั้น ย่อมประสบซึ่งบุญเป็นอันมาก" ดังนี้ เมื่อปรารถนาสุขด้วยทุกข์ มีความสำคัญบุญในกามทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยค และขวนขวายในกามสุขัลลิกานุโยค ชนเหล่านั้น ไม่รู้ความสุขอันสงบ มีอยู่ ย่อมยังโรคเท่านั้นให้เจริญ ย่อมยังฝีนั่นแหละให้เจริญย่อมยังลูกศรนั่นแหละให้เจริญ ชนเหล่านั้นผู้อันโรคครอบงำแล้ว ผู้อันฝีเบียดเบียนแล้ว ผู้อันลูกศรเสียบแทงแล้ว ก็กระทำการจุติและเกิดขึ้นในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในกำเนิดเปรตและอสุรกาย เสวยอยู่เฉพาะซึ่งการฆ่าและถูกข่มเหง ย่อมไม่ประสบเภสัชเป็นเครื่องเยียวยารักษาโรค ฝี และลูกศร ฯ

บรรดาสังกิเลส โวทาน โรคและเภสัชเป็นต้นนั้น อัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยค เป็นสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) สมถวิปัสสนาเป็นโวทานอัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นโรค สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชกำจัดโรค อัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นฝี สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชกำจัดฝีอัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นลูกศร สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชถอนลูกศร ฯ

ในธรรมมีสังกิเลสเป็นต้นเหล่านั้น สังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) เป็นทุกข์ตัณหาเกี่ยวข้องกับทุกข์นั้นเป็นสมุทัย การดับตัณหาเป็นการดับทุกข์ สมถวิปัสสนาเป็นปฏิปทาให้ถึงการดับทุกข์ บัณฑิตพึงประกอบสัจจะ 4 เหล่านี้ ในสัจจะ 4เหล่านั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ มรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ฯ

[80] บรรดาทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลผู้ทิฏฐิจริต ย่อมยึดรูปโดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ ย่อมยึดสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณ โดยความเป็นตน (อัตตา) ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต ย่อมยึดตนมีรูป หรือยึดรูปในตน หรือว่า ยึดตนในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนาฯลฯ ย่อมยึดตนมีสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดตนมีสังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณหรือย่อมยึดตนวิญญาณในตน หรือว่า ย่อมยึดตนในวิญญาณ มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ 20 นี้ ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ฯ

โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ (ปฐมมรรค) เป็นปฏิปักษ์ต่อสักกายทิฏฐิ 20 นั้นสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ย่อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐินั้น ธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนี้ เป็นอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 มรรค 8 เหล่านั้นเป็นขันธ์ 3 คือสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ ฯ สีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์เป็นวิปัสสนา ฯ ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น สักกายะ (กายของตน)เป็นทุกข์ สักกายสมุทัยเป็นเหตุเกิดของทุกข์ สักกายนิโรธเป็นการดับทุกข์อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์ ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะเหล่านั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่พึงละมรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล ฯ

ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดรูป โดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณโดยความเป็นตน บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าขาดสูญ(อุจเฉทวาทะ) เพราะมีรูปเป็นต้นเป็นตน และความที่ธรรมมีรูปเป็นต้นไม่เที่ยงและแม้ความที่อัตตาก็ไม่เที่ยง อัตตาย่อมขาดสูญ อัตตาย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกอัตตาย่อมขาดสูญ ฯ บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดตนมีรูปหรือยึดรูปในตน หรือยึดตนมีในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ

สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณ หรือยึดวิญญาณในตน หรือยึดตนมีในวิญญาณ บุคคลมีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าเที่ยง (สัสสตวาทะ) ฯ เพราะเห็นเป็น 2 อย่าง ฯ

ในบุคคลผู้มีปกติกล่าวว่าขาดสูญและเที่ยงนั้น วาทะว่าขาดสูญและเที่ยงเป็นปฏิปทาที่สุด (โต่ง) 2 อย่าง ฯ ปฏิปทาทั้ง 2 ที่สุดโต่งนี้ ย่อมเป็นไปในสังสาร ฯ ในปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารและไม่เป็นไปในสังสารนั้น ปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารเป็นทุกข์ ตัณหาที่เกี่ยวข้องกับทุกข์นั้นเป็นสมุทัย การดับตัณหาเป็นการดับทุกข์ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงการดับทุกข์ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะ 4 นั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ มรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ฯ

ในอุทเฉทะ สัสสตะและมรรคนั้น อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ได้แก่สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 โดยย่อ โดยพิสดาร ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ประการ ฯ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 43 วิโมกข์ 8 และ กสิณายตนะ 10 ฯ ทิฏฐิ 62 เป็นโมหะและชาละ อันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ

โพธิปักขิยธรรม 43 เป็นวชิรญาณ เป็นเครื่องทำลายโมหะและ ชาละอันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ ในโมหะและชาละ (ข่าย) ทั้ง 2 นั้น โมหะ ได้แก่อวิชชา ข่าย (ชาลํ) ได้แก่ ภวตัณหา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชาและภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ" ดังนี้ ฯ

[81] ในบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลผู้ทิฏฐิจริต บวชในพระศาสนานี้ย่อมประพฤติสืบต่อเนือง ๆ ในการขัดเกลา เป็นผู้คารวะกล้าในการขัดเกลา ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต บวชในพระศาสนานี้ เป็นผู้ประพฤติเนือง ๆ ในสิกขา เป็นผู้เคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ฯ บุคคลผู้ทิฏฐิจริต เมื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า ธัมมานุสารี ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต เมื่อก้าวล่วงลงสู่สัมมัตตนิยาม ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สัทธานุสารี ฯ บุคคลผู้ทิฏฐิจริต ย่อมออก(จากสังสาร) ด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา และย่อมออกไปด้วยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต ย่อมออกด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาและทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

ในบุคคลทั้ง 2 เหล่านั้น บุคคลใดย่อมออกด้วยเหตุใด เหตุนั้นเป็นไฉน กามทั้งหลายของบุคคลผู้ตัณหาจริตนั้น เป็นกามไม่สละได้โดยง่าย เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ตัณหาจริต จึงออกด้วยปฏิปทาที่ลำบากทั้งตรัสรู้ช้า และออกไปด้วยปฏิปทาที่ลำบากและตรัสรู้เร็ว ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริตนั้น ผู้อันวัตถุกามและกิเลสกามรึงรัดอยู่ สลัดออกโดยยากและรู้ธรรมช้า ฯ แต่บุคคลใด คือ ผู้มีทิฏฐิจริตนี้ไม่ต้องการกามทั้งหลายตั้งแต่ต้นทีเดียว บุคคลผู้ทิฏฐิจริตนั้น ผู้อันกามเหล่านั้นไม่รึงรัดอยู่ (ปล่อยอยู่) จึงสลัดออกได้พลัน และย่อมรู้ธรรมได้เร็วพลัน ฯ ปฏิปทา แม้ลำบากก็มี 2 อย่าง คือ ตรัสรู้ช้าและตรัสรู้เร็ว ฯ ปฏิปทาแม้สบายก็มี 2 อย่างคือ ตรัสรู้ช้าและตรัสรู้เร็ว ฯ แม้สัตว์ทั้งหลายก็มี 2 อย่างคือ ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีิอินทรีย์แก่กล้าก็มี ฯ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านั้น ย่อมสลัดออกช้าและรู้ธรรมช้า ฯ สัตว์เหล่าใด มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้น ย่อมสลัดออกได้เร็วและย่อมรู้ธรรมได้เร็ว ฯ ปฏิปทา 4 เหล่านี้ มีอยู่ ฯ

จริงอยู่ สัตว์เหล่าใด ออกไปด้วยปฏิปทา 4 ในอดีตบ้าง หรือย่อมออกไปในปัจจุบันบ้าง หรือจักออกไปในอนาคตบ้าง สัตว์เหล่านั้นก็ออกไปด้วยปฏิปทา 4 เหล่านี้ ฯ

ด้วยประการตามที่กล่าวแล้วนี้ พระอริยะทั้งหลาย ย่อมประกาศหมวด 4 แห่งมรรคปฏิปทา 4 เพื่ออันไม่หมุนไปแห่งภวตัณหา อันเพลิดเพลิน อันมีปกติอยู่ในราตรีของผู้กำหนัด อันชนผู้ไม่มีปัญญาเสพแล้ว อันชนพาลใคร่ ความประกอบสัจจะ 4 ด้วยอำนาจตัณหา อวิชชา และด้วยอำนาจสมถวิปัสสนา นี้เรียกว่า ภูมิ เพราะเป็นสมุฏฐานแห่งนัย ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ แล เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "ตณฺหญฺจ อวิชฺชมฺมิ จ สมเถน" เป็นต้น ฯ

[82] ก็ธรรมเหล่าใด (ที่เป็นทิศ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "กุศลและอกุศลในไวยากรณ์ทั้งหลาย" ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงใคร่ครวญ โดยภาวะ 2 อย่างคือโลกวัฏฏานุสารี (หมุนไปตามโลก) และโลกวิวัฏฏานุสารี (ไม่หมุนไปตามโลก) ฯ

สังสาร ชื่อว่า วัฏฏะ ฯ พระนิพพาน ชื่อว่า วิวัฏฏะ ฯ กรรมและกิเลสเป็นเหตุแห่งสังสาร ฯ บรรดากรรมและกิเลสนั้น บัณฑิตพึงแสดงว่า เจตนาเป็นกรรม และเป็นเจตสิก ฯ คำนั้นพึงเห็นได้อย่างไร กรรมพึงเห็นได้โดยการสั่งสม กิเลสแม้ทั้งหมดพึงเห็นได้ด้วยวิปลาส ฯ กิเลสเหล่านั้น พึงเห็นได้ในที่ไหน ในกองแห่งกิเลสมีวัตถุ 10 หมวด ฯ วัตถุ 10 หมวดเป็นไฉน วัตถุ 10 คืออาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4,โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4,โอฆะ 4 สัลละ 4 วิญญาณฐิติ 4,การถึงอคติ 4 ฯ,

วิปลาสที่ 1 (รูปสุภะ) ย่อมเป็นไปในกวฬิงการาหารที่ 1 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 2 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 3 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

อุปาทานที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 1 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 2 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 2 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 3 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 3 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 4 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

โยคะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 1 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 2 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 3 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

คันถะที่ 1 (อภิชฌา) ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 1 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 2 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 2 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 3 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 3 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 4 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

อาสวะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 1 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 2 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 2 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 3 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 3 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 4 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

โอฆะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 1 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 2 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 3 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

สัลละ (ลูกศร) ที่ 1 (ราคะ) เป็นไปในโอฆะที่ 1 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 2 เป็นไปในโอฆะที่ 2 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 3 เป็นไปในโอฆะที่ 3 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 4 เป็นไปในโอฆะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

วิญญาณฐิติที่ 1 เป็นไปในลูกศร (สัลละ) ที่ 1 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 2 เป็นไปในลูกศรที่ 2 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 3 เป็นไปในลูกศรที่ 3 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 4 เป็นไปในลูกศรที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

อคติที่ 1 (ฉันทะ) เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 1 เป็นอารมณ์,อคติที่ 2 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 2 เป็นอารมณ์,อคติที่่ 3 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 3 เป็นอารมณ์,อคติที่ 4 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

[83] ในธรรมที่เป็นปัจจัยมีอาหารเป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหารและผัสสาหารอันใด อาหาร 2 เหล่านี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ฯ

มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ฯ

ในวิปลาสเหล่านั้น วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม และวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุขอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และวิปลาสในสิ่งที่มิใช่ตนว่าตนอันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทาน อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันใด ทั้ง 2นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในโยคะเหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในคันถะเหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ปรามาสกายคันถะและอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในอาสวะเหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในโอฆะเหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏโฐฆะและอวิชโชฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในสัลละเหล่านั้น ลูกศรคือราคะและลูกศรคือโทสะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ลูกศรคือมานะและลูกศรคือโมหะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในวิญญาณฐิติเหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

ในอคติเหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ภยาคติและโมหาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ

[84] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม" ในกวฬิงการาหารวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข" ในผัสสาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ในวิญญาณาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตน" ในมโนสัญเจตนาหาร บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 1 ย่อมยึดมั่นกามทั้งหลาย การยึดมั่นนี้ เรียกว่ากามุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 2 ย่อมยึดมั่นภพอันเป็นอนาคต นี้เรียกว่า ภวุปาทาน บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 3 ย่อมยึดมั่นซึ่งทิฏฐิอันเพลิดเพลินในสังสาร นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 4 ย่อมยึดมั่นซึ่งตนว่าสมควร นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ฯ

บุคคลอันกามุปาทานใด ผูกไว้กับกามทั้งหลาย ธรรมคือ กามุปาทานนี้เรียกว่า กามโยคะ ฯ บุคคลอันภวุปาทานใด ผูกไว้กับภพทั้งหลาย ธรรมคือภวุปาทาน นี้เรียกว่า ภวโยคะ ฯ บุคคลอันทิฏฐุปาทานใด ผูกไว้กับทิฏฐิธรรมคือทิฏฐุปาทานนี้ เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ ฯ บุคคลอันอัตตวาทุปาทานใดผูกไว้กับอวิชชา ธรรมคือ อัตตวาทุปาทานนี้ เรียกว่า อวิชชาโยคะ ฯ

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 1 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยอภิชฌาอันมีลักษณะเพ่งเล็ง (โลภ) ในวัตถุของคนอื่นนี้ ท่านเรียกว่า อภิชฌากายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 2 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยพยาบาทอันมีลักษณะยังจิตให้ประทุษร้าย ในอาฆาตวัตถุทั้งหลายนี้ ท่านเรียกว่าพยาปาทกายคันถะ ฯ บุคคผู้ตั้งอยู่ ในโยคะที่ 3 นามกายย่อมผูก คือ ย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นนี้ ท่านเรียกว่า ปรามาสกายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 4 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง นี้ท่านเรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ

กิเลสทั้งหลายของบุคคลนั้นผูกไว้แล้วอย่างนี้ ย่อมไหลไปฯ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไหลไปแต่ที่ไหน ย่อมไหลไปแต่อนุสัย หรือแต่ปริยุฏฐาน ฯ ในกิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า กามาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้ว เพราะเป็นสภาพแห่งกามราคะอันสำเร็จแล้วโดยอภิชฌากายคันถะ ชื่อว่า ภวาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยพยาปาทกายคันถะ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยปรามาสกายคันถะ ชื่อว่า อวิชชาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ

อาสวะ 4 เหล่านี้ของบุคคลนั้นถึงความมั่งคั่งแล้ว ท่านเรียกว่า โอฆะเพราะอรรถะว่าถ่วงลง คือให้จมลงในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ชื่่อว่า ความมั่งคั่งแห่งโอฆะ เพราะความมั่งคั่งแห่งอาสวะ ฯ ในโอฆะเหล่านั้น ชื่อว่า กาโมฆะ สำเร็จแล้วด้วยกามาสวะ ชื่อว่า ภโวฆะสำเร็จแล้วด้วยภวาสวะ ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ สำเร็จแล้วด้วยทิฏฐาสวะ ชื่อว่า อวิชโชฆะสำเร็จแล้วด้วยอวิชชาสวะ ฯ

โอฆะ 4 เหล่านี้ ของบุคคลผู้พรั่งพร้อมแล้วนั้น ถึงความเป็นไปร่วมกับอนุสัย เข้าไปสู่อัธยาสัย กระทบแล้วซึ่งหทัยตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะถอนได้โดยยาก ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า ลูกศร คือราคะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยกาโมฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือโทสะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยภโวฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือมานะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยทิฏโฐฆะ ชื่อว่าลูกศร คือโมหะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยอวิชโชฆะ ฯ

วิญญาณของบุคคลนั้น อันลูกศร 4 เหล่านี้ ไม่ให้โอกาสแล้ว ถือเอาโดยรอบ ย่อมตั้งอยู่ในธรรม 4 คือ ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร อันเป็นอารมณ์ ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า วิญญาณฐิติ (การตั้งอยู่ของวิญญาณ) ที่เข้าถึงรูป เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความยินดีอันมีลูกศรคือราคะเป็นเหตุ ชื่อว่าวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโทสะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือ มานะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโมหะเป็นเหตุ ฯ

วิญญาณของบุคคลนั้น อันวิญญาณฐิติ 4 เหล่านี้อุปถัมภ์แล้ว ย่อมถึงความลำเอียง 4 อย่าง คือ ลำเอียงเพราะฉันทะ เพราะโทสะ เพราะความกลัวเพราะโมหะ ในอคติ 4 เหล่านั้น บุคคลย่อมถึงฉันทาคติเพราะราคะ ย่อมถึงโทสาคติเพราะโทสะ ย่อมถึงภยาคติเพราะความกลัว ย่อมถึงโมหาคติเพราะโมหะ ฯ ก็กรรมใดที่กล่าวไว้ก่อนว่า เจตนาเจตสิก กรรมนั้นด้วย กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ด้วย นี้เป็นเหตุแห่งสังสาร กิเลสทั้งปวง บัณฑิตพึงแสดงด้วยวิปลาส 4อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ

[85] บรรดาพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหาร เป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม" เป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะ เป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และเป็นการเข้าถึงความลำเอียงเพราะฉันทะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 1 ผัสสาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าสุข" ดังนี้ เป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะ เป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะเป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโทสะ ดังนี้ชื่อว่า ทิศที่ 2 วิญญาณาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ดังนี้ เป็นทิฏฐุปาทานเป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะความกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 3 มโนสัญเจตนาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน" ดังนี้ เป็นอัตตวาทุปาทาน เป็นอวิชชาโยคะ เป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นอวิชชาสวะ เป็นอวิชโชฆะ เป็นลูกศรคือโมหะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโมหะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 4 ในพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นนั้น กวฬิงการาหารอันใด และวิปลาสว่า"อสุเภ สุภํ" ดังนี้ อันใดจัดเป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะเป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและเป็นการถึงอคติเพราะฉันทะ ดังนี้ อรรถะแห่งพระสูตร 10 เหล่านี้อย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของบุคคลผู้ราคจริต ฯ

ในพระสูตร 10 เหล่านั้น ผัสสาหารอันใด วิปลาสว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใดจัดเป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะเป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงอคติเพราะโทสะ ดังนี้ พระสูตร 10 เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้โทสจริต ฯ

ในพระสูตร 10 เหล่านั้น วิญญาณาหารอันใด วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ"ดังนี้ อันใดจัดเป็นทิฏฐุปาทาน เป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงอคติเพราะกลัว ดังนี้ พระสูตรเหล่านี้มีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของทิฏฐิจริตมันทบุคคล ฯ

ในอาหาร 4 เหล่านั้น กวฬิงการาหารอันใด ผัสสาหารอันใด อาหารทั้ง 2นี้ย่อมถึงซึ่งการรู้รอบ (ปริญญา) ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิญญาณาหารย่อมถึงซึ่งการรอบรู้ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า สุญญตะ มโนสัญเจตนาหารย่อมถึงซึ่งการรู้รอบด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ

ในวิปลาส 4 เหล่านั้น วิปลาสว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้อันใด และวิปลาสว่า"ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใด วิปลาสทั้ง 2 นี้ย่อมถึงการละ อันตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยสุญญตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอุปาทาน 4 เหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทานย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐุปาทานย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อัตตวาทุปาทานย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในโยคะ 4 เหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐิโยคะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาโยคะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุขในคันถะ 4 เหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ปรามาสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอาสวะ 4 เหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะย่อมถึงการละ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐาสวะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาสวะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในโอฆะ 4 เหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏโฐฆะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชโชฆะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในลูกศร 4 เหล่านั้น ลูกศรคือราคะ และลูกศรคือโทสะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ลูกศรคือมานะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข ลูกศรคือโมหะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในวิญญาณฐิติ 4 เหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอคติ 4 เหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ภยาคติย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข โมหาคติย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ธรรมทั้งปวง มีอาหารเป็นต้นมีปกติแล่นไปตามวัฏฏะกล่าวคือโลกอย่างนี้ ธรรมที่เป็นทิศฝ่ายสังกิเลส ย่อมออกไปจากโลกด้วยวิโมกขมุข 3 มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ

[86] ในธรรมเหล่านั้น การนำออกนี้ เป็นไฉน

ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4 วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ

ปฏิปทาข้อที่ 1 (เป็นไปแล้ว) สติปัฏฐานข้อที่ 1 (ย่อมมี) ปฏิปทาข้อที่ 2เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 2 ปฏิปทาข้อที่ 3 เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 3 ปฏิปทาข้อที่ 4เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 4 ฯ สติปัฏฐานข้อที่ 1 เป็นฌานที่ 1 สติปัฏฐานข้อที่ 2เป็นฌานที่ 2 สติปัฏฐานข้อที่ 3 เป็นฌานที่ 3 สติปัฏฐานข้อที่ 4 เป็นฌานที่ 4ฯ ฌานที่ 1 เป็นวิหารธรรมที่ 1 ฌานที่ 2 เป็นวิหารธรรมที่ 2 ฌานที่ 3 เป็นวิหารธรรมที่ 3 ฌานที่ 4 เป็นวิหารธรรมที่ 4 ฯ วิหารธรรมที่ 1 เป็นสัมมัปปธานที่ 1 วิหารธรรมที่ 2 เป็นสัมมัปปธานที่ 2 วิหารธรรมที่ 3 เป็นสัมมัปปธานที่ 3 วิหารธรรมที่ 4 เป็นสัมมัปปธานที่ 4 ฯ สัมมัปปธานที่ 1 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 3เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 4 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 ฯ

อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 เป็นอธิฏฐานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 เป็นอธิฏฐานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 เป็นอธิฏฐานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 เป็นอธิฏฐานที่ 4 ฯ อธิฏฐานที่ 1 เป็นสมาธิภาวนาที่ 1 อธิฏฐานที่ 2 เป็นสมาธิภาวนาที่ 2 อธิฏฐานที่ 3 เป็นสมาธิภาวนาที่ 3 อธิฏฐานที่ 4 เป็นสมาธิภาวนาที่ 4 ฯ สมาธิภาวนาที่ 1 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 1 สมาธิภาวนาที่ 2เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 2 สมาธิภาวนาที่ 3 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 3 สมาธิภาวนาที่ 4 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 4 ฯ สุขภาคิยธรรมที่ 1 เป็นอัปปมัญญาที่ 1สุขภาคิยธรรมที่ 2 เป็นอัปปมัญญาที่ 2 สุขภาคิยธรรมที่ 3 เป็นอัปปมัญญาที่ 3สุขภาคิยธรรมที่ 4 เป็นอัปปมัญญาที่ 4 ฯ คืออย่างไรปฏิปทาที่ 1 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 1 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 2 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 2 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 3 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 3 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 4 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 4 ให้บริบูรณ์ ฯ

สติปัฏฐานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 1ให้บริบูรณ์,

สติปัฏฐานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 2ให้บริบูรณ์,

สติปัฏฐานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 3ให้บริบูรณ์,

สติปัฏฐานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ

ฌานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 1ให้บริบูรณ์,

ฌานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 2ให้บริบูรณ์,

ฌานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 3ให้บริบูรณ์,

ฌานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ

วิหารธรรมที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการไม่ให้เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ ไม่หลงลืม ให้เจริญขึ้น ให้บริบูรณ์ ฯ

สัมมัปปธานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละมานะ ให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอวิชชาให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการเข้าไปสงบแห่งภพให้บริบูรณ์ ฯ

การละมานะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัจจาธิฏฐานให้บริบูรณ์,

การถอนขึ้นซึ่งความอาลัย อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังจาคาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การละอวิชชา อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การเข้าไปสงบภพ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุปสมาธิฏฐานให้บริบูรณ์ ฯ

สัจจาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฉันทสมาธิให้บริบูรณ์,

จาคาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิริยสมาธิให้บริบูรณ์,

ปัญญาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังจิตตสมาธิให้บริบูรณ์,

อุปสมาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิมังสาสมาธิ ให้บริบูรณ์ ฯฉันทสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอินทริยสังวรให้บริบูรณ์,

วิริยสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังตบะให้บริบูรณ์,จิตตสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังพุทธิให้บริบูรณ์,วิมังสาสมาธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการสละคืนอุปธิทั้งปวงให้บริบูรณ์ ฯ

อินทริยสังวร อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังเมตตาให้บริบูรณ์,

ตบะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกรุณาให้บริบูรณ์,พุทธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังมุทิตาให้บริบูรณ์,สัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุเบกขาให้บริบูรณ์ ฯ

ธรรมที่เป็นทิศ 4 เป็นไฉน

[87] ในธรรม 10 มีปฏิปทาเป็นต้นนั้น ทิศ 4 เหล่านั้น คือ ปฏิปทาที่ 1,สติปัฏฐานที่ 1 ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1,อธิฏฐานคือสัจจะ ฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา ดังนี้ เป็นทิศที่ 1 ฯ

ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2,อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 อธิฏฐานคือจาคะ วิริยสมาธิ ตบะ กรุณา ดังนี้ เป็นทิศที่ 2 ฯ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 อธิฏฐานคือปัญญา จิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา ดังนี้เป็นทิศที่ 3 ฯ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4,สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อธิฏฐานคืออุปสมะ วิมังสาสมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อุเบกขา ดังนี้ เป็นทิศที่ 4 ฯ

ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 1 สติปัฏฐานที่ 1,ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัจจาธิฏฐานฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นเภสัชชะ (ยาแก้โรค) แห่งบุคคลผู้ราคจริต ฯ

ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 จาคาธิฏฐานวิริยสมาธิ ตบะ และกรุณา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของบุคคลผู้โทสจริต ฯ

ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 ปัญญาธิฏฐานจิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาน้อย ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้นพระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อุปสมาธิฏฐาน วิมังสา สมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะและอุเบกขา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนมีทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาแก่กล้า ฯ

ในปฏิปทา 4 นั้น ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น (วิโมกฺขมฺุขํ) ชื่อว่า อัปปณิหิตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า สุญญตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ

ในสติปัฏฐาน 4 นั้น สติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย และสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นสุญญตวิโมกขมุข สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในฌาน 4 นั้น ปฐมฌานและทุติยฌานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข ตติยฌานเป็นสุญญตวิโมกขมุข จตุตถฌานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในวิหารธรรม 4 นั้น วิหารธรรมที่ 1 และวิหารธรรมที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 4 เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในสัมมัปปธาน 4 นั้น สัมมัปปธานที่ 1 และสัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 4เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอัจฉริยอัพภูตธรรม 4 นั้น การละมานะ และการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข การละอวิชชาเป็นสุญญตวิโมกขมุข การยังภพให้สงบเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอธิฏฐาน 4 นั้น สัจจาธิฏฐาน และจาคาธิฏฐานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขปัญญาธิฏฐานเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุปสมาธิฏฐานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในสมาธิ 4 นั้น ฉันทสมาธิ และวิริยสมาธิเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข จิตตสมาธิเป็นสุญญตวิโมกขมุข วิมังสาสมาธิเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในสุขภาคิยธรรม 4 นั้น อินทริยสังวรและตบะเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขพุทธิ (โพชฌงค์) เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัพพูปธิปฏินิสสัคคะเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

ในอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา และกรุณาเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขมุทิตาเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุเบกขาเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ

วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการก้าวล่วง และการละซึ่งกิเลสวัตถุ 10 หมวด มีอาหาร 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการเจริญกุศลธรรม 10 หมวด มีปฏิปทา 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทั้ง 3นัยนี้ เป็นวิกกีฬิตะของพระอริยะผู้พ้นแล้วเหล่านั้น ฯ

ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ความที่ธรรมเหล่านั้นอันบุคคลพึงละ ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นผู้ละ พึงทราบด้วยอำนาจฉันทราคะที่ผูกพันกับสิ่งนั้น ๆ ดังนี้

อาหาร 4 มีอยู่ ปฏิปทา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาหารเหล่านั้น ฯลฯ วิปลาส 4มีอยู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิปลาสเหล่านั้น ฯ อุปาทาน 4 มีอยู่ ฌาน 4เป็นปฏิปักษ์ต่ออุปาทานเหล่านั้น ฯ โยคะ 4 มีอยู่ วิหารธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโยคะเหล่านั้น ฯ คันถะ 4 มีอยู่ สัมมัปปธาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อคันถะเหล่านั้นฯ

อาสวะ 4 มีอยู่ อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาสวะเหล่านั้น ฯ โอฆะ 4 มีอยู่ อธิฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโอฆะเหล่านั้น ฯ ลูกศร 4 มีอยู่ สมาธิภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อลูกศรเหล่านั้น ฯ วิญญาณฐิติ 4 มีอยู่ สุขภาคิยธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิญญาณฐิติเหล่านั้น ฯ การถึงอคติ 4 มีอยู่ อัปปมัญญา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อการถึงอคติเหล่านั้น ฯ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกทั้งหลาย ผู้ฆ่าราคะโทสะ โมหะแล้ว ชื่อว่า สีหะ การเจริญโพธิปักขิยธรรมที่ควรเจริญ การกระทำให้แจ้งซึ่งผลและนิพพานอันควรกระทำให้แจ้ง การกระทำให้สิ้นไปไม่เหลือแห่งกองกิเลส ชื่อว่า วิกกีฬิตะ ของพระอริยะผู้เป็นสีหะเหล่านั้น ฯ อธิฏฐานคือการเป็นไป การเจริญ และการกระทำให้แจ้งแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า วิกกีฬิตะและการละ ไม่ให้วิปลาสเกิดขึ้นเป็นไป ชื่่อว่า วิกกีฬิตะ ฯ อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งสัทธรรมในฝ่ายแห่งโวทาน เป็นเหตุละวิปลาส เป็นอารมณ์แห่งกิเลส นัยนี้เป็นภูมิแห่งนัย ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะและทิสาโลจนะ ฯ

เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "นัยใด ย่อมนำไปซึ่งสังกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์วิปลาสทั้งหลาย" เป็นต้น และในการวิสัชชนาอรรถะแห่งพระสูตรว่า "ธรรมเหล่าใดเป็นกุศลและอกุศล" เป็นต้น ฯ

[88] ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติลำบาก รู้ช้า และการปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ มีอยู่, บุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้มีอยู่ ฯ

บุคคลทั้ง 4 เหล่านั้น มีสังกิเลสนี้คือ อาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4 โอฆะ 4 ลูกศร 4 วิญญาณฐิติ 4 และการถึงอคติ 4 ฯ

บุคคล 4 เหล่านั้น มีโวทานนี้ คือ ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4 อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ

ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบาก รู้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ และบุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ

ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลนี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ฯ บุคคลใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติอันเป็นสาธารณะ คือปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว และปฏิบัติสบาย รู้ช้า บุคคลนี้เป็นวิปัญจิตัญญู ฯ บุคคลย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบาก รู้ช้า บุคคลนี้เป็นเนยยะ ฯ

ในบุคคล 3 เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแนะนำ สมถะแก่บุคคลผู้อุคฆฏิตัญญู ย่อมทรงแสดงวิปัสสนาแก่เนยยบุคคล ย่อมทรงชี้แจงสมถะและวิปัสสนาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมน้อยแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงธรรมมากแก่เนยยบุคคล ย่อมแสดงธรรมไม่น้อยไม่มากแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น ย่อมทรงแนะนำการสลัดออกแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมทรงชี้แจงถึงโทษ และการสลัดออกแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงอัสสาทะ (ความยินดี)อาทีนวะ (โทษ) และการสลัดออกแก่เนยยบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงประกาศอธิปัญญาสิกขาแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมทรงประกาศอธิจิตตสิกขาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมทรงประกาศอธิศีลสิกขาแก่เนยยบุคคล ฯ

ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาและทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ และบุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา และสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ รวมเป็นบุคคล 4 พวกนี้แล ย่อมเป็นบุคคล 3 คือ อุคฆฏิตัญญูวิปัญจิตัญญและเนยยบุคคล ฉะนี้ ฯ

เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลสนี้ คืออกุศลมูล 3 คือ โลภอกุศลมูล โทสอกุศลมูล โมหอกุศลมูลทุจริต 3 คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอกุศลวิตก 3 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกอกุศลสัญญา 3 คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาวิปริตสัญญา 3 คือ นิจจสัญญา สุขสัญญา อัตตสัญญาเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทุกขตา 3 คือ ทุกขทุกขตา สังขารทุกขตา วิปริณามทุกขตาอัคคิ 3 คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะลูกศร 3 คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะชัฏ (ชฏา) 3 คือ ชัฏคือราคะ ชัฏคือโทสะ ชัฏคือโมหะอกุสลูปปริกขา 3 คือ อกุศลกายกรรม อกุศลวจีกรรม อกุศลมโนกรรมวิบัติ 3 คือ ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ ฯ

ความผ่องแผ้วของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีโวทาน (ความผ่องแผ้ว) นี้ คือ กุศลมูล 3 คืออโลภะ อโทสะ อโมหะสุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตกุศลวิตก 3 คือ เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตกสมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ

กุศลสัญญา 3 คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาสัญญาไม่วิปริต 3 คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาการตรวจสอบกุศล (กุสลูปปริกฺขา) 3 คือ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศลความสะอาด 3 คือ ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจสมบัติ 3 คือ ศีลสมบัติ สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติสิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาขันธ์ 3 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์วิโมกขมุข 3 คือ สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ ฯ

บุคคลเป็น 4 พวก ด้วยอำนาจแห่งปฏิปทา 4 เป็น 3 พวกด้วยอำนาจแห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และเป็น 2 พวก คือ บุคคลผู้ตัณหาจริต และบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฉะนี้แล ฯ

เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลส นี้ คือ ตัณหา อวิชชา อหิริกะ อโนตตัปปะไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มนสิการโดยไม่แยบคาย ความเกียจคร้าน ความเป็นคนว่ายาก (ดื้อรั้น) อหังการ (การถือตัว) มมังการ (ความเห็นแก่ตัว)ไม่มีศรัทธา ประมาท ไม่ฟังพระสัทธรรม ไม่สังวร มีอภิชฌา มีพยาบาทมีนิวรณ์ มีสังโยชน์ มีความโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่มีการตีเสมอ มีริษยา ความตระหนี่ มีมายา มีความโอ้อวด มีความเห็นว่าเที่ยงและมีความเห็นว่าขาดสูญ ฯ

ความผ่องแผ้วของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีโวทาน คือ ความผ่องแผ้วนี้ คือ มีสมถะวิปัสสนา มีิหิริ โอตตัปปะ สติ สัมปชัญญะ มนสิการโดยแยบคาย ปรารภความเพียร มีความเป็นผู้ว่าง่าย ธัมมญาณ (ญาณในปรมัตถ์) อันวยญาณ(อนุโลมญาณ) ขยญาณ อนุปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิด) มีศรัทธา มีความไม่ประมาท มีการฟังพระสัทธรรม มีสังวร ไม่มีอภิชฌา ไม่มีพยาบาทเป็นเจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ เป็นปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา มีการตรัสรู้ มีความปรารถนาน้อย มีความสันโดษ มีความไม่โกรธ มีความไม่ผูกโกรธ มีความไม่ลบหลู่ มีความไม่ตีเสมอ ละความริษยา ละความตระหนี่ มีวิชชา มีวิมุตติ มีวิโมกข์อันเป็นสังขตะอารมณ์ มีวิโมกข์อันเป็นอสังขตะอารมณ์มีนิพพานธาตุที่มีวิบากอันเหลืออยู่ และมีอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฯ

นัยนี้ บัณฑิตเรียกว่า ภูมิแห่งติปุกขลนัย และอังกุสนัย ฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "บุคคลใด ย่อมนำไปซึ่งอกุศลทั้งหลายโดยมูลทั้งหลาย ด้วยกุศลมูล" และ "ด้วยการดูแล้วพิจารณาดูทิศ" ดังนี้ เป็นต้น ฯ

จบ นยสมุฏฐาน

ดูเพิ่ม

  1. เนตติปกรณ์ แปลโดยพระคันธสาราภิวังสะ