อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
เนตติปกรณ์แปล
ยํ โลโก ปูชยเต, สโลกปาโล สทา นมสฺสติ จ; ตสฺเสต สาสนวรํ, วิทูหิ เญยฺยํ นรวรสฺสฯ
[0] ชาวโลกและท้าวโลกบาลล้วนนอบน้อมบูชาอยู่ตลอดเวลาแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เหล่าพหูสูตรควรเชี่ยวชาญปริยัติศาสนา คือ พระพุทธพจน์ 9 แบบ (ในภาษาบาลี) ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอย่างนี้ว่า:
ทฺวาทส ปทานิ สุตฺตํ, ตํ สพฺพํ พฺยญฺชนญฺจ อตฺโถ จ; ตํ วิญฺเญยฺยํ อุภยํ, โก อตฺโถ พฺยญฺชนํ กตมํฯ
พระพุทธพจน์ คือ พระสูตรมี 12 องค์ประกอบ (บท), 12 บทนั้นแบ่งเป็นพยัญชนบท (6) และอรรถบท (6) พหูสูตรควรเรียนรู้ทั้ง 12 บทนั้นว่า "พยัญชนะบท 6 มีอะไรบ้าง? และอรรถบท 6 มีอะไรบ้าง?"
โสฬสหารา เนตฺติ, ปญฺจนยา สาสนสฺส ปริเยฏฺฐิ; อฏฺฐารสมูลปทา, มหกจฺจาเนน นิทฺทิฏฺฐาฯคัมภีร์เนตติประกอบด้วยหาระ 16, นัย 5, มูลบท 18 ซึ่งพระมหากัจจายนเถระแสดงไว้เพื่อใช้พิจารณาพระสูตร.
หารา พฺยญฺชนวิจโย, สุตฺตสฺส นยา ตโย จ สุตฺตตฺโถ; อุภยํ ปริคฺคหีตํ, วุจฺจติ สุตฺตํ ยถาสุตฺตํฯหาระ 16 ช่วยในการวิจัยพยัญชนบท 6 ของพระสูตร, นัย 3 (คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย) ช่วยในการวิจัยอรรถบท 6 ของพระสูตร, เมื่อใช้หาระและนัยนั้นวิจัยพระสูตรแล้วจึงแสดงออกไป จึงจะชื่อว่าแสดงพระสูตรถูกต้อง.
ยา เจว เทสนา ยญฺจ, เทสิตํ อุภยเมว วิญฺเญยฺยํ; ตตฺรายมานุปุพฺพี, นววิธสุตฺตนฺตปริเยฏฺฐีติฯ
เมื่อพหูสูตรควรต้องเรียนรู้พระสูตรทั้งพยัญชนบท 6 และอรรถบท 6 เหล่านั้น, พระมหากัจจายนะจึงแสดงหาระและนัยเหล่านี้ตามลำดับไว้ให้พหูสูตรนั้นใช้พิจารณานวังคสัตถุศาสน์ของพระพุทธองค์.
สังคหวาระ จบ
[ 1 ] ในสังคหวาระที่ว่า "โสฬสหารา (หาระ 16) ฯลฯ" หาระ 16 เป็นไฉน ? คือ เทสนา, วิจยะ, ยุตติ, ปทัฏฐานะ, ลักขณะ, จตุพยูหะ, อาวัฏฏะ, วิภัตติะ, ปริวัตตนะ, เววจนะ, ปัญญัตติ, โอตรณะ, โสธนะ, อธิฏฐานะ, ปริกขาระ และ สมาโรปนะ
คาถาท่องจำหาระ 16
เทสนา วิจโย ยุตฺติ, ปทฏฺฐาโน จ ลกฺขโณ; จตุพฺยูโห จ อาวฏฺโฏ, วิภตฺติ ปริวตฺตโนฯ เววจโน จ ปญฺญตฺติ, โอตรโณ จ โสธโน; อธิฏฺฐาโน ปริกฺขาโร, สมาโรปโน โสฬโส ฯ เอเต โสฬส หารา, ปกิตฺติตา อตฺถโต อสํกิณฺณา; เอเตสญฺเจว ภวติ, วิตฺถารตยา นยวิภตฺตีติฯ
หาระ 16 นั้นล้วนมีองค์ประกอบแตกต่างกัน ซึ่งข้าพเจ้าจะแสดงวิธีแยกองค์ประกอบของแต่ละหาระนั้นไว้ในหารสังเขป 16.
นิรุตติพยัญชนบทแสดงรูปวิเคราะห์ศัพท์. รูปวิเคราะห์แสดงสภาวะ (สิ่งที่มีองค์ประกอบ) ของศัพท์. ท่านจึงใช้คำว่า นย เพราะหาระแสดงพยัญชนะ ส่วนนยะแสดงสภาวะ. ไม่ได้หมายถึง นยะ 5, และไม่ได้หมายถึงสภาวธรรม. "นย"ที่นี้หมายถึงนิรุตติพยัญชนบท.
[ 2 ]ในสังคหวาระที่ว่า "โสฬสหารา (หาระ 16) ฯลฯ" นัย 5 เป็นไฉน ? คือ นันทิยาวัฏฏนัย, ติปุกขลนัย, สีหวิกกีฬิตนัย, ทิสาโลจนนัย, และ อังกุสนัย.
คาถาท่องจำนยะ 5
ปฐโม นนฺทิยาวฏฺโฏ, ทุติโย จ ติปุกฺขโล; สีหวิกฺกีฬิโต นาม, ตติโย นยลญฺชโกฯ ทิสาโลจนมาหํสุ , จตุตฺถํ นยมุตฺตมํ; ปญฺจโม องฺกุโส นาม, สพฺเพ ปญฺจ นยา คตาติฯ
นัยทั้งหมดมี 5 ได้แก่ นัยที่แสดงสภาวะ (ลญฺชก) คือ 1. นันทิยาวัฏฏะ, 2. ติปุกขละ, 3. สีหวิกกีฬิตะ, และนัยที่ไม่แสดงสภาวะ (ไว้เทียบเคียงสภาวะของ 3 นัยนั้น*) คือ 4. ทิสาโลจนะ, 5. อังกุสะ.
*ดูคาถาสุดท้ายของนยสังเขป
[ 3 ] ในสังคหวาระที่ว่า "โสฬสหารา (หาระ 16) ฯลฯ" มูลบท 18 เป็นไฉน ? คือ กุศลบท 9 และอกุศลบท 9.
ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น อกุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ, สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้.
ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น กุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ สมถะ, วิปัสสนา, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ, อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, และ อนัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในกุศลบทเหล่านี้.
คาถาท่องจำมูลบท 18
ตณฺหา จ อวิชฺชาปิ จ, โลโภ โทโส ตเถว โมโห จ; จตุโร จ วิปลฺลาสา, กิเลสภูมี นว ปทานิฯ
9 บทเหล่านี้ คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ และ วิปัลลาส 4 (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, อัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
สมโถ จ วิปสฺสนา จ, กุสลานิ จ ยานิ ตีณิ มูลานิ; จตุโร สติปฏฺฐานา, อินฺทฺริยภูมี นว ปทานิฯ
9 บทเหล่านี้ คือ สมถะ, วิปัสสนา, กุศลมูล 3 (อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ) และสติปัฏฐาน 4 (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
นวหิ จ ปเทหิ กุสลา, นวหิ จ ยุชฺชนฺติ อกุสลปกฺขา; เอเต โข มูลปทา, ภวนฺติ อฏฺฐารส ปทานีติฯ
สมถะเป็นต้นที่เป็นฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท และตัณหาเป็นต้นที่เป็นฝ่ายอกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท. 18 บทเหล่านี้แลชื่อว่า มูลบท.
อุทเทสวาระ จบ
*คำว่า บท ในเนตติปกรณ์แปลว่า องค์ประกอบ;องค์.
[ 4 ] หัวข้อของเนตติในอุทเทสข้างบนนั้น มีอธิบายสังเขป(เพื่อท่องจำได้ง่าย) ดังนี้:
(คำแปลโดยมาก โยคมาจากคาถาก่อนๆ หรือหลังๆ บ้าง คือ มีอธิการทั้งแบบสีหคติกะ, มัณฑูคติกะ, และนทีโสตคติกะ.)
1. อสฺสาทาทีนวตา , นิสฺสรณมฺปิ จ ผลํ อุปาโย จ; อาณตฺตี จ ภควโต, โยคีนํ เทสนาหาโรฯ
เทสนาหาระเป็นวิธีค้นหาอัสสาทะ, อาทีนวะ, นิสสรณะ, ผล, อุบาย, และอาณัติที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงแก่ผู้ปฏิบัติธรรม(จตุสัจจกัมมัฏฐานภาวนาโยคี)ไว้ในพระสูตร.
2. ยํ ปุจฺฉิตญฺจ วิสฺสชฺชิตญฺจ, สุตฺตสฺส ยา จ อนุคีติ; สุตฺตสฺส โย ปวิจโย, หาโร วิจโยติ นิทฺทิฏฺโฐฯ
วิจยหาระเป็นวิธีค้นหาปุจฉา,วิสัชนา, อนุคีติ, อัสสาทะ เป็นต้น (อาทีนวะ นิสสรณะ ผล อุบาย อาณัติ รวม 9 อย่าง) ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
วิภาวินี: ท่านแสดงวิจยหาระหลังเทสนาหาระ เพื่อให้เอาอัสสาทะเป็นต้นจากเทสนาหาระมาวิจัย.
3. สพฺเพสํ หารานํ, ยา ภูมี โย จ โคจโร เตสํ; ยุตฺตายุตฺตปริกฺขา, หาโร ยุตฺตีติ นิทฺทิฏฺโฐฯ
ยุตติหาระเป็นวิธีค้นหาความเหมาะสมและไม่เหมาะสมของ ศัพท์(ภูมิ) และความหมาย (โคจร;อรรถะ) ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร. (พิเคราะห์ว่าเหมาะสมตามมหาปเทส 4 หรือไม่ คือ เป็นศัพท์ที่มีสภาวะจริงเหมือนมหาปเทสไหม และความหมายตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้พูดเหมือนมหาปเทสหรือไม่[เนตฺติ.อ.] เพราะสภาวะก็คือความหมายของศัพท์ ถ้าศัพท์มีสภาวะจริง ก็แสดงว่าเป็นศัพท์ที่ตรงกับความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่พูดศัพท์นี้ไว้)
วิภาวินี: ท่านแสดงยุติหาระต่อจากวิจยหาระ เพื่อให้นำศัพท์ที่วิจัยแล้วมาตรวจทานความเหมาะสมกับสภาวะ.
4. ธมฺมํ เทเสติ ชิโน, ตสฺส จ ธมฺมสฺส ยํ ปทฏฺฐานํ; อิติ ยาว สพฺพธมฺมา, เอโส หาโร ปทฏฺฐาโนฯ
ปทัฏฐานหาระเป็นวิธีค้นหาเหตุใกล้ของธรรมะทุกๆ ขั้นตอนในวงจร ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
วิภาวินี: ท่านแสดงปทัฏฐานหาระต่อจากยุติหาระ เพื่อนำศัพท์ที่ยุตติแล้วมาตรวจว่าเข้ากันได้กับการเกิดของสภาวะต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ หรือไม่.
5.วุตฺตมฺหิ เอกธมฺเม, เย ธมฺมา เอกลกฺขณา เกจิ; วุตฺตา ภวนฺติ สพฺเพ, โส หาโร ลกฺขโณ นามฯ
ลักขณหาระเป็นวิธีค้นหาว่า "เมื่อทรงตรัสธรรมอย่างหนึ่งขึ้น ธรรมใดๆ ที่มีลักษณะแบบเดียวกัน(แม้ไม่ได้กล่าวพร้อมกัน) ก็เป็นเหมือนพระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงธรรมเหล่านั้นไว้ในพระสูตร ด้วยเช่นกัน".
วิภาวินี: ท่านแสดงลักขณหาระต่อจากปทัฏฐาน เพื่อให้นำศัพท์ในวงจรที่พิจารณาไปทั้งหมดนั่นมาวิเคราะห์หาสภาวะอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันในทุกๆ ขั้น ของวงจร[คล้ายๆ สภาคะปัฏฐาน].
6. เนรุตฺตมธิปฺปาโย, พฺยญฺชนมถ เทสนานิทานญฺจ; ปุพฺพาปรานุสนฺธี, เอโส หาโร จตุพฺยูโหฯ
จตุพฺยูหหาระเป็นวิธีค้นหาเนรุตต์, อธิปปาย, นิทาน, และปุพพาปรสนธิ ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
วิภาวินี: ท่านแสดงจตุพยูหหาระต่อจากลักขณหาระ เพื่อให้วิเคราะห์เนรุตต์เป็นต้นทั้ง 4 ในธรรมะที่แม้ไม่มีในสูตรโดยตรงแต่มีอยู่โดยอรรถะด้วย เหมือนในลักขณหาระ.
7. เอกมฺหิ ปทฏฺฐาเน, ปริเยสติ เสสกํ ปทฏฺฐานํ; อาวฏฺฏติ ปฏิปกฺเข, อาวฏฺโฏ นาม โส หาโรฯ
อาวัฏฏหาระเป็นวิธีค้นหาเหตุใกล้อีกด้าน (สลับวงจรกลับด้าน) ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
(คือ เมื่อหาเหตุใกล้ของธรรมะใดๆ ด้านหนึ่งต่อกันๆ กันไปเป็นวงจรแล้ว, ก็ให้กลับมาอีกด้านหนึ่งแล้วหาเหตุใกล้ต่อๆ กันไปเป็นวงจรด้วยเหมือนกัน เช่นวัฏฏะวิวัฏฏะในปฏิจจสมุปาทสูตร).
วิภาวินี: ท่านแสดงอาวัฏฏหาระต่อจากจตุพยูหหาระเพื่อกลับสภาคะและวิสภาคธรรมระหว่างสูตรในขั้นตอนของปุพพาปรสนธิจตุพพยูหะได้ง่าย เช่น คาถาก่อนแสดงอารภถ นิกฺกมถ คาถาต่อมาจึงแสดงอปฺปมตฺโต เพราะความประมาทเป็นธรรมตรงข้ามกับอารภถ นิกฺกมถ.
8. ธมฺมญฺจ ปทฏฺฐานํ, ภูมิญฺจ วิภชฺชเต อยํ หาโร; สาธารเณ อสาธารเณ จ เนยฺโย วิภตฺตีติฯ
วิภัตติหาระเป็นวิธีค้นหาสภาวธรรม, เหตุใกล้ของสภาวธรรม, ทัสสนภาวนาปหาตัพพภูมิของสภาวธรรม, และสาธารณะอสาธารณะของสภาวธรรม ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
วิภาวินี: ท่านแสดงวิภัตติหาระต่อจากอาวัฏฏหาระเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนก 4 ข้อนี้ในสภาคและวิสภาคธรรมที่วิเคราะห์ด้วยอาวัฏฏหาระนั้นมาในข้อที่แล้ว.
กุสลากุสเล ธมฺเม, นิทฺทิฏฺเฐ ภาวิเต ปหีเน จ; ปริวตฺตติ ปฏิปกฺเข, หาโร ปริวตฺตโน นามฯ
ปริวัตตนหาระเป็นวิธีค้นหาโดยแปลงเป็นวงจรข้างปฏิปักข์ของกุศลธรรมที่ควรเจริญ หรืออกุศลธรรมที่ควรละ ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร.
วิภาวินี: ท่านแสดงปริวัตตนหาระต่อจากวิภัตติหาระ เพราะเมื่อสามารถจำแนกสังกิเลสธรรมและโวทานธรรมที่มาในสูตรที่ควรอธิบายเพิ่ม ด้วยวิภัตติหาระแล้ว, ก็ย่อมสามารถเปลี่ยนกลับไปฝ่ายปฏิปักข์ได้ไม่ยากเช่นกัน.
เววจนานิ พหูนิ ตุ, สุตฺเต วุตฺตานิ เอกธมฺมสฺส; โย ชานาติ สุตฺตวิทู, เววจโน นาม โส หาโรฯ
เววจนหาระเป็นวิธีค้นหาเววจนะจำนวนมากมายของอรรถะอันหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 แสดงไว้ในพระสูตร. พหูสูตรรู้เววจนะเหล่านั้นได้.
วิภาวินี: ท่านแสดงเววจนหาระต่อจากปริวัตตนหาระ เพื่อแสดงว่า ธรรมะที่แปลงเป็นข้างปฏิปักข์นั้น รู้เอาได้โดยอ้อม, ไม่ใช่ธรรมที่มาในสูตรที่ควรอธิบายเพิ่มนั้นเสียทีเดียว.
เอกํ ภควา ธมฺมํ, ปญฺญตฺตีหิ วิวิธาหิ เทเสติ; โส อากาโร เญยฺโย, ปญฺญตฺตี นาม หาโรติฯ
ปัญญัตติหาระเป็นวิธีค้นหาวิธีต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าใช้พยัญชนะบท 6 มาแสดงสั่งสอนให้รู้สภาวะอันหนึ่ง โดยเข้าไปรู้วิธีต่างๆนั้น ลึกระดับอาการพยัญชนบท (วิธีเหล่านี้ เรียกว่า บัญญัติประเภทต่างๆ เช่น วิธีให้รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์และสมุทัยเรียกว่า ทุกฺขสฺส จ สมุทยสฺส จ ปภวปญฺญตฺติ, วิธีให้รู้สัจจะโดยย่อ เรียกว่า นิกฺเขปปญฺญตฺติ เป็นต้น. อนึ่ง ในข้อเววจนหาระนั้น เป็นเพียงคำหลายคำ แต่ละคำสื่อสภาวะเดียวกัน ใช้แทนกันได้, แต่ปัญญัตติหาระนั้น เป็นคำหลายคำ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยพยัญชนบท 6 คือ มีความสัมพันธ์กันทางไวยากรณ์ที่ไม่ใช่แค่เววจนะ ที่เมื่อสัมพันธ์กันครบถึงจะสื่อถึงอรรถะอย่างหนึ่งได้ ในขณะที่เววจนะนั้น มีอรรถะอยู่ในตัวสำเร็จแต่ละคำเลย. เววจนะเป็น subset ของปัญญัติหาระ).
เววจนหาเรน ปริยายโต ปกาสิตานํ ธมฺมานํ ปเภทโต ปญฺญตฺติวเสน วิภชนํ สุเขน สกฺกา ญาตุนฺติ เววจนหารานนฺตรํ ปญฺญตฺติ หาโรฯ
วิภาวินี: ท่านแสดงปัญญัตติหาระต่อจากเววจนหาระ เพื่อแสดงว่า พหูสูตรจะรู้การจำแนกวิธีที่พระพุทธเจ้าใช้แสดงให้รู้สภาวะออกเป็นหมวดธรรมต่างๆ ที่ทรงแสดงไว้โดยอ้อมแล้วด้วยเววจนะนั้น ได้ง่าย ด้วยปัญญัตติหาระนี้.
11. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง (มี ขันธ์ เป็นต้น) ด้วยบัญญัติหลายประการ, อาการที่ให้รู้ด้วยบัญญัติหลายประการนั้น พึงทราบว่าเป็น ปัญญัตติหาระ
โย จ ปฏิจฺจุปฺปาโท, อินฺทฺริยขนฺธา จ ธาตุ อายตนา; เอเตหิ โอตรติ โย, โอตรโณ นาม โส หาโรฯ
12. สังวรรณนาพิเศษที่หยั่งลงในปฏิจจสมุปบาท, อินทรีย์, ขันธ์, ธาตุ และ อายตนะ ชื่อว่า โอตรณหาระ
วิสฺสชฺชิตมฺหิ ปญฺเห, คาถายํ ปุจฺฉิตายมารพฺภ; สุทฺธาสุทฺธปริกฺขา, หาโร โส โสธโน นามฯ
13. การพิจารณาความหมดจดและไม่หมดจด แห่งอรรถที่ถูกปรารภในคำถามคำตอบ และคำที่ท่านยกขึ้นสู่คาถานั้น ชื่อว่า โสธนหาระ
เอกตฺตตาย ธมฺมา, เยปิ จ เวมตฺตตาย นิทฺทิฏฺฐา; เตน วิกปฺปยิตพฺพา, เอโส หาโร อธิฏฺฐาโนฯ
14. ธรรมเหล่าใดถูกแสดงโดยสามัญและโดยพิเศษ ธรรมเหล่านั้น อันท่านไม่ต้องคำนึงถึงการจำแนกแจกแจง สังวรรณนานี้ชื่อว่า อธิฏฐานหาระ
เย ธมฺมา ยํ ธมฺมํ, ชนยนฺติปฺปจฺจยา ปรมฺปรโต; เหตุมวกฑฺฒยิตฺวา, เอโส หาโร ปริกฺขาโรฯ
15. ปัจจยธรรม (มี อวิชชา เป็นต้น) เหล่าใดยังปัจจยุปปันนธรรม (มี สังขาร เป็นต้น) อันใดให้เกิดขึ้น โดยความเป็นสหชาตปัจจัย และปัจจัยที่สืบ ๆ กันมา สังวรรณนาพิเศษที่ชักเหตุ (มี อวิชชา เป็นต้น อันต่างโดชนก เป็นต้น) นั้นมาพรรณนา ชื่อว่า ปริกขารหาระ
เย ธมฺมา ยํ มูลา, เย เจกตฺถา ปกาสิตา มุนินา; เต สมโรปยิตพฺพา, เอส สมาโรปโน หาโรฯ
16. ธรรม (มี ศีล เป็นต้น) เหล่าใดเป็นมูลของธรรม (มี สมาธิ เป็นต้น) เหล่าใด พึงยกธรรม (มี ศีล เป็นต้น) เหล่านั้นขึ้นโดยความเป็นปทัฏฐานของธรรม (มี สมาธิ เป็นต้น) เหล่านั้น. ศัพท์เหล่าใดมีอรรถเหมือนกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พึงยกศัพท์เหล่านั้นขึ้นโดยความเป็นคำไวพจน์ของกันและกัน นี้ชื่อว่า สมาโรปนหาระ
(หาระ คือ วิธีอธิบายพยัญชนะแห่งพระสูตร, นัย คือ วิธีอธิบายอรรถะ[สภาวะ]แห่งพระสูตร)
ตณฺหญฺจ อวิชฺชมฺปิ จ, สมเถน วิปสฺสนาย โย เนติ; สจฺเจหิ โยชยิตฺวา, อยํ นโย นนฺทิยาวฏฺโฏฯ
1. นัยที่ใช้กิเลสภูมิ คือ ตัณหาอวิชชามาวิเคราะห์เอาอกุสลปักข์ทั้งหมด (ธรรมฝ่ายอกุศล) ออกมาจากพระสูตร (วัฏฏะนัย) และใช้อินทริยภูมิ คือ สมถะวิปัสสนามาวิเคราะห์เอากุสลปักข์ทั้งหมด ออกมาจากพระสูตร (อาวัฏฏนัย หรือ วิวัฏฏนัยในปฏิจจสมุปบาท) เพื่อนำไปประกอบกับสัจจะ 4 นี้ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ.
(นันทิยะที่วัฏฏะ 1 นันทิยะที่อาวัฏฏะ 1 = นัยของหมวด 2)
โย อกุสเล สมูเลหิ, เนติ กุสเล จ กุสลมูเลหิ; ภูตํ ตถํ อวิตถํ, ติปุกฺขลํ ตํ นยํ อาหุฯ
2. นัยที่ใช้กิเลสภูมิ คือ อกุศลมูล 3 มาวิเคราะห์เอาอกุสลปักข์ทั้งหมดออกมาจากพระสูตร และใช้อินทริยภูมิ คือ กุสลมูล 3 มาวิเคราะห์เอากุสลปักข์ทั้งหมด ออกมาจากพระสูตรเพื่อนำไปประกอบกับสัจจะ 4 อันเป็นภูตธรรม ตถธรรม อวิตถธรรม (คือ เป็นความจริงถูกต้องตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่กล่าวในนันทิยาวัฏฏนัย) ท่านเรียกนัยว่า ติปุกขละ.
(ปุกขล 3 = นัยของหมวด 3)
โย เนติ วิปลฺลาเสหิ, กิเลเส อินฺทฺริเยหิ สทฺธมฺเม; เอตํ นยํ นยวิทู, สีหวิกฺกีฬิตํ อาหุฯ
3. นัยที่ใช้กิเลสภูมิ คือ วิปัลลาส 4 มาวิเคราะห์เอากิเลส (คืออกุสลปักข์ทั้งหมด) ออกมาจากพระสูตร และใช้อินทริยภูมิ มาวิเคราะห์เอาปฏิปัตติปฏิเวธสัทธรรม (คือกุสลปักข์ทั้งหมด) ออกมาจากพระสูตรเพื่อนำไปประกอบกับสัจจะทั้ง 4 ผู้รู้นัยท่านเรียกนัยนี้ว่า สีหวิกกีฬิตะ.
(สีหะย่างกรายด้วย 4 เท้า = นัยของหมวด 4)
(สีหวิกีฬิตนัย จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสีหะคือครูผู้สอน ในนยสมุฏฐานจึงแสดงองค์สภาวะธรรมข้อที่เท่ากันแม้ต่างหมวดไว้เท่ากัน. ติปุกขลนัย จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสัตว์ที่จะออกจากวัฏฏะ ในนยสมุฏฐานจึงเป็นการนำสีหวิกกีฬตนัยมาลำดับใหม่ให้เหมาะกับรายบุคคลนั้นๆ ดังนั้น องค์สภาวธรรม คนละลำดับข้อกัน ถ้าต่างหมวดก็อาจมีองค์ธรรมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของสัตว์คนนั้นๆ.)
เวยฺยากรเณสุ หิ เย, กุสลากุสลา ตหิํ ตหิํ วุตฺตา; มนสา โวโลกยเต, ตํ ขุ ทิสาโลจนํ อาหุฯ
4. กุศลปักข์และอกุศลปักข์ที่ท่านกล่าวไว้ในนัย 3 ข้างต้น ต้องนำมาตรวจดูด้วยใจ (ว่าเป็นสภาวะเดียวกับทิสไหนใน 4 ทิศ) ท่านเรียกการพิจารณากุศลและอกุศลด้วยใจนั้นว่า ทิสาโลจนะ.
(ทิสาโลจนัย ใช้องค์สภาวธรรมที่เป็นทิสเดียวกันแต่คนละหมวด มาวิเคราะห์เอาอกุสลปักข์สภาวะทั้งหมดและกุสลปักข์สภาวะทั้งหมดออกมาจากพระสูตร เช่น มีกามาสวะ ก้เท่ากับมีกามโยคะ กามคันถะ เป็นต้น, ส่วนสีหวิกกีฬิตนัย จะใช้องค์สภาวธรรมหมวดเดียวกันแต่คนละทิส มาวิเคราะห์เอาอกุสลปักข์สภาวะทั้งหมดและกุสลปักข์สภาวะทั้งหมดออกมาจากพระสูตร เช่น มีกามาสวะ ก็ต้องตามด้วยทิฏฐาสวะ เป็นต้น)
โอโลเกตฺวา ทิสโลจเนน, อุกฺขิปิย ยํ สมาเนติ; สพฺเพ กุสลากุสเล, อยํ นโย องฺกุโส นามฯ
5. เมื่อใช้ทิสาโลจนนัยตรวจดูกุศลปักข์และอกุศลปักข์แล้ว นำกุศลปักข์และอกุศลธรรมทั้งหมดไปเทียบชั้นกับนัยใด นัยนั้นแหละชื่อว่า อังกุสะ.
(เทียบชั้น คือ ทิสข้อที่ใดๆ ของทิสาโลจนนัย มีองค์สภาวะธรรมตรงกับอังกุสนัยข้อที่ใดๆ, ทิสข้อที่นั้นๆ ก็เทียบเท่ากับอังกุสนัยข้อที่นั้นๆ เช่น ทิสข้อที่ 1 คือ ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีองค์สภาวะธรรมเทียบเท่ากับอังกุสนัยข้อที่ 1 คือ อุคฆฏิตัญญู, ฉะนั้น ทิสข้อที่ 1 นั้น จึงเทียบชั้นได้เท่ากับ อังกุสนัยข้อที่ 1 เช่นกัน เป็นต้น.)
โสฬส หารา ปฐมํ, ทิสโลจนโต ทิสา วิโลเกตฺวา; สงฺขิปิย องฺกุเสน หิ, นเยหิ ตีหิ นิทฺทิเส สุตฺตํฯ
พยัญชนะบท 6
อกฺขรํ ปทํ พฺยญฺชนํ, นิรุตฺติ ตเถว นิทฺเทโส; อาการฉฏฺฐวจนํ, เอตฺตาว พฺยญฺชนํ สพฺพํฯ
ทั้งหมดนี้เป็นพยัญชนะบท 6:
บท 12 คือ องค์ของพระสูตรทั้งสูตร, บทพยัญชนะบท คือ องค์ของประโยคหนึ่งๆ ในประโยคหลายประโยคที่ผสมเป็นสูตร,
อรรถะบท 6
สงฺกาสนา ปกาสนา, วิวรณา วิภชนุตฺตานีกมฺมปญฺญตฺติ; เอเตหิ ฉหิ ปเทหิ, อตฺโถ กมฺมญฺจ นิทฺทิฏฺฐํฯ
ท่านอธิบายความหมายของพระสูตรและวิธีแสดงด้วยอรรถบท 6 (แต่ซ้ำกันจึงเหลือ 3):
ตีณิ จ นยา อนูนา, อตฺถสฺส จ ฉปฺปทานิ คณิตานิ; นวหิ ปเทหิ ภควโต, วจนสฺสตฺโถ สมายุตฺโตฯ
นยะ 3 รวมกับอรรถบท 6, อรรถบทของพระพุทธพจน์จึงมี 9.
(อังกุสนัยนับรวมกับติปุกขลนัย,ทิสาโลจนนับรวมกับสีหวิกีฬิตนัย เพราะเป็นนัยย่อยอีกทีหนึ่ง).
อตฺถสฺส นวปฺปทานิ, พฺยญฺชนปริเยฏฺฐิยา จตุพฺพีส; อุภยํ สงฺกลยิตฺวา , เตตฺติํสา เอตฺติกา เนตฺตีติฯ
เมื่อรวมทั้ง 2 อย่างแล้ว เนตติมีประมาณ 33 คือ อรรถบท 9 พยัญชนะ 24 (นย 3 กับ อรรถบท 6 ในบท 12 เป็นอรรถบท 9. หาระ 16, พยัญชนบท 6, กัมมนัย 2 เป็นพยัญชนบท 24).
นิทเทสวาระ จบ