วิสุทธิมรรค_17_ปัญญาภูมินิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_17_ปัญญาภูมินิทเทส [2020/08/15 17:38]
dhamma [วินิจฉัยโดยรูปแบบเทศนา]
วิสุทธิมรรค_17_ปัญญาภูมินิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-'''​ปริจเฉทที่ ​ 17  ปัญญาภูมินิทเทส'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 127)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุที่ในธรรมทั้งหลายที่เป็นภูมิแห่งปัญญานี้ ​ ท่านกล่าวไว้ว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายต่างโดยขันธ์ ​ อายตนะ ​ ธาตุ ​ อินทรีย์ ​ สัจจะ ​ และปฏิจจสมุปบาทเป็นอาทิ ​ เป็นภูมิ ​ (แห่งปัญญา)" ​ ดังนี้ ​ ปฏิจจสมุบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลายที่รวมเข้าไว้ด้วยอาทิศัพท์ยังเหลืออยู่ ​ (ยังมิได้พรรณนา) ​ เพราะเหตุนั้น ​ บัดนี้ ​ จึงถึงลำดับแห่งการสังวรรณนาปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้น 
- 
-=คำบริกรรมปฏิจจสมุปบาท= 
-==ปัจจยสูตร== 
-===ปฏิจจสมุปบาท=== 
-ในธรรมสองอย่างนั้น ​ ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ​ พึงทราบว่า ​ ชื่อปฏิจจสมุปบทาเป็นอันดับแรก ​ จริงอยู่ ​ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้[http://​www.84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=16&​siri=16 ตรัสไว้ว่า] ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
- 
-สังขารทั้งหลาย ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   อวิชชา 
- 
-วิญญาณ ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   สังขาร 
- 
-นามรูป ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   วิญญาณ 
- 
-สฬายตนะ ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   นามรูป 
- 
-ผัสสะ ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   สฬายตนะ 
- 
-เวทนา ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   ผัสสะ 
- 
-ตัณหา ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   เวทนา 
- 
-อุปาทาน ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   ตัณหา 
- 
-ภพ ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   อุปทาน 
- 
-ชาติ ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   ภพ 
- 
-ชรามรณะ ​ โสกะ 
- 
-ปริเทวะ ​ ทุกขะ 
- 
-โทมนัส ​ อุปายาส ​   มีเพราะปัจจัยคือ ​   ชาติ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 128)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมมีดังนี้ ​   ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ​ ปฎิจจสมุปบาท"​ 
- 
-===ปฏิจจสมุปปันนะ=== 
- 
-ส่วนธรรมทั้งหลายมีชรามรณะเป็นต้น ​ พึงทราบว่าชื่อ ​ ปฎิจจสมุปปันนธรรม ​ จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้[http://​www.84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=16&​siri=16 ตรัสไว้ว่า] ​   "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​  ​ก็ปฎิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลายเป็นอย่างไร ​  ​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​  ​ชรามรณะ ​  ​เป็นธรรมไม่เที่ยง ​  ​เป็นธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ​ เป็นปฎิจจสมุปปันนธรรม ​  ​(อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น) ​  ​เป็นธรรมมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ​ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ​ มีความคลายไปเป็นธรรมดา ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​  ​ชาติ ฯลฯ ​  ​ภพ ​ อุปาทาน ​ ตัณหา ​ เวทนา ​ ผัสสะ ​ สฬายตนะ ​ นามรูป ​ วิญญาณ ​ สังขาร ​ อวิชชา ​ เป็นธรรมไม่เที่ยง ​ เป็นธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ​ เป็นปฎิจจสมุปปันนธรรม ​ (อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น) ​ เป็นธรรมมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ​ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ​ มีความคลายไปเป็นธรรมดา ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ธรรมเหล่านี้ ​ เรียกว่า ​ ปฎิจจสมุปปันนธรรม" ​ ดังนี้ 
- 
-===ปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนะ=== 
- 
-ส่วนความ ​ (ต่อไป) ​  ​นี้ ​ เป็นความหมายสังเขปในปฎิจจสมุปบาทและปฎิจจสมุปปันนธรรมนั้น 
- 
-ธรรมที่เป็นปัจจัยทั้งหลาย ​ พึงทราบว่าชื่อว่า ​ ปฎิจจสมุปบาท ​ ธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยทั้งหลายนั้น ​ ๆ  พึงทราบว่า ​ ชื่อว่าปฎิจจสมุปปันนธรรม ​ หากมีคำถามว่า ​ "​ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไร" ​ พึงแก้ว่า ​ ทราบได้โดยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า" ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เมื่อทรงแสดงปฎิจจสมุปบาทในพระสูตรอันว่าด้วยการแสดงปฎิจจสมุปบาทและปฎิจจสมุปันนธรรม[http://​www.84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=16&​siri=16 ไว้ดังนี้ว่า] ​  "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​  ​ก็ปฎิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ​  ​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​  ​ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติ ​  ​เพราะความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลายก็ตาม ​  ​เพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลายก็ตาม ​  ​ธาตุอันนั้น ​ ธัมมฐิตตา ​ (ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา) ​ อันนั้น ​ ธัมมนิยามตา ​ (ความแน่นอนแห่งธรรมดา) ​ อันนั้น ​ อิทัปปัจจยตา ​ (ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) ​ อันนั้น ​ ก็คงตัวอยู่นั่น ​ ตถาคตรู้ถึงธาตุอันนั้นเข้า ​ ครั้นรู้ถึง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 129)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เข้าแล้วจึงบอกจึงแสดงจึงบัญญัติแต่งตั้งเปิดเผยจำแนกออก ​ ทำให้ง่ายขึ้น ​ ท่านทั้งหลายจงดูเถิด" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ และตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ชรามรณะ ​ มีเพราะปัจจัยคือชาติ ​ ชาติมีเพราะปัจจัยคือภพ ​ ฯลฯ ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ เพราะความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลายก็ตาม ​ เพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลายก็ตาม ​ ฯลฯ ​ จำแนกออกทำให้ง่ายขึ้น ​ ท่านทั้งหลายจงดูเถิด" ​ และตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ '''​ตถาคต''' ​ (ความมีเพราะปัจจัยเหล่านั้น) ​ อย่างนี้ ​ แลอันใด ​ '''​อวิตถตา''' ​   (ความไม่มีที่จะไม่มีเพราะปัจจัยอย่างนั้น) ​ อย่างนี้ ​ แลอันใด ​ '''​อิทัปปัจจยตา''' ​ (ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) ​ อย่างนี้ ​ แลอันใดในธรรมนั้น ​ อันนี้เรียกว่า ​ ปฏิจจสมุปบาท" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ก็เป็นอันตรัสธรรมที่เป็นปัจจัยทั้งหลายนั่นเองว่าเป็นปฏิจจสมุปบาท ​ โดยคำทั้งหลายที่เป็นไวพจน์ ​ (ของปฏิจจสมุปบาท) ​ มีตถตาเป็นต้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ปฏิจจสมุบาท ​ บัณฑิตพึงทราบว่ามีความเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายมีชรามรณะเป็นต้นเป็นลักษณะ ​ มีการผูกพันทุกข์ไว้เป็นรส ​ มีความเป็นทางผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ ก็แลปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าตถตา ​ (ความมีเพราะปัจจัยอย่างนั้น) ​ เพราะความมีขึ้นแห่งธรรมนั้น ๆ  ก็เพราะปัจจัยทั้งหลายนั้น ๆ  อันไม่ขาดไม่เกินนั่นเทียว ​ ตรัสเรียกว่า ​ อวิตถตา ​ (ความไม่มีที่จะไม่มี ​ เพราะปัจจัยอย่างนั้น) ​ ก็เพราะเมื่อปัจจัยทั้งหลายถึงความพร้อมเข้ากันแล้ว ​ เป็นไม่มีละที่ธรรมทั้งหลาย ​ อันเกิดเพราะปัจจัยนั้นจะไม่มีขึ้นแม้แต่ครู่หนึ่ง ​ ตรัสเรียกว่า ​ อนัญญถตา ​ (ความไม่มีธรรมอื่นเพราะปัจจัยอื่น) ​ ก็เพราะธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ อย่างหนึ่งไม่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยของธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ตรัสเรียกว่าอิทัปปัจจยตา ​ (ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนั้น) ​ ก็เพราะความเป็นปัจจัยหรือเพราะเป็นประชุมแห่งปัจจัยของธรรม ​ (ที่ ​ เป็นผล) ​ ทั้งหลายมีชรามรณะเป็นอาทิตามที่กล่าวมาแล้วนั้น 
- 
-'''​แก้อิทัปปัจจยตา'''​ 
- 
-(ต่อไป) ​ นี้เป็นความหมายแห่งคำในคำอิทัปปัจจยตานั้น ​ ธรรมทั้งหลายใดเป็นปัจจัยของธรรมเหล่านี้ ​ ธรรมทั้งหลายนั้นชื่อว่า ​ อิทัปปัจจยา ​ อิทัปปัจจยตา ​ ก็อิทัปปัจจยานั่นเอง ​ นัยหนึ่ง ​ ประชุมแห่งอิทัปปัจจยา ​ ชื่อว่า ​ อิทัปปัจจยตา 
- 
-ก็แลลักษณะในคำว่าอิทัปปัจจยตานี้ ​ พึงค้นดูจากตำราศัพทศาสตร์เถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 130)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ค้านความหมายปฏิจจสมุปบาทในลัทธิเดียรถีย์'''​ 
- 
-เจ้าลัทธิบางพวกกล่าวกิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้น ​ (เฉย ๆ  ไม่มีเหตุ) ​ ว่าเป็นปฏิจจสมุปบาท ​ โดยนัยดังนี้ว่า ​ "​ความอิง ​ (สิ่งต่าง ๆ)  เกิดขึ้น ​ และเกิดขึ้นอย่างถูกต้องด้วย ​ (โดย) ​ ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุ ​ เช่นความเกิดแห่งปกติ ​ (ประพฤติ – มูลเดิม) ​ และปุริส ​ (อาตมัน) ​ เป็นต้น ​ ซึ่งเดียรถีย์กำหนดขึ้น ​ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท" ​ คำของเจ้าลัทธินั้นไม่ชอบ ​ เพราะอะไร ?  เพราะไม่มีพระสูตร ​ (อ้าง) ​ เพราะผิดต่อพระสูตร ​ เพราะไม่เกิดความลึกซึ้งและนัย ​ และเพราะเป็นสัททเภท ​ (ศัพท์แตก) ​ ด้วย  ​ 
- 
-'''​ไม่มีพระสูตรอ้างและผิดต่อพระสูตร'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ พระสูตรว่า ​ "​กิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้น ​ (ไม่มีเหตุ) ​ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท" ​ ดังนี้หามีไม่ ​ และความผิดต่อปเทสวิหารสูตร ​ (พระสูตรที่กล่าวถึงปเทสวิหารธรรม) ​ ก็ต้อง ​ (มี) ​ ก็ผู้ที่กล่าวว่า ​ กิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้นนั้นชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นปฐมาภิสัมพุทธวิหาร ​ (วิหารธรรมเมื่อแรกตรัสรู้) ​ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ โดยบาลีว่า ​ "​ครั้งนั้นแล ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมตลอดปฐมยามแห่งราตรี" ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทิ ​ อนึ่ง ​ วิหารธรรมเป็นส่วนหนึ่งปฏจจสมุปบาทนั้น ​ ชื่อว่าปเทสวิหารธรรม ​ ดังที่ตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เรานั้นแรกตรัสรู้ ​ พักผ่อนอยู่ด้วยวิหารธรรมใด ​ เราพักผ่อนอยู่แล้วด้วยปเทส ​ (ส่วนหนึ่ง) ​ แห่งวิหารธรรมนั้น" ​ ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักผ่อนอยู่ในปเทสวิหารธรรมนั้น ​ ก็โดยทรง ​ (พิจารณา) ​ ดูปัจจยาการ ​ (อาการแห่งปัจจยธรรม) ​ หาใช่ทรง ​ (พิจารณา) ​ ดูกิริยาจักว่าความเกิดขึ้นไม่แล ​ ดังที่ตรัสว่า ​ "​เรานั้นรู้ทั่วถึงอย่างนี้ว่า ​ ความเสวยอารมณ์มีเพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิก็มี ​ ความเสวยอารมณ์มีเพราะปัจจัยคือสัมมาทิฏฐิก็มี ​ ความเสวยอารมณ์มีเพราะปัจจัยมิจฉาสังกัปปะก็มี ​ ดังนี้เป็นต้น ​ คำบาลีทั้งปวงบัณฑิตพึง ​ (นำมากล่าว) ​ ให้พิสดารเถิด ​ ความผิดต่อปเทสวิหารสูตร ​ ต้อง ​ (มี) ​ แก่ผู่กล่าวว่ากิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้น ​ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท" ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-นัยเดียวกัน ​ ผิดต่อกัจจานสูตรด้วย ​ จริงอยู่ ​ แม้ในกัจจานสูตรก็กล่าวว่า ​ "​ดูกรกัจจานะ ​ อนึ่ง ​ เมื่อบุคคลเห็นโลกสมุทัย ​ (เหตุเกิดขึ้นแห่งโลก)ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 131)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นัตถิตา ​ (ความเห็นว่าไม่มี ​ เห็นว่าขาดสูญ) ​ อันใดในโลก ​ นัตถิตาอันนั้นย่อมไม่มี" ​ ดังนี้ ​ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลม ​ ชื่อว่าโลกสมุทัย ​ เพราะเป็นปัจจัยแห่งโลก ​ เพราะฉะนั้น ​ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลมนั้น ​ จึงเป็นธรรมที่ทรงประกาศเพื่อถอนอุจเฉททิฏฐิ ​ มิใช่ทรงประกาศกิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้น ​ (เฉย ๆ)  เหตุว่าความถอนอุจเฉททิฏฐิจะมีขึ้นด้วยการ ​ (พิจารณา) ​ เห็นแต่เพียงความเกิดขึ้นหาได้ไม่ ​ แต่ย่อมมีได้ด้วยการ ​ (พิจารณา) ​ เห็นความสืบต่อกันแห่งปัจจัย ​ เพราะความสืบต่อแห่งผลย่อมมีในเพราะความสืบต่อแห่งปัจจัยแล ​ แม้ความผิดต่อกัจจานสูตรก็ต้อง ​ (มี) ​ แก่ผู้กล่าวว่า ​ "​กิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้น ​ ชื่อว่า ​ ปฏิจจสมุปบาท" ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==นิทานสูตร== 
- 
-ข้อว่า ​ '''"​เพราะไม่เกิดความลึกซึ้งและนัย"''' ​ ความว่า ​ ก็แลคำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า[http://​www.84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=16&​siri=56 ตรัสไว้ว่า] ​ "​ดูกรอานนท์ ​ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งทั้งอาการที่ปรากฏก็ลึกด้วย" ​ ดังนี้ ​ ก็อันความลึกซึ้ง ​ (แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น) ​ มี 4  ประการ ​ ข้าพเจ้าทั้งหลายจักพรรณนาความลึกซึ้งนั้นข้างหน้า ​ ความลึกซึ้งนั้นหามีในกิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้นไม่ 
- 
-อนึ่ง ​ บัณฑิตทั้งหลายพรรณนาปฏิจจสมุปบาทนั้นไว้ให้ประดับด้วยนัย 4  ประการ ​ แม้นัยทั้ง 4  นั้น ​ ก็หามีในกิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้นไม่ 
- 
-กิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้นไม่เป็นปฏิจจสมุปบาท ​ เพราะไม่เกิดความลึกซึ้งและนัย ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ประการ 1 
- 
-==ทุกขสูตร== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​เพราะเป็นสัททเภท''' ​ (ศัพท์แตก) ​ "​ความว่า ​ ก็แล ​ '''​ปฏิจจ'''​ศัพท์นี้ ​ เพราะกัตตาเสมอกัน ​ (คือหากมีกัตตาเดียวกันกับอุปปาท) ​ ประกอบไว้ในบุพกาล ​ (คือใช้เป็นบุพกาลกิริยา) ​ จึงทำความสำเร็จแห่งอรรถได้ ​ (คือได้ความเป็นภาษา) ​ [http://​www.84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=16&​siri=39 เช่นกับพากย์นี้ว่า] ​ '''"​จกฺขุญจ ​ ปฏิจฺจรูเป ​ จ  อุปฺปชฺชติ ​ จกฺขุวิญฺญาณํ''' ​ จักขุวิญญาณย่อมอาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น" ​ แต่ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 132)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำของเกจิอาจารย์นี้ ​ ปฏิจจศัพท์นั้นประกอบเข้ากับอุปปาทศัพท์อันเป็นภาวสาธนะ ​ (คือ แปลว่าความเกิดขึ้น) ​ จึงถึงซึ่งความเป็นสัททเภท ​ เพราะไม่มีกัตตาเสมอกัน ​ และไม่ยังอรรถอะไร ๆ ให้สำเร็จด้วย ​ เพราะฉะนั้น ​ กิริยาเพียงแต่ความเกิดขึ้นจึงไม่เป็นปฏิจจสมุปบาท ​ เพราะเป็นสัททเภทประการ 1  ฉะนี้ 
- 
-ในข้อนั้น ​ พึงมีคำแย้ง ​ "​พวกข้าพเจ้าจักประกอบเข้ากับ ​ โหติ ​ ศัพท์ว่า ​ '''"​ปฏิจจสมุปฺปาโท ​ โหติ"''' ​ ดังนี้ก็ได้ ​ คำแก้พึงมีว่า ​ "​คำนั้นก็ไม่ชอบ ​ เพราะอะไร ?  เพราะไม่มีความที่ควรประกอบประการ 1  (เพราะโทษคือต้องกลายเป็นความว่า) ​ ความเกิดขึ้นแห่งความเกิดขึ้นไปประการ ​ 1  ด้วยว่าในบททั้งหลายเหล่านี้ ​ คือ ​ '''"​ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ​ โว ​ ภิกฺขเว ​ เทสิสฺสามิ ​ กตโม ​ จ  ภิกฺขเว ​ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ​ ฯเปฯ ​ อยํ ​ วุจฺจติ ​ ภิกฺขเว ​ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท"''' ​ (ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่ท่านทั้งหลาย ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ก็แลปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ​ ฯลฯ ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท) ​ '''​โหติ''' ​ ศัพท์ก็ไม่ถึงซึ่งความควรประกอบเข้ากับบท ​ (ไหน) ​ แม้แต่บทเดียว ​ ทั้งไม่เป็นความเกิดขึ้นด้วย ​ (เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเกิด) ​ ถ้าหากเป็น ​ ก็จะต้อง ​ (กลายเป็น) ​ ความเกิดขึ้นแห่งความเกิดขึ้นไปอีกประการ 1 
- 
-แม้อาจารย์เหล่าใดสำคัญเอาว่า ​ "​ภาวะแห่งอิทัปปัจจยธรรมทั้งหลาย ​ ชื่อ ​ อิทัปปัจจยตาและอันภาวะ ​ (นั้น) ​ ก็ได้แก่อาการที่เป็นเหตุแห่งปัจจยธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นอาทิ ​ ในเพราะความปรากฎขึ้นแห่งสังขาร ​ (สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น) ​ เป็นต้น ​ และชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ​ (นั้นเล่าก็มีขึ้น) ​ ในเพราะความมีแปลกๆ ​ แห่งสังขารนั้นแหละ" ​ ดังนี้ ​ ความสำคัญเอาแห่งอาจารย์เหล่านั้นก็ไม่ชอบ ​ เพราะอะไร ​ เพราะกล่าวเหตุของปัจจยธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ​ ที่จริงปัจจยธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นนั่นเอง ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นตัวเหตุโดยนัยพระสูตรว่า ​ "​เพราะเหตุนั้นนั่นแล ​ อานนท์ ​ สิ่งนั้นแลเป็นเหตุ ​ สิ่งนั้นเป็นนิทาน ​ สิ่งนั้นเป็นสมุทัย ​ สิ่งนั้นเป็นปัจจัยแห่งชรามรณะ ​ สิ่งนี้คืออะไร ​ คือชาติ ​ ฯลฯ ​ สิ่งนั้นเป็นเหตุ ​ แห่งสังขารทั้งหลาย ​ สิ่งนี้คืออะไร ​ คืออวิชชา ​ ดังนี้ ​ หาใช่ความมีแปลก ๆ  แห่งสังขารเป็นต้นนั้น ​ (เป็นปฏิจจสมุปบาท) ​ ไม่ ​ เพราะเหตุนั้น ​ พึงทราบเถิดว่าปัจจยธรรมทั้งหลาย ​ (นั้นแหละ) ​ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ​ คำนั้นที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดังนี้ ​ คำนั้นพึงทราบว่าเป็นคำกล่าวชอบแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 133)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนความเข้าใจไปอันใดเกิดขึ้นในบทปฏิจจสมุปบาทนั้นว่า ​ ความเกิดขึ้นนี่เองเรียกว่า ​ ปฏิจจสมุปบาท ​ (ไม่ใช่เหตุ) ​ ด้วยฉายาแห่งพยัญชนะว่า ​ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ ความเข้าใจ ​ ไปอันนั้นอาจารย์ทั้งหลายพึงถือเอาอรรถแห่งบทนี้ ​ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น ​ แล้วระงับเสียเถิดด้วยว่า 
- 
-'''​ในกลุ่ม ​ (ปัจจุบัน) ​ ธรรมอันเป็นไปเพราะกลุ่ม'''​ 
- 
-'''​ปัจจยธรรมนั้น ​ คำ ​ (ปฏิจจสมุปบาท) ​ นี้ ​ (ท่านประสงค์) ​ โดย'''​ 
- 
-'''​ส่วน 2  (คือทั้งส่วนผลและส่วนเหตุ) ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น'''​ 
- 
-'''​(แม้) ​ ปัจจัยแห่งกลุ่มธรรมนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส'''​ 
- 
-'''​เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ​ โดยอุปจาร ​ (คือโวหาร) ​ แห่งผล'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ กลุ่มธรรม ​ (ปัจจัยที่เป็นผล) ​ อันเป็นไป ​ (คือเกิดขึ้น) ​ เพราะกลุ่มปัจจัยอันนี้ใด ​ ในกลุ่มธรรมนั้น ​ บัณฑิตทั้งหลายประสงค์เอาคำว่าปฏิจสมุปบาทนี้เป็น 2  ส่วน ​ ขยายความว่า  ​ 
- 
-'''​ปฏิจจสมุปบาทส่วนผล'''​ 
- 
-กลุ่มธรรมนั้น ​ อันบัณฑิตอาศัย ​ (ดำเนินญาณ) ​ อยู่ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุข ​ (ที่เป็นโลกุตตระ) ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ กลุ่มธรรมนั้นจึงชื่อปฏิจจะ ​ เพราะเป็นที่บัณฑิตควรอาศัย ​ และกลุ่มธรรมนั้นชื่อสมุปบาทด้วย ​ เหตุว่าเมื่อเกิดขึ้น ​ ย่อมเกิดขึ้นด้วยกันและ ​ (เกิดขึ้น) ​ โดยชอบ ​ เพราะมิได้เกิดขึ้นทีละอย่าง ​ ทั้งมิได้เกิดขึ้น ​ โดยหาเหตุมิได้ด้วย ​ เหตุฉะนั้น ​ กลุ่มนั้นจึงชื่อปฏิจจสมุปบาท ​ เพราะเป็นที่บัณฑิตควรอาศัยด้วย ​ เกิดขึ้นด้วยกันและโดยชอบด้วยโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ กลุ่มธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ ชื่อสมุปบาทเพราะเกิดขึ้นด้วยกัน ​ อนึ่งกลุ่มธรรมนั้นอาศัย ​ คือไม่ปฏิเสธความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยเกิดขึ้น เหตุฉะนี้ ​ กลุ่มธรรมนั้นจึงชื่อว่า ​ ปฏิจสมุปบาท ​ เพราะกลุ่มธรรมนั้นอาศัย ​ (ปัจจัย) ​ ด้วยเกิดขึ้นด้วยกันด้วย ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ ​ อีกนัยหนึ่ง 
- 
-'''​ปฏิจจสมุปบาทส่วนเหตุ'''​ 
- 
-ส่วนว่ากลุ่มเหตุนี้เล่า ​ ก็เป็นปัจจัยของกลุ่มธรรมนั้น ​ เหตุนี้ ​ กลุ่มเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่าตัปปัจจยะ ​ เพราะความที่กลุ่มเหตุเป็นตัปปัจจยะ ​ (นั่นแล) ​ แม้กลุ่มเหตุนี้ ​ บัณฑิตก็พึงทราบ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 134)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เถิดว่า ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าปฏิจจสมุปบาทเหมือนกันโดยโวหารแห่งผล ​ ดังเช่นในทางโลก ​ ก้อนน้ำอ้อยอันเป็นปัจจัยแห่งเสมหะ ​ เขาเรียกกันเสียว่า ​ ก้อนเสมหะ ​ และเหมือนอย่างในทางศาสนา ​ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งความสุข ​ ท่านก็กล่าวเสียว่า ​ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งความสุข ​ ฉะนั้น ​ อีกนัยหนึ่ง 
- 
-'''​กลุ่มเหตุนี้เรียกว่าปฏิจจะ ​ เพราะอรรถว่า ​ ถึง'''​ 
- 
-'''​เฉพาะหน้ากัน ​ และกลุ่มเหตุนั้นเรียกว่าสมุปบาทด้วย'''​ 
- 
-'''​เพราะอรรถว่ายังธรรมทั้งหลายที่ไปด้วยกันให้เกิด'''​ 
- 
-จริงอยู่กลุ่มเหตุของความปรากฏ ​ (เกิดขึ้น) ​ แห่งธรรมทั้งหลายมีสังขารเป็นอาทิ ​ ที่ทรงแสดงไว้โดยหัวข้อเหตุเป็นข้อ ๆ  มีอวิชชาเป็นต้นนั้นใด ​ กลุ่มเหตุนั้นเรียกว่า ​ "​ปฏิจจะ" ​ เพราะทำอรรถวิเคราะห์ว่า ​ บรรดาปัจจยธรรมที่เป็นองค์แห่งความรวมกลุ่ม ​ ต่างถึงเฉพาะหน้ากันและกัน ​ คือไปพบหน้ากันและกัน ​ (หมด) ​ โดยอรรถว่า ​ (ร่วมกัน) ​ ยังผลทั่วไปให้สำเร็จ ​ และโดยอรรถว่าไม่มี ​ (ผลอะไร) ​ ขาดตกบกพร่องไป ​ (และ) ​ กลุ่มเหตุนี้นั้นยังธรรมทั้งหลายที่ไปด้วยกัน ​ คือธรรมที่มีความเป็นไปไม่แยกกันและกันนั่นแลให้เกิดขึ้น ​ เพราะฉะนี้ ​ กลุ่มเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ "​สมุปบาท" ​ ด้วย ​ (ดังนี้) ​ กลุ่มเหตุจึงได้ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทเพราะกลุ่มเหตุนั้นถึงเฉพาะหน้ากันด้วย ​ ยังธรรมที่ไปด้วยกันให้เกิดด้วย ​ ดังกล่าวมาฉะนี้อีกนัยหนึ่ง 
- 
-'''​นัยอื่นอีกยังมี ​ กลุ่มปัจจัยนี้อาศัยกันและกัน ​ (เป็น'''​ 
- 
-'''​เหตุร่วม) ​ ยังธรรมทั้งหลาย ​ (ที่เป็นผลของตน) ​ ให้เกิด'''​ 
- 
-'''​ขึ้นเสมอกันและด้วยกัน ​ เหตุใด ​ แม้เพราะเหตุนั้นกลุ่ม'''​ 
- 
-'''​ปัจจัยนี้ ​ พระมุนีเจ้าจึงตรัสไว้ในบทปฏิจจสมุปบาทนี้'''​ 
- 
-'''​ด้วยเหมือนกัน'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ ในปัจจัยทั้งหลายที่ทรงแสดงไว้ด้วยหัวข้อมีอวิชชาเป็นต้น ​ ปัจจัยเหล่าใดยังธรรมมีสังขารเป็นต้นให้เกิดขึ้น ​ ปัจจัยเหล่านั้นหาใช่ไม่อาศัยกันและกัน ​ (เป็นเหตุร่วม) ​ เมื่อขาดกันและกันไปเสียจะสามารถยังธรรมมีสังขารเป็นต้นนั้นให้เกิดขึ้นได้เลยไม่ ​ เพราะฉะนั้นกลุ่มปัจจัยนี้พระมุนีเจ้าผู้ฉลาดในโวหารตามทำนองความว่า ​ "​กลุ่มปัจจัยนี้อาศัย ​ (กันและกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 135)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นเหตุร่วม) ​ ยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยเสมอกันและด้วยกัน ​ คือมิใช่ ​ (ให้เกิดขึ้น) ​ เป็นส่วน ๆ ทั้งมิใช่ ​ (ให้เกิดขึ้น) ​ โดยเป็นก่อนและหลัง" ​ ดังนี้ ​ จึงตรัสไว้ในบทปฏิจจสมุปบาทนี้ด้วยเหมือนกัน ​ หมายความว่าตรัสว่าเป็นปฏิจจสมุปบาทด้วยนั่นเอง 
- 
-'''​ปฏิจจสมุปบาทเป็นมัชฌิมาปฏิปทา'''​ 
- 
-'''​ก็แล ​ พระมุนีเจ้านั้น ​ เมื่อตรัสอย่างนี้ ​ ก็เป็นอัน'''​ 
- 
-'''​ทรงแสดง ​ ความไม่เป็นสัสสตวาทะเป็นต้นด้วยบทหน้า'''​ 
- 
-'''​และทรงแสดงความแย้งต่ออุจเฉทวาทะเป็นอาทิด้วยบท'''​ 
- 
-'''​หลัง ​ ทรงแสดงความถูกต้องด้วยบททั้งสอง'''​ 
- 
-อรรถาธิบายแห่งคำประพันธ์นี้ว่า ​ คำว่า ​ '''"​ด้วยบทหน้า"''' ​ เป็นต้น ​ ความว่า ​ ความเป็น ​ '''​สัสสตวาทะ'''​ เป็นต้น ​ ซึ่งแยกออกเป็นสัสสตวาทะ ​ (กล่าวว่าอัตตาและโลกเที่ยงไม่สูญ ​ ตายแล้วเกิด) ​ '''​อเหตุกวาทะ''' ​ (กล่าวว่าเหตุปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง ​ และความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี ​ แล้วแต่โชคเคราะห์) ​ '''​วิสมเหตุวาทะ''' ​ (กล่าว่าโลกเป็นไปด้วยอำนาจเหตุไม่เสมอกัน ​ คือด้วยอำนาจประกฤต ​ อณู ​ และกาลเป็นต้น) ​ '''​วสวัตติวาทะ''' ​ (กล่าวว่ามีพระอิศวร ​ อาตมัน ​ หรือพระปชาบดี ​ คือพรหมเป็นผู้ครอบงำสัตว์ไว้ในอำนาจคือเป็นผู้บันดาล) ​ เป็นต้น ​ อันทรงแสดงด้วยบทปฏิจจะ ​ ซึ่งส่องความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย ​ เพราะปวัตติธรรม ​ (ธรรมฝ่ายปวัตติ – หมุนไป) ​ มีความเป็นไปเนื่องอยู่ในความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย ​ จริงอยู่ ​ ประโยชน์อะไรด้วยความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยเล่า ​ สำหรับสิ่งที่เป็นสัสสตะเป็นต้น ​ หรือสำหรับสิ่งที่เป็นไปด้วยอำนาจอเหตุเป็นต้น 
- 
-คำว่า ​ '''"​และด้วยบทหลัง"''' ​ เป็นต้นความว่า '''​อุจเฉทวาทะ''' ​  ​(กล่าวว่าตายแล้วสูญ) ​ '''​นัตถิกวาทะ''' ​ (กล่าวว่าอะไร ๆ  ไม่มี ​ ผลของบุญบาปก็ไม่มี) ​ '''​อกิริยวาทะ''' ​ (กล่าวว่าไม่เป็นอันทำคือทำอะไรไม่เป็นกรรม) ​ ชื่อว่าถูกปัดออกไป ​ เพราะความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย ​ ก็เพราะความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย ​ เหตุนั้นจึงอันเป็นทรงแสดงความแย้งต่ออุจเฉจวาทเป็นต้นด้วยบท ​ สมุปบาท ​ ซึ่งส่องความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย ​ จริงอยู่ในเมื่อธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ๆ เล่า ๆ   ​ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยก่อน ๆ  อยู่ ​ อุจเฉทวาทะ ​ นัตถิกวาทะและอกิริยะวาทะจักมีแต่ไหนเล่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 136)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ "'''​ด้วยบททั้งสอง'''" ​ เป็นต้น ​ ความว่า ​ ความถูกต้องนี้คือ ​ '''​มัชฌิมาปฏิปทา''' ​ (ทางสายกลาง) ​ ความละเสียซึ่งวาทะว่า ​ "​ผู้นั้นทำ ​ ผู้นั้นได้รับผล ​ (คือใครทำใครได้เรื่อยไปไม่มีจบสิ้น)" ​ ความละเสียซึ่งวาทะว่า ​ "​คนอื่นทำ ​ คนอื่นได้รับผล ​ (คือคนหนึ่งทำ ​ คนหนึ่งได้)" ​ ความไม่ยึดมั่นในภาษาของท้องถิ่น ​ ความไม่ล่วงเลยเสียซึ่งสมัญญา ​ (คือชื่อคนและสัตว์สิ่งของที่ชาวโลกเรียกรู้กัน) ​ เป็นอันทรงแสดงด้วยคำว่าปฏิจจสมุปบาทหมดทั้งคำ ​ เพราะธรรมนั้น ๆ  เกิดขึ้นโดยไม่ตัด ​ (คือไม่เว้น ?)  ความสืบเนื่องกับความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยนั้น ๆ  นี่เป็นความหมายของคำเพียงแต่ว่า ​ "​ปฏิจจสมุปบาท" ​ เท่านั้น 
- 
-ส่วนว่า แบบที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท ได้ทรงวางไว้โดย ​ นัยว่า ​ '''​อวิชฺชาปจฺจยา ​ สงฺขารา''' ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชาเป็นต้นนี้ใด ​ บัณฑิตเมื่อจะทำสังวรรณนาความแห่งแบบที่ทรงวางไว้นั้น ​ ลงสู่วิภัชชวาทีแล้วไม่กล่าวตู่อาจารย์ทั้งหลาย ไม่ดิ่งลงสู่สกสมัย ​ (คือไม่ยึดแต่ความรู้ฝ่ายตน) ​ ไม่ขึ้นคร่อมปรสมัย ​ (คือไม่ข่มขี่ความรู้ฝ่ายอื่น) ​ ไม่ค้านพระสูตรอนุโลมพระวินัย ​ มองดูมหาปเทสไว้ ​ ชี้ข้อธรรม ​ (คือพระบาลี) ​ ได้ ​ (ถูกต้อง) ​ ถือเอาอรรถ ​ (คือความอธิบายแห่งบาลีนั้น) ​ ได้ ​ (ไม่ผิด) ​ และยักเยื้องอรรถนั้นนั่นแหละ ​ อธิบายไปโดยบรรยายอื่นอีกก็ได้ ​ (ดังนี้) ​ จึงควรทำอรรถสังวรรณนาได้ ​ อนึ่งเล่า ​ โดยปกติ ​ อรรถสังวรรณนาแห่งปฏิจจสมุปบาทก็ทำยากอยู่แล้ว ​ ดังโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า:​- 
- 
-'''​ธรรม 4  ประการ ​ คือสัตตยะ ​ สัตวะ ​ ปฏิสนธิและ'''​ 
- 
-'''​ปัจจยาการ ​ นี่แหละ ​ เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก ​ ทั้งยากที่จะ'''​ 
- 
-'''​แสดงด้วย'''​ 
- 
-ดังนี้ ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ การสังวรรณนาแห่งปฏิจจสมุปบาท ​ อันใคร ๆ  เว้นเสียแต่ท่านผู้สำเร็จอาคม ​ (คือพระปริยัติ) ​ และอธิคม ​ (คือมรรคผล) ​ จะทำได้มิใช่ง่าย ​ เหตุดังนี้ ข้าพเจ้าชั่งใจดูแล้ว 
- 
-'''​บัดนี้ ​ ใคร่จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ ​ (ทั้ง ๆที่)'''​ 
- 
-'''​ยังไม่ได้ ​ (นัยอันเป็น) ​ ที่ตั้ง ​ (ที่อาศัย ​ ด้วยกำลังปัญญาตน)'''​ 
- 
-'''​ดังก้าวลงสู่สาครยังไม่ได้เหยียบยัน ​ ฉะนั้น ​ ก็แต่ว่า'''  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 137)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​คำสอนข้อนี้เป็นคำสอนที่ประดับประดาไปด้วยนัย'''​ 
- 
-'''​เทศนาเป็นนานา ​ (วิธี) ​ ทั้งแนวทาง ​ (พรรณนาคืออรรถ'''​ 
- 
-'''​กถา) ​ ของท่านบุรพาจารย์เล่าก็ยังไม่ขาดสาย ​ เป็นไปอยู่'''​ 
- 
-'''​(จนทุกวันนี้) ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจักอาศัย'''​ 
- 
-'''​นัยทั้งสองนั้นลงมือพรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น'''​ 
- 
-'''​(ดู) ​ ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังคำพรรณนานั้นเถิด'''​ 
- 
-'''​ด้วยพระบุรพาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ​ ผู้ใดผู้หนึ่งหาก'''​ 
- 
-'''​สนใจฟังข้าพเจ้า ​ จะพึงได้รับคุณ ​ (คือความรู้) ​ วิเศษ'''​ 
- 
-'''​อันมีอยู่แต่ต้นไปจนปลาย ​ ครั้นได้รับคุณ ​ (คือความรู้)'''  ​ 
- 
-'''​วิเศษอันมีอยู่แต่ต้นไปจนปลายแล้ว ​ ก็จะพึงลุถึงฐานะ'''​ 
- 
-'''​ที่มัจจุราชมองไม่เห็น" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-=วินิจฉัยปฏิจจสมุปบาทอย่างย่อ= 
- 
-เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องยากมากดังกล่าวมาข้างต้น,​ ข้าพเจ้าจะเริ่มด้วยการวินิจฉัยแบบเบื้องต้น ในคำบาลีปฏิจจสมุปบาทมีคำว่า ​ "'''​อวิชชาปจฺจยา ​ สงฺขารา'''" ​ เป็นต้นก่อน,​ ด้วยหัวข้อในคาถานี้:​ 
- 
-บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนาโดยอรรถ 
- 
-โดยลักษณะ ​ (เป็นต้น) ​ โดยอย่างต่าง ๆ  มีอย่างเดียว 
- 
-เป็นต้น ​ และโดยหลักที่ใช้บัญญัติองค์ทั้ง 12 ทั้งหลายแต่ต้นไปทีเดียว 
- 
-ดังนี้ 
- 
-==วินิจฉัยโดยรูปแบบเทศนา== 
- 
-ในบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ "'''​โดยประเภทแห่งเทศนา'''" ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ก็การแสดงปฏิจจสมุปบาทแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้ามี 4  อย่างคือทรงแสดงตั้งแต่ต้นไปถึงปลายบ้าง ​ ตั้งแต่กลางไปจนถึงปลายบ้าง ​ นัยเดียวกันนั้น ​ ทรงแสดงแต่ปลายมาถึงต้นบ้าง ​ แต่กลางมาถึงต้นบ้าง ​ ดุจการ ​ (ชัก) ​ เอาเถาวัลย์แห่งคนหาเถาวัลย์ 4  คนฉะนั้น 
- 
-'''​แสดงแต่ต้นถึงปลาย'''​ 
- 
-เหมือนอย่างว่า ​ ในคนหาเถาวัลย์ 4  คน ​ คนหนึ่งพบโคนเถาวัลย์เข้าก่อน ​ เขาก็ตัดมันที่โคน ​ แล้วชักเอามาจนหมด ​ นำไปใช้งานฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ​ ทรงแสดง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 138)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปฏิจจสมุปบาท ​ ตั้งแต่ต้นไปจนปลายว่า ​ "​ภิกษุทั้งหลาย ​ สังขารทั้งหลาย ​ มีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ ฯลน ​ ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติ" ​ ดังนี้ก็มี 
- 
-'''​แสดงแต่กลางถึงปลาย'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในคนพวกนั้น ​ คนหนึ่งพบตอนกลางเถาวัลย์เข้าก่อน ​ ก็ตัดมันตรงกลาง ​ ชักเอาส่วนบนเท่านั้นนำไปใช้งานฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ​ ทรงแสดง ​ (ปฏิจจสมุปบาท) ​ ตั้งแต่กลางไปถึงปลายว่า ​ "​เมื่อกุมารนั้นตั้งหน้ายินดีเวทนานั้นอยู่ ​ พร่ำชมเชยเวทนานั้นอยู่ ​ ยึดเวทนานั้นติดอยู่ ​ นันทิ ​ (ความเพลิดเพลิน) ​ ย่อมเกิดขึ้น ​ นันทิในเวทนาทั้งหลายอันใด อันนั้นเป็นอุปาทาน ​ ภพย่อมมีแก่เขา เพราะปัจจัยคืออุปาทาน ​ ชาติย่อมมีเพราะปัจจัยคือภพ" ​ ดังนี้ ​ เป็นต้นก็มี 
- 
-'''​แสดงแต่ปลายถึงต้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในคนพวกนั้น ​ คนหนึ่งพบปลายเถาวัลย์เข้าก่อน ​ เขาก็จับมันเข้าที่ปลายแล้วชักเอาหมด ​ จนถึงโคน ​ โดยสาวไปแต่ปลายนั่นแหละนำไปใช้งานฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ​ ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่ปลายไปจนถึงต้นว่า ​ "​ก็แลคำที่เรากล่าวว่า ​ ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติ ​ ดังนี้นี่ ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติหรือหนอ ​ หรือว่ามิใช่ ​ หรือว่าความสำคัญของท่านทั้งหลายในข้อนี้มีอย่างไร"​ (ภิกษุทั้งหลายกลาบทูลว่า) ​ "​ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ​ ชรามรณะย่อมมีเพราะปัจจัยคือชาติ ​ ความสำคัญของข้าพระองค์ทั้งหลายในข้อนี้มีอย่างนี้ว่า ​ ชรามรณะมีเพราะปัจจัยคือชาติ" ​ (ตรัสต่อไปว่า) ​ "​คำที่เรากล่าวว่า ​ ชาติมีเพราะปัจจัยคือภพ ​ ฯลฯ ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ ดังนี้นี่ ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชาหรือหนอ ​ หรือว่ามิใช่ ​ หรือว่าความสำคัญของท่านทั้งหลายในข้อนี้มีอย่างไร" ​ ดังนี้เป็นต้นก็มี ​ 
- 
-'''​แสดงแต่กลางถึงต้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในคนพวกนั้น ​ คนหนึ่งพบตอนกลางเถาวัลย์เข้าก่อน ​ เขาก็ตัดมันตรงกลางแล้ว ​ สาวลงไปส่วนล่างจนถึงโคน ​ นำไปใช้งานฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ ก็ฉันนั้น ​ ทรงแสดง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 139)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(ปฏิจจสมุปบาท) ​ เริ่มแต่กลางไปถึงต้นว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ก็แลอาหาร 4 นี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ ​ มีอะไรเป็นสมุทัย ​ มีอะไรเป็นกำเนิด ​ มีอะไรเป็นแดนเกิด ?  อาหาร 4  นี้มีตัณหาเป็นต้นเหตุ ​ มีตัณหาเป็นสมุทัย ​ มีตัณหาเป็นกำเนิด ​ มีตัณหาเป็นแดนเกิด ​ ตัณหามีอะไรเป็นต้นเหตุ ​ เวทนา ​ ผัสสะ ​ สฬายตนะ ​ นามรูป ​ วิญญาณ ​ สังขาร ​ มีอะไรเป็นต้นเหตุ ​ สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ ​ ฯลฯ ​ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด" ​ ดังนี้ก็มี 
- 
-'''​เหตุที่ทรงแสดงเช่นนี้'''​ 
- 
-ถามว่า ​ ก็เพาะเหตุไฉนจึงทรงแสดงอย่างนี้ ?  แก้ว่า ​ เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรม ​ (สมันตภัทร) ​ มีความงามรอบตัว ​ และเพราะพระองค์เองก็ทรงถึงซึ่ง ​ (เทสนาวิลาส) ​ ความงามใน ​ (กระบวน) ​ เทศนาด้วย ​ จริงอยู่ ​ ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมมีความงามรอบตัว ​ จึงเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธรรมที่ถูกต้อง ​ เพราะ ​ (กระบวน) ​ เทศนานั้น ๆ โดยแท้ ​ พระผู้มีพระภาคเล่าก็ทรงถึงซึ่งความงามใน ​ (กระบวน) ​ เทศนา ​ เพราะทรงประกอบด้วยพระเวสารัชชญาณ 4  และพระปฏิสัมภิทาญาณ 4  และเพราะทรงถึงซึ่งพระคัมภีรภาพ 4  ประการด้วย ​ เพราะทรงถึงซึ่งความงามใน ​ (กระบวน) ​ เทศนา ​ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมได้โดยนัยต่าง ๆ แท้ 
- 
-แต่ ​ (เมื่อว่า) ​ โดยความแปลกกัน ​ (แห่งเทศนาทั้ง 4)  '''​อนุโลมเทศนา''' ​ (การแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม) ​ ตั้งแต่ต้นไปอันใด ​ อนุโลมเทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่าเป็นไปแก่พระองค์ผู้ทรงพิจารณาเห็นเวไนยชนซึ่งยังเขลาอยู่ในการจำแนกเหตุแห่งปวัตติ ​ (ความหมุนไป) ​ ตามเหตุทั้งหลายที่เป็นของตน ​ และเพื่อทรงชี้แจงลำดับแห่งความเกิดขึ้นด้วย 
- 
-'''​ปฏิโลมเทศนา''' ​ (การแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลม) ​ ตั้งแต่ปลายเข้ามาอันใด ​ ปฏิโลมเทศนานั้นพึงทราบว่าเป็นไปแก่พระองค์ผู้ทรงเล็งเห็นสัตว์โลกที่ต้องทุกข์ยาก ​ โดยนัย ​ (พระพุทธรำพึง) ​ ว่า ​ "​สัตว์โลกนี้ต้องทุกข์ยากหนอ ​ เกิดอยู่ด้วย ​ แก่อยู่ด้วย ​ ตายอยู่ด้วย" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ เพื่อทรงชี้แจงเหตุของทุกข์นั้น ๆ  มีชรามรณะเป็นต้น ​ ซึ่งพระองค์ได้ทรง ​ (ค้น) ​ พบตามแนวความตรัสรู้ในตอนแรก ​ (คือแรกตรัสรู้) 
- 
-เทศนาที่เป็นไปตั้งแต่กลางถึงต้นอันใด ​ เทศนานั้นพึงทราบว่าเป็นไปเพื่อทรงชี้แจงซึ่งลำดับแห่งเหตุและผล ​ ตั้งต้นแต่ข้ามอดีตอัทธาเสีย ไปจนถึงอดีตอัทธาอีกตามแนวกำหนดเหตุแห่งอาหาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 140)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนเทศนาที่เป็นไปเริ่มแต่กลางถึงปลายอันใด ​ เทศนานั้นพึงทราบว่า ​ เป็นไปเพื่อทรงชี้แจงซึ่งธรรมอันจักมีในอนาคตอัทธา ​ (กลางอนาคต) ​ เริ่มแต่ความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่ง ​ (ผลอันจักมีใน) ​ อนาคตอัทธาในกาลปัจจุบัน ​ (นี้เอง) 
- 
-ในเทศนา (4)  นั้น ​ อนุโลมเทศนาเริ่มแต่ต้นไป ​ เพื่อทรงชี้แจงปวัตติ ​ (ความหมุนไป) ​ ตามเหตุทั้งหลายที่เป็นของตน ​ และเพื่อทรงชี้แจงลำดับแห่งความเกิดขึ้นแก่เวไนยชนผู้ยังเขลาใน ​ (การจำแนก) ​ เหตุแห่งปวัตติ ​ (ความหมุนไป) ​ อันใด ​ อนุโลมเทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นแบบที่ทรงวางไว้ในที่นี้ 
- 
-'''​อวิชชาก็มีเหตุ'''​ 
- 
-ถามว่า ​ ก็เพราะเหตุไฉน ​ ในปัจจยาการนี้ ​ อวิชชา ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้เป็นข้อต้น ​ แม้อวิชชาก็เป็นสิ่งไม่มีเหตุ ​ (แต่) ​ เป็นตัวมูลเหตุของโลก ​ ดังปกติ ​ (ประกฤติ) ​   ของพวกปกติวาทีด้วยหรือ ?  แก้ว่า ​ อวิชชาเป็นสิ่งไม่มีเหตุหามิได้ ​ เพราะว่าเหตุของอวิชชาก็ได้ตรัสไว้ ​ (ในพระบาลี) ​ ว่า ​ "'''​อาสวสมุทยา ​ อวิชฺชาสมุทโย''' ​ ความเกิดขึ้นแห่งอวิชชามีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ" ​ ดังนี้ ​ แต่ปริยาย ​ (คือเหตุโดยอ้อม) ​ ซึ่งเป็นมูลเหตุ ​ (ใหกล่าวได้ว่าอวิชชาเป็นตัวมูลเหตุก็มีอยู่) ​ ถามว่า ​ ก็ปริยายนั้นคืออะไร ?  แก้ว่า ​ คือความที่อวิชชาเป็นสีสะ ​ (เป็นยอดเหตุ) ​ ในวัฏฏกถา ​ (คือพระธรรมเทศนาด้วยว่าวัฏฏะ) ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถาย่อมตรัสโดยทรงยกธรรม 2  ประการเป็นสีสะ ​ คืออวิชชาบ้าง ​ ดังที่ตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เบื้องต้นเบื้องปลายแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ ​ หากใคร ๆ  กล่าวว่า ​ ก่อนนี้ อวิชชาไม่มี ​ ดังที่ตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เบื้องต้นเบื้องปลายแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ ​ หากใคร ๆกล่าวว่า ​ ก่อนนี้ ​ อวิชชาไม่มี ​ มาภายหลังมันจึงเกิด ​ ดังนี้ไซร้ ​ แต่ที่แท้อวิชชามีสิ่งนี้ ๆ  เป็นปัจจัยก็ปรากฏอยู่" ​ ฉะนี้ ​ ภวตัณหาบ้าง ​ ดังที่ตรัสว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เบื้องต้นเบื้องปลายแห่งภวตัณหาไม่ปรากฏ ​ หากใคร ๆ  กล่าวว่า ​ ก่อนนี้ภวตัณหาไม่มี ​ มาภายหลังมันจึงเกิดดังนี้ไซร้ ​ แต่ที่แท้ภวตัณหามีสิ่งนี้ ๆ  เป็นปัจจัยก็ปรากฏอยู่" ​ ฉะนี้ 
- 
-ถามว่า ​ ก็เพราะเหตุอะไร ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ​ จึงตรัสโดยยกธรรม 2ประการนี้เป็นสีสะ ?  แก้ว่า ​ เพราะธรรม 2  ประการนี้ ​ เป็นเหตุพิเศษของกรรมที่เป็นสุคติคามีและทุคติคามี ​ จริงอยู่ ​ อวิชชาเป็นเหตุพิเศษของกรรมที่เป็นทุคติคามี ​ เพระอะไร ​ เพราะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 141)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปุถุชนผู้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว ​ ย่อมริทำกรรมที่เป็นทุคติคามีเป็นอเนกประการ ​ มีปาณาติบาตเป็นต้น ​ ซึ่งทั้งไม่มี ​ (อะไร) ​ ที่น่าพอใจ ​ เพราะเร่าร้อนด้วยกิเลส ​ ทั้งนำมาซึ่งอนัตถะแก่ตนเอง เพราะทำให้ตกไปสู่ทุคติเหมือนโคที่เขาจะฆ่า ​ ซึ่งถูกความเหนื่อยหอบเพราะลนด้วยไฟและถูกทุบด้วยไม้ค้อนครอบงำ ​ ย่อมรนดื่มน้ำร้อน ​ (ที่เขาตั้งให้) ​ ซึ่งทั้งไม่อร่อยทั้งนำมาซึ่งความพินาศแก่ตน ​ (ทั้งนี้ก็) ​ เพราะกระสับกระส่ายอยู่ด้วยความเหนื่อยหอบนั้น ​ ฉะนั้น 
- 
-ส่วนภวตัณหาเป็นเหตุพิเศษของกรรมที่เป็นสุคติคามีเพราะอะไร ​ เพราะปุถุชนที่ภวตัณหาครอบงำแล้ว ​ ย่อมพยายามทำกรรมอันเป็นสุคติคามีเป็นอเนกประการ ​ มีเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ​ ซึ่งเป็นกรรมมีคุณน่าชื่นใจ ​ เพราะปราศจากความเร่าร้อนด้วยกิเลส ​ และเป็นกรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความทุรนทุรายด้วยทุกข์ในทุคติของตน ​ เพราะยังทำให้ถึงสุคติ ​ ดุจโคมีอาการดังกล่าวแล้วนั้น ​ (ไม่ยอมดื่มน้ำร้อน) ​ พยายาม ​ (หา) ​ ดื่มน้ำเย็นซึ่งมีรสอร่อยและบรรเทาความเหนื่อยหอบของตนได้ด้วย ​ (ทั้งนี้ก็) ​ เพราะความกระหายในน้ำเย็น ​ ฉะนั้น 
- 
-แต่ในธรรม ​ (ทั้งสอง) ​ ทีเป็นสีสะในวัฏฏกถานั้น ​ ในบางสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดง ​ (ปฏิจจสมุปบาท) ​ เทศนา ​ ยกธรรมข้อเดียวเป็นมูล ​ นี่เช่นอย่างไร ​ เช่นว่า ​ "​ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นสาเหตุ ​ วิญาณมีสังขารเป็นสาเหตุ" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ นัยเดียวกันเช่นว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ตัณหาย่อมงอกงามแก่บุคคลที่เห็นแก่ส่วนที่น่าพอใจในธรรมทั้งหลาย ​ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ​ อุปาทานมีขึ้นเพราะปัจจัยคือตัณหา" ​ ดังนี้เป็นอาทิ ​ ในบางสูตรก็ทรงแสดง ​ (ปฏิจจสมุปบาท) ​ เทศนายกธรรมทั้งสองข้อเป็นมูลก็มี ​ นี่เช่นอย่างไรเช่นว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ กายอันนี้ของคนเขลาผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ​ ประกอบไปด้วยตัณหาเป็นไปแล้ว ​ (คือเกิดขึ้น) ​ ด้วยเหตุฉะนี้ ​ กายดังกล่าวนี้ด้วย ​ นามรูปกายนอกด้วย ​ ทั้งสองนั่นเป็นทวยะ ​ (คือเป็นคู่กันอย่างนี้ ​ เพราะอาศัยทวยธรรม ​ คืออายตนะ 6  นั้นแล ​ ผัสสะก็เกิดขึ้น ​ คนเขลาถูกธรรมมีผัสสะเป็นต้นเล่า ​ กระทบเอาแล้ว ​ ย่อมเสวยสุขและทุกข์" ​ ดังนี้เป็นอาทิ 
- 
-ในเทศนาเหล่านั้น ​ เทศนาว่า ​ "'''​อวิชฺชาปจฺจยา ​ สงฺขารา''' ​ สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา" ​ เป็นต้นนี้ ​ เฉพาะในที่นี้พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่เป็นธรรมข้อเดียวเป็นมูล ​ โดย ​ (ยก) ​ อวิชชา ​ (เป็นสีสะ) 
- 
-วินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนาในบาลีปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นอันดับแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 142)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วินิจฉัยโดยสภาวะ== 
- 
-คำว่า ​ "'''​โดยอรรถ (สภาวะ)'''" ​ คือ ​ โดยความ ​ (แปล) ​ แห่งบททั้งหลาย ​ มีบทว่า ​ อวิชชา ​ เป็นต้น ​ อรรถนี้อย่างไรบ้าง 
- 
-'''​อรรถแห่งบทอวิชชาปัจจยา'''​ 
- 
-'''​อวิชชา'''​ 
- 
-1.    อกุศลธรรมมีกายทุจริตเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ '''​อวินทิยะ''' ​ แปลว่า ​ ไม่ควรได้ เพราะอรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ ​ ธรรมชาติใดย่อมได้อวินทิยะนั้น ​ เหตุนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (ได้สิ่งที่ไม่ควรได้) 
- 
-2.    กุศลธรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ '''​วินทิยะ''' ​ (แปลว่าควรได้) ​ เพราะอรรถตรงกันข้าม ​ (คือควรบำเพ็ญ) ​ ธรรมชาติใดย่อมไม่ได้ ​ ซึ่งวินทิยะนั้น ​ เหตุนั้นธรรมชาติจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (ไม่ได้สิ่งที่ควรได้)  ​ 
- 
-3.    ธรรมชาติใดทำอรรถคือความเป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ ​ ทำอรรถคือความเป็นเครื่องต่อแห่งอายตนะทั้งหลายมิให้ปรากฏ ​ ทำอรรถคือความว่างเปล่าแห่งธาตุทั้งหลายมิให้ปรากฏ ​ ทำอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ ​ ทำอรรถคือความจริงแท้แห่งสัจจะทั้งหลายมิให้ปรากฏ ​ เหตุนี้ ​ ธรรมชาตินั้น ​ จึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (ทำอรรถแห่งขันธ์เป็นต้นมิให้ปรากฏ) 
- 
-4.    ธรรมชาติใดทำอรรถ 4  อย่าง ​ (ในอริยสัจ 4)  ที่กล่าวโดยอรรถ คือบีบคั้นเป็นต้นแห่งสัจจะมีทุกขสัจเป็นอาทิมิให้ปรากฏ ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (ทำอรรถแห่งอริยสัจมิให้ปรากฏ) 
- 
-5.    ธรรมชาติใดยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด ​ คติ ​ ภพ ​ วิญาณฐิติ ​ และสัตตาวาสทั้งปวง ​ ในสงสารอันปราศจากที่สิ้นสุด ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (ยังสัตว์ให้แล่นไปในสงสารอันปราศจากที่สิ้นสุด) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 143)''</​fs></​sub>​ 
- 
-6.    ธรรมชาติใดย่อมแล่นไปในบัญญัติธรรมทั้งหลายมีหญิงและชายเป็นต้น อันไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ​ ไม่แล่นไปในบัญญัติธรรมมีขันธ์เป็นอาทิ แม้มีอยู่โดยปรมัตถ์ ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ (แล่นไปในอวิชชมานบัญญัติ ​ หรือไม่แล่นไปในอวิชชมานบัญญัติ) 
- 
-7.    อีกนัยหนึ่ง ​ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ​ '''​อวิชชา''' ​ เพราะปกปิดเสียซึ่งวัตถุและอารมณ์แห่งวิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ​ และซึ่งธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นปฏิจจสมุปบาท ​ (คือปัจจัย) ​ และที่เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ​ (คือผล) ​ (ดังนี้) ​ ก็ได้ ​ (โดยสภาวะ) 
- 
-'''​ปัจจัย'''​ 
- 
-ผลอาศัยธรรมใดไป ​ ธรรมนั้นชื่อว่า ​ ปัจจัย ​ (แปลว่า ​ ธรรมเป็นที่อาศัยไปแห่งผล) ​ ศัพท์ว่า ​ "'''​ปฏิจจะ ​ อาศัย'''" ​ หมายความว่าไม่เว้น ​ ไม่ปฏิเสธ ​ ศัพท์ว่า ​ "'''​เอติ – ไป'''" ​ หมายความว่าเกิดขึ้นและเป็นไป ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อรรถว่าอุปการกะ – ผู้อุดหนุน ​ เป็นอรรถแห่ง ​ '''​ปัจจย''' ​ ศัพท์ 
- 
-อวิชชาด้วย ​ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยด้วย ​ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ​ '''​อวิชชาปัจจยา''' ​ (แปลว่า ​ อวิชชา ​ เป็นปัจจัย) ​ บทว่า ​ '''​อวิชฺชาปจฺจยา''' ​ แปลว่า ​ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น 
- 
-'''​สังขาร'''​ 
- 
-ธรรมทั้งหลายใดมุ่งแต่ปรุงแต่ง ​ (สิ่งต่างๆ) ​ ให้เป็น ​ (อย่าง) ​ สังขตะขึ้น ​ เหตุนั้น ​ ธรรมทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่า ​ '''​สังขาร''' ​ (แปลว่า ​ ธรรมผู้ปรุงแต่ง) ​ แต่ว่าสังขารมี 2  อย่างคือ ​ สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย 1  สังขารที่มาโดยสังขารศัพท์ 1 
- 
-ในสังขาร 2  อย่างนั้น ​ สังขารเหล่านี้คือ ​ ปุญญาภิสังขาร ​ อปุญญาภิสังขาร ​ และอเนญชาภิสังขาร ​ เป็น 3  (กับ) ​ กายสังขาร ​ วจีสังขาร ​ และจิตตสังขาร ​ (อีก) 3  (รวม) ​ เป็น 6  จัดเป็นอวิชชาปัจจยสังขาร ​ อวิชชาปัจจยสังขารทั้งหมดนั้น ​ ก็ได้แก่กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาฝ่ายโลกิยะนั่นเอง ​ ส่วนสังขาร 4  นี้ ​ คือ ​ สังขตสังขาร ​ (สังขารคือสิ่งที่ปัจจัยของตน ๆ แต่งขึ้น) ​ อภิสังขตสังขาร ​ (สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น) ​ อภิสังขรณกสังขาร ​ (สังขารคือตัวกรรม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 144)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ผู้เป็นเจ้าหน้าที่แต่ง) ​ ปโยคาภิสังขาร ​ (สังขารคือความเพียรพยายาม) ​ จัดเป็นสังขารที่มาโดยสังขารศัพท์ ​ ในสังขาร 4  นั้น ​ ธรรมที่มีปัจจัยทั้งปวงที่กล่าวไว้ในพระบาลีทั้งหลาย ​ มีคำว่า ​ "'''​อนิจฺจา ​ วต ​ สงฺขารา''' ​ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ" ​ เป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ '''​สังขตสังขาร''' ​ อภิสังขตสังขารกล่าวไว้ในอรรถาทั้งหลายว่า ​ "​รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม ​ เป็นไปในไตรภูมิ ​ ชื่อว่าอภิสังขตสังขาร" ​ ดังนี้ ​ แม้อภิสังขตสังขารนั้นก็ถึงความสงเคราะห์ลง ​ (ในสังขตสังขารที่กล่าวใน) ​ บาลีว่า ​ "'''​อนิจฺจา วต ​ สงฺขารา'''" ​ นี้เหมือนกัน แต่อาคตสถานแห่งอภิสังขตสังขารนั้นมิได้ปรากฏ ​ (ในพระบาลี) ​ โดยเฉพาะ ​ ส่วนกุศลเจตนาและอกุศลเจตนา ​ อันเป็นไปในไตรภูมิ ​ เรียกว่า ​ อภิสังขรณกสังขาร ​ อาคตสถานแห่งอภิสังขรณกสังขารนั้นปรากฏในพระบาลีทั้งหลายมีพระบาลีว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ บุรุษบุคคลนี้ตกอยู่ในอวิชชาย่อมสร้างสุงขารที่เป็นบุญบ้าง…" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ส่วนความเพียรทางกายและทางจิต ​ เรียกว่า ​ '''​ปโยคาภิสังขาร''' ​ ปโยคาภิสังขารนั้นมาในบาลีทั้งหลายว่า ​ "​ความดำเนินไปในอภิสังขาร ​ (คือกำลังความเพียร) ​ มีเพียงใด ​ เขาก็ไปได้เพียงนั้นแล้วก็หยุดราวกะเกวียนเพลาหักฉะนั้น" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-อนึ่ง ​ สังขารที่มาโดยสังขารศัพท์ ​ ใช่มีแต่สังขาร 4  นั่นเท่านั้นก็หามิได้ ​ สังขารที่มาโดยสังขารศัพท์อื่น ๆ  อีกก็มีเป็นอเนกโดยนัย ​ (พระบาลี) ​ ว่า ​ "​ดูกรอาวุโส ​ วิสาขะ ​ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ​ วจีสังขารดับก่อน ​ แต่นั้นกายสังขารดับ ​ ต่อนั้นจิตตสังขารจึงดับ" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ในสังขารทั้งหลายนั้น ​ สังขารที่จะไม่พึงถึงความสงเคราะห์ในสังขตสังขารหามีไม่ 
- 
-'''​อรรถแห่งศัพท์มีวิญญาณเป็นต้น'''​ 
- 
-อธิบายในบาลีทั้งหลายมีคำว่า ​ "'''​สงฺขารปจฺจยา ​ วิญญาณํ''' ​ วิญญาณมีเพราะปัจจัยคือสังขาร" ​ เป็นต้น ​ ต่อนี้ไป ​ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วเถิด ​ ส่วนในคำที่ยังมิได้อธิบาย ​ พึงทราบดังต่อไปนี้ 
- 
-ธรรมชาติที่ชื่อว่า ​ วิญญาณ ​ เพราะรู้ ​ (อารมณ์) ​ ต่าง ๆ  ชื่อว่า ​ นาม ​ เพราะน้อมไป ​ (สู่อารมณ์) ​ ชื่อว่า ​ รูป ​ เพราะ ​ (รู้จัก) ​ สลาย ​ ชื่อว่า ​ อายตนะ ​ เพราะแผ่ไปในอายะ ​ (คือขยายตัว) ​ และเพราะนำให้อายตนะ ​ (คือต่อออกไป) ​ สภาพที่ชื่อว่า ​ ผัสสะ ​ เพราะถูกต้องกันเข้า ​ (แห่งอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก) ​ ธรรมชาติที่ชื่อว่าเวทนา ​ เพราะรู้ ​ (รสอารมณ์) ​ ชื่อว่า ​ ตัณหา  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 145)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะกระหาย ​ (อารมณ์) ​ ชื่อว่า ​ อุปาทาน ​ เพราะถือมั่น ​ สภาพอันชื่อว่า ภพ ​ เพราะเป็นขึ้น ​ หรือเพราะทำให้เป็นขึ้น ​ ความเกิดชื่อว่า ชาติ ​ ความแก่ ​ ชื่อว่า ​ ชรา ​ ธรรมชาติอันชื่อว่า ​  ​มรณะ ​ เพราะเป็นเหตุตาย ​ (แห่งสัตว์) ​ ความเศร้า ​ ชื่อว่า ​ โศก ​ ความคร่ำครวญชื่อว่า ​ ปริเทวะ ​ ธรรมชาติที่ชื่อว่า ​ ทุกขะ ​ เพราะขุดอยู่สองตอน ​ โดย ​ (ขุดตอน) ​ เกิดขึ้น ​ และ ​ (ตอน) ​ ตั้งอยู่ก็ได้ ​ ความเป็นผู้เสียใจชื่อว่า ​ โทมนัส ​ ความตรอมใจอย่างหนักชื่อว่า ​ อุปายาส 
- 
-คำว่า "'''​สมฺภวนฺติ – มี'''" ​ ได้แก่ ​ เกิดขึ้น ​ อนึ่ง ​ บัณฑิตอย่าพึงทำโยชนา ​ (ประกอบ) ​ '''​สมฺภวนฺติ''' ​ ศัพท์ ​ เข้ากับบททั้งหลายมีโสกะเป็นต้นไปแต่เพียงเท่านั้น ​ ที่ถูกต้องทำโยชนา ​ สมฺภวนฺติ ​ ศัพท์เข้ากับบททั้งปวง ​ เพราะว่า ​ เมื่อกล่าวโดยประการนอกนี้ ​ (คือเมื่อไม่ประกอบ ​ '''​สมฺภวนฺติ''' ​ ศัพท์) ​ ว่า ​ "'''​อวิชฺชาปจฺจยา ​ สงฺขารา'''" ​ (เฉยๆ) ​ ความก็จะไม่ปรากฏว่า ​ สังขารทั้งหลายทำอะไร ​ (คือไม่มีบทกิริยา) ​ แต่ครั้นมีประกอบศัพท์ว่า ​ '''​สมฺภวนฺติ''' ​ เข้า ​ ย่อมเป็นอันทำความกำหนดได้ทั้งปัจจยธรรมทั้งปัจจุบันธรรมว่า ​ "'''​อวิชฺชา ​ จ  สา ​ ปจฺจโย ​ จาติ ​ อวิชฺชาปจฺจโย ​ ตสฺมา ​ อวิชฺชาปจฺจยา ​ สงฺขารา ​ สมฺภวนฺติ''' ​ อวิชชาด้วย ​ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยด้วย ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่าอวิชชาปัจจย ​ สังขารทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น" ​ ดังนี้ ​ ในบททั้งปวงก็นัยนี้ 
- 
-คำว่า ​ "'''​เอวํ'''" ​ เป็นคำชี้นัยที่แสดงมาแล้ว ​ ด้วยคำ ​ '''​เอวํ''' ​ นั้น ​ แสดงว่า ​ ปัจจุบันธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะปัจจยธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั่นเองเป็นเหตุ ​ หาใช่เกิดขึ้นเพราะพระอิศวร ​ บันดาลเป็นต้นไม่ ​ คำว่า ​ "'''​เอตสฺส –นั่น'''" ​ คือตามที่กล่าวมา ​ คำว่า ​ "'''​เกวลสฺส'''" ​ แปลว่าไม่ ​ (มีสุข) ​ เจือปน ​ หรือว่าทั้งมวล ​ คำว่า ​ "'''​ทุกฺขกฺขนฺธสฺส'''" ​ แปลว่า ​ กองทุกข์ ​ คือไม่ใช่สัตว์ ​ ไม่ใชของสุขของงามเป็นต้น ​ คำว่า ​ "'''​สมุทโย'''" ​ แปลว่า ​ ความเกิดขึ้น ​ คำว่า ​ '''​โหติ''' ​ แปลว่าย่อมมี 
- 
-วินิจฉัยโดยอรรถในบาลีปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังพรรณนามาฉะนี้ 
- 
-==วินิจฉัยโดยลักขณาทิจตุกกะ== 
- 
-คำว่า ​ "'''​โดยลักษณะเป็นต้น (ลักขณาทิจจตุกกะ)'''" ​ คือโดยลักษณะเป็นต้น ​ แห่งบทมีอวิชชาเป็นอาทิ ​ ลักษณะเป็นต้นนี้อย่างไรบ้าง ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 146)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อวิชชา ​ มีความไม่รู้เป็นลักษณะ ​ มีการทำให้หลงเป็นรส ​ มีการปกปิด ​ (เสียซึ่งสภาวะ) ​ เป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีอาสวะเป็นปทัฏฐาน 
- 
-สังขาร ​ มีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ ​ มีความพยายาม ​ (เพื่อก่อปฏิสนธิ) ​ เป็นรส ​ มีเจตนาเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีอวิชชาเป็นปทัฏฐาน 
- 
-วิญญาณ ​ มีความรู้พิเศษเป็นลักษณะ ​ มีความเป็นหัวหน้า ​ (แห่งนามรูป) ​ เป็นรส ​ มีปฏิสนธิเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีสังขารเป็นปทัฏฐานหรือว่า ​ มีวัตถุอารมณ์เป็นปทัฏฐาน 
- 
-นาม ​ มีความน้อมไป ​ (สู่อารมณ์) ​ เป็นลักษณะ ​ มีสัมปโยค ​ (ความประกอบกันและกันไว้) ​ เป็นรส ​ มีความไม่แยกกันเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีวิญญาณเป็นปทัฏฐาน 
- 
-รูป ​ มีความ ​ (รู้จัก) ​ สลายเป็นลักษณะ ​ มีความกระจายตัวเป็นรส ​ มีความอัพยากฤตเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีวิญญาณเป็นปทัฏฐาน 
- 
-สฬายตนะ ​ มีความติดต่อเป็นลักษณะ ​ มีการเห็นเป็นต้นเป็นรส ​ มีความเป็นวัตถุและเป็นทวารเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน 
- 
-ผัสสะ ​ มีความถูกต้องเป็นลักษณะ ​ มีการกระทบเข้าเป็นรส ​ มีความประจวบกัน ​ แห่งทวารอารมณ์และวิญญาณ ​ เป็นปทัฏฐาน ​ มีสฬายตนะเป็นปทัฏฐาน 
- 
-เวทนา ​ มีการประสบ ​ (อารมณ์) ​ เป็นลักษณะ ​ มีการเสวยอารมณ์เป็นรส ​ มีสุขและทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน 
- 
-ตัณหา ​ มีความเป็นเหตุ ​ (คือเป็นทุกขสมุทัย) ​ เป็นลักษณะมีความมุ่งยินดี ​ (ในอารมณืนั้นๆ) ​ เป็นกิจ ​ มีความไม่อิ่ม ​ (ในอารมณ์) ​ เป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีเวทนาเป็นปทัฏฐาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 147)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อุปาทาน ​ มีความถือไว้เป็นลักษณะ ​ มีความไม่ปล่อยเป็นกิจ ​ มีความเห็นด้วยอำนาจความเหนียวแน่นแห่งตัณหาและปัจจุปัฏฐาน ​ มีตัณหาเป็นปทัฏฐาน 
- 
-ภพ ​ มีกรรมและผลของกรรมเป็นลักษณะ ​ มีความได้ประสบความมีความเป็นกิจ ​ มีกุศลอกุศลและอัพยากฤตเป็นปัจจุปัฏฐาน ​ มีอุปาทานเป็นปทัฏฐาน 
- 
-ลักษณะเป็นต้นแห่งชาติเป็นอาทิ ​ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัจจนิทเทสนั้นเทอญ 
- 
-วินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้นในบาลีปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==วินิจฉัยโดยหมวด== 
- 
-ในคำว่า ​ โดยหมวดต่าง ๆ  มีหมวดหนึ่งเป็นต้น ​ นี้มีวินิจฉัยว่า ​ อวิชชา ​ มีอย่างเดียว ​ โดยภาวะคือความไม่รู้หรือความไม่เห็น ​ หรือความหลงเป็นต้น ​ มี 2  อย่าง ​ โดยความไม่ปฏิบัติและความปฏิบัติผิด ​ อนึ่ง ​ มี 2  โดยเป็นสสังขาร ​ มี 3  อย่าง ​ โดยสัมปโยคกับเวทนา 3  มี ​ 4  อย่าง ​ โดยเป็นความไม่ตรัสรู้สัจจะ 4  มี 5  อย่าง ​ โดยปกปิดเสียซึ่งโทษในคติ 5  ส่วนความที่ตัณหามี 6  อย่าง ​ ในองค์ปกิจจสมุปบาทที่เป็นอรูปธรรมทั้งสิ้น ​ พึงทราบโดย ​ (เป็นไปใน) ​ ทวาร ​ (6)  และอารมณ์(6) 
- 
-สังขาร ​ มีอย่างเดียว ​ โดยเป็นสาสวธรรม ​ เป็นวิปากธัมมธรรม ​ (ธรรมมีวิบากเป็นธรรมดา) ​ เป็นต้น ​ มี 2  อย่าง ​ โดยเป็นกุศลและอกุศล ​ อนึ่ง มี 2  โดยเป็นปริตตะ ​ มหัคคตะ ​ เป็นหีนะ ​ มัชฌิมะ ​ เป็นมิจฉัตตะ ​ สัมมัตตะ ​ เป็นนิยตะ ​ อนิยตะ ​ มี 3  อย่าง ​ โดยความเป็นอภิสังขาร 3  มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ​ มี 4  อย่าง ​ โดยให้เป็นไปในกำเนิด 4 มี 5  อย่าง ​ โดยยังสัตว์ให้ไปสู่สุคติ 5 
- 
-วิญญาณ ​ มีอย่างเดียว ​ โดยเป็นโลกียวิบากเป็นต้น ​ มี 2  อย่าง ​ โดยเป็นสเหตุกะและอเหตุกะเป็นต้น ​ มี 3  อย่าง ​ โดยนับเนื่องในภพ 3  โดยสัมปโยคกับเวทนา ภ  และโดยเป็นอเหตุกะ ​ ทุเหตุกะ ​ และติเหตุกะ ​ มี 4  อย่าง ​ และ 5  อย่าง ​ โดยกำเนิด (4)  และคติ (5) 
- 
-นามรูป ​ มีอย่างเดียว ​ โดยเป็นวิญญาณสันนิสัย ​ (ที่อาศัยแห่งวิญญาณ) ​ และโดยเป็นกัมมปัจจัย ​ (ปัจจัยของกรรม) ​ มี 2  อย่าง ​ โดยเป็นสารัมมณะ ​ (มีอารมณ์ –นาม) ​ และอนารัมมณะ ​ (ไม่มีอารมณ์ –รูป) ​ มี 3  อย่าง ​ โดยกาลมีอดีตเป็นต้น มี 4  และ 5  อย่าง ​ โดยกำเนิดและคติ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 148)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สฬายตนะ ​ มีอย่างเดียว ​ โดยเป็นทีเกิดและโดยเป็นที่ประชุม ​ (แห่งวิญญาณและธรรมที่สัมปยุตกับวิญญาณนั้น) ​ มี 2  อย่าง ​ โดยเป็นภูตปสาท ​ (ส่วนที่ผ่องใสแห่งภูตรูป) ​ และเป็นเครื่องรู้พิเศษมี 3  อย่าง ​ โดยเป็นสัมปัตตโคจร ​ (รับได้แต่อารมณ์ที่มาถึงตัว) ​ อสัมปัตตโคจร ​ (รับอารมณ์ที่ไม่มาถึงตัวได้) ​ และโนภยโคจร ​ (รับอารมณ์ไม่ใช่ทั้งหลายอย่างนั้น) ​ มี 4  อย่างโดยเนื่องด้วยกำเนิดและคติ"​ 
- 
-แม้ความมีอย่างต่าง ๆ  มีอย่างเดียวเป็นต้นแห่งองค์ที่เหลือมีผัสสะเป็นอาทิ ​ ก็พึงทราบโดยนัย ​ (ที่กล่าว) ​ นี้เทอญ 
- 
-วินิจฉัยโดยอย่างต่าง ๆ  มีอย่างเดียวเป็นต้น ​ ในบาลีปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ประการ 1 
- 
-==วินิจฉัยโดยหลักการบัญญัติองค์ 12== 
- 
-ข้อว่า ​ "​โดยหลักการบัญญัติองค์ 12" ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ก็แลในปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งหลายนี้ ​ ธรรมมีโสกะเป็นต้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงความไม่ขาดตอนแห่งภวจักร ​ (วงล้อแห่งภพ) ​ เพราะธรรมมีโสกะเป็นต้นนั้น ​ ย่อมมีแก่คนเขลาผู้ถูกชราและมรณะกระทบเอา ​ ดังที่ตรัสไว้ว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ​ เป็นผู้ถูกทุกขเวทนาทางกายต้องเอาแล้ว ​ ย่อมเศร้าโศกลำเค็ญคร่ำครวญทุบอกร่ำไห้ ​ ถึงซึ่งความฟั่นเฟือนไป" ​ เป็นต้น ​ และด้วยพระพุทธพจน์ว่า ​ "​ความหมุนไปแห่งธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้นนั้น ​ ยังมีอยู่ตราบใดความหมุนไปแห่งอวิชชาก็ยังมีอยู่ตราบนั้น" ​ ดังนี้ ​ ภวจักร ​ ก็เป็นอันเชื่อมเข้ากับบทว่า ​ อวิชชาปจจยา ​ สงขารา ​ อีกเล่า ​ เพราะเหตุนั้น ​ ธรรม 12  เท่านั้น ​ โดยนำสังเขปธรรมมีโสกะเป็นต้นนั้นแหละเข้าเป็นอันเดียวกันกับชรามรณะเสียพึงทราบว่าเป็นองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท 
- 
-วินิจฉัยโดยกำหนดองค์ทั้งหลายในบาลีปฏิจจสมุปบาทนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-นี่เป็นเพียงสังเขปกถาในปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้  ​ 
- 
-=วินิจฉัยปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียด= 
- 
-ส่วนความต่อไปฉะนี้เป็นวิตถารนัย 
- 
-==อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร== 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 149)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แก้บทอวิชชา'''​ 
- 
-โดยปริยาย ​ (ทาง) ​ พระสูตร ​ ความไม่รู้ในฐานะ 4  มีทุกข์เป็นต้นชื่อว่าอวิชชา ​ โดยปริยาย ​ (ทาง) ​ พระอภิธรรม ​ ความไม่รู้ในฐานะ 8  กับปุพพันตะเป็นต้น ​ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ "​ในธรรมเหล่านั้น ​ อวิชชา ​ เป็นไฉน ?  ความไม่รู้ในทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา ​ ความไม่รู้ในปุพพันตะ ​ (เงื่อนต้น) ​ ความไม่รู้ในอปรันตะ ​ (เงื่อนปลาย) ​ ความไม่รู้ในปุพพันตาปรันตะ ​ (ทั้งเงื่อนต้นทั้งเงื่อนปลาย) ​ ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอิทัปปัจจยตา ​ (คือกลุ่มเหตุ) ​ และปฏิจจสมุปปันนธรรม ​ (กลุ่มผล) ​  ​นี่เรียกว่าอวิชชา" ​ ดังนี้ 
- 
-ในฐานะเหล่านั้น ​ ยกเว้นสัจจะ 2  (คือนิโรธและมรรค) ​ ที่เป็นโลกุตตระเสีย ​ อวิชชาย่อมเกิดขึ้น ​ ในฐานะที่เหลือแม้โดยทำให้เป็นอารมณ์ได้ก็จริง ​ (แต่) ​ แม้เป็นอย่างนั้น ​ ในบาลีนี้ท่านก็ประสงค์เอา โดยว่าเป็นเครื่องปิดบังเท่านั้นเอง ​ จริงอยู่ ​ อวิชชานั้นที่เกิดขึ้นแล้วย่อมปิดบังทุกขสัจตั้งอยู่ไม่รู้แจ้ง ​           ซึ่งลักษณะอันเป็นรส ​ (คือสภาวะ) ​ ประจำตนตามเป็นจริงได้ ​ อย่างเดียวกันย่อมปิดบังสมุทยสัจ ​ นิโรธสัจ ​ มรรคสัจ ​ ขันธบัญจกะส่วนอดีตที่รับว่าเงื่อนต้นขันธปัญจกะส่วนอนาคตที่นับว่าเงื่อนปลาย ​ ขันธปัญจกะทั้ง 2  ส่วนนั้นที่นับว่าทั้งเงื่อนต้นและเงื่อนปลาย ​ อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ​  ​ที่นับว่า ​ อิทัปปัจจยตา ​ ปฏิจจสมุปปันนธรรมด้วยตั้งอยู่ ​ มิให้รู้แจ้งซึ่งลักษณะอันเป็นกิจ ​ (คือสภาวะ) ​ ประจำตนตามเป็นจริงในทุกข์เป็นต้นนั้นว่า ​ "​นี่อวิชชา ​ นี่สังขาร" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ (อวิชชา ​ คือ) ​ ความไม่รู้ในทุกข์ ​ ฯลฯ ​ ความไม่รู้ในอิทัปปัจจยตา ​ และปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย" ​ 
- 
-'''​แก้บทสังขาร'''​ 
- 
-บทว่า ​ "​สังขารทั้งหลาย" ​ ได้แก่ ​ สังขาร 6  ที่กล่าวโดยสังเขปไว้ในตอนก่อนดังนี้ว่า ​ "​สังขาร 3  มีบุญเป็นต้น ​ (และ) ​ สังขาร 3  มีกายสังขารเป็นต้น"  ​ 
- 
-ส่วนว่าโดยพิสดาร ​ ในสังขารเหล่านี้ ​ สังขารทั้ง 3  ได้แก่เจตนา 29 คือ ​ ปุญญาภิสังขาร ​ ได้แก่เจตนา 13  คือ ​ เจตนาเป็นกามาวจรกุศล 8  อันเป็นไปด้วยอำนาจกุศลมีทาน ​ ศีลเป็นต้น ​ และเจตนาเป็นรูปาวจรกุศล 5  อันเป็นไปด้วยอำนาจอย่างเดียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 150)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อปุญญาภิสังขาร ​ ได้แก่เจตนาที่เป็นอกุศล 12  อันเป็นไปด้วยอำนาจอกุศลมีปาณาติบาตเป็นต้น ​ อเนญชาภิสังขาร ​ ได้แก่เจตนาที่เป็นอรูปาวจรกุศล 4  อันเป็นไปด้วยอำนาจภาวนาเหมือนกัน 
- 
-ส่วนสังขารอีก 3 คือกายสัญเจตนา ​ (ความจงใจแสดงออกทางกาย) ​ เป็นกายสังขาร ​ วจีสัญเจตนา ​ (ความจงใจแสดงออกทางใจ) ​ เป็นวจีสังขาร ​ มโนสัญเจตนา ​ เป็นจิตตสังขารติกะนี้ ​ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเป็นไปแห่งอภิสังขาร 3  มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ​ ทางทวาร ​ ในขณะพยายามทำกรรม ​ จริงอยู่ ​ เจตนา 20  ถ้วน ​ คือกามาวจรกุศลเจตนา 8  อกุศลเจตนา 12  อันยังกายวิญญัติให้ตั้งขึ้นเป็นไปทางกายทวาร ​ ชื่อว่ากายสังขาร ​ เจตนาเหล่านั้นแหละ ​ ที่ยังวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้นเป็นไปทางวจีทวาร ​ ชื่อว่า ​ วจีสังขาร 
- 
-แต่อภิญญาเจตนา ​ (เจตนาในอภิญญา) ​ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณองค์ต่อไป ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงไม่ถือเอาในคำว่า ​ กายสังขาร ​ วจีสังขารนี้ ​ อภิญญาเจตนาไม่เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ ​ ฉันใด ​ แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็นฉันนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ถึงอุทธัจจเจตนานั้นก็ต้องคัดออกในความเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ ​ แต่เจตนาทั้งปวงนั่นก็คงเป็นธรรมมีอวิชชาเป็นปัจจัย ​ (เหมือนกัน) 
- 
-ส่วนเจตนา 29  แม้ทั้งหมด ​ ที่เกิดขึ้นในมโนทวาร ​ (โดย) ​ ไม่ยังวิญญัติทั้งสองให้ตั้งขึ้นเป็นจิตตสังขารแล 
- 
-ด้วยประการดังนี้ ​ ติกะนี้ก็เข้าไปสู่ติกะก่อน ​ (คือผนวกอยู่กับติกะก่อน) ​ นั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ ว่าโดยใจความแล้ว ​ ความที่อวิชชาเป็นปัจจัย ​ (แห่งสังขาร) ​ ก็พึงทราบโดยที่เป็นปัจจัย ​ แห่งอภิสังขาร 3  มี ​ ปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นแล 
- 
-ในข้อนั้น ​ หากมีปัญหาว่า ​ "​ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า ​ สังขารทั้งหลายนี้เป็นธรรมมีอวิชชาเป็นปัจจัย" ​ คำแก้พึงมีว่า ​ "​ทราบได้โดยที่เมื่ออวิชชามี ​ มันจึงมี" ​ แท้จริง ​ ความไม่รู้ในฐานะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้นที่เรียกว่าอวิชชา ​ ซึ่งบุคคลใดยังละไม่ได้ ​ บุคคลนั้น ​ เพราะความไม่รู้ในทุกข์และในฐานะนอกนี้มีเงื่อนต้นเป็นอาทิ ​ จึงถือเอาสังสารทุกข์เป็นสำคัญว่าเป็นสุข ​ แล้วก็อสังขารทั้ง 3  อย่าง ​ ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั่นเอง ​ เพราะไม่รู้ในสมุทัยจึงสำคัญเห็นสังขารทั้งหลายมีอันตัณหาเป็นเครื่องประดับ ​ ซึ่งแม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ ​ โดยว่าเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 151)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เหตุแห่งสุขไป ​ ก็ก่อสังขารทั้ง 3  อย่างขึ้น ​ อนึ่ง ​ เพราะไม่รู้ในนิโรธและในมรรค ​ จึงเป็นผู้มีความสำคัญในคติวิเศษ ​ (มีพรหมโลกเป็นต้น) ​ ซึ่งแม้มิใช่เป็นที่ดับทุกข์ว่าเป็นที่ดับทุกข์ไปเป็นผู้มีความสำคัญในพาหิรมรรคมี ​ (บูชา) ​ ยัญและ ​ (บำเพ็ญ) ​ อมรตบะเป็นต้น ​ ซึ่งแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์ ​ ว่าเป็นทางดับทุกข์ไป ​ เมื่อปรารถนาเอาความดับทุกข์ ​ ก็ก่อสังขารทั้ง 3  อย่างขึ้นทางมุขพาหิรมรรคมียัญและอมรตบะเป็นต้น ​ อีกประการหนึ่ง ​ บุคคลนั้นเพราะความที่ละอวิชชาในสัจจะ 4  ยังไม่ได้นั้น ​ ก็ไม่รู้ทุกข์กล่าวคือผลแห่งบุญ ​ ซึ่งแม้แทรกซ้อนด้วยอาทีนพโทษเป็นอเนก ​ มีชาติ ​ ชรา ​ โรค ​ และมรณะเป็นต้น ​ อย่างวิเศษ ​ โดยว่าเป็นทุกข์ได้ ​ จึงก่อปัญยาภิสังขารอันต่างโดยเป็นกายภิสังขาร ​ (บ้าง) ​ วจีสังขาร ​ (บ้าง) ​ จิตตสังขาร ​ (บ้าง) ​ เพื่อได้ผลแห่งบุญนั้น ​ ดังบุคคลผู้ปรารถนาเทพอัปสร ​ ริโจนหน้าผา ​ (ตาย) ​ มิเช่นนั้นก็ไม่เห็นความที่ผลแห่งบุญนั้น ​ ซึ่งแม้สมมติกันว่าเป็นสุข ​ เป็นวิปริณามทุกข์ ​ อันจะก่อให้เกิดความร้อนใจใหญ่ในที่สุด ​ (เมื่อหมดบุญ) ​ และ ​ (ไม่เห็น) ​ ความที่ผลแห่งบุญนั้น ​ (แม้มีคุณน่ายินดีก็) ​ มีคุณ ​ น่ายินดีเป็นส่วนน้อย ​ จึงก่อปุญญาภิสังขารมีประการดังกล่าวแล้วนั่น ​ อันเป็นปัจจัยแห่งวิปริณามทุกข์นั่นเอง ​ ดังแมลงเม่าบินเข้าตอมเปลวไฟ ​ และดังสัตว์ที่ตระกามหยาดน้ำผึ้ง ​ ริเข้าเลียดมศัตราที่น้ำผึ้งติดฉะนั้น ​ อนึ่ง ​ ไม่เห็นโทษในโลกียวิสัย ​ มีการเสพกามเป็นต้นพร้อมทั้งผลของมัน ​ เพราะสำคัญว่าเป็นสุข ​ และเพราะถูกกิเลสครอบงำด้วย ​ จึงก่ออปุญญาภิสังขาร ​ อันเป็นไปในทวารทั้ง 3  ขึ้นก็ได้ ​ ดังเด็กอ่อนริเล่นคูถ ​ และดังคนอยากตายริกินยาพิษฉะนั้น ​  ​อนึ่งเล่า ​ ไม่รู้ความที่สังขารแม้ในฝ่ายอรูปวิบากก็เป็นวิปริณามทุกข์ ​ จึงก่ออเนญชาภิสังขารซึ่งเป็นจิตตสังขารขึ้น ​ ด้วยวิปลาสไปว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น ​ ดังคนหลงทิศริอ่านเดินทางมุ่งหน้าไปสู่เมืองปีศาจฉะนั้น 
- 
-เพราะเหตุที่สังขารมีเพราะอวิชชามีเพราะเท่านั้น ​ หามีโดย ​ (อวิชชา) ​ ไม่มีไม่ ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ ​ บัณฑิตจึงรู้ข้อที่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายนี้เป็นธรรมมีอวิชชาเป็นปัจจัย" ​ นั่นได้แล ​ จริงอยู่ ​ ข้อนี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ บุคคลผู้ไม่ฉลาดตกอยู่ในอวิชชา ​ ย่อมปรุงแต่งอภิญญาภิสังขารบ้าง ​ ย่อมปรุงแต่งอเนญชาภิสังขารบ้าง ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ต่อเมื่อใดอวิชชา ​ ภิกษุละได้แล้ว ​ วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ​ ภิกษุนั้น ​ เพราะความสำรอกออกไปแห่งอวิชชา ​ เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา ​ ย่อมไม่ปรุงแต่งภิญญาภิสังขารเลย" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ 
- 
-===ปัจจัย ​ 24=== 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 152)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในบทว่าอวิชชานี้ ​ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอพัก ​ ข้อว่า ​ "​อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย" ​ นี้ไว้ก่อน ​ ด้วยข้อนี้ควรจะกล่าว ​ (ต่อไป) ​ คือ ​ (ปัญหา) ​ ว่า ​ "​อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขาร ​ เหล่าไหน ​ อย่างไร" ​ ในความที่อวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไรบ้างนั้น ​ ท่านกล่าวไว้ในต่อไปนี้ 
- 
- 
- 
-ก็แลปัจจัย 24  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ​ คือ 
- 
-เหตุปัจจัย ​ อารัมมณปัจจัย ​ อธิปติปัจจัย ​ อนันตรปัจจัย ​  ​สมนันตรปัจจัย ​ สหชาติปัจจัย ​ อัญญมัญญปัจจัย ​ นิสสยปัจจัย ​ อุปนิสสยปัจจัย ​ ปุเรชาติปัจจัย ​ อาเสวนปัจจัย ​ กัมมปัจจัย ​ วิปากปัจจัย ​ อาหารปัจจัย ​ อินทรียปัจจัย ​ ฌานปัจจัย ​ มัคคปัจจัย ​ สัมปยุตตปัจจัย ​ วิปปยุตตปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ นัตถิปัจจัย ​ วิคตปัจจัย ​ อวิคตปัจจัย 
- 
-'''​แก้เหตุปัจจัย'''​ 
- 
-ในอุเทศบทเหล่านั้น ​ ธรรมที่ได้ชื่อว่าเหตุปัจจัย ​ เพราะธรรมนั้นเป็นเหตุด้วย ​ เป็นปัจจัยด้วย ​ คือ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นเหตุ ​ อธิบายว่า ​ เป็นปัจจัยโดยความเป็นเหตุ ​ นัยแม้ในอุเทศบทอื่น ​ มีอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ​ ก็นัยเดียวกันนี้ 
- 
-'''​แก้ศัพท์เหตุ'''​ 
- 
-ในบทว่า ​ "​เหตุปัจจัย" ​ นั้น ​ คำว่า ​ "​เหตุ" ​ เป็นคำเรียก ​ วจนาวยวะ ​ (อวัยวะแห่งคำ ​ คือถ้อยคำที่ให้รู้ในแต่ละคำ) ​ และการณะ ​ (สิ่งที่ก่อผล) ​ มูละ ​ (สิ่งที่เป็นรากเง่า) ​ ก็วจนาวยวะเรียกว่าเหตุในทางโลก ​ เช่นในคำว่า ​ "​ปฏิญญาเหตุ – ปฏิญญา" ​ แต่ในทางพระศาสนาการณะ ​ เรียกว่าเหตุ ​ เช่นในคำว่า ​ "​เย ​ ธมมา ​ เหตุปปภวา – ธรรมทั้งหลายใดมีเหตุ ​ (คือการณะ) ​ เป็นแดนเกิด" ​ มูละ ​ ก็เรียกว่าเหตุ ​ เช่นในคำว่า ​ "​ตโย ​ กุสลเหตู ​ ตโย ​ อกุสลเหตู – เหตุ ​ (คือมูล) ​ แห่งกุศล 3  เหตุ ​ (คือมูล) ​ แห่งอกุศล 3" ​ มูลนั้น ​ (แหละ) ​ ประสงค์เอา ​ (ว่าเหตุ) ​ ในที่นี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 153)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แก้ศัพท์ปัจจัย'''​ 
- 
-ส่วนความ ​ (ต่อไป) ​ นี้ ​ เป็นความหมายแห่งคำในคำว่า ​ "​ปัจจัย" ​ นี้ ​ ธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ อาศัยไปแต่ธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั่น ​ หมายความว่าไม่ปฏิเสธธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้นเป็นไป ​ เหตุนี้ธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้นจึงชื่อว่าปัจจัย ​ มีคำอธิบายว่า ​ อันธรร ​ (ที่เป็นผล) ​ ไปอาศัย ​ คือไม่ปฏิเสธซึ่งธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ ใดตั้งอยู่หรือว่าเดขึ้นก็ดี ​ ธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้นชื่อว่าเป็นปัจจัยแห่งธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ นั้น ​ แต่ ​ (เมื่อว่า) ​ โดยลักษณะ ​ ปัจจัยคือความอุดหนุนเป็นลักษณะ ​ ด้วยว่าธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ ใดเป็นสภาพอุดหนุนเพื่อความตั้งอยู่หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ ใด ​ ธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้น ​ ท่านเรียกว่าเป็นปัจจัยแห่งธรรม ​ (ที่เป็นผล) ​ นั้น 
- 
-คำว่า ​ "​ปัจจัย ​ เหตุ ​ การณะ ​ นิทานะ ​ สัมภวะ ​ ปภวะ" ​ เป็นต้น ​ โดยความก็อันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะ 
- 
-ธรรมชื่อว่าเหตุ ​ เพราะอรรถว่าเป็นมูล" ​ ชื่อว่าปัจจัย ​ เพราะอรรถว่าเป็นสภาพอุดหนุนดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ เมื่อว่าโดยสังเขป ​ ธรรมผู้อุดหนุนโดยความหมายว่าเป็นมูลชื่อว่าเหตุปัจจัย 
- 
-อธิบายของอาจารย์ทั้งหลายว่า ​ "​เหตุปัจจัยนั้นเป็นสภาพยังความเป็นกุศลเป็นต้นให้สำเร็จแก่ ​ (สัมปยุต) ​ ธรรมทั้งหลายมีกุศลธรรมเป็นอาทิ ​ ดังพืชทั้งหลายมีพืชข้าวสาลีเป็นต้นยัง ​ (ความเป็น) ​ ธัญญชาติ ​ มีข้าวสาลีเป็นอาทิให้สำเร็จ ​ และดังสีของมณีเป็นต้นยังแสงของมณีเป็นอาทิให้สำเร็จ ​ ฉะนั้น" ​ ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ​ ความเป็นเหตุปัจจัยก็ไม่สำเร็จไปถึงในรูปทั้งหลายที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ​ (ด้วยนะซิ) ​ เพราะว่า ​ เหตุปัจจัยนั้นหายังความเป็นกุศลเป็นต้น ​ ให้สำเร็จแก่รูปเหล่านั้นไม่ ​ แต่ก็มิใช่ไม่เป็นปัจจัย ​ สมพระบาลีว่า ​ "​เหตุเป็นปัจจัยโดยเป็นเหตุ ​ ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุติกับเหตุ ​ และแห่งรูปทั้งหลายที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน" ​ ดังนี้ ​ อนึ่ง ​ สำหรับอเหตุกจิตทั้งหลาย ​ ความเป็นอัพยากฤต ​ เว้นเหตุนั่นเสียก็สำเร็จได้ ​ (เพราะอัพยากฤตเป็นอเหตุกะ) ​ แม้สำหรับเหตุกจิตทั้งหลายเล่า ​ ความเป็นกุศลเป็นต้นก็เนื่องด้วยโยนิโสมนสิการเป็นต้น ​ มิใช่เนื่องด้วยสัมปยุตเหตุ ​ (เหตุ ​ ผู้สัมปยุต) ​ และหากว่าความเป็นกุศลเป็นต้น ​ พึงมีโดยสภาวะแท้ในสัมปยุตเหตุทั้งหลายไซร้ ​ ในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 154)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อโลภะ ​ ซึ่งเนื่องด้วยเหตุ ​ ก็พึงเป็นกุศลบ้าง ​ เป็นอัพยากฤตบ้าง ​ แต่เพราะเหตุที่เป็นได้ทั้งสองอย่าง ​ ในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย ​ หาความเป็นกุศลเป็นต้น ​ (ที่เนื่องด้วยเหตุ ​ มิใช่เป็นโดยสภาวะ) ​ ได้ฉันใด ​ แม้ในเหตุทั้งหลาย ​ ก็พึงหาเป็นกุศลเป็นต้น ​ (ที่เนื่องด้วยธรรมอื่น ​ มิใช่เป็นโดยสภาวะ) ​ ได้ฉันนั้น 
- 
-แต่อันที่จริง ​ เมื่ออรรถว่าเป็นมูลแห่งเหตุทั้งหลาย ​ บัณฑิตไม่ถือเอาโดยว่า ​ เป็นเหตุยังความเป็นกุศลเป็นต้นให้สำเร็จ ​ (แต่) ​ ถือเอาโดยว่าเป็นเหตุยังความตั้งมั่นด้วยดี ​ (แห่งธรรมทั้งหลาย) ​ ให้สำเร็จ ​ ก็ไม่ผิดอะไรเลย ​ แท้จริง ​ ธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุปัจจัยแล้ว ​ ย่อมเป็นธรรมมั่นคงตั้งลงด้วยดี ​ ดังนั้นต้นไม้ทั้งหลายที่มีรากงอกงามแล้วก็ตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้น ​ (ส่วน) ​ อเหตุกธรรมทั้งหลายเป็นธรรมไม่ตั้งมั่นด้วยดี ​ ดุจสาหร่ายทั้งหลายมีสาหร่ายชนิดติลพีชกะ ​ (สาหร่ายเมล็ดงา) ​ เป็นต้น ​ ฉะนั้น ​ เหตุปัจจัยเป็นธรรมอุดหนุน ​ โดยความหมายว่าเป็นมูล ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ธรรมผู้อุดหนุนโดยยังความตั้งมั่นด้วยดี ​ (แห่งสัมปยุตธรรม) ​ ให้สำเร็จบัณฑิตพึงทราบว่าชื่อเหตุปัจจัย 
- 
-'''​แก้อารัมมณปัจจัย'''​ 
- 
-ในอุเทศบทต่อแต่นั้นไป ​ ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นอารมณ์ ​ ชื่อว่า ​ อารัมมณปัจจัย ​ ธรรมอะไร ๆ  จะไม่เป็นอารัมมณปัจจัยนั้นไม่มี ​ เพราะคำนิทเทสแม้ท่านจะขึ้นต้นว่า ​ "​รูปายตนะเป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมมณปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุ" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ แต่ก็ลงท้ายว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายใดๆ ​ เป็นจิตเจตสิกธรรม ​ ปรารภธรรมใด ๆ  เกิดขึ้น ​ ธรรมทั้งหลาย ​ (ที่ถูกปรารภ) ​ นั้น ๆ  ย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมมณปัจจัยแห่งธรรม ​ (ที่เกิดขึ้น) ​ นั้น ๆ" ​ ฉะนี้ ​ เปรียบเหมือนคนกำลังน้อยได้ยึดท่อนไม้หรือเชือกนั่นแหละ ​ จึงลุกขึ้นและยืนอยู่ได้ฉันใด ​ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้นเข้านั่นแหละจึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้เพราะเหตุนั้น ​ ธรรมทั้งหลายอันเป็นอารมณ์แห่งจิตเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง ​ บัณฑิตพึงทราบว่าชื่อว่าอารัมมณปัจจัย 
- 
-'''​(แก้อธิปติปัจจัย)'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นใหญ่ ​ ชื่อว่า ​ อธิปติปัจจัย ​ อธิปติปัจจัยนั้นมี 2  อย่าง ​ ด้วยอำนาจแห่งสหชาตธรรมและอารมณ์ ​ ใน 2  อย่างนั้น ​ ธรรม 4  ประการ ​ กล่าวคือ ​ ฉันทะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 155)''</​fs></​sub>​ 
- 
-วิริยะ ​ จิตตะ ​ วิมังสา ​ พึงทราบว่าชื่อว่าสหชาตาธิปติปัจจัย ​ (เป็นอธิปติปัจจัยแห่งสหชาตธรรม) ​ โดยบาลีว่า ​ ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัย ​ โดยอธิปติปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับฉันทะและแห่งรูปทั้งหลายที่มีฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐาน" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ แต่ว่าธรรมทั้ง 4  นั้นมิได้เป็นอธิบดีร่วมกัน ​ จริงอยู่ในขณะใด ​ จิตทำฉันทะให้เป็นธุระ ​ ทำฉันทะให้เป็นใหญ่เป็นไป ​ ในขณะนั้นก็ฉันทะอย่างเดียวเป็นอธิบดี ​ นอกนี้มิได้เป็น ​ ในธรรมที่เหลือ ​ (อีก 3)  ก็นัยนี้ ​ ส่วนอรูปธรรมทั้งหลายธรรมใดให้เป็นที่หนัก ​ (คือเป็นที่หน่วง) ​ เป็นไป ​ ธรรมนั้นเป็นอารัมมณาธิบดีแห่งอรูปธรรมทั้งหลายนั้น ​ เหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวคำนิทเทสไว้ว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายใด ๆ  เป็นจิตเจตสิกธรรม ​ ทำ ​ (อารมณ์) ​ ธรรมใด ๆ  ให้เป็นที่หนักเกิดขึ้น ​ ธรรม ​ (อารมณ์) ​ ทั้งหลายนั้น ๆ  เป็นปัจจัยโดยเป็นอธิปติปัจจัยแห่งธรรม ​ (จิตเจตสิก) ​ ทั้งหลายนั้น ๆ" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​แก้อนันตรปัจจัย ​ สมนันตรปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมระหว่าง ​ (คั่น) ​ ชื่อ ​ อนันตรปัจจัย ​ ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมใกล้ที่สุด ​ ชื่อว่า ​ สมนันตรปัจจัย ​ ก็แลอาจารย์ทั้งหลายอธิบายปัจจัยคู่นี้ไว้มากประการ ​ แต่ความ ​ (ต่อไป) ​ นี้เป็นแก่นสารปัจจัยคู่นี้ 
- 
-ก็จิตนิยม ​ (ทางของจิต) ​ เป็นต้นว่า ​ มโนธาตุมีในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ ​ มโนวิญญาณแห่งธาตุ" ​ ดังนี้นั้นใด ​ จิตนิยมนั้นย่อมสำเร็จด้วยอำนาจแห่งจิตดวงก่อนๆเท่านั้น หาสำเร็จโดยประการอื่นไม่ ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ ธรรมผู้สามารถในอันยังจิตตุปบาทที่ควรคู่กันให้เกิดขึ้นในลำดับแห่งตนๆ ​ ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ​ เพราะฉะนั้นแลท่านจึงกล่าวว่า ​ "​บทว่า ​ อนันตรปัจจัย ​ ความว่า ​ จักขุวิญญาณธาตุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นอนันตรปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับมโนธาตุนั้น" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ อนันตรปัจจัยอันใด ​ สมนันตรปัจจัยก็อันนั้นแหละ ​ แท้จริง ​ ความต่างกันในปัจจัยคู่นี้เป็นเพียงพยัญชนะเท่านั้น ​ ดุจความต่างเพียงพยัญชนะในศัพท์อุปจยะ ​ (เติบขึ้น) ​ กับ ​ สันตติ ​ (สืบต่อ) ​ และในศัพท์คู่คือ ​ อธิวจนะ ​ (คำเรียก) ​ กับ ​ นิรุตติ ​ (คำกล่าว) ​ ฉะนั้น ​ แต่ความต่างโดยอรรถหามีไม่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 156)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนมติของอาจารย์ทั้งหลายว่า ​ "​ธรรมชื่อว่าอนันตรปัจจัยเพราะความเป็นธรรมไม่มีระหว่างโดยอรรถ ​ (คือไม่มีความอื่นคั้น) ​ ชื่อว่าสมนันตรปัจจัยเพราะความเป็นธรรมไม่มีระหว่างโดยกาล ​ (คือไม่มีกาลคั่น)" ​ ดังนี้ ​ มตินั้นผิดจากบาลีว่า ​ "​เมื่อพระโยคาวจรออกจากนิโรธ ​ เนวสัญญายตนกุศลย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นสมนันตรปัจจัยแห่งผลสมาบัติ" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-ในความที่ธรรมเป็นสมนันตรปัจจัย ​ เพราะความเป็นธรรมไม่มีระหว่างโดยกาลนั้น ​ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวแม้คำใดว่า ​ "​ความมีธรรมนั้นเป็นธรรมสามารถในอันยังธรรมทั้งหลายให้ตั้งขึ้นมิได้เสื่อมไป ​ แต่เพราะกำลังแห่งภาวนากั้นไว้ ​ ธรรมทั้งหลายที่เป็นสมนันตระจึงยังเกิดขึ้นไม่ได้" ​ ดังนี้ ​ แม้คำนั้นก็ยังความไม่มีแห่งความเป็นกาลานันตระ ​ (ไม่มีระหว่างโดยกาล) ​ นั่นเองให้สำเร็จ ​ (คือพิสูจน์ให้เห็นว่าความเป็นกาลานันตระไม่มีนั่นเอง) ​ เพราะความเป็นกาลานันตระในธรรมนั้นไม่มีด้วยกำลังแห่งภาวนา ​ เพราะเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงคงยังคงยืนยันข้อนั้นแหละ ​ (คือกาลานันตระข้อนั้นแหละ ​ (คือกาลานันตระไม่มี) ​ ก็เหตุใดความเป็นกาลานันตระไม่มี ​ เพราะเหตุนั้น ​ ความที่ธรรมนั้นเป็นสมนันตรปัจจัยก็ใช้ไม่ได้ด้วย ​ ด้วยว่าความเห็นของท่านทั้งหลายว่า ​ "​ธรรมชื่อว่าเป็นสมนันตรปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายนั้นเพราะความเป็นธรรมไม่มีระหว่างโดยกาล" ​ (เช่นนั้นนี่) 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ ท่านทั้งหลายอย่าทำความยึดมั่น ​ (ความเห็น) ​ ไปเลย ​ พึงเชื่อเถิด ​ (ว่า) ​ ความต่างกับปัจจัยคู่นี้ ​ ก็เพียงแต่พยัญชนะเท่านั้น ​ หาต่างกันโดยอรรถไม่ ​ มีต่างกันโดยพยัญชนะอย่างไร ?  ต่างกันเท่านี้คือ 
- 
-ระหว่างแห่งธรรมเหล่านั้นไม่มี ​ เหตุนั้น ​ ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ​ อนันตระ ​ (ไม่มีระหว่าง)ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอนันตระอย่างดี ​ เพราะไม่มีหยุดชะงัก ​ เหตุนั้น ​ ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ​ สมนันตระ ​ (ไม่มีระหว่างยินดี) 
- 
-'''​แก้สหชาตปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมที่ผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมที่เมื่อเกิดขึ้น ​ ก็ยังธรรมอื่นให้เกิดขึ้นพร้อมกันด้วย ​ ชื่อว่า ​ สหชาตปัจจัย ​ ดุจประทีปเป็นปัจจัยโดยยังแสงสว่างให้เกิดขึ้นพร้อมกันฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 157)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สหชาตปัจจัยนั้นเป็น 6  อย่าง ​ ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์เป็นต้น ​ ดังบาลีว่า ​ "​ขันธ์ 4  ที่ไม่มีรูปเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน ​ มหาภูต 4  เป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกันนามและรูปในขณะก้าวลง ​ (สู่ครรภ์) ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน ​ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตปัจจัยแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานมหาภูตทั้งหลายเป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตปัจจัยแห่งอุปาทายรูปทั้งหลาย ​ ธรรมมีรูปทั้งหลายบางเหล่าเป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูปทั้งหลายในกาลบางครั้ง ​ บางครั้งเป็นปัจจัยมิใช่โดยเป็นสหชาตปัจจัย" ​ คำหลัง ​ (คือธรรมมีรูป) ​ นี้ท่านกล่าวหมายเอาหทยวัตถุอย่างเดียว 
- 
-'''​แก้อัญญมัญญปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความที่ยังกันและกันให้เกิดและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ​ ชื่อว่า ​ อัญญมัญญปัจจัย ​ ดุจไม้สามท่อน ​ (ตั้งพิงกันอยู่) ​ ค้ำกันและกันไว้ฉะนั้น ​ อัญญมัญญปัจจัยนั้นเป็น 3  อย่างด้วยอำนาจรูปขันธ์เป็นต้น ​ ดังบาลีว่า ​ "​ขันธ์ 4  ที่ไม่มีรูปเป็นปัจจัยโดย ​ เป็นอัญญมัญญปัจจัย ​ มหาภูต 4  ฯลฯ ​ นามและรูปในขณะก้าวลง ​ (สู่ครรภ์) ​ เป็นปัจจัยโดย ​ เป็นอัญญมัญญปัจจัย"​ 
- 
-'''​แก้นิสสยปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยอาการเป็นที่ตั้งและโดยอาการเป็นที่อาศัย ​ ชื่อว่า ​ นิสสยปัจจัย ​ ดุจแผ่นดิและแผ่นผ้าเป็นต้นเป็นที่ตั้งและเป็นที่อาศัยแห่งต้นไม้นั้นและแห่งจิตกรรมเป็นอาทิฉะนั้น ​ นิสสยปัจจัยนั้นพึงทราบตามนัยความที่กล่าวในสหชาตปัจจัยนั้นแหละว่า ​ "​ขันธ์ 4  ที่ไม่มีรูปเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสสยปัจจัยซึ่งกันและกัน" ​ ดังนี้เป็นต้นเถิด ​ แต่โกฏฐาส ​ (ส่วน) ​ ที่ 6  ในปัจจัยนี้ ​ ท่านจำแนกไว้ดังนี้ว่า ​ "​จักขายตนะเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ​ ฯลฯ ​ โสตายตนะ ​ ฆานายตนะ ​ ชิวหายตนะ ​ กายายตนะเป็นปัจจัยโดยเป็น ​ นิสสยปัจจัยแห่งกายวิญญาณธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับกายวิญญาณธาตุนั้นมโนธาตุและวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป ​ รูปนั้นเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่งมโนธาตุ ​ มโนวิญญาณธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับมโนวิญญาณธาตุนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 158)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แก้อุปนิสสยปัจจัย'''​ 
- 
-ส่วนในบทว่า ​ อุปนิสสยปัจจัย ​ นี้ ​ พึงทราบความหมายแห่งคำนี้ก่อน ​ ธรรมอันผลแห่งตนอาศัย ​ คือไม่ปฏิเสธ ​ โดยที่มีความเป็นไปเนื่องด้วยธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ธรรม ​ (ที่เป็นเหตุ) ​ นั้นจึงชื่อว่า ​ นิสสยะ ​  ​(เป็นที่อันผลแห่งตนอาศัย) ​ (อุป – ศัพท์ในบทว่าอุปนิสสยะนั้นมีอรรถว่า ​ "​ยิ่ง" ​ ว่า ​ "​นัก"​) ​ เหมือนอย่างว่า ​ ความคับแค้นใจนัก ​ ชื่อว่าอุปายาส ​ ฉันใด ​ ธรรมเป็นที่อันผลแห่งตนอาศัยยิ่งนักก็ชื่อว่าอุปนิสสยะ ​ ฉันนั้น ​ คำว่า ​ อุปนิสสยะ ​ นั่นเป็นชื่อแห่งเหตุอันมีกำลัง ​ (เหตุอันเรี่ยวแรง) ​ เพราะเหตุนั้น ​ ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นเหตุมีกำลังพึงทราบว่าชื่อว่า ​ อุปนิสสยปัจจัย 
- 
-อุปนิสสยปัจจัยนั้นเป็น 3  อย่าง ​ คือ ​ อารัมมณูปนิสสยะ ​ อนันตรูปนิสสยะ ​ และปกตูปนิสสยะ 
- 
-'''​อารัมมณูปนิสสยะ'''​ 
- 
-ในอุปนิสสยปัจจัย 3  นั้น ​ อันดับแรก ​ อารัมมณูอนิสสยะ ​ ท่านจำแนกไว้ ​ (โดย) ​ ไม่ทำความต่างกับอารัมมณาธิบดี ​ (ความมีอารมณ์เป็นใหญ่) ​ เลย ​ โดยนัยว่า ​ "​การกบุคคลให้ทาน ​ สมาทานศีล ​ ทำอุโบสถกรรมแล้ว ​ ปัจจเวกขณะถึงกุศลกรรมที่กล่าวนั้น ​ (โดย) ​ ทำ ​ (กุศลกรรมนั้น) ​ ให้เป็นที่หนัก ​ (คือเป็นใหญ่เป็นสำคัญ) ​ ปัจจเวกขณะ ​ (องค์) ​ ฌาน ​ (โดย) ​ ทำ ​ (ฌานนั้น) ​ ให้เป็นที่หนัก ​ พระเสกขบุคคลทั้งหลาย ​ ปัจจเวกขณโคตรภู ​ (โดย) ​ ทำ ​ (โคตรภูนั้น) ​ ให้เป็ที่หนัก ​ ปัจจเวกขณะโวทาน ​ (ความผ่องแผ้วแห่งจิต) ​ (โดย) ​ ทำ ​ (โวทานนั้น) ​ ให้เป็นที่หนักพระเสกขะบุคคลทั้งหลายออกจากมรรค ​ (ภวังค์) ​ แล้ว ​ ปัจจเวกขณะมรรค ​ (โดย) ​ ทำ ​ (มรรคนั้น) ​ ให็เป็นที่หนัก" ​ ดังนี้เป็นอาทิ ​ ในอารมณ์เหล่านั้น ​ จิตและเจตสิกทั้งหลายทำอารมณ์ใดให้เป็นที่หนักเกิดขึ้น ​ อารมณ์นั้นโดยนิยมก็นับเป็นอารมณ์มีกำลังในบรรดาอารมณ์เหล่านั้น ​ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ​ ความต่างกันแห่งอารมณ์เหล่านั้น ​ พึงทราบดังนี้ว่า ​ นับว่าเป็นอารัมมณาธิบดี ​ โดยหมายว่าเป็นเพียงอารมณ์ที่พึงทำให้เป็นที่หนัก ​ นับว่าเป็นอารัมมณูปนิสสยะโดยหมายว่าเป็นอารมณ์ที่เป็นเหตุมีกำลัง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 159)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อนันตรูปนิสสยะ'''​ 
- 
-แม้อนันตรูปนิสสยะ ​ ท่านก็จำแนกไว้โดยไม่ทำความต่างกับอนันตรปัจจัยเหมือนกันโดยนัยว่า ​ "​ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลที่เกิดก่อน ๆ  ย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยะปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ แต่ในมาติกานิกเขป ​ ความแปลกกันใน ​ นิกเขปแห่งจิตและเจตสิก ​ (ที่เป็นอนันตรปัจจัยและอนันตรูปนิสสยปัจจัย) ​ เหล่านั้นมีอยู่เพราะอนันตรปัจจันมาโดยนัยว่า ​ "​จักขุวิญญาณธาตุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นอนันตรปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับมโนธาตุนั้น" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ (ส่วน) ​ อุปนิสสยะมาโดยนัยว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ  ย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลซ่งเกิดหลัง ๆ" ​ ดังนี้เป็นอาทิ 
- 
-แม้ความแปลกกันในนิกเขปนั้นโดยใจความก็ถึงซึ่งความเป็นอันเดียวกันนั่นแล ​ ถึงเป็นอย่างนั้น ​ (ความแปลกกันก็มีอยู่คือ) ​ ความเป็นอนันตรปัจจัย ​ พึงทราบโดยความเป็นธรรมสามารถในอันยังจิตตุปบาทที่ควรแก่ลำดับของตน ๆ  ให้เป็นไป ​ (ส่วน) ​ ความเป็นอนันตรรูปนิสสยะ ​ พึงทราบโดยความที่จิตดวงก่อนเป็นเหตุมีกำลังในอันยังจิตดวงหลังให้เกิดขึ้น ​ เราะในควรท้งหลายมีเหตุปัจจยธรรมเป็นต้นเกิดขึ้นไม่ได้ฉะนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ อนันตรูปนิสสยะ ​ จึงเป็นปัจจัยมีกำลังด้วยประการดังกล่าวมานี้ ​ ความต่างกันแห่งธรรม 2  อย่างนั้นบัณฑิตพึงทราบดังนี้เถิดว่า ​ "​ธรรมเป็นอนันตรปัจจัยด้วยอำนาจแห่งธรรม ​ (สามารถ) ​ ยังจิตอันควรแก่ลำดับของตน ๆ  ให้เกิดขึ้นเป็นอนันตรรูปนิสสยะด้วยอำนาจแห่งความเป็นเหตุมีกำลัง"​ 
- 
-'''​ปกตูปนิสสยะ'''​ 
- 
-ส่วนปกตูปนิสสยะ ​ พึงทราบ ​ (ดังต่อไปนี้) ​ ว่า ​ อุปนิสสยะที่ทำขึ้นอย่างดี ​ ชื่อว่า ​ ปกตูปนิสสยะ ​ ปัจจยธรรมที่บุคคลสร้างขึ้นในสันดานของตนก็ดี ​ ปัจจัยภายนอกมีฤดูและโภชนะเป็นต้น ​ ที่บุคคลเสพด้วยอำนาจศรัทธาและศีลเป็นต้นก็ดี ​ ชื่อว่า ​ ปกตะ ​ (ทำขึ้นอย่างดี) 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ อุปนิสสยะ ​ โดยปกติ ​ (คือโดยสภาวะของตน) ​ นั่นเอง ​ ชื่อว่าปกตูปนิสสยะ ​ หมายความว่าไม่เจือปนด้วยอารัมมณูปนิสสยะและอนันตรูปนิสสยะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 160)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประเภทโดยอเนกประการแห่งปกตูปนิสสยะนั้น ​ พึงทราบโดยนัยว่า ​ "​ปกตูปนิสสยะคือ ​ บุคคลอาศัยยิ่งนักซึ่งศรัทธาแล้ว ​ ให้ทาน ​ สมาทานศีล ​ ทำอุโบสถกรรม ​ ยังฌานให้เกิดขึ้น ​ ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ​ ยังมรรคให้เกิดขึ้น ​ ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ​ อาศัยยิ่งนักซึ่งศีล ​ สุตะ ​ จาคะ ​ ปัญญาแล้ว ​ ให้ทาน ​ ฯลฯ ​ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ​ ศรัทธา ​ ศีล ​ สุตะ ​ จาคะ ​ ปัญญา ​ เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัยแห่งศรัทธา ​ ศีล ​ สุตะ ​ จาคะ ​ ปัญญา ​ ดังนี้เป็นต้น  ​ 
- 
-ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นนี้ ​ อันบุคคลทำขึ้นอย่างดีโดยเป็นอุปนิสสยะ ​ ด้วยความหมายว่าเป็นเหตุมีกำลังด้วยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เหตุนั้นจึงได้ชื่อว่าปกตูปนิสสยะ 
- 
-'''​ปุเรชาตปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นสภาพเกิดขึ้นก่อนแล้วเป็นไปอยู่ ​ ชื่อว่า ​ ปุเรชาตปัจจัย ​ ปุเรชาตปัจจัยนั้นมี 11  อย่าง ​ โดยเป็นวัตถุและอารมณ์ในปัญจทวาร ​ (เป็น 10)  และหทยวัตถุ ​ (รวมเป็น 11)  ดังบาลีว่า ​ "​จักขายตนะเป็นปัจจัยโดยเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุและแก่ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ​ โสตายตนะ ​ ฆานายตนะ ​ ชิวหายตนะ ​ กายายตนะเป็นปัจจัยโดยเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งกายวิญญาณธาตุและแก่ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับกายวิญญาณธาตุนั้น ​ รูปายตนะเป็นปัจจัยโดยเนปุเรชาตปัจจัย ​ แก่จักขุวิญญาณธาตุ ​ และแห่งธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ​ สัททายตนะ ​ คันธายตนะ ​ รสายตนะ ​ โผฏฐัพพายตนะ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งกายวิญญาณธาตุและแก่ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับกายวิญญาณธาตุนั้น ​ รูปายตนะ ​ สัททายตนะ คันธายตนะ ​ รสายตนะ ​ โผฏฐัพพายตนะ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่มโนธาตุมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป ​ รูปนั้น ​ (คือหทยวัตถุ) ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับมโนธาตุนั้น ​ (คือในปวัตติกาล) ​ ไม่เป็นปัจจัย ​  ​โดยเป็นปุเรชาตปัจจัยในบางคราว ​ (คือในจุติกาลและปฏิสนธิกาล)  ​ 
- 
-'''​ปัจฉาชาตปัจจัย'''​ 
- 
-อรูปธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมค้ำจูนรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนไว้ชื่อว่า ​ ปัจฉาชาตปัจจัย ​ ดังเจตนาคือความหวังในอาหารค้ำจูนสรีระของลูกแร้งทั้งหลายไว้ฉะนี้ ​ เหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ​ "​จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายอันเกิดภายหลัง ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัยแห่งกายนี้ ​ ที่เกิดก่อน"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 161)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อาเสวนปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความหมายคืออาเสวนะ ​ (เสพมากคือประพฤติจนคุ้น) ​ เพื่อความคล่องแคล่วและมีกำลังแห่งอนันตรธรรม ​ (ธรรมเป็นลำดับ) ​ ทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ อาเสวนะปัจจัย ​ ดุจอภิโยค ​ (ความประกอบยิ่งคือความพากเพียร) ​ ที่เกิดก่อน ๆ  ในการเรียนคัมภีร์เป็นต้น ​ (เพื่อความคล่องแคล่วในการเรียนคัมภีร์ตอนหลัง ๆ)  ฉะนั้น ​ อาเสวนะปัจจัยนั้น ​ เป็น 3  อย่าง ​ ด้วยอำนาจแห่งชวนะที่เป็นกุศลและกิริยา ​ ดังบาลีว่า ​ "​กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆเป็นปัจจัยโดยเป็นอาเสวนปัจจัยแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ  อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆเป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัยแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ  กิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ  เป็นปัจจัย ​ โดยเป็นอาเสวนปัจจัยแห่งกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ" 
- 
-'''​กัมมปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นการกระทำที่ได้แก่จิตตปโยคะ ​ (ความประกอบทางจิตคือเจตนา) ​ ชื่อว่า ​ กัมมปัจจัย ​ กัมมปัจจัยนั้น ​ เป็น 2  ด้วยอำนาจแห่งกุศลเจตนาและอกุศลเจตนาอันเป็นไปในขณะต่าง ๆ  และแห่งเจตนาทั้งปวงที่เป็นสหชาตะ ​ ดังบาลีว่า ​ "​กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นกัมมปัจจัยแห่งวิบากขันธ์ทั้งหลายและแห่งกฏัตตารูป ​ (รูปที่เกิดแต่กรรม) ​ ทั้งหลายด้วย ​ สหชาตเจตนาเป็นปัจจัยโดยเป็นกัมมปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเจตนาและแห่งรูปทั้งหลายที่มีเจตนานั้นเป็นสมุฏฐานด้วย 
- 
-'''​วิปากปัจจัย'''​ 
- 
-วิบากธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมสงบ ​ (คือว่ากรรมทำมาเสร็จแล้ว ​ หรือว่าละเอียดเพราะรู้ยาก) ​ ไม่มีอุตสาหะ ​ (คือไม่ต้องทำอะไรอีก) ​ เพื่อความเป็นสภาพสงบ ​ ไม่มีอุตสาหะ ​ (คือต้องเป็นอย่างนั้น ​ ไม่มีทางบ่ายเบี่ยง) ​ ชื่อว่า ​ วิปากปัจจัย ​ วิบากธรรมนั้นย่อมเป็นปัจจัยแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปวัติกาลและแห่งปฏัตตารูปทั้งหลาย ​ ในปฏิสนธิกาลและแห่งสัมปยุตตธรรมทั้งหลายในกาลทั้งปวงด้วย ​ ดังบาลีว่า ​ "​ขันธ์ 1  ที่เป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปากปัจจัยแห่งขัน 3  และแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 162)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สมุฏฐาน ฯลฯ ​ ขันธ์ 1  ที่เป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปากปัจจัยแห่งขันธ์ 3  และแห่งกฏัตตารูปทั้งหลายในปฏิสนธิขณะ ​ ขันธ์ 3เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัยแห่งขันธ์ 1  ขันธ์ 2  เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัยแห่งขันธ์ 2  และแห่งกฏัตต่รูปทั้งหลาย ​ ขันธ์ทั้งหลาย ​ เป็นปัจจัโดยเป็นวิปากปัจจัยแห่งวัตถุ ​ (คือหทยวัตถุ) 
- 
-'''​อาหารปัจจัย'''​ 
- 
-อาหาร 4  ผู้อุดหนุนโดยความคือเป็นผู้ค้ำจุนรูปและอรูปทั้งหลายไว้ชื่อว่า ​ อาหารปัจจัย ​ ดังบาลีว่า ​ "​กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยโดยเป็นอาหารปัจจัยแห่งกายนี้ ​ อาหารทั้งหลายที่เป็นอรูป ​ (คือผัสสะ ​ มโนสัญเจตนาและวิญญาณ) ​ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัยแห่งสัมปยุตธรรมทั้งหลายและแห่งรูปทั้งหลายอันมีอรูปาหาร ​ (ทั้ง 3)  นั้นเป็นสมุฏฐาน ​ แต่ในปัญหาวาระกล่าวไว้ว่า ​ "​ในปฏิสนธิขณะ ​ อาหารทั้งหลายที่เป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปากปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลายอันสัมปยุตกับอาหารนั้นและแห่งกฏัตตารูปทั้งหลายด้วย" ​ ดังนี้อีกด้วย 
- 
-'''​อินทรียปัจจัย'''​ 
- 
-อินทรีย์ 20  เว้นอิตถินทรีย์และปุริถินทรีย์ ​ ผู้อุดหนุนโดยความเป็นใหญ่ ​ ชื่อว่า ​ อินทรียปัจจัย ​ ก็แลในอินทรีย์ 20  นั้น ​ อินทรีย์ 5  มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ​ เป็นปัจจัยแห่งอรูปธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ​ อินทรีย์ที่เหลือ ​ (15)  เป็นปัจจัยทั้งแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมดังบาลีว่า ​ "​จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยโดยเป็นอินทรีย์ปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ​ และแห่งธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ​ ฯลฯ ​ โสตินทรีย์ ​ ฆานินทรีย์ ​ ชิวหินทรีย์ ​ กายินทรีย์ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นอินทรียปัจจัยแห่งกายวิญญาณธาตุและแห่งธรรมทั้งหลาย ​ อันสัมปยุตกับกายวิญญาณธาตุนั้น ​ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยโดยเป็นอินทรียปัจจัยแห่งกฏัตตารูปทั้งหลาย ​ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอรูป ​ (14)  เป็นปัจจัยโดยเป็นอินทรียปัจจัยแห่งสัมปยุตธรรม ​ ทั้งหลายและแห่งรูปทั้งหลายที่มีอรูปินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐานด้วย" ​ แต่ในปัญหาวาระ ​ กล่าวไว้ว่า ​ "​ในปฏิสนธิขณะ ​ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัย ​ โดยเป็นอินทรียปัจจัยแห่งสัมปยุตขันธ์ทั้งหลายและแห่งกฏัตตารูปทั้งหลาย" ​ ดังนี้อีกด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 163)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ฌานปัจจัย'''​ 
- 
-องค์ฌาน 7  (คือวิตก ​ วิจาร ​ ปีติ ​ เอกัคคตา ​ โสมนัส ​ โทมนัส ​ อุเบกขา) ​ อันต่างโดยเป็น ​ กุศลฌานเป็นต้นทั้งปวง ​ ยกเว้นเวทนา 2  คือ ​ สุข – ทุกข์ในทวีปัญจวิญญาณ ​ ผู้อุดหนุนโดยความคือเข้าไปเพ่ง ​ (อารมณ์เป็นลักษณะ) ​ ชื่อว่าฌานปัจจัย ​ ดังบาลีว่า ​ "​องค์ฌานทั้งหลาย ​ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับฌานและแห่งรูปทั้งหลายที่มีฌานนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย" ​ แต่ในปัญหาวาระกล่าวไว้ว่า ​ "​ในปฏิสนธิขณะ ​ องค์ฌานทั้งหลายอันเป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นฌานปัจจัยแห่งสัมปยุตขันธ์ทั้งหลายและแห่งกฏัตตารูปทั้งหลายด้วย" ​ ดังนี้อีกบ้าง 
- 
-'''​มัคคปัจจัย'''​ 
- 
-องค์มรรค 12  อันต่างโดยกุศลมรรค ​ (คือเป็นสัมมัตตะ) ​ เป็นต้น ​ ผู้อุดหนุนโดยความคือนำออกไปจากสิ่งใดก็แล้วแต่ ​ (คือจากผิดหรือชอบก็แล้วแต่มรรค) ​ ชื่อว่า ​ มัคคปัจจัย ​ ดังบาลีว่า ​ "​องค์มรรคทั้งหลายเป็นปัจจัยโดยเป็นมรรคปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลาย ​ ที่สัมปยุตกับมรรคและแห่งรูปทั้งหลายที่มีมรรคนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย" ​ แต่ในปัญหาวาระกล่าวไว้ว่า ​ "​ในปฏิสนธิขณะ ​ องค์มรรคทั้งหลายอันเป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นมัคคปัจจัยแห่งสัมปยุตขันธ์ทั้งหลายและกฏัตตารูปทั้งหลายด้วย" ​ ดังนี้อีกบ้าง 
- 
-แต่ว่าฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยทั้ง 2  นี้ ​ พึงทราบว่า ​ ย่อมไม่มีในทวิปัญจวิญญาณและอเหตุกจิตทั้งหลาย  ​ 
- 
-'''​สัมมปยุตตปัจจัย'''​ 
- 
-อรูปธรรมทั้งหลายผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมประกอบกันกล่าวคือมีวัตถุเดียวกัน ​ มีอารมณ์เดียวกันและเกิดด้วยกัน ​ ดับด้วยกัน ​ ชื่อว่า ​ สัมปยุตตปัจจัย ​ ดังบาลีว่า ​ "​ขันธ์ 4  ที่ไม่มีรูปเป็นปัจจัย ​ โดยสัมปยุตปัจจัยซึ่งกันและกัน"​ 
- 
-'''​(วิปปยุตตปัจจัย)'''​ 
- 
-รูปธรรมทั้งหลายผู้อุดหนุนโดยไม่เข้าถึง ​ (คือไม่เกี่ยวกับ) ​ ความเป็นธรรมมีวัตถุเดียวกันเป็นต้นว่า ​ วิปปยุตตปัจจัย ​ แห่งอรูปธรรมทั้งหลาย ​ แม้อรูปธรรมทั้งหลายเล่า ​ ก็เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 164)''</​fs></​sub>​ 
- 
-วิปปยุตตปัจจัยแห่งรูปธรรมทั้งหลาย ​ (เหมือนกัน) ​ วิปปยุตตปัจจัยนั้นเป็น 3  โดยแยกเป็นสหชาตะ ​ (เกิดพร้อมกัน) ​ ปัจฉาชาตะ ​ (เกิดทีหลัง) ​ และปุเรชาตะ ​ (เกิดก่อน) ​ สมดังบาลีว่า ​ "​กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสหชาตะ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจฉาชาตะ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งกายนี้ซึ่งเป็นปุเรชาตะ" ​ แต่ในสหชาตวิภังค์แห่งบทอัพยากฤตกล่าวไว้ว่า ​ "​ในปฏสนธิขณะขันธ์ทั้งหลายที่เป็นวิบากอัพยากฤตเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งกฏัตตารูปทั้งหลาย ​ ขันธ์ทั้หลายเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่ง ​ (หทัย) ​ วัตถุ ​ (หทย) ​ วัตถุเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลาย" ​ ดังนี้บ้าง ​ ส่วนที่เป็นปุเรชาตะ ​ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีจักขุนทรีย์เป็นต้นเท่านั้น ​ ดังบาลีว่า ​ "​จักขายตนะที่เป็นปุเรชาตะ ​ เป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณ ​ ฯลฯ ​ กายายตนะที่เป็นปุเรชาตะเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งกายวิญญาณ ​ (หทย) ​ วัตถุเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ​ ที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ​ ฯลฯ ​ วัตถุเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งกุศลขันธ์ทั้งหลาย ​ ฯลฯ ​ วัตถุเป็นปัจจัยโดยเป็นวิปปยุตตปัจจัยแห่งอกุศลขันธ์ทั้งหลาย 
- 
-'''​อัตถิปัจจัย'''​ 
- 
-ธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมค้ำจุนธรรมที่เป็นเช่นเดียวกันด้วยความที่มีอยู่อันมีลักษณะเป็นปัจจุบัน ​ ชื่อว่า ​ อัตถิปัจจัย ​ มาติกาแห่งอัตถิปัจจัยนั้นท่านวางไว้ 7  ประการด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์ ​  ​มหาภูต ​ นามรูป ​ จิต ​ เจตสิก ​ มหาภูตรูป ​ อายตนะและวัตถุ ​ ดังบาลีว่า ​ "​ขันธ์ 4  ที่ไม่มีรูปเป็นปัจจัยโดยเป็นอัตถิปัจจัยซึ่งกันและกัน ​ มหาภูต ​ (คือธาตุ) ​ 4  เป็นอัตถิปัจจัยซึ่งกันและกัน ​ นามรูปเป็นอัตถิปัจจัยซึ่งกันและกันโอกกันติขณะ ​ (ขณะลงสู่ครรภ์) ​ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายเป็นอัตถิปัจจัยแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานมหาภูตรูปเป็นอัตถิปัจจัยแห่งอุปาทายรูป ​ จักขายตนะเป็นอัตถิปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ​ ฯลฯ ​ รูปายตนะ ฯลฯ ​ โผฏฐัพพายตนะเป็นอัตถิปัจจัยแห่งกายวิญญาณธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายที่สังปยุตกับกาบวิญญาณธาตุนั้น ​ รูปายตนะ ​ ฯลฯ ​ โผฏฐัพพายตนะเป็นอัตปัจจัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 165)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แห่งมโนธาตุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับมโนธาตุนั้น ​ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูป ​ (คือหทยวัตถุ) ​ ใดเป็นไป ​ รูปนั้นเป็นอัตถิปัจจัยแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและแห่งธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับมโนวิญญาณธาตุนั้น" ​ แต่ในปัญหาวาระวางมาติกาเพิ่มไใอีกคือ ​ "​สหชาตะ ​ ปุเรชาตะ ​ ปัจฉาชาตะ ​ อาหาร ​ อินทรีย์" ​ แล้วทำนิทเทส ​ (คืออธิบาย) ​ ในสหชาตะก่อนโดยนัยว่า ​ "​ขันธ์ 1  เป็นอัตถิปัจจัยแห่งขันธ์ 3  และแห่งรูปอันมีขันธ์ 3  นั้นเป็นสมุฏฐาน" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ส่วนในปุเรชาตะ ​ ทำนิทเทสด้วยอำนาจแห่งอายตนะมีจักษุเป็นต้น ​ ซึ่งเป็นปุเรชาตธรรมในปัจฉาชาตะทำนิทเทสด้วยอำนาจแห่งกายนี้อันเป็นปุเรชาตะเป็นปัจจัยแห่งจิตและเจตสิกทั้งหลายอันเป็นปัจฉาชาตะ ​ ในอาหารและอินทรีย์ ​ ทำนิทเทสฉะนี้ว่า ​ "​กพฬิงการาหาร ​ เป็นอัตถิปัจจัยแห่งกายนี้ ​ รูปชีวิตินทรีย์เป็นอัตถิปัจจัยแห่งกฏัตตารูปทั้งหลาย" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​นัตถิปัจจัย'''​ 
- 
-อรูปธรรมทั้งหลายที่ดับไปเร็ว ​ ผู้อุดหนุนโดยให้โอกาสเพื่อความเป็นไปแห่งอรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งตนชื่อว่า ​ นัตถิปัจจัย ​ ดังบาลีว่า ​ "​จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายที่ดับไปเร็วเป็นนัตถิปัจจัยแห่งจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นปัจจุบัน 
- 
-'''​วิคตปัจจัย'''​ 
- 
-นัตถิปัจจยธรรมเหล่านั้นแหละชื่อว่า ​ วิคตปัจจัย ​ เพราะเป็นธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมที่ปราศจากไปแล้ว ​ (คือไม่มีแล้ว) ​ ดังบาลีว่า ​ "​จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายที่ดับไปเร็วเป็นวิคตปัจจัยแห่งจิจและเจตสิกธรรมทั้งหลายนี่เป็นปัจจุบัน"​ 
- 
-'''​อวิคตปัจจัย '''​ 
- 
-อนึ่ง ​ อัตถิปัจจยธรรมทั้งหลายนั่นแหละพึงทราบว่า ​ ชื่อว่า ​ อวิคตปัจจัย ​ เพราะเป็นธรรมผู้อุดหนุนโดยความเป็นธรรมที่ยังไม่ปราศไป ​ (คือยังมีอยู่) 
- 
-ก็แลทุกะนี้ ​ (คือปัจจัยคู่นี้) ​ ตรัสด้วยเทศนาวิลาส ​ (ความงดงามแห่งเทศนา) ​ หรือด้วยอำนาจแห่งเวไนยที่จะพึงฝึกสอนได้ด้วยเทศนาวิธีนี้ ​ ดุจเหตุวิปปยุตตทุกะ ​ แม้ตรัสอเหตุกะแล้วก็ยังตรัส ​ (อีก) ​ ฉะนั้นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 166)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารตามหลักปัจจัย 24=== 
- 
-ในปัจจัย 24  ที่กล่าวมานี้ ​ อวิชชานี้นับเป็นปัจจัยแห่ง ​ อภิสังขารคือบุญทั้งหลาย ​ โดยประการ 2  แต่มันเป็นปัจจัยแห่งอภิสังขารข้อถัดไป ​ (คืออปุญญาภิสังขาร) ​ โดยหลายประการ ​ เป็นปัจจัยแห่งอภิสังขารข้อสุดท้าย ​ (คืออเนญชาภิสังขาร) ​ โดยประการเดียวแล 
- 
-ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ "​เป็นปัจจัยแห่งอภิสังขารคือบุญทั้งหลายโดยประการ 2" ​ คำว่า ​ อวิชชาเป็นปัจจัย ​ (แห่งปุญญาภิสังขาร) ​ โดยประการ 2  คือโดยเป็นอาระมมณปัจจัย 1  โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย 1  อธิบายว่า ​ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมณปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารทั้งหลายฝ่ายกามาวจร ​ ในกาลที่พิจารณาอวิชชา ​ โดยความสิ้นไปเสื่อมไป ​ เป็นอารัมมณปัจจัย ​ แห่งปุญญาภิสังขารฝ่ายรูปาวจร ​  ​ในกาลที่รู้จิตเป็นไปกับโมหะ ​ (ทั้งของตนและคนอื่น) ​ ด้วยอภิญญาจิต ​ (มีเจโตปริยญาณเป็นต้น) ​ แต่ว่าเมื่อบุคคลบำเพ็ญ ​ บุญกิริยาวัตถุฝ่ายกามาวจรทั้งหลายมีทานเป็นต้นก็ดี ​ ยังรูปาวจรญาณทั้งหลายให้เกิดขึ้นก็ดี ​ เพื่อประโยชน์แก่การก้าวล่วงเสียซึ่งอวิชชามันก็เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารทั้งสองนั้น ​ เมื่อบุคคลปรารถนาสมบัติในกามภพและรูปภพแล้วทำบุญ ​ (ทั้งสอง) ​ นั้นแหละอยู่ ​ เพราะหลงไปด้วยความไม่รู้ ​ ก็อย่างนั้น ​ (คืออวิชชานั้นเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารทั้งสองนั้นเช่นเดียวกัน)  ​ 
- 
-คำว่า ​ "​แต่มันเป็นปัจจัยแห่งอภิสังขารข้อถัดไปโดยหลายประการ" ​ ความว่า ​ อวิชชาย่อมเป็นปัจจัยแห่งอปุญญาภิสังขารทั้งหลายโดยหลายประการ ​ ปุจฉาว่า ​ เป็นอย่างไร ?  วิสัชชนาว่า ​ ก็อวิชชานั่นย่อมเป็นปัจจัย ​ (แห่งอปุญญาภิสังขาร) ​ โดยหลายประการคือ ​ ในกาลที่ราคะเป็นต้น ​ ปรารภอวิชชาเกิดขึ้นมันก็เป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมมณปัจจัย ​ ในกาลที่ทำอวิชชาให้เป็นที่หนัก ​ (คือน้ำหนักอยู่ที่อวิชชา) ​ (เกิดความ) ​ พอใจขึ้น ​ มันก็เป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมมณูธิบดีและอารัมมณูปนิสสยะ ​ เมื่อบุคคลผู้หลงไปด้วยความไม่รู้ไม่เห็นโทษ ​ (ในบาป) ​ ทำบาปทั้งหลายมีปาณาติปาตเป็นต้นเข้า ​ มันก็เป็นอุปนิสสยปัจจัย ​ มันเป็นอนันตระ…. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 167)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สมนันตระ ​ อนันตระรูปนิสสยะ ​ อาเสวนะ ​ นัตถิและวิคตปัจจัยแห่งชวนจิตมีชวนะดวงที่ 2  เป็นต้นไป ​ เมื่อบุคคลทำอกุศลทุกอย่างมันก็เป็นเหตุ ​ สหชาตะ ​ อัญญะมัญญะ ​ นิสสยะ ​ สัมปยุตตะ ​ อัตถิและอวิคตปัจจัย 
- 
-คำว่า ​ "​นับว่าเป็นปัจจัยแห่งอภิสังขารข้อสุดท้ายโดยประการเดียว" ​ คืออวิชชานับว่าเป็นปัจจัยโดยประการเดียว ​ คือโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นแห่งอเนญชาภิสังขารทั้งหลาย ​ ก็แลความที่มันเป็นอุปนิสสยปัจจัยนั้น ​ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในปุญญาภิสังขารนั่นเถิด 
- 
-===อวิชชาอย่างเดียวเป็นปัจจัยแห่งสังขาร=== 
- 
-ในบทว่า ​ "​สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะปัจจัยเป็นอวิชชา" ​ นี้ ​ โจทกาจารย์กล่าว ​ (ทัก) ​ ว่า ​ "​ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลายหรือ ​ หรือว่าเป็นปัจจัยอื่น ๆ  อีกก็มี ?  พระอาจารย์กล่าวเฉลยว่า ​ "​ก็ในข้อนี้จะพึงกล่าวว่ากันอย่างไร ​ (ดี) ​ เล่า ​ ผิว่าอวิชชาอย่างเดียว ​ (เป็นปัจจัย) ​ ไซร้ ​ ก็ต้องเป็นพวกเอกการณวาทะ ​ (กล่าวว่ามีเหตุอันเดียว) ​ ซึ่งไม่ถูกต้องหากว่า ​ ปัจจัยอื่น ๆ  อีกก็มีไซร้ ​ เอกการณนิทเทส ​ (คำบาลีที่แสดงเหตุไว้อันเดียว ​ ว่า ​ "​อวิชชาปจจยา ​ สงขารา -  สังขารทั้งหลายมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา" ​ ก็ไม่เกิดประโยชน์พระอาจารย์กล่าวต่อไปว่า ​ "​(แต่อันที่จริง) ​ เอกการณนิทเทสนั้นจะไม่เกิดประโยชน์หามิได้เพราะอะไร ​ เพราะ 
- 
-เอกผล ​ (เกิด) ​ แต่เอกเหตุไม่มี ​ แม้อเนกผล ​ (เกิด)แต่เอกผลก็ไม่มี ​ เอกผลเล่า ​ (เกิด) ​ แต่อเนกเหตุก็ไม่มีแต่อรรถ ​ (คือประโยชน์) ​ ในการแสดงเอกเหตุเอกผล ​ มีอยู่ 
- 
-จริงอยู่ ​ ผลอย่างเดียว ​ (เกิด) ​ แต่เหตุอันเดียวไม่มีสักอย่าง ​ ในปัจจยาการนี้ ​ ผลหลายอย่าง ​ (เกิด) ​ แต่เหตุอันเดียวก็ไม่มี ​ ผลอย่างเดียว ​ (เกิด) ​ แต่เหตุหลายอันเล่าก็ไม่มี ​ แต่ว่า ​ ผลหลายอย่าง ​ (เกิด) ​ แต่เหตุหลายอันนั่นมี ​ จริงอย่างนั้นผลหลายอย่างได้แก่รูป กลิ่น ​ รส ​ เป็นต้นและหน่อ ​ (ไม้) ​ นั่นเกิดขึ้นแต่เหตุหลายอัน ​ กล่าวคือ ​ ฤดู ​ ดิน ​ พืช ​ (พันธ์) ​ และน้ำปรากฏอยู่ ​ แต่การแสดงเหตุอันเดียวและผลอย่างเดียวที่มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำไว้ว่า ​ "​อวิชชาปจจยา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 168)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สงขารา ​ สงขารปจจยา ​ วิญญาณํ" ​ นั้นใด ​ ในการแสดงเหตุอันเดียวและผลอย่างเดียวนั้นอรรถมีอยู่ ​ คือประโยชน์มีอยู่ ​ แท้จริง ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเอกเหตุบ้าง ​ เอกผลบ้างเหมือนกัน ​ โดยควรแก่พระเทศวิลาศและแก่ ​ (อัชฌาสัยของ) ​ เวไนยสัตว์ทั้งหลายบ้างในบางบท ​ เพราะเป็นเหตุและผลประธาน ​ บางบทเพราะเป็นเหตุปรากฏ ​ (เห็นเด่นชัด) ​ บางบทเพราะเป็นเหตุอสาธารณะ ​ (เฉพาะ) ​ ขยายความว่า ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอกเหตุและเอกผลด้วย ​ เพราะความเป็นเหตุประธานและผลประธานเช่นในบทว่า ​ "​ผสสปจจยา ​ เวทนา" ​ เหตุว่าผัสสะเป็นประธานแห่งเวทนา ​ ตรัสเอกเหตุเพราะความปรากฏเช่นในคำว่า ​ "​เสมหสมุฏฐานา ​ อาพาธา -  อาพาธทั้งหลายที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน" ​ เพราะว่าในอาพาธนี้เสมหะเป็นเหตุที่ปรากฏ ​ เหตุอื่นมีกรรมเป็นต้นไม่ปรากฏ ​ ตรัสเอกเหตุเพราะความเป็นเหตุ ​  ​อสาธารณะ ​ เช่นในข้อว่า ​ "​เย ​ เกจิ ​ ภิกขเว ​ อกุสลา ​ ธมมา ​ สพเพ ​ เต ​ อโยนิโส มนสิการมูลกา ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ​ (บรรดามี) ​ อกุศลธรรมทั้งหลายนั้นล้วนมีอโยนิโสมนสิการเป็นมูล" ​ เพราะอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุ ​ อสาธารณะ ​ เหตุอื่น ๆ  มีวัตถุและอารมณ์เป็นต้นเป็นเหตุสาธารณะแก่อกุศลทั้งหลายแล 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ ในปัจจยาการนี้ ​ อวิชชานี่ ​ แม้เมื่ออเหตุแห่งสังขารทั้งหลายอื่นมีวัตถุอารมณ์และสหชาตธรรมเป็นต้นมีอยู่ ​ ก็พึงทราบเถิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ​ โดยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย ​ เพราะความที่อวิชชานั้นเป็นสังขารเหตุที่เป็นประธานแห่งสังขารเหตุอื่น ๆ  มีตัณหาเป็นต้น ​ โดยพระบาลีว่า ​ "​ตัณหาย่อมพอกพูนแก่บุคคลผู้คอยดูแต่ส่วนที่น่ายินดี ​ (ในสังโยชนียธรรม)" ​ เป็นต้น ​ และโดยพระบาลีว่า ​ "​ความเกิดขึ้นแห่งอาสวะย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชา" ​ เพราะเป็นเหตุปรากฏและเพราะเป็นเหตุอสาธารณะด้วย ​ โดยพระบาลีว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ บุคคลผู้โง่เขลาตกอยู่ในอวิชชาย่อมสร้างปุญญาภิสังขารขึ้นบ้าง…" ​ เป็นต้น ​ ก็แลประโยชน์ในการทรงแสดงเอกเหตุเอกผลในบททั้งปวงพึงทราบโดยคำเฉลยการทรงแสดงเอกเหตุเอกผล ​ (ที่กล่าวมานั่นเทอญ) 
- 
-'''​(อวิชชาเป็นเหตุแห่งสังขารฝ่ายดี)'''​ 
- 
-ในบท ​ อวิชชาปจจยา ​ สงขารา ​ นี้ ​ โจทกาจารย์กล่าวทัก ​ (อีกประเด็นหนึ่ง) ​ ว่า ​ "​ถึงเป็นอย่างกล่าวมานั้น ​ (แต่) ​ การที่อวิชชาซึ่งเป็นสิ่งมีโทษ ​ มีผลอันไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 169)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มาเป็นปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร ​ (ซึ่งมีผลน่าปรารถนา) ​ จะใช้ได้ไฉน ?  เพราะว่าอ้อยจะเกิดจากพืชสะเดาหาได้ไม่" ​ พึงเฉลยว่า ​ "​ไฉนจักใช้ไม่ได้เล่า ​ เพราะในโลกนี้ 
- 
-ปัจจัยแห่ง ​ (สภาว) ​ ธรรมทั้งหลายที่ผิดกัน ​ (กับผล)ก็ดี ​ ไม่ผิดกันก็ดี ​ ที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ​ (กับผล)ก็เช่นกัน ​ ย่อมเป็นเหตุสำเร็จ ​ (คือให้เกิดผล) ​ ได้ ​ แต่ธรรมเหล่านั้น ​ มิได้เป็นวิบาก ​ (แห่งปัจจัยเหล่านั้น) ​ เลย 
- 
-จริงอยู่ ​ ปัจจัยที่ผิดกันโดยฐาน ​ (ตำแหน่งที่และเวลา) ​ สภาวะและกิจเป็นต้นแก่ ​ (สภาว) ​ ธรรมทั้งหลายก็ดี ​ ไม่ผิดกันก็ดี ​ ย่อมเป็นเหตุสำเร็จได้ในโลก ​ ด้วยว่า ​ จิตดวงก่อน ​ ย่อมเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยฐานแห่งจิตดวงหลังได้ ​ และการศึกษามีศึกษาเป็นต้นก่อน ​ ย่อมเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยฐานะแห่งการทำงานมีประกอบศิลปะเป็นต้นอันเป็นไปในภายหลังก็ได้ ​ กรรมเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแห่งรูปได้ ​ และนมสดเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแห่งรูปได้ ​ และนมสดเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแห่งนมส้มก็ได้ ​ แสงสว่างเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจแห่งจักขุวิญญาณได้ ​ แสงสว่างเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจแห่งจักขุวิญญาณได้ ​ และนำอ้อยงบเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจแห่งน้ำดอง ​ (คือน้ำเมา) ​ เป็นต้นก็ได้ ​ ส่วนจักขุและรูปเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ไม่ผิดกันโดยฐานแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ​ ชวนจิตดวงก่อนเป็นต้นเป็นปัจจัยที่ไม่ผิดกันโดยสภาวะและไม่ผิดกันโดยกิจแห่งชวนจิตดวงหลังเป็นต้น 
- 
-อนึ่ง ​ ปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกัน ​ (กับผล) ​ เป็นเหตุสำเร็จได้ฉันใด ​ แม้ปัจจัยที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ​ (กับผล) ​ ก็เป็นเหตุสำเร็จได้ฉันนั้น ​ จริงอยู่ ​ รูปกล่าวคือฤดูและอาหาร ​ ซึ่งเหมือนกันนั่นเองเป็นปัจจัยแห่งรูป ​ พืชข้าวสาลีเป็นต้น ​ ซึ่งเหมือนกันนั่นแลเป็นปัจจัยแห่งเมล็ดข้าวสาลีเป็นต้น ​ รูปซึ่งแม้ไม่มีเหมือนกัน ​ แต่เป็นปัจจัยแห่งอรูปได้ ​ อรูปเล่าก็เป็นปัจจัยแห่งรูปได้ ​ และขนโค ​ ขนแกะ ​ เขาแกะ ​ เขาสัตว์ ​ นมส้ม ​ งา ​ แป้งเป็นต้นซึ่งไม่เหมือนกันก็เป็นปัจจัยแห่งหญ้าแพรกและตระไคร้เป็นต้นได้ ​ แต่ปัจจยธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่ผิดกันไม่ผิดกันและเหมือนกัน ​ ไม่เหมือนกัน ​ (ก็ดี) ​ แห่งธรรมเหล่าใด ​ ธรรมเหล่านั้นก็มิได้เป็นวิบากแห่ง ​ (ปัจจัย) ​ ธรรมเหล่านั้นเลย 
- 
-ด้วยประการดังนี้ ​ อวิชชานี่ ​ แม้ว่าโดยวิบาก ​ เป็นสิ่งที่มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ​ และด้วยว่าเป็นสภาวะก็เป็นสิ่งมีโทษ ​ (แต่ก็) ​ พึงทราบเถิดว่า ​ มันเป็นปัจจัยแก่สังขารมีปุญญาภิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 170)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สังขารเป็นต้นทั้งหมดได้ ​ ด้วยสามารถเป็นปัจจัยที่ผิดกัน ​ และไม่ผิดกันโดยฐานะ ​ กิจสภาวะและด้วยสามารถเป็นปัจจัยทีเหมือนกันตามควร ​ ก็แลความที่มันเป็นปัจจัยนั้น ​ ได้กล่าวแล้วโดยนัยว่า ​ "​ความไม่รู้ที่นับว่าอวิชชาในทุกข์เป็นต้น ​ บุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว ​ บุคคลนั้นเพราะความไม่รู้ในทุกข์ก่อนและและในวัตถุแห่งอวิชชาทั้งหลายมีขันธปัญจกะส่วนอดีตเป็นต้น ​  ​จึงยึดเอาสังขารทุกข์ไว้โดยสำคัญว่า ​ เป็นสุขแล้วย่อมริ ​ (ทำ) ​ สังขารทั้ง 3  อย่างอันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้นขึ้น" ​ ดังนี้เป็นต้นนั่นแล 
- 
-(ต่อไป) ​ นี้เป็นปริยายอื่นอีกปริยายหนึ่งว่า 
- 
-บุคคลใดหลงใน ​ (เรื่อง)จุติ ​ และอุปาต ​ (เรื่องสงสาร)ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลายและในปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ​ บุคคลนั้นย่อมสร้างสังขารทั้ง 3  นั้นขึ้น(ทั้งนี้ก็) ​ เพราะเหตุที่อวิชชานี่เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้ง 3  นั้น 
- 
-หากมีคำถามว่า ​ "​ก็ไฉน ​ บุคคลใดหลงในธรรมเหล่านั้น ​ บุคคลนั้จึงทำสังขารทั้งสามนั้นขึ้น" ​ ดังนี้ไซร้ ​ คำแก้พึงมี่ว่า ​ "​อันดับแรกบุคคลผู้หลงใน ​ (เรื่อง) ​ จุติ ​ ไม่ถือเอาจุติ ​ (โดยความความจริง) ​ ว่า ​ "​ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายในภพทั้งปวง ​ ชื่อว่ามรณะ ​ (แต่) ​ กำหนดใจไปว่า ​ "​สัตว์ตาย ​ ความตายก็คือความก้าวไป ​ (คือเคลือนไป) ​ สู่ร่างอื่นแห่งสัตว์" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-ผู้หลงในอุปบาต ​ ไม่ถือเอาอุปบาต ​ (โดยความจริง) ​ ว่า ​ "​ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายในภพทั้งปวง ​ ชื่อว่าชาติ" ​ (แต่) ​ กำหนดใจไปว่า ​ "​สัตว์เกิดขึ้น ​ ความเกิดคือความปรากฏขึ้นแห่งร่างใหม่ของสัตว์" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-ผู้หลงในสงสาร ​ ไม่ถือเอาสงสารอย่างท่านพรรณนาไว้ดังนี้ว่า 
- 
-"​ความสืบเนื่องกันแห่งขันธ์ธาตุ ​ และอายตนะทั้งหลายเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย ​ เรียกว่าสงสาร"​ 
- 
-(แต่) ​ กำหนดใจไปว่า ​ "​สัตว์ผู้นี้ไปจากโลกอื่นจากโลกนี้ ​ มาสู่โลกนี้จากโลกอื่น" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-ผู้หลงในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ​ ไม่ถือเอาสภาวะลักษณะ ​ (มีรู้จักเสื่อมเป็นต้น) ​ และสามัญญลักษณะ ​ (มีไม่เที่ยงเป็นต้น) ​ แห่งสังขารทั้งหลาย ​ (แต่) ​ กำหนดใจเอาสังขารทั้งหลาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 171)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โดยความเป็นตน ​ โดยความเป็นของตน ​ โดยความเป็นของยั่งยืน ​ โดยความเป็นของงามและโดยความเป็นความสุข 
- 
-ผู้หลงในปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ​ ไม่ถือความหมุนไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ​ มีสังขารเป็นต้น ​ เพราะปัจจยธรรมมีอวิชชาเป็นอาทิ ​ (แต่) ​ กำหนดใจไปว่า ​ "​อัตตาย่อมรู้บ้างไม่รู้บ้าง ​ อัตตานั่นแลทำ ​ (เอง) ​ และใช้ ​  ​(ผู้อื่น) ​ ให้ทำด้วย ​ ในปฏิสนธิก็อัตตานั่นแลเกิดขึ้น ​ ผู้บันดาลมีอณุและพระอิศวรเป็นต้นจัดแจงร่างให้อัตตานั้นโดย ​ (แต่งให้) ​ เป็นกลละเป็นต้น ​ (จน) ​ ทำอินทรีทั้งหลายให้ครบครัน ​ อัตตานั้นมีอินทรีย์ครบครันแล้วจึงสัมผัสได้ ​ รู้ ​ (อารมณ์) ​ ได้ ​ อยากเป็น ​ ยึดถือเป็น ​ พยายามเป็น ​ อัตตานั้นย่อมมีในภพอื่นอีก" ​ ดังนี้บ้าง ​ ว่า ​ "​สัตว์ทั้งปวงแปรเปลี่ยนไปตามวาระ ​ คือความเป็นไปตามโชคเคราะห์" ​ ดังนี้บ้าง 
- 
-บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้เป็นคนบอดแล้วกำหนดใจไปอย่างนั้นอยู่ ​ ก็ย่อมก่อสังขารเป็นบุญบ้าง ​ ไม่เป็นบุญบ้าง ​ เป็นอเนสังขารเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณญชาบ้างขึ้น ​ เปรียบเหมือนคนตาบอดเที่ยวไปบนแผ่นดิน ​ ก็ย่อมเดินไปถูกทางบ้าง ​ ผิดทางบ้าง ​ ที่ดอนบ้าง ​ ที่ลุ่มบ้าง ​ ที่ราบบ้าง ​ ที่ขรุขระบ้าง ​ ฉะนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระอาจารย์จึงกล่าวคำเป็นคาถานี้ไว้ ​ (ความ) ​ ว่า ​ 
- 
-เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ​ ไม่มีคนจูงบางที่ก็เดินไปตามทาง ​ บางทีก็เดินไปนอกทางบ้าง ​ ฉันใดก็ดี ​ คนเขลาผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสงสารไม่มีผู้ชักนำ ​ บางคราวก็ทำบุญ ​ บางคราวก็ทำกรรมที่ไม่ใช่บุญบ้าง ​ ฉันนั้นต่อเมื่อใดเขาจักรู้ธรรมแล้วตรัสรู้สัจจะได้ ​  ​เมื่อนั้นเพราะอวิชชาสงบไป ​ เขาจึงจักเป็นอุปสันตบุคคลไปได้ ​ นี่เป็นวิตถารกถาในบทว่า ​ อวิชชาปจจยา ​ สงขารา 
- 
-==สังขารเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ== 
- 
-(ต่อไปนี้เป็น) ​ วิตถารในบท ​ สงขารปจจยา ​ วิญญาณํ 
- 
-คำว่า ​ วิญญาณ ​ ได้แก่ ​ วิญญาณ 6  มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ​ ในวิญญาณ 6  นั้น ​ จักขุวิญญาณ ​ มี 2  อย่าง ​ คือ ​ จิกขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบากและที่เป็นอกุศลวิบาก ​ โสตวิญญาณ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 172)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ฆานวิญญาณ ​ ชิวหาวิญญาณ ​ กายวิญญาณ ​ ก็อย่างนั้น ​ มโนวิญญาณมี 22  คือ ​ มโนธาตุ 2  ที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ​ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะ 3  กามาวจรวิปากจิตเป็นสเหตุกะ 8  รูปาวจรจิต 5  อรูปาวจรจิต 4  ดังนี้ ​ จึงเป็นอันรวมวิปากวิญญาณฝ่ายโลกิยะทางวิญญาณ 6  นี้ ​ ทั้งหมดด้วยกันได้ 32  ส่วนวิญญาณฝ่ายโลกุตตระทั้งหลายใช้ไม่ได้ในกถาว่าด้วยวัฏฏะ ​ เพราะฉะนั้นจึงไม่ถือเอา 
- 
-ในบทว่า ​ วิญญาณมีเพราะปัจจัยคือสังขาร ​ นั้น ​ หากมีคำถามว่า ​ "​ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า ​ วิญญาณมีประการดังกล่าวมานี้ ​ ย่อมมีเพราะปัจจัยคือสังขาร" ​ แก้ว่า ​ "​ทราบได้เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่ก่อไว้ ​ วิบากก็ไม่มี" ​ แท้จริง ​ วิญญาณนั่นเป็นวิบาก ​ อันวิบากในเมื่อไม่มีกรรมที่ก่อไว้ ​ ย่อมไม่เกิดขึ้น ​ ผิว่า ​ มันจะพึงเกิดขึ้นได้ ​ โดยไม่อาศัยกรรมไซร้ ​ วิปากวิญญาณทุกอย่างก็จะพึงเกิดขึ้นแก่สัตว์ทุกจำพวกได้ ​ (นะซิ) ​ แต่มันไม่เกิดดอก ​ (ในเมื่อไม่มีกรรมที่ก่อไว้)" ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงทราบข้อว่า ​ วิญญาณนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยคือสังขารนั้นได้ 
- 
-หากมีถามว่า ​ "​วิญญาณไหนย่อมมีเพราะปัจจัยคือสังขารไหน" ​ ดังนี้ไซร้ ​ พึงตอบว่า ​ "​อันดับแรกวิญญาณ 16  ดวง ​ คือวิญญาณมีจัขุวิญญาณเป้นต้นที่เป็นปุศลวิบาก 5  ในมโนวิญญาณ ​ มโนธาตุ 1  มโนวิญญาณธาตุ 2  กามาวจรวิปากวิญญาณ 8  ย่อมมีเพราะปัจจัยคือปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจร ​ ดังบาลีว่า ​ "​เพราะกรรมที่เป็นกุศลฝ่ายกามางจร ​ อันบุคคลทำไว้แล้วก่อไว้แล้ว ​ จักขุวิญญาณ ​ โสตวิญญาณ ​ ฆทตวิญญาณ ​ ชิวหาวิญญาณ ​ กายวิญญาณ ​ ที่เป็นวิบาก ​ จึงเกิดขึ้น ​ มโนธาตุที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้น ​ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโสมนัสสหรคตจึงเกิดขึ้น ​ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอุเปกขาสหรคตจึงเกิดขึ้น มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโสมนัสสสหรคตญาณสัมปยุต ​ ที่เป็นโสมนันสสหรคต ​ ญาณสัมปยุต ​ เกิดพร้อมกับ ​ สังขารที่เป็นโสมนัสสหรคต ​ ญาณวิปยุตเกิดขึ้นพร้อมกันสังขารที่เป็นโสมนันสสหรคตญาณวิปยุต ​ เกิดพร้อมสังขาร ​ ที่เป็นอุเปกขาสหรคต ​ ญาณสัมปยุต ​ ที่เป็นอุเปกขาสหรคต ​ ญาณสัมปยุตกับสังขารที่เป็นอุเปกขาสหรคต ​ ญาณวิปปยุตที่เป็นอุเปกขาสหรคต ​ ญาณวิปปยุตกับสังขาร ​ ดังนี้  ​ 
- 
-ส่วนรูปาวจรวิปากวิญญาณ 5  ดวง ​ มีเพราะปัจจัยคือปุญญาภิสังขารฝ่ายรูปาวจร ​ ดังบาลีว่า ​ "​เพราะกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลฝ่ายรูปาวจรนั้นนั่นแล ​ อันบุคคลทำไว้แล้วก่อไว้แล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 173)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โยคาวจรบุคคล ​ สงัดจากกามทั้งหลาย ​ ฯลฯ ​ เข้าถึงปฐมฌาน ฯลฯ ​ ปัญจมฌาฯอัเป็นวิบากอยู่" ​ ดังนี้ ​ 
- 
-(รวม) ​ วิญญาณ 21  ดวง ​ ย่อมมีเพราะปัจจัยคือปุญญาภิสังขาร ​ ฉะนี้ 
- 
-ส่วนวิญญาณ 7  ดวง ​ ดังนี้คือ ​ วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศลวิบาก 5  มโนธาตุ 1  มโนวิญญาณธาตุ 1  ย่อมมีเพราะปัจจัยคืออปุญญาภิสังขาร ​ ดังบาลีว่า ​ "​เพราะกรรมเป็นอกุศล ​ อันบุคคลทำไว้แล้วก่อไว้แล้ว ​ จักขุวิญญาณ ​ โสตวิญญาณ ​ ฆานวิญญาณ ​ ชิวหาวิญญาณ ​ กายวิญญาณอันเป็นวิบากจึงเกิดขึ้น ​ มโนธาตุที่เป็นวิบาก ​ มโนวิญญาณธาตุ ​ ที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้น" ​ ดังนี้ 
- 
-ส่วนวิญญาณ 4  ดวง ​ ดังนี้คือ ​ วิญญาณที่เป้นอรูปวิบาก 4  ย่อมมีเพราะปัจจัยคืออเนญชาภิสังขาร ​ ดังบาลีว่า ​ "​เพราะกรรมที่เป็นกุศลฝ่ายอรูปาวจรนั้นนั่นแลอันบุคคลทำไว้แล้ว ​ ก่อไว้แล้ว ​ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลายเสียได้โดยประการทั้งปวงจึงเข้าถึงวิญญาณอันสหรคตด้วยอากาสานัญญจายตนสัญญา ​ วิญญาณนัญจายตนะสัญญา ​ อากิญจัญญายตนสัญญา ​ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ​ ซึ่งเป็นวิบากอยู่ ​ เพราะละสุขและทุกข์ได้จึงเข้าจตุตถฌานอยู่" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​ความเป็นไปแห่งวิญญาณ'''​ 
- 
-วิญญาณใด ​ ย่อมมีเพราปัจจัยสังขารใดแล้ว ​ บัดนี้ ​ พึงทราบปวัตติ ​ (ความเป็นไปเรื่องราว) ​ แห่งวิญญาณนั้นดัง ​ (ต่อไป) ​ นี้ 
- 
-วิญญาณทั้งปวงนี้แหละ ​ ย่อมเป็นไปโดยส่วน 2  ด้วยอำนาจแห่งปวัตติ ​ (ความเป็นไปส่วนต่อแต่ปฏิสนธิไป) ​ และ ​ (ส่วนตอน) ​ ปฏิสนธิ ​ ใน 2  ส่วนนั้น ​ วิญญาณ 13  ดวงนี้ ​ คือปัญจวิญญาณ 2  (เป็น 10)  มโนธาตุ 2  อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นโสมนัสสสหรคต (1)  ย่อมเป็นไปในส่วนปวัตติในปัญจโวการภพเท่านั้น ​ วิญญาณที่เหลือ 19  ดวงเป็นไปทั้งในส่วนปวัตติทั้งในส่วนปฏิสนธิตามสมควรใน 3  ภพ ​ (คือปัญจวโรการภพ ​ จตุโวการภพ ​ และเอกโวการภพ) 
- 
-ปุจฉาว่าอย่างไร ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 174)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ส่วนปวัตติ'''​ 
- 
-วิสัชชนาว่า ​ ในอรรถกถามัชฌิมนิกายกล่าวไว้ว่า ​ "​อันดับแรกวิญญาณ 5  มีจักขุวิญญาณเป็นต้นฝ่ายกุศลวิบาก ​ ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ​ ที่มาปรากฏทางทวารมีจักขุทวารเป็นต้น ​ ของบุคคลผู้เกิดมาด้วยกุศลวิบาก ​ หรือด้วยอกุศลวิบากก็ตาม ​ ที่มีอินทรีย์เข้าถึงความแก่กล้าแล้วตามลำดับเป็นอิฏฐารมณ์ก็ตาม ​ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ก็ตาม ​ อาศัยประสาทมีจักษุประสาทเป็นอาทิ ​ ก็ยังกิจคือการเห็น ​ การได้ยิน ​ การดม ​ การลิ้ม ​ การสัมผัสให้สำเร็จเป็นไป ​ วิญญาณ 5  ฝ่ายอกุศลวิบากก็เป็นอย่างนั้น ​ เป็นแต่อารมณ์ของอกุศลวิปากวิญญาณเหล่านั้น ​ เป็นอนิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐมัฌัตตารมณ์สิ้นเชิง ​ (เท่า) ​ นี้เองเป็นความแปลกกัน ​ จริงอยู่ ​ วิญญาณทั้ง 10  นั่นก็มีทวาร ​ อารมณ์ ​ วัตถุและฐานคงตัวและมีกิจตายตัวอยู่เท่านี้เอง ​ ต่อนั้นมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก ​ ปรารภอารมณ์ของวิญญาณเหล่านั้นนั่นแหละ ​ อาศัยหทยวัตถุก็ยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไปมโนธาตุฝ่านอกุศลวิบากในลำดับแห่งอกุศลวิปากวิญญาณทั้งหลายก็เป็นไปอย่างนั้น ​ ก็แต่ว่ามโนธาตุคู่นี้มีทวารและอารมณ์ไม่แน่ ​ แต่มีวัตถุและฐานคงตัวและกิจก็ตายตัว ​ ส่วนอเหตุกะมโนวิญญาณธาตุที่เป็นโมนัสสสหรคตในลำดับแห่งกุศลวิบากมโนธาตุก็ปรารภอารมณ์แห่งกุศลวิบากมโนธาตุนั้นแหละอาศัยหทยวัตถุ ​ ยังสันตีรณกิจให้สำเร็จ ​ ตัดวิถีภวังค์ในที่สุด ​ แห่งชวนะที่สัมปยุตด้วยโลภโดยมากแห่งเหล่าสัตว์จำพวกกามาวจร ​ ในเมื่ออารมณ์นั้นเป็น ​ อารมณ์มีกำลังในทวารทั้ง 6  เป็นไปวาระเดียวบ้างสองวาระบ้าง ​ ด้วยอำนาจแห่งตทารัมมณะในอารมณ์ที่ชวนะยึดไว้" ​ ดังนี้ ​ แต่ในอรรถกถาพระอภิธรรม วารจิตในตทารัมมณะมาเป็น 2  (วาระเดียวไม่มี) ​ ก็แลจิตดวงนี้มี 2  ชื่อ ​ คือ ​ ชื่อว่าตทารัมมณะ ​ และชื่อว่าปิฏฐิภวังค์ ​ (มีภวังค์แอบหลัง) ​ และเป็นจิตมีทวารและอารมณ์ไม่แน่ ​ แต่มีวัตถุคงตัว ​ มีฐานและกิจก็ไม่ตายตัวแล 
- 
-วิญญาณ 13  ดวง ​ พึงทราบว่า ​ เป็นไปในส่วนปวัตติในปัญจิโวการภพเท่านั้น ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ก่อน 
- 
-ในวิญญาณ 19  ที่เหลือเล่า ​ วิญญาณอะไร ๆ  ไม่เป็นไปโดยปฏิสนธิ ​ (กิจ) ​ อันควรแก่ตนก็หามิได้ ​ แต่ในส่วนปวัตติ ​ อันดับแรกอเหตุกมโนวิญญาณธาตุอันเป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบากทั้ง 2  ยังกิจ 4  ให้สำเร็จ ​ คือ ​ ยังสันตีรณกิจในลำดับแห่งกุศลอกุศลวิบากมโนธาตุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 175)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในปัญจทวารให้สำเร็จ ​ ยังตทารัมมณกิจในทวาร 6  โดยนัยที่กล่าวในตอนเบื้องหน้าแต่ปฏิสนธิที่ตนให้แล้วให้สำเร็จ ​ และยังจุติกิจในบั้นปลายให้สำเร็จ ​ เป็นวิญญาณธาตุที่มีวัตถุคงตัว ​ แต่มีทวาร ​  ​อารมณ์ ​ ฐานและกิจไม่คงตัวเป็นไป ​ สเหตุกจิตฝ่ายกามาวจร 8  ยังกิจ) ​ ให้สำเร็จ ​ คือยังตทารัมมณกิจในทวาร 6  โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละให้สำเร็จ ​ เมื่อจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดภวังค์ไม่มี ​ ก็ยังภวังคกิจเบื้องหน้าแต่ปฏิสนธิที่ตนให้แล้วเป็นให้สำเร็จและยังจุติกิจในบั้นปลายให้สำเร็จ ​ เป็นจิตมีวัตถุคงตัว ​ แต่ทวาร ​ อารมณ์ ​ ฐานและกิจไม่คงตัวเป็นไป ​ รูปาวจรวิญญาณ 5  และอรูปาวจร 4  ยังกิจ 2  ให้สำเร็จ ​ คือเมื่อจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดภวังค์ไม่มี ​ ก็ยังภวังค์กิจเบื้องหน้าแต่ปฏิสนธิที่ตนให้แล้วเป็นไปให้สำเร็จและยังจุติกิจในบั้นปลายให้สำเร็จเป็นไป ​ ในจิต 2  ประเภทนั้น ​ รูปาวจรจิตทั้งหลายมีวัตถุทวารและอารมณ์คงตัว ​ แต่ฐานและกิจไม่คงตัว ​ ส่วนอรูปาวจรจิตทั้งหลาย ​ มีวัตถุคงตัว ​ อารมณ์คงตัว ​ แต่ฐานและกิจไม่คงตัวเป็นไปแล 
- 
-วิญญาณทั้ง 32  ดวง ​ ย่อมเป็นไปเพราะสังขารเป็นปัจจัย ​ ในส่วนปวัตติ ​ ดังกลาวมาฉะนี้ก่อน 
- 
-สังขารนั้น ๆเป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัยและเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิปากวิญญาณ 32  ดวงนั้นในปวัตตินั้น 
- 
-'''​ส่วนปฏิสนธิ'''​ 
- 
-ส่วนคำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ "​ในวิญญาณ 19  ที่เหลือเล่า ​ วิญญาณอะไร ๆ  ไม่เป็นไปโดยปฏิสนธิ ​ (กิจ) ​ อันควรแก่ตนก็หามิได้" ​ คำนั้นยังรู้ได้ยากเพราะเป็นคำสังเขปนัก ​ เพราะเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจะกล่าวเพื่อแสดงวิตถารนัยแห่งปฏิสนธิวิญญาณนั้น ​ (ต่อไป) ​ โดยตั้งปัญหาว่า 
- 
-(1)    ปฏิสนธิมีกี่อย่าง ? 
- 
-(2)    ปฏิสนธิจิตมีเท่าไร ? 
- 
-(3)    ปฏิสนธิย่อมมีในภพไหนด้วยจิตอะไร ? 
- 
-(4)    อะไรเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิ ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 176)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำตอบมีว่า 
- 
-(1)  ปฏิสนธิมี 20  ทั้งปฏิสนธิของอสัญญีสัตว์ ​ (คือโดยปฏิสนธิจิตก็มีเพียง 19  แต่นับปฏิสนธิของพวกอสัญญีเข้าด้วยจึงเป็น 20) 
- 
-(2)  ปฏิสนธิจิตมี 19  ประการดังกล่าวมาแล้วนั่นแหละ 
- 
-(3)  ในปฏิสนธิจิต 19  นั้น ​ ปฏิสนธิในอบายทั้งหลายย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก ​ ปฏิสนธิแห่งพวกคนบอดแต่กำเนิด ​ คนหนวกแต่กำเนิด ​ คนบ้าแต่กำเนิด ​ คนใบ้แต่กำเนิด ​ และคนกระเทยทั้งหลายในมนุษย์โลก ​ ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากปฏิสนธิ ​ แห่งเหล่าสัตว์ผู้มีบุญในพวกเทพชั้นกามาวจรก็ดี ​ ในพวกมนุษย์ก็ดี ​ ย่อมมีด้วยสเหตุกามาวจรวิปากจิต 8  ปฏิสนธิในโลกรูปพรหม ​ ย่อมมีด้วยรูปาวจรวิบาก 5  ปฏิสนธิในโลกอรูปพรหมย่อมมีด้วยอรูปาวจรวิปากจิต 4  ก็แล ​ ปฏิสนธิย่อมมีในภพไรด้วยจิตไรดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ปฏิสนธินั้นแล ​ ชื่อว่าปฏิสนธิอันควรแก่วิญญาณนั้น 
- 
-(4)  ส่วนอารมณ์ของปฏิสนธิ มี 3  คือ ​ อตีตารมณ์ ​ ปัจจุปันนารมณ์ ​ และนวัตตัพพารมณ์ ​ (คือ ​ อารมณ์ที่ไม่ควรจะกล่าวได้ว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน)(แต่) ​ ปฏิสนธิของพวกอสัญญีเป็นอนารมณ์ ​ (คือไม่มีอารมณ์) ​ แล 
- 
-ในอารมณ์ 3  นั้น ​ อารมณ์ของปฏิสนธิแห่งสัตว์ชั้นวิญญาณนัญจายตนะและชั้นเนวสัญญาสัญญายตนะ ​ เป็นอตีตารมณ์อย่างเดียว ​ แห่งสัตว์ชั้นกามาวจร 10  เป็นอตีตารมณ์บ้าง ​ เป็นปัจจุปปันนารมณ์บ้าง ​ แห่งสัตว์ที่เหลือเป็นนวัตตัพพารมณ์แท้ 
- 
-อนึ่ง ​ ปฏิสนธิที่เป็นไปในอารมณ์ 3  อยู่ดังนี้ ​ ก็ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติจิต ​ ซึ่งมีอารมณ์เป็นอตีตารมณ์บ้าง ​ เป็นนวัตตัพพารมณ์บ้างเท่านนั้น ​ เพราะธรรมดาว่าจุติจิตเป็นปัจจุปปันนารมณ์หามีไม่ ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ บัณฑิตจึงควรทราบอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิอันมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ 3  ในอันดับแห่งจุติ ​ ซึ่งมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ 2  ด้วยอำนาจแห่งสุคติและทุคติ ​ (ต่อไป) ​ ข้อนี้เป็นฉันใด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 177)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อันดับแรก ​ บาปกรรมตามที่ตนสะสมไว้บ้าง ​ กรรมนิมิตบ้าง ​ ย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร ​ ของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสุคติชั้นกามาวจร ​ (แต่) ​ เป็นคนมีบาปกรรม ​ ซึ่ง ​ (เจ็บหนัก) ​ นอนอยู่บนเตียงมรณะ ​ (ทั้งนี้) ​ โดยบาลีว่า ​ "​ในสมัยนั้น ​ กรรมทั้งหลาย ​ (ที่ตนทำไว้ก่อน) ​ นั้น ​ ย่อมเกาะอยู่ ​ (ในจิต) ​ ของบุคคล ​ (ผู้ใกล้ตาย) ​ นั้น" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ จตุจิตทำอารมณ์แห่งภวังค์ ​ ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนวิถีอันปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้นเกิดขึ้น ​ มีตทารัมมณะเป็นสุดท้าย ​ ครั้นจุติจิตนั้นดับแล้ว ​ ปฏิสนธิจิตอันกำลังแห่งกิเลสที่ยังตัดไม่ได้ชักนำถลำเข้าไปทางทุคติ ​ ก็ปรากฏกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาปรากฏ ​ (มโนทวาร) ​ นั้นและเกิดขึ้น ​ นี่เป็นปฏิสนธิ ​ มีอารมณ์เป็นอดีต ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งจุติซึ่งมีอารมณ์เป็นอดีต ​ (ด้วยกัน) 
- 
-ในมรณสมัย ​ (เวลาใกล้จะตาย) ​ ทุคตินิมิตมีวรรณรูปแห่งเปลวเพลิงเป็นต้น ​ ในทุคติทั้งหลายมีนรกเป็นอาทิ ​ ย่อมมาปรากฏในมโนทวารของบุคคลผู้มีบาปกรรมอีกคนหนึ่ง ​ ด้วยอำนาจแห่งกรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ​ ครั้นภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป 2  วาระ ​ วิถีจิต 3  ดวง ​ คือ ​ อาวัชชนะ 1 ชวนะ ​ (เพียง) 5  เพราะเป็นจิตมีกำลังอ่อนด้วยความที่มรณะใกล้เข้ามา ​ ตทารัมมณะ 2  ปรารภอารมณ์นั้นเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ​ ต่อนั้นจุติจิต 1  ดวงทำอารมณ์ของภวังค์ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ​ ก็และขณะจิต 15  คือ ​ ภวังค์ 2  อาวัชชนะ ​ (1)  ทัสสนะ ​ (เห็น 1)  สัมปฏิจฉนะ ​ (1)  สันตีรณะ (1)  โวฏฐัพพนะ ​ (1)  ชวนะ 5  ตทารัมมณะ 2  จุติจิต 1  เพียงนั้นนับว่าเป็นอดีต ​ ลำดับนั้น ​ ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในอารมณ์นั้นนั่นแหละ ​ ซึ่งมีอายุชั่วขณะจิต 1  ที่เหลือ ​ แม้ปฏิสนธินี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งจุติซึ่งมีอารมณ์เป็นอดีต 
- 
-นี่เป็นอาการเป็นไปแห่งทุคติปฏิสนธิ ​ อันมีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง ​ ปัจจุบันบ้าง ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งสุคติจุติ ​ ซึ่งมีอารมณ์เป็นอดีตเท่านี้ก่อน 
- 
-สำหรับผู้ตั้งอยู่ในทุคติ ​ (แต่) ​ มีกรรมอันไม่มีโทษได้สั่งสมไว้คำทั้งปวงบัณฑิตก็พึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแล ​ โดยบรรจุคำฝ่ายขาวลง ​ (แทน) ​ ในคำฝ่ายดำ ​ เช่นว่า ​ "​กรรมไม่มีโทษนั้นบ้าง ​ กรรมนิมิตบ้าง ​ ย่อมมาปรากฏในมโนทวารเป็นต้นตามนัยก่อนเกิด ​ นี่เป็นอาการเป็นไปแห่งสุคติ ​ และปฏิสนธิอันมีอารมณ์เป็นอดีตและปัจจุบัน ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งทุคติจุติ ​ ซึ่งมีอารมณ์เป็นอดีต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 178)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ข้างฝ่ายผู้ตั้งอยู่ในสุคติมีกรรมอันไม่มีโทษได้สั่งสมไว้ ​ (เจ็บหนัก) ​ นอนอยู่บนเตียงมรณกรรมไม่มีโทษตามที่ได้สั่งสมไว้บ้าง ​ กรรมนิมิตบ้าง ​ ย่อมมาปรากฏในมโนทวาร ​ (ทั้งนี้) ​ โดยพระบาลี ​ (กล่าวไว้) ​ ว่า ​ "​ในสมัยนั้นอนวัชชกรรมทั้งหลาย ​ (ที่ตนสั่งสมไว้ก่อน)นั้นย่อมเกาะอยู่ ​ (ในจิต) ​ ของบุคคล ​ (ผู้ใกล้ตาย) ​ นั้น ​ "​ดังนี้เป็นต้น ​ ก็แต่ว่าข้อที่ไม่กำหนดแน่งว่าอนวัชชกรรมหรือกรรมนิมิตจะมาปรากฏทางมโนทวารนั้น ​ สำหรับผู้สั่งสมอนวัชชกรรมฝ่ายกามาวจรไว้เท่านั้น ​ ส่วนผู้สั่งสมมหัคคตกรรมไว้ ​ มีแต่กรรนิมิตอย่างเดียวมาปรากฏทาง ​ (มโนทวาร) ​ จุติจิตทำอารมณืแห่งภวัง5ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนวิถีมีตทารัมมณะเป็นสุดท้ายหรือชวนวิถีล้วน ​ (ไม่มีตทารัมมณะ) ​ ซึ่งปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้นเกิดขึ้น ​ ครั้นจุติจิตนั้นดับไปแล้ว ​ ปฏิสนธิจิตอันกำลังแห่งกิเลสที่ยังตัดไม่ได้ชักนำเข้าไปทางสุคติ ​ ก็ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่ปรากฏทาง ​ (มโนทวาร) ​ นั้นแลเกิดขึ้น ​ นี่เป็นปฏิสนธิเป็นอตีตารมณ์บ้าง ​ เป็นนวัตตัพพารมณ์บ้าง ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งจุติซึ่งเป็นอารมณ์ 
- 
-บุคคลมีอนวัชชกรรมได้สั่งสมไว้อีกผู้หนึ่ง ​ ในมรณะสมัย ​ มีสุคตินิมิตได้แก่วรรณรูปแห่งท้องมารดาในมนุษย์โลกบ้าง ​ ได้แก่วรรณรูปแห่งอุทยาน ​ วิมานและกัลปพฤกษ์เป็นต้นในเทวโลกบ้างมาปรากฏในมโนทวาร ​ ด้วยอำนาจแห่งอนวัชชกรรมกามาวจร ​ ปฏิสนธิเกิดแก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจุติจิตตามลำดับจิตที่แสดงมาแล้วใน ​ (ตอนว่าด้วย) ​ ทุคตินิมิตนั่นแลนี้เป็นปฏิสนธิที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งจุติซึ่งเป็นอตีตารมณ์ 
- 
-อีกผู้หนึ่ง ​ ในมรณสมัย ​ พวกญาติบอกว่า ​ "​นี่แนะพ่อ ​ พุทธบูชาเราทำเพื่อประโยชฯแก่ท่าน ​ ทานจงยังจิตให้เลื่อมใสเถิด" ​ แล้วนำรูปารมณ์โดยเป็นเครื่องบูชามีช่อดอกไม้และธงไชยธงแผ่นผ้าเป็นต้นบ้าง ​ สัททารมณ์โดยเป็นการฟังธรรมและการบูชาด้วยเสียงดนตรีเป็นต้นบ้าง ​ คันธารมณ์โดยเป็นกลิ่นธูปและเครื่องอบเป็นต้นบ้าง ​ รสารมณ์โดยเป็นเครื่องลิ้มมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ​ (โย) ​ บอกว่า ​ "​แน่ะพ่อ ​ เชิญท่านชิมนี่ดู ​ เป็นไทยธรรม ​ ที่เราจะพึงให้เพื่อประโยชน์แก่ท่าน" ​ ดังนี้บ้าง ​ โผฏฐัพพารมณ์ ​ โดยเป็นผ้ามีผ้าเมืองจีนและผ้าเมืองแขกเป็นต้น ​ (โดย) ​ บอกว่า ​ "​แน่ะพ่อ ​ เชิญแตะนี่ดู ​ เป็นไทยธรรมที่เราจะพึงให้เพื่อประโยชน์แก่ท่าน" ​ ดังนี้บ้าง ​ (น้อม) ​ เข้าไปให้ด้วยความที่มรณะใกล้เข้ามาและตทารัมมณะ 2  เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นในที่สุดแห่งโผฏฐัพพะที่เกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ​ ที่มาปรากฏทางทวารนั้น ​ ต่อนั้นจุติจิตดวงที่ 1  ทำอารมณ์แห่งภวังค์ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ​ ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 179)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ​ ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นแหละ ​ ซึ่งตั้งอยู่ชั่วขณะจิตเดียว ​ แม้ปฏิสนธินี้ก็เป็นปฏิสนธิเป็นปัจจุบันในอารมณ์ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งจุติซึ่งเป็นอตีตารมณ์ 
- 
-ส่วนอีกผู้หนึ่งสถิตอยู่ในสุคติสำหรับบุคคลผู้ได้มหัคตวิบากด้วยอำนาจฌานมีปฐวีปสิณฌานเป็นอาทิ ​ ในมรณสมัย ​ กามาวจรกุศลกรรม ​ กรรมนิมิต ​ คตินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ​ นิมิตเป็นปฐวีกสิณเป็นต้นหรือ ​ มหัคคตจิต ​ มาปรากฏในมโนทวาร ​ หรือมิฉะนั้นอารมณืประณีตอันเป็นเหตุเกิดกุศลมาปรากฏในจักขุทวารหรือโสตทวารอันใดอันหนึ่ง ​ ชวนะ ​ (เพียง) 5  เพราะเป็นจิตมีกำลังอ่อนด้วยความที่มรณะใกล้เข้ามาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น ​ ในที่สุดแห่งโผฏฐัพพะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ​ เพราะตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เข้าถึงคติมหรคตทั้งหลาย ​ เหตุนั้น ​ จุติจิตดวง 1  จึงทำอารมณ์แห่งภวังค์ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนะนั่นเอง ​ ในที่สุดจุติจิตนั้น ​ ปฏิสนธิจิตนั้นมีอารมณ์ตามที่เข้ามาปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์หยั่งเข่าในสุคติเป็นกามาวจรหรือมหัคคตะ ​ สถานใดสถานหนึ่งแล้วก็เกิดขึ้น 
- 
-นี่เป็นปฏิสนธิเป็นอตีตารมณื ​ ปัจจุบันอารมณ์ ​ และนวัตตัพพารมณ์ ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งสุคติจุติซึ่งเป็นนวัตตัพพารมณ์ ​ แม้ปฏิสนธิเป็นอตีตารมณ์ ​ นวัตตัพพารมณ์ ​ ปัจจุบันอารมณ์ ​ (เกิด) ในลำดับแห่งสุคติจุติซึ่งเป็นอตาตารมณ์ ​ นวัตตัพพารมณ์ 
- 
-ฝ่ายผู้มีบาปกรรมอยู่ในทุคติ ​ (ในมรณสมัย) ​ ย่อมมีกรรม (ที่ทำไว้) ​ นั้นบ้าง ​ กรรมนิมิตบ้าง ​ คตินิมิตบ้าง ​ มาปรากฏในมโนทวาร ​ หรือมิฉะนั้นอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ที่เป็นเหตุเกิดอกุศลมาปรากฏในปัญจทวาร ​ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ​ ต่อนั้น ​ ในที่สุดแห่งจุติตามลำดับ ​ ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป้นอารมณ์ ​ ตกไปทางทุคติก็เกิดขึ้นแก่เขา นี่เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิที่เป็นอตีตารมณ์ ​ ปัจจุบันอารมณ์ ​ (เกิด) ​ ในลำดับแห่งทุคติจุติซึ่งเป็นอตีตารมณ์แล 
- 
-'''​ปฏิสนธิวิญญาณ'''​ 
- 
-ความเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิแห่งวิญญาณทั้ง 19  ดวงเป็นอันแสดงเพียงเท่านี้ 
- 
-วิญญาณทั้งสิ้นนี้นั้นปฏิสนธิวิญญาณ ​ เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิดังกล่าวมานั้น ​ ย่อมเป็นไปด้วยกรรม 2 แผนกและมีประเภทต่าง ๆ  เช่นประเภท 2  เป็นต้น โดยประเภททั้งหลาย ​ มีประเภทผสมเป็นอาทิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 180)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-แท้จริง ​ วิปากวิญญาณทั้ง 9  ดวงนี้ ​ เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิย่อมเป็นไปด้วยกรรม 2  แผนกด้วยกัน ​ ด้วยว่า ​ ชนกกรรมย่อมเป็นปัจจัย ​ โดยเป็นกรรมปัจจัยอันเป็นไปในขณะต่างๆกัน 1  โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย 1  แก่วิปากวิญญาณนั้นตามที่เป็นของตน ​ สมคำบาลีว่า ​ "​กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบาก" ​ ดังนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ พึงทราบประเภทมีประเภท 2  เป็นต้น ​ โดยประเภททั้งหลายมีประเภทผสมกันเป็นอาทิ ​ วิปากวิญญาณนี้แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ​ (แต่) ​ เป็น ​ 2 โดยแยกเป็นประเภทผสมกับรูปและประเภทไม่ผสมกับรูป ​ เป็น ​ 3  โดยแยกเป็นกามภพ ​ รูปภพ ​ อรูปภพ ​ เป็น ​ 4  โดยกำเนิดอณฑชะ ​ ชลาพุชะ ​ สังเสทชะ ​ โอปปาติกะ ​ เป็น ​ 5  โดยคติเป็น ​ 7  ฝดดยวิญญาณฐิติ ​ เป็น ​ 9  โดยสัตตวาส 
- 
-'''​วิญญาณผสม'''​ 
- 
-ในวิญญาณผสมและไม่ผสมนั้น ​ วิญญาณผสมเป็น ​ 2  โดยต่างแห่งภาวะ ​ และในภาวะประเภทนั้นเล่าวิญญาณ ​ ที่มีภาวะก็เป็น ​ 2  (รูปกลาป) ​ ทสกะ ​ 2  หรือ ​ 3  บ้างเป็นอย่างต่ำ ​ ย่อมเกิดพร้อมกับวิญญาณประเภทต้น ​ (คือ ​ วิญญาณผสม) 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ วิญญาณผสมเป็น ​ 2  โดยต่างแห่งภาวะ ​ นั้น ​ ความว่า ​ ก็ในวิญญาณผสมและไม่ผสมนี้ ​ ปฏิสนธิกับวิญญาณที่ผสมกับรูปนั้นใดเกิดขึ้น ​ (ในภพ) ​ เว้นแต่อรูปภพ ​ ปฏิสนธิวิญญาณผสมนั้นย่อมมีเป็น 2  คือมีภาวะ (1)  ไม่มีภาวะ (1)  เพราะเกิดขึ้นเว้นจากภาวะกล่าวคืออิตถินทรีย์ในรูปภพ ​ เว้นแต่ปฏิสนธิของคนกะเทยโดยกำเนิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 181)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ข้อว่า ​ และในภาวะประเภทนั้นเล่า ​ วิญญาณที่มีภาวะก็เป็น 2  อธิบายและแม้ในภาวะประเภทนั้นเล่า ​ ปฏิสนธิใดมีภาวะ ​ ปฏิสนธิวิญญาณนั้นก็เป็น 2  เหมือนกัน ​ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกับอิตถีภาวะ ​ หรือปุริสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
- 
-ข้อว่า ​ (รูปกลาป) 2  หรือ 3  เป็นอย่างต่ำ ​ ย่อมเกิดพร้อมกับวิญญาณประเภทต้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ก็ ​ (รูปกลาป) ​ ทสกะ 2  โดยเป็นวัตถุทสกะและกายทสกะ ​ หรือทสกะ 3  โดยเป็นวัตถุทสกะ ​ กายทสกะและภาวทสกะบ้างเป็นอย่างต่ำ ​ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับ ​ ปฏิสนธิวิญญาณที่ผสมกับรูป ​ อันเป็นประเภทต้น ใน 2  ประเภท ​ คือผสม ​ (และ) ​ ไม่ผสมนั้นรูป ​ (กลาป) ​ ลดลงไปยิ่งกว่านี้ไม่มี 
- 
-ก็แลปฏิสนธิวิญญาณที่มีปริมาณรูปกลาปอย่างต่ำดังกล่าวนี้นั้น ​ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดเป็นสิ่งที่ได้ชื่อว่า ​ "​กลละ" ​ อันมีประมาณเท่า ​ (หยด) ​ หัวเนยใสที่ใช้ขนแกะเส้นหนึ่ง ​ (จุ่ม) ​ ยกขึ้นในกำเนิด 2  ที่มีชื่อว่า ​ อัณฑะชะและชลาพุชะ ​ ในกำเนิดและคติเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงทราบความมีขึ้นแห่งกำเนิดทั้งหลายที่แตกต่างกันด้วยอำนาจแห่งคติ ​ (ดังต่อไปนี้) 
- 
-'''​กำเนิด'''​ 
- 
-ก็ในกำเนิดทั้งหลายนั้น ​ กำเนิด 3  ข้างต้น ​ ย่อม 
- 
-ไม่มีในนรกและในพวกเทพ ​ เว้นภุมเทพ ​ กำเนิดทั้ง 4 
- 
-ย่อมมีในคติ 3 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ในบทเหล่านั้นด้วย ​ จ  ศัพท์ในบทว่า ​ "​เทเวสุ ​ จ" ​ กำเนิด 3  ข้างต้นพึงทราบว่า ​ ไม่มีในนรกและในพวกเทพเว้นภุมเทพฉันใด ​ ก็ย่อมไม่มีในพวกนิชฌามตัณหิกเปรตด้วยฉันนั้น ​ เพราะพวกนิชฌามตัณหิกเปรตนั้น ​ ก็เป็นโอปปาติกะเหมือนกัน ​ ส่วนในคติ 3  ที่เหลืออันได้แก่ดิรัจฉาน ​ เปรตวิสัย ​ มนุษย์ในพวกภุมเทพที่เว้นไว้ก่อนด้วย ​ ย่อมมีกำเนิด ​ (ครบ) ​ ทั้ง 4 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 182)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​รูปกลาป'''​ 
- 
-ในคติและกำเนิดเหล่านั้น ​ รูป 30  และ 9  ย่อมกำเนิด 
- 
-ในพวกรูปพรหม ​ อนึ่ง ​ โดยกำหนดอย่างสูง ​ รูป 70  ย่อม 
- 
-เกิดในสัตว์จำพวกที่เกิดในกำเนิดสังเสชะอุปปาตะ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ โดยกำเนิดอย่างต่ำ ​ รูป 30  ย่อมเกิด 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-อันดับแรก ​ รูป 30  และ 9  ด้วยอำนาจแห่งกลาป 4  คือจักขุทสกะ ​ โสตทสกะ ​ วัตถุทสกะและชีวิตนวกะ ​ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ​ ในเหล่าสัตว์ผู้กำเนิดเป็นโอปปาติกะในจำพวกรูปพรหม ​ ส่วนว่าโดยกำหนดอย่างสูง ​ รูป 70  ด้วยอำนาจแห่ง ​ (กลาป 7  คือ) ​ จักขุทสกะ ​ โสตทสกะ ​ ฆานทสกะ ​ ชิวหาทสกะ ​ กายทสกะ ​ วัตถุทสกะ ​ และภาวทสกะ ​ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมด้วยปฏิสนธิวิญญาณ ​ ในเหล่าสัตว์ที่เกิดในกำเนิดสังเสทชะและโอปปาติกะจำพวกอื่นเว้นจำพวกรูปพรหม ​ อนึ่ง ​ รูปทั้ง 70  นั้นย่อมเกิดขึ้นในจำพวกเทพเป็นนิตย์ 
- 
-ในทสกะเหล่านั้นร ​ กลุ่มรูปมีปริมาณรูป 10  นี้ ​ คือ ​ สี ​ กลิ่น ​ รส ​ โอชา ​ อีกธาตุ 4  จักขุประสาท ​ และชีวิต ​ ชื่อว่าจักขุทสกะ ​ (10 ทั้งจักษุ) ​ ทสกะที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยดังนี้ 
- 
-ส่วนว่าโดยอย่างต่ำ ​ รูป 30  ด้วยอำนาจแห่ง ​ (กลาป 3  คือ) ​ ชิวหาทสกะ ​ กายทสกะ ​ และวัตถุทสกะ ​ ย่อมเกิดขึ้นแก่คนตาบอดแต่กำเนิด ​ คนหูหนวกแต่กำเนิด ​ คนจมูกด้วน ​ (ไม่มีฆานประสาท) ​ แต่กำเนิดและคนกะเทยแต่กำเนิด ​ อนึ่ง ​ พึงทราบการกำหนด ​ (รูปกลาป) ​ ในระหว่างปริมาณรูปอย่างอย่างต่ำ ​ (คือในระหว่างรูป 70  และ 30)  ตามควรเถิด 
- 
-'''​จุติปฏิสนธิแปลก ๆ'''​ 
- 
-ครั้นทราบอย่างนี้แล้วพึงกำหนดรู้ความแปลกแห่ง 
- 
-ความแตกต่างและไม่แตกต่างแห่งจุติและปฏิสนธิ ​ โดย 
- 
-ขันธ์ ​ อารมณ์ ​ คติ ​ เหตุ ​ เวทนา ​ ปีติ ​ วิตกและวิจาร ​ (ต่อไป) ​ อีก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 183)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความแห่งคาถานั้นว่า ​ "​ก็ปฏิสนธิ 2  อย่างโดยเป็นปฏิสนธิ 2ผสมและปฏิสนธิไม่ผสมนั้นใด ​ และจุติอันมีในลำดับที่เป็นอดีตแห่งปฏิสนธินั้นใด ​ พึงทราบความแปลกแห่งความแตกต่างและไม่แตกต่างแห่งปฏิสนธิและจุตินั้น ​ โดยขันธ์เป็นต้นเหล่านี้" ​ แปลกอย่างไร ?  ก็บางทีปฏิสนธิอันมีขันธ์ 4  ไม่แตกต่างกัน ​ (กับจุติ) ​ แม้โดยอารมณ์ ​ มีขึ้นในลำดับแห่งอรูปจุติที่มีขันธ์ 4  (เหมือนกัน) ​ ก็มี ​ บางทีปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและเป็นภายใน ​ มีขึ้นในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์ไม่เป็นมหัคคตะและเป็นภายนอกก็มี ​ นี่เป็นนัยในพวกรูปภูมิเท่านั้นก่อน 
- 
-อนึ่ง ​ บางทีกามาวจรปฏิสนธิอันมีขันธ์ ​ (ครบ) 5  มีในลำดับแห่งอรูปจุติที่มีขันธ์ 4  (คือจุติจากอรูปภูมิมาปฏิสนธิในกามาวจรภูมิ) ​ ก็มี ​ บางทีอรูปปฏิสนธิที่มีขันธ์ 4  มีในลำดับแห่งกามาวจรจุติอันมีขันธ์ 5  บ้าง ​ แห่งรูปาวจรขันธ์บ้าง ​ (คือจุติจากกามาวจรภูมิบ้าง ​ รูปาวจรภูมิบ้าง ​ ไปปฏิสนธิในอรูปภูมิ) ​ ก็มี ​ อย่างนี้เป็นปฏิสนธิ ​ มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ​ มีในลำดับจุติมีอารมณ์เป็นอดีต 
- 
-ทุคติปฏิสนธิบางอย่าง ​ มีในลำดับแห่งสุคติจุติบางอย่าง ​ (เช่นคนบางคนตายไปเกิดเป็นสัตว์บางชนิด) ​ ก็มี ​ สเหตุกปฏิสนธิมีในลำดับแห่งอเหตุกจุติ ​ ติเหตุกปฏิสนธิมีในลำดับแห่งทุเหตุกจุติก็มี ​ ปฏิสนธิเป็นโสมนัสสหรคตมีในลำดับแห่งจุติเป็นอุเปกขาสหรคตก็มี ​ ปฏิสนธิประกอบด้วยปีติมีในลำดับแห่งจุติที่ไม่ประกอบด้วยปีติก็มี ​ ปฏิสนธิมีวิตกมีในลำดับแห่งจุติที่ไม่มีวิตก ​ ปฏิสนธิมีวิจารมีในลำดับแห่งจุติไม่มีวิจาร ​ ปฏิสนธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร ​ ปฏิสนธิที่มีทั้งวิตกวิจารมีในลำดับแห่งจุติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มีแล 
- 
-อนึ่ง ​ พึงประกอบ ​ (คำ) ​ เข้าตามที่ควรประกอบได้โดยคำตรงกันข้ามแห่งบทนั้น ๆ  เถิด 
- 
-'''​โดยปรมัตถ์'''​ 
- 
-อันว่าวิญญาณที่ได้ปัจจัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ นั่นก็ 
- 
-เป็นแต่ ​ ธรรมเข้าถึงภพอื่น ​ ความเคลื่อนมาแต่ภพนั้น 
- 
-ของมันก็ไม่มี ​ (แต่ว่า) ​ เว้นเหตุแต่ภพนั้นเสียก็ไม่มี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 184)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​(ขยายความ)'''​ 
- 
-ก็วิญญาณที่ได้ปัจจัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ นั่นก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมและอรูปธรรม ​ เมื่อเกิดขึ้นก็ ​ (มีโวหาร) ​ เรียกว่า ​ เข้าถึงภพอื่น ​ มิใช่สัตว์ ​ มิใช่ชีวะ ​ อีกทั้งความเคลื่อนจากอดีตภพมาในภพนี้ของมัน ​ ก็ไม่มี ​ แต่ว่าเว้นเหตุแต่อดีตภพนั้นเสีย ​ ความปรากฏในภพนี้ของมันก็ไม่มี 
- 
-ข้าพเจ้าทั้งหลายจักประกาศความเป็นไปแห่งวิญญาณดังกล่าวนี้นั้น ​ โดยทางสืบปฏิสนธิ ​ จากจุติแห่งมนุษย์ซึ่งเห็นได้ชัด 
- 
-ก็ในอดีตภพ ​ เมื่อบุคคลผู้จวนจะตายเพราความสิ้นไปเอง ​ หรือเพราะการกระทำ ​ (ร้าย) ​ ก็ตาม ​ ไม่อาจทนความรุมเอาแห่งศัสตราคือมารณัตติกเวทนา ​ (ความเจ็บชนิดถึงตาย)ทั้งหลายซึ่งเชือดเฉือนเส้นเอ็นทั่วอวัยวะใหญ่น้อยเหลือที่จะทน ​ ครั้รนร่างกายซูบซีดไปโดยลำดับดุจใบตาลสดที่เขาวางไว้ในแดดค่อยเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น ​ ครั้นอินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุเป็นต้นดับกายินทรีย์ ​ มนินทรีย์ ​ มนินทรีย์และชีวิตินทรีย์คง ​ (เหลือ) ​ อยู่แต่ในหทยวัตถุ ​ วิญญาณซึ่งอาศัยหทยวัตถุ ​ (ท่า) ​ ที่เหลืออยู่ในขณะนั้น ​ ก็ปรารภเอาในครุกรรม ​ (กรรมหนัก) ​ สมาเสวิตกกรรม ​ (กรรมที่ทำเนื่อง ๆ)  อาสันนกรรม ​ (กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย) ​ ปุพเพกตกรรม ​ (กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน) ​ อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ซึ่งได้แก่สังขารอันได้ปัจจัยที่เหลือ ​ (มีอวิชชาเป็นต้น ​ แล้วหรือปรารภเอา) ​ วิสัย ​ (คือวรรณรูปารมณ์) ​ ซึ่งได้แก่กรรมนิมิต ​ คตินิมิตอันเข้าไปปรากฏแก่วิญญาณนั้นเป็นไปตัณหาในวิสัยนั้นอันมีโทษที่อวิชชาปกปิดไว้ ​ เพราะยังละตัณหาอวิชชาไม่ได้ ​ ก็ชักเอาวิญญาณที่เป็นไปอยู่อย่างนี้นั้นไป ​ สังขาร ​ (คือเจตนา) ​ ที่เกิดร่วมกันก็ ​ (ช่วย) ​ ชัด ​ (วิญญาณนั้น) ​ ไปวิญญาณที่ถูกตัณหาซัดไป ​ ถูกสังขารทั้งหลายซัดไปด้วยอำนาจแห่งสันตติอยู่นั้น ​ ก็ละทิ้งที่อาศัย ​ (คือหทัยวัตถุ) ​ เดิมด้วย ​ ไดที่อาศัยใหม่อันกรรมสร้างขึ้นบ้าง ​ ไม่ได้บ้าง ​ เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นเท่านั้นด้วย ​ ดุจคนหน่วงเชือกซึ่งผูกต้นไม้ที่ฝั่งในไว้ข้ามคลองไปฉะนั้นแล 
- 
-ก็แล ​ ในวิญญาณที่เป็นไปนี้ ​ วิญญาณดวงก่อนเรียกว่าจุติวิญญาณเพราะเคลื่อนไปดวงหลังเรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณ ​ เพราะสืบต่อมาแต่เบื้องต้นแห่งภพอื่น ​ อันว่าวิญญาณนี้นั้น ​ บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า ​ มันมา ​ ณ   ​ภพนี้จากภพก่อนหามิได้ ​ อีกทั้งเว้นเหตุมีกรรม ​ สังขารตัณหาผู้ซักและวิสัยเป็นต้นจากภพก่อนนั้นเสีย ​ มันก็ปรากฏมีขึ้นหาได้ไม่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 185)''</​fs></​sub>​ 
- 
-{{Anchor|อุปมาเทียบเคียงจุติปฏิสนธิ}} 
-'''​อุปมาเทียบเคียงจุติปฏิสนธิ'''​ 
- 
-ธรรมทั้งหลายมีเสียงสะท้อนเป็นต้น ​ พึงเป็น 
- 
-อุปมาในข้อนี้ได้ ​ อนึ่ง ​ เพราะความเนื่องกันในสันดาน 
- 
-(คือการสืบต่อ) ​ ความเป็นอันเดียวกันจึงไม่มี ​ ทั้งความ 
- 
-ต่างกันก็ไม่มีด้วย 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-แท้จริง ​ ธรรมทั้งหลายมีประการคือเสียงสะท้อน ​ ประทีป ​ ตราและรูปสะท้อน ​ (คือเงา) ​ พึงเป็นอุปมาในข้อนี้ ​ คือ ​ 
- 
-ในความที่วิญญาณภพก่อนมิได้มายังภพนี้ ​   และในความเกิดขึ้นด้วยเหตุที่เนื่องมาแต่ภพอดีตแห่งวิญญาณนั้น ​ เหมือนอย่างว่าเสียงสะท้อน ​ ประทีป ​ ตรา ​ และเงาย่อมมีเสียงเป็นต้นเป็นเหตุจึงมี ​ เว้นเสียงเป็นต้นเสีย ​ ก็หาไปมิได้ฉันใด ​ จิตนี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ อนึ่ง ​ ในข้อนี้ ​ เพราะเนื่องในความสันดาน ​ (คือการสืบต่อ) ​ ความเป็นอันเดียวกันจึงไม่มี ​ ทั้งความต่างกันก็ไม่มีด้วย ​ จริงอยู่ ​ ผิว่าความเนื่องกันในสันดาน ​ (คือการสืบต่อ) ​   ความเป็นอันเดียวกันจึงมี ​ ทั้งความต่างกันก็ไม่มี ด้วย ​ จริงอยู่ ​ ผิว่าเมื่อความเนื่องกันในสันดาน ​ (คือการสืบต่อ) ​ มีอยู่ ​ ความเป็นอันเดียวกันอย่างเด็ดขาดจะพึงมีไซร้ ​ นมส้มก็ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดมาแต่นมสดนะซิ ​ แม้ความต่างกันอย่างเด็ดขาดจะพึงมีเล่า ​ นมส้มก็ไม่ใช่เป็นสิ่งอาศัยนมสดนะซิ 
- 
-นัยการประกอบความในสิ่งที่เป็นเหตุและที่เกิดแต่เหตุ ​ (คือผล) ​ ทั้งปวง ​ ก็นัยนี้ ​ เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ​ (คือเมื่อถือว่าเหตุกับผลเป็นอันเดียวกันหรือต่างกันเป็นคนละอันเด็ดขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นนั้น) ​ การลบล้างโวหารของโลกทั้งปวงก็จะมีขึ้น ​ แต่การลบล้างโวหารของโลกนั้น ​ บัณฑิตไม่ปรารถนา ​ เพราะเหตุนั้น ​ ความเป็นอันเดียวกันหรือว่าความต่างกันเด็ดขาดในสิ่งที่เป็นเหตุและผลอันเนื่องกันในสันดานทั้งหลายนี่ ​ บัณฑิตจึงไม่ควรข้องแวะ ​ (คืออย่าใส่ใจ) ​ แล 
- 
-'''​คำท้วง ​ '''​ 
- 
-ในข้อนี้ ​ (มี) ​ โจทกาจารย์ ​ (ผู้ท้วง) ​ กล่าวว่า ​ "​เมื่อเป็นความปรากฏ ​ (เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ) ​ โดยมิได้เลื่อนมา ​ (แต่ภพก่อน) ​ อย่างนั้น ​ เพราะขันธ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 186)''</​fs></​sub>​ 
- 
-และเพราะกรรมที่เป็นปัจจัยแห่งผลไม่ไปในที่เกิดขึ้นแห่งผลนั้น ​ ผลนั้นก็มิ ​ (ไป) ​ มีแก่ผู้อื่นและแต่กรรมอื่นหรือ ​ อนึ่ง ​ เมื่อผู้เสวย ​ (ผล) ​ ไม่มี ​ ผลนั้นก็พึงมีแก่ใครเล่า ​ เพราะเหตุนั้นวิธาน ​ (คือกฏเกณฑ์) ​ อันนี้ไม่ดีดอก"​ 
- 
-ในคำท้วงนั้น ​ ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไปนี้  ​ 
- 
-'''​สันดาน'''​ 
- 
-ผล ​ (แห่งกรรม) ​ ที่มีในสันดาน ​ (คือการสืบต่อกันอัน 
- 
-หนึ่ง) ​ หา ​ (ไป) ​ มีแก่ผู้อื่นไม่ ​ และหามีแต่กรรมอื่นไม่ 
- 
-อภิสังขาร ​ (สภาพที่ปรุงแต่ง) ​ แห่งพืชทั้งหลาย ​ เป็น 
- 
-สาธกแห่งความข้อนี้ได้ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-แท้จริง ​ ผล ​ (แห่งกรรม) ​ เมื่อเกิดขึ้นในสันดานอันหนึ่ง ​ (ถึงแม้) ​ เพราะความเป็นอันเดียวกันและความต่างกันเด็ดขาดอันหนึ่งนั้นปฏิสนธิ ​ ก็หา ​ (กลาย) ​ เป็นว่า ​ (ไป) ​ เกิดแก่ผู้อื่น ​ หรือเป็นว่าเกิดแต่กรรมอื่น ​ (ไป) ​ ไม่ ​ ก็อภิสังขาร ​ (สภาพที่ปรุงแต่ง) ​ แห่งพืชทั้งหลายเป็นสาธกความแห่งคำนี้ได้ ​ จริงอยู่ ​ เมื่ออภิสังขารทั้งหลายแห่งพืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้น ​ อันธรรมชาติทำให้แล้ว ​ ผลต่าง ๆ  เมื่อเกิดขึ้นในกาลอื่น ​ (ภายหลัง) ​ เพราะได้ปัจจัยในสันดานแห่งพืชนั้น ​ ก็หาเกิดขึ้นแก่พืชอื่น ๆ ไม่ ​ ทั้งหาใช่เกิดเพราะปัจจัยคืออภิสังขารอื่นไม่ ​ แต่ว่าพืชเหล่านั้นหรืออภิสังขารทั้งหลาย ​ ก็หา ​ (ไป) ​ ถึงที่เกิดผลไม่ ​ ข้ออุปไมยบัณฑิตก็พึงทราบฉันนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ ความข้อนี้พึงทราบแม้โดยวิทยา ​ ศิลปะ ​ และโอสถเป็นต้นที่บุคคลป้อนเข้าไปในสรีระของเด็กแล้ว (ในอดีต) ​ ให้ผลในสรีระที่เติบโตขึ้นเป็นต้น ​ ในกาลภายหลัง ​ ก็ได้ 
- 
-แม้คำใดที่โจทกาจารย์กล่าวว่า ​ "​อนึ่ง ​ เมื่อผู้เสวย ​ (ผล) ​ ไม่มี ​ ผลนั้นจะพึงมีแก่ใครเล่า" ​ ดังนี้ ​ ข้าพเจ้าจะเฉลยในคำนั้น ​ (ต่อไป) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 187)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ผู้เสวย'''​ 
- 
-  สมมติว่า ​ "​มีผู้เสวย" ​ ที่บัญญัติขึ้นโดยอาศัยความเกิดขึ้นแห่งผล ​ อุปมาเหมือนสมมติว่า "​ต้นไม้ให้ผล" ​ ที่บัญญัติขึ้นโดยอาศัยความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ฉะนี้ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-อุปมาดั่งที่เรียกว่า "​ต้นไม้ให้ผลอยู่"​ หรือ "​ต้นไม้ให้ผลแล้ว" ​ ก็บัญญัติขึ้นอาศัยความเกิดขึ้นแห่งผล ซึ่งผลนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมทั้งหลายที่สมมติเรียกกันว่า "​ต้นไม้"​ นั่นเอง ฉันใด,​ อุปไมยก็ฉันนั้น จะเรียกว่า ​ "​เทวดาหรือมนุษย์เสวย(วิบากเวทนา)"​ หรือ "​เทวดาหรือมนุษย์มีความสุข"​ หรือ "​เทวดาหรือมนุษย์มีความทุกข์" ​ ทั้งหมดล้วนแต่บัญญัติโดยอาศัยความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขทุกข์ที่เข้าไปเสวย(อารมณ์) ซึ่งเวทนาขันธ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลายที่สมมติเรียกว่า "​เทวดาและมนุษย์"​ นั่นเอง 
- 
-เพราะเหตุนั้น ในเรื่อง "​ผู้เสวย"​ นี้ จึงไม่มีสภาวะใดเลย ที่จะได้ชื่อว่า "​ผู้เสวยอื่น"​ (นอกจากเวทนาขันธ์). 
- 
-แม้โจทกาจารย์ผู้ใดกล่าวว่า ​ "​ก็ถ้าสมมุติว่าผู้เสวยแท้จริงเป็นเพียงเวทนาขันธ์ (ปรมัตถะ) อย่างนั้น ​ สังขารเหล่านั้น ​ เมื่อกำลังมีอยู่ (วิชชมานะ) จึงเป็นปัจจัยแห่งผลหรือ? ​ หรือว่าไม่ได้กำลังมีอยู่ (อวิชชมานะ) ก็เป็นปัจจัยแห่งผลได้เล่า? ​ ก็ถ้ากำลังมีอยู่จึงเป็นปัจจัยได้ไซร้ ​ วิบากของมันก็จะพึงมีแต่ในปวัตติขณะ ​ (คือในขณะที่สังขารเป็นไปอยู่) ​ เท่านั้น? ​ ถ้าแม้นไม่จำเป็นต้องกำลังมีอยู่มันก็เป็นปัจจัยได้เล่า ​ มันก็จะพึงนำผลมาให้ได้เป็นนิตย์ไป ​ ทั้งในขณะก่อนปวัตติ ​ (คือในขณะทำกรรม) ​ ทั้งภายหลังปวัตติ ​ (คือเมื่อให้ผลสำเร็จแล้ว) ​ ละซิ?" ​ ดังนี้ ​ โจทกาจารย์ผู้นั้นพึงได้รับเฉลยดังนี้  ​ 
- 
- ​เพราะความที่ได้ให้ผลแล้ว สังขารทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่าเป็น เป็นปัจจัย ​ (แห่งผล), ​ แต่สังขารนั้นไม่ได้นำผลมาให้เป็นนิตย์  ​ 
- 
- ​กิริยามีการรับประกันเป็นต้น ​ พึงทราบว่า ​ เป็นอุปมาในข้อนั้นได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 188)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
- 
-แท้จริง ​ สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแห่งผลของตน เพราะเคยทำกรรมไว้แล้วเท่านั้น,​ สังขารไม่ได้เป็นปัจจัยแห่งผลของตน เพียงเพราะมันกำลังมีอยู่หรือมันไม่ได้กำลังมีอยู่ ​ ดังบาลีว่า ​ "​เพราะกามาวจรกุสลกรรมเคยทำไว้แล้ว เคยสั่งสมไว้แล้ว วิบากจักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นได้"​ ดังนี้เป็นต้น. ​ และเมื่อสังขารเป็นปัจจัยแห่งผลของตนตามสมควรแล้ว ก็จะไม่เป็นปัจจัยนำผลมาให้อีก เพราะเป็นวิบากชาติ. พึงทราบกิริยามีการรับประกันเป็นต้นไว้เป็นอุปมาในการอธิบายความข้อนั้นดังนี้ ​ เหมือนอย่างทางโลก ​ คนผู้ใดรับสิ่งของมาเพื่อประกันสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ หรือรับของแลกเปลี่ยนมา หรือรับเงินกู้มาก็ตาม ​ ก็เพียงแต่การทำกิริยา(รับประกัน,​รับของแลกเปลี่ยน,​รับเงินกู้)นั้นแห่งคนผู้นั้นเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยในคืนเบี้ยประกัน ​ เป็นต้น (ในการให้ของแลกกลับ,​ในการคืนเงินต้น) ​ ไม่เกี่ยวกับว่าจะกำลังทำกิริยาอยู่ หรือ ไม่ได้ทำกิริยาอยู่ ​ และเขาก็ไม่ใช่คนที่ต้องคืนเบี้ยประกัน ​ เป็นต้น (ให้ของแลกกลับ,​คืนเงินต้น) หลังจากเขาคืนเบี้ยประกัน ​ เป็นต้น ไปแล้วด้วย ​  ​เพราะอะไร ​ เพราะการคืนเบี้ยประกัน เป็นต้น ​ เขาได้ทำไปแล้ว ฉันใด, ​  ​แม้สังขารทั้งหลายก็เป็นปัจจัยแห่งผลของตน ​ เพราะเคยทำกรรมไว้แล้วเท่านั้น ​ และหลังจากให้ผลตามควรไปแล้ว มันก็ไม่เป็นปัจจัยนำผลมาให้อีกต่อไป ​ ฉันนั้นแล 
- 
-ความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณอันเป็นไปทั้งสองส่วน ​ โดยเป็นวิญญาณผสมและไม่ผสม ​ เพราะปัจจัยคือสังขารเป็นอันแสดงแล้วด้วยนิทเทสกถาเพียงเท่านี้ 
- 
-บัดนี้ ​ เพื่อกำจัดเสียซึ่งความเลือนหลงในวิปากวิญญาณ 32  ทั้งหมดนั่น 
- 
-บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารทั้งหลายนั่น ​ (ว่า) ​ เป็น 
- 
-ปัจจัยแห่งวิปากวิญญาณเหล่าไรและอย่างไร ​ ในแหล่ง 
- 
-เกิดทั้งหลายมีภพเป็นต้น ​ ด้วยอำนาจ ​ (คือหลักบังคับ)  ​ 
- 
-แห่งปฏิสนธิและปวัตติ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความในคาถานั้นว่า ​ แหล่งเกิดเหล่านี้คือ ​ ภพ 3  กำเนิด 4  คติ 5  วิญญาณฐิติ 7  สัตตาวาส 9  ชื่อว่าแหล่งเกิดภพเป็นต้น ​ สังขารทั้งหลายนั้น ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งวิปากวิญญาณ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 189)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เหล่าไรใน ​ (ตอน) ​ ปฏิสนธิและปวัตติกาล ​ ในแหล่งเกิดทั้งหลายมีภพเป็นต้นเหล่านั้น ​ แลมันเป็นปัจจัยด้วยประการใด ​ บัณฑิตพึงทราบด้วยประการนั้นเถิด 
- 
-'''​พรรณนาความ'''​ 
- 
-ในสังขารทั้งหลายนั้น ​ พรรณนาปุญญาภิสังขารก่อน 
- 
-ปุญญาภิสังขารประเภท ​ (กุศล) ​ เจตนา 8  ฝ่ายกามาวจร ​ (ว่า) ​ โดยไม่แยก ​ (ประเภท) ​ กัน ​ ย่อมเป็นปัจจัยโดยส่วนสอง ​ คือโดยเป็นกรรมปัจจัยในขณะต่าง ๆ  ด้วย ​ โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยด้วย ​ แห่งวิปากวิญญาณ 9  ในสุคติกามภพ ​ ในปฏิสนธิ ​ (กาล) ​ ปุญญาภิสังขารประเภทกุศลเจตนา 5  ฝ่ายรูปาวจร ​ เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณ 5  แม้ในรูปภพเฉพาะในปฏิสนธิ ​ อนึ่ง ​ ปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจรมีประเภทดังกล่าว ​ เป็นปัจจัยโดยส่วนสองตามนัยที่กล่าวนั่นแล ​ แห่งวิปากวิญญาณกามภูมิ 7  เว้นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตกับอุเบกขาในสุคติกามภพในปวัตติกาลไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิ ​ ปุญญาภิสังขารประเภทที่กล่าวนั้นแหละเป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นเหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณ 5  ในรูปภพ ​ ในปวัตติกาล ​ ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิ  ​ 
- 
-ส่วนในทุคติกามภพ ​ ปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจรที่กล่าวนั้นเป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นเหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณกามภูมิทั้ง 8  ในปวัตติกาลได้ ​ (แต่) ​ ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิ ​ ในทุคติกามภพนั้นในนรก ​ ปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจรนั้นก็เป็นปัจจัยในการประสบ อิฏฐารมณ์ได้ในคราวต่าง ๆเช่นคราวจาริก ​ (เยี่ยม) ​ นรกในพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ​ อนึ่ง ​ อิฏฐารมณ์ย่อมมีได้ในพวกสัตว์ดิรัจฉานและในพวกเปรตที่มีฤทธ์มากด้วยเหมือนกัน ​ ปุญญาภิสังขารฝ่ายกามาวจรนั้นแหละเป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นเหมือนกันแห่งวิญญาณ ​ ที่เป็นกุศลวิบากทั้ง 16  ในสุคติกามภพ ​ ทั้งในปวัตติกาลทั้งในปฏิสนธิ ​ แต่ ​ (ว่า) ​ โดยไม่แยกกัน ​ (คือรวมกามาวจรและรูปาวจรเข้าด้วยกัน) ​ ปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นเหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณ 10  ในรูปภพทั้งในปวัตติกาลและในปฏิสนธิด้วย 
- 
-อปุญญาภิสังขารประเภทอกุศลเจตนา 12  เป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นนั่นแลแห่งวิญญาณดวง 1  (คือปฏิสนธิวิญญาณ) ​ ในทุคติกามภพ ​ ในปฏิสนธิไม่เป็นไปในปวัตติกาล ​ เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 190)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปัจจัยแก่อกุศลวิปากวิญญาณ 6  ในปวัตติกาล ​ ไม่เป็นปฏสนธิ ​ เป็นปัจจัยแก่อกุศลวิปากวิญญาณทั้ง 7  ทั้งในปวัตตกาลและในปฏิสนธิ ​ ส่วนในสุคติกามภพ ​ อปุญญาภิสังขารก็เป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั่นแหละแก่อกุศลวิปากวิญญาณทั้ง 7  นั้นเป็นปวัตติกาลได้เหมือนกัน ​ (แต่) ​ ไม่เป็นในปฏิสนธิ ​ ในรูปภพมันก็เป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั่นแหละ ​ แห่งวิปากวิญญาณ 4  ในปวัตติกาล ​ (แต่) ​ ไม่เป็นปฏิสนธิ ​ ก็ว่าความที่อปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยในรูปภพนั้น ​ เป็นโดยเห็นรูปที่ไม่น่าปรารถภนาและได้ยินเสียงที่ไม่น่าปรารถนาในกามาวจรภพ แ เพราะว่าในพรหมโลก ​ อันสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งหลายมารูปที่ไม่น่าปรารถนาเป็นต้นหามีไม่ ​ แม้ในกามาวจรเทวโลกก็อย่างนั้น 
- 
-ส่วนในอเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัยโดยส่วนสองอย่างนั้นเหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณ 4  ในอรูปภพ ​ ทั้งในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล 
- 
-สังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด ​ ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิและปวัตติในภพทั้งหลาย ​ และมันเป็นปัจจัยด้วยประการใด ​ พึงทราบด้วยประการนั้นดังกล่าวมาฉะนี้ก่อน  ​ 
- 
-แม้ในกำเนิดเป็นต้น ​ ก็พึงทราบโดยนัยนั้นเหมือนกัน ​ (ต่อไป) ​ นี้เป็นคำชี้แจงข้อสำคัญในกำเนิดเป็นต้นนั้นต่อไป 
- 
-ก็เพราะว่าสังขารทั้งหลายนั้น ​ อันดับแรก ​ ปุญญาภิสังขารให้ปฏิสนธิในภพ 2  (คือกามภพและรูปภพ) ​ แล้วยังวิบากของตนให้เกิด ​ (อย่างใด) ​ ก็ปฏิสนธิในกำเนิด 4  มีอัณฑชะเป็นต้น ​ ในคติ 2  กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ ​ ในวิญญาณฐิติ 4  ได้แก่นานัตตกายนานัตตสัญญี ​ (สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน ​ มีสัญญาต่างกัน) ​ นานัตตกายเอกัตตสัญญี ​ (สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกันมีแต่สัญญาอย่างเดียวกัน) ​ เอกัตตกายนานัตสัญญี ​ (สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันแต่มีสัญญาต่างกัน) ​ เอกัตตกายเอกัตตสัญญี ​ (สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน) ​ และในสัตตาวาสเพียง 4  เพราะในอสัญญีสัตตาวาสปุญญาภิสังขารนั้นปรุงแต่งแต่รูปอย่างเดียวเท่านั้น ​ แล้วยังวิบากของตนทั้งปวงให้เกิดอย่างเดียวกันนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ปุญญาภิสังขารนั้นจึงเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้ว ​ (คือเป็นนานาขณิกกัมมปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย) ​ นั่นแลแห่งวิปากวิญญาณ 21  ในภพ 2  กำเนิด 4  คติ 2  วิญญาณฐิติ 4  และสัตตาวาส 4  เหล่านั้น ​ ทั้งในปฏิสนธิและในปวัตติกาลตามที่มันเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 191)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนอปุญญาภิสังขารให้ผลโดย ​ (ให้) ​ ปฏิสนธิในกามภพ ​ ภพเดียวกันเท่านั้น ​ ในกำเนิด 4  นอกนั้นก็ในคติ 3  ในวิญญาณฐิติเดียว ​ คืออานัตตกายเอกัตตสัญญี ​ และในสัตตาวาสก็เช่นนั้นเหมือนกัน ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ อปุญญาภิสังขารนั่นจึงเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณ 7  ในภพเดียว ​ ในกำเนิด 4  ในคติ 3  ในวิญญาณฐิติเดียว ​ และในสัตตาวาสเดียว ​ ทั้งในปฏิสนธิและในปวัตติกาล 
- 
-ส่วนอเนญชาภิสังขารให้ผลโดย ​ (ให้) ​ ปฏิสนธิในอรูปภพ ​ ภพเดียวเท่านั้น ​ ในกำเนิดโอปปาติกะกำเนิดเดียว ​ ในเทวคติคติเดียว ​ ในวิญญาณฐิติ 3  มีชั้นอากาสานัญจายตนะเป็นต้น ​ เหตุใด ​ เพราะเหตุนั้น ​ อเนญชาภิสังขารนั่นจึงเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกันแห่งวิญญาณ 4  ในภพเดียว ​ กำเนิดเดียว ​ คติเดียว ​ วิญญาณิติ 3  สัตตาวาส 4  ทั้งในปฏิสนธิและในปวัตติกาลแล 
- 
-บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารทั้งหลายนั่น ​ (ว่า) ​ เป็น 
- 
-ปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าไรและอย่างไร ​ ในแหล่ง 
- 
-เกิดทั้งหลาย ​ มีภพเป็นต้น ​ ด้วยอำนาจ ​ (คือหลักบังคับ) 
- 
-แห่งปฏิสนธิและปวัตติโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เทอญ 
- 
-''​นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ สงขารปจจยา ​ วิญญาณํ''​ 
- 
-==วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป== 
- 
-ในบทว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ บัณฑิตพึง 
- 
-ทราบวินิจฉัย ​ โดยวิภาคแห่งรูปนามทั้งหลาย ​ โดยความ 
- 
-เป็นไป ​ (แห่งนามรูป) ​ ในแหล่งทั้งหลายมีภพเป็นต้น 
- 
-โดยสงเคราะห์ ​ (ย่อเข้า) ​ โดยปัจจยนัย 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยวิภาค'''​ 
- 
-ก็ในข้อว่า ​ "​โดยวิภาคแห่งนามรูปทั้งหลาย" ​ นั้น ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ขันธ์ 3  มีเวทนาเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ นาม ​ เพราะน้อมไปมุ่งหน้าต่ออารมณ์ ​ มหาภูต 4  และอุปาทายรูป ​ (รูปอาศัย) ​ แห่งมหาภูต 4  ชื่อว่า ​ รูปวิภาค ​ (คือประเภท) ​ แห่งนามรูปทั้งหลายนั้น ​ ได้กล่าวไว้ในขันธนิทเทสแล้วแล 
- 
-วินิจฉัยในบทว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ นั้น ​ โดยวิภาคแห่งนามรูปทั้งหลาย ​ พึงทราบ ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 192)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยความเป็นไป'''​ 
- 
-ส่วนในข้อว่า ​ "​โดยความเป็นไป ​ (แห่งนามรูป) ​ ในแหล่งทั้งหลายมีภพเป็นต้น" ​ นี้มีวินิจฉัยว่า ​ นาม ​ ย่อมเป็นไปในภพกำเนิด ​ คติ ​ วิญญาณฐิติทั้งปวงและในสัตตาวาสที่เหลือเว้นสัตตาวาสหนึ่ง ​ (คืออสัญญสัตตาวาส) ​ รูป ​ ย่อมเป็นไปในภพ 2  กำเนิด 4  ในคติ 5  ในวิญญาณฐิติ 4  ข้างต้น ​ ในสัตตาวาส 5  ข้างต้น ​ (รวมอสัญญสัตตาวาสด้วย) ​ ก็แลเมื่อนามรูปนั่นเป็นไปอยู่อย่างนั้น ​ เหตุที่ในปฏิสนธิขณะแห่งเหล่าสัตว์คัพภไสยกะกำเนิดที่ยังไม่แสดงภาวะ ​ (เพศ) ​ และแห่งเหล่าสัตว์อัณฑชะกำเนิดที่ยังไม่แสดงภาวะ ​ สันตติสีสะ ​ (คือรูปกลาปซึ่งเป็นต้นเป็นมูลแห่งการสืบต่อ) 2  โดยเป็นรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุทสกะ ​ (หมวดรูป 10  ทั้งหทัย) ​ และกายทสกะ ​ (หมวดรูป 10  ทั้งกายประสาท) ​ กับอรูปขันธ์ 3  ย่อมเกิดปรากฏขึ้นเหตุนั้น ​ โดยกระจายรูปเหล่านั้นออกไป ​ (ก็) ​ ธรรม 23  คือ ​ (รูป) ​ ธรรม 20  โดยเป็นรูปรูป ​ (คือรูปที่สำเร็จแล้ว) ​ กับอรูปขันธ์ 3  นั่น ​ (แหละ) ​ บัณฑิตพึงทราบว่าชื่อว่า ​ นามรูป ​ เกิดมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ ​ แต่โดยถือเอาแต่รูปที่ยังไม่ได้ถือ ​ (คือถือเอาแต่ที่ไม่ซ้ำกัน) ​ ชักรูปธรรม 9  จากสันตติสีสะหนึ่งออกเสียก็ ​ (เหลือ) 14  เพิ่มภาวทสกะ ​ (หมวดรูป 10  ทั้งภาวะ) ​ สำหรับสัตว์ที่มีภาวะ ​ (แล้ว) ​ เข้าก็เป็น 33  หนึ่ง ​ โดยถือเอาแต่ที่ยังไม่ถือเอา ​ ชักรูปธรรม 18  จากสันตติสีสะ 2    หมวดออกเสียอีกก็ (เหลือ) ​ 15  (ชื่อว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ สำหรับสัตว์ 2  กำเนิดนั้น) 
- 
-ส่วนในเหล่าสัตว์โอปปาติกะกำเนิด ​ เหตุที่ในปฏิสนธิขณะแห่งรูปพรหมมีจำพวกพรหมกายิกะเป็นต้น ​ สันตติสีสะ 4  โดยเป็นรูปด้วยอำนาจแห่งจักขุทสกะ ​ โสตทสกะ ​ วัตถุทสกะและชิวิตินทรียนวกะอรูปขันธ์ 3  ย่อมปรากฏ ​ เหตุนั้น ​ โดยกระจายรูปของรูปพรหมเหล่านั้นออกไป ​ (ก็) ​ ธรรม 42  คือ ​ (รูป) ​ ธรรม 39  โดยเป็นรูปรูป ​ กับอรูปขันธ์ 3  นั่นบัณฑิตพึงทราบว่า ​ ชื่อว่า ​ นามรูป ​ อันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ ​ แต่โดยถือเอาที่ยังไม่ได้ถือเอา ​ ชัก ​ (รูป) ​ ธรรม 27  (ที่ซ้ำกัน) ​ จากสันตติสีสะ 3  หมวดออกเสีย ​ ก็ ​ (เหลือ) ​ 15  ​ 
- 
-ส่วนในกามภพ ​ เหตุที่ในปฏิสนธิขณะแห่งเหล่าสัตว์โอปปาติกะกำเนิดที่เหลือก็ดี ​ แห่งเหล่าสัตว์สังเสทชะกำเนิดก็ดี ​ ที่มีภาวะและอายตนะครบ ​ สันตติสีสะ 7  โดยเป็นรูปและอรูปขันธ์ 3  ย่อมปรากฏ ​ เหตุนั้น ​ โดยกระจายรูปเหล่านั้นออกไป ​ (ก็) ​ ธรรม73 ​ คือ ​ (รูป) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 193)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธรรม 70  โดยเป็นรูปรูปกับอรูปขันธ์ 3  นั่นเป็นบัณฑิตพึงทราบว่า ​ ชื่อว่า ​ นามรูป ​ อันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ ​ แต่โดยถือเอาแต่ที่ยังไม่ได้ถือเอาชัก ​ (รูป) ​ ธรรม 54  (ที่ซ้ำกัน) ​ จากรูปสันตติสีสะ 6  หมวดออกเสีย ​ ก็ ​ (เหลือ) ​ 19  นี่เป็นการนับอย่างสูง ​ ส่วนอย่างต่ำ ​ การนับนามรูปอันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณในปฏิสนธิแห่งเหล่าสัตว์ผู้มีรูปสันตติสีสะนั้น ๆ  วิกล ​ (บกพร่อง) ​ ก็พึงทราบโดยลดย่นลงบ้าง ​ ขยายออกบ้าง ​ ตามเกณฑ์ของสันตติสีสะนั้น ๆเถิด 
- 
-ส่วนในปฏิสนธิแห่งอรูปพรหมทั้งหลาย ​ ก็ปรากฏแต่อรูปขันธ์ 3  (ไม่มีรูป) ​ ในปฏิสนธิแห่งเหล่าอสัญญีพรหม ​ ปรากฏแต่ชีวิตินทรียนวกะเป็นรูปเท่านั้นแล ​ นี่เป็นนัยในปฏิสนธิก่อน 
- 
-ส่วนในปวัตติกาล ​  ​สุทธัฏฐกรูป ​ (กลุ่มรูป 8  ล้วน ​ คืออวินิพโภครูป) ​ อันมีฤดูเป็นสมุฏฐานโดยฤดู ​ (คือเตโชธาตุ) ​ ที่เป็นไปพร้อมกับปฏิสนธิจิต ​ ย่อมปรากฏขึ้นในฐิติขณะแห่งปฏิสนธิจิต ​ ในทุกแหล่งที่เป็นไปแห่งรูป ​ แต่ ​ (ตัว) ​ ปฏิสนธิจิตหายังรูปให้ตั้งขึ้นได้ไม่ ​ แท้จริงปฏิสนธิจิตนั้นไม่อาจยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ ​ เพราะเป็นจิตมีกำลังน้อย ​ เหตุที่ ​ (หทัย) ​ วัตถุ ​ (เพิ่งเกิด) ​ ยังมีกำลังอ่อน ​ เปรียบเหมือนคนตกเหวไมาสามารถเป็นที่อาศัยแห่งคนอื่นได้ฉะนั้น ​ จำเดิมแต่ภวังคจิตดวงแรกต่อแต่ปฏิสนธิจิตไป ​ สุทธัฏฐกรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงปรากฏขึ้นถึงกาลที่เสียงปรากฏ ​ (คือถึงคราวจะเกิดเสียงได้) ​ สัททนวกะ ​ (กลุ่มรูป 9  ทั้งเสียง) ​ จึงปรากฏขึ้นแต่ฤดูอันเป็นไปต่อแต่ปฏิสนธิขณะนั่นแลและแต่จิตด้วย ​ ส่วนสัตว์เหล่าใดเป็นคัพภไสยกสัตว์ ​ อาศัยกวฬิงการาหารเป็นอยู่ ​ สุทธัฏฐกรูปอันมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ ย่อมปรากฏในสรีระของสัตว์เหล่านั้น ​ ซึ่งอาหารที่มารดากลืนกินลงไป ​ ซึมซาบเข้าไป ​ ตามบาลีว่า 
- 
-"​ก็สัตว์ผู้กำบังตัวอยู่ในท้องมารดา ​ มารดา 
- 
-ของเขา ​ บริโภคโภชนะอันใด ​ เป็นข้าวก็ดี ​ น้ำก็ดี ​ (ลงไป) 
- 
-เขายังชีพให้เป็นไปในท้องมารดานั้นด้วยโภชนะนั้น" ​ ดังนี้ 
- 
-สำหรับโอปาติกะสัตว์ทั้งหลาย ​ สุทธัฏฐกรูปอันมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ ย่อมปรากฏในกาลที่กลืนเขฬะที่อยู่ในปากของตนไปเป็นครั้งแรก ​ เพราะฉะนั้น ​ โดยรวมกันเข้า ​ ธรรม 99  คือรูป ​ 96  อย่างได้แก่ ​ รูป 26  ด้วยอำนาจแห่งสุทธัฏฐกรูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ (8)  และแห่งนวกรูป 2  อย่างสูง ​ อันมีฤดูและจิตเป็นสมุฏฐาน ​ (18)  และรูป 70  อย่างที่มีกรรมเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 194)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สมฏฐาน ​ อันเกิดขึ้น 3  วาระในขณะจิตหนึ่ง ๆ  ซึ่งกล่าวมาก่อนแล้วกับอรูปขันธ์ 3  (รวมเป็น 99)  หรือว่าเหตุที่เสียงเป็นสิ่งไม่แน่นอน ​ เพราะปรากฏในบางคราวเท่านั้น ​ เหตุนั้นชักเสียงทั้ง 2  อย่าง ​ (คือที่เป็นอุตุสมุฏฐานและจิตตสมุฏฐาน) ​ นั้นออกเสีย ​ ธรรมจำนวนนี้ก็เป็น 97  บัณฑิตพึงทราบว่า ​ ชื่อว่า ​ นามรูป ​ อันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณแห่งสัตว์ทั้งปวงตามที่มันเป็น ​ ด้วยว่าเมื่อสัตว์สังขารเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณทั้งปวงนั้น ​ แม้หลับไป ​ แม้มัวเมา ​ แม้กินอยู่ ​ แม้ดื่มอยู่ ​ ธรรมอันมีวิญญาณเป็นปัจจัยเหล่นั้นก็คงเป็นไปทั้งกลางวันและกลางคืน ​ ก็แลความที่ธรรมเหล่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัยนั้น ​ ข้าพเจ้าทั้งหลายจักพรรณนาข้างหน้า 
- 
-ส่วนว่ามนรูปเหล่านั้น ​ กัมมชรูป ​ (รูปเกิดแก่กรรม ​ มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) ​ นั้นใดกัมมชรูปนั้นแม้ตั้งขึ้นก่อนเพื่อนในภพ ​ กำเนิด ​ คติ ​ (วิญญาณ) ​ ฐิติ ​ และสัตตาวาสทั้งหลาย ​ (แต่หาก) ​ รูป 3  สมุฏฐาน ​ (คือ ​ ฤดู ​ จิต ​ อาหาร) ​ ไม่ช่วยอุปถัมภ์แล้ว ​ ก็หาอาจตั้งอยู่ทนไม่ ​ แม้รูป 3  สมฏฐานเล่า ​ (หาก) ​ กัมชรูปนั้นไม่อุปถัมภ์ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน ​ (เหมือนกัน) ​ ที่แท้นั้นรูปทั้ง 4  สมุฏฐานนั้นต่างอุปถัมภ์กันและกันไว้นั่นแล ​ จึงไม่ตกไปเสีย ​ ตั้งอยู่ได้ปี 1  ก็มี 2  ปีก็มี ​ ฯลฯ ​ ถึง 100  ปีก็มี ​ เป็นไปตราบเท่าสิ้นอายุหรือสิ้นบุญแห่งสัตว์เหล่านั้น ​ ดังกลุ่มไม้อ้อ ​ ที่รากยึดไว้ทั้ง 4  ทิศ ​ แม้ถูกลมตีก็ตั้งอยู่ได้ ​ และดังพวกคนเรือแตกที่ได้ที่พึ่งที่ไหนสักแห่งในมหาสมุทรแล้ว ​ แม้ถูกกำลังคลื่นตีก็ทรงอยู่ได้ฉะนั้นแล 
- 
-การวินิจฉัยในบท ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ นี้ ​ โดยความเป็นไปในแหล่งทั้งหลายมีภพเป็นต้น ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ประการหนึ่ง 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยสงเคราะห์'''​ 
- 
-ส่วนในข้อ ​ "​โดยสงเคราะห์" ​ นั้นมีวินิจฉัยว่า ​ นามอันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณอย่างเดียว ​ ทั้งในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล ​ ในอรูปภพ ​ และ ​ (เฉพาะ) ​ ในปวัตติกาล ​ ในปัญจโวการภพอันใดก็ดี ​ รูปอันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณอย่างเดียวในทุกกาลในพวกอสัญญสัตว์และ ​ (เฉพาะ) ​ ในปวัตติกาลในปัญจโวการภพอันใดก็ดี ​ นามและรูปทั้งปวงนั้น ​ บัณฑิตพึงสงเคราะห์เข้าโดยเอกเทสสรูเปกเสสนัย ​ (นัยที่แสดงโดยการคงศัพท์ที่มีรูปเหมือนกันเพียงบางส่วนให้เหลือไว้เพียงศัพท์เดียว) ​ ดังนี้ว่า ​ "​นามด้วย ​ รูปด้วย ​ ทั้งนามและรูปด้วย ​ ชื่อว่า ​ นามรูป" ​ แล้วพึงทราบเถิดว่า ​ นามรูปนั้นชื่อว่านามรูปอันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 195)''</​fs></​sub>​ 
- 
-หากมีคำท้วงว่า ​ "​คำวินิจฉัยนี้ไม่ชอบ ​ เพราะในพวกอสัญยสัตว์ ​ ไม่มีวิญญาณ" ​ ดังนี้ไซร้ ​ คำแก้พึงมีว่า ​ "​ไม่ชอบหามิได้ ​ (เพราะเหตุดังต่อไปนี้) 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-วิญญาณทีเป็นเหตุแห่งนามรูปนี้ใด ​ วิญญาณนั้น 
- 
-ปราชญ์ทราบกันว่ามี ​ 2  ส่วน ​ คือ ​ วิปากวิญญาณ 
- 
-(วิญญาณที่เป็นวิบาก ​ และเป็นอวิปากวิญญาณ ​ (วิญญาณ 
- 
-ที่ไม่ใช่วิบาก) ​ เพราะเหตุที่วิญญาณมี 2  ส่วน ​ (ดังนี้) 
- 
-คำวินิจฉัยนี้จึงชอบแท้ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ วิญญาณใดเป็นเหตุแห่งนามรูป ​ วิญญาณนั้นปราชญ์ทราบกันว่า ​ มี 2  ส่วนโดยแยกเป็นวิปากวิญญาณ ​ และอวิปากวิญญาณ ​ ในพวกอสัญญีสัตว์ ​ ก็วิญญาณนี้เองเป็นรูปอันมีเพราะปัจจัยคืออภิสังขารวิญญาณที่เป็นไปในปัญจโวการภพ ​ เพราะเป็นรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ (เช่นกัน) ​ เพราะฉะนั้น ​ คำวินิจฉัยนี้จึงชอบแล้ว 
- 
-วินิจฉัยในบทว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ นี้โดยสังเคราะห์เข้า ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ประการหนึ่ง 
- 
-'''​โดยปัจจยนัย'''​ 
- 
-ส่วนในข้อว่า ​ "​โดยปัจจนัย" ​ นั้น ​ มีวินิจฉัยว่า  ​ 
- 
-วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม 9  อย่างแห่ง 
- 
-วัตถุรูป ​ (คือ หทัย) ​ ก็ 9  อย่าง ​ แห่งรูปที่เหลือ 8  อย่าง 
- 
-อภิสังขาร – วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปอย่างเดียว ​ ส่วน 
- 
-วิญญาณ ​ นอกนั้นเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ  ตามควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 196)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ นามที่นับว่าเป็นวิบากในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาลก็ดีนั้นใด ​ วิปากวิญญาณที่เป็นไปในปฏิสนธิกาลบ้าง ​ อื่นบ้าง ​ ย่อมเป็นปัจจัย 9  อย่าง ​ โดยเป็นสหชาติปัจจัยอัญญมัญญปัจจัย ​ นิสสยปัจจัย ​ สัมปยุตตปัจจัย ​ วิปากปัจจัย ​ อาหารปัจจัย ​ อินทรียปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัยแห่งนามนั้น ​ อันผสมกับรูปหรือมิได้ผสมก็ตาม ​ เป็นปัจจัย 9  อย่าง ​ โดยเป็นสหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสยะ ​ วิปากะ ​ อาหาระ ​ อินทรียะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ แห่งรูปวัตถุในปฏิสนธิกาล ​ แต่เป็นปัจจัยโดยปัจจัยใน 9  นี้ ​ ชักอัญยมัญญปัจจัยออกเสียเหลือ 8  แห่งรูปที่เหลือเว้นวัตถุรูป ​ ส่วนอภิสังขารวิญญาณเป็นปัจจัยอย่างเดียว ​ โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ​ แห่งรูปอสัญญีสัตว์บ้าง ​ แห่งกรรมชรูปในปัญจโวการภพบ้าง ​ (ทั้งนี้) ​ โดยปริยายทางพระสูตร ​ วิญญาณที่เหลือทั้งหมดนับแต่ภวังค์ดวงแรก ​ พึงทราบว่าย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ  ตามควร ​ อันจะแสดงปัจจยนัยแห่งนามรูปนั้นโดยพิสดาร ​ ก็จำต้องขยายปัฏฐานกถาทั้งหมด ​ (คัมภีร์) ​ เพราะเหตุนี้ ​ ข้าพเจ้าจึงไม่ริวิตถารนัยนั้น 
- 
-ในความที่วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ​ หากมีคำถามว่าก็ข้อที่ว่านามรูปในปฏิสนธิย่อมมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ ​ นั่นจะพึงทราบได้อย่างไร ?  ดังนี้ ​ พึงแก้ว่า ​ "​ทราบได้โดยพระสูตรและโดยยุติ ​ (คือข้ออนุมานที่ชอบด้วยเหตุ) 
- 
-จริงอยู่ ​ ในพระสูตร ​ ความที่นามธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นมีวิญญาณเป็นปัจจัยส่วนมาก ​ เป็นอันสำเร็จได้โดยนัยในพระสูตรเช่นว่า ​ "​จิตตานุปริวตติโน ​ ธมมา ​ ธรรมทั้งหลายย่อมหมุนเวียนไปตามจิต" ​ ดังนี้เป็นอาทิ ​ ก็ว่าโดยส่วนยุติ 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแม้ที่ ​ (มอง) ​ ไม่เห็น 
- 
-ย่อมสำเร็จได้ด้วยจิตตชรูปที่ ​ (มอง) ​ เห็นได้ในโลกนี้ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ โดยนัยที่ว่า ​ "​เมื่อจิตผ่องใสหรือไม่ผ่องใส ​ รูปอันเป็นไปตามจิตนั้น ​ เมื่อเกิดขึ้นเป็นรูปที่ ​ (มอง) ​ เห็นได้ ​ และการอนุมานถึงรูปที่ ​ (มอง) ​ ไม่เห็น ​ ก็มิได้โดยรูปที่ ​ (มอง) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 197)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เห็น" ​ ดังนี้ ​ ข้อว่า ​ "​วิญญาณเป็นปัจจัยปฏิสนธิรูปที่แม้ ​ (มอง) ​  ​ไม่เห็น" ​ นั่นจึงทราบได้โดยจิตตชรูปที่ ​ (มอง) ​ เห็นได้ในโลกนี้ ​ จริงอยู่ ​ ความที่แม้รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ ก็มีวิญญาณ ​ เป็นปัจจัยได้ดังรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานมาในคัมภีร์ปัฏฐานแล 
- 
-วินิจฉัยในบทว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ ​ นี้ ​ โดยปัจจยนัย ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ประการหนึ่ง ​ แล 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ วิญญาณปจจยา ​ นามรูปํ 
- 
-==นามรูปเป็นปัจจัยแห่งสฬายตนะ== 
- 
-ในบทว่า ​ นามรูปปจจยา ​ สฬายตนํ 
- 
-นามได้แก่ขันธ์ 3   ​รูป ​ ได้แก่รูปมีภูตรูป ​ และวัตถุ – รูป 
- 
-(หทยวัตถุ) ​ เป็นต้น ​ นามรูปนั้นอันทำให้เป็นเอกเสสเช่นนั้น 
- 
-เหมือนกัน 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ นามรูปอันเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้นใด ​ ในนามรูปนั้น ​ พึงทราบว่า ​ ขันธ์ 3  มีเวทนาเป็นต้น ​ ชื่อว่านาม ​ ส่วนรูปเป็นของเนื่องด้วยสิ่งที่มีสันตติ ​ โดยเฉพาะได้แก่รูปมีภูตรูปและวัตถุรูปเป็นต้น ​ อย่างนี้คือ ​ ภูตรูป 4  วัตถุรูป 6  ชีวิตินทรียรูป ​ (1)  ก็แลนามรูปนั้นอันทำให้เป็นเอกเสสว่า ​ "​นามด้วย ​ รูปด้วย ​ ทั้งนามและรูปด้วย ​ ชื่อว่า ​ นามรูป" ​ ดังนี้ ​ พึงทราบว่า ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะอันทำให้เป็นเอกเสสเหมือนกันดังนี้ว่า ​ "​ฉัฏฐายตนะ ​ (อายตนะที่ 6)  ด้วย ​ สฬายตนะ ​ (อายตนะ 6)  ด้วย ​ ชื่อว่า ​ สฬายตนะ ​ ถามว่า ​ เพราะเหตุไร ​ (จึงทำเอกเสสอย่างนั้น) ​ ตอบว่า ​ เพราะในอรูปภพ ​ นามอย่างเดียวเป็นปัจจัย ​ และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  เท่านั้น ​ หาเป็นปัจจัยแก่อายตนะอื่นไม่ ​ สมคำในวิภังค์ว่า ​ "​นามปจจยา ​ ฉฏฐสยตนํ ​ อายตนะที่ 6  ย่อมมีเพราะปัจจัยคือนาม" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 198)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในบท ​ (นี้) ​ นั้น ​ หากมีคำถามว่า ​ ก็ข้อที่ว่า ​ "​นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ" ​ นั่นจะพึงทราบได้อย่างไร ?  คำแก้พึงมีว่า ​ "​ทราบได้โดยที่มันมีในเมื่อนามรูปมี" ​ จริงอยู่ ​ เพราะมรนาม ​ และรูปนั้น ๆ  อายตนะนั้น ๆ  จึงมี ​ มันหามีโดยประการอื่นไม่ ​ ก็แลความที่อายตนะมีเพราะนามรูปนั้นมีนั้น ​ จักมีแจ้งในปัจจยนัยที่เดียว ​ (ต่อไปนี้) 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ ในปฏิสนธิกาล ​ หรือในปวัตติกาลก็ดี 
- 
-นามใดและรูปใด ​ เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ​ และเป็น 
- 
-ปัจจัยโดยประการใด ​ ปราชญ์พึงนำพาโดยประการนั้น 
- 
-เทอญ 
- 
-(ต่อไป) ​ นี้เป็นคำขยายความในคาถา ​ (ปัจจัยนัย) ​ นั้น 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​นามเป็นปัจจัยในอรูปภพ'''​ 
- 
-ความว่า ​ ในอรูปภพ ​ นามอย่างเดียวเป็นปัจจัย 7 
- 
-อย่าง ​ (และ) ​ 6  อย่าง ​ ในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล ​ นั่น 
- 
-(ว่า) ​ โดยอย่างต่ำ 
- 
-เป็นอย่างไร ?  (ว่า) ​ ในปฏิสนธิกาลก่อน ​ โดยอย่างต่ำ ​ นามย่อมเป็นปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะ 7  อย่าง ​ โดยเป็นสหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสยะ ​ สัมปยุตตะ ​ วิปากะ ​ อัตถิ ​ และ ​ อวิคตปัจจัย ​ อนึ่ง ​ ในปฏิสนธิกาลนี้ ​ นามเป็นปัจจัยโดยประการอื่นบ้างมีดังนี้ ​ คือ ​ นามบางอย่างเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย ​ บางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย ​ ส่วนอย่างสูงและอย่างต่ำพึงทราบโดยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น ​ แม้ในปวัตติกาล ​ นามที่เป็นวิบากก็เป็น ​ ปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน ​ แต่ในปัจจัยมีประการดังกล่าวโดยอย่างต่ำ ​ (นั้น) ​ นามนอกนี้ ​ (คือนามที่ไม่ใช่วิบาก) ​ ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย 6  ยกเว้นวิปากปัจจัย ​ อนึ่ง ​ ในปวัตติกาลนี้ ​ อวิปากนามเป็นปัจจัยโดยประการอื่นบ้างก็มีดังนี้ ​ คือนามบางอย่างเป็นปัจจัย ​ โดยเหตุปัจจัย ​ บางอย่างเป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย ​ ส่วนอย่างสูงและอย่างต่ำพึงทราบโดยอำนาจแห่งปัจจัยเป็นต้นนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 199)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​นามเป็นปัจจัยในภพอื่น'''​ 
- 
-แม้ในภพนี้ ​ นามก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  ใน 
- 
-ปฏิสนธิอย่างนั้น ​ (คือ 7  อย่าง) ​ เหมือนกัน ​ (แต่) ​ มัน 
- 
-เป็นปัจจัยแห่งอายตนะนอกนี้ ​ โดยอาการ 6 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ แม้ในภพอื่นนอกจากอรูปภพ ​ คือในปัญจโวการภพ ​ วิปากนามนั้นเป็นสหาย ​ (คือร่วมกับ) ​ หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  คือมนายตนะ ​ อย่างต่ำก็ 7  อย่างเช่นที่กล่าวใน ​  ​(ตอน) ​ อรูปภพเหมือนกัน ​ แต่มันเป็นสหาย ​ (คือร่วมกับ) ​ มหาภูต 4  เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 5  นอกนี้เป็นจักขายตนะเป็นต้น ​ โดยอาการ 6  โดยเป็นสหชาตะ ​ นิสสยะ ​ วิปากะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ อนึ่งในปฏิสนธิกาลนี้ ​ วิปากนาม ​ เป็นปัจจัยโดยประการอื่นบ้าง ​ ก็มีดังนี้คือ ​ นามบางอย่างเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย ​ บางอย่างเป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย ​ ส่วนอย่างสูงและอย่างต่ำ ​ พึงทราบโดยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​นามเป็นปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะ'''​ 
- 
-แม้ในปวัตติกาล ​ วิปากนามก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 
- 
-ที่ 6  อันเป็นวิบากอย่างนั้น ​ (คือ ​ 7  อย่าง) ​ (ส่วน) 
- 
-อวิปากนาม ​ เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  ที่มิใช่วิบาก 6  อย่าง 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ แม้ในปวัตติกาลในปัญจโวการภพ ​ วิบากก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  ที่เป็นวิบาก ​ อย่างต่ำก็ 7  อย่างดังในปฏิสนธิกาลเช่นกัน ​ ส่วนอวิปากนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 200)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ที่มิใช่วิบาก ​ อย่างต่ำ 6  อย่างเท่านั้น ​ โดยชักวิปากปัจจัยออกเสียจากปัจจัย 7  นั้น ​ ส่วนอย่างสูงและอย่างต่ำในปัจจัยตอนนี้ ​ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่เหลือ'''​ 
- 
-ในปวัตติกาลนั้นแหละ ​ วิปากนามเป็นปัจจัยแก่ 
- 
-อายตนะ 5  ที่เหลือ 4  อย่าง ​ แม้อวิปากนาม ​ ท่านก็ 
- 
-ประกาศไว้เหมือนอย่างนั้น 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ ในปวัตติการนั้นั่นแหละ ​ วิปากนามที่เป็นวัตถุแห่งประสาทมีจักขุประสาทเป็นต้นก็ดี ​ นอกนั้นก็ดี ​ ย่อมเป็นปัจจัย 4  อย่างแห่งอายตนะที่เหลือ 5  มีจักขายตนะเป็นอาทิ ​ โดยเป็นปัจฉาชาตะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ ก็แลวิปากนามเป็นปัจจัยอย่างใด ​ แม้อวิปากนาม ​ ท่านก็ประกาศไว้ ​ (ว่าเป็นปัจจัย) ​ อย่างนั้นเหมือนกัน ​ เพราะเหตุนั้น ​ พึงทราบว่า ​ นามแม้แตกต่างกันโดยเป็นกุศลเป็นต้น ​ ก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 5  นั้น 4  อย่าง 
- 
-นามอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ​ และเป็นปัจจัยด้วยประการใด ๆ  ในปฏิสนธิกาล ​ หรือในปวัตติกาลก็ดี ​ บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​รูปนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะในขันธภพ'''​ 
- 
-ส่วนรูปไม่เป็นปัจจัยแก่อายตนะ ​ แม้อย่างเดียว 
- 
-ในอรูปภพนั้น ​ แต่ในปัญจขันธภพ ​ ในปฏิสนธิทางรูป 
- 
-วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะ 6  อย่าง ​ ภูตรูปทั้งหลาย 
- 
-เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 5  โดยไม่แปลกกัน 4  อย่าง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 201)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ ในปฏิสนธิทางรูป ​ วัตถุรูปย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6  คือมนายตนะ 6  อย่าง ​ โดยเป็น ​ สหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสย ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ ส่วนภูตรูป 4    เป็นปัจจัย 4  อย่างแก่อายตนะทั้ง 5  มีจักขายตนะเป็นต้น ​ สุดแต่อายตนะไหนจะเกิดขึ้น ​ โดยเป็นสหชาตะ ​ นิสสยะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาลโดยไม่แปลกกัน 
- 
-ชีวิตรูปและอาหารรูป ​ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 5  ​ 
- 
-นั้น ​ (ฝ่ายละ) ​ 3  อย่าง ​ ในปวัตติกาล ​ อายตนะ 5  นั้น 
- 
-เล่าก็เป็นปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะ 6  อย่าง ​ วัตถุรูปก็เป็น 
- 
-ปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะนั้นเหมือนกัน 5  อย่าง 
- 
-ส่วนรูปชีวิตเป็นปัจจัย 3  อย่าง ​ โดยเป็นอัตถิ ​ อวิคตะ ​ และอินทรียปัจจัยแก่อายตนะ 5  นั้น ​ มีจักขายตนะเป็นต้น ​ ในปฏิสนธิกาลด้วย ​ และอาหารก็เป็นปัจจัย 3  อย่างโดยเป็นอัตถิ ​ อวิคตะ ​ และอาหารปัจจัย ​ แต่อาหารนั้นย่อมเป็นปัจจัยแต่ในกายที่ซาบ ​ (รส) ​ อาหาร ​ ได้ของสัตว์เหล่าที่อาศัยอาหารเป็นอยู่ในปวัตติกาลเท่านั้น ​ หาเป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลไม่ ​ ส่วนอายตนะ 5  มีจักขายตนะเป็นต้นนั้น ​ เป็นปัจจัยแก่ฉัฏฐายตนะ ​ คือมนายตนะ ​ อันได้แก่จักขุ ​ โสตะ ​ ฆานะ ​ ชิวหา ​ กายวิญญาณ 6  อย่าง ​  ​โดยเป็นนิสสยะ ​ ปุเรชาตะ ​ อินทรียะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ ในปวัตติกาล ​ ไม่เป็นไปในปฏิสนธิกาล ​ อนึ่ง ​ วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ ​ มนายตนะนั้นแหละเว้นวิญญาณ 5  คือมนายตนะที่เหลือ ​ (ได้แก่มโนวิญญาณ) ​ 5  อย่างใดเป็น ​ นิสสยะ ​ ปุเรชาตะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ เฉพาะในปวัตติกาล ​ ไม่เป็นในปฏิสนธิกาล 
- 
-รูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ๆ  ในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาลก็ดี ​ และรูปนั้นเป็นปัจจัยโดยประการใด ​ บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-'''​คาถาสรุปปัจจัยของรูปนาม'''​ 
- 
-ก็นามและรูปทั้งสองใด ​ เป็นปัจจัยแก่อายตนะไร 
- 
-และเป็นโดยประการไร ​ แม้นามและรูปนั้น ​ ปราชญ์ก็พึง 
- 
-ทราบโดยประการทั้งปวงเถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 202)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ข้อนี้เช่นอย่างไร ?  เช่นว่า ​ "​(ชั้นแรกว่า) ​ ในปฏิสนธิก่อน ​ นามและรูปกล่าวคือ ​ ขันธ์ 3  และวัตถุรูป ​ ย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นสหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสยะ ​ วิปากะ ​ สัมปยุตตะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัยเป็นต้น ​ แก่ฉัฏฐายตนะในปัญจวโรการภพ" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ นี่เป็นเพียงมุข ​ (หนึ่ง) ​ ในข้อนี้ ​ แต่ปราชญ์อาจประกอบความได้ทุกอย่างพิสดารในข้อนี้แล 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ นามรูปปจจยา ​ สฬายตนํ 
- 
-==สฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ== 
- 
-โดยสังเขป ​ ผัสสะก็มี 6  เท่านั้น ​ มีจักขุสัมผัส 
- 
-เป็นต้น ​ (แต่) ​ โดยพิสดาร ​ มีถึง 32  ดุจวิญญาณ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ โดยสังเขป ​ ผัสสะ ​ ในบทว่า ​ สฬายตนะปจจยา ​ ผสโส ​ ก็มี 6  เท่านั้นมีจักขุสัมผัสเป็นต้นเหล่านี้ ​ คือ ​ จักขุสัมผัส ​ โสตสัมผัส ​ ฆานสัมผัส ​ ชิวหาสัมผัส ​ กายสัมผัส ​ มโนสัมผัส ​ แต่ว่าโดยพิสดาร ​ ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้นทั้งหมด ​ มีถึง 32  ดุจวิญญาณที่กล่าวแล้วซึ่งมีเพราะสังขารปัจจัย ​ ดังนี้ ​ คือ ​ ผัสสะ 10  คือ ​ เป็นกุศลวิบาก 5  และผัสสะ 22  อันสัมปยุติกับวิปากวิญญาณฝ่ายโลกิยะ 32  ที่เหลือ 
- 
-'''​คาถาสังเขป'''​ 
- 
-'''​วาทะของอาจารย์'''​ 
- 
-ก็แล ​ สฬายตนะอันเป็นปัจจัยแก่ผัสสะทั้ง 22  อย่างนั้นใด 
- 
-ในสฬายตนะนั้น ​ อาจารย์ผู้มีปัญญาทั้งหลาย 
- 
-ปรารถนาเอาสฬายตนะภายในมีจักษุเป็นต้นกับฉัฏฐาย 
- 
-ตนะบ้าง ​ ปรารถนาเอาสฬายตนะกัยอายตนะภายนอก 
- 
-6  บ้าง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 203)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ในอาจารย์ทั้งหลายนั้น ​ อันดับแรก ​ อาจารย์เหล่าใดชี้เอาธรรมที่เนื่องด้วยสิ่งที่มีสันตติ ​ ประจำตัวที่เป็นทั้งปัจจยธรรมและเป็นปัจจุบันธรรมด้วยทีเดียว ​ ด้วยความว่า ​ นี่เป็นการกล่าวถึงความเป็นไปแห่งสิ่งที่เป็นอุปาทินนกะ ​ อาจารย์เหล่านั้นย่อมปรารถนาเอาว่า ​ สฬายตนะภายในมีจักขุเป็นต้นกับฉัฏฐายตนะ ​ โดยทำเอกเทสสรูเปกเสสว่า ​ "​ฉัฏฐายตนะในอรูปภพโดยทำนองบาลีว่า ​ ฉฏฐายตนปจจยา ​ ผสโส ​ ผัสสะมีเพราะปัจจัยคือฉัฏฐายตนะ" ​ ฉะนี้ด้วยสฬายตนะในภพอื่นโดยสัพพสังคหะ ​ (รวมเข้าด้วยกันทั้งหมด) ​ ด้วยเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ​ ดังนี้อันที่จริง ​ คำดังว่านั้นก็เท่ากับ ​ (วิเคราะห์เอกเสส) ​ ว่า ​ "​ฉฏฐายตนญจ ​ สฬายตนญจสฬายตนํ ​ ฉัฏฐายตนะ ​ (อายตนะที่ 6)  ด้วย ​ สฬายตนะ ​ (อาตนะ6) ​  ​ด้วย ​ ชื่อว่าสฬายตนะนั่นเอง 
- 
-ส่วนอาจารย์เหล่าใดชี้เอาธรรมที่เนื่องด้วยสิ่งที่เป็นเอกสันตติ ​ (สันตติอันเดียว) ​ ซึ่งเป็นปัจจุบันธรรมเท่านั้น ​ แต่แสดงปัจจยธรรมเป็นพวกภินนสันตาน ​ (คือมีสันตติแตกต่างกันไม่เนื่องกัน) ​ อาจารย์เหล่านั้น ​ อายตนะใด ๆ  เป็นปัจจัยแก่ผัสสะได้ ​ จะแสดงเอาอายตนะนั้น ๆ  ทั้งหมด ​ จึงกำหนดเอาอายตนะภายนอก ​ ด้วยปรารถนาว่า ​ "​อายตนะภายในกับฉัฏฐายตนะนั้นแหละ ​ พร้อมทั้งอายตนะภายนอกมีรูปาตนะเป็นต้นด้วย ​ ชื่อว่าสฬายตนะ" ​ ดังนี้ ​ ที่จริงแม้คำที่ว่านั้น ​ เมื่อทำมันให้เป็นเอกเสสเสียว่า ​ "​ฉฏฐายตนญจ ​ สฬายตนญจ ​ สฬายตนํ" ​ ฉัฏฐายตนะด้วย ​ สฬายตนะด้วย ​ ชื่อว่าสฬายตนะ" ​ ฉะนี้ 
- 
-แก้ปัญหาว่าผัสสะอันเดียวเกิดแต่อายตนะทุกอย่างไม่ได้ ​ ฯลฯ ​ ก็เรียกว่า ​ สฬายตนะเหมือนกัน 
- 
-ในข้อนี้ ​ (มี) ​ ผู้ท้วงกล่าวว่า ​ "​ผัสสะอันเดียวหาเกิดแต่อายตนะทุกอย่างได้ไม่ ​ ทั้งผัสสะทุกอย่างก็หาเกิดแต่อายตนะอันเดียวได้ไม่ ​ แต่ผัสสะในปาฐะว่า ​ "​สฬายตนะปจจยา ​ ผสโส" ​ นี้ ​ ตรัสไว้แต่อันเดียว ​ ไฉนจึงตรัสผัสสะนั้นแต่อันเดียวเล่า ? 
- 
-นี่เป็นคำแก้ในข้อนั้น ​ คือที่ว่า ​ ผัสสะอันเดียวเกิดแต่อายตนะทุกอย่างไม่ได้ ​ หรือว่า ​ ผัสสะทุกอย่างเกิดแต่อายตนะอันเดียวก็ไม่ได้ ​ นั่นจริง ​ แต่ว่าผัสสะอันเดียวย่อมเกิดแต่อายตนะหลายอย่างได้ ​ เช่นจักขุสัมผัสย่อมเกิดแต่จักขายตนะ ​ (กับ) ​ แต่รูปายตนะ ​ แต่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 204)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มนายตนะกล่าวคือจักขุวิญญาณ ​ และแต่ธรรมายตนะอันเป็นสัมปยุตตธรรมที่เหลือ ​ (รวมกัน) ​ เป็นอาทิ ​ บัณฑิตพึงประกอบความตามควรในผัสสะ ​ (ข้ออื่น) ​ ทุกข้อดังตัวอย่างที่กล่าวนี้เถิด ก็เพราะเหตุนั้นแหละ 
- 
-พระตถาคตเจ้าจึงทรงแสดงโดยเอกวจนนิทเทส 
- 
-เพื่อส่องความว่า ​ ผัสสะแม้อันเดียว ​ มีอาตนะหลาย 
- 
-อย่างเป็นแดนเกิดได้ 
- 
-คำว่า ​ "​โดยเอกวจนนิทเทส" ​ เป็นต้น ​ ความว่า ​ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงพระพุทธาธิบายว่า ​ "​ผัสสะอันเดียว ​ ย่อมมีเพราะอายตนะหลายอย่างได้" ​ โดยแสดงออกด้วยคำเป็นเอกพจน์นี้ว่า ​ สฬายตนปจจยา ​ ผสโส  ​ 
- 
-ส่วนว่า ​ ในอายตนะทั้งหลาย 
- 
-บัณฑิตพึงชี้แจงอายตนะ 5  ในความเป็นปัจจัย 
- 
-แก่ผัสสะนั้น 6  อย่าง ​ พึงชี้แจงอายตนะ 1  ถัดอายตนะ 5 
- 
-นั้นไป ​ ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้น 9  อย่าง ​ พึงชี้แจง 
- 
-อายตนะภายนอก 6  ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้น 
- 
-ตามที่มันเป็น 
- 
-(ต่อไป) ​ นี้เป็นคำชี้แจงในความที่อายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้น 
- 
-อันดับแรก ​ อายตนะ ​ (ภายใน) ​ 5  มีจักขายตนะเป็นต้น ​ เป็นปัจจัย 6  อย่าง ​ โดยเป็นนิสสยะ ​ ปุเรชาตะ ​ อินทรียะ ​ วิปปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัยแก่ผัสสะ 5  อย่าง ​ โดยแยกเป็นจักขุสัมผัสเป็นต้น ​ อายตนะ 1  ถัดอายตนะ 5  นั้นไปคือมนายตนะอันเป็นวิบาก ​ เป็นปัจจัย 9  อย่าง ​ โดยเป็นสหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสยะ ​ วิปากะ ​ อาหาระ ​ อินทรียะ ​ สัมปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัยแห่งมโนสัมผัสที่เป็นวิบากหลายประเภท ​ ส่วนอายตนะภายนอกทั้งหลาย ​ รูปายตนะเป็นปัจจัย 4  อย่างโดยอารัมมณะ ​ ปุเรชาตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัยแก่จักขุสัมผัส ​ อายตนะที่เหลือมีสัททายตนะเป็นต้น ​ ก็เป็นปัจจัยแก่ผัสสะที่เหลือมีโสตสัมผัสเป็นอาทิ ​ โดยนัยเดียวกันนั้น ​ แต่สำหรับมโนสัมผัสมีอายตนะเหล่านั้นด้วยธรรมมารมณ์ด้วยเป็นปัจจัย ​ โดยเป็นปัจจยนัยเดียวกันนั้น ​ และโดยเพียงแต่เป็นอารัมมณะปัจจัยเท่านั้นด้วย ​ บัณฑิตพึงชี้แจง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 205)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อายตนะภายนอก 6  ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้นตามที่มันเป็น ​ (มีเป็นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น) ​ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้แล 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ สฬายตนะปจจยา ​ ผสโส 
- 
-==ผัสสะเป็นปัจจัแก่เวทนา== 
- 
-ในบทว่า ​ ผสสปจจยา ​ เวทนา  ​ 
- 
-เวทนากล่าวโดยทวารก็มี 6  มีจักขุสัมผัสสชา 
- 
-เวทนา ​ เป็นต้น ​ เท่านั้น ​ (แต่) ​ โดยประเภททราบกันว่า  ​ 
- 
-มีถึง ​ 89 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ ในวิภังค์แห่งบทนี้ ​ กล่าวเวทนาไว้ 6  ตามทวารเท่านั้นดังนี้ ​ คือ ​ จักขุสัมผัสสชา ​ เวทนา ​ โสต – กาย – มโนสัมผัสสชาเวทนา ​ แต่โดยประเภท ​ ทราบกันว่ามันมีถึง 89  เพราะความที่มันสัมปยุติกับจิต 89  ดวง 
- 
-แต่ในเวทนาเหล่านั้น ​ เวทนา 32  ที่ประกอบกับ 
- 
-วิปากจิต ​ เท่านั้น ​ ท่านกล่าวว่า ​ เป็นเวทนาที่ประสงค์เอา 
- 
-ในบทนี้ 
- 
-'''​ปัจจยนัย'''​ 
- 
-ในเวทนา ​ (ที่ประสงค์เอา) ​ เหล่านั้น ​ ผัสสะเป็น 
- 
-ปัจจัยแก่เวทนา 5  ในปัญจทวาร 8  อย่าง ​ เป็นปัจจัยแก่ 
- 
-เวทนาที่เหลืออย่างเดียว ​ แม้ในมโนทวารก็เป็นอย่างเดียว 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ ในเวทนาเหล่านั้น ​ ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้นเป็นปัจจัย 8  อย่าง ​ โดยเป็น ​ สหชาตะ ​ อัญญมัญญ ​ นิสสยะ ​ วิปากะ ​ อาหาระ ​ สัมปยุตตะ ​ อัตถิ ​ และอวิคตปัจจัย ​ แก่เวทนา 5 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 206)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อันมีจักขุประสาทเป็นต้นเป็นวัตถุ ​ (ที่ตั้ง) ​ ในปัญจทวาร ​ แต่ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้นนั้นเป็นปัจจัยอย่างเดียว ​ โดยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นแก่เวทนาที่เหลือคือเวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากอันเป็นไปด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนจิต ​ และตทารัมมณจิตในทวารหนึ่ง ๆ 
- 
-ข้อว่า ​ "​แม้ในมโนทวารมันก็เป็นอย่างนั้น" ​ ความว่า ​ แม้ในมโนทวาร ​ ผัสสะกล่าวคือมโนสัมผัสที่เกิดร่วมกันนั้นก็เป็นปัจจัย 8  อย่าง ​ เช่นนั้นเหมือนกัน ​ แก่เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากอันเป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณจิต ​ และแม้แก่เวทนาเตภูมิกวิบากอันเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิจิตและภวังคจุติจิต ​ ส่วนกามาวจรเวทนาทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอำนาจ ​ ตทารัมมณจิตในมโนทวารนั้นใด ​ มโนสัมผัสอันสัมปยุตกับมโนทวาราวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่เวทนาเหล่านั้นแต่อย่างเดียว ​ โดยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารบทว่า ​ ผสฺสปจฺจยา ​ เวทนา 
- 
-==เวทนาเป็นปัจจัยแก่ตัณหา== 
- 
-ตัณหา 6  โดยแยกเป็นรูปตัณหาเป็นต้น ​ ทรง 
- 
-แสดงในบทนี้ ​ ในตัณหาเหล่านั้น ​ ตัณหาข้อหนึ่ง ๆ 
- 
-ทราบกันว่าเป็นอย่างละ 3  ตามอาการที่เป็นไป 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ ในบทนี้ ​ ในวิภังค์ท่านแสดงตัณหา 6  โดยใช้ชื่อตามอารมณ์ว่า ​ รูปตัณหา ​ สัททตัณหา ​ คันธตัณหา ​ รสตัณหา ​ โผฏฐัพพตัณหา ​ ธัมมตัณหา ​ ดุจบุตรที่ถูกแสดงโดยใช้ชื่อตามบิดาว่า ​ เศรษฐีบุตร ​ พราหมณบุตร ​ เป็นต้นฉะนี้ ​ อนึ่ง ​ ในตัณหาเหล่านั้นข้อหนึ่ง ๆทราบกันว่าเป็นอย่างละ 3  ตามอาการที่เป็นไป ​ ดังนี้คือ ​ กามตัณหา ​ ภวตัณหา ​ และ ​ วิภวตัณหา 
- 
-ก็รูปตัณหานั่นแล ​ เมื่อใด ​ (มัน) ​ ยินดีรูปารมณ์ที่มาปรากฏแก่จักษุ ​ ด้วยอำนาจความพอใจทางกามเป็นไป ​ เมื่อนั้น ​ (มัน) ​ ก็ได้ชื่อว่าเป็นกามตัณหา ​ เมื่อใดมันเป็นไปกับสัสสตทิฏฐิอันเป็นไปโดยเห็นว่า ​ อารมณ์นั้นเป็นของเที่ยงยั่งยืน ​ เมื่อนั้น ​ มันก็ได้ชื่อว่าเป็น ​ ภวตัณหา ​ ด้วยว่า ​ ราคะที่สหรคตกับสัสสตทิฏฐิ ​ ท่านเรียกว่าภวตัณหา ​ ส่วนว่าเมื่อใด ​ มันเป็นไปกับอุจเฉททิฏฐิอันเป็นไปโดยเห็นว่า ​ อารมณ์อันนั้นแหละจะขาดสูญไป ​ เมื่อนั้น ​ มันก็ได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 207)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชื่อว่าเป็นวิภวตัณหา ​ ด้วยว่า ​ ราคะที่สหรคตกับอุจเฉททิฏฐิ ​ ท่านเรียกว่าวิภวตัณหา ​ แม้ในตัณหาที่เหลือมีสัททตัณหาเป็นตันก็นัยนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ มันจึงเป็น ​ ตัณหา 18  อันเป็นไปในรูปารมณ์เป็นต้นที่เป็นภายใน 18  ที่เป็นภายนอก 18  เพราะฉะนั้น ​ จึงเป็น ตัณหา 36  โดยประการดังนี้ ​ มันเป็นอดีต 36  เป็นปัจจุบัน 36  ดังนั้นมันจึงเป็น ตัณหา 108  ตัณหา ​ เหล่านั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ​ เมื่อย่อมันเข้าอีกมันก็คงเป็นตัณหา ​ 6  ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นหรือเป็นตัณหา 3  โดยเป็นประเภทกามตัณหาเป็นอาทิเท่านั้นเอง 
- 
-ก็เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายนี้พอใจเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์มีรูปเป็นต้น ​ จึงทำสักการะ ​ (รางวัล) ​ ใหญ่แก่จิตรกร ​ (ช่างเขียน) ​ คนธรรพ์ ​ (นักดนตรีและขับร้อง) ​ คันธิก ​ (ช่างปรุงเครื่องหอม) ​ สูท ​ (พ่อครัว) ​ ตันตวาย ​ (ช่างทอผ้า) ​ และรสายนวิธายกแพทย์ ​ (แพทย์ผู้แต่งยาตามตำรับรสายนเวท) ​ เป็นอาทิ ​ ซึ่งผู้ให้เป็นอารมณ์มีรูปเป็นต้น ​ ก็ด้วยความรักและเวทนาดุจบิดาพอใจบุตร ​ (ของตน) ​ แล้วทำสักการะใหญ่แก่แม่นม ​ ก็ด้วยความรักในบุตรฉะนั้น ​ เหตุฉะนั้น ​ ตัณหาทั้งปวงนั่น ​ บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า ​ เป็นตัณหา ​ มีเพราะปัจจัยคือเวทนา 
- 
-ก็เพราะสุขเวทนาที่เป็นวิบากอย่างเดียวเท่านั้น 
- 
-ท่านประสงค์เอาในบทนี้ ​ เหตุนั้น ​ สุขเวทนานั้น ​ จึงเป็น 
- 
-ปัจจัยแก่ตัณหาประการเดียวเหมือนกัน 
- 
-คำว่า ​ (เป็นปัจจัย) ​ ประการเดียว ​ คือเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ​ หรือเพราะว่า 
- 
-ผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาความสุข ​ ผู้มีสุขเล่า ​ ก็ 
- 
-ปรารถนา ​ ความสุขยิ่งขึ้นไป ​ ส่วนอุเบกขาเวทนา ​ เพราะ 
- 
-เป็นเวทนา ​ ละเอียด ​ ท่านก็กล่าวว่าเป็นสุขเหมือนกัน 
- 
-เหตุนั้น ​ เวทนาจึงเป็นปัจจัยแก่ตัณหาได้ทั้ง 3  แต่เพราะ 
- 
-ว่า ​ ตัณหาซึ่งพระมหาฤษีเจ้าตรัสไว้ในบทว่า ​ เวทนา  ​ 
- 
-ปจจยา ​ ตณหา ​ นั้น ​ แม้มีเวทนาเป็นปัจจัย ​ (แต่) ​ เว้น 
- 
-อนุสัยเสีย ​ มันก็ไม่มี ​ เพราะฉะนั้น ​ มันจึงไม่มีแก่ 
- 
-พราหมณ์ ​ (คือ ​ สมณะ) ​ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ เวทนาปจฺจยา ​ ตณฺหา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 208)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน== 
- 
-ในคำว่า ​ ตณฺหาปจฺจยา ​ อุปาทานํ 
- 
-อุปาทานมี 4  บัณฑิตพึงอธิบายอุปาทาน 4  นั้น 
- 
-โดย ​ อรรถวิภาค ​ (จำแนกความ) ​ โดยสังเขป ​ และโดย 
- 
-พิสดารแห่งธรรมและโดยลำดับ 
- 
-นี่เป็นอธิบายในอุปาทานนั้น ​ คือ ​ ในคาถานี้ ​ ชั้นแรก ​ ว่าด้วยอุปาทานมี 4  นี้ ​ คือ ​ กามุปาทาน ​ ทิฏฐปาทาน ​ สีลัพพตุปาทาน ​ อัตตวาทุปาทาน 
- 
-(ต่อไป) ​ นี้เป็นอรรถวิภาคแห่งอุปาทานเหล่านั้น 
- 
-'''​อรรถแห่งกามุปาทาน'''​ 
- 
-(อรรถว่า) ​ บุคคลย่อมถือมั่นซึ่งกามที่ได้แก่วัตถุ ​ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ​ กามุปาทาน ​ (แปลว่า ​ ความถือมั่นกามแห่งบุคคล) ​ ดังนี้บ้าง 
- 
-(อรรถว่า) ​ กาม ​ (คือกิเลส) ​ ด้วย ​ กาม ​ (คือกิเลส) ​ นั้นเป็นธรรมชาติผู้ถือมั่นด้วยเหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ กามุปาทาน ​ (แปลว่า ​ กามผู้ถือมั่น) ​ ดังนี้บ้าง 
- 
-'''​อรรถแห่งอุปาทานศัพท์'''​ 
- 
-คำว่า ​ อุปาทาน ​ แปลว่า ​ ถือมั่น ​ (คือยึดไว้) ​ เพราะอุป – ศัพท์ในที่นี้มี ​ ทัฬห –ศัพท์ (มั่นแข่งขัน ​ รุนแรงยิ่งนัก) ​ เป็นอรรถ ​ ดังอุป – ศัพท์ในคำว่าอุปายาส ​ (ลำบากใจยิ่งนัก ​ คือคับแค้น) ​ และ ​ คำว่าอุปกัฏฐะ ​ (ชักมาใกล้นัก ​ คือจวนเจียน) ​ เป็นต้น 
- 
-'''​อรรถแห่งทิฏฐปาทาน'''​ 
- 
-นัดเดียวกัน ​ (คืออุปาทาน – ศัพท์มีอรรถว่า ​ ถือมั่น ​ ยึดไว้ ​ เช่นเดียวกัน) ​ คือ ​ (อรรถว่า) ทิฏฐิด้วย ​ ทิฏฐินั้นเป็นธรรมชาติถือมั่นด้วย ​ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ​ ทอิฏฐุปาทาน ​ (แปลว่า ​ ทิฏฐิอันยึดไว้) ​ อีกอรรถหนึ่งว่า ​ ทิฏฐิย่อมถือมั่นทิฏฐิ ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ทิฏฐุปาทาน ​ (แปลว่า ​ ทิฏฐิยึดทิฏฐิ) ​ ด้วยว่า ​ อุตตรทิฏฐิ ​ (ความเห็นชั้นหลังมา) ​ ย่อมยึดปุริมทิฏฐิ ​ (ความเห็นที่มีมาก่อน) ​ ในความเห็นผิดทั้งหลาย ​ มีเห็นว่า ​ อัตตาเที่ยง ​  ​และโลกเที่ยงเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 209)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อรรถแห่งสีลัพพตุปาทาน'''​ 
- 
-นัยเดียวกัน ​ คือ ​ (อรรถว่า) ​ บุคคลย่อมถือมั่นศีลพรต ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ สีลัพพตุปาทาน ​ (แปลว่า ​ ความถือมั่นศีลพรตแห่งบุคคล) ​ ดังนี้บ้าง ​ (อรรถว่า) ​ ศีลพรตด้วย ​ ศีลพรตนั้นเป็นธรรมชาติถือมั่นด้วย ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ สีลัพพตุปาทาน ​ (แปลว่า ​ ศีลพรตอันถือมั่น) ​ ดังนี้บ้างด้วย ​ ศีลพรตต่าง ๆ  มีโคศีลและโคพรตเป็นต้น ​ เป็นอุปาทานอยู่ในตัวมันเอง ​ เพราะยึดมั่นว่า ​ ความบริสุทธิ์จักมีด้วยศีลพรตอย่างนั้น 
- 
-'''​อรรถแห่งอัตตวาทุปาทาน'''​ 
- 
-นัยเดียวกัน ​ บุคคลทั้งหลาย ​ ย่อมกล่าวเพราะสิ่งนั้น ​ (เป็นเหตุ) ​ เหตุนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า ​ วาทะ ​ (แปลว่า ​ สิ่งเป็นเหตุกล่าว)  ​ 
- 
-สัตว์ทั้งหลายถือมั่น ​ แม้เพราะสิ่งนั้น ​ (เป็นเหตุ) ​ เหตุนั้น ​ สิ่งนั้นจึงชื่อว่า ​ อุปาทาน ​ (แปลว่า ​ สิ่งเป็นเหตุถือมั่น) 
- 
-ถามว่า ​ บุคคลทั้งหลาย ​ ย่อมกล่าวก็ดี ​ ย่อมถือมั่นก็ดี ​ ซึ่งอะไร ?  ตอบว่า ​ ซึ่งอัตตา 
- 
-สิ่งเป็นเหตุกล่าวเป็นเหตุถือมั่นซึ่งอัตตา ​ ชื่อว่า ​ อัตตวาทุปาทาน 
- 
-อีกอรรถหนึ่ง ​ บุคคลทั้งหลาย ​ ย่อมถือมั่นเอาเพียงคำว่าอัตตาเท่านั้นเองว่าเป็นอัตตาเพราะสิ่งนั้น ​ (เป็นเหตุ) ​ เหตุนั้น ​ สิ่งนั้นจึงชื่อว่า ​ อัตตวาทุปาทาน ​ (แปลว่า ​ สิ่งเป็นเหตุถือมั่นเพียงคำว่าอัตตา) 
- 
-นี่เป็นอรรถวิภาคแห่งอุปาทานเหล่านั้น ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-'''​โดยสังเขปและโดยพิสดาร'''​ 
- 
-ส่วนในข้อสังเขปและพิสดารแห่งธรรม ​ (นั้น) ​ โดยสังเขป ​ อันดับแรก ​ ตัณหาทัฬหัตตะ ​ (ความเหนียวแน่นแห่งตัณหา) ​ เรียกว่า ​ กามุปาทาน ​ เพราะมาในบาลี ​ "​ในอุปาทาน 4  นั้น ​ กามุปาทานเป็นไฉน ท  กามฉันทะ ​ (ความพอใจด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลายอันใด ​ กามราคะ ​ (ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลาย ​ อันใด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 210)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กามนันทิ ​ (ความยินดีด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลาย ​ อันใด ​ กามตัณหา ​ (ความอยากด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ)ทั้งหลาย ​ อันใด ​ กามเสนหะ ​ (ความรักด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลาย ​ อันใด ​ กามปริฬาหะ ​ (ความรุ่มร้อนด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลาย ​ อันใด ​ กามมุจฉา ​ (ความสยบอยู่ด้วยอำนาจกิเลสกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลายอันใด ​ กามัชโฌสานะ ​ (ความพอใจอยู่ด้วยอำนาจกาม) ​ ในกาม ​ (คุณ) ​ ทั้งหลาย ​ อันใด ​ อันนี้เรียกว่า ​ กามุปาทาน"​ 
- 
-อุตตรตัณหา ​ (ตัณหาที่เกิดทีหลังต่อ ๆ  มา) ​ อันเกิดเป็นโทษหนาแน่นขึ้น ​ เพราะมี ​ ปุริมตัณหา ​ (ตัณหาที่เกิดก่อน ๆ)  เป็นอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ​ ชื่อว่า ​ ตัณหาทัฬหัตตะ 
- 
-แต่อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า ​ "​ความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึงเป็นตัณหา ​ อุปมาดังการยื้อมือของโจร ​ (ควานหาสิ่งของ) ​  ​ในที่มืดฉะนั้น ​ ความยึดเอาอารมณ์ที่มาถึงเข้าไว้เป็นอุปาทาน ​ อุปมาดังการคว้าเอาสิ่งของ ​ (ที่ควานเจอเข้า) ​ ของโจรนั่นแหละ ​ อันธรรม ​ (ทั้งสอง) ​ นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปิจฉตาและสันตุฏฐิตา ​ (คนละอย่าง) ​ อนึ่ง เป็นมูลแห่งปริเยสมทุกข์ ​ (ทุกข์เพราะการแสวงหา) ​ และอรักขทุก์ ​ (ทุกข์เพราะการรักษา)" ​ (คนละอย่างเหมือนกัน)  ​ 
- 
-ส่วนอุปทาน 3  ที่เหลือ ​ โดยสังเขปก้เป็นเพียงทิฏฐิ ​ (อย่างหนึ่ง ๆ)  เท่านั้น 
- 
-ส่วนว่าโดยพิสดาร ​ ควมหนาแน่นเหนียวแห่งตัณหาในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นอันมีประเภทตั้ง ​ 108  ที่กล่าวมาก่อน ​ (นั่น) ​ เป็นกามุปาทาน ​ มิจฉาทิฏฐิวัตถุ 10  เป็นทิฏฐุปาทานดังบาลีว่า ​ "​ในอุปาทานเหล่านั้น ​ ทิฏฐุปาทานเป็นอย่างไร ?  ความเห็น ​ ฯลฯ ​ ความถือวิปลาสเช่นนี้ว่า ​ "​การให้ ​ (เป็นทาน) ​ ไม่มี ​ (ผลวิบาก) ​ การ ​ (ให้เป็นการ) ​ บูชาไม่มี ​ (ผลวิบาก) ​ ฯลฯ ​ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบปฏิบัติชอบ ​ ผู้ซึ่งทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยอภิญญาเองแล้ว ​ (ประกาศ) ​ ให้รู้ทั่วกันไม่มีในโลก" ​ ดังนี้อันใด ​ อันนี้เรียกว่าทิฏฐุปาทาน"​ 
- 
-ส่วนความยึดมั่นว่า ​ "​ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตทั้งหลายเป็นสีลัพพตุปาทาน ​ ดังบาลีว่า ​ "​ในอุปาทานเหล่านั้น ​ สีลัพพตุปาทานเป็นอย่างไร ?  ความเห็น ​ ฯลฯ ​ ความถือวิปลาสเช่นนี้ว่า ​ "​ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ​ ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยพรต ​ ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรต" ​ ดังนี้อันใด ​ อันนี้เรียกว่า ​ สีลัพพตุปาทาน"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 211)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20  เป็นอัตวาทุปาทาน ​ ดังบาลีว่า ​ "​ในอุปาทานเหล่านั้น ​ อัตตวาทุปาทานเป็นอย่างไร ?  ปุถุชนผู้มิได้สดับในโลกนี้ ​ ฯลฯ ​ มิได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ ​ ความเห็น ​ ฯลฯ ​ ความถือวิปลาสเช่นนี้อันใด ​ อันนี้เรียกว่า ​ อัตตวาทุปาทาน"​ 
- 
-นี้เป็นความสังเขปและความพิสดารแห่งธรรมในอุปาทานนั้น 
- 
-'''​โดยลำดับ'''​ 
- 
-ส่วนในข้อว่า ​ "​โดยลำดับ" ​ นั้น ​ มีพรรณนาว่า ​ ลำดับมี 3 อย่าง ​ คือ ​ ลำดับความเกิดขึ้น 1  ลำดับการละ 1  ลำดับการแสดง 1 
- 
-ในลำดับ 3 อย่างนั้น ​ เพราะไม่มาว่า ​ "​ความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้มีก่อนเพื่อน ​ ในสงสารอันไม่มีใครรู้เบื่องต้นเบื้องปลาย" ​ ดังนี้ ​ ลำดับความเกิดขึ้นแห่งกิเลสทั้งหลาย ​ ท่านจึงไม่กล่าวไว้โดยตรง ​ แต่โดยอ้อมพึงกล่าวว่า ​ อัตตวาทุปาทานเกิดก่อนเพื่อน ​ ต่อนั้น ​ ทิฏฐุปาทาน ​ สีลัพพตุปาทานและกามุปาทานจึงเกิด ​ (โดยลำดับ) ​ โดยอธิบายดังนี้ ​ คือโดยมาก ​ ในภพอันหนึ่ง ​ (อัตตวาทุปาทานคือความถือมั่นว่าเที่ยงหรือว่าขาดสูญ) ​ อันมีความถืออัตตาเป็นเบื้องหน้า ​ (เกิดขึ้นก่อน) ​ ข้อนั้น ​ สีลัพพตุปาทานอันมีความบริสุทธิ์แห่งอัตตาเป็นข้อมุ่งหมาย ​ (จึงเกิดขึ้น) ​ แก่บุคคลผู้ถือว่าอัตตานี้เที่ยง ​ (แล้ว) ​ กามุปาทาน ​ (จึงเกิดขึ้น) ​ แก่บุคคลผู้ถือว่าอัตตานี้ขาดสูญไม่แยแสต่อปรโลก ​ นี้เป็นลำดับความเกิดขึ้นแห่งอุปาทาน 4  นั้น ​ ในภพอันหนึ่ง 
- 
-ส่วนลำดับการละ ​ พึงทราบว่า ​ ในอุปาทาน 4  นั้น ​ อุปาทาน 3  มีทิฏฐุปาทานเป็นต้นละได้ก่อน ​ เพราะอุปาทาน 3  นั้น ​ เป็นโทษที่โสดาปัตติมรรคพึงกำจัด ​ กามุปาทานละได้ภายหลัง ​ เพราะกามุปาทานเป็นโทษทีอรหัตตมรรคพึงกำจัด ​ นี่เป็นลำดับการละแห่งอุปาทานทั้งหลายนั้น 
- 
-ส่วนลำดับการแสดง ​ พึงทราบว่า ​ ในอุปาทาน 4  นั้น ​ กามุปาทานแสดงก่อน ​ เพราะเป็นโทษมีวิสัยใหญ่และเพราะเป็นโทษปรากฏ ​ (เห็นชัด) ​ ด้วย ​ จริงอยู่ ​ กามุปาทานนั้นนับเป็นโทษมีวิสัยใหญ่ ​ เพราะสัมปโยคกับจิตทั้ง 3  ดวง ​ อุปาทานนอกนี้ ​ นับเป็นโทษมีวิสัยน้อย ​ เพราะสัมปโยคกับจิต ​ (เพียง) ​ 4  ดวง ​ อนึ่ง ​ กามุปาทานนับว่าเป็นโทษปรากฏแก่หมู่สัตว์เพราะความที่หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดีในอาลัยโดยมาก ​ อุปาทานนอกนี้ไม่ปรากฏ ​ ผู้มีกามุปาทานย่อมเป็นผู้มาก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 212)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไปด้วยการทำมงคลมีโกตุหลมงคล ​ (การทำมงคลที่ให้เป็นการครึกครึ้น) ​ เป็นต้น ​ เพื่อ ​ (ให้) ​ ได้ ​ (วัตถุ) ​ กามทั้งหลายโดยง่าย ​ ความเป็นผู้มากด้วยการทำมงคลมีโกตุหลมงคลเป็นต้น ​ ของบุคคลผู้มีกามุปาทานนั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ ​ เพราะฉะนั้น ​ ทิฏฐุปาทานจึงแสดงในลำดับกามุปาทานนั้น ​ ทิฏฐุปาทานนั้นเมื่อแตกออก ​ ก็เป็นสองอย่าง ​ โดยเป็นสีลัพพตุปาทาน ​ และอัตตวาทุปาทาน ​ ในสองอย่างนั้น ​ สีลัพพตุปาทานแสดงก่อน ​ เหตุว่าเป็นโทษหยาบ ​ เพราะแม้เห็นกิริยาโคหรือกิริยาสุนัขก็ตาม ​ ที่คนมีสีลัพพตุปาทานแสดงไว้สุดท้าย ​ เพราะเป็นโทษละเอียด ​ นี้เป็นลำดับการแสดงแห่งอุปาทาน 4  นั้น 
- 
-'''​คาถาสังเขปปัจจัย'''​ 
- 
-ก็ในอุปาทานทั้งหลายนี้ ​ ตัณหาเป็นปัจจัยอย่าง 
- 
-เดียวแก่ ​ อุปาทานข้อหน้าเพื่อน ​ มันเป็นปัจจัย 7  อย่าง 
- 
-บ้าง ​ 8 อย่างบ้างก็มี ​ แก่อุปาทาน 3  ที่เหลือ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ก็แล ​ ในอุปาทานทั้งหลายนี้ ​ คือในอุปาทาน 4  ที่แสดงมาดังนี้ ​ กามตัณหาเป็นปัจจัยอย่างเดียว ​ โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ​ แก่อุปาทานข้อหน้าเพื่อน ​ คือ ​ กามุปาทาน ​ เพราะเกิดขึ้นในอารมณ์ทั้งหลายที่ตัณหายินดีโดยเฉพาะ ​ แต่มันเป็นปัจจัย 7  อย่าง ​ กับทั้งอุปนิสสยปัจจัยบ้างก็มี ​ แก่อุปาทาน 3  ที่เหลือ ​ แต่ว่าเมื่อใดมันเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย ​ เมื่อนั้นมันก็เป็นอสหชาตะ ​ (คือไม่เป็นสหชาต) ​ ด้วยแล 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ ตณฺหาปจฺจยา ​ อุปาทานํ 
- 
-==อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ== 
- 
-พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ ​ คือความแห่งคำ 1  โดยธรรม ​ (คือความหมายของธรรม) 1  โดยสาตกะ ​ (คือข้อที่ยังมีประโยชน์ที่จะกล่าวซ้ำ) 1  โดยเภทะ ​ (คือแบ่งออก) ​ และโดยสังคหะ (คือรวมเข้า) 1  โดยสิ่งไรเป็นปัจจัยแก่สิ่งไร 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 213)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยอรรถ'''​ 
- 
-วินิจฉัยโดยอรรถในบทนั้นว่า ​ ธรรมใดย่อมเป็นเหตุนั้น ​ ธรรมนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ภพ ​ (แปลว่าธรรมที่เป็นขึ้น) ​ ภพนั้นมี 2  ประเภท ​ คือ ​ กรรมภพ 1  อุปัตติภพ 1  ดังบาลีว่า ​ "​ภพมีโดยส่วน 2  คือกรรมภพ 1  อุปปัตติภพ 1  ดังนี้ 
- 
-ในภพ 2นั้น ​ ภพคือกรรม ​ ชื่อว่า ​ กรรมภพ ​ นัยเดียวกัน ​ ภพคือความเข้าถึง ​ ชื่อว่า ​ อุปปัตติภพ ​ ก็แล ​ ในกรรและอุปปัตตินี้ ​ อุปปัตติจัดเป็นภพ ​ เพราะเป็น ​ (คือเกิด) ​ ขึ้น ​ ส่วนกรรมพึงทราบว่า ​ จัดเป็นภพโดยผลโวหาร ​ (คือกล่าวเล็งถึงผล) ​ เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุแห่งภพ ​ ดังความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ​ ตรัสว่าเป็นสุขเพราะเป็นเหตุแห่งความสุขฉะนั้น 
- 
-วินิจฉัยโดยอรรถในบทนี้ ​ พึงทราบโดยประการที่กล่าวมาฉะนี้ ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยธรรม'''​ 
- 
-'''​กรรมภพ'''​ 
- 
-ส่วนวินิจฉัยโดยธรรม ​ พึงทราบว่า ​ อันดับแรก ​ กรรมภพโดยสังเขป ​ ก็ได้แก่เจตนาและธรรมทั้งหลายที่นับเป็นกรรมมีอภิชฌาเป็นต้น ​ อันสัมปยุตกับเจตนานั่นเอง ​ ดังบาลีว่า ​ "​ในภพ 2  นั้น ​ กรรมภพเป้นไฉน ​ ปุญญาภิสังขาร ​ อปุญญาภิสังขาร ​ อเนญชาภิสังขาร ​ เป็นปริตตภูม ​ (คือภูมิกาม) ​ เป็นมหาภูมิ ​ (คือ ​ ภูมิมหัคคตะ) ​ ก็ดี ​ นี้เรียกว่า ​ กรรมภพ ​ อนึ่ง ​ กรรมที่เป็นภวคามี ​ (ยังสัตว์ให้ไปสู่ภพ) ​ ทั้งปวง ​ ก็เรียกกรรมภพ 
- 
-ก็แลในกรรมนี้ ​ เจตนา 13  ดวง ​ ชื่อว่าปุญญาภิสังขาร ​ เจตนา 12  ดวง ​ ชื่อว่า ​ อปุญญาภิสังขาร ​ เจตนา 4  ดวง ​ ชื่อว่าอเนญชาภิสังขาร ​ โดยประการดังนี้ ​ ความที่เจตนาเหล่านั้นแหละมีวิบากน้อยและมาก ​ เป็นอันกล่าวด้วยคำว่า ​ "​เป็นปริตตภูมิก็ดี ​ เป็นมหาภูมิก็ดี" ​ นั่นส่วนธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นที่สังปยุตกับเจตนา ​ เป็นอันกล่าวด้วยคำว่า ​ "​อนึ่ง ​ กรรมที่เป็นภวคามีทั้งปวง"​นี่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 214)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อุปปัตติภพ'''​ 
- 
-ส่วนอุปัตติภพ ​ โดยสังเขปก็ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมโดยเฉพาะ ​ (ว่า) ​ โดยประเภทมี 9  อย่าง ​ ดังบาลีว่า ​ "​ในภพ 2  นั้น ​ อุปปัตติภพเป็นไฉน ​ กามภพ ​ รูปภพ ​ อรูปภพ ​ สัญญาภพ ​ อสัญญาภพ ​ เนวสัญญานาสัญญาภพ ​ เอกโวการภพ ​ จตุโวการภพ ​ ปัญจโวการภพ ​ นี่เรียกว่า ​ อุปปัตติภพ"​ 
- 
-ในภพเหล่านั้น ​ ภพที่นับว่ากาม ​ ชื่อว่ากามภพ ​ (ความหมาย) ​ ในรูปภพและอรูปภพ ​ ก็นัยนี้ ​ (คือว่า รูปภพ ​ ก็แปลว่า ​ ภพที่นับว่ารูป ​ อรูปภพ ​ แปลว่า ​ ภพที่นับว่าอรูป) 
- 
-ภพของสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา ​ ชื่อว่าสัญญาภพ ​ นัยหนึ่ง ​ สัญญามีอยู่ในภพนั้น ​ เหตุนั้นภพนั้นจึงชื่อว่าสัญญาภพ ​ (แปล่า ​ ภพที่มีสัญญา) ​ อสัญญาภพ ​ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม 
- 
-ธรรมชาติที่เป็นเนวสัญญานาสัญญา ​ (มีสัญญาก็มิใช่ ​ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ​ เพราะไม่มีสัญญาหยาบและเพราะมีแต่สัญญาละเอียด ​ มีอยู่ในภพนั้น ​ เหตุนั้น ​ ภพนั้นจึงชื่อว่า ​ เนวสัญญานาสัญญาภพ 
- 
-ภพที่เต็มไปด้วยรูปขันธ์อย่างเดียว ​ ชื่อว่าเอกโวการภพ ​ นัยหนึ่ง ​ โวการะ ​ (คือขันธ์) ​ ของภพนั้นมีอย่างเดียว ​ เหตุนั้น ภพนั้น ​ จึงชื่อว่าเอกโวการภพ ​ (แปลว่าภพนั้นมีขันธ์เดียว) ​ ความหมาย) ​ ในจตุโวการภพและปัญจโวการภพก็นัยนี้ ​ (คือจตุโวการภพ ​ ก็แปลว่า ​ ภพมีขันธ์ 4  ปัญจโวการภพ ​ แปลว่า ​ ภพมีขันธ์ 5)  ​ 
- 
-ในภพเหล่านั้น ​ กามภพ ​ ได้แก่อุปาทินนขันธ์ ​ (ขันธ์มีใจครอง) ​ 5  รูปภพ ​ ก็อย่างนั้น ​ อรูปภพได้แก่ ​ อุปาทินนขันธ์ 4  สัญญาภพได้แก่อุปาทินนขันธ์ ค  อสัญญาภพ ​ ได้แก่ ​ อุปาทินนขันธ์ 1  เนวสัญญานาสัญญาภพ ​ ได้แก่อุปาทินนขันธ์ 4  ภพ 3  มีเอกโวการภพเป็นต้น ​ ก็ได้แก่ขันธ์ 4  และขันธ์ 5  โดยเป็นอุปาทินนขันธ์ 
- 
-วินิจฉัยโดยธรรมในบทนี้ ​ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ประการ 1 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยสาตถะ'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​โดยสาตถะ" ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ก็แลอภิสังขารทั้งหลายมีปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นแหละ ​ แม้กล่าวมาแล้วในตอนแก้สังขารดังที่กล่าวมาตอนแก้ภพ ​ (นี้) ​ เหมือนกันก็จริง ​ แม้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 215)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เมื่อเป็นเช่นนั้นอภิสังขาร ​ ตอนก่อน ​ ท่านกล่าวโดยเป็นอดีตกรรม ​ เพราะเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในภพนี้ ​ (แต่) ​ อภิสังขารตอนนี้กล่าวโดยเป็นปัจจุบันนกรรมเพราะเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในกาลต่อไป ​ เพราะฉะนั้น ​ การกล่าว ​ (ถึงอภิสังขาร) ​ ซ้ำจึงยังมีประโยชน์แท้ ​ หรือ ​ (อีกตัวอย่างหนึ่ง) ​ ในตอนก่อน ​ เจตนาเท่านั้นท่านกล่าวว่าเป็นสังขาร ​ โดยนัยว่า ​ "​ในอภิสังขาร 3  นั้นปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ​ เจตนาเป็นกุศลกามาวจร ​ (นี้เรียกว่าปุญญาภิสังขาร) ​ ดังนี้เป็นต้นแต่ในตอนนี้ ​ แม้ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเจตนา ​ ท่านก็กล่าวด้วยคำว่า ​ "​แม้กรรมที่เป็นภวคามีทั้งปวง ​ (ก็ชื่อว่ากรรมภพ)" ​ ดังนี้ ​ อนึ่ง ​ ที่ก่อนกรรมที่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเท่านั้นท่านกล่าวว่าเป็นสังขาร ​ มาที่นี้ ​ แม้กรรมที่ยังสัตว์ให้เกิดในอสัญญาภพ ​ ท่านก็กล่าวด้วย ​ จะกล่าวมากไปทำไมมี ​ ในบทว่า ​ "​อวิชชาปจจยา ​ ภโว" ​ ท่านกล่าวธรรมทั้งที่เป็นกุศลทั้งที่เป็นอกุศลทั้งที่เป็นอัพยากฤต ​ ก็เพราะ ​ (ในตอนนี้) ​  ​สังเคราะห์เอาอุปปัตติภพเข้าด้วย ​ เพราะฉะนั้นการกล่าวซ้ำนี้ ​ จึงยังมีประโยชน์แท้ 
- 
-วินิจฉัยโดยสาตถะในบทนี้ ​ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ อีกประการหนึ่ง 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยแบ่งออกและรวมเข้า'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​โดยเภทะและสังคหะ" ​ คือโดยแบ่งออกและโดยย่อเข้าซึ่งภพอันมีเพราะปัจจัยคืออุปาทาน 
- 
-'''​โดยแบ่งออก'''​ 
- 
-ความว่า ​ กรรมที่ยังสัตว์ให้เกิดในกามภพ ​ ซึ่งมีเพราะปัจจัยคือกามุปาทานใด ​ อันสัตว์ทำเข้า ​ ธรรมคือกรรมนั้นชื่อว่ากรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเพราะกรรมนั้นโดยเฉพาะ ​ ชื่อว่า ​ อุปปัตติภพ ​ ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้ 
- 
-โดยนัยดังนี้ ​ กามภพทั้งสัญญาภพ ​ และปัญจโวการที่อยู่ภายใน ​ (คือรวมอยู่ในกามภพ) ​ เป็น 2  รูปภพ ​ ทั้งสัญญาภพ ​ อสัญญาภพ ​ เอกโวการภพและปัญจโวการภพ ​ ที่อยู่ภายใน ​ เป็น 2  อรูปภพทั้งสัญญาภพ ​ เนวสัญญานาสัญญาภพและจตุโวการภพ ​ ที่อยู่ภายในเป็น 2  ดังนี้ ​ ภพจึงเป็น 6  พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน ​ อันมีเพราะปัจจัยคือกามุปาทาน ​ ก็แล ​ ภพที่มีเพราะปัจจัยคือกามุปาทาน ​ เป็น 6  พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายในฉันใด" ​ แม้ภพที่มีเพราะปัจจัย ​ คืออุปาทานที่เหลือก็เป็นอย่างละ 6  ฉันนั้นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 216)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ด้วยประการดังนี้ ​ โดยแบ่งออก ​ ภพที่มีเพราะปัจจัยคืออุปาทานจึงเป็น ​ 24  พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน 
- 
-'''​โดยรวมเข้า'''​ 
- 
-ส่วนว่าโดยรวมเข้า ​ มีวินิจฉัยว่า ​ รวมกามภพและอุปปัตติภพที่อยู่ภายใน ​ รูปภพและอรูปภพก็รวมเข้าอย่างนั้น ​ ดังนี้จึงเป็นภพ 3  อันมีเพราะปัจจัยคืออุปาทาน ​ จึงเป็น 12  พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน ​ 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ กรรมที่มีผลเป็นกามภพ ​ จัดเป็นกามภพอันมีเพราะปัจจัยคืออุปาทานโดยไม่แปลกกัน ​ (คือไม่แยกประเภทอุปาทาน) ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นโดยเฉพาะจัดเป็นอุปปัตติภพ ​ ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ โดยรวมเข้าปริยายหนึ่ง ​ ภพอันมีเพราะปัจจัยคืออุปาทานจึงเป็น 6  คือกามภพ 2  รูปภพ 2  อรูปภพ 2  พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน 
- 
-หรือว่าไม่แตะต้องการแยกเป็นกรรมและอุปปัตติภพเสีย ​ ภพก็คงเป็น 3  โดยกามภพเป็นต้น ​ พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน 
- 
-อนึ่งเล่า ​ ไม่แตะต้องการแยกเป็นภพ 3  มีการภพเป็นต้นเสียภพก็เป็น 2  โดยเป็นกรรมภพและอุปปัตติภพ 
- 
-ไม่แตะต้องการแยกเป็นกรรมภพและอุปปัตติภพเสียอีกเล่า ​ ภพก็คงเป็น 1  เท่านั้น ​ โดยเป็นภพ ​ (เอกพจน์) ​ ตามบทว่า ​ อุปาทานปจฺจยา ​ ภโว ​ แล 
- 
-วินิจฉัยโดยแยกออกและรวมเข้าซึ่งภพอันมีอุปาทานเป็นปัจจัยในบทนี้ ​ พึงทารบดังกล่าวมาฉะนี้ประการ 1 
- 
-'''​วินิจฉัยโดยสิ่งไรเป็นของสิ่งไร'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​ยํ ​ ยสฺส ​ ปจฺจโย ​ จ" ​ ความว่า ​ อนึ่ง ​ ในบทว่า ​ อุปาทานปจจยา ​ ภโว ​ อุปาทานไรเป็นปัจจัยแก่ภพไร ​ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยประการที่สิ่งไรเป็นปัจจัยแก่สิ่งไรนั้นด้วย ​ ถามว่า ​ ก็ในบทนี้ ​ สิ่งไรเป็นปัจจัยแก่สิ่งไรเล่า ?  
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 217)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ตอบว่า ​ ทุกสิ่งที่เป็นปัจจัยแก่ทุกสิ่งแหละ 
- 
-จริงอยู่ ​ ปุถุชนเปรียบเหมือนคนบ้า ​ เขาหาวิจารว่า ​ สิ่งนี้ควร ​ สิ่งนั้นไม่ควร ​ ไม่ปรารถนาภพทุกภพด้วยอำนาจอุปาทานทุกข้อ ​ แล้วทำกรรมทุกอย่างทีเดียว ​ เพราะฉะนั้น ​ อาจารย์บางเหล่ากล่าวคำใดว่า ​ "​รูปภพ ​ อรูปภพย่อมไม่มีเพราะสีลัพพตุปาทาน" ​ ดังนี้ ​ คำนั้นจึงไม่ควรถือเอา ​ แต่ควรถือว่า ​ "​ภพทั้งปวงย่อมมีได้เพราะอุปาทานทั้งปวง" ​ ข้อนี้มีอย่างไร ? 
- 
-'''​อุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพ'''​ 
- 
-บุคคลบางคนในโลกนี้ ​ คิดไปด้วยอำนาจการได้ยินสืบกันมาบ้าง ​ ตามแบบอย่างที่ได้เห็นบ้างว่า ​ "​อันกามทั้งหลายนั้น ​ ก็สมบูรณ์แต่ในตระกูลขัตติยมหาศาลเป็นต้นในมนุษยโลกและในกามาวจรเทวโลก 6  ชั้นเท่านั้น" ​ ดังนี้แล้ว ​ ถูกอสัปปุริสธรรมมีการฟังเรื่องอสัทธรรมเป็นต้น ​ กล่อม ​ (สงสัย) ​ ใจเข้าสำคัญไปว่ากามทั้งหลายจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ ​ (อย่าง) ​ นี้ ​ (คืออย่างที่ได้ยิน) ​ เลยกระทำทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้นไปตามอำนาจแห่งกามุปาทานเข้าก็ไดเพื่อ ​ (ให้) ​ ได้กามทั้งหลายนั้น ​ เพราะทุจริตเต็มเข้า ​ เขาก็ไปเกิดในอบายหรือมิฉะนั้น ​ เมื่อปรารถนากามทั้งหลายที่ประสบเข้าหรือจะคุ้มครองกามทั้งหลายที่ได้มาก็ตาม ​ ทำทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้นเข้าด้วยอำนาจแห่งอุปาทาน ​ (ก็ได้) ​ เพราะทุจริตเต็มเข้าเขาก็ไปเกิดในอบาย 
- 
-กรรมที่เป็นเหตุแห่งความอุบัติในอบายนั้นเป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นก็เป็นอุปปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นนั่นเอง 
- 
-ฝ่ายบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้มีความรู้เพิ่มพูนขึ้นด้วยสัปปุริสธรรมทั้งหลายมีการได้ฟังสัทธรรมเป็นต้นแล้ว ​ สำคัญว่ากามทั้งหลายจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ ​ (อย่างนี้) ​ ก็กระทำสุจริตมีกายสุจริตเป็นต้น ​ ด้วยอำนาจกามุปาทาน ​ เพราะสุจริตเปี่ยมเข้า ​ เขาก็ไปเกิดในหมู่เทพบ้าง ​ ในหมู่มนุษย์บ้าง 
- 
-กรรมอันเป็นเหตุแห่งความอุบัติในหมู่เทพและมนุษย์นั้นเป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นเป็นอุปปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 218)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่กรรมภพอันมีแตกต่างกัน ​ (หลายประเภท ​ เช่น ​ สุคติ ​ ทุคติ) ​ พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายใน ​   ดังนี้ 
- 
-'''​กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่รูปภพและอรูปภพ'''​ 
- 
-บุคคลอีกคนหนึ่งได้ฟังหรือคาดคะเนเอาก็ตามว่า ​ กามทั้งหลายในรูปภพและอรูปภพสมบูรณ์ ​ ว่ากามในกามภพนั้นก็ทำรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจกามุปาทานนั่นเอง ​ แล้วก็ไปเกิดในโลกรูปพรหมและอรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ 
- 
-กรรมอันเป็นเหตุแห่งความอุบัติในพรหมโลกนั้น ​ เป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นเป็นอุปปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนสัญญาภพ ​  ​อสัญญาภพ ​ เนวสัญญานาสัญญาภพ ​ เอกโวการภพ ​ จตุโวการภพและปัญจโวการภพ ​ ก็รวมอยู่ในนั้นแหละ 
- 
-กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่รูปภพและอรูปภพอันมีแตกต่างกัน ​ (หลายประเภท) ​ พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายในก็ได้ดังนี้ 
- 
-'''​ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพทั้ง 3'''​ 
- 
-บุคคลอีกผู้หนึ่งเห็นไปว่า ​ "​อันอัตตภาพนี้ ​ เมื่อภพแห่งกามาวจรสมบัติ ​ หรือรูปภพอรูปภพอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามขาดแล้วก็เป็นอันขาดสูญ" ​ ดังนี้แล้วยึดถืออุจเฉททิฏฐิ ​ แล้วก็ทำกรรมที่ไปกันได้กับทิฏฐินั้น 
- 
-กรรมนั้นเป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นก็เป็นอุปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนภพทั้งหลายมีสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ในนั้นแหละ 
- 
-ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแกภพทั้ง 3  คือทั้งกามภพ ​ รูปภพและอรูปภพอันมีแตกต่างกัน ​ (หลายประเภท) ​ พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายในก็ได้ดังนี้ 
- 
-'''​อัตตวาทุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพทั้งหลาย'''​ 
- 
-บุคคลอีกผู้หนึ่ง ​ เห็นว่า ​ "​อันอัตตภาพนี้ ​ ย่อมจะมีความสุขปราศจากความเร่าร้อนอยู่ในภพแห่งกามาวจรสมบัติ ​ หรือในรูปภพและอรูปภพแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ​ ดังนี้แล้วก็ทำกรรมที่ไปกันได้กับความเห็นนั้นด้วย ​ (อำนาจ) ​ อัตตาวาทุปาทาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 219)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กรรมนั้นเป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นก็เป็นอุปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ในนั้นแหละ 
- 
-อัตตวาอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพทั้งหลาย 3  อันมีแตกต่างกัน ​ (หลายประเภท) ​ พร้อมทั้งที่อยู่ภายในดังนี้ 
- 
-'''​สีลัพพตุปาทานเป็นปัจจัยแกภพทั้ง 3'''​ 
- 
-บุคคลผู้หนึ่งเห็นว่า ​ "​อันความสุขย่อมถึงซึ่งความเต็มเปี่ยมแก่บุคคลผู้ทำศีลพรตนี้ให้บริบูรณ์ ​ ในภพแห่งกามาวจรสมบัติก็ตาม ​ ในรูปภพและอรูปภพแห่งใดแห่งหนึ่งก็ตาม" ​ ดังนี้แล้ว ​ ก็ทำกรรมที่ไปกันได้กับความเห็นนั้นด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทาน 
- 
-กรรมนั้นเป็นกรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเพราะกรรมนั้นก็เป็นอุปปัตติภพของบุคคลนั้น ​ ส่วนสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน 
- 
-แม้สีลัพพตุปาทานก็เป็นปัจจัยแก่ภพทั้ง 3  อันมีแตกต่างกัน ​ (หลายประเภท) ​ พร้อมทั้งภพที่อยู่ภายในได้ดังนี้แล 
- 
-วินิจฉัยโดยประการที่สิ่งไรเป็นปัจจัยแก่สิ่งไร ​ ในบทนี้ ​ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-หากมีคำถามว่า ​ "​ก็ในบทนี้ ​ อุปาทานอะไรเป็นปัจจัยแก่ภพอะไรอย่างไร" ​ ดังนี้ไซร้คำแก้พึงมีว่า  ​ 
- 
-'''​คาถาสังเขปปัจจยนัย'''​ 
- 
-บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า ​ อุปาทานเป็นอุปนิสสย 
- 
-ปัจจัยแก่รูปภพและอรูปภพ ​ อนึ่ง ​ มันเป็นปัจจัยแก่ 
- 
-กามภพ ​ โดยปัจจัยทั้งหลายมีสหชาติปัจจัยเป็นอาทิ 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ขยายความว่า ​ อุปาทานทั้ง 4  อย่างนั้น ​ เป็นปัจจัยประเภทเดียว ​ โดยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นแก่รูปภพและอรูปภพ ​ คือแก่กรรมเฉพาะที่เป็นกุศลในกรรมภพ ​ อันนับเนื่องใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 220)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กามภพและแก่อุปปัตติภพด้วย ​ (ส่วน) ​ ในกามภพมันเป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้นซึ่งแยกออกเป็นสหชาตะ ​ อัญญมัญญะ ​ นิสสยะ ​ สัมปยุตตะ ​ อัตถิ ​ อวิคตะและเหตุปัจจัยแก่อกุศลกรรมภพ ​ อันสัมปยุตกับตน ​ แต่เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว ​ แก่กรรมภพที่เป็นวิปปยุต 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบทว่า ​ อุปาทานปจฺจยา ​ ภโว 
- 
-==ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ== 
- 
-ในบททั้งหลายมีบทว่า ​ ภวปจจยา ​ ชาติ ​ เป็นอาทิ ​ การมีวินิจฉัยคำมีคำว่า ​ ชาติ ​ เป็นต้น ​ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัจจนิทเทสเถิด ​ ส่วนคำว่า ​ ภโว ​ ในบทนี้หมายเอากรรมภพอย่างเดียว ​ เพราะกรรมภพนั้นเป็นปัจจัแก่ชาต ​ อุปปัตติภพหาเป็นปัจจัยไม่ ​ ก็แลกรรมภพนั้นเป็นปัจจัย 2  อย่าง ​ โดยเป็นกัมมปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นแล 
- 
-หากคำถามจะพึงกล่าวว่า ​ "​ก็ข้อที่ว่า ​ ภพเป็นปัจจัยแก่ชาตินั่นจะพึงทราบได้อย่างไร" ​ ดังนี้ไซร้ ​ คำตอบพึงมีว่า ​ "​พึงทราบได้โดยที่แม้เมื่อปัจจัยภายนอกมีเสมอกัน ​ ก็ปรากฏความแปลกกันมีความเป็นผู้ทรามและเป็นผู้ประณีตเป็นต้นได้ ​ จริงอยู่ ​ แม้ความเสมอกันแห่งปัจจัยภายนอกทั้งหลายมรสุกกโลหิต ​ (เลือดขาว) ​ ของชนกชนนี ​ และอาหารเป็นต้นมีอยู่ ​ ความแปลก ​ กันมีความเป็นผู้ทรามและเป็นผู้ประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย ​ แม้เป็นลูกแฝดก็เห็นได้อยู่อันความแปลกกันแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้นมิใช่ไม่มีเหตุ ​ เพราะไม่มีไปทุกเมื่อและทุกคน ​ มิใช่มีเหตุอื่นไปจากกรรมภพ ​ เพราะไม่มีเหตุอย่างอื่นในสันดานเฉพาะของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาเพราะกรรมภพนั้น ​ เหตุฉะนั้นมันจึงมีกรรมเป็นเหตุแท้ ​ เพราะกรรมเป็นเหตุแห่งความ ​ แปลกกันมีความเป็นผู้ทรามและเป็นผู้ประณีตเป็นต้น ​ เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ​ "​กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ​ นี่คืออะไร ​ คือย่อมจำแนกโดยความเป็นผู้ทรามและเป็นผู้ประณีต" ​ ดังนี้ ​ เหตุนั้นข้อที่ว่า ​ "​ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ" ​ นั่นจึงควรทราบได้ ​ (โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้) 
- 
-==ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ== 
- 
-ก็แล ​ เหตุใด ​ เมื่อชาติไม่มีอยู่ ​ ขึ้นชื่อว่าชราและมรณะ ​ หรือ ​ ธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้นก็ย่อมไม่มี ​ แต่เมื่อชาติมีอยู่ ​ ชรามรณะและธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้นที่เนื่องกับ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 221)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ความแก่ ​ ความตาย ​ (ของตน) ​ ก็ย่อมมีแก่คนเหล่านั้นผู้ถูกทุกขธรรมกล่าวคือชรามรณะต้องเอาบ้าง ​ ที่ไม่เนื่อง ​ (กับความแก่ความตายของตน) ​ ก็ย่อมมีแก่คนเหล่านั้นผู้ถูกทุกขธรรมนั้น ๆ  (มีญาติตายเป็นต้น) ​ กระทบเอาบ้าง ​ เพราะเหตุนั้น ​ แม้ชาตินี่ก็พึงทราบว่า ​ เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะและแก่ธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้นด้วย ​ อันชาตินั้นเป็นปัจจัยอย่างเดียวโดยเป็นปัจจัยยอด ​ คืออุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นแล 
- 
-นี่เป็นกถาอย่างพิสดารในบททั้งหลายมีบทว่า ​ ภวปจจยา ​ ชาติ ​ เป็นต้น 
- 
-=ภวจักร – ล้อแห่งภพ= 
- 
-ก็เหตุใด ​ ในปฏิจจสมุปบาทเทศนานี้ ​ ปกิณณกธรรมมีโลกเป็นต้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเบื้องปลาย ​ เหตุนั้น ​ อวิชชาที่ตรัสไว้ในเบื้องต้นแห่งภวจักรนั่นว่า ​ "​อวิชชาปจจยา ​ สงขารา" ​ ดังนี้ ​ อวิชชานั้นก็เป็นไป ​ (คือมีได้) ​ เพราะโสกะเป็นต้น ​ (นั่นเอง) ​ 
- 
-อันว่าภวจักรนี้ ​ บัณฑิต ​ พึงทราบว่า ​ มีเบื้องต้น ​ ไม่ 
- 
-ปรากฏ ​ ปราศจากบุคคลผู้สร้างและบุคคลผู้เสวย ​ (ผล) 
- 
-ว่างเปล่าโดยสุญญตา ​ 12  ประการ ​ ย่อมหมุนไปเสมอ 
- 
-เป็นเนืองนิตย์ ​ (จนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์) 
- 
-หากมีคำปุจฉาว่า ​ "​ก็ในปฏิจจสมุปบาทเทศนานี้ ​ อวิชชามีได้เพราะโสกะเป็นต้นอย่างไรภวจักรนี้มีเบื้องต้นไม่ปรากฏอย่างไร ​ ปราศจากบุคคลผู้สร้างและบุคคลผู้เสวย ​ (ผล) ​ อย่างไรว่างเปล่าโดยสุญญตา 12  ประการอย่างไร" ​ ดังนี้ไซร้ 
- 
-'''​อวิชชามีเพราะโสกะเป็นต้นได้'''​ 
- 
-คำว่าวิสัชชนาพึงมีว่า ​ "​ก็ในปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งหลายนี้ ​ โสกะ ​ ทุกขะ ​ โทมนัส ​ อุปายาส ​ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่พรากจากอวิชชา ​ อันปริเทวะเล่าก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้หลงเพราะเหตุนั้นประการแรก ​ เมื่อธรรมมีโสกะเป็นต้นเหล่านั้น ​ เป็นไปแล้วอวิชชาก็เป็นอันมีอยู่เอง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 222)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่งพระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ​ "​ความเกิดขึ้นแห่งอวิชชาย่อมมีความเกิดขึ้นแห่งอาสวะดังนี้ ​ ก็แล ​ ธรรมทั้งหลาย ​ มีโสกะเป็นต้นนั่น ​ ก็ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ ​ ข้อนี้มีอย่างไร ?  อันดับแรก ​ ในกรณีที่พลัดพรากจากวัตถุกาม ​ โสกะก็เป็นอันเกิดขึ้นเพราะกามาสวะ ​ ดังพระบาลีว่า 
- 
-ตสฺส ​ เจ ​ กามยานสฺส ​ ฯเปฯ ​ สลลฺวิทฺโธว ​ รุปฺปติ 
- 
-หากว่า ​ เมื่อชนผู้นั้นเกิดความพอใจรักใคร่กาม 
- 
-เหล่าใดอยู่ ​ กามเหล่านั้นมาพรากไปเสียไซร้ ​ เขาย่อม 
- 
-โศกาดุจถูก ​ ลูกศรเสียบ 
- 
-และดังพระบาลีว่า ​ "​กามโต ​ ชายตี ​ โสโก ​ ความโศกย่อมเกิดแต่กาม" ​ ดังนี้ 
- 
-ธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้นทั้งปวงนั่น ​ ย่อมเป็นธรรมเกิดขึ้นเพราะทิฏฐาสวะด้วย ​ ดังบาลีว่า ​ "​ตสส ​ อหํ ​ รูปํ ​ ฯเปฯ ​ โทมนสสปายาสา ​ โสกะ ​ ปริเทวะ ​ ทุกขะ ​ โทมนัสและอุปายาส ​ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ​ ผู้ยืนกราน ​ (ด้วยทิฏฐิ) ​ ว่า เราเป็นรูป ​ รูปเป็นของเรา" ​ เพราะความที่รูปแปรผันและเปลี่ยนแปรไป" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-อนึ่ง ​ ธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐาสวะได้ฉันใด ​ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งภวาสวะก็ได้ฉันนั้นดังพระบาลีว่า ​ "​แม้เทวดาเหล่านั้นใดผู้มีอายุยืนผิวพรรณงาม ​ มากไปด้วยความสุข ​ สถิตอยู่ในวิมานอันสูงตลอดกาลยาวนาน ​ แม้เทวดาเหล่านั้น ​ ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้วยังต้อง ​ (คือรู้จัก) ​ กลัวสะดุ้งใจ ​ สลดใจ" ​ (ธรรมเหล่านั้นเกิดแก่เทวดาทั้งหลาย ​ เพราะความเกิดขึ้นแห่งสภาสวะ) ​ ดังความโศกเป็นต้นเกิดแก่เทวดาทั้งหลายผู้ถูกมรณภัยคุกคาม ​ เพราะเห็นปุพพนิมิต 5  ฉะนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ ธรรมเหล่านั้นเกิดเพราะความเกิดขึ้นแห่งสภาวะได้ฉันใด ​ ก็ย่อมเกิดเพราะความเกิดขึ้นแห่งอวิชชาสวะก็ได้ฉันนั้น ​ ดังพระบาลีว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ คนเขลานั้นนั่นแลย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส 3  ประการในทิฏฐธรรมนี่แหละ" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-เพราะเหตุที่ธรรมเหล่านั้นย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ธรรมเหล่านั้น ​ เมื่อมีขึ้นจึงยังอาสวะอันเป็นเหตุแห่งอวิชชาให้มีด้วย และครั้นอาสวะทั้งหลายมีแล้วแม้อวิชชาก็เป็นอันมีด้วยแท้ ​ เพราะเมื่อปัจจัยมีธรรมที่เกิดแต่ปัจจัยก็ดี ​ (ต้อง) ​ มีแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 223)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในปฏิจจสมุปบาทเทศนานี้ ​ อวิชชาบัณฑิตพึงทราบว่าย่อมมีได้ ​ เพราะธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้น ​ โดยนัยดังกล่าวมานี้ ​ เป็นประการแรก 
- 
-'''​ภวจักรมีเบื้องต้นไม่ปรากฏ'''​ 
- 
-ประการต่อไป ​ เพราะความที่เมื่อปัจจัยมี ​ ธรรมที่เกิดแต่ปัจจัย ​ (ต้อง) ​ มีดังนี้ ​ ครั้นอวิชชามีขึ้นแล้ว ​ ความจบสิ้นก็ไม่มี ​ เพราะความสืบต่อกันแห่งเหตุและผลคือสังขารทั้งหลายก็มีข้นเพราะปัจจัยคืออวิชชาอีก ​ วิญญาณก็มีขึ้นเพราะปัจจัยคือสังขารอีกอย่างนี้เป็นต้น ​ เหตุใด ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรมีองค์ 12  อันหมุนไปด้วยอำนาจความสัมพันธ์กันแห่งเหตุและผลนั้น ​ จึงเป็นอันสำเร็จ ​ (คือเป็นได้) ​ ว่า ​ "​มีเบื้องต้นไม่ปรากฏ"​ 
- 
-หากคำท้วงพึงมีว่า ​ "​เมื่อเป็นเช่นนั้น ​ (คือเมื่อไม่มีอะไรเป็นตัวตนเช่นนั้น) ​ การกล่าวความที่ภวจักรมีเบื้องต้นว่า ​ "​อวิชชาปจจยา ​ สงขารา" ​ นี่ก็ผิด ​ (นะซิ) ​  ​ดังนี้ไซร้ ​ พึงแก้ว่า ​ นี่ไม่ใช่การกล่าวความที่ภวจักรมีเบื้องต้นดอก ​ แต่นั่นเป็นการกล่าวธรรมที่เป็นตัวประธาน ​ (ต่างหาก) ​ ด้วยว่าอวิชชาเป็นประธานแห่งวัฏฏะ 3  จริงอยู่เพราะยึดอวิชชาไว้กิเลสวัฏที่เหลือและวัฏอีก 2  มีกรรมวัฏเป็นต้นก็พันเอาคนเขลาเข้าด้วย ​ ดุจเพราะจับหัวงูไว้ลำตัวงูที่เหลือก็พันเอาแขน ​ (คนจับ) ​ เข้าฉะนั้น ​ แต่เมื่อตัดอวิชชาขาดเสร็จแล้ว ​ ความพ้นจากธรรมเหล่านั้นก้มีขึ้น ​ ดุจเมื่อตัดหัวงูสำเร็จแล้ว ​ ความพ้นจากความเป็นแขนที่ถูกงูพันก็มีขึ้นฉะนั้น ​ ดังพระบาลีว่า ​ "​ความดับแห่งสังขารย่อมมี ​ เพราะความดับโดยสำรอกออกอย่างไม่เหลือแห่งอวิชชานั่นแล" ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-นี่เป็นการกล่าวธรรมอันเป็นตัวประธาน ​ ที่เมื่อบุคคลยึดอยู่ ​ ย่อมเป็นผู้ถูกผูกพัน ​ เมื่อปล่อยเสีย ​ ความพ้นย่อมมี ​ มิใช่กล่าวความที่ภวจักรมีเบื้องต้นดังนี้แล 
- 
-ภวจักรนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบว่า ​ มีเบื้องต้นไม่ปรากฏ ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-'''​ภวจักรปราศจากผู้สร้างผู้เสวย'''​ 
- 
-ภวจักรนี้นั้น ​ เพราะเหตุที่ความหมุนไปแห่งธรรมทั้งหลายมีสังขารเป็นอาทิ ​ ย่อมมีเพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ​ จึงว่างเว้นจากผู้สร้างสังสาระคือพรหมเป็นต้น ​ ซึ่งกำหนดเอา(เอง) ​ อย่างนี้ว่า ​ "​พรหมา ​ พระพรหม ​ มหาพรหมา ​ ท้าวมหาพรหม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 224)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เสฏโฐ ​ ท่านผู้เป็นใหญ่ ​ สชชิตา ​ ท่านผู้บันดาล" ​ อื่นไปจากเหตุมีอวิชชาเป็นต้นนั้นก็ดีจากผู้เสวยสุขและทุกข์คืออัตตาซึ่งกำหนดกันเกา (เอง) ​ อย่างนี้ว่า ​ "​ก็แลอัตตาของเรานี้นั้นแลเป็น ​ วโท ​ ผูกล่าว ​ เวเทยโย ​ ผู้เสวย" ​ ฉะนี้ก็ดี 
- 
-ภวจักร ​ บัณฑิตพึงทราบว่าปราศจากผู้สร้างและผู้เสวย ​ ดังกล่าวมานี้ 
- 
-'''​ภวจักรว่างเปล่าโดยสุญญตา 12  ประการ'''​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในปฏิจจปมุปบาทธรรมเหล่านี้ ​ อวิชชาชื่อว่าว่างจากความยั่งยืน ​ เพราะมีความเกิดขึ้นเพราะมีความเลื่อมใสไปเป็นธรรมดา 1  (ว่าง) ​ จากความงาม ​ เพราะเป้นสังกิเลสสิกธรรม ​ เหตุเป้นธรรมเศร้าหมอง 1  (ว่าง) ​ จากความเป็นสุข ​ เพราะถูกความเกิดและความเสื่อมไปบีบคั้น 1  (ว่าง) ​ จากความเป็นอัตตา ​ คือที่ ​ (หมายความว่า) ​ เป็นสิ่งบังคับได้ ​ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย 1  แม้องค์ทั้งหลายมีสังขารเป็นต้นก้อย่างนั้น ​ เหตุใด ​ นัยหนึ่ง ​ อวิชชา ​ มิใช่ตน ​ มิใช่ของตน ​ มิใช่มีในตน ​ แม้องค์ทั้งหลาย ​ มีสังขารเป็นต้นก้อย่างนั้น ​ เหตุใด ​ เหตุนั้น ​ ภวจักนั่น ​ บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า ​ ว่างเปล่าโดยสุญญตา 1-  ประการ ​ (โดยนัยดังกล่าวมา) 
- 
-'''​มูลและกาลแห่งภวจักร'''​ 
- 
-ก็แลครั้นทราบอย่างนี้แล ​ พึงทราบอีกว่า 
- 
-'''​คาถาสังเขปมูลและกาล'''​ 
- 
-อวิชชาและตัณหาเป็นมูลแห่งภวจักรนั้น ​ กาล 
- 
-ของมันมี 3  มีอดีตกาลเป็นต้น ​ องค์ในกาล 3  นั้นโดย 
- 
-สรุปก็เป็น 2  เป็น 8  และเป็น 2  เท่านั้นเอง 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-ความว่า ​ ธรรม 2  คืออวิชชาและตัณหา ​ พึงทราบว่าเป็นมูลแห่งภวจักรนั้นนั่นแลภวจักรนั้นเล่า ​ ก็จัดเป็น 2  ส่วน ​ คือที่มีอวิชชาเป็นมูลมีเวทนาเป็นที่สุด ​ (เป็นภวจักร 1)  เพราะนำ ​ (ปัจจุบันผล) ​ มาแต่ส่วนเบื้องต้น ​ (คือส่วนอดีต) ​ ที่มีตัณหาเป็นมูลมีชรามรณะเป็นที่สุด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 225)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(เป็นภวจักร 1)  เพราะต่อกับ ​ (ผล) ​ ส่วนเบื้องปลาย ​ (คืออนาคต) ​ ในภวจักร 2  ส่วนนั้นภวจักรส่วนแรกกล่าวด้วยอำนาจบุคคลทิฏฐิจริต ​ ส่วนหลังกล่าวด้วยอำนาจบุคคลตัณหาจริตด้วยว่าอวิชชาเป็นสังขารนายิกา ​ (ผู้นำไปในสังสาร) ​ สำหรับบุคคลทิฏฐิจริตทั้งหลาย ​ ตัณหาเป็นสังสารนายิกาสำหรับบุคคลตัณหาจริตทั้งหลาย ​ นัยหนึ่งภวจักรที่ 1  กล่าวเพื่อถอนอุจเฉททิฏฐิ ​ เพราะประกาศความไม่ขาดสูญแห่งเหตุทั้งหลายโดยความเกิดขึ้นมาแล้วทั้งหลายนัยหนึ่ง ​ ภวจักรกล่าวด้วยอำนาจคัพภเสยยกสัตว์เพราะแสดงความหมุนไปแห่งธรรมตามลำดับ ​ ภวจักรหลังกล่าวด้วยอำนาจโอปปาติกสัตว์ ​ เพราะแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน ​ (แห่งอุปปัตติภพและขันธ์) 
- 
-ส่วนกาลของภวจักรนั้นมี 3  คือ ​ อดีต ​ ปัจจุบันและอนาคต ​ ในกาล 3  นั้น ​ ว่าโดยที่มาในบาลีโดยรูป ​ องค์ 2  คืออวิชชาและสังขาร ​ พึงทราบว่าเป็นอดีตกาล ​ องค์ 8  มีวิญญาณ ​ เป็นต้นมีภพเป็นที่สุด ​ พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันกาล ​ องค์ 2  คือชาติและชรามรณะ ​ พึงทราบว่าเป็นอนาคตกาล 
- 
-'''​สนธิ 3  สังคหะ 4  อาการ 20  วัฏฏะ 3  แห่งภวจักร'''​ 
- 
-พึงทราบแม้ดังนี้อีกว่า 
- 
-ภวจักรนั่นสนธิ ​ (เงื่อนต่อ) ​ 3  มีคำว่าเหตุและผล 
- 
-ผลเหตุเป็นบทหน้าและมีสังคหะ ​ (คือสังเขป) ​ 4  ประเภท 
- 
-มีซี่กำคืออาการ 20  มีวัฏฏะ ​ (วงกลม) ​ 3  ย่อมหมุนไป 
- 
-ไม่หยุด ​ (จนกว่าจะถึงอรหัตตมรรค) 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-'''​สนธิ 3'''​ 
- 
-ในสนธิ 3นั้น ​ เงื่อนอันหนึ่งในระหว่างสังขารกับปฏิสนธิวิญญาณ ​ ชื่อว่า ​ เหตุผลสนธิ ​ (ต่อเหตุกับผล) ​ เงื่อนอันหนึ่งในระหว่างเวทนากับตัณหา ​ ชื่อว่า ​ ผลเหตุสนธิ ​ (ต่อผลกับเหตุ) ​ เงื่อนอันหนึ่งในระหว่างภพกับชาติ ​ ชื่อว่า ​ เหตุผลสนธิ ​ (ต่อเหตุกับผล) ​ ภวจักรนี้บัณฑิตพึงทราบว่า ​ มีสนธิ 3  มีอำนาจเหตุผลและเหตุเป็นบทหน้าอย่างนี้แล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 226)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​สังคหะ 4'''​ 
- 
-ส่วนสังคหะแห่งภวจักรนั้น ​ กำหนดด้วยองค์ต้นกับปลายแห่งสนธิทั้งหลายเป็น 4  คืออย่างไรบ้าง ​ คืออวิชชาและสังขารเป็นสังคหะที่ 1  วิญญาณ ​ นามรูป ​ สฬายตนะ ​ ผัสสะ ​ เวทนา ​ เป็นสังคหะที่ 2  ตัณหา ​ อุปาทาน ​ ภพเป็นสังคหะที่ 3  ชาติชรามรณะเป็นสังคหะที่ 4  ภวจักรนี้บัณฑิตพึงทราบว่ามีสังคหะ 4  ประเภท ​ ดังนี้แล 
- 
-'''​อาการ 20'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ภวจักรนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบว่ามีอาการ 20  โดยซี่กำกล่าวคืออาการ 20  นั่นคือ 
- 
-'''​คาถาสังเขปอาการ 20'''​ 
- 
-เหตุในกาลล่วงแล้ว 5  ผลในกาลบัดนี้ 5  เหตุ 
- 
-ในกาลบัดนี้ 5  ผลในกาลต่อไป 5 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-'''​อดีตเหตุ 5'''​ 
- 
-ใน 4  ข้อนั้น ​ ข้อว่า ​ "​เหตุในกาลล่วงแล้ว 5" ​ ขยายความว่า ​ ชั้นแรก ​ (อดีตเหตุนั้น) ​ ก็กล่าวเอาธรรม 2  ประการ ​ คืออวิชชากับสังขารนี้เท่านั้น ​ แต่เพราะคนไม่รู้ย่อมทะเยอทะยาน ​ คนทะเยอทะยานย่อมถือมั่น ​ เพราะความถือมั่นของเขาเป็นปัจจัย ​ ภพก็มีขึ้น ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้ตัณหา ​ อุปาทานและภพ ​ ก็จึงถูกรวมเข้าด้วย ​ เหตุนั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวไว้ว่า ​ "​ความหลงในปุริมกรรมภพเป็นอวิชชา ​ เจตนาอันประมวลไว้ในปุริมกรรมภพเป็นสังขาร ​ ความใคร่ในปุริมกรรมภพเป็นตัณหา ​ ความข้องแวะในปุริมกรรมภพเป็นอุปาทาน ​ เจตนาในปุริมกรรมภพเป็นภพ ​ ผลธรรม 5  ประการดังกล่าวนี้ ​ ในปุริมกรรมภพ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ ​ ปฏิสนธิในภพนี้"​ 
- 
-อรรถ ​ (แห่งบาลีนั้น) ​ พึงทราบดังนี้ว่า ​ ในบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ "​ในปุริมกรรมภพ" ​ คือในกรรมภพที่มีมาก่อน ​ หมายความว่า ​ ในกรรมภพที่ได้ทำมาในชาติที่ล่วงแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 227)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ "​ความหลงเป็นอวิชชา" ​ ความว่า ​ ความหลงในธรรมเกป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้นในกาลนั้นอันใด ​ บุคคลผู้หลงแล้วทำกรรมด้วยความหลงอันใด ​ ความหลงอันนั้นเป้นอวิชชา 
- 
-คำว่า ​ "​เจตนาอันประมวลไว้เป็นสังขาร" ​ ไดแก่เจตนาดวงแรกๆ ​ ของบุคคลผู้ทำกรรมนั้น ​ ดังเช่นเจตนาดวงแรกๆ ​ ที่เปิดขึ้นแก่ทายกผู้ยังจิตให้เกิดขึ้นว่าเราจักให้ทาน ​ แล้วตระเตรียมเครื่องอุปกรณ์แห่งทานทั้งหลายอยู่เดือนหนึ่งก็ดี ​ ปีหนึ่งก็ดี ​ ส่วนเจตนาของทายกนั้นผุ้วางทักษิณลงในมือของปฏิคาหกทั้งหลาย ​ เรียกว่าภพ ​ นัยหนึ่งเจตนาในชวนะ 6  ที่เป็นจิตมีอาวัชชนะเดียว ​ ชื่อว่าเจตนาอันประมวลไว้ ​ นับเป้นสังขาร ​ เจตนาในชวนะที่ 7  เป็นภพ ​ หรือมิฉะนั้น ​ เจตนาทุกดวงเป็นภพ ​ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต ​ (กับเจตนาเหล่านั้น) ​ ชื่อว่า ​ เจตนาอันประมวลไว้เป็นสังขาร 
- 
-คำว่า ​ "​ความใคร่เป็นตัณหา" ​  ​ความว่า ​ เมื่อบุคคลทำกรรมอยู่ ​ ความใคร่คือความ ​ ปรารถนาในอุปปัตติภพ ​ อันเป็นผลของกรรมนั้นอันใดความใคร่อันนั้นชื่อว่าตัณหา 
- 
-คำว่า ​ "​ความข้องแวะเป็นอุปาทาน" ​ ความว่า ​ การที่ทำกรรมอันเป็นปัจจัยแก่กรรมภพนี้แล้วข้องแวะคือถือเอายึดเอาอันเป็นไปโดยนัยว่า ​ "​เราจัก ​ (ไปเกิด) ​ เสพกามทั้งหลายในที่ชื่อโน้น ​ (หรือว่า) เราจักขาดสูญ ​ (คือไม่เกิด)" ​ ดังนี้เป็นต้นอันใด ​ ความข้องแวะอันนี้ชื่อว่า ​ อุปาทาน 
- 
-คำว่า ​ "​เจตนาเป็นภพ" ​ คือเจตนาที่กล่าวแล้วในที่สุดแห่งเจตนาอันประมวลไว้เป็นภพ 
- 
-'''​ปัจจุบันผล'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​ผลในกาลบัดนี้ 5" ​ ได้แก่ ​ องค์มีวิญญาณเป็นต้นมีเวทนาเป็นที่สุดอันมาในบาลีนั่นเอง ​ ดังบาลีว่า ​ "​ปฏิสนธิในปัจจุบันภพนี้เป็นวิญญาณ ​ ความก้าวลง ​ (ในครรภ์) ​ ในปัจจุบันภพนี้เป็นผัสสะ ​ ความเสวย ​ (วิบาก) ​ ในปัจจุบันภพนี้ ​ เป็นเวทนา ​ ธรรม 5  ประการดังกล่าวนี้มีในอุปปัตติภพนี้ ​ เพราะกรรมที่ทำไว้ในภพก่อนเป็นปัจจัย"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 228)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อรรถ ​ (แห่งบาลีนั้น) ​ พึงทราบดังนี้ว่า ​ ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ​ หมายความว่าสิ่งใดท่านเรียกว่าปฏิสนธิ ​ เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจการเชื่อมต่อภพอื่น ​ (กับปัจจุบันภพนี้) ​ สิ่งนั้นเป็นวิญญาณ 
- 
-คำว่า ​ "​ความก้าวลงเป็นนามรูป" ​ ความว่าความก้าวลงสู่รูปธรรมและอรูปธรรมในครรภ์ ​ ราวกะว่ามา ​ (แต่ที่อื่น) ​  ​แล้วเข้าไป ​ (ในครรภ์) ​ อันใด ​ อันนี้เป็นนามรูป 
- 
-คำว่า ​ "​ประสาทเป็นอายตนะ" ​ นี่ท่านกล่าวด้วยอำนาจอายตนะ 5  มีจักขายตนะเป็นต้น 
- 
-คำว่า ​ "​ความเสวยเป็นเวทนา" ​  ​ความว่า ​ ความเสวยวิบากอันเกิดขึ้นร่วมกับ ​ ปฏิสนธิวิญญาณ ​ ก็ดี ​ กับผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นปัจจัย ​ ก็ดี ​ ความเสวยวิบากนั้นเป็นเวทนา 
- 
-'''​ปัจจุบันเหตุ 5'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​เหตุในกาลบัดนี้ 5" ​ ได้แก่ ​ ปัจจยธรรมมีตัณหาที่มาในบาลี ​ ก็ตัณหาอุปาทานและภพ ​ แต่เมื่อภพถูกถือเอาแล้ว ​ สังขารอันเป็นบุพภาคของภพนั้น ​ หรือว่าที่สัมปยุตกับภพนั้น ​ ก็เป็นอันถือเอาด้วยและด้วยการถือเอาตัณหาอุปาทาน ​ อวิชชาอันสัมปยุตกับตัณหาอุปาทานนั้น ​ หรือว่าที่ทำเป็นเหตุทำกรรแห่งคนหลงก็เป็นอันถือเอาด้วยดังนี้แหละ ​ ปัจจุบันเหตุจึงเป็น 5  เหตุนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ​ "​เพราะความที่อายตนะทั้งหลายงอมแล้วในภพนี้ ​ ความหลงเป้นอวิชชา ​ เจตนาอันพยายามเป็นสังขาร ​ ความใครเป็นตัณหา ​ ความข้องแวะเป็นอุปาทาน ​ เจตนาเป็นภพธรรม 5  ประการดังกล่าวนี้ในกรรมนี้ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในภพต่อไป 
- 
-ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ "​เพราะความที่อายตนะทั้งหลายงอมแล้วในภพนี้" ​ ท่านแสดงความลุ่มหลงในเวลาทำกรรมแห่งบุคคลผู้มีอายตนะงอมแล้ว ​ คำที่เหลือมีเนื้อความชัดเจนแล้ว  ​ 
- 
-'''​อนาคตผล 5'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ "​ผลในกาลต่อไป 5" ​ ได้แก่ ​ องค์ 5  มีวิญญาณเป็นต้น ​ ธรรม 5  นั้น ​ ท่านกล่าวโดยถือเอาว่า ​ เป็นชาติ ​ ส่วนชรามรณะก็คือชรามรณะแห่งธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ​ เหตุนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 229)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ​ "​ปฏิสนธิในภพต่อไปเป็นวิญญาณ ​ ความก้าวลง ​ (ในครรภ์) ​ ในภพต่อไปเป็นนามรูป ​ ประสาทในภพต่อไปเป็นอายตนะ ​ ภาวะที่กระทบ ​ (อารมณ์) ​ ในภพต่อไปเป็น ​ ผัสสะ ​ ความเสวย ​ (ผล) ​ ในภพต่อไปเป็นเวทนา ​ ธรรม 5  ประการดังกล่าวนี้ มีอุปปัตติภพต่อไป ​ เพราะกรรมที่ทำในภพนี้เป็นปัจจัย"  ​ 
- 
-ภวจักรนี้นี้มีซี่กำคืออาการ 20  ดังกล่าวมาฉะนี้  ​ 
- 
-'''​วัฏฏะ 3   '''​ 
- 
-ส่วนในข้อว่า ​ "​ภวจักรมีวัฏฏะ 3  หมุนไปไม่หยุด" ​ นี้มีอรรถาธิบายว่า ​ ภวจักรนี้มีวัฏฏะ 3  โดยวัฏฏะ 3  นี้ ​ คือ ​ สังขารและภพเป็นกรรมวัฏ ​ อวิชชาตัณหาและอุปาทานเป็น ​ กิเลสวัฏ ​ วิญญาณ ​ นามรูป ​ สฬายตนะ ​ และเวทนาเป็นวิปากวัฏ ​ พึงทราบเถิดว่า ​ กิเลสวัฏยังไม่ขาดลงตราบใด ​ ก็ชื่อว่า ​ หมุน ​ เพราะเป็นไปรอบแล้วรอบเล่า ​ ชื่อว่าไม่หยุด ​ เพราะมีปัจจัยยังไม่ขาดลงตราบนั้นอยู่นั่นเอง 
- 
-'''​ความรู้เบ็ดเตล็ดในภวจักร'''​ 
- 
-ภวจักรนั้นอันหมุนอยู่อย่างนั้น ​ บัณฑิตพึงทราบ 
- 
-โดยว่า ​ (องค์ไหน) ​ เกิดแก่สัจจะ ​ (ไหนและองค์ไหนเป็น 
- 
-สัจจะอะไร) ​ 1  โดยกิจ 1  โดยเป็นเครื่องกั้น 1  โดย 
- 
-อุปมาทั้งหลาย 1  โดยต่อความลึก 1  โดยต่างนัย 1 
- 
-(อีก) ​ ตามควร 
- 
-'''​ขยายความ'''​ 
- 
-'''​โดยว่าองค์ไหนเกิดแต่สัจจะไหน'''​ 
- 
-ในข้อหาเหล่านั้น ​ เพราะเหตุที่กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ​ ท่านกล่าวไว้ในสัจจวิภังค์ว่าเป็นสมุทยสัจโดยไม่แปลกกัน ​ ในธรรมทั้งหลาย ​ ในบทว่า ​ อวิชชาปจจยา ​ สงขารา ​ เป็นต้น ​ สังขารอันมีเพราะอวิชชา ​ จึงเป็นทุติยสัจเกิดแต่ทุติยสัจ ​ (ด้วยกัน) ​ วิญญาณอันมีเพราะสังขาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 230)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นปฐมสัจเกิดแก่ทุติยสัจ ​ องค์มีนามรูปเป็นต้นมีเวทนาที่เป็นวิบากเป็นที่สุด ​ อันมีเพราะวิญญาณเป็นต้นเป็นปฐมสัจ ​ เกิดแต่ปฐมสัจ ​ (ด้วยกัน) ​ ตัณหาอันมีเพราะเวทนาเป็นทุติยสัจ ​ เกิดแต่ปฐมสัจ ​ อุปาทานอันมีเพราะตัณหาเป็นทุติยสัจ ​ เกิดแต่ทุติยสัจ ​ (ด้วยกัน) ​ ภพอันมีเพราะอุปาทานเป็นปฐมสัจและทุติยสัจทั้งสองเกิดแต่ทุติยสัจ ​ ชาติอันมีเพราะภพเป็นปฐมสัจเกิดแต่ทุติยสัจ ​ ชรามรณะอันมีเพราะชาติเป็นปฐมสัจ ​ เกิดแต่ปฐมสัจ ​ (ด้วยกัน)  ​ 
- 
-ภวจักรนี้บัณฑิตพึงทราบโดย ​ (ว่าองค์ไหน) ​ เกิดแต่สัจจะ ​ (ไหน) ​ ตามควร ​ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-'''​โดยกิจ'''​ 
- 
-อีกข้อหนึ่ง ​ เหตุใดในองค์เหล่านี้ ​ อวิชชาย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้ลุ่มหลงในวัตถุ ​ (คืออารมณ์) ​ ทั้งหลายและเป็นปัจจัยเพื่อความปรากฏขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายด้วย ​ นัยเดียวกันนั้นสังขารก็ปรุงแต่งสังขตธรรมและเป็นปัจจัยแก่วิญญาณด้วย ​ ฝ่ายวิญญาณก็รับรู้วัตถุ ​ (คืออารมณ์) ​ และเป็นปัจจัยแก่นามรูปด้วย ​ ข้างนามรูปก็ค้ำจูนกันและกันและเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะด้วย ​ สฬายตนะเล่าก็เป็นไปในวิสัยของตน ๆ  มีรูปเป็นต้น) ​ และเป็นปัจจัยแก่ผัสสะด้วย ​ ผัสสะเล่าก็สัมผัสอารมณ์ ​ เป็นปัจจัยแก่เวทนาด้วย ​ เวทนาเล่าก็เสวยรสอารมณ์และเป็นปัจจัยแก่ตัณหาด้วย ​ ตัณหาเล่าก็กำหนัดยินดีในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดีและเป็นปัจจัยแก่อุปาทานด้วย ​ อุปาทานเล่าก็ถือมั่นในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความถือมั่นและเป็นปัจจัยแก่ภพด้วย ​ ภพเล่าก็พล่านไปในคติต่าง ๆ  และเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วย ​ ชาติเล่าก็ยังขันธ์ทั้งหลายให้เกิดและเพราะเป็นไปโดยอาการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้นจึงเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะด้วย ​ ชรามรณะเล่าก็ครอบเอาความงอมและความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายไว้ ​ และเป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นในภพอื่น ​ เพราะเป็นที่ตั้ง ​ (คือเป็นเหตุ) ​ แห่งปกิณณกทุกข์มีโสกะเป็นต้น ​ เหตุนั้นภวจักรนี้บัณฑิตพึงทราบแม้โดยกิจคือความเป็นไปโดยหน้าที่ 2  ในบททั้งปวงตามควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 231)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โดยเป็นเครื่องกั้น'''​ 
- 
-อีกข้อหนึ่ง ​ เหตุใด ​ ในบทเหล่านี้ ​ บทว่า ​ "​สังขารมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา" ​ นี้เป็นเครื่องกั้น ​ (คือปฏิเสธ) ​ ความเห็นว่ามีผู้สร้าง ​ บทว่า ​ "​วิญญาณมีเพราะปัจจัยคือสังขาร" ​ เป็นเครื่องกั้นความเห็นว่า ​ อัตตาเคลื่อนที่ได้ ​ บทว่า ​ "​นามรูปมีเพราะวิญญาณ" ​ เป็นเครื่องกั้นฆนสัญญา ​ (ความสำคัญว่าเป็นก้อน) ​ เพราะแสดงความแตกได้แห่งวัตถุที่คนเขลากำหนดเอา ​ (เอง) ​ ว่าเป็นอัตตา ​ บทว่า ​ "​สฬายตนะมีเพราะปัจจัยคือนามรูป" ​ เป็นต้น ​ เป็นเครื่องกั้นความเห็น ​ (ผิดต่าง ๆ)  มีเห็นว่า ​ อัตตาเห็นนี้ ​ ฯลฯ ​ อัตตารู้สึก ​ อัตตาสัมผัส ​ อัตตาเสวย ​ (เวทนา) ​ อัตตาอยาก ​ อัตตาถือมั่น ​ อัตตาเป็น ​ อัตตาเกิด ​ อัตตาแก่ ​ อัตตาตาย ​ ดังนี้เป็นต้น ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนั้น ​ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยเป็นเครื่องกั้นความเห็นผิดตามควร 
- 
-'''​โดยอุปมา'''​ 
- 
-อีกข้อหนึ่ง ​ เหตุใด ​ ในองค์เหล่านี้ ​ อวิชชาอุปมาเหมือนคนบอดเพราะไม่เห้นธรรมทั้งหลายทั้งโดยลักษณะประจำตัว ​ (ของธรรมนั้น ๆ)  ทั้งโดยสามัญญลักษณะ ​ สังขารอันมีเพราะปัจจัยคือวิชชา ​ เหมือนการก้าวพลาดของคนตาบอด ​ วิญญาณอันมีเพราะปัจจัยคือสังขารเหมือนการหกล้มของคนก้าวพลาด ​ นามรูปอันมีเพราะปัจจัยคือวิญญาณ ​ เหมือนความเกิดเป็นแผลฝีขึ้นแห่งคนหกล้ม ​ สฬายตนะอันมีเพราะปัจจัยคือนามรูป ​ เหมือนต่อม ​ (หัวฝีอันเกิดขึ้นเพื่อให้) ​ ฝีแตก ​ ผัสสะอันมีเพราะปัจจัยคือสฬายตนะ ​ เหมือน ​ (อะไร) ​ กระทบต่อมฝีเข้าเวทนาอันมีเพราะปัจจัยคือผัสสะ ​ เหมือนความทุกข์ ​ (เจ็บปวด) ​ เกิดแต่การกระทบ ​ ตัณหาอันมีเพราะปัจจัยคือเวทนา ​ เหมือนความปรารถนาจะแก้ทุกข์ ​ อุปาทานอันมีเพราะปัจจัยคือตัณหาเหมือนการควาเอายาแสลงด้วยมุ่งแต่จะแก้ ​ (ทุกข์) ​ ภพอันมีเพราะปัจจัยคืออุปาทาน ​ เหมือนการทายาแสลงที่ตนนับถือ ​ ชาติอันมีเพราะปัจจัยคือภพ ​ เหมือนเกิดเป็นฝีกลายเพราะทายาแสลงเข้า ​ ชรามรณะอันมีเพราะชาติ ​ เหมือนความแตกแห่งฝีเพราะฝีกลาย 
- 
-หรือนัยหนึ่ง ​ เหตุใด ​ ในองค์เหล่านี้ ​ อวิชชาย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลายไว้ ​ โดยทำให้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิด ​ เหมือนเฝ้างำดวงตา ​ (ทั้งสองข้าง) ​ ไว้ ​ คนโง่ที่ถูกอวิชชานั้นครอบงำไว้แล้วย่อมห่อตัวไว้ด้วยสังขารทั้งหลายอันนำไปสู่ภพใหม่ ​ เหมือนตัวไหมห่อตัวได้ด้วยส่วน ๆ  หนึ่ง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 232)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แห่งฝักไหม ​ วิญญาณที่สังขารครอบครองแล้วย่อมได้ที่อาศัยในคติทั้งหลาย ​ เหมือนพระราชกุมารที่ปริณายกปกป้องแล้วย่อมได้ความสนับสนุนในราชสมบัติ ​ วิญญาณย่อมยังนามรูปมากประการให้เกิดในปฏิสนธิเพราะตรึกไปในอารมณ์อันเป็นนิมิตแห่งอุปบัติ ​ (มีกรรมนิมิตเป็นต้น) ​ เหมือนนักเล่นกลทำกลให้เกิดได้หลายประการ ​ สฬายตนะที่ตั้งมั่นอยู่ในนามรูปแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ​ เหมือนพุ่มไม้ในป่าที่ตั้งมั่นอยู่ในพื้นดินดีย่อมถึงความเติบโตงอกงามแผ่กว้าง ​ ผัสสะย่อมเกิดเพราะความกระทบกันแห่งอายตนะ ​ เหมือนไฟเกิดเพราะการสีแห่งไม้สีไฟอันบน ​ เวทนาย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ถูกผัสสะกระทบ ​ เหมือนความร้อนเกิดแก่คนที่ไฟถูกเอา ​ ตัณหาย่อมเจริญมากแก่คนที่เสวยเวทนาอยู่ ​ เหมือนความกระหายเพิ่มมากขึ้นแก่คนที่ดื่มน้ำเกลือเข้าไป ​ ผู้ทะเยอทะยาน ​ (ด้วยตัณหา) ​ แล้วย่อมทำความปรารถนาในภพทั้งหลาย ​ เหมือนคนกระหายปรารถนาในน้ำดื่ม ​ การทำความปรารถนานั้นนับเป็นอุปาทานของเขา ​ เขาย่อมมั่นด้วยอุปาทาน ​ เหมือนปลายึดเอาเบ็ดไว้มั่นด้วยความโลภในเหยื่อ ​ เมื่อภพมีอยู่ ​ ชาติก็ย่อมมี ​ เหมือนเมื่อพืชมีอยู่ ​ หน่อก็ย่อมมี ​ ชรามรณะก็ย่อมมีแก่ผู้เกิดมาแล้วแน่แท้ ​ เหมือนการล้มย่อมมีแก่ต้นไม้ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นแน่ ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนั้น ​ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยอุปมาทั้งหลายดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ตามควร 
- 
-'''​โดยต่างความลึก'''​ 
- 
-อีกข้อหนึ่ง ​ เหตุใดคำบาลีว่า ​ "​ดูกรอานนท์ ​ ก็แลปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกด้วย ​ (เค้าที่ปรากฏออกมา) ​ ก็ลึกด้วย" ​ ดังนี้ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความที่ปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นธรรมลึกทั้งโดยอรรถ ​ (คือผล) ​ ทั้งโดยธรรม ​ (คือเหตุ) ​ ทั้งโดยการแสดง ​ ทั้งโดยปฏิเวธเหตุนั้น ​ ภวจักรนั้น ​ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยต่างความลึกตามควร 
- 
-'''​ลึกโดยผล'''​ 
- 
-ในความลึกเหล่านั้น ​ เหตุใด ​ อรรถคือความที่ชรามรณะเกิดขึ้นเป็นไปพร้อมปัจจัยคือชาติ ​ ชื่อว่าเป็นธรรมลึก ​ เพราะอรรถคือความชรามรณะเป็นไปพร้อมเพราะปัจจัยคือชาติอย่างนี้ว่า ​ "​ชรามรณะย่อมมีแต่ชาติหามิได้ ​ และเว้นชาติเสีย ​ มันจะมีเหตุอื่นก็หามิได้ ​ และมันย่อมเป็นไปพร้อมแต่ชาติด้วยประการอย่างนี้" ​ ดังนี้ ​ เป็นธรรมที่รู้ได้ยาก ​ นัยเดียวกันนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 233)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อรรถคือความที่ชาติเกิดขึ้นเป็นไปพร้อมเพราะปัจจัยคือภพ ​ ฯลฯอรรถคือความที่สังขารเกิดขึ้นไปพร้อมเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ (ล้วน) ​ เป็นธรรมลึก ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนี้จึงชื่อว่าลึกโดยอรรถแล ​ นี่เป็นความลึกโดยอรรถ ​ (คือผล) ​ ในภวจักรนี้เป็นอันดับแรก ​ แท้จริง ​ ผลที่เกิดแต่เหตุ ​ ท่านเรียกว่าอรรถ ​ ดังบาลีว่า ​ "​ความรู้ในผลอันเกิดแก่เหตุ ​ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา"​ 
- 
-'''​ลึกโดยเหตุ'''​ 
- 
-ประการหนึ่ง ​ เหตุใด ​ อรรถคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย ​ ชื่อว่าเป็นธรรมลึก ​ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารนั้น ๆโดยอาการใดและโดยสถานะใด ​ อาการนั้นและสถานะนั้นเป็นกรณีที่รู้ได้ยาก ​ นัยเดียวกันนั้น ​ อรรถคือความทีสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ​ ฯลฯ ​ อรรถคือความที่ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ​ (ล้วน) ​ เป็นธรรมลึก ​ เหตุนั้นภวจักรนี้จึงชื่อว่าลึกโดยธรรม ​ (คือเหตุ) ​ ในภวจักรนี้ ​ แท้จริงคำว่า ​ "​ธรรม" ​ เป็นชื่อแห่งเหตุ ​ ดังบาลีว่า ​ "​ความรู้ในเหตุ ​ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา"​ 
- 
-'''​ลึกโดยการแสดง'''​ 
- 
-ประการหนึ่ง ​ เหตุใด ​ แม้การแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นก็ลึก ​ เพราะเป็นการแสดงที่พึงให้ดำเนินไปโดยเหตุนั้น ๆ  โดยประการนั้น ๆ  ญาณอื่นแต่พระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่ได้ที่ตั้งในปฏิจจสมุปบาทนั้น ​ จริงอย่างนั้น ​ ภวจักรนั่น ​ ในบางสูตรทรงแสดงอนุโลม ​ บางสูตรทรงแสดงโดยปฏิโลม ​ บางสูตรทรงแสดงทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ​ บางสูตรทรงแสดงตั้งแต่ตอนกลางไปอนุโลมบ้าง ​ บางสูตรทรงแสดงทั้ง 3  สนธิ 4  สังเขป ​ บางสูตรทรงแสดง 2  สนธิ 3  สังเขป ​ บางสูตรทรงแสดงแต่สนธิเดียว 2  สังเขป ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนี้จึงชื่อว่าลึกโดยการแสดงผล ​ นี่เป็นความลึกโดยการแสดง 
- 
-'''​ลึกโดยปฏิเวธ'''​ 
- 
-ประการหนึ่ง ​ เหตุใด ​ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ ​ สภาวะแห่งธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้นใด ​ อนึ่ง ​ เพราะสภาวะใดที่พระโยคาวจรแทงตลอดแล้ว ​ ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นก็เป็นอันได้แทงตลอดโดยลักษณะประจำตัว ​ (ของธรรมนั้น ๆ)  อย่างถูกต้องด้วย ​ สภาวะนั้นจัดว่าลึกเพราะหยั่งได้ยาก ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนี้จึงชื่อว่าลึกโดยปฏิเวธ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 234)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นัยเดียวกันนั้นแล ​ เหตุใด ​ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ ​  ​อรรถคือความไม่รู้ ​ ความไม่เห็นความไม่แทงตลอดด้วยดีซึ่งสัจจะแห่งอวิชชาก็ลึก ​ อรรถคือความปรุงแต่ง ​ ความพอกพูนขึ้น ​ ความเป็นไปกับราคะ ​ ความแย้งต่อราคะแห่งสังขารทั้งหลายก็ลึก ​ อรรถคือความว่างเปล่าความไม่ขวนขวาย ​ (คือไม่มีความคิด) ​ ความไม่เคลื่อนที่ไป ​ (แต่) ​ ปรากฏโดยปฏิสนธิได้ ​ แห่งวิญญาณก็ลึก ​ อรรถคือความเกิดขึ้นพร้อมกัน ​ ความแยกกัน ​ ความแยกกันไม่ได้ ​ ความน้อมไปได้ ​ ความสลายได้แห่งนามรูปก็ลึก ​ อรรถคือความเป็นอธิบดี ความเป็นโลก ​ ความเป็นทวาร ​ ความเป็นเขต ​ ความเป็นวิสยี ​ (คือเป็นอินทรีย์) ​ แห่งฬายตนะก็ลึก ​ อรรถคือความต้องกันเข้า ​ ความเบียดกันเข้า ​ ความถึงกันเข้า ​ ความประชุมกันเข้าแห่งผัสสะก็ลึก ​ อรรถคือความเสวยรสอารมณ์ ​ ความเป็นสุข ​ เป็นทุกข์ ​ และกลาง ๆ  ความเสวยอย่างนิชชีวะ ​ (คือไม่มีอัตตาผู้เสวย) ​ แห่งเวทนาก็ลึก ​ อรรถคือความเพลิดเพลิน ​ ความจอด ​ ความปรารถนา ​ (ที่ไหลรุด) ​ ดุจลำธาร ​ (แผ่คลุม) ​ ดุจเครือเถา ​ (แผ่กว้าง) ​ ดุจแม่น้ำ ​ และไม่รู้จักเต็มดุจทะเลแห่งตัณหาก็ลึก ​ อรรถคือความยึด ​ ความถือ ​ ความจับใจ ​ ความก้าวล่วงยากแห่ง ​ อุปาทานก็ลึก ​ อรรถคือความประมวลไว้ ​ ความปรุงแต่งไว้ ​ และความซัดไปในกำเนิดในคติใน ​ (วิญญาณ) ​ ฐิติ ​ และใน ​ (สัตต) ​ นิวาสแห่งภพก็ลึก ​ อรรถคือความเกิด ​ ความได้กำเนิด ​ ความหยั่งลง ​ (ในครรภ์) ​ ความผลิตขึ้น ​ ความปรากฏขึ้นแห่งชาติก็ลึก ​ อรรถคือความสิ้นไป ​ ความเสื่อมไป ​ ความตกไป ​ ความแปรไปแห่งชรามรณะก็ลึก ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนี้จึงชื่อว่าลึกโดยปฏิเวธแล 
- 
-นี้เป็นความลึกโดยปฏิเวธในปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้ 
- 
-'''​โดยต่างนัย'''​ 
- 
-ประการหนึ่ง ​ เหตุใด ​ ในปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้ ​ มีนัยแห่งอรรถอยู่ 4  เอกัตตนัย ​ (นัยแห่งอรรถเป็นอันเดียว) ​ นานัตตนัย ​ (นัยแห่งอรรถต่าง ๆกัน) ​ อัพยาปารนัย ​ (นัยแห่งอรรถว่าไม่มีความขวนขวาย) ​ เอวังธัมมตานัย ​ (นัยแห่งอรรถว่าเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง) ​ เหตุนั้น ​ ภวจักรนั้น ​ บัณฑิตจึงควรทราบแม้โดยความต่างนัยอีกตามควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 235)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เอกัตตนัย'''​ 
- 
-ใน 4  นัยนั้น ​ ความไม่ขาดสายแห่งความสืบต่อดังนี้คือ ​ สังขารมีเพราะปัจจัยคืออวิชชา ​ วิญญาณมีเพราะปัจจัยคือสังขารเป็นต้น ​ ดุจความที่พืชถึงความเป็นต้นไม้เพราะความมีขึ้นแห่งอวัยวะของต้นไม้มีหน่อเป็นต้น ​ (สืบต่อกันมา) ​ ฉะนั้น ​ ชื่อว่าเอกัตตนัย ​ ซึ่งเป็นนัยที่เมื่อ ​ พระโยคาวจรเห็นโดยถูกต้อง ​ ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้ ​ เพราะหยั่งรู้ความไม่ขาดสายแห่งความสืบต่ออันเป็นไปอยู่โดยความสัมพันธ์กันแห่งเหตุและผล ​ เมื่อเห็นผิดไป ​ ย่อมจะยึดมั่น ​ สัสสตทิฏฐิ ​ เพราะถือเอาความไม่ขาดสายแห่งความสืบต่ออันเป็นไปอยู่โดยความสัมพันธ์กันแห่งเหตุและผลว่า ​ เป็นอันเดียวไปเสีย 
- 
-'''​นานัตตนัย'''​ 
- 
-ส่วนการกำหนดลักษณะของใครของมันแห่งธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ นานัตตนัย ​ ซึ่งเป็นนัยเมื่อเห็นโดยถูกต้องย่อมละสัสสตทิฏฐิได้ ​ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งสิ่งใหม่ ๆ  เมื่อเห็นผิดไปย่อมจะยึดมั่นอุจเฉททิฏฐิ ​ เพราะถือเอาเหตุผลอันตกอยู่ในสันดานเดียวกัน ​ (คือมีสันตติเดียวกันดังกล่าวแล้ว) ​ สันดานมาแตกลง ​ (คือตาย) ​ นั่นเองว่าต่างกัน ​ (คือเป็นคนละอัน ​ ไม่สืบต่อกัน) ​ ไปเสีย 
- 
-'''​อัพยาปารนัย'''​ 
- 
-ความที่อวิชชาไม่มีความขวนขวาย ​ (คือไม่มีความคิดว่า) ​ "​สังขารทั้งหลายข้าทำให้เกิดขึ้น" ​ หรือว่าสังขารไม่มีความขวนขวาย ​ (คือไม่มีความคิด) ​ ว่า ​ "​วิญญาณเข้าทำให้เกิดขึ้น" ​ ดังนี้เป็นอาทิ ​ ชื่อว่าอัพยาปารนัย ​ ซึ่งเป็นนัยที่เมื่อเห็นโดยถูกต้อง ​ ย่อมละอัตตทิฏฐิ ​ (ความเห็นว่ามีอัตตา) ​ ได้ ​ เพราะหยั่งรู้ความไม่มีผู้สร้าง ​ เมื่อเห็นผิดไปย่อมจะยึดเอาอกิริยทิฏฐิเพราะไม่ถือเอาความเป็นเหตุแห่งธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ​ ซึ่งแม้เมื่อความขวนขวายไม่มี ​ ก็มิได้โดยสภาวะนิยม 
- 
-'''​เอวังธัมมตานัย'''​ 
- 
-ส่วนนัยว่า ​ "​ความเกิดขึ้นแห่งผลมีสังขารเป็นต้น ​ ย่อมมีแต่เหตุมีอวิชชาเป็นต้นเท่านั้น ​ ดุจความเกิดขึ้นแห่งนมส้มเป็นต้น ​ ย่อมมีแต่นมสดเป็นต้นฉะนั้น ​ มิใช่อื่น" ​ (ดัง) ​ นี้ ​ ชื่อว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 236)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เอวังธัมมตานัย ​ ซึ่งเป็นนัยโดยเมื่อเห็นโดยถูกต้องย่อมละอเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิได้เพราะหยั่งรู้ผลโดยสมควรแก่ปัจจัย ​ เมื่อเห็นผิดไปย่อมจะยึดมั่นอเหตุกทิฏฐิและนิยตวาทะ ​ เพราะไม่ถือเอาความเป็นไปแห่งผลตามควรแก่ปัจจัยแล้ว ​ ยังถือว่าสิ่งอะไร ๆ  มิได้เกิดแต่เหตุอะไร ๆ  (ถือว่าสุดแต่โชคเคราะห์ต่างหาก) ​ แล 
- 
-ภวจักรนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบโดยว่า ​ (องค์ไหน) ​ เกิด 
- 
-แต่สัจจะ ​ (ไหน) 1  โดยกิจ 1  โดยเป็นเครื่องกั้น 1  โดย 
- 
-อุปมาทั้งหลาย 1  โดยต่างความลึก 1  โดยต่างนัย 1 
- 
-ตามควรด้วยประการฉะนี้ 
- 
-เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังมิได้ทำลายภวจักร ​ อันหยั่งไม่ถึงเพราะเป็นธรรมลึก ​ อันต่อต้านยากเพราะถือเอาได้โดยนัยต่าง ๆ  นี้เสียด้วยดาบคือญาณอันลับดีที่หินอย่างประเสริฐคือสมาธิแล้ว ​ แลล่วงสังสารภัยอันเป็นขั้นอยู่เป็นนิตย์ ​ ดุจอสนีวิจักร ​ (คือสายฟ้า) ​ ไปได้ ​ ไม่มีสักคนแม้ในฝัน ​ จริงอยู่ ​ ข้อนี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ​ "​ดูกรอานนท์ ​ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกด้วย ​ เค้า ​ (ที่ปรากฎออกมา) ​ ก็ลึกด้วยดูกรอานนท์ ​ ก็เพราะไม่เข้าใจไม่รู้ตามธรรมนั่น ​ หมู่สัตว์นี้จึงเกิดเป็นผู้ ​ (ยุ่งเหยิง) ​ ดุจด้ายยุ่ง ​ เกิดเป็นผู้ ​ (ซับซ้อน) ​ ดุจรังนกคุณิ ​ เกิดเป็นผู้ ​ (สับสน) ​ ดุจหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ​ ไม่ล่วงอบาย ​ ทุคติ ​ วินิบาตสงสารไปได้" ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ บัณฑิตผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่ตนก็ดี ​ แก่ผู้อื่นก็ดี ​ พึงละกิจเศษ ๆ  เสียแล้ว 
- 
-จะได้ความหยั่งลงมั่น ​ ในประเภทปัจจยาการ 
- 
-อันลึกนี้ ​ ด้วยประการใด ​ ก็พึงเป็นผู้แสดงประกอบ 
- 
-เนือง ๆ  ด้วยประการนั้นเทอญ 
- 
-'''​ปริเฉทที่ 17  ชื่อปัญญามินิทเทส'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งปัญญาภาวนาในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ​ ดังนี้'''​ 
- 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​