วิสุทธิมรรค_13_อภิญญานิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_13_อภิญญานิทเทส [2020/06/27 21:15]
dhamma
วิสุทธิมรรค_13_อภิญญานิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
- 
-'''​ อภิญญานิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 13 '''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 280)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บัดนี้ ​ ถึงวาระแสดงเรื่องทิพพโสตธาตุต่อไป ​ นักศึกษาพึงทราบความแห่งพระบาลี ​ เป็นต้นว่า ​ พระโยคีนั้นเมื่อมีจิตตั้งมั่นอย่างนี้ ​ ดังในทิพพโสตธาตุนิทเทสนั้นก็ดี ​ ในอภิญญา 3  ต่อนั้นไปก็ดี ​ ด้วยความหมายดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยอิทธิวิธนิทเทสเถิด ​ ในพระบาลีว่าด้วยเรื่องอภิญญาทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้าจักขยายเฉพาะข้อความที่แปลกกันเท่านั้น 
- 
-=ทิพพโสตธาตุกถา= 
- 
-บรรดาคำเหล่านั้น ​ ในคำว่า ​ ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ​ นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ 
- 
-โสตธาตุชื่อว่าเป็นทิพย์ ​ เพราะเป็นเช่นเดียวกับของทิพย์ ​ ความจริงเป็นเรื่องธรรมดาที่ธาตุคือประสาทหูของพวกเทวดาเป็นธรรมชาติที่เกิดจากสุจริตกรรม ​ มิได้เกลือกกลั้วด้วยโทษมีน้ำดี, ​ เสมหะ ​ และโลหิตเป็นต้น ​ จึงสามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้ ​ เพราะพ้นจากสิ่งที่เข้าไปทำให้ขุ่นมัว ​ แม้ธาตุคือประสาทหูอันสำเร็จด้วยญาณ ​ ซึ่งบังเกิดขึ้นได้ด้วย ​ กำลังแห่งวิริยภาวนาของภิกษุนี้เล่า ​ ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ทิพย์ ​ เพราะเป็นเหมือนของทิพย์ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ชื่อว่าเป็นทิพย์ ​ เพราะพระโยคีได้ด้วยอำนาจทิพยวิหารและเพราะเหตุที่อิงอาศัยทิพยวิหารของตนชื่อว่า ​ โสตธาตุ ​ เพราะอรรถว่าได้ยิน ​ และเพราะอรรถว่ามิใช่ชีวะ ​ เป็นแต่เพียงธาตุเท่านั้น ​ อนึ่ง ​ ชื่อว่า ​ โสตธาตุ ​ แม้เพราะเป็นเพียงดัง ​ โสตธาตุ ​ เพราะทำกิจของโสตธาตุได้ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์นั้น คำว่า ​ หมดจด ​ คือบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง ​ คำว่า ​  ​ล่วงวิสัยของมนุษย์ ​ คือล่วง ​ ได้แก่ ​ ดำรงอยู่ล่วงเลยหูเนื้อซึ่งเป็นวิสัยของมนุษย์ ​ เพราะได้ยินเสียงล่วงอุปจารของมนุษย์ไป ​ คำว่า ​  ​ฟังได้ 2  เสียง ​ คือฟังเสียงได้ 2  ชนิด 2 ชนิดอะไรบ้าง ?  คือเสียงทิพย์ 1  เสียงมนุษย์ 1  มีอธิบายว่า ​ เสียงของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ​ ด้วยคำว่า ​ ฟังได้ทั้ง 2  เสียงนี้ ​ พึงทราบการกำหนดส่วนที่จะได้ยินเสียงดังนี้ ​ คำว่า ​ เสียงเหล่าใดทั้งไกลและใกล้ ​ นั้นมีอธิบายว่า ​ เสียงเหล่าใดอยู่ที่ไกล ​ คือแม้จะอยู่ในจักรวาลอื่น ​ และเสียงเหล่าใดอยู่ที่ใกล้จนชั้นที่สุดแม้แต่เสียงของสัตว์ตัวเล็ก ๆ  ที่อยู่อาศัยในร่างกายของตน ​ เธอย่อมได้ยินเสียงเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนด้วยคำว่า ​ เสียงเหล่าใดทั้งไกลและใกล้ ​ นั้น ​ พึงทราบการกำหนดอย่างไม่มีเขตแดน ​ ดังนี้  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 281)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็ทิพพโสตธาตุนี้ ​ จะพึงให้เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการอย่างไร ?   ​คือภิกษุนั้นต้องเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท ​ พอออกแล้วมีจิตตั้งมั่นด้วยบริกรรมสมาธิ ​ ตอนแรก ๆ พึงนึกถึงเสียงที่หยาบ ​ มีเสียงราชสีห์ในป่าเป็นต้น ​ ซึ่งอยู่ในที่ไกลที่มาปรากฏทางโสตประสาทตามปกติพึงนึกถึงเสียงที่ละเอียดเป็นชั้น ๆ ไปโดยลำดับ ​ เริ่มต้นแต่เสียงที่หยาบกว่าเขาทั้งหมดอย่างนี้ ​ คือ ​ เสียงระฆังในวิหาร ​ เสียงกลอง ​ เสียงสังข์ ​ เสียงที่พวกภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยพากันท่องบ่นอยู่อย่างเต็มกำลัง เสียงที่พวกคนผู้พูดอยู่ตามปกติเช่นว่า ​ อะไรนะขอรับ ​ อะไรกันคุณ ​ เป็นต้น ​ เสียงนก ​ เสียงลม ​ เสียงเท้า ​ เสียงน้ำเดือดดังคลัก ๆ  เสียงใบตาลที่แห้งกรอบอยู่ที่แดด ​ เสียงมดดำ ​ และมดแดง ​ พระโยคีนั้นพึงสนใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ​ ในทิศตะวันตก ​ ในทิศเหนือทิศใต้ ​ ในทิศเบื้องล่าง ​ ในทิศเบื้องบน ​ ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ​ ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ​ ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ​ ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ​ พระโยคีนั้นพึงสนใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งที่หยาบทั้งที่ละเอียด ​ เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏชัดแก่พระโยคีนั้นผู้มีจิตดำรงอยู่ตามปกติ ​ ก็เมื่อเธอมีจิตเป็นสมาธิด้วยการบริกรรม ​ เสียงย่อมปรากฏชัดเป็นอย่างยิ่ง ​   เมื่อเธอมนสิการถึงสัททนิมิตอยู่นั่นแล ​ มโนทวาราวัชชนะทำเสียงเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นว่า ​ ทิพพโสตธาตุ ​ จักเกิดขึ้นในบัดนี้ ​ เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้วชวนะ 4  หรือ 5  ดวงที่มีชวนะ 3  หรือ 4  ดวงข้างต้นมีกามาวจร ​ มีชื่อว่า ​ บริกรรม, ​ อุปจาร, ​ อนุโลม ​ และโคตรภู ​ ดวงที่ 4  หรือ 5  เป็นอัปปนาจิตชั้นรูปาวจร ​ นับเข้าฌานหมวด 4  ย่อมแล่นไป ​ ญาณใดซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอัปปนาจิตนั้นในอัปปนาวิถีนั้นนี้พึงทราบว่าทิพพโสตธาตุ ​ เบื้องหน้าแต่นั้น ​ ทิพพโสตธาตุก็ตกไปในกระแสนั้น ​ พระโยคีเมื่อทำทิพพโสตธาตุนั้นให้เกิดขึ้น ​ กำลังกำหนดที่ระยะเพียงชั่วองคุลีเดียวว่าจะฟังเสียงในระยะนี้แล้วพึงให้ขยาย ​ แต่นั้นพึงกำหนดด้วยอำนาจ 2  องคุลี ​ 4 องคุลี ​ 8 องคุลี ​ คืบ ​ ศอก ​ ภายในห้องหน้ามุข ​ ปราสาท ​ บริเวณ ​ สังฆาราม ​ โคจรคาม ​ และชนบท ​ เป็นต้น ​ จนตลอดถึงจักรวาล ​ หรือกำหนดให้ยิ่งกว่านั้นก็ได้ ​ กำหนดแล้วพึงให้ขยายออกไป ​ พระโยคีนี้ได้บรรลุอภิญญาแล้วอย่างนี้ ​ ย่อมได้ยินเสียงแม้ที่อยู่ภายในระยะโอกาสที่ทิพพโสตธาตุญาณที่มีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์ถูกต้องแล้ว ​ ก็เมื่อฟังอย่างนี้ ​ แม้หากจะมีเสียงกึกก้องเป็นอย่างเดียวกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 282)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กับเสียงสังข์กลอง ​ และบัณเฑาะว์เป็นต้นดังขึ้นไปจนกระทั่งพรหมโลก ​ เมื่อมีความมุ่งหมายจะกำหนดเฉพาะเสียงเดียว ​ เธอก็อาจจะกำหนดแยกเสียงได้ว่านี้เสียงสังข์ ​ นี้เสียงกลองได้ทีเดียว 
- 
-จบทิพพโสตธาตุกถา 
- 
-=เจโตปริยญาณกถา= 
- 
-คำว่า ​ ด้วยเจโตปริยญาณ ​ ในเจโตปริญาณกถานี้ ​ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ​ ญาณชื่อว่า ​ ปริยะ ​ เพราะอรรถว่าไปรอบ ​ อธิบายว่า ​ ย่อมกำหนดด้วยญาณอันกำหนดใจของผู้อื่นได้ ​ ชื่อว่า ​ เจโตปริยะ ​ ญาณนั้นด้วย ​ กำหนดใจของผู้อื่นได้ด้วย ​ เหตุนั้นชื่อว่า ​ เจโตปริยญาณ ​ อธิบายว่าเพื่อประโยชน์แก่เจโตปริยญาณนั้น ​ คำว่า ของสัตว์อื่น ​ คือของสัตว์พวกที่เหลือ ​ เว้นตนเสีย ​ แม้คำว่า ​ แห่งบุคคลอื่นนี้ ​ ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกันกับบทว่าของสัตว์พวกอื่นนี้เหมือนกัน ​ แต่ที่ท่านทำพยัญชนะให้ต่างกัน ​ ก็ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์และด้วยความไพเราะแห่งเทศนา ​ คำว่า ​ กำหนดใจด้วยใจ ​ คือ ​ กำหนดใจเหล่านั้นของสัตว์ด้วยใจของตนเอง คำว่า ​ รู้ชัด ​ คือรู้ทุกสิ่งทุกประการ ​ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้มีราคะเป็นต้น  ​ 
- 
-ถามว่า ​ ก็ญาณนี้จะพึงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? 
- 
-ตอบว่า ​ ก็ญาณนี้ย่อมสำเร็จด้วยอำนาจทิพยจักษุ ​ ทิพยจักษุญาณนั้นเป็นบริกรรมแห่งเจโตปริยญาณนี้เอง ​ เพราะเหตุนั้น ​ ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณแล้วมองเห็นสีแห่งโลหิตซึ่งเป็นไปอาศัยหทัยรูปของผู้อื่นด้วยจักษุดุจทิพย์แล้ว ​ พึงสอบสวนดูจิต ​ ก็เมื่อใดโสมนัสจิตเป็นไป ​ เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมมีสีแดงเป็นเช่นเดียวกับผลไทรสุกปลั่ง ​ เมื่อใดโทมนัสจิตเป็นไป ​ เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมมีสีดำเช่นเดียวกับผลหว้าสุก ​ เมื่อใดอุเบกขาจิตเป็นไป ​ เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมผ่องใสเช่นเดียวกับน้ำมันงา ​ เหตุนั้นเธอเห็นสีเลือดหัวใจผู้อื่นว่า ​ รูปนี้มีอินทรีย์คือ ​ โสมนัสเป็นสมุฏฐาน ​ รูปนี้มีอินทรีย์คือโทมนัสเป็นสมุฏฐาน ​ รูปนี้มีอินทรีย์คืออุเบกขาเป็นสมุฏฐาน ​ ดังนี้แล้ว ​ เมื่อจะสอบสวน ​ พึงทำเจโตปริญาณให้ถึงความแรงกล้าเถิด ​ แม้เมื่อเจโตปริยญาณนั้นถึงความมีกำลังแรงกล้าอย่างนี้แล้ว ​ เธอย่อมรู้ชัดถึงกามาวจรจิตและรูปาวจรจิต ​ อรูปาวจรจิต ​ ทั้งหมดอยู่ ​ จึงดำเนินเข้าหาจิตอื่นนั่นแลจากจิตนั้นได้โดยลำดับแม้เว้นการดูหทัยรูป ​ จริงอยู่ ​ แม้คำนี้ท่านก็กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า 
- 
-ถามว่า ​ สำหรับอรูปสมาบัติ ​ พระโยคีต้องการจะรู้จิตของผู้อื่นจะดูหทัยรูปของใคร ?  จะมองอินทรีย์อันแปลก ๆ ของใคร ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 283)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ตอบว่า ​ ไม่ต้องดูของใคร ​ อันนี้เป็นวิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ ​ คือการที่จะนึกถึงจิตในแห่งใดแห่งหนึ่ง ​ จึงรู้จักจิต 16  ประเภท ​ ก็ถ้อยคำนี้ท่านกล่าวหมายถึงผู้ที่ไม่ได้ทำการสั่งสมไว้  ​ 
- 
-ก็ในคำเป็นต้นว่า ​ จิตมีราคะหรือ ​ ดังนี้ ​ มีอธิบายว่าจิตที่สหรคตด้วยโลภมูลจิต 8  ดวง ​ พึงทราบว่าจิตมีราคะ ​ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตอันเป็นไปในภูมิ 4 ที่เหลือชื่อว่าจิตที่ปราศจากราคะ ​ ก็จิต 4  ดวงเหล่านี้คือ ​ จิตที่ประกอบด้วยโทมนัส 2  ดวง ​ จิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา 1  ดวง ​ จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ 1  ดวง ไม่ได้ทำการรวบรวมเข้าในทุกะนี้ ​ แต่พระเถระบางพวกก็ทำการรวบรวมทั้งจิต 4  ดวงนี้นั้นเข้าด้วย ​ ก็จิตที่ประกอบด้วยโทมนัส 2  ดวง ​ ชื่อว่า ​ จิตมีโทสะ ​ แม้จิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปในภูมิ ​ 4  แม้ทั้งมวลชื่อว่า ​ จิตที่ปราศจากโทสะ ​ อกุศลจิต 10  ดวง ​ ที่เหลือ ไม่ได้ทำการรวบรวมเข้าในทุกะนี้ ​ แต่พระเถระบางพวกก็ทำการรวบรวมอกุศลจิต 10  ดวงนั้นเข้าด้วย ​ ก็ในคำว่า ​ มีโมหะ ปราศจากโมหะ ​ นี้มีอธิบายว่า ​ จิต 2  ดวง ​ คือจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา 1  ที่สหรคตด้วย ​ อุจธัจจะ 1  ชื่อว่า จิตมีโมหะ ​ ตามนัยที่เป็นไปเฉพาะ ​ คือเป็นโมหะแท้ ๆ  ไม่ปนด้วยโลภะ ​ โทสะ ​ ฝ่ายอกุศลจิตทั้ง 12  ดวง ​ พึงทราบว่า ​ จิตมีโมหะ ​ เพราะโมหะเกิดในอกุศลทั้งปวง ​ จิตที่เหลือชื่อว่าจิตปราศจากโมหะ ​ ส่วนจิตที่คล้อยไปตามถิ่นเจตสิกและมิทธเจตสิกพึงทราบว่าเป็นจิตที่หดหู่ ​ จิตที่คล้อยไปตามอุทธัจจเจตสิกพึงทราบว่าเป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน ​ จิตที่เป็นรูปาวจร ​ และอรูปาวจรพึงทราบว่าเป็น ​ มหัคคตจิต ​ จิตที่เหลือจากนั้นพึงทราบว่ามิใช่ ​ มหัคคตจิต ​ จิตที่เป็นไปในภูมิ 3  แม้ทุกดวง ​ พึงทาบว่า สอุตตรจิต ​ จิตที่เป็น ​ โลกุตตระ ​ พึงทราบว่าเป็น ​ อนุตตรจิต ​ จิตที่บรรลุ ​ อุปจาร ​ และ ​ อัปปนา ​ พึงทราบว่าเป็น จิตที่ตั้งมั่น ​ จิตที่ไม่บรรลุถึง ​ อุปจาร ​ และ ​ อัปปนา ​ ทั้ง 2  อย่างนั้นพึงทราบว่า จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ​ จิตที่บรรลุถึง ​ ตทังควิมุตติ ​ วิกขัมภนวิมุตติ ​ สมุจเฉทวิมุตติ ​ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ​ และ ​ นิสสรณวิมุตติ ​ พึงทราบว่าเป็น ​ วิมุตติจิต ​ จิตที่ยังไม่ถึงวิมุตติทั้ง 5  อย่างนี้ พึงทราบว่ายังไม่เป็น ​ วิมุตติจิต ​ ภิกษุผู้ได้ ​ เจโตปริยญาณ ​ ดังที่ว่ามาทั้งหมดนี้ย่อมรู้ชัดแม้ทุกสิ่งทุกอย่างว่า ​ จิตนี้มีราคะ ​ ฯลฯ ​ หรือยังไม่หลุดพ้น ​ ดังนี้ได้ 
- 
-'''​จบ เจโตปริยญาณกถา'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 284)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา= 
- 
-นักศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ​ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา ​ ดังต่อไปนี้ ​ คำว่า ​ เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา ​ นี้คือเพื่อประโยชน์แก่ญาณในการนึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยมาในกาลก่อน ​ ที่ชื่อว่า ​ ขันธ์ที่เคยอาศัยมาในกาลก่อน ​ ก็คือขันธ์ที่เคยอยู่ครอบครองในกาลก่อน ​ ได้แก่ชาติที่ล่วงไปแล้วนับไม่ถ้วน ​ คำว่า ​ อยู่ครอง คือ ​ ที่ตนได้เคยครอบครองมา ​ ที่ตนได้เคยเสวยผลมา ​ ได้แก่ที่เกิดดับในสันดานของตน ​ หรืออาการต่าง ๆ ที่อาศัยขันธ์ ​ คำว่า ​ อยู่ครอบครอง ​ คือ ​ อยู่ประจำโดยการอยู่อาศัยเป็นโคจร ​ ได้แก่ที่กำหนดรู้ชัดด้วยวิญญาณของตน ​ หรือ ​ ที่กำหนดรู้ชัดได้ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ​ ในเวลาที่อนุสรณ์ถึงท่านผู้ตัดขาดวัฏสงสารถึงนิพพานแล้ว ​ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจึงจะมีนิวุฏฐธรรมเหล่านั้นได้ ​ คำว่า ​ นึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยมาในกาลก่อน ​ คือ ​ พระโยคีนึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาในกาลก่อนได้ด้วยสติใด ​ สตินั้นชื่อว่า ​ ปุพเพนิวาสานุสสติ ​ ญาณอันสัมปยุตด้วยสตินั้นชื่อว่า ​ ญาณ ​ เพื่อประโยชน์แก่ญาณอันสัมปยุตด้วยสติ ​ นึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาในกาลก่อนนี้ดังบรรยายมานี้ ​ มีอธิบายว่า ​ เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ​ คือเพื่อการบรรลุถึงซึ่งญาณนี้ ​ คำว่า ​ มิใช่อย่างเดียว ​  ​คือหลายอย่าง ​ หรือที่ท่านให้เป็นไป ​ คือพรรณนาได้หลายอย่าง ​ คำว่า ​ ขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาในกาลก่อน ​ คือ ​ สันดานที่ตนเคยอาศัยอยู่อาศัยครอบครองในภพนั้น ๆ  ตั้งต้นแต่ภพที่เป็นอดีตล่วงมานี่เอง ​ คำว่า ​ นึกได้ ​ คือระลึกย้อนไปตามลำดับแห่งขันธ์ ​ หรือว่าตามลำดับจุติและปฏิสนธิ 
- 
-ความจริง ​ ชน 6 จำพวกย่อมระลึกถึงปุพเพสันนิวาสนี้ได้ ​ คือ ​ พวกเดียรถีย์ 1  พระสาวกปกติทั้งหลาย 1  พระมหาสาวกทั้งหลาย 1  พระอัครสาวกทั้งหลาย 1  พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย 1  พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ 1  ในชน 6  จำพวกนั้น ​ พวกเดียรถีย์ระลึกได้เพียง 40  กัล์ปเท่านั้น ​ ไม่ยิ่งไปกว่านั้นได้เลย ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะมีปัญญาน้อย ​ จริงอยู่ ​ พวกเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้มีปัญญาน้อย ​ เพราะยังกำหนดนามรูปไม่ได้ ​ พระสาวกปกติทั้งหลายระลึกได้ 100  กัล์ปก็ได้ ​ 1,000  กัล์ปก็ได้ ​ เพราะมีปัญญามาก ​ พระมหาสาวก 80  องค์ระลึกได้แสนกัล์ป ​ พระอัครสาวกทั้งสองระลึกได้ 1  อสงไขย ​ กำไรแสนกัล์ป ​ พระ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 285)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปัจเจกพระพุทธเจ้าระลึกได้ 2  อสงไขย ​ กำไรแสนกัล์ป ​ ก็อภินิหารของท่านเหล่านั้นมีกำหนด ประมาณไว้เท่านี้ ​ ส่วนอภินิหารของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ​ ไม่มีกำหนดกาล ​ 
- 
-อนึ่ง ​ พวกเดียรถีย์ระลึกได้เฉพาะลำดับแห่งขันธ์เท่านั้น ​ ไม่สามารถจะละลำดับขันธ์แล้วมาระลึกโดยจุติและปฏิสนธิได้เลย ​ จริงอยู่ ​ เดียรถีย์เหล่านั้นไม่มีการแวะลงสู่ที่ที่ตนปรารถนาได้ ​ เช่นเดียวกับคนตาบอด ​ คือคนตาบอดละไม้เท้าเสียแล้วย่อมเดินไปไม่ได้ฉันใด ​ พวกเดียรถีย์ละลำดับแห่งขันธ์แล้วย่อมระลึกไม่ได้ ​ ฉันนั้น ​ พระสาวกปกติทั้งหลายย่อมระลึกตามลำดับขันธ์ได้ ​ ทั้งระลึกต่อไปด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิก็ได้ ​ พระมหาสาวก 80  ก็เหมือนกัน ​ ส่วนพระอัครสาวกทั้งสองไม่ต้องมีการระลึกตามลำดับขันธ์ ​ เพราะว่า ​ ท่านเห็นจุติแห่งอัตภาพหนึ่งแล้วเห็นปฏิสนธิและเห็นจุติแห่งอัตภาพอื่นอีกแล้วจึงเห็นปฏิสนธิ ​ ท่านก้าวข้ามไปด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ ​ ด้วยอาการอย่างนี้แล ​ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ​ แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ​ กิจด้วยการระลึกตามลำดับขันธ์ไม่มีเลย ​ กิจด้วยการระลึกข้ามไปด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิก็ไม่มี ​ จริงอยู่ ​ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงมีพระประสงค์จะทราบถึงที่ใด ๆ  ในเบื้องต่ำหรือเบื้องบนก็ตาม ​ ถึงเวลาจะผ่านไปตั้งหลายโกฏิกัล์ป ​ ที่นั้น ๆ ก็ย่อมปรากฏขึ้นทันที ​ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นจึงทรงย่นย่อได้หลาย ๆ โกฏิกัล์ป ​ ดุจย่นย่อบาลีด้วยมีเปยยาล ​ (ฯเปฯ) ​ ฉะนั้น ​ ทรงพระประสงค์จะทรงทราบตรงที่ใด ๆ ในกัล์ปใดในภพใด ​ ก็ก้าวเจาะลงในพระญาณในที่นั้น ๆ  ในกัล์ปนั้นในภพนั้นได้เลย ​ ทรงดำเนินพระญาณไปได้อย่างแม่นยำ ​ ปานดังราชสีห์ปบสัตว์ในที่นั้น ๆ ฉะนั้น ​ ก็พระญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นซึ่งดำเนินไปอย่างนี้ย่อมไม่ผิดพลาดในชาติอันเป็นระหว่าง ๆ  เมื่อไม่ผิด ​ ไม่พลาด ​ ย่อมจับเอาเฉพาะที่ซึ่งพระองค์ปรารถนา ๆ  ทีเดียว เปรียบเหมือนอย่างลูกศรที่นายขมังธนู ​ เช่นท่านสรภังคาจารย์ผู้ทำการอบรมยิงขนทราย ​ ยิงไปแล้วมิได้กระทบต้นไม้ ​ และเครือเถาเป็นต้นในระหว่าง ​ ย่อมถูกต้องเป้าหมายไม่ผิดไม่พลาด ​ ฉันนั้น 
- 
-ก็ในพวกชนผู้นึกถึงปุพเพสันนิวาสได้เหล่านี้ ​ การเห็นปุพเพสันนิวาส ​ (ระลึกชาติได้) ​ ของพวกเดียรถีย์ ​ ย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงสว่างแห่งหิ่งห้อย ​ การระลึกชาติได้ของพระสาวกปกติย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงประทีป ​ การระลึกชาติได้ของพระมหาสาวก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 286)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงคบเพลิง ​ การระลึกชาติได้ของพระอัครสาวกย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงดาวประจำรุ่ง ​ การระลึกชาติได้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงพระจันทร์ ​ การระลึกชาติได้ของพระพุทธเจ้าย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงพระอาทิตย์พันดวงในฤดูร้อน ​ อันประดับประดาแล้วด้วยพระรัศมีตั้งพันรัศมี 
- 
-อนึ่ง ​ การระลึกชาติได้ของพวกเดียรถีย์เป็นดุจการเดินไปด้วยปลายไม้เท้าของคนตาบอด ​ การระลึกชาติได้ของพระสาวกปกติเป็นดุจการเดินทางไปบนสะพานไม้ท่อน ​ การระลึกชาติได้ของพระมหาสาวกเป็นดุจการเดินไปบนสะพานสำหรับเดินเท้า ​ การระลึกชาติได้ของพระอัครสาวกเป็นดุจการไปบนสะพานสำหรับเกวียนที่จะผ่านไปได้ ​ การระลึกชาติได้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ​ เป็นดุจการเดินไปตามทางเดินเท้าที่ใหญ่ ​ การระลึกชาติได้ของพระพุทธเจ้า ​ เป็นดุจการเดินไปตามทางเกวียนใหญ่ 
- 
-แต่ในอธิการนี้ ​ ท่านประสงค์ถึงการระลึกชาติได้ของพวกพระสาวก ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าว คำว่า ​ นึกได้ ​ คือตามนึกไปเป็นขั้นตอนด้วยสามารถลำดับขันธ์ ​ หรือด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ ​ เพราะฉะนั้น ​ ภิกษุผู้เริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อต้องการระลึกชาติได้อย่างนั้น ​ เวลากลับจากบิณฑบาตหลังอาหารไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​   เข้าฌานทั้ง 4  โดยลำดับ ​ ออกจากฌานที่ 4  ซึ่งเป็นบาทแห่งอภิญญา ​ พึงนึกถึงการนั่งครั้งสุดท้าย ​ แต่นั้นพึงนึกถึงกิจที่ตนทำทั้งกลางคืนกลางวันทั้งสิ้น ​ โดยย้อนถอยหลังอย่างนี้คือ ​ การให้ปูอาสนะ ​ การเข้าสู่เสนาสนะ ​ การเก็บบาตรจีวร ​ การฉันภัตตาหาร ​ เวลากลับมาจากบ้าน ​ เวลาเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน ​ เวลาเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตในบ้าน ​ เวลาออกจากวิหาร ​ เวลาไหว้ลานพระเจดีย์ ​ และลานพระศรีมหาโพธิ์ ​ เวลาล้างบาตร ​ เวลารับบาตร ​ กิจที่ทำแล้วตั้งแต่การรับบาตร ​ ตราบเท่าถึงการล้างหน้า ​ กิจที่ทำแล้วในเวลาใกล้รุ่ง ​ กิจที่ทำแล้วในมัชฌิมยาม ​ กิจที่ทำแล้วในปฐมยาม ​ ก็กิจเพียงเท่านี้ย่อมปรากฏแม้แต่จิตปกติ ​ แต่ปรากฏแจ่มอย่างยิ่งแก่จิตที่เป็นสมาธิ ​ เพราะการบริกรรม ​ ก็หากว่าในกิจเหล่านี้บางอย่างไม่ปรากฏไซร้ ​ ต้องเข้าฌานที่เป็นบาทอีก ​ ออกแล้วจึงนึกถึง ​ ทำได้ถึงเพียงนี้กิจย่อมปรากฏดุจประทีปลุกโพลงแล้วพึงนึกถึงกิจที่ตนทำโดยถอยหลังอย่างเดียวดังพรรณนามานี้ ​ แม้ในวันที่ 2  แม้ในวันที่ 3  ที่ 4  ที่ 5  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​  ​287)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้ใน 10  วัน ​ แม้ในกึ่งเดือน ​ แม้ทั้งเดือน ​ หรือตลอด 10  ปี ​ 20  ปีโดยอุบายนี้อยู่ ​ พึงนึกถึงนามรูปซึ่งเป็นไปในขณะจุติในภพก่อนได้ ​ ก็ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตย่อมอาจเพื่อจะเพิกปฏิสนธิ ​ ทำนามรูปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ได้โดยวาระเดียวเท่านั้น ​ ก็เพราะนามที่นามรูปในภพก่อนดับไม่มีเหลือ ​ นามรูปอื่นเกิดขึ้น ​ เหตุนั้นฐานนั้นอันคนทรามปัญญาจึงมองเห็นได้ยาก ​ ดุจที่มืดมิดอันของหนาทึบครอบเทินไว้ในเบื้องบน ​ ภิกษุนั้นไม่พึงทอดธุระเสียโดยท้อใจว่า ​ เราไม่อาจเพิกปฏิสนธิทำนามรูปซึ่งเป็นไปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ได้ ​ ก็เธอพึงเข้าฌานที่เป็นบาทนั่นแหละบ่อย ๆ  และเธอออกจากฌานนั้นแล้วพึงนึกถึงที่นั้นเถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทำไปอย่างนี้ ​ ก็เปรียบเหมือบุรุษผู้มีกำลัง ​ เริ่มจะตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อจะนำมาทำเป็นช่อฟ้าเรือนยอด ​ พอเริ่มตัดกิ่งและใบเท่านั้น ​ คมขวานก็บินยู่ไป ​ ไม่สามารถจะตัดไม้ใหญ่ได้ทอดธุระเสียเลย ​ ไปสู่โรงตีเหล็กให้ช่างตีขวานให้คมแล้ว ​ กลับมาตัดใหม่อีก ​ ขวานก็บิ่นยู่อีกเป็นวาระที่สอง ​ จึงไปให้ช่างตีขวานให้คมอีกเหมือนเดิมแล้วกลับมาตัดอีก ​ เมื่อเธอตัดอยู่อย่างนี้ไม่นานนักก็จะพึงโค่นต้นไม้ใหญ่ลงได้ ​  ​เพราะต้นไม้ที่ตัดไปแล้วไม่ต้องมีการตัดอีกและที่ยังไม่ได้ตัดก็ต้องตัดอีกต่อไป ​ ฉันใด ​ พระโยคีออกจากฌานที่เป็นบาท ​ ไม่นึกถึงฐานะที่ตนนึกในกาลก่อน ​ นึกเฉพาะแต่ปฏิสนธิอย่างเดียว ​ ไม่นานนักก็จะเพิกปฏิสนธิ ​ ทำนามรูปซึ่งเป็นไปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ได้ ​ ฉันนั้น ​ นักปราชญ์พึงแสดงใจความอย่างนี้ โดยเปรียบเหมือนคนผ่าฟืนและช่างโกนผมเป็นต้นก็ได้  ​ 
- 
-ก็ในญาณเหล่านั้น ​ ญาณที่ทำนามรูปให้เป็นอารมณ์เป็นไปแล้ว ​ ตั้งแต่การนั่งครั้งหลังจนถึงปฏิสนธิ ​ ย่อมไม่ชื่อว่าปุพเพนิวาสญาณ ​ แต่ญาณนั้นชื่อว่าเป็นญาณที่สัมปยุตด้วยบริกรรมสมาธิ ​ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าอตีตังสญาณดังนี้ก็มี ​ คำของอาจารย์พวกหนึ่ง ​ นั้นไม่ถูก ​ เพราะอตีตังสญาณหมายถึงรูปาวจร ​ ส่วนบริกรรมสมาธิเป็นกามาวจร ​ ก็ในเวลาใด ​  ​มโนทวาราวัชชนะก้าวล่วงปฏิสนธิทำนามรูปซึ่งเป็นไปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ ​ แล้วเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ​ ก็ครั้นเมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้ว ​ ชวนะ 4  หรือ 5  ดวงที่ดวงต้นเป็นกามาวจรมีนามว่าบริกรรมเป็นต้น ​ ดวงสุดท้ายเป็นอัปปนาจิต ​ นับเนื่องในจตุตถฌานชั้นรูปาวจร ​ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในก่อน ​ ทำนามรูปนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ย่อมแล่นไป ​ ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 288)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เวลานั้นญาณร่วมกับจิตนั้นอันใดย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ​ ญาณนี้ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ​ พระโยคีย่อมระลึกถึงปุพเพสันนิวาสได้หลายอย่าง ​ ด้วยสติอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น ​ นี้คืออะไร ?  คือนึกถึงปุพเพสันนิวาสมีหลายอย่างพร้อมทั้งอาการและพร้อมทั้งอุทเทศดังบรรยายมานี้ตลอด ชาติหนึ่งบ้าง ​ สองชาติบ้าง ฯลฯ ​ ฉะนี้แล 
- 
-ในบทเหล่านั้น ​ บทว่า ตลอดชาติหนึ่งบ้าง ​ คือนึกได้ซึ่งขันธสันดานอันนับเนื่องในภพหนึ่ง ​ ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นต้นมีจุติเป็นปริโยสาน ​ แม้ในคำเป็นต้นว่า ​ สองชาติ ​ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน ​ ก็ในคำเป็นต้นว่า ​ ตลอดสังวัฏกัปเป็นอเนก ​ มีอธิบายว่า ​ กัปที่เสื่อมอยู่พึงทราบว่าสังวัฏกัป ​ กัปที่เจริญอยู่พึงทราบว่าวิวัฏกัป ​ ในกัปทั้ง 2  นั้น ​ สังวัฏฏัฏฐายีสัตว์ ท่านกำหนดถือเอาด้วยสังวัฏกัป ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะมีสังวัฏกัปนั้นเป็นมูล ​ ส่วนวิวัฏฏัฏฐายีสัตว์ท่านกำหนดด้วยวิวัฏกัป ​ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ​ อสงไขยกัปเหล่าใดซึ่งตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อสงไขยแห่งกัป 4  อย่างเหล่านี้ 4  อย่างเป็นไฉน ?  คือ สังวัฏฏอสงไขย 1  สังวัฏฏัฏฐายีอสงไขย 1  วิวัฏฏอสงไขย ​ 1  วิวัฏฏัฏฐายีอสงไขย 1  ดังนี้ ​ อสงไขย ​ เหล่านั้นย่อมเป็นอันพระองค์กำหนดไว้ดีแล้ว  ​ 
- 
-'''​เหตุอสงไขยสลาย'''​ 
- 
-ในอสงไขยเหล่านั้น ​ มีเหตุสลาย 3  อย่างคือ ​ อาโปสังวัฏฏะ ​ สลายเพราะน้ำ 1  เตโชสังวัฏฏะ ​ สลายเพราะไฟ 1  วาโยสังวัฏฏะ ​ สลายเพราะลม 1 
- 
-แดนของสังวัฏฏะถึงความสลายมี 3  ชั้น คือ ​ พรหมโลกชั้นอาภัสสรา ​ 1  พรหมโลกชั้นสุภกิณหา 1 พรหมโลกชั้นเวหัปผลา 1  ก็เมื่อใดกัปย่อมย่อยยับไปเพราะไฟ ​ โลกย่อมถูกไฟไหม้ภายใต้แต่ชั้นอาภัสสราพรหมลงมา ​ เมื่อใดกัปย่อมย่อยยับไปเพราะน้ำ ​ โลกย่อมถูกน้ำละลายภายใต้ชั้นสุภกิณหาพรหมลงมา ​ เมื่อใดกัปย่อมย่อยยับไปเพราะลม ​ โลกย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจาย ​ ภายใต้แต่ชั้นเวหัปผลาพรหมลงมา ​ แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ​ สิ้นเขตแห่งพระพุทธเจ้ายุคหนึ่ง ​ กัปก็ย่อมฉิบหายไปแม้ทุกเมื่อไป 
- 
-'''​เขตของพระพุทธเจ้า 3'''​ 
- 
-ธรรมดาว่าเขตแห่งพระพุทธเจ้ามี 3  คือ ​ เขตที่ทรงอุบัติ 1  เขตแห่งพระอาชญา 1  เขตตามวิสัย 1  ในบรรดาพุทธเขตทั้ง 3  นั้น ​ เขตที่ทรงอุบัติมีจักรวาลหมื่นหนึ่งเป็นที่สุด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 289)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ซึ่งเป็นเขตที่สัตว์หวั่นไหวในเพราะเหตุอัศจรรย์ทั้งหลาย ​ มีการถือปฏิสนธิแห่งพระตถาคตเจ้าเป็นต้น ​ เขตพระอาชญามีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด ​ เป็นที่ซึ่งอานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ ​ คือ ​ รัตนปริตร, ​ ขันธปริตร, ​ ธชัคคปริตร, ​ อาฏานาฏิยปริตร ​ และโมรปริตรดำเนินไปเขตตามวิสัยไม่มีที่สุด ​ ไม่มีประมาณ ​ ซึ่งตรัสไว้ว่า ​ ก็หรือจะพึงหวังเท่าใดคือในที่ซึ่งพระตถาคตเจ้าจำนงสิ่งใด ๆ  ก็ทรงรู้สิ่งนั้น ๆ ได้ ​ ในพุทธเขตทั้ง 3 เหล่านี้ดังแถลงมา ​ เขตพระอาชญาอย่างเดียวเท่านั้นย่อมพินาศไป ​ ก็เมื่อเขตพระอาชญานั้นพินาศไปอยู่ ​ แม้เขตที่ทรงอุบัติก็พลอยพินาศไปด้วย ​ และเมื่อพินาศก็พินาศร่วมกันนั่นเอง ​ แม้เมื่อดำรงอยู่ก็ดำรงอยู่ร่วมกัน ​ การพินาศและการดำรงอยู่ของพุทธเขตทั้ง 2  อย่างนั้นนักศึกษาพึงทราบอย่างนี้แล 
- 
-ก็ในสมัยใดกัปพินาศไปด้วยไฟ ​ มหาเมฆที่ทำกัปให้พินาศตั้งขึ้นแต่ต้นเทียว ​ ยังฝนใหญ่ให้ตกลงครั้งหนึ่งทั่วไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล ​ พวกมนุษย์พากันร่าเริงดีใจนำพืชพันธุ์ทุกชนิดออกมาหว่าน ​ ครั้นเมื่อข้ากล้างอกขึ้นพอโคกินได้ ​ มหาเมฆร้องเหมือนฟ้าไม่โปรยฝนลงมาแม้แต่หยดเดียว ​ ในเวลานั้นฝนขาดหายไปเลย ​ จริงอยู่ ​ พระดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ ทรงหมายถึงเนื้อความนั้นตรัสไว้ว่า ​   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ สมัยที่ฝนไม่ตกลงมาตลอดหลายปี, ​ หลายร้อยปี, ​ หลายพันปี, ​ หลายแสนปีมีอยู่ ​ สัตว์ผู้อาศัยฝนเลี้ยงชีพและพวกเทวดาผู้เข้าไปอาศัยดอกไม้และผลไม้เลี้ยงชีพ ​ สิ้นชีวิตแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลก ​ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าอย่างนี้ ​ น้ำในที่นั้น ๆ  ย่อมเหือดแห้งไป ​ ลำดับต่อมา ​ ปลาและเต่าก็ดี ​ สัตว์นรกก็ดี ​ ทำกาละแล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก ​ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ​ ในจำนวนสัตว์เหล่านั้น ​ พวกสัตว์นรกย่อมฉิบหายไปพร้อมกับความปรากฏขึ้นแห่งพระอาทิตย์ดวงที่ 7  ​ 
- 
-มีคำถามสอดเข้ามาว่า ​ สัตว์โลกผู้ไม่ได้ฌานจะไปบังเกิดในพรหมโลกไม่ได้ ​ ก็บรรดาสัตว์เหล่านี้ บางพวกก็แร้นแค้นอดอยากเพราะข้าวแพง ​ บางพวกก็ไม่ควรเพื่อบรรลุฌาน ​ อย่างนี้แล้วสัตว์เหล่านั้นจะไปบังเกิดในพรหมโลกนั้นได้อย่างไร ? 
- 
-ตอบว่า ​ เกิดได้ด้วยอำนาจฌานที่ตนได้ไว้แล้วในเทวโลก ​ จริงอยู่ ​ ในกาลนั้นพวกเทวดาชั้นกามาวจร ​ กลุ่มที่ชื่อว่าโลกยูพหะ ​ กระบวนการกู้โลก ​ ทราบว่าโดยล่วงไปได้แสนปี ​ ความสิ้นกัปจักมี ​ ดังนี้ ​ แล้วปล่อยเศียรไม่โพกผ้าสยายผมไม่เกล้าตกแต่ง ​ ร้องไห้จนน้ำตานองหน้า ​ เอามือเช็ดน้ำตา ​ นุ่งผ้าสีแดงทรงเพศแปลกประหลาดยิ่งนัก เที่ยวร้อง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 290)  ''</​fs></​sub>​ 
- 
-บอกไปในถิ่นมนุษย์อย่างนี้ว่า ​ "​ชาวเราเอ๋ย ​ จากนี้ล่วงไปแสนปีกัปจักสิ้นไป ​ โลกนี้จักฉิบหาย น้ำในทะเลหลวงก็จักแห้ง ​ และมหาปฐพีนี้ทั้งขุนเขาสิเนรุก็จักถูกไฟไหม้พินาศไปหมด ​ ความพินาศจักเกิดมีจนกระทั่งพรหมโลก ​ ชาวเราเอ๋ย ​ พวกท่านจงเจริญเมตตา ​ จงเจริญกรุณา ​ จงเจริญมุทิตา ​ จงเจริญอุเบกขา ​ จงบำรุงมารดา ​ จงบำรุงบิดา ​ และจงเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองให้เป็นประจำเถิด" ​ พวกมนุษย์และภุมเทวดาโดยส่วนมาก ​ ที่ได้ยินคำเตือนของเทวดาเหล่านั้นแล้วเกิดความสลดใจเป็นอย่างมาก ​ มีจิตเอ็นดูต่อกันและกัน ​ พากันทำบุญมีการเจริญเมตตาเป็นต้น ​ พอสิ้นชีพก็ได้ไปเกิดในเทวโลก ​ บริโภคสุทธาโภชน์อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้นแล้วทำการบริกรรมวาโยกสิณ ​ มีโอกาสได้ฌาน ​ ส่วนพวกสัตว์อื่นจากนั้นคือพวกอบายไปเกิดในเทวโลกได้ด้วยอปราปริยเวทนียกรรม ​ ตามธรรมดาแล้วสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในสงสารจะเว้นขาดจากอปราปริยเวทนียกรรมย่อมไม่มี ​ ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้ฌานในเทวโลกนั้น ๆ เหมือนกัน ​ สัตว์ทั้งหมดย่อมไปเกิดในพรหมโลกได้ด้วยอำนาจฌานที่ได้แล้วในเทวโลก ​ ด้วยประการฉะนี้แล 
- 
-อนึ่ง ​ นับตั้งแต่ฝนไม่ตกลงมาโดยเวลาที่ล่วงไปอันยาวนาน ​ พระอาทิตย์ดวงที่ 2  ก็เกิดขึ้น ​ สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ สมัยนั้นมีอยู่ ดังนี้เป็นต้น ​ นักปราชญ์ควรสวดสัตตสุริยสูตรประกอบให้พิสดารเถิด ​ ก็แลเมื่อพระอาทิตย์ดวงที่ 2  นั้นปรากฏขึ้นแล้ว ​ การกำหนดว่ากลางคืนหรือกลางวันก็มิได้รู้กันเลย ​ พระอาทิตย์ดวงหนึ่งโผล่ขึ้น ​ ดวงหนึ่งก็ตก ​ โลกจึงมิได้ขาดจากแสงแผดเผาแห่งพระอาทิตย์เลย ​ ก็ในพระอาทิตย์ปกติย่อมมีสุริยเทพบุตร ​ ฉันใด ​ ในพระอาทิตย์ที่ทำกัปให้พินาศไม่มีเหมือนอย่างนั้น ในพระอาทิตย์ 2  ดวงนั้น ​ เมื่อพระอาทิตย์ปกติเป็นไปอยู่ ​ เมฆก็ดีเปลวควันก็ดีย่อมลอยไปในอากาศ ​ ครั้นพระอาทิตย์ที่ทำกัปให้พินาศเป็นไป ​ ท้องฟ้าปราศจากเมฆและหมอกใสไม่มัวดุจวงแว่นส่องหน้า ​ เว้นแม่น้ำ 5 สายคือ ​ คงคา, ​ ยมุนา, ​ อจิรวดี, ​ มหี ​ เสียแล้ว ​ น้ำในแม่น้ำที่เหลือมีแม่น้ำน้อยเป็นต้น ​ ย่อมเหือดแห้งไป ​ ต่อจากนั้นโดยล่วงไปเป็นเวลานานแสนนาน ​ พระอาทิตย์ดวงที่ 3  จึงเกิดผุดขึ้น ​ เพราะเหตุที่ปรากฏแล้วเท่านั้น ​ ถึงแม่น้ำใหญ่ก็เหือดแห้งไปได้ ​ จากนั้นผ่านไปเป็นเวลานานพระอาทิตย์ดวงที่ 4  จึงผุดขึ้น ​ เพราะเหตุที่ปรากฏแล้วนั้น ​ สระใหญ่ ​ 7  สระเหล่านี้ ​ คือสระสีหปาตนะ 1  หังสปาตนะ 1 กัณณมุณฑกะ 1  
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 291)''</​fs></​sub>​ 
- 
-รถการทหะ 1  อโนตัตตทหะ 1 ฉัททันตหะ 1 กุณาลทหะ 1  ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำมหานทีในป่าหิมพานต์ก็ย่อมเหือดแห้ง ​ ผ่านจากนั้นไปเป็นเวลานาน ​ พระอาทิตย์ดวงที่ 5  ก็ผุดโผล่ขึ้น ​ พอโผล่ขึ้นแล้วน้ำในมหาสมุทรย่อมไม่มีเหลือเลยแม้แต่เพียงจะเปียกข้อนิ้ว ​ โดยล่วงไปแห่งกาลนานยืดยาว ​ แต่นั้นพระอาทิตย์ดวงที่ 6  ก็ผุดโผล่ขึ้นแล้ว ​ จักรวาลทั้งสิ้นก็เกิดเป็นกลุ่มควันตลบไปหมด ​ ยางคืออาโปธาตุก็หมดไปเพราะถูกควันรม ​ ก็จักรวาลนี้เป็นฉันใด ​ แม้จักรวาลตั้งแสนโกฏิก็เป็นฉันนั้น จากเวลานั้นผ่านไปเป็นเวลายาวนาน ​ พระอาทิตย์ดวงที่ 7  ก็ผุดโผล่ขึ้น ​ พอผุดโผล่ขึ้นแล้วจักรวาลทั้งสิ้นก็มีเปลวเป็นอันเดียวกันพร้อมทั้งแสนโกฏิจักรวาล ​ ยอดเขาสิเนรุอันมีขนาดประมาณตั้ง ​ 100  โยชน์เป็นต้น ​ ก็พังพินาศอันตธานไปในอากาศนั่นเอง ​ เปลวไฟก็ลุกขึ้นติดไหม้ชั้นจาตุมมหาราช ​ พอไหม้วิมานทอง, ​ วิมานรัตนะ, ​ วิมานแก้วมณีในชั้นจาตุมมหาราชแล้ว ​ ก็ไหม้ติดชั้นดาวดึงส์ ​ โดยอุบายนี้แล ​ จึงติดไหม้ตลอดไปถึงภูมิปฐมฌาน ​ ไหม้พรหมโลกทั้ง 3  ในภูมิปฐมฌานนั้นแล้วลุกขึ้นไปติดอาภัสสรพรหมอยู่ ​ เปลวไฟนั้นยังมีเชื้ออยู่แม้ประมาณเท่าอณูหนึ่งเพียงใด ​ ก็ไม่ดับไปเพียงนั้น ​ ก็เพราะเชื้อทุกอย่างสิ้นสูญ ​ ย่อมดับไปไม่เหลือจนชั้นเถ้าถ่านดุจเปลวไฟไหม้เนยใสและน้ำมัน ​ ฉะนั้น ​ อากาศเบื้องบนพร้อมกับอากาศเบื้องล่างได้มืดสนิทไปหมด 
- 
-ต่อจากนั้นล่วงไปเป็นเวลานาน ​ มีมหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนละเอียดให้ตกในชั้นแรก ​ หลั่งอยู่ทางท่อธารมีประมาณเท่าก้านบัว, ​ ไม้เท้า, ​ สาก ​ และประมาณเท่าลำตาลเป็นต้นโดยลำดับ ​ ทำที่ที่ไฟไหม้ทั้งหมดในแสนโกฏิจักรวาลให้เต็มแล้วจึงหายไป ​ ลมพัดอุ้มน้ำนั้นไว้ ​ ข้างล่างและข้างขวาง ​ จนทำให้น้ำนั้นงวดเป็นแท่ง ​ น้ำมันกลับเป็นก้อนคล้ายหยาดน้ำบนใบบัวฉะนั้น  ​ 
- 
-หากจะถามว่า ​ ลมจะทำกระแสน้ำเป็นอันมากเห็นปานนั้นให้กลายเป็นก้อนเป็นแท่งได้อย่างไร ? 
- 
-ตอบว่า ​ เพราะน้ำเปิดช่องให้โอกาส ​ คือ ​ น้ำนั้นย่อมเปิดช่องให้โอกาสแก่ลมนั้นในที่นั้น ๆ  น้ำนั้นถูกลมรวบรวมทำให้เป็นก้อนย่อมงวดลงมาในเบื้องต่ำโดยลำดับ ​ เมื่อน้ำงวดลง ๆ  พรหมโลกก็เกิดปรากฏขึ้นในที่ที่เคยเป็นพรหมโลก ​ และเทวโลกทั้งหลายก็เกิดปรากฏขึ้นในที่ที่เคยเป็นเทวโลกกามาวจร 5  ชั้นเบื้องบน ​ ก็เมื่อน้ำนั้นงวดลงมาถึงพื้นดินที่เคย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 292)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​มีทีแรก ​ ลมมีกำลังย่อมเกิดขึ้น ​ ลมเหล่านั้นย่อมปิดน้ำนั้นทำมิให้ไหลบ่าออกไปได้ดุจน้ำในกระบอกกรองน้ำที่อุดช่องอากาศไว้ ​ ฉะนั้น ​ น้ำมีรสอร่อยถึงความสิ้นเหือดไป ​ ทำให้เกิดง้วนดินเป็นฝาขึ้น ​ ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสีกลิ่นและรสเช่นเดียวกับหน้าข้าวปายาสที่ไม่ใช้น้ำธรรมดาหุง ​ คือใช้น้ำนมหุง ​ ฉะนั้น'''​ 
- 
-ก็ในเวลานั้น ​ สัตว์ที่บังเกิดขึ้นครั้งก่อนในอาภัสสรพรหมโลก ​ เคลื่อนจากพรหมโลกนั้นเพราะสิ้นอายุหรือเพราะหมดบุญ ​ ย่อมเป็นสัตว์เกิดผุดขึ้นในโลกนี้ ​ สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้มีแสงอยู่ในตัว ​ ท่องเที่ยวไปได้ในท้องฟ้า ​ สัตว์เหล่านั้นได้ลิ้มรสง้วนดินนั้น ​ ด้วยถูกตัณหาครอบงำแล้วจึงพยายามลงมือปั้นกินเป็นคำ ๆ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในอัคคัญญสูตรแล ​ ครั้นต่อมารัศมีในตัวของสัตว์เหล่านั้นก็อันตรธานสูญหายไป ​ เกิดความมืดมิดขึ้นแทน ​ พวกสัตว์นั้นเห็นความมืดมิดเข้าก็หวาดกลัว ​ แต่นั้นดวงอาทิตย์ใหญ่ประมาณได้ 50  โยชน์บริบูรณ์ก็ปรากฏขึ้น ​ ทำความกลัวของสัตว์เหล่านั้นให้หายไป ​ กลับทำให้เกิดความกล้าหาญองอาจ ​ สัตว์เหล่านั้นเห็นดวงอาทิตย์นั้นแล้ว ยินดีร่าเริงว่า ​ พวกเราได้แสงสว่างแล้ว ​ ดังนี้ ​ จึงปรึกษาหารือกันว่า ดวงวิเศษนั้นกำจัดความกลัวของพวกเราให้สูญหายไปสิ้น ​ กลับทำให้เกิดความกล้าหาญขึ้นแทนที่ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ดวงวิเศษนี้จึงเป็นสุริยะ ​ (บันดาลให้เกิดความกล้าหาญ) ​ ดังนี้ ​ จึงลงมติขนานนามดวงวิเศษนั้นว่า ​ พระสุริยะ ​ (พระอาทิตย์) ​ ครั้นต่อมาเมื่อพระอาทิตย์ทำหน้าที่ส่องแสงสว่างในเวลากลางวันแล้วก็อัสดงคตไป ​ สัตว์ทั้งหลายก็พากันกลัวอีกว่า ​ บัดนี้แสงสว่างที่พวกเราเคยได้รับก็กลับหายไปเสียอีกแล้ว ​ สัตว์เหล่านั้นจึงรำพึงอย่างนี้ว่า ​ ถ้าพวกเราได้แสงสว่างอย่างอื่น ​ ก็จะพึงเป็นการดี ​ ดวงจันทร์ใหญ่ประมาณได้ 49  โยชน์ก็ปรากฏขึ้น ​ ดูเหมือนจะรู้ใจของสัตว์เหล่านั้น ​ พอสัตว์เหล่านั้นเห็นดวงจันทร์นั้นแล้ว ​ ก็ยินดีปรีดายิ่งนัก ​ ปรึกษากันว่า ​ ดวงวิเศษนี้ปรากฏขึ้นคล้าย ๆ จะทราบความพอใจ ​ (ฉันทะ) ​ ของพวกเรา ​ เหตุนั้นดวงวิเศษนี้จึงเป็นดวงให้เกิดความพอใจ ​ ดังนี้ ​ จึงลงมติตั้งชื่อดวงวิเศษนั้นว่า ​ พระจันทร์ ​ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏขึ้นดังนี้แล้ว ​ ดวงดาวนักษัตรก็ปรากฏขึ้นตามกันมา ​ นับแต่นั้นมากลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ ​ ลำดับต่อมาก็ปรากฏเป็น ​ เดือน, ​ ครึ่งเดือน, ​ ฤดูและปี ​ เขาสิเนรุเขาจักรวาลและเขาหิมพานต์ปรากฏขึ้นในวันเดียวกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 293)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กับที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏขึ้นนั่นแหละ ​ ก็แล ​ ภูเขาเหล่านั้นปรากฏขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกันในวันขึ้น 15  ค่ำเดือน 4  ปรากฏขึ้นอย่างไร ?  คือเปรียบเหมือนเมื่อข้าวฟ่างที่พ่อครัวกำลังต้ม ​ ฟองย่อมผุดขึ้นพร้อม ๆ กันทีเดียว ​ แต่บางส่วนก็ปูดขึ้น ​ บางแห่งก็เป็นบุ๋ม ๆ  บางแห่งก็ราบเรียบ ​ ฉันใด ​ ในสถานที่สูง ๆ ก็เป็นภูเขา ​ ในสถานที่ต่ำ ๆ ก็เป็นทะเล ​ ในสถานที่ราบเรียบก็เป็นทวีป ​ ฉันนั้น '''​ 
- 
-ครั้นต่อมาเมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดินนั้นเข้าไปแล้ว ​ ทำให้บางพวกมีผิวพรรณงดงาม ​ บางพวกก็มีผิวพรรณดำหยาบไม่งาม ​ ใน 2  พวกนั้น ​ พวกที่มีผิวพรรณงาม ​ ก็ดูหมิ่นพวกที่มีผิวพรรณไม่งาม ​ เพราะการดูหมิ่นของพวกที่มีผิวพรรณงดงามเหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ​ แผ่นดินที่เคยมีรสอร่อยแต่เดิมก็กลับอันตรธานหายไปสิ้น ​ ภาคพื้นก็ปรากฏกลายเป็นสะเก็ดดินขึ้นแทนที่ ​ ต่อมาแม้สะเก็ดดินนั้นก็อันตรธานหายไปอีก ​ เพราะการดูหมิ่นกันนั้นอีกนั่นแหละ ​ ต่อมาเครือดินก็เกิดขึ้นแทนเพราะการดูหมิ่นเหยียดหยามกันอีกเหมือนกัน ​ แม้เครือดินก็ยังตั้งอยู่ไม่ได้ ​ คืออันตรธานหายไปอีก ​ ข้าวสาลีที่ไม่ต้องหุงด้วยไฟฟืน ​ เป็นเมล็ดข้าวสารที่ไม่มีรำ ​ ไม่มีแกลบ ​ มีกลิ่นหอม ​ ย่อมเกิดขึ้นเอง ​ ต่อมาภาชนะก็เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ​ สัตว์เหล่านั้นใส่ข้าวสาลีลงในภาชนะแล้วตั้งไว้บนหลังแผ่นหิน ​ เปลวไฟลุกขึ้นเอง ​ แล้วหุงข้าวนั้นจนสุก ​ ข้าวสาลีนั้นเป็นข้าวสุกสวยเช่นเดียวกันกับดอกมะลิ ​ ข้าวสุกนั้นไม่ต้องไปประสมด้วยแกงและกับ ​ สัตว์เหล่านั้นต้องการจะบริโภครสอย่างใดก็เป็นรสอย่างนั้นดังใจหมาย ​ เมื่อสัตว์เหล่านั้นกลืนกินอาหารหยาบนั้นเข้าไป จำเดิมแต่นั้นมูตรและกรีสย่อมเกิด ​ ครั้นคราวนี้ปากแผลก็แตกออกเป็นทวาร 9 คือ นัยน์ตา 2  หู ​ 2 จมูก 2  ปาก 1  ทวารหนัก 1  ทวารเบา 1  รวมเป็นทวาร 9  เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นได้ถ่ายมูตรและกรีสออกมา ​  ​ความเป็นชายก็ปรากฏแก่ชายความเป็นหญิงก็ปรากฏแม้แก่หญิง ​ เล่ากันว่า ​ ในเวลานั้น ​ หญิงเพ่งเล็งดูชายเกินขอบเขต ​ และชายก็เพ่งเล็งดูหญิงจนเกินขอบเขต ​ อาศัยการเพ่งเล็งของชายและหญิงเหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ​ ความต้องการอันเร่าร้อนในกามารมณ์ย่อมเกิดขึ้น ​ แต่นั้นจึงคบคู่เสพสุขอยู่ด้วยกัน ​ ชนเหล่านั้นถูกพวกวิญญูชนตำหนิติเตียนขัดขวางอยู่ ​ เพราะการเสนออสัทธรรมเป็นต้นเหตุ ​ จึงได้ปลูกสร้างเรือนเพื่อจะปกปิดอสัทธรรมนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 294)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชนเหล่านั้นอยู่ครองเรือนต่อมา ​ ก็ได้เอาเยี่ยงอย่างสัตว์ผู้มีสันดานเกียจคร้านผู้หนึ่งเข้า ​ จึงได้พากันทำการสั่งสมทัพพสัมภาระต่าง ๆ ไว้ ​ ตั้งแต่นั้นมาทั้งรำทั้งแกลบก็เกิดหุ้มเมล็ดข้าวสาร ​ แม้ที่ที่ตนเกี่ยวแล้วก็ไม่งอกขึ้นอีก ​ พวกเขาจึงประชุมปรับทุกข์กันว่า ​ "​ชาวเราเอ๋ย ​ ธรรมอันลามกเกิดปรากฏขึ้นในหมู่สัตว์เสียแล้วละหนอ ​ เมื่อก่อนพวกเราคิดอยากได้อะไรก็สำเร็จดังใจคิด" ​ ดังนี้ ​ นักศึกษาพึงทำข้อความนี้ให้พิสดารตามเนื้อความที่ท่านได้กล่าวไว้ในอัคคัญญสูตรเถิด ​ ต่อนั้นมาพวกเขาจึงได้ปักปันเขตแดนกัน ​ จำเนียรกาลผ่านมายังมีสัตว์ผู้หนึ่งได้ถือเอาส่วนของผู้อื่นโดยที่เจ้าของมิได้ให้ ​ ชนทั้งหลายจึงด่าว่าติเตียนบุรุษผู้นั้น 2  ครั้ง ​ ครั้งที่ 3  จึงตัดสินโทษประหารด้วยฝ่ามือก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น 
- 
-เมื่อกาลักทรัพย์ ​ การทะเลาะ การพูดเท็จ ​ และการจับท่อนไม้ ​ ขั้นลงอาชญาเกิดขึ้น ดังบรรยายมานี้ ​ ชนเหล่านั้นจึงประชุมคิดกันว่า ​ ถ้ากระไรเราพึงสมมุติสัตว์ผู้หนึ่งบรรดาพวกเราซึ่งเป็นผู้ที่สามารถข่มคนที่ควรข่มได้ ​ ตำหนิคนที่ควรตำหนิได้ ​ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ได้ ​ โดยชอบธรรม ​ และเราจะแบ่งส่วนแห่งข้าวสาลีให้แก่เขาผู้นั้น ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายทำการนัดหมายกันอย่างนี้แล้ว ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล ​ เป็นพระโพธิสัตว์ในกัปนี้เป็นครั้งแรก ​ เป็นผู้มีรูปร่างสง่าผ่าเผย, ​ น่าดู,​ มีศักดิ์ใหญ่ยิ่ง, ​ เต็มเปี่ยมพร้อมด้วยความรู้สามารถทำการปราบและปลอบได้ ​ กำลังเด่นอยู่ในหมู่สัตว์เหล่านั้นโดยสมัยนั้น เขาทั้งหลายจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นั้น อ้อนวอนให้ท่านรับตำแหน่ง แล้วจึงสมมุติ ​ (แต่งตั้ง) ขึ้น ​ พระโพธิสัตว์นั้นปรากฏโดยพระนาม ​ มี 3  นาม ​ คือ ​ ทรงพระนามว่า ​ มหาสมมุติ ​ เพราะเป็นผู้ที่มหาชนนั้นสมมุติขึ้นแล้ว ​ ทรงพระนามว่า ​ กษัตริย์ ​ เพราะเป็นใหญ่แห่งการเกษตร ​ (นา) ​ ทั้งหลาย ​ และทรงพระนามว่า ​ ราชา ​ เพราะยังใจผู้อื่นให้ชื่นชมยินดี ​ ปกครองโดยชอบธรรม จริงอยู่ ​ ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งที่อัศจรรย์มีอยู่ในโลก ​ พระโพธิสัตว์ย่อมเป็นคนแรกที่จะได้รับตำแหน่งนั้นแล ​ ครั้นวงศ์กษัตริย์ยกพระโพธิสัตว์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นอย่างนั้นแล้ว ​ แม้วรรณะทั้งหลายมีวรรณะพราหมณ์เป็นต้น ​ ก็พากันก่อตั้งขึ้นโดยลำดับ 
- 
-'''​กัป 4'''​ 
- 
-ในกัปทั้ง 4  นั้น ​ ตั้งแต่มหาเมฆใหญ่ยังกัปให้พินาศ ​ จนกระทั่งเปลวไฟดับสูญไป ​ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง ขนานนามว่า ​ สังวัฏฏะ ​ ตั้งแต่ขาดเปลวเพลิงที่ทำกัปให้พินาศสูญสิ้นไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 295)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​จนถึงมหาเมฆตกเต็มที่ยังแสนโกฏิจักรวาลให้เต็ม ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 2 ขนานนามว่า ​ สังวัฏฏัฏฐายี ตั้งแต่มหาเมฆตกเต็มที่มาจนถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏ ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 3  ขนานนามว่า ​ วิวัฏฏะ ตั้งแต่พระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏมาจนถึงมหาเมฆยังกัปให้พินาศใหม่อีก ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 4 ขนานนามว่า วิวัฏฏัฏฐายี ​ อสงไขย 4  เหล่านี้ ​ จัดเป็นมหากัปหนึ่ง ​ การพินาศด้วยไฟและการตั้งขึ้นใหม่ ​ นักศึกษาพึงทราบตามที่ได้แถลงมานี้ก่อน'''​ 
- 
-ส่วนในสมัยที่กัปพินาศไปด้วยน้ำ ​ คำว่า ​ แต่ต้นทีเดียวมหาเมฆยังกัปให้พินาศตั้งขึ้นดังนี้ ​ นักศึกษาพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในตอนก่อน ​ แต่ส่วนที่แปลกกันมีดังต่อไปนี้ 
- 
-'''​กัปพินาศด้วยน้ำ'''​ 
- 
-คือเหมือนอย่างว่า ​ ในที่นั้นดวงอาทิตย์ที่ 2  ปรากฏขึ้น ​ ในที่นี้ต้องว่า ​ มหาเมฆ ​ น้ำกรดยังกรดยังกัปให้พินาศตั้งขึ้น ​ ฝนน้ำกรดนั้นชั้นต้นก็หลั่งฝนเมล็ดละเอียดตกเต็มจักรวาลทั้งแสนโกฏิด้วยท่อธาราใหญ่โดยลำดับ ​ แผ่นดินและภูเขาเป็นต้นที่ฝนน้ำกรดตกถูกแล้วย่อมละลาย ​ น้ำกรดนั้นถึงจะถูกลมพัดก็ทานไว้ได้โดยรอบด้าน ​ น้ำกรดท่วมตั้งแต่แผ่นดินจนถึงพรหมโลกชั้นทุติยฌานภูมิ ​ ทำพรหมโลก 3 ชั้นให้ละลายในที่นั้นแล้วดำรงอยู่จรดสุภกิณหพรม ​ น้ำกรดนั้นสิ่งที่นับว่าเป็นสังขารแม้เพียงอณูหนึ่งยังมีอยู่ตราบใด ​ ก็ยังไม่ระงับไปตราบนั้น ​ ครั้นท่วมสังขารทุกอย่างให้ไปตามน้ำหมดแล้ว ​   ก็งวดถึงความสูญหายไปโดยพลัน ​ อากาศเบื้องบนกับเบื้องล่างได้มืดมิดเป็นอันเดียวกัน ​ คำทั้งหมดเช่นเดียวกับคำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ​ ก็ในอธิการนี้ ​ โลกนับอาภัสสรพรหมโลกเป็นต้นเกิดปรากฏขึ้น ​ ต่อมาสัตว์เคลื่อนจากสุภกิณหพรหมเกิดขึ้นในที่อภัสสรพรหมเป็นต้น ​ ในอสงไขยทั้ง 4  เหล่านี้ ​ ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศจนถึงหมดน้ำกรดยังกัปให้พินาศ ​ นี้จัดเป็นอสงไขยที่ 1  ตั้งแต่น้ำขาดสูญจนถึงมหาเมฆตกลงเต็มที่ ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 2  ตั้งแต่มหาเมฆตกเต็มที่จนถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏนี้เป็นอสงไขยที่ 3  ตั้งแต่พระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏมาจนถึงมหาเมฆยังกัปให้พินาศใหม่อีก ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 4  อสงไขยทั้ง 4  นี้จัดเป็นมหากัปหนึ่ง ​ ความพินาศด้วยน้ำและการตั้งขึ้นใหม่ ​ นักปราชญ์พึงทราบดังกล่าวมานี้เถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 296)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กัปพินาศด้วยลม'''​ 
- 
-ในสมัยที่กัปพินาศด้วยลม ​ คำว่า ​ ชั้นต้นมหาเมฆยังกัปให้พินาศตั้งขึ้น ดังนี้ ​ บัณฑิตพึงให้พิสดารตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนแล ​ ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ ​ คือ ​ เหมือนอย่างว่าในที่นั้นมีพระอาทิตย์ดวงที่ 2  ปรากฏขึ้น ​ ในที่นี้ลมตั้งขึ้นเพื่อยังกัปให้พินาศนั่นเอง ​ ลมนั้นชั้นต้นก็หอบเอาธุลีหยาบ ๆ ให้ตั้งขึ้น ​ ต่อมาก็หอบเอาธุลีละเอียดให้ตั้งขึ้น ​ ต่อมาก็พัดหอบเอาทรายละเอียด, ​ ทรายหยาบ,​ ก้อนกรวด, ​ ก้อนหิน ​ เป็นต้น ​ ตราบเท่าจนถึงหอบพัดพาเอาก้อนหินเท่า ๆ เรือนยอดและต้นไม้ใหญ่ที่เกิดอยู่ในที่สูง ๆ  ต่ำ ๆ  ให้ตั้งขึ้น ​ หินและต้นไม้เหล่านั้นลอยจากแผ่นดินไปสู่กลางหาว ไม่กลับตกลงอีก แหลกละเอียดฉิบหายไปในอากาศนั่นเอง ​ จำเนียรกาลนานมาลมก่อตัวขึ้นภายใต้แผ่นดินใหญ่แล้ว ​ ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับจนพลิกเอาแผ่นดิน ​ ทำให้มีรากในเบื้องบนแล้วพัดขึ้นไปคว้างอยู่บนอากาศ ​ ที่ส่วนหนึ่ง ๆ แห่งแผ่นดินมีประมาณ 100  โยชน์ก็มี ​ ประมาณ 200,​300,​400,​500 ​ โยชน์ก็มีแตกออกแล้วถูกกำลังลมพัดหอบขึ้นไป ​ แล้วแหลกละเอียดเป็นผุยผงหายไปในอากาศนั่นเอง ​ ภูเขาจักรวาลก็ดี ​ ภูเขาสิเนรุก็ดี ​ พลอยถูกลมพัดซัดไปในอากาศด้วย ​ ภูเขาทั้ง 2 นั้นกระทบกันแหลกละเอียดเป็นผุยผงพินาศไป ​ ลมทำวิมานแห่งภุมมัฏฐกเทวดาและวิมานแห่งอากาสัฏฐกเทวดาให้วอดไปโดยทำนองนี้แล้ว ​ ทำกามาวจรเทวโลก 6  ชั้นให้พินาศ ​ แล้วยังจักรวาลทั้งแสนโกฏิให้ย่อยยับอยู่ ​ ในกาลนั้นภูเขาจักรวาลกับภูเขาจักรวาล ​ ภูเขาหิมพานต์กับภูเขาหิมพานต์ ​ ภูเขาสิเนรุกับภูเขาสิเนรุกระทบกันและกันจนแหลกเป็นผุยผง ​ ลมพัดเริ่มต้นแต่แผ่นดินไปจนถึงพรหมตติยฌานภูมิ ​ ลมทำพรหมโลก ​ 3  ชั้นในตติยฌานภูมินั้นให้พินาศ แล้วไปหยุดจรดพรหมโลกชั้นเวหัปผละ ​ ลมนั้นทำสิ่งที่นับว่าเป็นสังขารทั้งปวงให้สลายไปอย่างนี้แล้ว ​ ตัวเองก็สลายไปด้วย ​ อากาศเบื้องบนกับทั้งอากาศเบื้องล่างก็มืดมิดเป็นอันเดียวกันแล ​ คำที่เหลือทั้งหมดก็เป็นเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว ​ ในอธิการที่กัปพินาศไปด้วยลมนี้ ​ โลกตั้งแต่สุภกิณหพรหมโลกเป็นต้นยังปรากฏอยู่ ​ ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจากเวหัปผลพรหมแล้ว ​ เกิดฐานะแห่งสุภกิณหพรหมเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 297)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อสงไขย 4'''​ 
- 
-ในอสงไขยทั้ง 4  นั้น ​ นับตั้งแต่มหาเมฆทำกัปให้พินาศจนถึงลมทำกัปให้พินาศสูญสิ้นนี้ เป็นอสงไขยหนึ่ง ​ ตั้งแต่ขาดลมมาจนถึงมหาเมฆตกเต็มที่ ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 2  ตั้งแต่มหาเมฆตกลงเต็มที่มาจนถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏ ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 3  ตั้งแต่พระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏมาจนถึงมหาเมฆทำกัปให้พินาศใหม่อีก ​ นี้เป็นอสงไขยที่ 4 อสงไขยทั้ง 4  เหล่านี้ ​ จัดเป็นมหากัปหนึ่ง ​ การพินาศด้วยลมและการตั้งขึ้นใหม่ ​ นักศึกษาพึงทราบดังบรรยายมาฉะนี้ ​ 
- 
-ถามว่า – โลกพินาศไปอย่างนี้เพราะเหตุไร ? 
- 
-ตอบว่า -  เพราะเหตุแห่งอกุศลมูล ​ คือเมื่ออกุศลมูลหนาแน่นขึ้นแล้ว ​ โลกย่อมพินาศไปอย่างนี้ ​ ก็โลกนั้นแลเมื่อราคะมีหนาแน่นกว่าย่อมพินาศด้วยไฟ ​ เมื่อโทสะหนาแน่นกว่า ​ ย่อมพินาศด้วยน้ำ ​ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ​ เมื่อโทสะหนาแน่นกว่าโลกย่อมพินาศด้วยไฟ เมื่อราคะหนาแน่นกว่า โลกย่อมพินาศด้วยน้ำ เมื่อโมหะหนาแน่นกว่าโลกย่อมพินาศด้วยลม ​ ก็เมื่อโลกพินาศด้วยอกุศลมูลเป็นเหตุอย่างนี้ ​ ย่อมพินาศด้วยไฟ 7  ครั้ง ติดๆกันไป ​ ครั้งที่ 8  จึงพินาศด้วยน้ำ ​ พินาศด้วยไฟ 7 ครั้งอีก ​ ครั้งที่ 8  จึงพินาศด้วยน้ำอีก ​ ตามนัยนี้ เมื่อพินาศไปอยู่ในวาระที่ 8  อย่างนี้ ​ พินาศด้วยน้ำ 7  ครั้ง ​ พินาศด้วยไฟ 7  ครั้งอีกด้วยอาการพินาศเพียงเท่านี้ ​ จึงเป็น ​ 63  กัปล่วงไปแล้ว ​ ในระหว่างนี้ลมได้โอกาสห้ามวาระที่พินาศด้วยน้ำแม้ที่ถึงแล้วเสียได้ ​ กำจัดถึงสุภกิณหพรหมซึ่งมีอายุ 64 กัปบริบูรณ์ ​ ยังโลกให้พินาศอยู่  ​ 
- 
-ภิกษุนึกตลอดกัป ​ แม้เมื่อจะนึกถึงขันธ์ที่ตนเคยอาศัยในก่อน ​ ย่อมนึกได้กระทั่งถึงสังวัฏกัปไม่น้อย ​ วิวัฏกัปไม่น้อย ​ สังวัฏวิวัฏกัปไม่น้อย ​ ในบรรดากัปเหล่านี้ที่มีอยู่, ​ นึกได้อย่างไร ?  คือนึกโดยนัยว่า ​ เราเกิดแล้วในที่โน้นเป็นต้น 
- 
-ในบทมาติกาเหล่านั้น ​ บทมาติกาว่า ​ เราเกิดในที่โน้น ​ คือเราได้เกิดในภพโน้น ในกำเนิดหรือคติโน้น ​ หรือวิญญาณฐิติโน้น ​ หรือสัตตาวาสโน้น ​ หรือหมู่สัตว์โน้น ​ ในสังวัฏกัปโน้น ​ ข้อว่า ​ มีชื่ออย่างนี้ ​ คือ ​ ชื่อว่าติสสะหรือปุสสะ ​ ข้อว่า ​ มีโคตรอย่างนี้ ​ คือเป็นกัจจายนโคตร ​ หรือกัสสหโคตร ​ คำทั้ง 2  นี้ท่านกล่าวด้วยมุ่งถึงการระลึกถึงชื่อและโคตร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 298)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ของตนในภพที่ล่วงไปแล้วของภิกษุนั้น ​ ก็ถ้าว่าในเวลานั้นต้องการจะนึกถึงวรรณสมบัติ ​ หรือ ​ การเลี้ยงชีพเศร้าหมอง ​ หรือประณีต ​ สุขหรือทุกข์มาก ​ อายุน้อยหรือมากของตน ​ เธอก็ย่อมนึกถึงสิ่งนั้นได้เหมือนกัน ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ มีวรรณอย่างนี้ ​ ฯลฯ ​ มีที่สุดแห่งอายุเพียงเท่านี้ ​ ก็ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ มีวรรณะอย่างนี้ ​ คือ ​ มีผิวขาวหรือผิวคล้ำ ​ คำว่า ​ มีอาหารอย่างนี้ ​ คือ ​ มีข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นอาหาร ​ หรือว่ามีการบริโภคผลไม้เป็นอยู่ ​ คำว่า ​ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ​ คือ ​ เสวยสุขและทุกข์ทางกายและใจ ​ หรือที่มีชนิดเจือด้วย ​ เหยื่อล่อหรือไม่มีเหยื่อล่อเป็นต้น ​ โดยประการหลายหลาก ​ คำว่า ​ มีที่สุดแห่งอายุเพียงเท่านี้ ​ คือมีที่สุด ​ อายุประมาณ 100  ปี ​ หรือมีอายุตั้ง 84,​000 ​ กัปเป็นที่สุดอย่างนี้ ​   คำว่า ​ เรานั้นเคลื่อนจากที่นั้น ​ แล้วเกิดในที่โน้น ​ คือ ​ เรานั้นเคลื่อนจากภพกำเนิด ​ คติ ​ วิญญาณฐิติ ​ สัตตาวาส ​ หมู่สัตว์นั้น ​ บังเกิดในภพ ​ กำเนิด ​ คติ ​ วิญญาณฐิติ ​ สัตตาวาส ​ หรือหมู่สัตว์โน้นอีก ​ คำว่า ​ เราเกิดแม้ในที่นั้น ​ คือต่อมาเราได้เกิดในภพ ​ กำเนิด ​ คติ ​ วิญญาณฐิติ ​ สัตตาวาสหมู่สัตว์แม้นั้นอีก ​ คำว่า ​ มีชื่ออย่างนี้เป็นต้น ​ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ เพราะเหตุคำที่ว่า เราเกิดในที่โน้นนี้ ​  ​เป็นการนึกได้ตามปรารถนาแห่งภิกษุผู้นึกขึ้นไปโดยลำดับ ​ คำว่า ​ เราเคลื่อนจากที่นั้น ​ ได้แก่เป็นการพิจารณาของภิกษุผู้นึกถอยกลับ ​ เหตุนั้นพึงทราบว่า ​ คำว่า ​ เราเกิดในที่โน้นนี้ ​ ท่านกล่าวหมายถึงที่เกิดของภิกษุนั้นอันรับรองการเกิดในที่นี้ว่าเกิดในที่นี้ ​ ส่วนคำว่า ​ เราเกิดแม้ในที่นั้น ​ เป็นต้น ​ ท่านกล่าวเพื่อแสดงการระลึกถึงชื่อและโคตรเป็นต้น ​ ในสถานที่บังเกิดในระหว่างแห่งอุบัตินี้ในที่นั้น ​ คำว่า ​ เรานั้นเคลื่อนจากที่นั้นแล้วบังเกิดในที่นี้ ​ คือเรานั้นเคลื่อนจากฐานะที่บังเกิดรองจากภพนั้นแล้ว ​ มาบังเกิดในสกุลกษัตริย์หรือในสกุลพราหมณ์ชื่อโน้นในภพนี้ ​ บทว่า ​ อิติ แปลว่า ​ อย่างนี้ ​ คำว่า ​ มีอาการอุเทศ ​ คือชื่อว่ามีอุเทศด้วยสามารถแห่งชื่อและโคตร ​ ชื่อว่ามีอาการด้วยสามารถแห่งวรรณะเป็นต้น ​ จริงอยู่ ​ สัตว์อันบุคคลย่อมแสดงว่า ​ ติสสะ ​ กัสสปะ ​ ดังนี้ ​ ด้วยชื่อและโคตร ​ ย่อมปรากฏโดยไม่เหมือนกันว่าคล้ำหรือขาว ​ ด้วยวรรณะเป็นเหตุนั้น ​ ชื่อและโคตรจึงชื่อว่าอุเทศ ​ นอกจากนี้จึงชื่อว่าอาการ ​ คำว่า ​ นึกถึงปุพเพสันนิวาสมีอย่างต่าง ๆ นี้ ​ มีเนื้อความชัดอยู่แล้วนั่นแล 
- 
-จบ ​ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 299)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=จุตูปปาตญาณกถา= 
- 
-เนื้อความในเรื่องความรู้ในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายนักศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้ ​ คำว่า ​ เพื่อจุตูปปาตญาณ ​ คือ ​ เพื่อรู้การตายและการเกิด ​ อธิบายว่า ​ จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายที่พระโยคีรู้ได้ด้วยญาณใด ​ ก็น้อมนำจิตเข้าไปเพื่อญาณนั้น ​ คือ ​ เพื่อทิพยจักษุญาณ ​ คำว่า ​ น้อมนำจิต ​ คือ ​ นำเข้าไปเฉพาะ ​ ได้แก่นำบริกรรมจิตมุ่งเข้าไป ​ คำว่า นั้น ​ คือ ​ ภิกษุผู้มีการนำจิตมุ่งไปได้ทำแล้วนั้น ​ ก็ในคำว่า ​ เป็นทิพย์เป็นต้น ​ มีอธิบายว่า ​ ชื่อว่าเป็นทิพย์เพราะเป็นเหมือนของทิพย์ ​ คือปสาทจักษุของพวกเทพเจ้าซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจสุจริตกรรม มิได้เกลือกกลั้วด้วยดี, ​ เสมหะ, ​ เลือดเป็นต้น ​ สามารถจะรับอารมณ์แม้ในที่ไกล ๆ ได้ ​ เพราะพ้นจากอุปกิเลส ​ เป็นปสาทจักษุทิพย์ ​ แม้ญาณจักษุนี้ของภิกษุนั้นบังเกิดได้ด้วยกำลังแห่งวิริยภาวนา ​ เช่นเดียวกับปสาทจักษุนั้น ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่าเป็นทิพย์ ​ เพราะเหมือนของทิพย์ ​ อนึ่ง ​ ชื่อว่า ​ เป็นทิพย์ ​ เพราะได้ด้วยอำนาจทิพพวิหารและเพราะตนได้อาศัยทิพพวิหาร ​ ชื่อว่า ​ เป็นทิพย์ ​ แม้เพราะเหตุที่สว่างไสวมากด้วยการกำหนดถือด้วยอาโลกกสิณ ​ ชื่อว่า ​ เป็นทิพย์ ​ แม้เพราะเหตุที่มีภูมิที่ไปได้มาก ​ เพราะเห็นรูปที่อยู่ในภายนอกฝาเป็นต้นได้ชัดเจน ​ ข้อความนั้นทั้งหมดนักศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์นั้นเถิด ​ ญาณนั้นชื่อว่าจักษุ ​ เพราะอรรถว่าเห็น ​ อนึ่ง ​ ชื่อว่าจักษุ ​ เพราะเป็นดังตาเหตุทำหน้าที่ของตา ​ จักษุนั้นจัดว่าหมดจดเพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิด้วยการเห็นได้ทั้งจุติทั้งอุปบัติ ​ เพราะว่าผู้ใดเห็นแต่จุติอย่างเดียวไม่เห็นอุปบัติ ​ ผู้นั้นย่อมยึดมั่นอุจเฉททิฏฐิ ​ ผู้ใดเห็นแต่อุบัติอย่างเดียวไม่เห็นจุติ ​ ผู้นั้นย่อมยึดมั่นสัสสตทิฏฐิ ​ เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่ ​ ส่วนผู้ใดเห็นทั้ง 2  อย่าง ​ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นจากทิฏฐิ 2  อย่างนั้นเสียได้ ​ เหตุนั้นความเห็นของผู้นั้นจึงเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ 
- 
-จริงอยู่ ​ การเห็นจุติและอุปบัติทั้ง 2  อย่างนี้ ​ พวกที่นับว่าเป็นโอรสพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเห็นได้ ​ การเห็นนั้นท่านกล่าวว่าชื่อว่า ​ หมดจด ​ เพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ​ ด้วยการเห็นทั้งจุติและอุปบัติ ​ ตาคือญาณอันหมดจดนั้นพึงทราบว่าพ้นวิสัยของมนุษย์ธรรมดา ​ เพราะเห็นรูปได้ไกลกว่ามนุษย์ธรรมดา ​ หรือเพราะเห็นได้ไกลยิ่งกว่าตาเนื้อของมนุษย์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 300)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธรรมดา ​ ย่อมเห็นด้วยตาทิพย์นั้นอันหมดจดล่วงพ้นวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาจะเห็นได้ ​ คำว่า เห็นสัตว์ ​ คือดูแลสัตว์เห็นได้ดุจตาเนื้อของมนุษย์ธรรมดา ​ ในคำว่า ​ ผู้จุติและอุปบัติอยู่นี้ ​ หมายความว่า ​ ในขณะจุติในขณะอุปบัติที่ใคร ๆ  ไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาทิพย์ ​ ก็สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ คือจักจุติในบัดนี้ ​ เหตุนั้นสัตว์เหล่านั้นท่านมีความประสงค์ว่าผู้จุติอยู่ ​ ก็แลสัตว์เหล่าใดถือปฏิสนธิแล้ว ​ คือ ​ บังเกิดแล้วในบัดนี้ ​ สัตว์เหล่านั้นท่านมีความประสงค์ว่าผู้อุปบัติอยู่ ​ ท่านแสดงว่า ​ เห็นสัตว์เหล่านั้นผู้จุติและอุปบัติอยู่เช่นนั้น ​ คำว่า ​ ผู้เลว ​ คือถ่อย ​ ทราม ​ ต่ำช้า ​ ที่คนดูหมิ่นได้ด้วยอำนาจชาติสกุลและโภคะเป็นต้นอันทราม ​ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวิบากอันเผล็ดผลมาจากโมหะ ​ คำว่า ​ ประณีต ​ คือที่ตรงกันข้ามจากนั้น ​ เพราะประกอบด้วยวิบากอันเผล็ดผลมาจากอโมหะ ​ คำว่า ​ ผู้มีผิวพรรณดี ​ คือผู้ประกอบด้วยผิวพรรณน่าปรารถนา ​ น่าใคร่ ​ น่าพอใจ ​ เพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากอโทสะ ​ คำว่า ​ ผู้มีผิวพรรณทราม ​ คือผู้ประกอบด้วยผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ​ ไม่น่าใคร่ ​ ไม่น่าพอใจ ​ เพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากโทสะ ​ เนื้อความแห่งคำทั้ง 2 นั้นก็คือผู้มีรูปร่างงดงามและผู้มีรูปร่างขี้เหร่ ​ คำว่า ​ ผู้ไปดี ​ คือไปสู่สุคติหรือเป็นคนมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากหลาย ​ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากความไม่โลภ ​ คำว่า ​ ผู้ไปไม่ดี ​  ​คือไปสู่ทุคติ ​ หรือเป็นคนยากไร้เข็ญใจมีข้าวและน้ำอัตคัตเพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกจากโลภะ ​ คำว่า ​ ผู้เข้าถึงตามกรรม ​ คือตนเองสั่งสมกรรมใด ๆ  ไว้ก็เข้าไปรับผลกรรมนั้น ๆ  
- 
-ในบทเหล่านั้น ​ ด้วยบทเป็นต้นว่า ​ ผู้จุติอยู่ ​ ดังนี้ ​ ท่านกล่าวมุ่งถึงหน้าที่ของทิพยจักษุ ​ ส่วนบทนี้ท่านกล่าวถึงหน้าที่ของ ​ ยถากัมมุปคญาณ ​ คือญาณเป็นเครื่องให้รู้ถึง ​ สัตว์ผู้เข้าไปรับผลตามกรรมที่ทำมา ​ และลำดับแห่งการบังเกิดของญาณนั้น ​ ดังนี้ ​ ภิกษุในพระศาสนานี้ ​ เจริญอาโลกกสิณมุ่งตรงต่อนรกที่อยู่ภาคใต้ ​ ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในนรก ​ กำลังเสวยทุกข์อย่างแสนสาหัส ​ ก็ความเห็นอันนั้นจัดว่าเป็นหน้าที่ของทิพยจักษุนั้นนั่นแล ​ เธอนั้นใส่ใจอย่างนี้ว่า ​ สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอไรไว้หนอจึงมาเสวยทุกข์นี้ ​ ครั้นคราวนี้ญาณนั้นมีกรรมเป็นอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า ​ เขาทำกรรมอย่างนี้ไว้ ​ อนึ่ง ​ ภิกษุเจริญอาโลกกสิณมุ่งตรงต่อเทวโลกเบื้องบน ​ เห็นหมู่เทพในนันทวัน, ​ มิสกวัน, ​ และปารุสกวันเป็นต้น ​ ผู้กำลังเสวยสมบัติอย่างมโหฬาร ​ การเห็นแม้อย่างนี้จัดว่าเป็นหน้าที่ของทิพยจักษุนั้นนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 301)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เธอจึงใส่ใจอย่างนี้ว่า ​ หมู่เทพเหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ ​ จึงได้มาเสวยสมบัติเห็นปานนี้ ​ ครั้นคราวนี้ญาณมีกรรมเป็นอารมณ์ย่อมเกิดปรากฏแก่เธอนั้นว่า ​ เขาทำกรรมชื่อนี้ไว้ ​ นี้ชื่อว่า ​ ยถากัมมุปคญาณ ​ สำหรับญาณนี้ไม่มีบริกรรมเป็นแผนกหนึ่ง ​ ก็การไม่มีบริกรรมเป็นแผนกหนึ่งของญาณนี้ ​ ฉันใด แม้อนาคตังสญาณก็ย่อมเป็นฉันนั้นนั่นแล ​ จริงอยู่ ​ ญาณที่เป็นบาทของทิพยจักษุนั่นแหละย่อมสำเร็จพร้อมกับทิพยจักษุทีเดียว 
- 
-ในคำว่า ​ ด้วยกายทุจริตเป็นต้น ​ มีความหมายว่า ​ กรรมที่บุคคลประพฤติแล้วชั่วช้าเลวทราม ​ หรือกรรมชั่วช้าเลวทรามที่บุคคลประพฤติแล้ว ​ เพราะเป็นกรรมเน่าด้วยกิเลส ​ เหตุนั้น ​ กรรมนั้นจึงชื่อว่าทุจริต ​ ทุจริตทางกายหรือทุจริตที่เกิดขึ้นแต่กาย ​ ชื่อว่ากายทุจริต ​ แม้ในบทนอกจากนี้ก็มีความหมายอย่างนี้เหมือนกัน ​ คำว่า ​ ประกอบแล้ว คือเป็นผู้พร้อมเพรียง ​ คำว่า ​ เป็นผู้เข้าไปว่ากล่าวพระอริยะทั้งหลาย ​ คือเป็นผู้มุ่งความฉิบหายแก่พระอริยะคือ ​ พระพุทธเจ้า ​ พระปัจเจกพุทธเจ้า ​ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ​ โดยที่สุดแม้คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบัน ​ เป็นผู้เข้าไปกล่าวว่า ​ มีอธิบายว่า ​ ด่าแดกดันด้วยอันติมวัตถุ ​ หรือด้วย ​ การกำจัดเสียซึ่งคุณงามความดี ​ ใน 2  อย่างนั้น ​ เมื่อเธอพูดว่า ​ แม้ธรรมสำหรับสมณะก็ไม่มีแก่ท่านเหล่านี้ ​ ท่านเหล่านี้ไม่ใช่สมณะเลย ​ ดังนี้ ​ พึงทราบว่าด่าด้วยอันติมวัตถุ ​ เมื่อเธอพูดคำเป็นต้นว่า ฌานวิโมกข์ ​ มรรค ​ ผล ​ ไม่มีแก่คนเหล่านี้ ​ พึงทราบว่า ​ ด่าด้วยการมุ่งที่จะกำจัดคุณงามความดี ​ ก็ผู้นั้นรู้อยู่ก็ดีไม่รู้อยู่ก็ดียังขืนด่า ​ จัดว่าเป็นอริยุปวาททั้ง 2  อย่างแล กรรมนั้นเป็นกรรมหนักเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม ​ ห้ามสวรรค์ห้ามมรรคผลนิพพาน ​ แต่ก็ยังพอเยียวยาได้ ​ เพื่อจะทำเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง ​ นักศึกษาควรทราบเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง 
- 
-เล่ากันมาว่า ​ พระเถระกับภิกษุหนุ่มไปบิณฑบาตด้วยกันในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ​ พอเดินถึงบ้านหลังแรกเท่านั้น ​ พระทั้ง 2  รูป ​ ก็ได้รับบิณฑบาตเป็นข้าวยาคูร้อนกระบวยหนึ่ง ​ พระเถระเกิดมีลมเสียดแทงขึ้นในท้อง ​ ท่านจึงคิดว่า ​ ข้าวยาคูนี้ช่างเหมาะแก่โรคของเราเสียจริง เราจักดื่มมันตอนที่ยังอุ่น ๆ นี่แหละ ​ ท่านจึงนั่งดื่มบนท่อนไม้ที่พวกคนชาวบ้านนำมาเพื่อทำธรณีประตู ​ ฝ่ายภิกษุหนุ่มเกิดความรังเกียจท่านจึงกล่าวติเตียนว่า ​ พระแก่นี่หิวจัดตะกละมากทำให้เราได้รับความอับอาย ​ พระเถระเที่ยวไปยังบ้านแล้วกลับมายังวัด ​ จึงถามภิกษุหนุ่มนั้นว่า ​ "​ผู้มีอายุ ​ เธอมีที่พึ่งในพระศาสนานี้หรือยังล่ะ ?" ​ พระภิกษุหนุ่มบอกว่า ​ "​มีซิครับ ​ ก็ผม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 302)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นพระโสดาบัน" ​ พระเถระพูดว่า ​ "​ถ้าอย่างนั้นเธออย่าได้ทำความพยายามเพื่อมรรคผลชั้นสูง ๆ ต่อไปเลย" ​ พระภิกษุหนุ่มย้อนถามว่า ​ "​เพราะเหตุไรครับ ?" ​ พระเถระตอบว่า "​ก็เพราะว่าเธอได้ว่าร้ายพระขีณาสพแล้วละซิ" ​ ภิกษุหนุ่มนั้นได้สำนึกผิดขอขมาพระเถระแล้ว ด้วยการขอขมานั้น ​ กรรมของเธอจึงได้เป็นปกติดังเดิม ​ เพราะเหตุนั้น ​ ผู้ใดผู้หนึ่งไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ​ ผู้นั้นต้องไปขอขมาท่านเสีย ​ ถ้าตนแก่พรรษากว่า ​ พึงนั่งกระโหย่งไม่ต้องไหว้ ​ กล่าวคำขอขมาว่า ​ "​อหํ ​ อายสฺมนฺตํ ​ อิทญฺจิทญฺจ ​ อวจํ, ​ ตมฺเม ​ ขมาหิ ​ ฉันได้กล่าวด้วยคำอย่างนี้อย่างนี้กะเธอ ​ ขอเธอจงยกโทษนั้นแก่ฉันเถิด" ​ ถ้าตนอ่อนพรรษากว่าต้องไหว้แล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลีขอขมาว่า ​ "​อหํ ​ ภนฺเต ​ ตุมเห ​ อิทญฺจิทญฺจ ​ อวจํ, ​ ตมฺเม ​ ขมถ ​ ท่านขอรับ ​ กระผมได้กล่าวถ้อยคำอย่างนี้อย่างนี้กะท่าน ​ ขอท่านได้โปรดยกโทษนั้นแก่กระผมด้วยเถิด" ​ ถ้าท่านหลีกไปที่อื่นเสียแล้วพึงไปขอขมาด้วยตัวเอง ​ หรือส่งสัทธิวิหาริกเป็นต้นให้ไปขอขมาแทนตนก็ได้ ​ ก็ถ้าไม่สามารถจะไปเองได้ทั้งไม่สามารถจะส่งผู้อื่นไปแทนได้ ​ ภิกษุเหล่าใดอยู่ในวัดนั้นพึงไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ​ ถ้าอ่อนพรรษากว่าพึงนั่งกระโหย่ง ​ ถ้าแก่พรรษากว่าพึงปฏิบัติตามนัยแห่งวัตรที่พึงทำให้ท่านผู้แก่พรรษาดังกล่าวแล้วนั่นแล ​ แล้วกล่าวขอขมาว่า ​ "​อหํ ​ ภนฺเต ​ อสุกํ ​ นาม ​ อายสฺมนฺตํ ​ อิทญฺจิทญฺจ ​ อวจํ, ​ ขมตุ ​ เม ​ โส ​ อายสฺมา ​ ท่านเจ้าข้า ​ ข้าพเจ้าได้กล่าวคำ ๆ นี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น ​ ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้นจงยกโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด" ​ แม้เธอไม่ขอขมาต่อหน้าพึงทำการขอขมาดังว่ามานี้นั่นแล ​ หากท่านเป็นภิกษุเที่ยวไปผู้เดียวไม่ปรากฏที่อยู่ไม่ปรากฏที่ไป ​ พึงไปหาภิกษุผู้เป็นบัณฑิตรูปหนึ่งแล้วพึงกล่าวว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ กระผมได้กล่าวถ้อยคำอย่างนี้ ๆ  กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น ​ บัดนี้ความเดือดร้อนในใจเกิดมีแก่กระผมทุกครั้งที่นึกถึงท่าน ​ นี่กระผมจะทำอย่างไรดี ?" ​ ภิกษุผู้บัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า ​ "​อย่าคิดไปเลยคุณ ​ พระเถระท่านไม่ถือเป็นโทษดอก ​  ​จงสบายใจเสียเถิด" ​ ฝ่ายภิกษุนั้นพึงผินหน้าไปทางที่พระอริยเจ้าท่านไป ​ แล้วประคองอัญชลีกล่าวว่า "​ขอท่านจงยกโทษให้กระผมเถิด" ​ ถ้าหากพระเถระรูปนั้นปรินิพพานเสียแล้ว ​ ก็ควรไปยังที่ใกล้เตียงนอนปรินิพพานของท่าน ​ ถึงจะไปยังป่าช้าก็ให้ท่านยกโทษให้แก่ตนได้ ​ เมื่อทำได้ดังนี้กรรมนั้นไม่เป็นอันห้ามสวรรค์และไม่กั้นมรรคผลนิพพาน ​ ก็จะกลับเป็นปกติดังเดิม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 303)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ​ คือเป็นคนมีความเห็นวิปริต ​ คำว่า ​ สมาทานกรรมของมิจฉาทิฏฐิ ​ คือผู้มีกรรมหลายอย่างที่ตนยึดมั่นไว้ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ​ ทั้งยังจะชักชวนคนอื่น ๆ  ไปในทางกายกรรมเป็นต้นอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุอีกด้วย ​ อนึ่ง ​ ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ​ แม้เมื่ออริยุปวาทท่านสงเคราะห์แล้วด้วยศัพท์คือวจีทุจริต ​  ​และเมื่อมิจฉาทิฏฐิ ท่านสงเคราะห์แล้วด้วยศัพท์คือมโนทุจริตก็ดี ​ การกล่าวทั้ง 2  บทนี้ไว้อีกก็เพื่อจะแสดงถึงว่ากรรมทั้ง 2  เหล่านี้มีโทษมาก ​ จริงอยู่ ​ อริยุปวาทมีโทษมากเพราะเป็นเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม ​ จริงอย่างนั้น ​ ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ​  ​ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ​ ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ​ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ​ พึงบรรลุพระอรหัตในภพนี้ได้เลย ​ ฉันใด ​ ดูก่อนสารีบุตร ​ เรากล่าวอุปมัยนี้ว่าเหมือนอย่างนั้น ​ คือเป็นที่แน่นอนทีเดียว ​ คนที่ไม่ละวาจานั้น ​ ไม่ละจิตนั้น ​ ไม่ละทิฏฐินั้น ​ จะต้องถูกวาจา ​ จิต และทิฏฐินั้นฝังแล้ว ​ เหมือนถูกนายนิรบาลฝังไว้แล้วในนรกฉะนั้น ​ ก็ความชั่วอย่างอื่นที่จะชื่อว่าโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐินั้นเห็นจะไม่มีแน่ ​ สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เราไม่เคยเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักอย่างเดียว ​ ที่จะมีโทษมากยิ่งเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลยนะภิกษุทั้งหลาย ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นยอดของโทษ ​ คำว่า ​ เพราะกายแตก ​ คือเพราะสละอุปาทินนขันธ์ ​ คำว่า ​ เบื้องหน้าแต่ตาย ​ คือในการถือเอาขันธ์ซึ่งเกิดใหม่ในลำดับแห่งอุปาทินนขันธ์นั้น ​ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ​ เพราะกายแตก ​ คือเพราะชีวิตินทรีย์ขาดสิ้นไป ​ คำว่า ​ เบื้องหน้าแต่ตาย ​ คือต่อจากจุติจิตไป ​ คำว่า ​ อบาย ​ เป็นต้น ​ ทุกคำใช้เป็นคำเรียกแทนนรกนั่นเอง ​ จริงอยู่ ​ นรกได้ชื่อว่าอบายเพราะปราศจากความเจริญ ​ ซึ่งสมมติว่าเป็นบุญ ​ อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน ​ หรือเพราะไม่มีความเจริญแห่งความสุขทั้งหลาย ​ อบายนั้นเป็นที่ถึงทุกข์คือเป็นที่พำนักแห่งทุกข์ ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่าทุคติ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ชื่อว่า ​ ทุคติ ​ เพราะเป็นคติที่เกิดแล้วด้วยกรรมชั่ว ​ เพราะเป็นผู้มากไปด้วยโทษ ​ ผู้ทำชั่วย่อมตกไปในที่นั้นโดยปราศจากอำนาจกีดขวาง ​ เหตุนั้น ​ ที่นั้นจึงชื่อว่า ​ วินิบาต ​ หรือผู้ทำชั่วย่อมย่อยยับตกไปในที่นี้ ​ มีองค์อวัยวะน้อยใหญ่แตกสลาย ​ แม้เพราะเหตุนี้ ​ จึงชื่อว่า ​ วินิบาต ​ ความเจริญที่รู้ได้ด้วยความแช่มชื่น ​ ไม่มีในที่นี้ ​ เหตุนั้นที่นี้จึงชื่อว่า ​ นิรยะ ​ อีกอย่างหนึ่งท่านแสดงถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานด้วยศัพท์ว่า ​ อปาย ​ จริงอยู่ ​ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานชื่อว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 304)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อปาย ​ เพราะปราศจากสุคติ ​ แต่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้ไม่จัดเป็นทุคติ ​ เพราะเป็นที่สมภพแห่งดิรัจฉานจำพวกที่มีศักดาใหญ่ ​ เช่นนาคราชเป็นต้น ​ ท่านแสดงถึงแหล่งที่อยู่ของเปรตไว้ด้วยศัพท์ว่า ​ ทุคติ ​ จริงอยู่ แหล่งที่อยู่ของเปรตนั้นได้ชื่อว่าอบายด้วยและชื่อว่าทุคติด้วย ​ เพราะปราศจากสุคติและเพราะเป็นที่ถึงความทุกข์ ​ แต่ก็ไม่ชื่อว่าวินิบาต ​ เพราะเปรตวิสัยนั้นไม่ได้ตกไปอย่างย่อยยับเช่นกับอสุรกาย ​ ท่านแสดงอสุรกายไว้ด้วยศัพท์ว่า ​ วินิบาต ​ จริงอยู่ ​ อสุรกายนั้นชื่อว่าอบายและทุคติตามความหมายที่ได้กล่าวไว้แล้ว ​ และท่านเรียกว่า ​ วินิบาตเพราะอสุรกายนั้นตกไปจากความเจริญแห่งสมบัติทุกประการ ​ ท่านแสดงถึงนรกนั้นนั่นเอง ​ อันมีหลายอย่างเช่นอเวจีมหานรกเป็นต้น ​ ด้วยศัพท์ว่า ​ นรก ​ คำว่า ​ เข้าถึงแล้ว ​ คือเข้าไปแล้ว ​ อธิบายว่า ​ เกิดเฉพาะแล้วในอบายเป็นต้นนั้น ​ ฝ่ายที่ดีนักศึกษาพึงทราบโดยปริยายที่ตรงกันข้ามจากฝ่ายชั่วที่กล่าวมาแล้วนั้นเถิด ​ ส่วนข้อความที่แปลกกัน ​ มีดังต่อไปนี้ 
- 
-ก็ในที่นั้นท่านสงเคราะห์แม้คติของมนุษย์ไว้ ​ ด้วยศัพท์ ​ คือ ​ สุคติ ถึงเทวคติท่านก็สงเคราะห์อย่างเดียวกันด้วยศัพท์ว่า ​ สวรรค์ในบทเหล่านั้นพึงทราบอรรถวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ว่า ชื่อว่าสุคติ ​ เพราะดำเนินไปอย่างงดงาม ​ ชื่อว่าสวรรค์ ​ เพราะภาวะที่เลิศด้วยดีด้วยอารมณ์มี ​ รูปารมณ์ ​ เป็นต้น ​ สวรรค์นั้นแม้ทั้งหมดท่านเรียกว่า ​ โลก ​ เพราะอรรถว่า ​ มีอันจะต้องทรุดโทรมไป ​ บทว่า ​ ด้วยจักษุทิพย์อย่างนี้ทั้งหมด ​ จัดเป็นคำสรุป ​ ความย่อในคำนิคมนั้นว่า ​ เห็นด้วยตาทิพย์อย่างนี้  ​ 
- 
-ก็กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญความเพียรเพื่อต้องการจะเห็นอย่างนี้ ​ พึงทำฌานมีอภิญญาเป็นบาท ​ ซึ่งมีกสิณเป็นอารมณ์ ​ ให้ควรแก่อภินิหารโดยอาการทุกอย่างแล้ว ​ พึงทำกสิณ 3  ชนิด ​ เหล่านี้ ​ คือ ​ เตโชกสิณ 1 โอทาตกสิณ 1  อาโลกกสิณ 1  อย่างใดอย่างหนึ่งให้ใกล้ต่อการเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุญาณ ​ พึงขยายทำอุปจารฌานให้เป็นโคจรแล้วพึงหยุดไว้ ​ อธิบายว่าไม่พึงยังอัปปนาให้เกิดในอารมณ์นั้น ​ เพราะถ้าเธอให้อัปปนาเกิดขึ้น ​ อารมณ์นั้นจะเป็นที่อาศัยแห่งฌานที่เป็นบาท ​ ไม่เป็นที่อาศัยแห่งบริกรรม ก็ในกสิณทั้ง 3  เหล่านี้ ​ อาโลกสิณนั่นเท่านั้นประเสริฐกว่า เหตุนั้น พึงยังอาโลกกสิณนั้น ​ หรือกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ บรรดากสิณนอกจากนี้ให้เกิดขึ้น ​ ตามนัยดังที่ได้กล่าวแล้วในกสิณนิทเทส ​ แล้วพึงหยุดอยู่ในอุปจารภูมินั่นแหละก่อน ​ จึงค่อยให้ขยายไป ​ ก็แม้นัยแห่งการขยายฌานนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบได้จากที่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 305)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ได้กล่าวไว้แล้วในกสิณนิทเทสนั้นแล ​ เธอจะพึงเห็นรูปในภายในฐานะที่ได้ขยายแล้ว ๆ  ก็เมื่อพระโยคีนั้นเห็นรูปอยู่ ​ วาระแห่งบริกรรมย่อมผ่านพ้นไป ​ แต่นั้นแสงสว่างแห่งอาโลกสิณก็หายไป ​ เมื่อแสงสว่างนั้นหายไปแล้ว ​ แม้รูปก็จะไม่ปรากฏด้วย ​ เมื่อเป็นเช่นนั้นพระโยคีนี้ก็จะต้องเข้าฌานที่เป็นบาทนั้นแหละบ่อย ๆ  ออกจากฌานนั้นแล้วพึงแผ่แสงสว่าง ​ แสงสว่างจะแจ่มจ้าอยู่ได้นานขึ้นโดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้ ​ ก็ในอธิการนี้ ​ พระโยคีกำหนดที่มีประมาณเท่าใดว่า ​ อาโลโก ​ โหตุ ​ แสงสว่างจงมีอยู่ในที่นี้เถิด ​ ดังนี้ ​ แสงสว่างย่อมตั้งอยู่ในที่กำหนดแล้วนั่นแล ​ แม้เธอจะนั่งดูอยู่ทั้งวันก็เห็นรูปได้ทั้งวัน ​ ก็บุรุษผู้เดินทางตลอดราตรีด้วยคบเพลิงหญ้า ​ ย่อมเป็นข้ออุปมาในเรื่องนี้ได้  ​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ชายผู้หนึ่งใช้คบเพลิงหญ้าส่องทางเดินไปในเวลากลางคืน ​ คบเพลิงนั้นของเขาหรี่ลง ​ ทีนี้เองเขาจึงไม่รู้ชัดว่าทางเดินนั้นเรียบหรือขรุขระกันแน่ ​ เขาจึงใช้วิธีการเขี่ยคบเพลิงนั้นที่แผ่นดิน ​ ทำให้มันลุกโพลงขึ้นใหม่ พอคบเพลิงนั้นลุกโพลงขึ้น ก็ได้ส่องแสงสว่างไสวมากกว่าเดิม ​ เมื่อชายนั้นทำคบเพลิงที่หรี่ลงแล้วให้โพลงขึ้นใหม่อย่างนี้บ่อย ๆ  พระอาทิตย์ก็โผล่ขึ้นโดยลำดับ ​ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้วเขาคิดว่าเราไม่ต้องใช้คบเพลิง ​ จึงทิ้งคบเพลิงนั้นเสีย ​ เดินไปได้จนตลอดวัน ​ พึงทราบความหมายในข้ออุปมานั้นดังต่อไปนี้ ​ แสงสว่างแห่งกสิณในเวลาบริกรรม ​ เป็นดุจแสงสว่างแห่งคบเพลิง ​ เมื่ออาโลกกสิณหายไปเพราะล่วงวาระแห่งการบริกรรมของพระโยคีผู้ดูแลดูรูปอยู่จึงมองไม่เห็นรูป ​ ดุจการไม่เห็นที่เรียบและที่ขรุขระในเมื่อคบเพลิงหรี่ลง ​ ฉะนั้น ​ การเข้าบ่อย ๆ เปรียบเหมือนการพยายามเขี่ยคบเพลิงบ่อย ๆ  ฉะนั้น ​ การแผ่แสงสว่างให้มีกำลังกว่าเดิมของพระโยคีผู้ทำบริกรรมบ่อย ๆ  ก็ดุจการทำคบเพลิงให้สว่างไสวกว่าเก่า ​ ฉะนั้น ​ การที่แสงสว่างอันแรงกล้าคงอยู่ตามที่ที่กำหนดไว้ ​ เปรียบดังการขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์นั้น ​ ฉะนั้น ​ การทิ้งแสงสว่างเล็กน้อยเสีย ​ แลดูรูปด้วยแสงสว่างอันแจ่มจ้าทั้งวัน ​ เปรียบดุจการทิ้งคบเพลิงเสีย ​ แล้วเดินไปได้ทั้งวัน ​ ในการเห็นรูปนั้นเมื่อใด ​ รูปนี้คือรูปที่อยู่ภายในท้อง ​ รูปที่อาศัยหทัยวัตถุ ​ รูปที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ​ รูปที่อยู่นอกฝา ​ นอกภูเขา ​ นอกกำแพง ​ และรูปที่อยู่ในจักรวาลอื่น ​ อันไม่มาปรากฏทางตาเนื้อของภิกษุนั้น ​ ก็มาปรากฏทางญาณจักษุของภิกษุนั้นได้ ​ คือ ​ ดุจปรากฏแก่ตาเนื้อ ​ ในเวลานั้นทิพยจักษุย่อมเป็นอันเกิดแล้ว ​ แต่ในอธิการนี้ ​ ทิพยจักษุนั้นสามารถเห็นรูปได้เท่านั้น ​ แต่ไม่สามารถจะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 306)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เห็นบุพพภาคแห่งจิตได้ ​ ก็ทิพยจักษุนี้นั้นย่อมเป็นอันตรายแก่ปุถุชน ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะปุถุชนนั้นอธิษฐานว่า ​ จงสว่าง ​ ดังนี้ ​ ณ  ในที่ใด ๆ  ที่นั้น ๆ  ย่อมสว่างจ้าเป็นอันเดียวกัน ​ แม้แทรกเข้าไปตลอดแผ่นดิน ​ ทะเล ​ และภูเขา ​ ครั้นคราวนี้เมื่อเธอเห็นรูปยักษ์และผีเสื้อเป็นต้นอันน่ากลัวในที่นั้น ๆ  ความหวาดกลัวย่อมเกิดขึ้น ​ เพราะเหตุที่เธอถึงความฟุ้งซ่านแห่งใจ ​ เป็นผู้หัวเสียเพราะญาณ ​ ฉะนั้น ​ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทในการเห็นรูปเถิด 
- 
-ในข้อนั้นมีลำดับการเกิดของทิพยจักษุดังต่อไปนี้ ​ เมื่อในมโนทวาราวัชชนจิตทำรูปมีประการดังกล่าวแล้วนั้นให้เป็นรูปารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป ​ ชวนะ 4  หรือ 5  ดวงทำรูปนั้น ​ นั่นแหละให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ​ คำทั้งหมดนักศึกษาพึงทราบตามนัยก่อนนั่นแล ​ แม้ในที่นี้บุพพภาคจิตที่มีวิตกวิจารเป็นกามาวจร ​ ในที่สุดเป็นจิตยังประโยชน์ให้สำเร็จ ​ ประกอบด้วยฌานที่ 4 เป็นรูปาวจร ​ ญาณซึ่งเกิดพร้อมกับจิตนั้นแลท่านเรียกว่า ​ สตฺตานํ ​ จุตูปปาตญาณบ้าง ​ ทิพพจักษุญาณบ้างแล 
- 
-จบ ​ จุตูปปาตญาณกถา 
- 
-=ความเบ็ดเตล็ดในอภิญญา= 
- 
-พระโลกนาถเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งขันธ์ 5  ได้ทรงตรัสอภิญญา 5  เหล่าใดไว้ ​ พระโยคีเข้าใจอภิญญาเหล่านั้น ​ แล้วพึงทราบถึงเรื่องเบ็ดเตล็ดในอภิญญาเหล่านี้ ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-จริงอยู่ ​ ในอภิญญา 5  เหล่านี้ ​ ทิพยจักษุกล่าวคือจุตูปปาตญาณ ​ มีญาณเครื่องล้อมกำกับอยู่ 2  คือ ​ อนาคตังสญาณ ​ ญาณเครื่องรู้ในส่วนอนาคต 1  ยถากัมมุปคญาณ ญาณเครื่องรู้ว่าสัตว์เข้าถึงตามกรรม 1  ญาณ 2  เหล่านี้แหละอภิญญา 5  มีอิทธิวิธเป็นต้น ​ รวมกันเป็นญาณฝ่ายอภิญญา 7  มาแล้วในที่นี้ดังนี้แล ​ บัดนี้ ​ เพื่อไม่ให้หลงในการจำแนกอารมณ์แห่งอภิญญาญาณเหล่านั้น 
- 
-บัณฑิตพึงแสดงความเป็นไปแห่งอภิญญาญาณ 7  ในอารัมมณติกะ 4 
- 
-ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ทรงตรัสไว้แล้ว 
- 
-นี้เป็นการแสดงในอารัมมณติกะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 307)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​หมวด 3  แห่งอารมณ์ 4  อย่าง'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ หมวด 3  แห่งอารมณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ทรงตรัสไว้มี 4  อย่าง ​ 4  อย่างเป็นไฉน ?  คือ ​ ปริตตารัมมณัตติกะ ​ หมวด 3  แห่งปริตรตารมณ์ 1  มัคคารัมมณัตติกะ ​ หมวด 3  แห่งมัคคารมณ์ 1  อตีตารัมมณัตติกะ ​ หมวด 3  แห่งอตีตารมณ์ 1  และอัชฌัตตารัมมณัตติกะ ​ หมวด 3  แห่งอัชฌัตตารมณ์ 1 
- 
-ในอภิญญาญาณเหล่านั้น ​ อิทธิวิธญาณเป็นไปในอารมณ์ 7  คือ ​ ปริตรตารมณ์ 1  มหัคคตารมณ์ 1  อตีตารมณ์ 1 อนาคตารมณ์ 1 ปัจจุบันนารมณ์ 1  อัชฌัตตารมณ์ 1  พหิทธารมณ์ 1 
- 
-'''​อิทธิวิธในอารมณ์ 7  อย่าง'''​ 
- 
-เป็นไปอย่างไร ?  คือ ​ อิทธิวิธญาณนั้น ​ เมื่อใดพระโยคีทำกายให้อิงอาศัยจิต ​ ต้องการไปด้วยกายมิได้ปรากฏ ​ จึงน้อมกายไปด้วยอำนาจของจิต รวบรวมวางรูปกายลงในมหัคคตจิต ​ เมื่อนั้นอารมณ์ที่ได้ด้วยการเข้าไปประกอบย่อมมี ​ เพราะทำอธิบายอย่างนี้ ​ อิทธิวิธญาณนั้นจึงชื่อว่า ​ ปริตตารมณ์ ​ เพราะมีรูปกายเป็นอารมณ์ ​ เมื่อใดพระโยคีทำจิตให้อิงอาศัยกาย ​ ต้องการไปด้วยกายอันปรากฏ ​ จึงน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกายที่รวบรวมลงในจิต ​ อันประกอบไปด้วยฌานที่เป็นบาทในรูปกาย ​ เมื่อนั้นอารมณ์ที่ตนได้ด้วยการเข้าไปประกอบย่อมมี ​ เพราะทำอธิบายดังว่ามานี้ ​ อิทธิวิธญาณนั้นจึงชื่อว่า มหัคคตารมณ์ ​ เพราะมีมหัคคจิตเป็นอารมณ์ ​ อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่พระโยคีทำจิตนั้นนั่นแลให้เป็นจิตที่ล่วงไปแล้วที่ดับไปแล้วให้เป็นอารมณ์ ​ เหตุนั้น ​ อิทธิวิธญาณนั้นจึงชื่อว่า ​ เป็นอตีตารมณ์ เมื่อพระโยคีอธิษฐาน ​ อนาคตารมณ์ ​ ดุจพระมหากัสสปเถระเป็นต้น ​ อธิษฐานในเวลาบรรจุพระมหาธาตุ ​ อิทธิวิธญาณนั้นชื่อว่าเป็น ​ อนาคตารมณ์ ​ นัยว่า ​ พระมหากัสสปเถระ เมื่อจะทำการบรรจุพระมหาธาตุ ​ ได้อธิษฐานว่า ​ กลิ่นเหล่านี้จงอย่าเหือดหาย ​ ดอกไม้จงอย่าแห้ง ​ ประทีปจงอย่าดับตลอด 218  ปี ​ ในอนาคตกาล ​ สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดได้เป็นเหมือนอย่างการอธิษฐานนั้น ​ พระอัสสคุตตเถระเห็นหมู่ภิกษุอยู่ในเสนาสนะสำหรับประพฤติวัตรฉันข้าวตากอยู่ ​ จึงอธิษฐานว่า ​ บ่อน้ำนี้จงกลายเป็นน้ำนมส้มในเวลาก่อนฉันอาหารเช้าทุกวันเถิด ​ น้ำที่พวกภิกษุตักเอา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 308)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในเวลาก่อนฉันอาหารจงเป็นน้ำนมส้ม ​ ในเวลาหลังอาหารจงกลับเป็นน้ำธรรมดาเหมือนเดิมเถิด ​ ก็อิทธิวิธญาณชื่อว่า ​ ปัจจุปันนารมณ์ ในเวลาทำกายให้อิงอาศัยจิตไปด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ​ อิทธิวิธญาณนั้นชื่อว่าเป็น อัชฌัตตารมณ์ ​ เพราะทำจิตที่พร้อมด้วยกายของตนให้เป็นอารมณ์ ​ ในเวลาที่น้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย ​ หรือน้อมกายไปด้วยอำนาจจิต ​ และในเวลานิรมิตตนเป็นเพศกุมารน้อยเป็นต้น ​ อนึ่ง ​ อิทธิวิธญาณนั้น ชื่อว่าเป็น ​ พหิทธารมณ์ ​ ในเวลาที่เห็นช้างและม้าเป็นต้นในภายนอก 
- 
-ความเป็นไปแห่งอิทธิวิธญาณในอารมณ์ 7 อย่าง ​ พึงทราบดังได้พรรณนามานี้แล 
- 
-=ทิพพโสตธาตุญาณ'''​ 
- 
-ทิพพโสตธาตุญาณย่อมเป็นในอารมณ์ 4  ด้วยอำนาจ ​ ปริตตารมณ์ 1 ปัจจุปันนารมณ์ ​ 1  อัชฌัตตารมณ์ 1  พหิทธารมณ์ 1  เป็นอย่างไร ?  คือ ​ ทิพพโสตธาตุญาณนั้นเป็นปริตตารมณ์ ​ ได้แก่มีอารมณ์เป็นกามาวจร ​ เพราะเหตุทำเสียงให้เป็นอารมณ์ ​ และเพราะเหตุว่าเสียงเป็นปริตตะคือกามาวจร ​ และชื่อว่าเป็นปัจจุปันนารมณ์เฉพาะที่ทำปัจจุบันให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไป ​ ทิพพโสตธาตุญาณนั้นชื่อว่าเป็นอัชฌัตตารมณ์ ​ ในเวลาฟังเสียงในท้องของตน ​ ชื่อว่าเป็นพหิทธารมณ์ในเวลาฟังเสียงของผู้อื่น 
- 
-พึงทราบความเป็นไปแห่งทิพพโสตธาตุญาณในอารมณ์ 4  ดังอธิบายมานี้ 
- 
-'''​เจโตปริยญาณ'''​ 
- 
-เจโตปริยญาณย่อมเป็นไปในอารมณ์ 8  ด้วยอำนาจปริตตารมณ์ 1 มหัคคตารมณ์ 1  อัปปมาณารมณ์ 1  มัคคารมณ์ 1 อตีตารมณ์ 1   ​อนาคตารมณ์ 1   ​ปัจจุปันนารมณ์ 1  พหิทธารมณ์ 1  เป็นอย่างไร ?  คือ ​ เจโตปริยญาณนั้นย่อมชื่อว่าเป็นปริตตารมณ์ในเวลารู้กามาวจรจิตแห่งผู้อื่น ​ ชื่อว่าเป็นมหัคคตารมณ์ในเวลารู้รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต ​ ชื่อว่าเป็นอัปปมาณารมณ์ในเวลารู้มรรคและผล ​ แต่สำหรับญาณนี้ปุถุชนไม่รู้จิตของพระโสดาบัน ​ พระโสดาบันก็ไม่รู้จิตของพระสกทาคามี ​ พึงโยงไปอย่างนี้จนตราบเท่าถึงพระอรหันต์ ​ แต่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 309)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระอรหันต์ย่อมรู้จิตของคนทุกจำพวก ​ แม้ท่านผู้วิเศษอื่นชั้นสูงขึ้นไปก็รู้จิตของผู้ตั้งอยู่ในผลชั้นต่ำได้ ​ พึงทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้ ​ เจโตปริยญาณย่อมเป็นมัคคารมณ์ในเวลามีจิตสัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ​ ก็ในเวลาใดพระโยคีย่อมรู้จิตของผู้อื่นในภายใน 7 วันที่ล่วงไปแล้ว ​ และในภายใน 7  วันที่ยังมาไม่ถึง ​ ในเวลานั้นเจโตปริยญาณนั้นจัดว่าเป็น ​ อตีตารมณ์และอนาคตารมณ์ 
- 
-'''​ปัจจุบัน 3  อย่าง'''​ 
- 
-เจโตปริยญาณนั้น ​ จัดเป็นปัจจุปันนารมณ์ได้อย่างไร ?  อันปัจจุบันมี 3  อย่าง ​ คือ ​ ปัจจุบันโดยขณะ 1  ปัจจุบันโดยสันตติ 1  ปัจจุบันโดยกาลยาวนาน 1 ในปัจจุบัน 3 อย่างนั้น ​ อารมณ์ที่ถึงความเกิดขึ้นดำรงอยู่และสลายไป ​ (อุปปาทขณะ ​ ฐิติขณะ ​ และ ​ ภังคขณะ) ​ ชื่อว่า ​ ปัจจุบันโดยขณะ ​ อารมณ์ที่นับเนื่องในวาระสืบต่อ 1  หรือ 2  ขณะ ​ ชื่อว่า ​ ปัจจุบันโดยสันตติ ในปัจจุบันโดยสันตตินั้น ได้แก่เมื่อพระโยคีนั่งในที่มืดแล้วไปสู่ที่แจ้ง ​ อารมณ์ยังไม่ปรากฏก่อน ​ แต่พึงทราบว่าเป็นวาระแห่งสันตติ 1  หรือ 2  วาระ ​ ในระยะที่อารมณ์นั้นปรากฏ ​ แม้เมื่อพระโยคีไปในที่สว่างแล้วเข้าไปสู่ห้องน้อย ​ รูปยังไม่ปรากฏทันทีก่อน ​ ก็ในระยะที่รูปนั้นปรากฏนี้พึงทราบว่าเป็นวาระแห่งสันตติ 1  และ 2  วาระ ​ อนึ่งพระโยคียืนในที่ไกลเห็นความเคลื่อนไหวมือของคนย้อมผ้า ​ และความเคลื่อนไหวคือการเคาะระฆังและตีกลองเป็นต้นยังไม่ได้ยินเสียงในทันที ​ ในระหว่างที่เธอได้ยินเสียงนั้น ​ พึงทราบว่าเป็นวาระแห่งสันตติต่อ 1  วาระ ​ หรือ 2  วาระ ​ อาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์มัชฌิมนิกายอธิบายไว้เพียงเท่านี้ ​ ฝ่ายอาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์สังยุตตนิกาย ​ กล่าวถึงสันตติไว้ 2  อย่างคือ ​ สันตติของรูป 1 สันตติของสิ่งที่เป็นนาม 1  แล้วกล่าวว่า ​ เมื่อบุคคลเหยียบน้ำไปชั่วระยะรอยน้ำที่คนเหยียบไปริมตลิ่งยังไม่ใส ​ นี้ชื่อว่า ​ รูปสันตติหนึ่ง ​ เมื่อคนเดินทางมาไกลชั่วระยะความร้อนในร่างกายยังไม่สงบระงับนี้ชื่อว่า ​ รูปสันตติหนึ่ง ​ เมื่อคนเดินมาจากแดดแล้วเข้าห้องชั่วระยะที่ความมืดหน้ามัวตายังไม่หายไป ​ นี้ก็ชื่อว่า ​ รูปสันตติหนึ่ง ​ เมื่อพระโยคีมนสิการกรรมฐานอยู่ในห้องแล้วเปิดหน้าต่างมองออกไปในตอนกลางวัน ​ ชั่วระยะที่ความพร่าแห่งนัยน์ตายังไม่หายไป ​ นี้ก็ชื่อว่า ​ รูปสันตติหนึ่ง ​ วาระแห่งชวนะ 2,3  ชื่อว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 310)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นามสันตติ ​ คือสันตติของสิ่งที่เป็นนาม ​ ดังนี้แล้วกล่าวว่า ​ สันตติทั้ง 2  นั้น ​ ชื่อว่า ​ สันตติปัจจุบัน ​ คือปัจจุบันโดยสันตติ  ​ 
- 
-'''​ปัจจุบันโดยยาวนาน'''​ 
- 
-ส่วนธรรมชาติที่กำหนดไว้ชั่วภพหนึ่ง ​ ชื่อว่า ​ ปัจจุบันโดยกาลอันยาวนาน ​ ดังที่พระมหากัจจายนเถระหมายถึง ​ กล่าวไว้ในภัทเทกรัตตสูตรว่า ​ ดูก่อนอาวุโส ​ ก็ใจและธรรมทั้ง 2 อย่างนั้นจัดเป็นปัจจุบัน ​ เมื่อใจและธรรมทั้งสองนั้นเกิดขึ้นเฉพาะแล้วย่อมมีวิญญาณ ​ เนื่องด้วยฉันทราคะ ​ เพราะเหตุที่วิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะ ​ ชนจึงยินดียิ่งซึ่งปัจจุบันนั้น ​ เมื่อมีความยินดีในปัจจุบันนั้นอยู่ ​ ย่อมง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ​ ก็ในปัจจุบันทั้ง 2 นี้ ​ ปัจจุบันโดยสันตติมาในอรรถกถาทั้งหลาย ​ ส่วนปัจจุบันโดยกาลอันยาวนานมาในพระสูตรแล 
- 
-'''​มติอาจารย์บางพวก'''​ 
- 
-ในปัจจุบันเหล่านั้น ​ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ​ จิตที่เป็นปัจจุบันโดยขณะจัดเป็นอารมณ์แห่งเจโตปริยญาณ ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะจิตของภิกษุผู้มีฤทธิ์และของผู้อื่นย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้ ​ การอุปมาแห่งจิตเหล่านั้น ​ มีดังต่อไปนี้ ​ คือเหมือนอย่างเมื่อบุคคลเอาดอกไม้กำหนึ่งเหวี่ยงซัดไปในอากาศ ​ ดอกไม้ดอกหนึ่งจะเสียบก้านเข้ากับก้านของดอกไม้อีกดอกหนึ่งได้เป็นแน่แท้ ​ ฉันใด ​ เมื่อพระโยคีนึกถึงจิตของมหาชนด้วยอำนาจเป็นพวกหมู่โดยมุ่งหวังว่าเราจักรู้จิตของผู้อื่น ​ จิตของคนคนหนึ่งย่อมจะประสานเข้ากับจิตดวงหนึ่งของผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่นั้น ​ ในอุปปาทขณะหรือฐิติขณะหรือภังคขณะก็ได้โดยแท้ ​ ฉันนั้น ​ แต่คำ ​ ของเกจิอาจารย์นั้นถูกคัดค้านเสียแล้วในอรรถกถาทั้งหลายว่า ​ คำนั้นไม่ถูก ​ เพราะพระโยคีเมื่อนึกอยู่ตั้ง 100  ปี ​ 1,000  ปี ​ ย่อมนึกด้วยจิตใด ​ และย่อมรู้ด้วยจิตใด ​ จิตทั้ง 2  เหล่านั้นไม่มีฐานร่วมกันเลย ​ และเพราะโทษ ​ คืออาวัชชนจิตและชวนจิตทั้งหลายถึงความมีอารมณ์แตกต่างกันไปในฐานะที่ไม่ควร ​ ส่วนปัจจุบันโดยสันตติและปัจจุบันโดยกาลอันยาวนานพึงทราบว่า ​ เป็นอารมณ์แห่งเจโตปริยญาณได้ ​ พระอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ในอรรถกถาสังยุตตนิกายว่า ​ ในปัจจุบัน 2  อย่างนั้น ​ จิตของผู้อื่นที่มีในเวลาประมาณ 2,3 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 311)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชวนวิถี ​ ด้วยอำนาจเป็นอตีตารมณ์และเป็นอนาคตารมณ์ ​ แต่ชวนวิถีซึ่งเป็นไปอยู่อันใด ​ จิตนั้นทั้งหมดชื่อว่า ​ ปัจจุบันโดยสันตติ ​ ส่วนปัจจุบันโดยกาลอันยาวนาน ​ พึงแสดงโดยวาระแห่งชวนะแล ​ คำนั้นท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ​ จะชี้แจงข้อความในคำนั้นดังต่อไปนี้ ​ ภิกษุผู้มีฤทธิ์ต้องการจะทราบจิตของผู้อื่นจึงอาวัชชนาการไป ​ อาวัชชนจิตทำสิ่งที่เป็นปัจจุบันโดยขณะให้เป็นอารมณ์ ​ ดับพร้อมกับสิ่งซึ่งเป็นปัจจุบันโดยขณะนั้น ​ ต่อจากนั้นมีชวนจิต 4  หรือ 5  ดวง ​ ซึ่งดวงที่สุดเป็นจิตประกอบด้วยฤทธิ์ ​ ดวงที่เหลือเป็นกามาวจร ​ แม้บรรดาชวนจิตทั้งปวงเปล่านั้น ​ จิตที่ดับนั้นแลจัดว่าเป็นอารมณ์ ​ แต่ก็จิตเหล่านั้นไม่มีอารมณ์ต่างกันเลย ​ เพราะมีอารมณ์เป็นปัจจุบันด้วยสามารถแห่งระยะกาลอันยาวนาน ​ จริงอยู่ ​ แม้ในภาวะที่มีอารมณ์เดียวจิตอันประกอบด้วยฤทธิ์เท่านั้นย่อมรู้จักจิตของผู้อื่น ​ ฝ่ายจิตนอกนี้หารู้ไม่ ​ เปรียบดุจในจักขุทวาร ​ จักขุวิญญาณเท่านั้นเห็นรูป ​ ส่วนวิญญาณนอกจากนี้หาเห็นไม่ ​ เจโตปริยญาณดังที่ว่ามานี้ ​ ชื่อว่าเป็นปัจจุปันนารมณ์ด้วยอำนาจปัจจุบันโดยสันตติและปัจจุบันโดยกาลอันยาวนาน ​ อีกนัยหนึ่ง ​ แม้ปัจจุบันโดยสันตติย่อมเป็นไปในปัจจุบันโดยกาลอันยาวนานเท่านั้น ​ เหตุนั้น ​ เจโตปริยญาณนี้ ​ พึงทราบว่า ​ เป็นปัจจุปันนารมณ์ ​ ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันโดยกาลอันยาวนานนั่นแล ​ และพึงทราบว่า ​ เป็นพหิทธารมณ์ก็ได้ ​ เพราะมีจิตของผู้อื่นเป็นอารมณ์นั่นแล 
- 
-ความเป็นไปในอารมณื 8  แห่งเจโตปริยญาณ ​ พึงทราบดังบรรยายมาฉะนี้แล 
- 
-'''​ปุพเพนิวาสญาณในอารมณ์ 8  อย่าง'''​ 
- 
-ปุพเพนิวาสญาณ ​ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ 8  คือ ​ ปริตตารมณ์ 1  มหัคคตารมณ์ 1  อัปปมาณารมณ์ 1  มัคคารมณ์ 1  อตีตารมณ์ 1  อัชฌัตตารมณ์ 1 พหิทธารมณ์ 1  นวัตตัพพารมณ์ 1 
- 
-เป็นอย่างไร ?  คือ ​ ปุพเพนิวาสญาณนั้น ​ ในกาลที่ระลึกถึงขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็เป็นปริตตารมณ์ ​ ในกาลที่ระลึกถึงขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็เป็นมหัคคตารมณ์ ​ ในกาลที่ระลึกถึงด้วยมรรคที่ตนเองหรือคนอื่นเจริญ และระลึกถึงผลที่จนเองหรือคนอื่นได้ทำให้แจ้งแล้วในอดีตกาลแล้ว ก็เป็นอัปปมาณารมณ์ ​ ในกาลที่ระลึกถึงมรรคที่ตนเองหรือคนอื่นได้เจริญแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 312)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อย่างเดียว ​ ก็เป็นมัคคารมณ์ ​ แต่โดยที่แน่นอนแล้ว ​ ปุพเพนิวาสญาณนี้จัดเป็นอตีตารมณ์แท้ในญาณเหล่านั้น ​ ถึงเจโตปริยญาณ ​ และยถากัมมุปคญาณจะจัดเป็นอตีตารมณ์ก็จริง ​ ถึงกระนั้นบรรดาญาณทั้ง 2  นั้น ​ จิตที่ล่วงไปแล้วในภายใน 7  วัน ​ จัดเป็นอารมณ์แห่งเจโตปริยญาณเพราะเจโตปริยญาณนั้น ​ ไม่รู้จักขันธ์อื่นหรือสังขารอันเนื่องด้วยขันธ์ ​ แต่ก็เพราะมีจิตสัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ​ ท่านจึงเรียกว่าเป็นมัคคารมณ์โดยปริยาย ​ จริงอยู่ ​ ธรรมชาติที่ล่วงไปแล้ว ​ ซึ่งเป็นแต่เพียงเจตนาเท่านั้นจัดว่าเป็นอารมณ์แห่งยถากัมมุปคญาณ ​ แต่สำหรับปุพเพนิวาสญาณขันธ์ที่ล่วงไปแล้ว ​ หรือสังขารบางอย่างซึ่งเนื่องด้วยขันธ์ ​ อันจะชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ ​ เพราะปุพเพนิวาสญาณนั้นมีคติเสมอด้วยสัพพัญญุตญาณ 
- 
-ในธรรมคือขันธ์อันล่วงไปแล้ว ​ และสังขารอันเนื่องด้วยขันธ์ ​ นักศึกษาพึงทราบความแตกต่างกันดังนี้แล 
- 
-'''​มติอรรถกถาจารย์'''​ 
- 
-เนื้อความในอรรถกถาที่เกี่ยวข้องกับญาณนี้มีดังต่อไปนี้ ​ ก็เพราเหตุที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัฏฐานว่า ​ ขันธ์ซึ่งเป็นกุศลเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยแห่งอิทธิวิธญาณ ​ เจโตปริยญาณ ​ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ​ และยถากัมมุปคญาณ ​ ฉะนั้น ​ ขันธ์ทั้ง 4  จึงเป็นอารมณ์แห่งเจโตปริยญาณและยถากัมมุปคญาณได้ ​ แม้ในญาณทั้ง 2  นั้น ​ ขันธ์ทั้งที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลนั่นแลเป็นอารมณ์แห่งยถากัมมุปคญาณได้ ​ ก็แลปุพเพนิวาสญาณนั้นจัดเป็นอัชฌัตตารมณ์ ​ ในเวลาที่นึกถึงขันธ์ของตน ​ จัดเป็นพหิทธารมณ์ในเวลาที่นึกถึงขันธ์ของคนอื่น ​ จัดเป็นนวัตตัพพารมณ์ ​ ในเวลาที่นึกถึงชื่อ, ​ โคตร, ​ แผ่นดิน, ​ และนิมิตเป็นต้น ​ โดยนัยเช่นว่าในอดีตกาล ​ ได้มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ​ พระมารดาของพระองค์ทรงพระนามว่าพันธุมดี ​ พระบิดาทรงพระนามว่าพันธุมา ​ ก็ในบทว่า ​ ชื่อและโคตรนี้ ​ พึงเพ่งถึงเนื้อความแห่งพยัญชนะที่สำเร็จได้โดยสมมุติซึ่งเนื่องด้วยขันธ์ ​   ไม่พึงเพ่งถึงแต่พยัญชนะอย่างเดียวเพราะพยัญชนะเป็นกามาวจร ​ เพราะท่านสงเคราะห์เข้าตามบ่อเกิดแห่งศัพท์ ​ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ นิรุตติปฏิสัมภิทามีกามาวจรเป็นอารมณ์ ​ เนื้อความนี้นับว่า ​ เป็นความถูกใจของพวกข้าพเจ้า  ​ 
- 
-ความเป็นไปในอารมณ์ ​ 8  แห่งปุพเพนิวาสญาณพึงทราบความหมายดังบรรยายมาฉะนี้แล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 313)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ทิพพจักขุญาณในอารมณ์ 4  อย่าง'''​ 
- 
-ทิพพจักขุญาณย่อมเป็นในอารมณ์ 4 คือ ​ ปริตตารมณ์ 1  ปัจจุปันนารมณ์ 1  อัชฌัตตารมณ์ 1  พหิทธารมณ์ 1 
- 
-เป็นอย่างไร ? 
- 
-คือ ​ ทิพพจักขุญาณนั้น ​ ชื่อว่าเป้นปริตตารมณ์เพราะทำรูปให้เป็นอารมณ์ ​ และรูปก็เป็นกามาวจรด้วย ​ ชื่อว่า ​ เป็นปัจจุปันนารมณ์ ก็เพราะเป็นไปในรูปเฉพาะที่มีอยู่ ​ ชื่อว่าเป็น อัชฌัตตารมณ์ ​ ในเวลาที่เห็นรูปอันอยู่ในท้องของตนเป็น ​ ชื่อว่าเป็น ​ พหิทธารมณ์ ​ ในเวลาที่เห็นรูปของผู้อื่น 
- 
-ความเป็นไปในอารมณ์ 4  แห่งทิพพจักขุญาณพึงทราบความหมายดังบรรยายมาฉะนี้  ​ 
- 
-'''​อนาคตังสญาณในอารมณ์ 8  อย่าง'''​ 
- 
-อนาคตังสญาณย่อมเป็นไปในอารมณ์ 8  คือ ​ ปริตตารมณ์ 1 มหัคคตารมณ์ 1  อัปปมาณารมณ์ 1  มัคคารมณ์ 1  อนาคตารมณ์ 1  อัชฌัตตารมณ์ 1  พหิทธารมณ์ 1  นวัตตัพพารมณ์ 1  ​ 
- 
-เป็นไปอย่างไร ? 
- 
-คือ ​ อนาคตังสญาณนั้นชื่อว่าเป็น ​ ปริตตารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้ว่าสัตว์นี้จักเกิดในชั้นกามาวจรในอนาคตกาล ​ ชื่อว่าเป็น มหัคคตารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้ว่าสัตว์นี้จักเกิดในรูปาวจรหรืออรูปาวจร ชื่อว่าเป็น อัปปมาณารมณ์ ในเวลาที่รู้ว่าเขาจักทำมรรคให้เจริญ เขาจักทำให้แจ่มแจ้งซึ่งผล ชื่อว่าเป็น มัคคารมณ์ ในเวลาที่รู้ว่าเขาจักทำมรรคให้เจริญอย่างเดียวแต่ว่า โดยแน่แท้แล้ว ​ อนาคตังสญาณนี้มีอารมณ์เป็นอนาคตอย่างเดียวเท่านั้น ​ ในอารมณ์เหล่านั้น ​ แม้เจโตปริยญาณจะเป็นอนาคตารมณ์ได้ก็จริงแล แต่ทว่า ​ เจโตปริยญาณนั้นมีจิตที่เป็นอนาคตภายในระยะ 7  วันเท่านั้นเป็นอารมณ์ ​ เพราะเจโตปริยญาณนั้นย่อมไม่รู้ถึงขันธ์อื่น ​ หรือสังขารอันเนื่องด้วยขันธ์เลย ​ แต่สิ่งอะไร ๆ ในอนาคตชื่อว่ามิได้เป็นอารมณ์แห่งอนาคตังสญาณหามีไม่ ​ ตามข้อความที่กล่าวมาแล้วในปุพเพนิวาสญาณ ​ ชื่อว่าเป็นอัชฌัตตา – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 314)  ''</​fs></​sub>​ 
- 
-รมณ์ได้ในเวลาที่รู้ว่าเราจักเกิดในที่โน้น ​ ชื่อว่าเป็นพหิทธารมณ์ได้ในเวลาที่รู้ว่าคนโน้นจักเกิดในที่โน้น ​ ในเวลาที่รู้ชื่อและโคตรโดยนัยเป็นต้นว่า ในอนาคต ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ​ เมตเตยะ ​ จักเสด็จอุบัติขึ้น ​ พราหมณ์ชื่อว่าสุพรหมาจักเป็นพระบิดาของพระองค์ ​ พราหมณีชื่อว่าพรหมวดีจักเป็นพระมารดาของพระองค์ ​ ดังนี้จัดเป็น นวัตตัพพารมณ์ ​ ตามนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในปุพเพนิวาสญาณนั่นแล 
- 
-ความเป็นไปในอารมณ์ 8  แห่งอนาคตังสญาณ ​ นักศึกษาพึงทราบความหมาย ​ ดังได้บรรยายมาฉะนี้แล 
- 
-'''​ยถากัมมุปคญาณในอารมณ์ 5  อย่าง'''​ 
- 
-ยถากัมมุปคญาณเป็นไปในอารมณ์ 5  คือ ​ ปริตตารมณ์ 1  มหัคคตารมณ์ 1  อตีตารมณ์ 1   ​อัชฌัตตารมณ์ 1 พหิทธารมณ์ 1 
- 
-เป็นไปอย่างไร ? คือ ​ ยถากัมมุปคญาณนั้นย่อมชื่อว่าเป็น ​ ปริตตารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นกามาวจร ​ เป็น ​ มหัคคตารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ​ เป็น อตีตารมณ์ ​ เพราะเหตุที่รู้เฉพาะอดีต ​ เป็น ​ อัชฌัตตารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้กรรมของตน ​ เป็น พหิทธารมณ์ ​ ในเวลาที่รู้กรรมของผู้อื่น 
- 
-ความเป็นไปในอารมณ์ 5  แห่งยถากัมมุปคญาณ ​ นักศึกษาพึงทราบข้อความ ​ ดังที่ได้บรรยายมาฉะนี้แล  ​ 
- 
-ส่วนในอธิการนี้ ​ คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ อัชฌัตตารมณ์และพหิทธารมณ์ ​ ดังนี้ ​ คำนั้นท่านกล่าวไว้ด้วยมีอรรถาธิบายว่า ​ ยถากัมมุปคญาณนั้นในเวลาที่รู้กรรมภายในคือของตนเองตามกาลเวลา ​ และในเวลาที่รู้กรรมภายนอกคือของตนอื่นตามกาลเวลา ​ ก็จัดเป็นอัชฌัตตพหิทธารมณ์ได้บ้างเหมือนกัน ​ ฉะนี้แล 
- 
-'''​อภิญญานิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 13'''​ 
- 
-'''​ในปกรณ์พิเศษชื่อวิสุทธิมรรค ​ ที่ข้าพเจ้ารจนาขึ้นไว้'''​ 
- 
-'''​เพื่อให้เกิดความปราโมทย์แก่สาธุชนทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​................................'''​ 
- 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​