วิสุทธิมรรค_06_อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_06_อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส [2020/09/02 22:37]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
วิสุทธิมรรค_06_อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
-=อสุภ ​ 10= 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 302)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 6'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในอสุภอันปราศจากวิญญานที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในลำดับแห่งกสิณนั้น ​ มี 10  ประการ ​ คือ ​ อุทธุมาตกะ 1  วินีลกะ 1  วิปุพพกะ 1  วิจฉิททกะ 1  วิกขายิตกะ 1  วิกขิตตกะ 1  หตวิกขิตตกะ 1  โลหิตกะ 1  ปุฬุวกะ 1  อัฏฐิกะ 1 
- 
-'''​1. ​ อธิบาย ​ อุทธุมาตกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่ชื่อว่า ​ อุทฺธุมาต ​ เพราะเป็นของพองขึ้น ​ โดยที่มันอืดขึ้น ๆ ตามลำดับ นับแต่สิ้นชีวิตไป ​ มีอาการเหมือนลูกหนังที่พองขึ้นด้วยลม ​ อุทฺธุมาต ศัพท์นั่นเอง ​ ได้รูปเป็น ​ อุทฺธุมาตก ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภที่พองขึ้นอย่างน่าเกลียด ​ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อุทฺธุมาตก ​ คำว่า ​ อุทธุมาตก ​ นี้เป็นชื่อของซากศพเห็นปานดังนั้น ​ แปลว่า ​ ซากศพที่พองอืดขึ้นอย่างหนึ่ง ​ ซากศพที่พองอย่างน่าเกลียดอย่างหนึ่ง 
- 
-'''​2. ​ อธิบาย ​ วินีลกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่มีสีเขียวคละไปด้วยสีต่าง ๆ เรียกว่า ​ วินีล ​ วินีล ​ ศัพท์นั่นเองได้รูปเป็นวินีลก ​ แปลว่า ​ อสุภมีสีเขียวคละไปด้วยสีต่าง ๆ อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภมีสีเขียวน่าเกลียด ​ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วินีลก ​ แปลว่าอสูภมีสีเขียวน่าเกลียด ​ คำว่า ​  ​วินีลกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่มีสีแดงในที่ ๆ  มีเนื้อหนา ​ มีสีขาวในที่ ๆ มันบ่มหนอง ​ และโดยมากมีสีเขียวเป็นดังคลุมผ้าสีเขียวไว้ ​ ในที่ ๆ เขียว 
- 
-'''​3. ​ อธิบาย ​ วิปุพพกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่เป็นหนองกำลังไหลเยิ้มอยู่ ​ ณ  ที่ ๆ มันแตกปริ ​ ชื่อว่า ​ วิปุพฺพ ​ วิปุพฺพ ​ ศัพท์นั่นเองได้รูปเป็น ​ วิปุพฺพก ​ แปลว่า ​ อสุภที่เป็นหนองไหลเยิ้มอยู่ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภที่เป็นหนองอย่างน่าเกลียด ​ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วิปุพฺพก ​ แปลว่า ​ อสุภที่เป็นหนองอย่างน่าเกลียด ​ คำว่า ​ วิปุพพกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพเห็นปานดังนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 303)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​4. ​ อธิบาย ​ วิจฉิททกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่แยกจากกันโดยขาดเป็น 2 ท่อน ​ เรียกว่า ​ วิจฺฉิทฺท ​ วิจฺฉิทฺท ​ ศัพท์นั้นเอง ได้เป็นรูป ​ วิจฺฉิทฺทก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ขาดแยกจากกัน ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภที่ขาดจากกันอย่างน่าเกลียด ​ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วิจฺฉิทฺทก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ขาดจากกันอย่างน่าเกลียด ​ คำว่า ​ วิจฉิททกะ ​ นี้เป็นชื่อของอสุภที่ขาดตรงกลางตัว 
- 
-'''​5. ​ อธิบาย ​ วิกขายิตกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขบ้านและสุนัขป่าเป็นต้นกัดกินโดยอาการต่าง ๆ ตรงนี้บ้าง ​ ตรงนั้นบ้าง ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วิกฺขายิต ​ วิกฺขายิต ​ ศัพท์นั่นเองได้รูปเป็น ​ วิกฺขายิตก ​ แปลว่าอสุภที่สัตว์กัดกินโดยอาการต่าง ๆ  อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภที่ถูกสัตว์กัดกินอย่างน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วิกฺขายิตก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ถูกสัตว์กัดกินอย่างน่าเกลียด ​ คำว่า ​ วิกขายิตกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่เห็นปานดังนั้น  ​ 
- 
-'''​6. ​ อธิบาย ​ วิกขิตตกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่ทิ้งกระจายอยู่ ​ ชื่อว่า ​ วิกฺขิตฺต ​ วิกฺขิตฺต ​ ศัพท์นั่นเองได้รูปเป็น ​ วิกฺขิตฺตก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ทิ้งกระจายอยู่ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อสุภที่ทิ้งกระจายอยู่อย่างน่าเกลียด ​ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ วิกฺขิตฺตก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ทิ้งกระจายอยู่อย่างน่าเกลียด ​ คำว่า ​ วิกขิตตกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่ทิ้งไว้ ​ ณ  ที่นั้น ๆ อย่างนี้ ​ คือ ​ มืออยู่ทางหนึ่ง ​ เท้าอยู่ทางหนึ่ง ​ ศรีษะอยู่ทางหนึ่ง 
- 
-'''​7. ​ อธิบาย ​ หตวิกขิตตกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภนั้นถูกฟันด้วย ​ ทิ้งกระจายอยู่โดยนัยก่อนนั่นแลด้วย ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ หตวิกฺขิตตก ​ แปลว่า ​ อสุภที่ถูกฟันและทิ้งกระจายอยู่ ​ คำว่า ​ หตวิกขิตตกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่ถูกฟันด้วยศัสตราที่องค์อวัยวะทั้งหลายโดยอาการดังกากบาท ​ (ถูกฟันยับเหมือนรอยตีนกา) ​ แล้วทิ้งกระจายโดยนัยดังกล่าวแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 304)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​8. ​ อธิบาย ​ โลหิตกอสุภ'''​ 
- 
-อสุภที่มีโลหิตเกลื่อนกลาดเรี่ยราดไป ​ คือ ​ ไหลออกตรงนี้บ้างตรงโน้นบ้าง ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ โลหิตก ​ แปลว่า ​ อสุภที่มีโลหิต ​ คำว่า ​ โลหิตกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่เปรอะเปื้อนไปด้วยโลหิตที่ไหลออกอยู่ 
- 
-'''​9 .  อธิบาย ​ ปุฬุวกอสุภ'''​ 
- 
-หนอนทั้งหลายเรียกว่า ​ ปุฬุวา ​ หนอนทั้งหลายเกลื่อนกลาดอยู่ในอสุภนั้น ​ เหตุนั้นอสุภนั้นจึงชื่อว่า ​ ปุฬุวก ​ แปลว่า ​ อสุภมีหนอนเกลื่อนกลาด ​ คำว่า ​ ปุฬุวกะ ​ นี้เป็นชื่อของซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน 
- 
-'''​10. ​ อธิบาย ​ อัฏฐิกอสุภ'''​ 
- 
-อฏฺ{{ฐิ}} ​ ศัพท์ที่แปลว่ากระดูกนั้นเองได้รูปเป็น ​ อฏฺ{{ฐิ}}ก ​ แปลว่า ​ อสุภที่เป็นกระดูก อีกอย่างหนึ่ง อสุภที่เป็นกระดูกอย่างน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูล ฉะนั้นจึงชื่อว่า อฏฺฐิก แปลว่า อสุภที่เป็นกระดูกอย่างน่าเกลียด คำว่า อัฏฐิกะ นี้เป็นชื่อของอสุภที่เป็นกระดูกท่อนเดียวแม้ในโครงกระดูก 
- 
-อนึ่ง ​ คำทั้งหลายมีคำว่า ​ อุทฺธุมาตก ​ เป็นต้นนี้ ​ เป็นชื่อของนิมิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอุทธุมาตกอสุภเป็นต้นเหล่านี้ก็ได้ ​ เป็นชื่อของฌานทั้งหลายที่โยคีบุคคลได้แล้วในนิมิตทั้งหลายก็ได้ 
- 
-=วิธีเจริญอุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐาน= 
- 
-ในอสุภ 10  ประการนั้น ​ โยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะทำอุทธุมาตกนิมิตในร่างกายอันขึ้นพองให้บังเกิดขึ้นแล้วเจริญอุทธุมาตกฌาน ​ พึงเข้าไปหาอาจารย์เรียนเอากัมมัฏฐาน ​ ตามนัยดังกล่าวมาแล้วในปถวีกสิณนั่นแล ​ อันอาจารย์นั้นเมื่อจะบอกกัมมัฏฐานแก่โยคีบุคคลนั้น ​ พึงบอกให้หมดทุกวิธีอย่างนี้คือ ​ 
- 
-- ข้อควรระวังก่อนไปดูอสุภะ  ​ 
-- จดจำสิ่งแวดล้อมรอบอสุภะ 
-- จดจำอสุภนิมิต 11 ด้าน 
-- วิเคราะห์เส้นทางไปกลับช่วยจำได้ ​ 
- 
-ฝ่ายโยคีบุคคลครั้นเรียนเอาวิธีทุก ๆ อย่างเป็นอันดีแล้ว ​ พึงเข้าไปยังเสนาสนะอันมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้น ​ พึงแสวงหาอุทธุมาตกนิมิตอยู่เถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 305)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==ข้อควรระวังก่อนไปดูอสุภะ== 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลแสวงหาอุทธุมาตกนิมิตอยู่อย่างนั้น ​ แม้ครั้นได้ยินคนทั้งหลายพูดกันว่า ​ ร่างอสุภที่ขึ้นพองทิ้งอยู่ที่ประตูบ้านชื่อโน้น ที่ปากดงชื่อโน้น ที่หนทางชื่อโน้น ที่เชิงภูเขาชื่อโน้น ​ ที่โคนไม้ชื่อโน้น ​ ที่ป่าช้าชื่อโน้น ​ อย่าพึ่งรีบไปโดยทันทีเหมือนคนแล่นไปโดยผิดท่า 
- 
-เพราะเหตุไร ?  เพราะเหตุว่า ​ ขึ้นชื่อว่าอสุภนี้ เป็นสิ่งอันมฤคร้ายซ่อนไว้ก็มี ​ เป็นสิ่งอันมนุษย์สิงอยู่ก็มี ​ แม้อันตรายแห่งชีวิตจะพึงมีแก่โยคีบุคคลนั้นได้ในเพราะเหตุนั้น ​ อนึ่งทางไปที่ ​ ณ  ที่แห่งอสุภนั้น ​ ลางทีก็ผ่านประตูบ้าน ​ ลางทีก็ผ่านท่าน้ำ ​ ลางทีก็ผ่านปลายนาไป ​ ณ  ที่เช่นนั้น ​ รูปอันเป็นวิสภาค ​ (คือรูปอันเป็นข้าศึก) ​ ก็จะมาสู่คลองจักษุ ​ หรือร่างอสุภนั่นเอง ​ แหละจะเป็นรูปวิสภาคเสียเอง ​ จริงอยู่ ​ ร่างของสตรีย่อมเป็นรูปวิสภาคของบุรุษ ​ ร่างของบุรุษย่อมเป็นรูปวิสภาคของสตรี ​ ร่างนี้นั้นอันตายแล้วไม่นาน ​ ย่อมปรากฏโดยความเป็นของสวยงามอยู่ได้ ​  ​ด้วยเหตุนั้น ​ แม้อันตรายแห่งพรหมจรรย์จะพึงมีแก่โยคีบุคคลนั้นได้ ​ แต่ถ้าโยคีบุคคลนั้นมั่นใจตนเองว่า ​ สำหรับโยคีบุคคลเช่นอย่างข้าพเจ้า ​ อสุภนี้ไม่เป็นสิ่งที่น่าหนักใจ ​ เมื่อโยคีบุคคลมั่นใจตนเองได้อย่างนี้ ​ ก็พึงไปเถิด 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อจะไปนั้น ​ พึงเรียนแด่พระสังฆเถระหรือพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงรูปใดรูปหนึงแล้วจึงไป ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะถ้าโยคีบุคคลนั้นถูกอนิฏฐารมณ์คือรูปและเสียงของอมนุษย์ ​ สีหะ ​ และเสือเป็นต้นครอบงำ ​ ณ  ที่สุสาน ​ ถึงกับองค์อวัยวะสั่นระทวย ​ หรืออาหารที่บริโภคแล้วไม่อยู่ท้อง ​ หรือต้องอาพาธอย่างอื่น ​ แต่นั้นพระสังฆเถระหรือพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงที่เธอเรียนแล้วนั้น ​ จักทำหน้าที่รักษาบาตรและจีวรในวิหารไว้ให้ ​ หรือจักส่งภิกษุหนุ่มหรือสามเณรทั้งหลายไปช่วยปฏิบัติภิกษุนั้น ​ อีกประการหนึ่ง ​ โจรทั้งหลายทั้งที่ลงมือทำการแล้วทั้งที่ยังไม่ลงมือทำการสำคัญเห็นว่า ​ ขึ้นชื่อว่าสุสานย่อมเป็นสถานที่ปราศจากความระแวงจึงมาชุมนุมกัน ​ ครั้นพวกมนุษย์ติดตามมาทันเข้า ​ จึงทิ้งสิ่งของไว้ใกล้ ๆ  กับภิกษุแล้วพากันหลบหนีไป ​ พวกมนุษย์พูดว่าพวกเราเห็นโจรพร้อมทั้งของกลางดังนี้ ​ แล้วจึงจับภิกษุทำการทรมาน ​ แต่นั้นพระสังฆเถระหรือภิกษุผู้มีชื่อเสียงนั้นจะบอกมนุษย์เหล่านั้นให้เข้าใจว่า ​ ท่านทั้งหลายอย่าได้เบียดเบียนภิกษุนี้เลย ​ ภิกษุนี้บอกแก่อาตมาแล้วจึงไปด้วยการงานสิ่งนี้ ​ ดังนี้แล้วจักทำความสวัสดิภาพให้แก่เธอ ​ นี้คืออานิสงส์ในการเรียนบอกแล้วจึงไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 306)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลเรียนบอกแก่ภิกษุผู้มีประการดังกล่าวแล้ว ​ เป็นผู้มีความกะหยิ่มใจเกิดขึ้นในอันที่จะเห็นอสุภนิมิต ​ จึงไปด้วยความปีติและโสมนัส ​ มีอาการเหมือนกษัตริย์เสด็จไปสู่สถานที่ราชาภิเษก ​ เหมือนคนบูชายัญไปสู่โรงบูชายัญ ​ แหละหรือเหมือนคนไร้ทรัพย์ไปสู่สถานที่ฝังขุมทรัพย์ ​ ครั้นโยคีบุคคลทำปีติและโสมนัสให้เกิดขึ้นโดยทำนองดังพรรณนามาอย่างนี้แล้ว ​ พึงไปโดยวิธีที่พรรณนาไว้ในอรรถกถาทั้งหลายนั่นเถิด 
- 
-==จดจำสิ่งแวดล้อมรอบอสุภะ== 
- 
-จริงอยู่ ​ พระอรรถกถาจารย์พรรณนาเรื่องนี้ไว้ดังต่อไปนี้ – 
- 
-<​blockquote>​โยคีบุคคลเมื่อเรียนเอาอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพองแล้งจึงไปอย่างเดียวดาย ​ ไม่มีเพื่อนสอง ​ โดยมีสติอันตั้งมั่นไม่หลงลืม ​ มีอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ในภายใน ​ มีใจไม่แลบไปข้างนอก ​ พิจารณาดูทางไปและทางมาอยู่ ​ ณ  ตำบลใด ​ มีอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพองซึ่งทอดทิ้งไว้ ​ ณ  ตำบลนั้น ​ โยคีบุคคลย่อมทำก้อนหิน, ​ จอมปลวก, ​ ต้นไม้, ​ กอไม้หรือเครือไม้ไว้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ ทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกัน ​ ครั้นทำให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ ทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกันแล้ว ​ ย่อมกำหนดอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพองโดยภาวะที่เป็นเองคือ ​ โดยสีบ้าง ​ โดยเพศบ้าง ​ โดยสัณฐานบ้าง ​ โดยทิศบ้าง ​ โดยโอกาสบ้าง ​ โดยปริเฉทบ้าง ​ โดยที่ข้อต่อ ​ โดยช่อง ​ โดยความเว้า ​ โดยความนูน ​ โดยรอบ ๆ  โยคีบุคคลนั้นย่อมทำนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งอันตนถือเอาดีแล้ว ​ ย่อมทรงจำซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งอันตนทรงจำดีแล้ว ​ ย่อมกำหนดซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งอันตนถือเอาดีแล้ว ​ 
- 
-โยคีบุคคลนั้นครั้นทำนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งอันตนถือเอาดีแล้ว ​ ทรงจำให้เป็นสิ่งอันตนทรงจำดีแล้ว ​ กำหนดให้เป็นสิ่งอันตนกำหนดดีแล้ว ​ จึงไปอย่างเดียวดาย ​ ไม่มีเพื่อนสอง ​ โดยมีสติตั้งมั่นไม่หลงลืม ​ มีอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ในภายใน ​ มีใจไม่แลบไปข้างนอก ​ พิจารณาดูทางไปและทางมาอยู่ ​ โยคีบุคคลนั้นแม้เมื่อจะเดินจงกรม ​ ก็อธิษฐานจงกรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพองเท่านั้น ​ แม้เมื่อจะนั่งก็ปูลาดอาสนะที่เป็นไปในส่วนแห่งอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพองเท่านั้น 
- 
-ถาม – การกำหนดเครื่องหมายโดยรอบ ๆ  มีอะไรเป็นประโยชน์ ​ มีอะไรเป็นอานิสงส์ ? 
- 
-ตอบ -  การกำหนดเครื่องหมายโดยรอบ ๆ  มีความไม่หลงเป็นประโยชน์ ​ มีความไม่หลงเป็นอานิสงส์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 307)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ถาม -  การถือเอานิมิตโดยวิธี ​ 11  อย่าง ​ มีอะไรเป็นประโยชน์ ​ มีอะไรเป็นอานิสงส์ ​ ? 
- 
-ตอบ -  การถือเอานิมิตโดยวิธี ​ 11  อย่าง ​ มีอันผูกพันจิตไว้เป็นประโยชน์ ​ มีอันผูกพันจิตไว้เป็นอานิสงส์ 
- 
-ถาม -  การพิจารณาดูทางไปและทางมา ​ มีอะไรเป็นประโยชน์ ​ มีอะไรเป็นอานิสงส์ ​ ? 
- 
-ตอบ -  การพิจารณาดูทางไปและทางมา ​ มีอันยังวิถีให้ดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์ ​ มีอันยังวิถีให้ดำเนินไปโดยชอบเป็นอานิสงส์ 
- 
-โยคีบุคคลนั้นเป็นผู้มีปกติมองเห็นอานิสงส์ ​ เป็นผู้มีความสำคัญเห็นเป็นรัตนะ ​ เข้าไปตั้งความเคารพไว้ ​ ประพฤติเป็นที่รักอย่างสนิทอยู่ ​ ย่อมผูกพันจิตไว้ในอารมณ์นั้นว่า ​ เราจักรอดพ้นจากชราทุกข์มรณทุกข์ด้วยข้อปฏิบัตินี้ ​ เป็นแน่แท้ ​ โยคีบุคคลนั้นสงัดแน่นอนแล้วจากกามทั้งหลายนั่นเทียว ฯลฯ ​ เข้าถึงปฐมฌานอยู่ ​ ปฐมฌานประเภทรูปาวจรกุศลย่อมเป็นอันโยคีบุคคลนั้นได้บรรลุแล้ว ​ ธรรมเครื่องอยู่อันเป็นทิพย์ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลนั้นได้บรรลุแล้ว ​ และบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนาย่อมเป็นอันโยคีบุคคลนั้นได้บรรลุแล้ว ​ ฉะนี้ </​blockquote>​ 
- 
-'''​วัตรแห่งการไปเยี่ยมป่าช้า'''​ 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลผู้ใดจะไปเยี่ยมดูป่าช้า ​ โยคีบุคคลผู้นั้นจงตีระฆังยังคณะให้ประชุมกันเสียก่อนแล้วจึงไป ​ ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลพึงเป็นผู้มีกัมมัฏฐานเป็นประธานไปเป็นผู้เดียวดาย ​ ไม่มีเพื่อนสอง ​ ไม่ทอดทิ้งมูลกัมมัฏฐาน ​ เป็นผู้มนสิการถึงมูลกัมมัฏฐานนั้นไปพลาง ​ ถือเอาไม้ค้อนหรือไม้เท้าไปด้วย ​ เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดจากสุนัขเป็นต้นที่ป่าช้า ​ ทำสติไว้ไม่ให้หลงลืม ​ โดยการยังความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นด้วยดีให้ถึงพร้อม ​ เป็นผู้มีใจไม่แลบออกไปข้างนอก ​ โดยที่ทำอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ 6  ให้ถึงซึ่งความตั้งอยู่ในภายใน 
- 
-เมื่อจะออกจากวัดไปนั้นเล่า ​ พึงสังเกตประตูไว้ว่า ​ เราออกไปโดยทางประตูโน้นในทิศโน้น แต่นั้นพึงกำหนดทางที่ตนไปไว้ว่า ทางนี้ตรงไปทิศปราจีน ​ ทางนี้ตรงไปทิศ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 308)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปัจฉิม, ​ ทิศอุดร ​ ทิศทักษิณ ​ หรือตรงไปยังทิศเฉียง ​ อนึ่ง ​ ณ  ที่ตรงนี้ไปทางซ้าย ​ ณ  ที่ตรงนี้ไปทางขวา ​ และ ​ ณ  ที่ตรงนี้แห่งอสุภนั้นมีก้อนหิน ​ ณ  ที่ตรงนี้มีจอมปลวก ​ ณ  ที่ตรงนี้มีต้นไม้ ​ ณ  ที่ตรงนี้มีกอไม้ ​ ณ  ที่ตรงนี้มีเครือไม้ ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงกำหนดทางไปโดยอาการอย่างนี้ ​ ไปสู่สถานที่แห่งนิมิตเถิด ​ อนึ่ง ​ อย่าไปทวนลม ​ เพราะเมื่อไปทวนลม ​ กลิ่นศพจะกระทบฆานปสาทแล้งพึงทำเยื่อสมองให้อักเสบก็ได้ ​ จะพึงทำให้อาเจียนก็ได้ ​ จะพึงทำให้เกิดความร้อนใจว่า ​ เรามายังที่ทิ้งศพเห็นปานฉะนี้ได้ ​ ก็ได้ ​ เพราะเหตุฉะนั้น ​ โยคีบุคคลพึงเว้นทางทวนลมแล้วไปทางตามลมเถิด ​ ถ้าไม่สามารถที่จะไปโดยทางตามลมได้ ​ เพราะมีภูเขา, ​ เหว, ​ ก้อนหิน, ​ รั้วหนาม, ​ น้ำและหล่มกั้นอยู่ในระหว่าง ​ พึงเอาชายจีวรปิดจมูกไปเถิดนี้เป็นวัตรของการไปแห่งโยคีบุคคลนั้น 
- 
-'''​วิธียืนดูอสุภ'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลผู้ไปถึงโดยอาการอย่างนี้แล้ว ​ อย่าพึ่งดูอสุภนิมิตโดยทันที ​ พึงกำหนดทิศทั้งหลายเสียก่อน ​ เพราะเมื่อยืนอยู่ ​ ณ  ส่วนแห่งทิศอันหนึ่ง ​ อารมณ์ย่อมไม่ปรากฏแจ้งชัด ​ ทั้งจิตก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรแก่การงาน ​ เพราะเหตุนั้น ​ พึงเว้นส่วนแห่งทิศนั้นเสียเมื่อยืนอยู่ ​ ณ  ส่วนแห่งทิศใดอารมณ์ย่อมปรากฏแจ้งชัด ​ ทั้งจิตก็เป็นสิ่งที่ควรแก่การงานพึงยืนอยู่ ​ ณ  ส่วนแห่งทิศนั้น ​ อนึ่ง ​ พึงเลี่ยงทิศทวนลมและทิศตามลมเสียด้วย ​ เพราะเมื่อยืนอยู่ ​ ณ  ทิศทวนลมถูกกลิ่นศพรบกวนเข้า ​ จิตก็จะวิ่งพล่านไป ​ เมื่อยืนอยู่ ​ ณ  ทิศตามลม ​ ถ้ามีพวกอมนุษย์สิงอยู่ ​ ณ  อสุภนั้น ​ มันก็จะโกรธเอาแล้วทำความฉิบหายให้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ไม่พึงยืน ​ ณ  ทิศทวนลมให้มากนัก ​ โดยเลี่ยงไปเสียเล็กน้อย 
- 
-อันโยคีบุคคลแม้เมื่อยืนอยู่โดยประการดังพรรณนานั้น ​ ก็อย่ายืน ​ ณ  ที่ไกลเกินไป ​ ณ  ที่ใกล้เกินไป ​ อย่ายืนค่อนไปทางเท้า ​ หรือค่อนไปทางศรีษะ ​ เพราะเมื่อยืนไกลเกินไปอารมณ์ย่อมจะไม่แจ้งชัด ​ เมื่อยืนใกล้เกินไปความกลัวก็จะเกิดขึ้น ​ เมื่อยืนค่อนไปทางเท้าหรือค่อนไปทางศรีษะ ​ อสุภก็จะไม่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งหมด ​ เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลพึงยืนอยู่ตรงส่วนกลางตัว ​ อันเป็นที่สะดวกสำหรับผู้ดูอสุภ ​ ไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 309)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​จำเครื่องหมายต่าง ๆ  โดยรอบอสุภ'''​ 
- 
-อันโยคีบุคคล ​ ครั้นยืนอยู่อย่างนี้แล้ว ​ พึงสังเกตเครื่องหมายโดยรอบ ๆ  ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ​ โยคีบุคคลย่อมทำก้อนหิน…หรือ ​ เครือไม้ ​ ณ  ตำบลนั้นให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ ในข้อนั้นมีวิธีสังเกตดังต่อไปนี้ ​ ถ้าในคลองจักษุโดยรอบแห่งนิมิตนั้นมีก้อนหิน ​ พึงกำหนดก้อนหินนั้นว่า ​ ก้อนหินนี้ ​ สูงหรือต่ำ ​ เล็กหรือใหญ่ ​ แดงดำหรือขาว ​ ยาวหรือกลม ​ แต่นั้นพึงสังเกตได้ว่า ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ นี้เป็นก้อนหิน ​ นี้เป็นอสุภนิมิตนี้เป็นอสุภนิมิต ​ นี้เป็นก้อนหิน ​ ถ้ามีจอมปลวก ​ พึงกำหนดแม้จอมปลวกนั้นว่า ​ จอมปลวกนี้สูงหรือต่ำ ​ เล็กหรือใหญ่ ​ แดงดำหรือขาว ​ ยาวหรือกลม ​ แต่นั้นพึงสังเกตไว้ว่า ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ นี้เป็นจอมปลวก ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ ถ้ามีต้นไม้ ​ พึงกำหนดแม้ต้นไม้นั้นว่า ​ ต้นไม้นี้ ​ เป็นต้นโพธิ์ใบหรือต้นนิโครธ ​ เป็นต้นเต็งรังหรือต้นมะขวิด ​ เป็นต้นสูงหรือต้นต่ำ ​ เป็นต้นเล็กหรือต้นใหญ่ ​ แดงดำหรือขาว ​ แต่นั้นพึงสังเกตไว้ว่า ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ นี้เป็นต้นไม้นี้เป็นอสุภนิมิต ​ ถ้ามีกอไม้ ​ พึงกำหนดแม้กอไม้นั้นว่า ​ กอไม้นี้ ​ เป็นกอเป้งหรือกอเล็บเหยี่ยว ​ เป็นกอพุดหรือกอว่านหางช้าง ​ เป็นกอสูงหรือกอต่ำ ​ เป็นกอเล็กหรือกอใหญ่ ​ แต่นั้นพึงสังเกตไว้ว่า ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ นี้เป็นกอไม้ ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ ถ้ามีเครือไม้ ​ พึงกำหนดแม้เครือไม้นั้นว่า ​ เครือไม้นี้ ​ เป็นเครือน้ำเต้าหรือเป็นเครือฟัก ​ เป็นเครือหญ้านางหรือเครือกระพังโหม ​ หรือเป็นเครือหัวด้วน ​ แต่นั้นพึงสังเกตไว้ว่า ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ นี้เป็นเครือไม้ ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ นี้เป็นเครือไม้ ​ ฉะนี้ 
- 
-ส่วน ​ คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ ย่อมทำให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ ย่อมทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกัน ​ ดังนั้น ​ คำนั้นรวมลงในการกระทำซึ่งเครื่องหมายมีก้อนหินเป็นต้นนี้นั่นแล ​ เพราะเมื่อโยคีบุคคลกำหนดอยู่บ่อย ๆ  ย่อมชื่อว่ากระทำให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ เมื่อกำหนดย่น 2  อันเข้ากัน ​ ย่น 2  อันเข้ากันอย่างนี้ว่า ​ นี้เป็นก้อนหิน ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ นี้เป็นอสุภนิมิต ​ นี้เป็นก้อนหิน ​ ดังนี้ชื่อว่า ​ ย่อมทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกัน 
- 
-ก็แหละ ​ ครั้นโยคีบุคคลทำให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ และทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกันอย่างนี้แล้ว ​ เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ ย่อมกำหนดโดยความเป็นสภาวะดังนี้ ​ ความ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 310)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นสภาวะคือความไม่สาธารณะแก่สิ่งอื่น ​ ความเป็นตัวของตัว ​ ได้แก่ความขึ้นพองของอสุภนั้น ​ อันใด ​ พึงมนสิการโดยความเป็นสภาวะอันนั้น ​ อธิบายว่า ​ พึงกำหนดโดยภาวะของตน ​ โดยรสของตนอย่างนี้ ​ คือ ​ ความอืด ​ ความขึ้นพอง 
- 
-==จดจำอสุภนิมิต 11 ด้าน== 
- 
-'''​ถือเอานิมิตโดยอาการ 6 อย่าง'''​ 
- 
-ครั้นโยคีบุคคลกำหนดได้โดยประการอย่างนี้แล้ว ​ พึงถือเอานิมิตโดยอาการ 6  อย่าง ​ คือ ​ โดยสี 1  โดยเพศ 1  โดยสัณฐาน 1  โดยทิศ 1  โดยโอกาส 1  โดยปริจเฉท 1 
- 
-ถือเอานิมิตโดยอาการ 6  อย่างนั้น ​ ถือเอาอย่างไร?​ 
- 
-อธิบายว่า ​  ​อันโยคีบุคคลนั้นพึงกำหนด ​ โดยสี ​ ว่า ​ ร่างนี้ของคนผิวดำ ​ ร่างนี้ของคนผิวขาว ​ ร่างนี้ของคนผิว 2  สี 
- 
-อนึ่ง ​ โดยเพศ ​ อย่ากำหนดว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ​ พึงกำหนดว่า ​ ร่างนี้ของคนตั้งอยู่ในปฐมวัย ​ ร่างนี้ของคนตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย ​ หรือร่างนี้ของคนตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย  ​ 
- 
-โดยสัณฐาน ​ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่งสัณฐานของอสุภที่ขึ้นพองนั่นแหละ ​ ว่านี้เป็นสัณฐานศรีษะ ​ นี้เป็นสัณฐานคอ ​ นี้เป็นสัณฐานมือ ​ นี้เป็นสัณฐานท้อง ​ นี้เป็นสัณฐานสะดือ ​ นี้เป็นสัณฐานสะเอว ​ นี้เป็นสัณฐานขา ​ นี้เป็นสัณฐานแข้ง ​ นี้เป็นสัณฐานเท้า ​ ของอสุภที่ขึ้นพองนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ โดยทิศ ​ พึงกำหนดว่า ​ ในร่างนี้มีทิศ 2 ทิศ ​ คือทิศเบื้องต่ำตั้งแต่สะดือลงมา ​ ทิศเบื้องสูงตั้งแต่สะดือขึ้นไป ​ อีกนัยหนึ่ง ​ พึงกำหนดว่า ​ เรายืนอยู่ในทิศนี้ ​ อสุภนิมิตอยู่ในทิศนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ โดยโอกาส ​ พึงกำหนดว่า ​ มือทั้ง 2  อยู่ ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ เท้าทั้ง 2 อยู่ ​ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ ศรีษะอยู่ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ กลางตัวอยู่ ณ  โอกาสตรงนี้ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ พึงกำหนดว่าเรายืนอยู่ ​ ณ  โอกาสนี้ ​ อสุภนิมิตอยู่ ณ  โอกาสนี้ 
- 
-โดยปริจเฉท ​ พึงกำหนดว่า ​ ร่างนี้เบื้องต่ำแต่พื้นเท้าขึ้นไป ​ เบื้องบนแต่ปลายผมลงมา ​ เบื้องขวางกำหนดด้วยหนัง ​ และฐานะตามที่กำหนดนั้นเต็มไปด้วยศพ ​ 32  ศพนั่นเทียว ​ อีกนัยหนึ่ง ​ พึงกำหนดว่า ​ นี้เป็นตอนมือ ​ นี้เป็นตอนเท้า ​ นี้เป็นตอนศรีษะ ​ นี้เป็นตอนกลางตัว ​ แห่งอสุภที่ขึ้นพองนั่นเทียว ​ แหละหรือตนถือเอาฐานะได้ประมาณเท่าใด ​ พึงกำหนดถือเอาฐานะประมาณเท่านั้นนั่นแลว่า ​ ร่างเช่นนี้นี้เป็นอสุภที่ขึ้นพอง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 311)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ ร่างของสตรีย่อมไม่ควรแก่บุรุษ ​ หรือร่างของบุรุษย่อมไม่ควรแก่สตรี ​ ในร่างที่มีส่วนขัดกัน ​ อารมณ์ย่อมไม่ปรากฏ ​ มีแต่จะเป็นปัจจัยแก่ความกวัดแกว่งไปเท่านั้น ​ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถามัชฌิมนิกายว่า ​ จริงอยู่ ​ สตรีแม้จะเป็นร่างอันน่าเกลียดแล้วก็ตาม ​ ก็ยังครอบงำจิตของบุรุษไว้ได้ ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลพึงถือเอานิมิตโดยอาการ 6  อย่าง ​ ดังพรรณนามาแล้วนั้น ​ เฉพาะแต่ในร่างมี่มีส่วนเข้ากันได้เท่านั้น  ​ 
- 
-ก็แหละ ​ กุลบุตรใดมีกัมมัฏฐานอันได้ส้องเสพไว้แล้วในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ​ มีธุดงค์อันบริหารแล้ว ​ มีมหาภูตรูปอันย่ำยีแล้ว ​ มีสังขารอันได้กำหนดรู้แล้ว ​ มีนามรูปอันกำหนดแยกแล้ว ​ มีความสำคัญว่าสัตว์อันได้เพิกถอนแล้ว ​ มีสมณธรรมอันได้บำเพ็ญแล้ว ​ มีวาสนาอันได้อบรมแล้ว ​ มีภาวนาอันได้เจริญแล้ว ​ ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ​ ผู้มีพืช ​ มีญาณอันยอดยิ่ง ​ มีกิเลสน้อย ​ ปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏแก่กุลบุตรนั้น ​ ตรงฐานะที่มองดูแล้วมองดูแล้วนั่นเทียว ​ ถ้าหากว่าปฏิภาคนิมิตไม่ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้ ​ แต่นั้น ​ ก็จะปรากฏโดยการถือเอานิมิตด้วยอาการ ​ 6  อย่างดังพรรณนามา 
- 
-'''​ถือเอานิมิตโดยอาการ 5  อย่าง'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ แม้จะถือเอานิมิตด้วยอาการ 6  อย่าง ​ ดังพรรณนาแล้วนั้น ​ ปฏิภาคนิมิตก็ไม่ปรากฏแก่โยคีบุคคลใด ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงถือเอานิมิตด้วยอาการ 5  อย่างแม้ต่อไปอีก ​ คือ ​ โดยที่ต่อ 1  โดยช่อง 1  โดยที่เว้า 1  โดยที่นูน 1  โดยรอบ ๆ 1 
- 
-ในอาการ 5 อย่างนั้น ​ คำว่า ​ โดยที่ต่อ ​ คือโดยที่ต่อ 180  แห่ง 
- 
-ถาม –ก็แหละ ​ ในอสุภที่ขึ้นพองโดยกำหนดที่ต่อ 180  แห่งอย่างไร ? 
- 
-ตอบ –เพราะเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงกำหนดโดยที่ต่อด้วยสามารถแห่งที่ต่อใหญ่ ๆ 15  แห่ง ​ อย่างนี้คือ ​ ที่ต่อข้อมือขวา 3  แห่ง ​ ที่ต่อข้อมือซ้าย 3  แห่ง ​ ที่ต่อเท้าขวา 3  แห่ง ​ ที่ต่อเท้าซ้าย 3  แห่ง ​ ที่ต่อคอ 1  แห่ง ​ ที่ต่อสะเอว 1  แห่ง 
- 
-คำว่า ​ โดยช่อง ​ ความว่า ​ พึงกำหนดโดยช่องอย่างนี้คือ ​ ช่องมือ ​ ช่องเท้า ​ ช่องท้อง ​ ช่องหู ​ ชื่อว่าช่อง ​ แม้นัยตาทั้ง 2  ที่หลับหรือลืมและปากที่ปิดหรือเปิดก็พึงกำหนดได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 312)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ โดยที่เว้า ​ ความว่า ​ ที่ ๆ เว้าในร่างศพอันใด ​ ได้แก่ ​ เบ้าตา ​ ภายในปากหรือหลุมคอ ​ พึงกำหนดที่ ๆ เว้านั้น ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ พึงกำหนดว่า ​ เราอยู่ ​ ณ  ที่ลุ่ม ​ ร่างศพอยู่ ​ ณ  ที่ดอน 
- 
-คำว่า ​ โดยที่นูน ​ ความว่า ​ ที่ ๆ นูนในร่างศพอันใด ​ ได้แก่ ​ หัวเข่า ​ หน้าอก ​ หรือหน้าผาก ​ พึงกำหนดที่ ๆ นูนนั้น ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ พึงกำหนดว่า ​ เราอยู่ ​ ณ  ที่ดอน ​ ร่างศพอยู่ที่ลุ่ม 
- 
-คำว่า ​ โดยรอบ ๆ  ความว่า ​ พึงกำหนดร่างศพโดยรอบ ๆ  คือส่องญาณไปในร่างศพทั้งสิ้น ​ ที่ตรงไหนปรากฏแจ่มชัด ​  ​พึงตั้งจิตไว้ ​ ณ  ที่ตรงนั้นว่า ​ อุทธุมาตกํ ​ อุทธุมาตกํ ​ หรือว่า ​ อสุภที่ขึ้นพอง ​ อสุภที่ขึ้นพอง ​ ฉะนี้ 
- 
-ถ้าปฏิภาคนิมิตยังไม่ปรากฏแม้ด้วยการกำหนดอย่างนี้ ​ ตรงที่สุดแห่งท้องย่อมเป็นสิ่งที่ขึ้นพองมากกว่า ​ โยคีบุคคลพึงตั้งจิตไว้ ​ ณ  ที่ตรงที่สุดแห่งท้องนั้น ​ โดยบริกรรมว่า ​ อุทธุมาตกํ ​ อุทธุมาตกํ ​ หรือว่า ​ อสุภที่ขึ้นพอง ​ อสุภที่ขึ้นพอง ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​ได้อุคคหนิมิต'''​ 
- 
-บัดนี้ ​ จะวินิจฉัยในคำทั้งหลายมีคำว่า ​ โยคีบุคคลนั้นย่อมกระทำซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาด้วยดีแล้ว ​ เป็นต้น ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-อันโยคีบุคคลนั้นพึงถือเอานิมิตด้วยดีตรงที่ร่างศพนั้น ​ ด้วยสามารถแห่งการถือเอานิมิตตามที่กล่าวมาแล้ว ​ พึงนึกทำสติให้ปรากฏด้วยดี ​ พึงทำอยู่อย่างนี้บ่อย ๆ  ใคร่ครวญและกำหนดให้ดีนั่นเทียว ​ พึงยืนหรือนั่งอยู่ตรงที่ไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไปแต่ร่างศพ ​ ลืมตาขึ้นดูจับเอานิมิต ​ พึงลืมตาดู ​ หลับตานึก ​ ร้อยครั้ง ​ พันครั้ง ​ โดยบริกรรมว่า ​ อสุภขึ้นพองน่าเกลียด ​ อสุภขึ้นพองน่าเกลียด ​ เมื่อทำอยู่อย่างนี้บ่อย ๆ เข้า ​ อุคคหนิมิต ​ ก็จะเป็นอันโยคีบุคคลถือเอาด้วยดีแล้ว  ​ 
- 
-ถาม –อุคคหนิมิตย่อมเป็นอันโยคีบุคคลถือเอาด้วยดีแล้วเมื่อไร ? 
- 
-ตอบ -  กาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลลืมตาดูและหลับตานึกอยู่นั้น ​ นิมิตมาสู่คลองจักษุเป็นเสมือนอันเดียวกัน ​ กาลนั้น ​ ชื่อว่า ​ อุคคหนิมิตเป็นอันโยคีบุคคลถือเอาด้วยดีแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 313)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กลับจากป่าช้า'''​ 
- 
-โยคีบุคคลนั้น ​ ครั้นทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาด้วยดีแล้ว ​ ใคร่ครวญนิมิตนั้นให้เป็นอันใคร่ครวญดีแล้ว ​ กำหนดนิมิตนั้นให้เป็นอันกำหนดด้วยดีแล้ว ​ โดยประการดังกล่าวมา ​ ถ้าไม่สามารถที่จะบรรลุถึงซึ่งที่สุดแห่งการภาวนา ​ ณ  ตรงที่อาสนะนั้นนั่นแล ​ ลำดับนั้น ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงเป็นผู้เดียวดาย ​ ไม่มีเพื่อนสอง ​ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในเวลามานั่นเทียว ​ มนสิการถึงกัมมัฏฐานนั้นนั่นแหละ ​ พึงทำสติให้ปรากฏด้วยดี ​ มีอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ในภายใน ​ มีใจไม่แลบออกไปข้างนอก ​ เดินไปสู่เสนาสนะของตนนั่นเถิด 
- 
-'''​กำหนดทางมาเป็นต้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ เมื่อจะออกจากป่าช้านั้น ​ โยคีบุคคลพึงกำหนดทางมาไว้ว่า ​ เราออกมาโดยทางใด ​ ทางนี้ตรงไปสู่ทิศปราจีน ​ หรือทางนี้ตรงไปสู่ทิศปัจฉิม, ​ ทิศอุดร ​ หรือทิศทักษิณ ​ หรือทางนี้ตรงไปสู่ทิศเฉียง ​ แหละ ​ ณ  สถานที่ตรงนี้ไปทางซ้าย ​ ณ  สถานที่ตรงนี้ไปทางขวา ​ อนึ่ง ​ ณ  สถานที่ตรงนี้แห่งอุทธุมาตกอสุภนั้นมีก้อนหิน ​ ณ  สถานที่ตรงนี้มีจอมปลวก ​ ณ  สถานที่ตรงนี้มีต้นไม้ ​ ณ  สถานที่ตรงนี้มีกอไม้ ​ ณ  สถานที่ตรงนี้มีเครือไม้ ​ อันโยคีบุคคลกำหนดทางมาอย่างนี้มาถึงสถานที่แล้ว ​ แม้เมื่อจะเดินจงกรม ​ พึงอธิษฐานจงกรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอสุภนิมิตนั้นนั่นเทียว ​ อธิบายว่าพึงเดินจงกรมไป ​ ณ  ภูมิประเทศอันผินหน้าสู่ทิศแห่งอสุภนิมิต ​ เมื่อจะนั่งก็พึงปูลาดแม้อาสนะที่เป็นไปในส่วนแห่งอสุภนิมิตนั้นนั่นเทียว ​ ก็แหละ ​ ถ้า ​ ณ  ทิศนั้นมีบ่อน้ำ, ​ เหว, ​ ต้นไม้, ​ รั้ว ​ หรือเปลือกตมกั้นอยู่ ไม่สามารถที่จะเดินจงกรมตรงภูมิประเทศอันผินหน้าสู่ทิศแห่งอสุภนิมิตนั้นได้ ​ แม้อาสนะก็ไม่อาจปูลาดได้เพราะไม่มีโอกาส ​ ไม่ต้องเหลียวไปดูทิศนั้นก็ได้ ​  ​พึงเดินจงกรมและนั่ง ​ ณ  ที่อันสมควรแก่โอกาสนั้นเถิด ​ แต่ต้องทำจิตให้มุ่งหน้าตรงไปสู่ทิศแห่งอสุภนั้นให้จงได้ 
- 
-'''​อธิบายข้อว่ามีความไม่หลงเป็นประโยชน์เป็นต้น'''​ 
- 
-บรรดาปัญหาทั้งหลายมีอาทิว่า ​ การกำหนดนิมิตโดยรอบ ๆ  มีอะไรเป็นประโยชน์ ​ เป็นต้น บัดนี้จะอธิบายในคำวิสัชชนาข้อว่า มีความไม่หลงเป็นประโยชน์ เป็นต้น ดังต่อไปนี้ – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 314)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็เมื่อโยคีบุคคลใดไปยังสถานที่แห่งนิมิตที่ขึ้นพองในเวลาอันไม่สมควร ​ ทำความกำหนดนิมิตโดยรอบ ๆ  แล้วลืมตาดูเพื่อจับเอานิมิตอยู่นั่นแล ​ ร่างศพนั้นจะปรากฏเป็นเหมือนลุกขึ้นยืน ​ เหมือนจะมาทัน ​ แหละเหมือนติดตามไป ​ โยคีบุคคลนั้นครั้นเห็นอารมณ์อันน่ากลัวน่าหวาดเสียวนั้นแล้ว ​ ก็จะเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านเหมือนเป็นบ้า ​ ย่อมจะถึงความกลัว ​ ความสะดุ้งหวาดเสียว ​ ความขนพอง ​ เพราะว่า ​ ในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐาน ​ 38  อย่างที่ท่านจำแนกไว้ในบาลี ​ อารมณ์อื่น ๆ  ที่จะเป็นอารมณ์น่ากลัวเห็นปานฉะนี้ ​ ย่อมไม่มี ​ เพราะในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ โยคีบุคคลชื่อว่าเป็นผู้หมุนหนีออกจากฌาน ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะกัมมัฏฐานนี้เป็นอารมณ์ที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ​ ด้วยเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงยั้งใจไว้ทำสติให้ปรากฏด้วยดี ​ แล้วพึงบรรเทาความหวาดเสียวโดยตระหนักว่า ​ ร่างของคนตายแล้วที่จะลุกขึ้นมาติดตามหามีไม่ ​ จริงอยู่ ​ ถ้าก้อนหินหรือเครือไม้ที่อยู่ใกล้แห่งอสุภนิมิตนี้นั้น ​ จะพึงเดินมาได้ ​ แม้ร่างศพก็จะพึงเดินมาได้ ​ แท้จริง ​ ก้อนหินหรือเครือไม้นั้นย่อมเดินมาไม่ได้ ​ ฉันใด ​ แม้ร่างศพก็เดินมาไม่ได้ ​ ฉันนั้น ​ อนึ่ง ​ อาการที่ปรากฏแก่เธอนี้ ​ มันเกิดจากสัญญา ​ มีสัญญาเป็นแดนเกิด ​ กัมมัฏฐานจะปรากฏแก่เธอในวันนี้ ​ เธออย่ากลัวเลย ​ ภิกขุ ​ ครั้นแล้วพึงยังความร่าเริงให้เกิดขึ้น ​ พึงยังจิตให้คิดไปในอสุภนิมิตนั้นนั่นเถิด ​  ​โยคีบุคคลนั้น ​ จะบรรลุถึงซึ่งคุณธรรมอันพิเศษด้วยวิธีดังพรรณนามานี้ ​ คำว่า ​ การกำหนดนิมิตโดยรอบ ๆ  มีความไม่หลงเป็นประโยชน์ ​ นั้นท่านกล่าวหมายเอาอรรถาธิบายนี้ 
- 
-'''​ประโยชน์แห่งการถือเอานิมิตโดยวิธี 11  อย่าง'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลถือเอานิมิตโดยวิธี 11  อย่างให้สำเร็จอยู่ ​ ชื่อว่าผูกกัมมัฏฐานไว้ ​ เป็นความจริง ​ อุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้น ​ เพราะมีการลืมตาดูของโยคีบุคคลนั้นเป็นปัจจัย ​ เมื่อโยคีบุคคลนั้นทำภาวนาจิตให้เป็นไปในอุคคหนิมิตนั้นอยู่ ปฏิภาคนิมิตก็จะเกิดขึ้น ​ เมื่อโยคีบุคคลทำภาวนาจิตให้เป็นไปในปฏิภาคนิมิตนั้นอยู่ ก็จะบรรลุถึงซึ่งอัปปนาฌาน ​ โยคีบุคคลดำรงตนอยู่ในอัปปนาฌานแล้ว ​ เจริญวิปัสสนาต่อไป ​ ก็จะทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ การถือเอานิมิตโดยวิธี 11อย่างมีอันผูกพันจิตไว้เป็นประโยชน์ ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 315)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วิเคราะห์เส้นทางไปกลับช่วยจำได้== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำว่า ​ การพิจารณาทางไปและทางมามีอันยังวิถีให้ดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์ ​ นี้นั้น ​ มีอธิบายว่า ​ การพิจารณาทางไปและทางมาอันใดที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ​ การพิจารณานั้นมีอันทำวิถีแห่งพระกัมมัฏฐานให้ดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์ อธิบายว่า ถ้าภิกษุนี้รับเอาพระกัมมัฏฐานแล้วเดินมาอยู่ ​ ใคร ๆ ถามถึงวันว่า ​ วันนี้ดิถีเท่าไรขอรับ ​ ก็ดี ​ ถามปัญหาก็ดี ​ กระทำการปฏิสันถารก็ดี ​ ในระหว่างทาง ​ เธอจะนิ่งแล้วไปเสีย โดยถือว่า ​ เราเป็นผู้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ​ ดังนี้หาควรไม่ ​ ต้องบอกวัน ​ ต้องแก้ปัญหา ​ ถ้าไม่ทราบก็ต้องบอกว่า ​ ข้าพเจ้าไม่ทราบ ​ ต้องทำการปฏิสันถารอันเป็นธรรม ​ เมื่อโยคีบุคคลทำอยู่อย่างนี้ ​ อุคคหนิมิตซึ่งเป็นนิมิตที่ยังอ่อนก็จักเสื่อมไปเสีย ​ ถึงแม้อุคคหนิมิตนั้นจะเสื่อมไปก็ตาม ​ เมื่อถูกถามถึงวันก็จำที่จะต้องบอกโดยแท้ ​ เมื่อไม่ทราบปัญหาก็จะต้องบอกว่าไม่ทราบ ​ เมื่อทราบอยู่แม้จะตอบโดยเอกทศก็ควร แม้การปฏิสันถารก็จำต้องทำ ​ อนึ่ง ​ ครั้นเห็นภิกษุอาคันตุกะแล้วก็ต้องทำการปฏิสันถารต่อภิกษุอาคันตุกะด้วย ​ จำต้องบำเพ็ญวัตรทั้งหลายในคัมภีร์ขันธกะทุกอย่างแม้ที่เหลือ ​ เช่น ​ วัตรในลานพระเจดีย์ ​ วัตรในลานพระศรีมหาโพธิ์ ​ วัตรในอุโปสถาคาร ​ วัตรในโรงฉัน ​ วัตรในเรือนไฟ ​ อาจริยวัตร ​ อุปัชฌายวัตร ​ อาคันตุกวัตร ​ และคมิกวัตร ​ เป็นต้น ​ แม้เมื่อภิกษุนั้นมามัวบำเพ็ญวัตรเหล่านั้นอยู่ ​ นิมิตที่อ่อนนั้นก็จักเสื่อมไปเสีย ​ แม้เมื่อโยคีบุคคลนั้นมีความประสงค์จะไปด้วยคิดว่า ​ เราจักไปถือเอานิมิตอีก ​ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปในป่าช้าได้ ​ เพราะอันพวกอมนุษย์หรือพวกสัตว์ร้ายเข้ากีดกันเสียแล้ว ​ หรือมิฉะนั้น ​ นิมิตก็กลับกลายไปแล้ว ​ จริงอยู่ ​ อสุภที่ขึ้นพองดำรงอยู่ได้เพียงวันเดียวหรือสองวันเท่านั้น ​ ก็จะถึงซึ่งภาวะเป็นอสุภมีสีเขียวคละด้วยสีต่าง ๆ  เป็นต้นไป ​ ในบรรดากัมมัฏฐานทั้งหมด ​ ที่ชื่อว่ากัมมัฏฐานอันหาได้ยากเสมอด้วยกัมมัฏฐานบทนี้ ​ หามีไม่ เพราะเหตุนั้น ​ เมื่อนิมิตเสื่อมไปแล้วอย่างนี้ ​ อันภิกษุนั้นนั่งอยู่ ​ ณ  ที่พักกลางคืนหรือ ​ ณ  ที่พักกลางวันแล้ว ​ พึงพิจารณาถึงทางไปทางมาจนถึงที่นั่งคู้บัลลังก์อย่างนี้ว่า ​ เราออกจากวัดไปโดยทวารชื่อนี้ ​ เดินไปสู่ทางที่ตรงไปสู่ทิศโน้น ​ ณ  ที่ตรงโน้น ​ จับเอาทางซ้าย ณ ที่ตรงโน้น จับเอาทางขวา ​ ณ  ที่โน้นแห่งอสุภนิมิตนั้นมีก้อนหิน ​ ณ  ที่ตรงโน้นมีจอมปลวก, ​ ต้นไม้, ​ กอไม้หรือเครือไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งเหล่านั้น ​ ครั้นแล้วไปโดยทางนั้น ​ ได้เห็นอสุภในที่ชื่อโน้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 316)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ณ  ที่ตรงนั้นเรายืนผินหน้าไปสู่ทิศโน้น ​ กำหนดนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนี้และอย่างนี้ ​ จึงถือเอาอสุภนิมิตอย่างนี้ ​ แล้วออกจากป่าช้าทางทิศโน้น ​ กระทำกิจสิ่งนี้และสิ่งนี้ตามทางเห็นปานนี้ ​ แล้วมานั่งอยู่ ​ ณ  ที่ตรงนี้  ​ 
- 
-เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ​ นิมิตนั้นก็จะปรากฏ ​ คือย่อมปรากฏเหมือนวางไว้ข้างหน้า ​ พระกัมมัฏฐานย่อมดำเนินไปสู่วิถีโดยอาการเดิมนั่นเทียว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ การพิจารณาทางไปและทางมา ​ มียังอันวิถีให้ดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์ฉะนี้ 
- 
-'''​ผูกจิตไว้ในอสุภนิมิต'''​ 
- 
-บัดนี้ ​ จะอธิบายในคำของอรรถกถาจารย์ข้อว่า ​ โยคีบุคคลเป็นผู้มีปกติมองเห็นอานิสงส์ ​ เป็นผู้มีความสำคัญเห็นเป็นรัตนะ ​ เข้าไปตั้งความเคารพไว้ ​ ประพฤติให้เป็นที่รักอย่างสนิทอยู่ ​ ย่อมผูกพันจิตไว้ในอารมณ์นั้น ​ ดังนี้ต่อไป – 
- 
-อันโยคีบุคคลพึงทำภาวนาจิตให้เป็นไปในอสุภที่ขึ้นพองอย่างน่าเกลียด ​ ทำฌานให้บังเกิดแล้ว ​ เจริญวิปัสสนาอันมีฌานเป็นปทัฏฐานอยู่ ​ พึงเป็นผู้มีปกติมองเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า ​ เราจักหลุดพ้นจากชราทุกข์และมรณทุกข์ด้วยปฏิปทานี้อย่างแน่แท้ 
- 
-ก็แหละ ​ เหมือนอย่างว่า ​ บุรุษเข็ญใจได้แก้วมณีอันมีค่ามากแล้ว ​ เป็นผู้มีความสำคัญในแก้วมณีนั้นเป็นรัตนะว่า ​ เราได้สิ่งอันหาได้ด้วยยากแล้วหนอ ​ จึงทำบ้านส่วยให้เกิดแล้วประพฤติให้เป็นที่รัก ​ ด้วยความรักอันกว้างขวาง ​ พึงรักษาแก้วมณีนั้นไว้ ​ ฉันใด ​ อันโยคีบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ คือเป็นผู้มีความสำคัญในอสุภนิมิตนั้นเป็นรัตนะว่า ​ กัมมัฏฐานซึ่งหาได้ด้วยยากนี้เราได้แล้ว ​ เป็นเช่นกับแก้วมณีที่มีค่ามากของบุรุษเข็ญใจ ​ เพราะว่า ​ ผู้เจริญจตุธาตุกัมมัฏฐาน ​ ย่อกำหนดมหาภูตรูปทั้ง 4  ของตน ​ ผู้เจริญอานาปานกัมมัฏฐาน ​ ย่อมกำหนดลมที่นาสิกของตน ​ ผู้เจริญกสิณกัมมัฏฐาน ​ ทำรูปกสิณแล้วย่อมเจริญได้ตามความสบาย ​ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ​ กัมมัฏฐานทั้งหลายนอกนี้ ​ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่หาได้ด้วยง่าย ​ ส่วนอุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐานนี้ ​ ดำรงสภาพอยู่ได้เพียงวันเดียวหรือสองวันเท่านั้น ​ หลังจากนั้นไปย่อมถึงภาวะเป็นวินีลกอสุภกัมมัฏฐานเป็นต้น ​ เพราะฉะนั้น ​ กัมมัฏฐานที่หาได้ยากยิ่งไปกว่าอุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐานนี้จึงไม่มี ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงเข้าไปตั้งความเคารพไว้ ​ ประพฤติให้เป็นที่รักอย่างสนิท ​ รักษานิมิตนั้นไว้ ​ พึงผูกจิตไว้เสมอ ๆ  ในอสุภนิมิตนั้น ​ ทั้ง ​ ณ  ที่พัก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 317)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กลางคืนทั้ง ​ ณ  ที่พักกลางวันโดยบริกรรมว่า ​ อสุภขึ้นพองน่าเกลียด ​ อสุภขึ้นพองน่าเกลียด ​ พึงนึกพึงมนสิการถึงนิมิตนั้นบ่อย ๆ  พึงทำให้เป็นนิมิตอันความตรึกตะล่อมไว้แล้วอันวิตกตะล่อมไว้แล้ว ​ เมื่อโยคีบุคคลนั้นกระทำอยู่โดยประการดังกล่าวมา ​ ปฏิภาคนิมิตย่อมบังเกิดขึ้น 
- 
-'''​ความต่างกันแห่งนิมิตทั้ง 2'''​ 
- 
-ในอุทธุมาตกอสุภนั้นความต่างกันแห่งนิมิตทั้ง 2  ดังนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งผิดรูปผิดร่าง ​ น่าหวาดเสียว ​ ดูน่าสะพรึงกลัว ​ ส่วน ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเหมือนคนมีองค์อวัยวะอ้วนพีที่กินอิ่มแล้วนอน 
- 
-'''​ละนิวรณ์ ​ 5  ได้พร้อมกับได้ปฏิภาคนิมิต'''​ 
- 
-ในเวลาพร้อมกับได้ปฏิภาคนิมิตนั่นแล ​ โยคีบุคคลนั้นย่อมละ ​ กามฉันทนิวรณ์ ​ ได้ ด้วยอำนาจวิกขัมภนประหาน ​ เพราะไม่มนสิการถึงกามทั้งหลายอันเป็นภายนอก ​ และแม้ พยาปาทนิวรณ์ ​ อันโยคีบุคคลนั้นก็ละได้ ​ เพราะประหานความยินดีเสียได้นั่นเอง ​ เหมือนละหนองเสียได้ก็เพราะละโลหิตฉะนั้น ​ ถีนมิทธนิวรณ์ ​ เป็นอันโยคีบุคคลนั้นละได้เหมือนกัน ​ เพราะเป็นผู้มีความเพียรปรารภแล้ว ​ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ​ ก็เป็นอันละได้ ​ เพราะอำนาจประกอบด้วยธรรมอันสงบที่ไม่ทำความร้อนใจให้ ​ วิจิกิจฉา ​ ในศาสดาผู้แสดงข้อปฏิบัติก็ดี ​ ในข้อปฏิบัติก็ดี ​ ในผลแห่งการปฏิบัติก็ดี ​ ก็เป็นอันละได้ ​ เพราะคุณอันวิเศษที่บรรลุแล้ว ​ เป็นสภาพประจักษ์แจ้ง ​ เป็นอันโยคีบุคคลนั้นละนิวรณ์ได้ครบทั้ง 5  ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​องค์ฌาน 5  ปรากฏ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ วิตก ​ ทำหน้าที่ยกจิตขึ้นไว้ในนิมิตนั้นนั่นแล ​ วิจาร ​ ทำกิจคือพิจารณานิมิตให้สำเร็จอยู่ ​ เพราะมีอันได้การบรรลุคุณวิเศษเป็นปัจจัย ​ ปีติ ​ ย่อมปรากฏ ​ เพราะปัสสัทธิสำเร็จแก่ผู้ที่มีใจประกอบด้วยปีติ ​ ปัสสัทธิ ​ ย่อมปรากฏ ​ สุข ​ ซึ่งมีปัสสัทธินั้นเป็นเหตุย่อมปรากฏ ​ และเพราะจิตตสมาธิ ​ สำเร็จแก่ผู้ที่มีความสุข ​ เอกัคคตา ​ ซึ่งมีความสุขเป็นเหตุย่อมปรากฏ ​ เป็นอัน ​ องค์ฌานทั้งหลาย ​ ปรากฏเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ ​ แม้อุปจารฌานอันเป็นเครื่องรองรับปฐมฌานก็บังเกิดแก่โยคีบุคคลนั้นในขณะพร้อมกันนั้นนั่นเทียว 
- 
-อรรถาธิบายทุก ๆ อย่างตั้งแต่นี้ไปจนถึงอัปปนาฌาน ​ และความสำเร็จเป็นวสีแห่งปฐมฌาน ​ นักศึกษาพึงทราบโดยนัยที่พรรณนาไว้แล้วในปถวีกสิณนั่นเทอญ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 318)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=อธิบายอสุภกัมมัฏฐานที่เหลือ ​ 9  อย่าง= 
- 
-ก็แหละ ​ แม้ในอสุภกัมมัฏฐานทั้งหลายมีวินีลกอสุภเป็นต้น ​ หลังแต่อุทธุมาตกอสุภนี้ ​ ลักษณะอันใด ​ ตั้งต้นแต่การไปดูอสุภซึ่งท่านแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ โยคีบุคคลเมื่อจะเรียนเอาอสุภนิมิตชนิดที่ขึ้นพอง ​ เป็นผู้เดียวดาย ​ ไม่มีเพื่อนสอง ​ มีสติอันตั้งมั่น…..ไปดังนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบลักษณะอันนั้นพร้อมทั้งวินิจฉัยและอธิบาย ​ ตามนัยที่แสดงไว้แล้วนั่นแล ​ เปลี่ยนเพียงแต่บทว่า ​ อุทฺธุมาตก ​ ตรงที่อสุภนั้น ๆ ไปตามอสุภนิมิตนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ​ โยคีบุคคลเมื่อจะเรียนเอาอสุภนิมิต ​ ชนิดที่มีสีเขียวคละด้วยสีต่าง ๆ…..โยคีบุคคลเมื่อจะเรียนเอาอสุภนิมิต ​ ชนิดที่มีหนองไหลเยิ้ม ​ ฉะนี้ 
- 
-ส่วนอรรถาธิบายที่แปลกกัน ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​2. ​ วิธีเจริญวินีลกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ในวินีลกอสุภกัมมัฏฐาน ​ โยคีบุคคลพึงยังมนสิการให้เป็นไปด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภมีสีเขียวคละด้วยสีต่าง ๆ น่าเกลียด ​ อสุภมีสีเขียวคละด้วยสีต่าง ๆ น่าเกลียด ​ ดังนี้แหละในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นสีด่างพร้อยไป ​ ส่วน ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏโดยเป็นสีที่หนาทึบ 
- 
-'''​3. ​ วิธีเจริญวิปุพพกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ในวิปุพพกอสุภกัมมัฏฐาน ​ โยคีบุคคลพึงยังมนสิการให้เป็นไป ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภมีหนองไหลเยิ้มน่าเกลียด ​ อสุภมีหนองไหลเยิ้มน่าเกลียด ​ ดังนี้ ​ ก็แหละในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นเหมือนหนองไหลอยู่ ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นอาการหยุดนิ่งไม่เคลื่อนที่ 
- 
-'''​4. ​ วิธีเจริญวิจฉิททกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-อสุภที่ขาดเป็นท่อน ​ จะหาได้ก็ตรงบริเวณสนามรบ, ​ ที่ดงโจร, ​ ที่สุสาน ​ หรือที่ที่พระราชาทรงรับสั่งให้ประหารพวกโจร ​ มิฉะนั้นก็ตรงสถานที่ที่คนถูกพวกสีหและเสือกัดขาดไว้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลไปยังสถานที่เห็นปานดังนั้นแล้ว ​ ถ้าแม้ว่าอสุภที่ขาดเป็นท่อนซึ่งตกอยู่ในทิศต่าง ๆ  มาถึงคลองจักษุได้ด้วยอาวัชชนจิตอันเดียว ​ ข้อนี้นับว่าเป็นการดี ​ ถ้าไม่มา ​ ก็อย่าเอามือไปจับต้องเอง ​ เพราะเมื่อโยคีบุคคลจับต้อง ​ ก็จะถึงซึ่งความเคยชิน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 319)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไปเสีย ​ เพราะเหตุนั้นพึงใช้คนวัด ​ หรือคนที่สมณะแสดงให้ ​ หรือใคร ๆ อื่น ​ ให้ทำอสุภที่ตกอยู่ในทิศต่าง ๆ  นั้นรวมเข้าในที่แห่งเดียวกัน ​ เมื่อหาคนอื่นไม่ได้ ​ พึงเอาไม้เท้าหรือไม้ท่อนเขี่ยเข้ามา ​ ทำระหว่างไว้องคุลีหนึ่ง ​ ครั้นเขี่ยเข้ามาไว้โดยประการดังนี้แล้ว ​ โยคีบุคคลพึงยังมนสิการให้เป็นไปด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภขาดเป็นท่อนน่าเกลียด ​ อสุภขาดเป็นท่อนน่าเกลียด ​ ดังนี้ ​ ในกัมมัฏฐานบทนี้นั้น ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นดุจทะลุกลางตัว ​ ส่วน ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นร่างที่บริบูรณ์ 
- 
-'''​5. ​ วิธีเจริญวิกขายิตกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ในวิกขายิตกอสุภกัมมัฏฐาน ​ โยคีบุคคลพึงยังมนสิการใหัเป็นไป ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภที่สัตว์กัดกินน่าเกลียด ​ อสุภที่สัตว์กัดกินน่าเกลียด ​ ดังนี้ ​ ก็แหละในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นเสมือนร่างซึ่งถูกสัตว์กัด ​ ณ  ที่นั้น ๆ  ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นร่างที่บริบูรณ์นั่นเทียว 
- 
-'''​6. ​ วิธีเจริญวิกขิตตกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-แม้อสุภที่กระจัดกระจาย ​ อันโยคีบุคคลพึงใช้คนอื่นทำหรือทำเองให้ห่างระหว่างองคุลีหนึ่ง ​ โดยนัยที่อธิบายไว้แล้วในอสุภที่ขาดเป็นท่อนนั่นแล ​ แล้วพึงยังมนสิการให้เป็นไปด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภที่กระจัดกระจายน่าเกลียด ​  ​อสุภที่กระจัดกระจายน่าเกลียด ​ ดังนี้ ในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นร่างมีระหว่างปรากฏ ​ ส่วน ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นร่างบริบูรณ์นั้นเทียว 
- 
-'''​7. ​ วิธิเจริญหตวิกขิตตกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-แม้อสุภที่ถูกฟันกระจัดกระจาย ​ ก็ย่อมหาได้ ​ ณ  สถานที่ทั้งหลาย ​ ซึ่งมีประการดังอธิบายไว้แล้วในอสุภที่ขาดเป็นท่อนนั่นแล ​ เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลครั้นไปถึง ​ ณ  สถานที่นั้นแล้ว ​ พึงใช้คนอื่นทำหรือทำเองให้ห่างระหว่างองคุลีหนึ่งโดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว ​ แล้วพึงยังมนสิการให้เป็นไป ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภที่ถูกฟันกระจัดกระจายน่าเกลียด ​ อสุภที่ถูกฟันกระจัดกระจายน่าเกลียด ​  ​ดังนี้ ​  ​ก็แหละในกัมมัฏฐานบทนี้ ​  ​อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นร่างที่บริบูรณ์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 320)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​8. ​ วิธีเจริญโลหิตกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-อสุภที่มีโลหิตไหล ​ ย่อมจะหาได้ในเวลาที่มันไหลออกจากปากแผลของคนผู้ได้รับการประหารในสนามรบเป็นต้น ​ หรือในเมื่อมือและเท้าเป็นต้นถูกตัดขาด ​ หรือในเวลาที่มันไหลออกจากปากแผลของคนมีฝีและต่อมแตก ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลครั้นเห็นโลหิตอันไหลอยู่นั้นแล้ว ​ พึงยังมนสิการให้เป็นไป ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภมีโลหิตไหลน่าเกลียด ​ อสุภมีโลหิตไหลน่าเกลียด ​ ดังนี้ ​ ในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏมีอาการไหวอยู่เหมือนธงผ้าแดงที่ถูกลมพัด ​ ส่วน ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นอาการหยุดนิ่งอยู่ 
- 
-'''​9. ​ วิธีเจริญปุฬุวกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-อสุภที่มีหนอนเกลื่อนกลาด ​ ย่อมมีได้ในเวลาที่หมู่หนอนชอนออกจากปากแผล ​ 9  แห่งของศพ ​ โดยล่วงไปได้ ​ 2– 3  วัน ​ ก็แหละ ​ ปุฬุวกอสุภนั้น ​ ย่อมดำรงสภาพอยู่เหมือนกองข้าวสุกแห่งข้างสาลี ​ มีขนาดเท่าร่างของสุนัข, ​ มนุษย์, ​ โค, ​ กระบือ, ​ ช้าง, ​ ม้า, ​ หรืองูเหลือมเป็นต้นนั่นเทียว ​ ในบรรดาร่างของสุนัขเป็นต้นเหล่านั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงยังมนสิการให้เป็นไปในร่างของสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภมีหนอนเกลื่อนกลาดน่าเกลียด ​ อสุภมีหนอนเกลื่อนกลาดน่าเกลียด ​ ดังนี้ ​ เป็นความจริงนิมิตในศพช้างซึ่งอยู่ในบึงกาฬทีฆะ ​ ก็ได้ปรากฏแก่พระจูฬปิณฑปาติกติสสเถระ ​ ก็แหละในกัมมัฏฐานบทนี้ ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นเสมือนเคลื่อนไหวอยู่ ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมปรากฏเป็นอาการหยุดนิ่ง ​ เสมือนกองข้าวสุกแห่งข้วสาลี 
- 
-'''​10. ​ วิธีเจริญอัฏฐิกอสุภกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-อัฏฐิกอสุภ ​ คืออสุภที่เป็นกระดูก ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยประการต่าง ๆ  โดยนัยมีอาทิว่า ​ ภิกษุนั้น ​ พึงเห็นร่างที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ​ เป็นร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือด ​ มีเอ็นยึดอยู่ ​ ดังนี้ ​ ร่างกระดูกนั้นเขาทิ้งไว้ ​ ณ  ที่ตรงไหน ​ อันโยคีบุคคลพึงไป ​ ณ  ที่ตรงนั้นโดยนัยที่กล่าวมาแล้วในอุทธุมาตกอสุภนั่นแล ​ ครั้นแล้วพึงทำให้เป็นเครื่องหมายร่วมกัน ​ ทำให้เป็นอารมณ์ร่วมกัน ​ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุทั้งหลายมีก้อนหินโดยรอบเป็นต้น ​ พึงกำหนดโดยความเป็นสภาวะว่า ​ ร่างนี้เป็นกระดูก ​ แล้วพึงถือเอาซึ่งนิมิตโดยอาการ 11  อย่าง ​ ด้วยอำนาจสีเป็นต้นต่อไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 321)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กำหนดนิมิตโดยอาการ ​ 11  อย่าง'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลดูกระดูก ​ โดยสี ​ กระดูกนั้นก็จะไม่ปรากฏโดยเป็นสภาวะ ย่อมจะปนกับโอทาตกสิณคือกสิณสีขาวไปเสีย ​ เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลพึงดูกระดูกโดยความเป็นของปฏิกูลเท่านั้น ​ 
- 
-คำว่า ​ โดยเพศ ​ ณ  ที่นี้เป็นชื่อของอวัยวะมีมือเป็นต้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ โดยเพศ ​ โยคีบุคคลพึงกำหนดด้วยสามารถแห่งมือ, ​ เท้า, ​ ศรีษะ, ​ หน้าอก, ​ แขน, ​ สะเอว, ​ ขา ​ และแข้งเป็นต้น  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ โดยสัณฐาน ​ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่งความยาว, ​ ความสั้น, ​ ความกลม, ​ สี่เหลี่ยม, ​ ความเล็ก ​ และความใหญ่ 
- 
-ทิศ ​ และ ​ โอกาสมีนัยดังที่พรรณนามาแล้วนั่นแล 
- 
-โดยปริจเฉท ​ โยคีบุคคลพึงกำหนดด้วยสามารถแห่งที่สุดของกระดูกท่อนนั้น ๆ  ในบรรดากระดูกเหล่านั้น ​ ท่อนใดแลย่อมปรากฏเป็นอาการชัดแจ้ง ​ พึงถือเอากระดูกท่อนนั้นจนบรรลุถึงซึ่งอัปปนาฌาน 
- 
-อนึ่ง ​ โดยที่เว้า ​  ​และ ​ โดยที่นูน ​  ​โยคีบุคคลพึงกำหนดตามที่มันเว้าและที่มันนูนของกระดูกท่อนนั้น ๆ  แม้จะพึงกำหนดด้วยอำนาจแห่งสถานที่ว่า ​ เราอยู่ที่ลุ่ม ​ กระดูกอยู่ที่ดอน ​ เราอยู่ที่ดอน ​ กระดูกอยู่ที่ลุ่ม ​ ดังนี้ก็ได้ 
- 
-อนึ่ง ​ โดยที่ต่อ ​ โยคีบุคคลพึงกำหนดด้วยอำนาจแห่งที่ ๆ  กระดูก 2  ท่อนต่อกัน 
- 
-โดยช่อง ​ โยคีบุคคลพึงกำหนด ​ ด้วยอำนาจแห่งช่องอันเป็นระหว่างของกระดูกทั้งหลายนั่นแล 
- 
-อนึ่ง ​ โดยรอบ ๆ  อันโยคีบุคคลพึงส่องญาณไปในร่างกระดูกทั้งหมดนั่นแล ​ แล้วกำหนดว่ากระดูกนี้อยู่ ​ ณ  ที่ตรงนี้ 
- 
-แม้ถึงจะได้กำหนดด้วยประการอย่างนี้แล้ว ​ นิมิตก็มิได้ปรากฏ ​ โยคีบุคคลพึงวางจิตไว้ตรงที่กระดูกหน้าผากนั่นเถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 322)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แหละการถือเอานิมิตโดยอาการ ​ 11  อย่างในอัฏฐิกอสุภนี้ ​ ฉันใด ​ แม้ในอสุภอื่น ๆ  ข้างต้นแต่นี้ ​ มีปุฬุวกอสุภเป็นอาทิ ​ อันโยคีบุคคลพึงกำหนดด้วยสามารถความเหมาะสมฉันนั้น ​ อนึ่ง ​ กัมมัฏฐานบทนี้ ​ ย่อมสำเร็จทั้งในโครงกระดูกทั้งสิ้น ​ ทั้งในกระดูกท่อนเดียว ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงถือเอาซึ่งนิมิตโดยอาการ ​ 11  อย่าง ​ ในโครงกระดูกและกระดูกท่อนเดียวนั้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ​ พึงยังมนสิการให้เป็นไป ​ ด้วยบริกรรมว่า ​ อสุภเป็นกระดูกน่าเกลียด ​ อสุภเป็นกระดูกน่าเกลียด ​ ดังนี้  ​ 
- 
-'''​ความต่างกันแห่งนิมิตทั้ง 2'''​ 
- 
-ในอัฏฐิกอสุภกัมมัฏฐานนี้ ​ ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ​ ทั้งอุคคหนิมิต ​ ทั้งปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันนั่นเทียว ​ คำของท่านอรรถกถาจารย์นั้นถูกสำหรับในกระดูกท่อนเดียว ​ ส่วนสำหรับในโครงกระดูก ​ เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏนั้น ​ ปรากฏเป็นช่อง ​ เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ ​ ปรากฏเป็นโครงกระดูกบริบูรณ์ ​ จึงจะถูก ​ อนึ่ง ​ แม้สำหรับในกระดูกท่อนเดียว ​ อุคคหนิมิตพึงเป็นสิ่งที่น่าหวาดเสียว ​ น่าสะพรึงกลัว ​ ปฏิภาคนิมิตพึงเป็นสิ่งที่ให้เกิดปีติและโสมนัส ​ เพราะเหตุที่นำมาซึ่งอุปจารสมาธิ 
- 
-ก็ในโอกาสนี้ ​ คำใดที่ท่านพรรณนาไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย ​ คำนั้นท่านก็พรรณนาให้ช่องไว้แล้วนั่นเทียว ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ ในอรรถกถานั้น ​ แม้ว่าท่านอรรถกถาจารย์ ​ จะได้พรรณนาไว้แล้วว่า ​ ในพรมวิหาร 4  และอสุภ 10  ปฏิภาคนิมิตหามีไม่ ​ เพราะในพรหมวิหาร 4  สีมาสัมเภท ​ (ความทำลายเขตแดน) ​ นั่นแหละเป็นนิมิต ​ และในอสุภ 10  ย่อมสำเร็จเป็นนิมิตในขณะเมื่อโยคีบุคคลเห็นเป็นสิ่งปฏิกูลอย่างทำไม่ให้มีข้อแม้นั่นเทียว ​ ดังนี้ แล้วยังพรรณนาต่อไปอย่างไม่มีขีดขั้นเป็นต้นว่า ​ นิมิตในอัฏฐิกอสุภนี้ ​ มี 2  อย่าง ​ คือ ​ อุคคหนิมิต 1  ปฏิภาคนิมิต 1  อุคคหนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่ผิดรูปผิดร่าง ​ น่าหวาดเสียว ​ น่าสะพรึงกลัว ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าววิจารณ์ไว้แล้ว ​  ​คำนั้นนั่นแหละเป็นอันถูกต้องแล้ว ​ ในอธิการแห่งอัฏฐิกอสุภนี้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ เรื่องต่าง ๆ เช่น ​ เรื่องร่างกายของสตรีหมดทั้งตัวปรากฏเป็นร่างกระดูกแก่พระมหาติสสเถระ ​ เพราะเหตุที่ได้เห็นเพียงกระดูกฟัน ​ นับเป็นนิทัศนะอุทาหรณ์ ​ ได้ในอัฏฐิกอสุภกัมมัฏฐานนี้ด้วย ​ ฉะนี้แล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 323)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สมเด็จพระทศพลผู้ทรงมีพระคุณอันโสภา ​ ทรงมีพระเกียรติศัพท์อันจอมแห่งเทวดาผู้มีพระเนตรตั้งพันดวงสรรเสริญแล้ว ​ ได้ทรงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน ​ อันเป็นเหตุให้สำเร็จฌานแต่ละประการ ๆ  เหล่าใดไว้ ​ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ ​ อันนักศึกษา ครั้นได้ทราบอสุภกัมมัฏฐานเหล่านั้น ​ และนัยแห่งภาวนาวิธีของอสุภกัมมัฏฐานเหล่านั้น ​ อย่างที่พรรณนามานั้นแล้ว ​ พึงทราบถึงซึ่งปกิณณกกถาในอสุภกัมมัฏฐานเหล่านั้นนั่นแหละให้ยิ่งขึ้นไปดังต่อไปนี้ 
- 
-=ปกิณณกกถา= 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลผู้ได้สำเร็จฌานในอสุภกัมมัฏฐาน ​ 10  ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ​ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความประพฤติโลเลเป็นดุจดังว่าปราศจากราคะแล้ว ​ เพราะราคะถูกข่มไว้อย่างดี ​ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ ประเภทแห่งอสุภนี้ใดที่ท่านแสดงไว้แล้ว ​ ประเภทแห่งอสุภนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ท่านแสดงไว้ด้วยอำนาจความเป็นไปแห่งสภาพของร่างศพอย่างหนึ่ง ​ ด้วยอำนาจประเภทของราคจริตอย่างหนึ่ง 
- 
-'''​อสุภ 10  ตามสภาพของร่างศพ'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ ร่างศพเมื่อถึงความเป็นปฏิกูล ​ ก็จะพึงเป็นภาวะเป็นสภาพอุทธุมาตกอสุภหรือถึงสภาพเป็นวินีลกอสุภเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ โยคีบุคคลสามารถที่จะได้อสุภชนิดใด ๆ  ก็พึงถือเอาอสุภชนิดนั้น ๆ  ด้วยบริกรรมอย่างนี้ว่า ​ อสุภขึ้นพองน่าเกลียด ​ อสุภสีเขียวคละด้วยสีต่าง ๆ  น่าเกลียด ​ เป็นต้น ​ ฉะนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ประเภทอสุภท่านแสดงไว้แล้วโดยอาการ ​ 10  อย่าง ​ ด้วยอำนาจความเป็นไปแห่งสภาพของร่างศพ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อสุภ ​ 10  ตามประเภทของราคจริต'''​ 
- 
-เมื่อว่าโดยความแปลกกันในอสุภนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ท่านแสดงประเภทอสุภไว้โดยอาการ ​ 10  อย่าง ​ แม้ด้วยอำนาจความต่างกันแห่งราคจริตโดยประการดังนี้ ​ คือ – 
- 
-1.  อุทธุมาตกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในสัณฐาน ​ เพราะมันประกาศถึงความวิบัติของสัณฐานแห่งร่างกาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 324)''</​fs></​sub>​ 
- 
-2.  วินีลกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในสีของร่างกาย ​ เพราะมันประกาศถึงความวิบัติของผิว 
- 
-3.  วิปุพพกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในกลิ่นกายที่เขาปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจกลิ่นดอกไม้เป็นต้น ​ เพราะมันประกาศถึงภาวะที่เป็นของเหม็นซึ่งติดเนื่องอยู่ในกาย 
- 
-4.  วิจฉิททกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในความเป็นเนื้อทึบในร่างกาย ​ เพราะมันประกาศถึงความเป็นโพลงข้างใน 
- 
-5.  วิกขายิตกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในเนื้อนูนขึ้นในตำแหน่งแห่งร่างกายเช่นถันเป็นต้น ​ เพราะมันประกาศถึงความพินาศแห่งสมบัติคือเนื้อนูน 
- 
-6.  วิกขิตตกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในลีลาขององค์อวัยวะ ​ เพราะมันประกาศถึงความกระจัดกระจายขององค์อวัยวะทั้งหลาย 
- 
-7.  หตวิขิตตกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มีความกำหนัดในเรือนร่างของกาย ​ เพราะมันประกาศถึงความทำลายและความวิการของเรือนร่างของกาย 
- 
-8.  โลหิตกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มักมีความกำหนัดในความงามที่เกิดขึ้นด้วยเครื่องประดับ ​ เพราะมันประกาศถึงภาวะที่เป็นสิ่งปฏิกูลเพราะเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต 
- 
-9.  ปุฬุวกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มีความกำหนัดอันเกิดขึ้นในกายโดยหมายว่าเป็นกายของเรา ​ เพราะมันประกาศถึงภาวะของกายเป็นสาธารณะแก่ตระกูลหนอนเป็นอันมาก 
- 
-10.  อัฏฐิกอสุภ ​ เป็นสัปปายะสำหรับโยคีบุคคลผู้มีความกำหนัดในสมบัติคือฟัน ​ เพราะมันประกาศถึงภาวะของกระดูกแห่งร่างกายทั้งหลายเป็นสิ่งปฏิกูล 
- 
-'''​อสุภ ​ 10  ให้สำเร็จเพียงปฐมฌาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะเหตุที่ในอสุภแม้ทั้ง 10  อย่างนี้ ​ จิตเป็นสภาพมีอารมณ์เดียว ​ ตั้งอยู่ได้ด้วยกำลังแห่งวิตกเท่านั้น ​ เว้นวิตกเสียไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ ​ เพราะอารมณ์มีกำลัง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 325)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อ่อน ​ เปรียบเหมือนเรือในแม่น้ำที่น้ำไม่หยุดนิ่ง ​ ทั้งมีกระแสไหลเชี่ยว ​ จะหยุดอยู่ได้ด้วยกำลังแห่งถ่อเท่านั้น ​ เว้นจากถ่อเสียก็ไม่สามารถจะหยุดอยู่ได้ ​ ฉะนั้น ​ ในอสุภ ​ 10  ประการนี้ ​ จึงสำเร็จเพียงปฐมฌานเท่านั้น ​ ฌานชั้นสูงมีทุติฌานเป็นต้นหาสำเร็จไม่ 
- 
-อนึ่ง ​ ในอารมณ์อสุภกัมมัฏฐานนี้ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งปฏิกูล ​ ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นได้ ​ เพราะโยคีบุคคลได้เห็นอานิสงส์ว่า ​ เราจักหลุดพ้นจากชราทุกข์และมรณะทุกข์ ​ ด้วยข้อปฏิบัติอันนี้อย่างแน่นอน ​ อย่างนี้อีกประการหนึ่ง ​ กับอีกประการหนึ่ง ​ เพราะละเสียได้ซึ่งความเร่าร้อนเพราะนิวรณ์ ​ เปรียบเหมือนแม้ที่กองคูถ ​ ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นแก่คนเทหยากเยื่อ ​ ผู้เห็นอานิสงส์ว่า ​ เราจักได้บำเหน็จเป็นจำนวนมาก ​ ณ  บัดนี้ ​ และเปรียบเหมือนในการอาเจียรออกและการถ่ายออก ​ ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นได้แก่คนเป็นโรคพยาธิทุกข์อย่างหนัก ​ ฉะนั้น 
- 
-'''​ร่างคนเป็นก็เป็นอสุภกัมมัฏฐานได้'''​ 
- 
-แหละอสุภแม้ทั้ง 10  อย่างนี้ ​ เมื่อว่าโดยลักษณะก็เป็นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ​ จริงอยู่ ​ ความเป็นสิ่งปฏิกูลคือไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดนั่นแล ​ เป็นลักษณะของอสุภทั้ง 10  อย่างนั้น ​ โดยลักษณะนี้ ​ อสุภนี้นั้นไม่ใช่จะปรากฏได้แต่ในร่างกายของคนตายอย่างเดียว ​ แม้ในร่างของคนเป็นก็ปรากฏได้ ​ เหมือนอย่างที่ปรากฏแก่พระมหาติสสเถระสำนักวัดเจติยบรรพตซึ่งได้เห็นกระดูกฟัน ​ และเหมือนอย่างที่ปรากฏแก่สามเณรอุปัฏฐากของพระสังฆรักขิตเถระ ​ ซึ่งได้แลดูพระราชากำลังประทับอยู่บนคอช้างพระที่นั่ง ​ เพราะว่า ​ ร่างคนตายเป็นอสุภกัมมัฏฐานได้ฉันใด ​ แม้ร่างคนเป็นก็เป็นอสุภกัมมัฏฐานได้ ​ ฉันนั้นเหมือนกัน 
- 
-'''​ร่างคนเป็นถูกปิดบังด้วยเครื่องอลังการ'''​ 
- 
-ก็แต่ว่า ​ ในร่างคนเป็นนี้ลักษณะของอสุภไม่ปรากฏชัดได้ ​ เพราะถูกเครื่องอลังการอันประกอบเข้าใหม่ปิดบังไว้ ​ แต่เมื่อว่าโดยปกติแล้ว ​ สรีระร่างอันนี้ ​ มีกระดูก 300  ท่อนเศษ ๆ  เป็นโครงร่าง ​ เชื่อมด้วยข้อต่อ ​ 180  แห่ง ​ มีเอ็น 900  เส้นผูกยึดไว้ ​ ฉาบด้วยชิ้นเนื้อ ​ 900  ชิ้น ​ ห่อหุ้มไว้ด้วยหนังสด ​ ไล้ไว้ด้วยหนังผิว ​ มีช่องน้อยช่องใหญ่ปรุไปไหลซึมขึ้นข้างบนและไหลซึมลงข้างล่างตลอดกาลเป็นนิจ ​ เหมือนภาชนะซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมันข้น ​ อันหมู่หนอนอาศัยอยู่แล้วเป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย ​ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย ​ เป็นที่ไหลออกแห่งอสุจิทั้งหลายอย่างไม่ขาดสาย ​ โดยทางปากแผลทั้ง 9  แห่ง ​ เหมือนผีหัวขาด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 326)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นราชาหรือคนจัณฑาลก็เหมือนกัน 
- 
-สรีระร่างอันใด ​ มีขี้ตาไหลออกจากตาทั้งสอง ​ มีขี้หูไหลออกจากหูทั้งสอง ​ มีน้ำมูกไหลออกจากรูจมูกทั้งสอง ​ มีอาหาร, ​ ดี, ​ เสมหะหรือโลหิตไหลออกจากปาก ​ มีอุจาระและปัสสาวะไหลออกจากทวารเบื้องล่างทั้งสอง ​ มีน้ำเหงื่ออันสกปรกไหลออกจากขุมขน ​ 99,​000 ​ ขุม ​ มีแมลงวันหัวเขียวเป็นต้นไต่ตอมอยู่ ​ บุคคลไม่ปรนนิบัติสรีระร่างอันใด ​ ด้วยสรีรกิจ มีการสีฟัน, ​ บ้วนปาก, ​ สระผม, ​ อาบน้ำ, ​ นุ่งผ้าและห่มผ้าเป็นต้น ​ ปล่อยไปตามกำเนิด ​ มีผมพะรุงพะรังยุ่งเหยิง ​ ท่องเที่ยวจากบ้านหลังไปยังบ้านหน้า ​ แม้จะเป็นราชาก็ตาม ​ จะเป็นคนเทหยากเยื่อหรือคนจัณฑาลเป็นต้นชั้นใดชั้นหนึ่งก็ตาม ​ จะไม่มีสิ่งผิดแผกกันเลย ​ เพราะเป็นสรีระร่างที่ปฏิกูลเสมอกัน ​ ชื่อว่า ​ ความเป็นต่างกันในสรีระร่างของราชาก็ดี ​ ของคนจัณฑาลก็ดี ​ หามีไม่ ​ เพราะเป็นสิ่งปฏิกูลคือไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียด ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ก็แหละ ​ ในสรีระร่างอันนี้ ​ เมื่อคนเราพากันขัดสีมลทินทั้งหลายมีมลทินฟันเป็นต้น ​ ด้วยไม้สีฟันและน้ำบ้วนปากเป็นต้น ​ แล้วปกปิดอวัยวะส่วนที่ยังความละอายให้หายไปด้วยผ้านานาชนิด ​ ไล้ทาด้วยเครื่องลูบไล้อันหอมหวลนานาพรรณ ​ ประดับด้วยอาภรณ์ต่าง ๆ  มีอาภรณ์ดอกไม้เป็นต้น ​ ย่อมกระทำให้ถึงซึ่งอาการควรที่จะพึงถือเอาได้ ​ ว่าเรา ​ ว่าของเราได้ 
- 
-แต่นั้น ​ เพราะเหตุที่สรีระร่างถูกเครื่องอลังการอันประกอบเข้าใหม่นี้ ​ ปิดบังไว้คนเราจึงไม่รู้สรีระร่างนั้นของเขาอันมีลักษณะไม่งามตามความเป็นจริง ​ พวกบุรุษจึงหลงยินดีในพวกสตรี ​ และพวกสตรีก็หลงยินดีในพวกบุรุษ 
- 
-แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ​ ในสรีระอันนี้ขึ้นชื่อว่าที่ ๆ  ควรแก่การที่จะพึงยินดี ​ แม้เพียงเท่าอณูหนึ่งก็มิได้มี ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ ในบรรดาชิ้นส่วนทั้งหลายเช่นผม, ​ ขน, ​ เล็บ, ​ ฟัน, ​ น้ำลาย, ​ น้ำมูก, ​ อุจาระ ​ และปัสสาวะ ​ แม้ชิ้นส่วนอันหนึ่งที่ตกออกไปข้างนอกจากสรีระร่างแล้ว ​ คนทั้งหลายก็ไม่ปรารถนาเพื่อจะถูกต้องแม้ด้วยมือ ​ ย่อมสะอิดสะเอียน ​ ย่อมขยะแขยง ​ ย่อมเกลียด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 327)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เหมือนสุนัขจิ้งจอกเห็นดอกทองกวาว 
- 
-ส่วนชิ้นส่วนใด ๆ  ที่ยังเหลืออยู่ในสรีระร่างอันนี้ ​ แม้ว่าชิ้นส่วนนั้น ๆ จะเป็นสิ่งปฏิกูลดังกล่าวมา ​ คนเราก็ยังพากันยึดถือเอาว่า ​ เป็นสิ่งน่าปรารถนา ​ น่าใคร่ ​ เป็นของเที่ยง ​ เป็นสุข ​ เป็นตัวตน ​ ทั้งนี้เพราะถูกความมืดคืออวิชาห่อหุ้มไว้ ​ เพราะถูกย้อมด้วยเครื่องย้อม ​ คือความเห็นแก่ตัว ​ เมื่อสัตว์เหล่านั้นยึดถือด้วยอาการอย่างนี้ ​ จึงถึงซึ่งความเป็นผู้เสมอด้วยสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวที่เห็นต้นทองกวาวในดง ​ ซึ่งมีดอกยังไม่หล่นจากต้น ​ แล้วสำคัญเห็นไปว่านี้เป็นชิ้นเนื้อ ​ ฉะนี้ 
- 
-เพราะเหตุนี้ – 
- 
-โยคีบุคคลผู้ฉลาด ​ อย่าได้ถือเอาแต่เพียงชิ้นส่วนที่ตกไปแล้วจากร่างเท่านั้นว่า ​ เป็นของไม่งาม ​ เหมือนสุนัขจิ้งจอกเห็นต้นทองกวาวในป่าออกดอกแล้วรีบวิ่งไป ​ ด้วยสำคัญผิดไปว่า ​ ตนได้ต้นไม้เนื้อ ​ เกิดตะกละสวาปามคาบเอาดอกทองกวาวที่หล่นลง ๆ  แม้รู้แล้วว่านี้มิใช่เนื้อ ​ ก็ยังยึดถืออยู่ว่าดอกบนต้นโน้นเป็นเนื้อ ​ พึงถือเอาแม้ชิ้นส่วนที่อยู่ในสรีระร่างนั้นว่าเป็นของไม่งามเหมือนกัน 
- 
-เพราะพวกคนเขลายึดถือเอากายอันนี้โดยเป็นของงามแล้วลุ่มหลงอยู่ในกายนั้น ​ งมทำบาปอยู่ ​ ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลผู้มีปัญญา ​ พึงเห็นสภาพของกายอันเน่าเปื่อย ​ ที่เป็นอยู่ก็ดี ​ ที่ตายแล้วก็ดี ​ ว่าเป็นสิ่งที่พ้นจากความงามเสมอกัน 
- 
-'''​สมดังคำโบราณาจารย์ ​ ดังนี้ –'''​ 
- 
-กายอันมีกลิ่นเหม็น ​ ไม่สะอาด ​ เป็นซากศพ ​ เสมอเหมือนหลุมคูถ ​ เป็นกายอันหมู่บัณฑิตผู้มีดวงตาครหากันแล้ว ​ แต่เป็นสิ่งอันพาลชนชมชอบยิ่งนัก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 328)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กายอันใด ​ ซึ่งห่อหุ้มไว้ด้วยหนังสด ​ มีแผลขนาดใหญ่ ​ คือช่องทวาร 9  แห่ง ​ สิ่งโสโครก ​ กลิ่นเหม็นบูด ​ ไหลออกอยู่รอบด้าน ​ ถ้าจะพึงพลิกเอาภายในของกายอันนี้ออกมาไว้ข้างนอก ​ คนเราจะพึงถือไม้ไว้คอยไล่ฝูงกาและหมู่สุนัขอย่างแน่นอน 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​ จะเป็นสรีระร่างของคนเป็น ​ หรือจะเป็นสรีระร่างของคนตายก็ช่างเถิด ​ อาการอันไม่งามย่อมปรากฏขึ้นได้ในชิ้นส่วนแห่งสรีระร่างใด ๆ  อันภิกษุผู้มีชาติเป็นภัพพบุคคล ​ พึงถือเอาอุคคหนิมิตตรงที่ชิ้นส่วนแห่งสรีระร่างนั้น ๆ นั่นแล ​ เจริญกัมมัฏฐานไปจนให้บรรลุถึงซึ่งอัปปนาฌานนั่นเทอญ 
- 
-'''​อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 6'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ​ ในปกรณวิเสสชื่อวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นไว้ ​ '''​ 
- 
-'''​เพื่อให้เกิดความปีติปราโมทย์แก่สาธุชนทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-=ดูเพิ่ม= 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​