วิสุทธิมรรค_04_ปถวีกสิณนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_04_ปถวีกสิณนิทเทส [2020/09/08 11:56]
dhamma [ส่วน 1 องค์ฌาน 3 (วิตกและวิจารสงบไปแล้ว เป็นต้น)]
วิสุทธิมรรค_04_ปถวีกสิณนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head|}} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-= วิธีเลือกวัดให้ภาวนาสะดวก = 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายโดยพิสดารในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า ​ พึงออกจากวัดอันไม่สมควรแก่การภาวนาสมาธิ ​ ไปอยู่ ​ ณ  ที่วัดอันสมควร ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-อันโยคีบุคคลนั้นพึงอยู่เจริญกัมมัฏฐานให้บริสุทธิ์ ​ ณ  ที่วัดเดียวกันกับพระอาจารย์นั่นแหละ ​ ตราบเท่าที่ตนมีความผาสุกสบาย ​ แต่ถ้าไม่มีความผาสุกสบาย ​ ณ  ที่วัดนั้น ​ ก็พึงไปอยู่ ​ ณ  ที่วัดอื่นอันเป็นที่สบาย ​ ในระยะทางห่างจากวัดพระอาจารย์ประมาณร้อยเส้นหรือสองร้อยเส้นหรือประมาณสี่ร้อยเส้นก็ได้ ​ ก็แหละ ​ ครั้นอยู่ห่างในระยะทางเท่านั้น ​ เมื่อเกิดความสนเท่ห์สงสัยหรือเกิดความหลงลืม ​ ในหัวข้อกัมมัฏฐานบางประการ ​ จักได้ตื่นลุกขึ้นทำกิจวัตรในวัดให้เสร็จแต่เช้า ​ แล้วออกจากวัดเที่ยวบิณฑบาตไปในระหว่างทาง ​ พอเวลาฉันเสร็จแล้ว ​ ก็ให้ถึงที่อยู่ของพระอาจารย์พอดี ​ สอบถามชำระกัมมัฏฐานให้บริสุทธิ์สิ้นสงสัยในสำนักของพระอาจารย์เสียแต่ในวันนั้น ​ พอวันที่สองก็นมัสการกราบลาพระอาจารย์ ​ แล้วก็ออกเดินทางกลับแต่เช้า ​ เที่ยวรับบิณฑบาตไปในระหว่างทาง ​ ยังไม่ทันจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอะไร ​ ก็จักมาถึงที่อยู่ของตนพอดี 
- 
-ส่วนโยคีบุคคลผู้ไม่ได้ที่อยู่อันผาสุกสบาย ​ แม้ในระยะทางประมาณสี่ร้อยเส้นนั้น ​ จงตัดข้อขอดที่เข้าใจได้ยากในกัมมัฏฐานให้กระจ่างแจ้งทุกประการ ​ ชำระกัมมัฏฐานให้บริสุทธิ์ด้วยดีขึ้นอยู่กับใจได้แล้ว ​ จะพรากออกจากวัดอันไม่สมควรแก่การภาวนาสมาธิ ​ ไปอยู่ ​ ณ  ที่วัดอันสมควร ​ แม้ไกล ๆ  กว่านั้นก็ได้ 
- 
-==วัดที่ภาวนาไม่สะดวก 18== 
- 
-ในวัดที่สมควรและไม่สมควรนั้น ​ วัดที่ประกอบด้วยโทษ ​ 18  ประการ ​ อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ชื่อว่า ​ วัดไม่สมควร ​ โทษ ​ 18  ประการ ​ ในวัดนั้นดังนี้ ​ คือ – 
- 
-(หน้าที่ 196) 
- 
-1    .    มหตฺตํ ​   วัดใหญ่ 
- 
-2    .    นวตฺตํ ​   วัดสร้างใหม่ 
- 
-3    .    ชิณฺณตฺตํ ​   วัดที่ชำรุด 
- 
-4    .    ปนฺถนิสฺสิตตฺตํ ​   วัดที่อิงทางหลวง 
- 
-5    .    โสณฺฑี ​   วัดมีสระน้ำ 
- 
-6    .    ปณฺณํ ​   วัดมีใบไม้ใช้เป็นผัก 
- 
-7    .    ปุปฺผํ ​   วัดมีไม้ดอก 
- 
-8    .    ผลํ ​   วัดมีไม้ผล 
- 
-9    .    ปตฺถนียตา ​   วัดที่มีคนขึ้นมาก ​ 
- 
-10    .    นครสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงเมือง 
- 
-11    .    ทารุสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงป่าไม้ 
- 
-12    .    เขตฺตสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงไร่นา 
- 
-13    .    วิสภาคานํ ​ ปุคฺคลานํ ​ อตฺถิตา ​   วัดที่มีคนไม่ลงรอยกัน 
- 
-14    .    ปฏฺฏสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงท่า 
- 
-15    .    ปจฺจนฺตสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงบ้านป่าชายแดน 
- 
-16    .    รชฺชสีมสนฺนิสฺสิตตา ​   วัดที่อิงเขตแดนประเทศ 
- 
-17    .    อสปฺปายตา ​   วัดที่ไม่มีความสบาย และ 
- 
-18    .    กลฺยาณมิตฺตานํ ​ อลาโภ ​   วัดที่หาอาจารย์ผู้กัลยาณมิตรไม่ได้ 
- 
-วัดที่ประกอบด้วยโทษ ​ 18  ประการ ​ อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้แล ​ ชื่อว่า ​ วัดที่ไม่สมควรแก่สมาธิภาวนา ​ โยคีบุคคลไม่ควรไปอยู่ ​ ณ  วัดเช่นนั้น ​ 
- 
-'''​อธิบายด้วยวัดที่ประกอบด้วยโทษ ​ 18  ประการ'''​ 
- 
-ถาม – เพราะเหตุไรหรือจึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดอันประกอบด้วยโทษ ​ 18  ประการนั้น 
- 
-ตอบ – เพราะเหตุดังต่อไปนี้ – 
- 
-(หน้าที่ 197) 
- 
-'''​1. ​ วัดใหญ่'''​ 
- 
-ในวัดใหญ่ ๆ ย่อมมีภิกษุและสามเณรที่ต่างจิตต่างใจกันมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก ​ ภิกษุสามเณรเหล่านั้น ​ ย่อมจะไม่ช่วยกันทำกิจวัตร ​ เพราะต่างก็เกี่ยงซึ่งกันและกัน ​ สถานที่ทั้งหลาย ​ เช่น ​ ลานพระศรีมหาโพธิ์เป็นต้น ​ ก็ไม่ช่วยกันปัดกวาดให้สะอาดเกลี้ยงเกลา น้ำฉันน้ำใช้ก็ไม่ช่วยกันตัก ​ โยคีบุคคลนี้อยู่ ​ ณ  วัดเช่นนี้แล้ว ​ ครั้นตระเตรียมว่าจักไปบิณฑบาตในโคจรคาม ​ ถือบาตรและจีวรเดินออกไป ​ ถ้าเห็นกิจวัตรยังไม่มีใครทำ ​ หรือหม้อน้ำดื่มยังเปล่า ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ เธอก็จะต้องหยุดทำกิจวัตร ​ ตักน้ำดื่มมาเตรียมไว้ ​ เมื่อไม่ทำหรือก็จะต้องอาบัติทุกกฏในเพราะเหตุวัตรเภท ​ คือทำลายกิจวัตร ​ เมื่อเธอมัวทำกิจวัตรอยู่เล่าเวลากาลก็จะล่วงเลยสายไป ​ ครั้นเธอเข้าไปในโคจรคามสายมาก ​ ภิกษาหารหมดเสียแล้ว ​ ก็จะไม่ได้ภิกษาหารอะไรแม้แต่น้อย ​ อนึ่ง ​ ถึงโยคีบุคคลจะได้หลบไปอยู่ ​ ณ  ที่อันเร้นลับแล้วก็ตาม ​ ก็จะฟุ้งซ่านด้วยเสียงเจี๊ยวจ้าวของพวกภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย ​ และด้วยการงานต่าง ๆ  ของสงฆ์ 
- 
-แต่วัดใหญ่ใดมีภิกษุสามเณรช่วยกันทำกิจวัตรเรียบร้อยหมดทุกอย่าง ​ และไม่มีความกระทบกระเทือนแม้อย่างอื่น ๆ  แต่ประการใด ​ ก็ควรอยู่ ​ ณ  วัดใหญ่แม้เห็นปานนั้นได้ 
- 
-'''​2. ​ วัดสร้างใหม่'''​ 
- 
-ในวัดที่สร้างใหม่นั้น ​ ย่อมจะมีนวกรรมคือการก่อสร้างมากอย่างหลายประการ ​ เมื่อโยคีบุคคลไม่ช่วยทำ ​ เขาก็จะติเตียนเอา ​ แต่ในวัดใดภิกษุทั้งหลายพูดให้โอกาสว่า ​ "​นิมนต์ ​ คุณทำสมณธรรมตามสบายเถิด ​ นวกรรมการก่อสร้างพวกเราจักช่วยกันกระทำเอง" ​ ดังนี้ ​ ก็ควรอยู่ ​ ณ  ทีวัดซึ่งสร้างใหม่เห็นปานนี้ได้ 
- 
-'''​3. ​ วัดที่ชำรุด'''​ 
- 
-แหละ ​ ในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมนั้น ​ ย่อมจะต้องมีสิ่งที่จะพึงปฏิสังขรณ์ซ่อมแปลงมาก ​ ชั้นที่สุดแม้มาตรว่าเสนาสนะของตนเอง ​ เมื่อไม่ปฏิสังขรณ์ซ่อมแปลง ​ เขาก็จะพากันติเตียนเอา ​ เมื่อมัวแต่ปฏิสังขรณ์ซ่อมแปลงอยู่ ​ กัมมัฏฐานก็จะเสื่อมไป ​ แต่ในวัดใดที่มีภิกษุทั้งหลายพูดให้โอกาสว่า ​ "​นิมนต์คุณจงทำสมณธรรมตามสบายเถิด ​ พวกเราจักช่วยกันปฏิสังขรณ์ซ่อมแปลงเอง" ​ ดังนี้ ​ ก็ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดซึ่งชำรุดเห็นปานนี้ได้ 
- 
-(หน้าที่ 198) 
- 
-'''​4. ​ วัดที่อิงทางหลวง'''​ 
- 
-ในวัดที่อิงทางหลวงนั้น ​ ย่อมจะมีพวกภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายมารวมทั้งกลางคืนและกลางวัน ​ โยคีบุคคลจะต้องให้เสนาสนะของตนแก่พวกอาคันตุกะที่มาถึงในเวลาวิกาลค่ำมืด ​ แล้วตนเองจะต้องไปอยู่ที่โคนไม้ ​ หรือพลาญหิน ​ แม้ในวันรุ่งขึ้นก็จะเป็นเช่นนี้นั่นเทียวดังนั้นโอกาสย่อมจะไม่มีเพื่อกัมมัฏฐาน ​ แต่ในวัดใดไม่มีการเบียดเบียนของพวกอาคันตุกะในทำนองนี้ ​ โยคีบุคคลก็ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดซึ่งอิงทางหลวงเช่นนั้นได้ 
- 
-'''​5. ​ วัดมีสระน้ำ'''​ 
- 
-วัดมีสระน้ำนั้น ​ ได้แก่วัดที่มีสระน้ำที่กรุด้วยหินถาวรมั่นคงเป็นหลักฐาน ​ ในวัดเช่นนั้น ​ ย่อมจะมีมหาชนพากันมาชุมนุมกันเพื่อต้องการน้ำ ​ และพวกศิษย์ของพระเถระทั้งหลายผู้อาศัยราชตระกูลซึ่งอยู่ในเมือง ​ ก็จะพากันมาซักย้อมผ้า ​ เมื่อพวกลูกศิษย์เหล่านั้นมาถามหาภาชนะและฟืนหรือรางย้อมผ้าเป็นต้น ​ โยคีบุคคลก็ต้องสาละวนคอยชี้บอกว่า ​ อยู่ที่โน้น ​ และ ​ ที่โน้นแน่ ​  ​เธอก็จะเป็นผู้กังวลเป็นนิจแม้ตลอดกาลทั้งปวง ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น)  ​ 
- 
-'''​6. ​ วัดที่มีใบไม้ใช้เป็นผัก'''​ 
- 
-ในวัดใดมีใบไม้ที่ใช้รับประทานได้นานาชนิด ​ ในวัดเช่นนั้น ​ เมื่อโยคีบุคคลเรียนเอากัมมัฏฐานแล้วไปนั่งบำเพ็ญเพียรอยู่ ​ ณ  ที่อยู่สำหรับกลางวัน ​ พวกสตรีที่เก็บผักก็จะพากันร้องเพลงไปพลาง ​ เลือกเก็บผักไปพลางอยู่ ​ ณ  ที่ใกล้ ๆ  จะทำให้เป็นอันตรายแก่กัมมัฏฐานด้วยความกระทบแห่งเสียงอันเป็นข้าศึก ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​7. ​ วัดที่มีไม้ดอก'''​ 
- 
-แหละ ​ ในวัดใดมีกอไม้ดอกนานาชนิดแตกบานอยู่อย่างสะพรั่ง ​ แม้ในวัดเช่นนั้นก็จะเป็นอันตรายแก่กัมมัฏฐานเช่นเดียวกันนั่นเทียว ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น)  ​ 
- 
-'''​8. ​ วัดที่มีไม้ผล'''​ 
- 
-ในวัดใดมีไม้ผลนานาชนิด ​ เช่นมะม่วง, ​ ชมพู่ ​ และขนุนเป็นต้น ​ ในวัดเช่นนั้นคนทั้งหลายที่ต้องการผลไม้จะพากันมาขอ ​ เมื่อไม่ให้ ​ เขาก็จะโกรธ ​ หรือมิฉะนั้นก็จะพากัน 
- 
-(หน้าที่ 199) 
- 
-สอยเอาโดยพลการ ​ ตกเวลาเย็น ​ โยคีบุคคลมาเดินจงกรมในกลางวัดเห็นคนเหล่านั้นเข้า ​ ก็จะต่อว่ากับเขาว่า ​ "​อุบาสกทั้งหลาย ​ ทำไมจึงพากันทำอย่างนั้น" ​ เขาก็จะพากันด่าเอาตามชอบใจ ​ เขาจะพยายามแม้เพื่อที่จะไม่ให้เธออยู่ต่อไป ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​9. ​ วัดที่มีคนขึ้นมาก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลผู้อยู่ ​ ณ  ที่วัดซึ่งมีคนขึ้นมาก ​ เช่น ​ วัดทักขิณคิรี ​ วัดหัตถิกุจฉิ ​ วัดเจติยคีรี ​ วัดจิตตลบรรพต ​   ซึ่งชาวโลกยกย่องว่าเป็นที่เร้นลับ ​  ​มนุษย์ทั้งหลายพากันนิยมสรรเสริญว่า ​ ท่านผู้นี้เป็นพระอรหันต์ ​ แล้วใคร่ที่จะได้กราบไหว้บูชา ​ จึงพากันหลั่งไหลมาหาโดยรอบทิศ ​ ด้วยเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลนั้นก็จะไม่มีความผาสุกสบาย ​ แต่ว่าวัดเช่นนั้นย่อมเป็นที่สบายแก่โยคีบุคคลใด ​ เวลากลางวันเธอจึงหลบไปอยู่เสีย ​ ณ  ที่อื่น ​ ครั้นตกเวลากลางคืนจึงค่อยมาอยู่ ​ 
- 
-'''​10. ​ วัดที่อิงเมือง'''​ 
- 
-ในวัดที่อิงเมืองนั้น ​ ย่อมมีอิฏฐารมณ์ทั้งหลายมาผ่านสายตามากมาย ​ มีกระทั่งแม้พวกกุมภทาสีทั้งหลาย ​ พากันถือหม้อน้ำเดินเสียดสีไป ​ ไม่หลีกทางให้ ​ กับทั้งมีพวกมนุษย์ที่เป็นใหญ่พากันไปกางม่านนั่งอยู่ตามกลางวัด ​ (จึงไม่ควรอยู่ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​11. ​ วัดที่อิงป่าไม้'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในวัดที่อิงป่าไม้นั้น ​ วัดใดมีไม้พืชและไม้ต้นที่ใช้ประกอบเครื่องอุปกรณ์แก่ทัพสัมภาระบ้านเรือนได้ ​ ในวัดเช่นนั้น ​ พวกคนเก็บฟืนทั้งหลายย่อมจะพากันทำความไม่ผาสุกให้ ​ เหมือนพวกสตรีที่เก็บผักและเก็บดอกไม้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ​ และไม้ทั้งหลายที่มีอยู่ในวัด ​ มนุษย์ทั้งหลายชวนกันว่า ​ เราจักพากันตัดไม้เหล่านั้นมาทำเรือน ​ แล้วก็พากันมาตัดเอาไม้ไป ​ ถ้าในเวลาเย็น ๆ  โยคีบุคคลออกจากกุฏิที่ทำความเพียรไปเดินจงกรมอยู่กลางวัด ​ เห็นเขาแล้วก็จะพูดเตือนเขาว่า ​ "​อุบาสกทั้งหลาย ​ ทำไมจึงพากันมาทำเช่นนี้" ​ เขาก็จะพากันด่าเอาตามใจ ​ และเขาก็จะพยายามเพื่อไม่ให้เธออยู่ต่อไปอีก ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-(หน้าที่ 200) 
- 
-'''​12. ​ วัดที่อิงไร่นา'''​ 
- 
-แหละ ​ วัดใดเป็นวัดที่สร้างอิงไร่นา ​ คือมีไร่นาทั้งหลายล้อมรอบวัด ​ ในวัดเช่นนั้นจะมีพวกมนุษย์พากันไปทำลานข้าวกลางวัดนั่นเทียว ​ แล้วนวดข้าว ​ บ้างก็จะพากันไปนอนตามหน้ามุข ​ ย่อมจะพากันทำความไม่ผาสุกแม้อย่างอื่น ๆ ให้เป็นอันมาก 
- 
-แม้วัดใดมีสมบัติสงฆ์มาก ​ พวกคนรักษาวัดก็ปล่อยโคทั้งหลายไปกัดกินข้าวของตระกูลทั้งหลาย ​ บ้างก็จะพากันไปปิดกั้นทางน้ำไหล ​ มนุษย์ทั้งหลายจะถือเอารวงข้าวมาเป็นพยานแสดงให้สงฆ์ทราบว่า ​ พระผู้เป็นเจ้าเห็นไหม ​ กรรมของพวกคนรักษาวัดของพระผู้เป็นเจ้า ​ ด้วยเหตุนั้น ๆ  ภิกษุทั้งหลายก็จะต้องไปยังประตูพระราชวังหรือประตูบ้านของราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ​ แม้วัดที่มีสมบัติสงฆ์มากเช่นนี้ ​ ท่านก็สงเคราะห์เข้ากับวัดที่สร้างอิงไร่นานั่นเทียว ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​13. ​ วัดที่มีคนไม่ลงรอยกัน'''​ 
- 
-วัดที่มีคนไม่ลงรอยกันนั้น ​ ได้แก่วัดที่มีภิกษุทั้งหลายผู้เข้ากันไม่ได้ ​ คือเป็นผู้จองเวรกันและกันอยู่อาศัย ​ อธิบายว่า ​ เป็นวัดที่มีพวกภิกษุทำความทะเลาะกัน ​ ครั้นถูกโยคีบุคคลห้ามปรามว่า ​ อย่าได้พากันทำอย่างนี้เลยท่าน ​  ​ฉะนี้แล้ว ​ ก็จะเกิดหาเรื่องขึ้นว่า ​ พวกเราเกิดฉิบหายแล้ว ​ นับแต่เวลาที่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติรูปนี้มาถึงทีเดียว ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​14. ​ วัดที่อิงท่า'''​ 
- 
-แม้วัดใดที่สร้างอิงท่าน้ำ ​ (เช่นท่าเรือ) ​ หรือที่สร้างอิงท่าบก ​ (เช่นที่พักเกวียน ​ หรือที่พักต่าง ​ หรือท่าอากาศยาน ​ สถานีจอดรถ) ​ ในวัดเช่นนั้น ​ ย่อมจะมีมนุษย์ทั้งหลาย ​ โดยสารมาด้วยเรือ และด้วยพวกโคต่างเป็นต้น ​ พากันเบียดเบียนทำความไม่ผาสุกให้อยู่เนือง ๆ ว่า ​ ขอได้โปรดให้โอกาสที่พักด้วย ​ ขอได้โปรดให้น้ำดื่มด้วย ​ ขอได้โปรดให้เกลือด้วย ​  ​ดังนี้เป็นต้น ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-(หน้าที่ 201) 
- 
-'''​15. ​ วัดที่อิงป่าชายแดน'''​ 
- 
-ในวัดที่สร้างอิงบ้านป่าชายแดนนั้น ​ ย่อมจะมีแต่พวกมนุษย์ที่ไม่เลื่อมใสศรัทธาในรัตนะทั้งหลาย ​ มีพระพุทธรัตนะเป็นต้น ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ความอยู่ผาสุกสบายในวัดนั้น ​ ย่อมจะไม่มีแก่โยคีบุคคล 
- 
-'''​16. ​ วัดที่อิงเขตแดนประเทศ'''​ 
- 
-ในวัดที่สร้างอิงเขตระหว่างประเทศนั้น ​ ย่อมมีราชภัย ​ จริงอยู่ ​ พระราชาองค์หนึ่ง ​ ย่อมจะทรงทำการรุกรบกับประเทศนั้น ​ ด้วยทรงสำคัญว่า ​ พระราชานี้ไม่ประพฤติเป็นไปในอำนาจของเรา ​ แม้พระราชาอีกองค์หนึ่งนอกนี้ ​ ก็จะทรงทำการรุกรบกับประเทศนอกนี้ ​ ด้วยทรงสำคัญว่า ​ พระราชานี้ไม่ประพฤติเป็นไปในอำนาจของเรา ​ ภิกษุผู้โยคีบุคคลที่อยู่ในวัดเช่นนั้น ​ บางครั้งก็จะเที่ยวไปในแว่นแคว้นแดนดินของพระราชาพระองค์นี้ ​ บางครั้งก็จะเที่ยวไปในแว่นแคว้นแดนดินของพระราชาพระองค์นั้น ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ พวกราชบุรุษทั้งหลายก็จะสำคัญผิดไปว่า ​ ภิกษุนี้เป็นจารบุรุษ ​ แล้วก็จะทำให้ถึงซึ่งความฉิบหายเสีย ​ (จึงไม่ควรอยู่ ​ ณ  ที่วัดเช่นนั้น) 
- 
-'''​17. ​ วัดที่ไม่มีความสบาย'''​ 
- 
-วัดที่ไม่มีความสบายนั้น ​ ได้แก่วัดไม่เป็นที่สบาย ​ เพราะเหตุเป็นที่มารอบแห่งอารมณ์ต่าง ๆ  มีรูปอันเป็นข้าศึกคือรูปที่ยั่วเย้าเร้าหลอกเป็นต้น ​ หรือเป็นวัดที่มีอมนุษย์ยึดครอง ​ ในวัดที่มีอมนุษย์ยึดครองนั้น ​ มีเรื่องตัวอย่างดังนี้ – 
- 
-มีเรื่องเล่าว่า ​ พระเถระรูปหนึ่งอยู่ในวัดป่าแห่งหนึ่ง ​ ครั้งนั้นมียักษิณีตนหนึ่งไปยืนขับร้องอยู่ที่ประตูบรรณศาลาของพระเถระนั้น ​ พระเถระจึงได้ออกมายืนอยู่ที่ประตู ​ ยักษิณีเลื่อนไปขับร้องอยู่ตรงศีรษะที่จงกรม ​ พระเถระได้ตามไปที่ศีรษะที่จงกรมอีก ​ ยักษิณีได้เลื่อนไปยืนขับร้องอยู่ที่ปากเหวซึ่งลึกร้อยชั่วบุรุษ ​ ด้วยหมายว่า ​ จักผลักพระเถระซึ่งตามมา ​ ณ  ที่นี้ด้วยเสียงเพลงขับ ​ ให้ตกลงไปในเหวแล้วก็จักกิน ​ แต่พระเถระได้กลับคืนเสีย ​ ไม่ตามไป ​ ในทันใดนั้น ​ ยักษิณีได้วิ่งมาโดยเร็ว ​ จับที่ก้านคอพระเถระพลางพูดว่า ​ จะไปไหน แล้วได้เรียนพระเถระว่า ​ "​ท่านเจ้าขา ​ บุคคลอย่างพระผู้เจ้านี้ ​ คนเดียวดิฉันจะไม่กิน ​ สองคนดิฉันก็จะไม่กิน" ​ ฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 202) 
- 
-'''​18. ​ วัดที่หากัลยาณมิตรไม่ได้'''​ 
- 
-วัดที่หากัลยาณมิตรไม่ได้นั้น ​ อธิบายว่า ​ ในวัดใดอันโยคีบุคคลไม่อาจที่จะได้ซึ่ง ​ กัลยาณมิตรคือพระอาจารย์ ​ หรือท่านผู้เสมอกับพระอาจารย์ก็ดี ​ พระอุปัชฌาย์หรือท่านผู้เสมอกับพระอุปัชฌาย์ก็ดี ​ การหาไม่ได้ซึ่งกัลยาณมิตรทั้งหลายเช่นนั้นในวัดนั้น ​ นับเป็นโทษอันใหญ่หลวงทีเดียว 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ วัดที่ประกอบด้วยโทษ ​ 18  ประการ ​ อย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ ​ ชื่อว่าวัดอันไม่สมควรแก่สมาธิภาวนา ​ ข้อนี้สมด้วยคาถาประพันธ์ ​ อันท่านอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย ​ ดังนี้ – 
- 
-มหาวาสํ ​ นวาวาสํ ​   ชราวาสญฺจ ​ ปนฺถนึ 
- 
-โสณฺฑึ ​ ปณฺณญฺจ ​ ปุปฺผญฺจ ​   ผลํ ​ ปตฺถิตเมว ​ จ 
- 
-นครํ ​ ทารุณา ​ เขตฺตํ ​   วิสภาเคน ​ ปฏฺฏนํ 
- 
-ปจฺจนฺตสีมาสปฺปายํ ​   ยตฺถ ​ มิตฺโต ​ น  ลพฺภติ 
- 
-อฏฺฐารเสตานิ ​ ฐานานิ ​   อิติ ​ วิญฺญาย ​ ปณฺฑิโต 
- 
-อารกา ​ ปริวชฺชยฺย ​   มคฺคํ ​ สปฺปฏิภยํ ​ ยถา 
- 
-บัณฑิตทราบถึงสถานที่ ​ 18  ประการเหล่านี้ ​ คือ ​ วัดใหญ่ 1  วัดสร้างใหม่ 1  วัดที่ชำรุด 1  วัดอิงทางหลวง 1  วัดมีสระน้ำ 1  วัดมีใบไม้ที่ใช้เป็นผัก 1  วัดมีไม้ดอก 1  วัดมีคนไม่ลงรอยกัน 1  วัดอิงท่า 1  วัดอิงบ้านป่าชายแดน 1  วัดอิงเขตแดนประเทศ 1  วัดไม่เป็นที่สบาย 1 และวัดที่หากัลยาณมิตรไม่ได้ 1  ว่าเป็นวัดอันไม่สมควรแก่ภาวนา ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงหลีกเว้นเสียให้ห่างไกล ​ เหมือนพ่อค้าหลีกเว้นทางอันมีภัยเฉพาะหน้า ​ ฉะนั้น 
- 
-==วัดที่ภาวนาสะดวก 5== 
- 
-ก็แหละ ​ วัดใดประกอบด้วยองคคุณ 5  ประการ ​ เช่นไม่ไกลไม่ใกล้นักแต่โคจรคาม ​ เป็นต้น ​ วัดเช่นนี้จัดเป็นวัดที่สมควรแก่ภาวนา ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เสนาสนะที่ประกอบด้วยองคคุณ 5  ประการ ​ เป็นอย่างไร ?  อย่างนี้คือ – 
- 
-(หน้าที่ 203) 
- 
-1.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เสนาสนะในศาสนานี้ ​ ย่อมเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก ​ ไม่ใกล้นัก ​ แต่โคจรคาม ​ มีทางไปทางมาสะดวกสบาย ​ ปลอดภัย 
- 
-2.  กลางวันไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน ​ กลางคืนเงียบสงัด ​ ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครม 
- 
-3.  ไม่มีเหลือบ, ​ ยุง ​ และสัตว์เลื้อยขบกัด ​ ไม่มีสัมผัสอันเกิดแต่ลมและแดดรบกวน 
- 
-4. แหละ ​ ผู้ที่อยู่ในเสนาสนะนั้นไม่มีความฝืดเคืองด้วยปัจจัย 4  คือจีวร, ​ บิณฑบาต, ​ เสนาสนะ ​ และยาแก้ไข้ 
- 
-5.  แหละ ​ ในเสนาสนะนั้น ​ มีภิกษุชั้นเถระ ​ ผู้พหูสูต ​ สำเร็จการศึกษาปริยัติธรรม ​ ทรงธรรม ​ ทรงวินัย ​ และทรงมาติกาคือหัวข้อแห่งธรรมวินัย ​ ที่เข้าไปเรียนสอบสวนทวนถามตามกาลอันควรว่า ​ ท่านขอรับ ​ บทนี้เป็นไฉน ​ มีอรรถาธิบายอย่างไร ​ ฉะนี้แล้ว ​ ท่านเถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ​ ย่อมทำให้ตื้นข้อที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น ​ และช่วยบรรเทาความสงสัยเป็นอเนกประการ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เสนาสนะย่อมประกอบด้วยองคคุณ ​ 5  ประการ ​ ฉะนี้แล 
- 
-อรรถาธิบายพิสดารในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ พึงออกจากวัด 
- 
-อันไม่สมควรแก่สมาธิภาวนาไปอยู่ ​ ณ  ที่วัดอันสมควร ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-=ตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ= 
- 
-ในหัวข้อสังเขปว่า ​ พึงทำการตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ เสีย ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  อันโยคีบุคคลผู้อยู่ในวัดอันสมควรแก่ภาวนาอย่างนี้แล้ว ​ เมื่อมีเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ  แม้ชนิดใดอยู่ ​ ก็พึงตัดเครื่องกังวลแม้ชนิดนั้นเสียก่อน 
- 
-ทำอย่างไร ?  ทำอย่างนี้คือ ​ ผม, ​ เล็บ ​ และขนที่ยาวพึงโกนหรือตัดเสียให้เรียบร้อย ​ จีวรที่เก่าชำรุด ​ ก็พึงทำให้มั่นคงด้วยการปะหรือดามเป็นต้น ​ หรือพึงชุนหรือถักเสียให้เรียบร้อย ​ ถ้าที่บาตรเป็นสนิม ​ ก็พึงระบมบาตรให้มีสี ​ พึงชำระปัดกวาดเตียงและตั่งให้สะอาด 
- 
-อรรถาธิบายพิสดารในหัวข้อสังเขป ​ พึงทำการตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ  ยุติลงเพียงนี้ 
- 
-(หน้าที่ 204) 
- 
-=วิธีทำภาวนากัมมัฏฐาน 40= 
- 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายโดยพิสดารในหัวข้อสังเขปทีว่า ​ พึงภาวนา ​ ไม่ทำภาวนาวิธีทุกอย่างให้บกพร่อง ​ ฉะนี้ ​ ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานหมดทั้ง 40  ประการไปโดยลำดับโดยจะแสดงปถวีกสิณเป็นประการแรก ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-=วิธีภาวนาปถวีกสิณ= 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้โยคีบุคคลเมื่อตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ  ดังนี้แล้ว ​ เวลาภายหลังอาหาร ​ กลับจากการบิณฑบาต ​ บรรเทาความมึนเมาอันมีอาหารเป็นเหตุแล้ว ​ พึงไปนั่งคู้บังลังก์ ​ ตั้งกายให้ตรง ​ ณ  โอกาสอันสงัด ​ แต่นั้นพึงกำหนดเอานิมิตกสิณในดินที่ทำขึ้น ​ หรือที่เป็นเองตามปกติต่อไป ​ ข้อนี้สมดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า – 
- 
-== บริกรรม === 
-=== วิธีทำนิมิตของปถวีกสิณ === 
-โยคีบุคคลเมื่อจะถือเอาปถวีกสิณโดยอุคคหนิมิตนั้น ​ ย่อมถือเอานิมิตในวงกลมแห่งดินที่สร้างขึ้นหรือที่เป็นเองตามปกติ ​ ชนิดที่มีกำหนด ​ ไม่ใช่ไม่มีกำหนด, ​ ชนิดที่มีที่สุด ​ ไม่ใช่ไม่มีที่สุด,​ ชนิดที่มีสันฐานกลม ​ ไม่ใช่ที่ไม่กลม, ​ ชนิดที่มีขอบเขต ​ ไม่ใช่ไม่มีขอบเขต, ​ โตเท่ากระด้งหรือเท่าปากขันโอ ​ โยคีบุคคลนั้นย่อมภาวนาทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาดีแล้ว ​ ย่อมทรงไว้ซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นอันทรงไว้ดีแล้ว ​ และย่อมกำหนดนิมิตนั้นให้เป็นอันกำหนดดีแล้ว ​ ครั้นเธอภาวนาทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาดีแล้ว ​ ทำการทรงไว้ให้เป็นอันทรงไว้ดีแล้ว ​ ทำการกำหนดให้เป็นอันกำหนดดีแล้ว ​ ก็จะเห็นอานิสงส์ ​ มีความสำคัญเห็นเป็นรัตนะ ​ นอบน้อม ​ เคารพ ​ คารวะ ​ กระหยิ่มอิ่มใจ ​ น้อมจิตเข้าไปผูกติดไว้ในอารมณ์ที่ตนถือเอาดีแล้ว ​ ทรงไว้ดีแล้ว ​ กำหนดไว้ดีแล้วนั้น ​ ด้วยความมั่นใจว่า ​ เราจักรอดพ้นจากชราทุกข์มรณทุกข์ ​ ด้วยปฏิปทาอันนี้อย่างแน่นอน ​ เธอบรรลุแล้วซึ่งปฐมฌาน ​ อันมีวิตก ​ มีวิจาร ​ มีปีติ ​ และสุขอันเกิดแก่ความสงัด ​ เพราะสงัดแน่นอนแล้วจากกามทั้งหลาย ​ เพราะสงัดแน่นอนแล้วจาก ​ อกุศลธรรมทั้งหลาย ​ ฉะนี้แล 
- 
-====นิมิตกสิณธรรมชาติ==== 
- 
-ในคำของท่านโบราณาจารย์นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  อันโยคีบุคคลใด ​ เคยบวชในศาสนาหรือเคยบวชเป็นฤาษีแล้ว ​ ทำฌาน 4  และฌาน 5  ในปถวีกสิณให้บังเกิด 
- 
-(หน้าที่ 205) 
- 
-มาแล้วแม้ในภพปางอดีต ​ โยคีบุคคผู้มีบุญถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยเห็นปานนี้นั้น ​ อุคคหนิมิต ​ ย่อมเกิดขึ้นได้ในดินที่เป็นอยู่เองตามปกติ ​ คือ ​ ในที่ดินที่เขาไถไว้ ​ หรือในลานข้าว ​ เหมือนพระมัลลกเถระเป็นตัวอย่าง 
- 
-ได้ยินว่า ​ ท่านพระมัลลกเถระนั้น ​ ขณะที่ท่านเพ่งดูที่ดินที่เขาไถไว้ ​ อุคคหนิมิตประมาณเท่าที่ซึ่งเขาไถไว้นั้นนั่นเทียวได้เกิดขึ้นแล้ว ​ ท่านเจริญอุคคหนิมิตจนได้บรรลุฌาน 5  แล้วเริ่มเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอันมีฌานนั้นเป็นปทัฏฐาน ​ จนได้บรรลุพระอรหัตแล 
- 
-====นิมิตกสิณทำเอง==== 
- 
-ส่วนโยคีบุคคลใดผู้ไม่ได้ทำบุญญาธิการไว้เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ ​ เธอต้องสร้างปถวีสิณขึ้นเอง ​ อย่างที่ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากกรรมวิธีที่เรียนมาในสำนักของพระอาจารย์ ​ และให้เลี่ยงเสียจากโทษของกสิณ ​ 4  ประการ ​ จริงอยู่ ​ โทษของปถวีกสิณมีอยู่ ​ 4  ประการ ​ ด้วยอำนาจทำปะปนกับสีเขียว 1  สีเหลือง 1 สีแดง 1  สีขาว 1  เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลอย่าได้เอาดินมีสีเขียวเป็นต้นมาทำกสิณ ​ จงทำด้วยดินที่มีสีเหมือนแสงอรุณ ​ เช่น ​ ดินที่แม่น้ำคงคา ​ ก็แหละ ​ กสิณนั้นอย่าทำไว้ ​ ณ  ตรงกลางวัด ​ หรือ ​ ณ  ที่ภิกษุสามเณรสัญจรไปมา ​ พึงทำไว้ตรงที่เป็นเพิงหรือบรรณศาลา ​ ซึ่งเป็นที่ลับอยู่ท้ายวัด ​ จะเป็นกสิณชนิดที่โยกย้ายได้ ​ หรือชนิดที่ตกอยู่กับที่ก็ได้ 
- 
-'''​นิมิตแบบโยกย้ายได้'''​ 
- 
-วิธีทำกสิณ 2  อย่างนั้น ​ กสิณที่โยกย้ายได้ ​ พึงเอาผืนผ้าเก่า ​ หรือผืนหนัง ​ หรือผืนเสื่อลำแพน ​ มาผูกขึงติดไม้ 4  อัน ​ แล้วเอาดินที่มีสีเหมือนแสงอรุณที่เก็บรากหญ้า ​ และกรวดทรายออกหมดแล้ว ​ ขยำได้ที่แล้ว ​ มาทาเข้าที่ผืนผ้าหรือผืนหนังหรือเสื่อลำแพนนั้น ​ ทำให้เป็นสันฐานกลมประมาณเท่ากระด้งหรือปากขันโอ ​ ดังที่กล่าวแล้ว ​ ในเวลาที่จะทำ ​ บริกรรมภาวนา ​ พึงเอาแผ่นกสิณนั้นไปปูลงที่พื้นแล้วเพ่งดูตามภาวนาวิธีต่อไป 
- 
-(หน้าที่ 206) 
- 
-'''​นิมิตแบบโยกย้ายไม่ได้'''​ 
- 
-กสิณชนิดที่ติดอยู่กับที่นั้น ​ พึงเอาหลักหลาย ๆ  อันมาตอกลงกับพื้นดินโดยอาการคล้าย ๆ กับฝักบัว ​ แล้วเอาเครือวัลย์มาถักร้อยตรึงเข้าไว้ ​ ถ้าดินสีเหมือนแสงอรุณนั้นมีน้อยไม่เพียงพอ ​ ให้เอาดินอื่นมาใส่ลงไว้ตอนล่างเสียก่อน ​ แล้วจึงเอาดินมีสีเหมือนแสงอรุณซึ่งทำให้สะอาดมาใส่ทับข้างบน ​ ทำให้มีสัณฐานกลมขนาดกว้าง 1  คืบ ​ 4  นิ้ว 
- 
-แหละ ​ ที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวว่า ​ ประมาณเท่ากระด้งหรือประมาณเท่ากับปากขันโอนั้น ​ ท่านหมายเอาประมาณคือ 1 คืบ 4  นิ้วนี้แล ​ ส่วนคำมีอาทิว่า ​ ชนิดที่มีกำหนด ​ ไม่ใช่ไม่มีกำหนด ​ นั้น ​ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ​ ปถวีกสิณนั้นเป็นสิ่งที่มีกำหนดขอบเขต 
- 
-===วิธีนั่งเพ่งปถวีกสิณ=== 
- 
-เพราะเหตุที่ท่านแนะให้ทำกสิณอย่างมีกำหนดนั้น ​ ครั้นกะกำหนดประมาณเท่าที่กล่าวคือ 1  คืบ 4  นิ้วอย่างนั้นแล้ว ​ จึงทำสีที่ไม่กลืนกับสีดินอรุณให้ปรากฏขึ้นเป็นขอบเขตไว้ด้วยเกรียงไม้ ​ แต่นั้นจงอย่าใช้เกรียงไม้นั้น ​ พึงใช้เกรียงหินขัดทำให้เรียบเสมอเหมือนหน้ากลอง ​ ครั้นแล้วจงปัดกวาดสถานที่นั้นให้สะอาด ​ ไปสรงน้ำชำระกายแล้วจึงกลับมา ​ นั่งบนตั่งที่ตรึงอย่างมั่นคง ​ มีเท้าสูง 1  คืบ 4  นิ้ว ​ ซึ่งเตรียมตั้งไว้ ​ ณ  สถานที่ภายในระยะห่าง 2  ศอก 1  คืบแต่ดวงกสิณ 
- 
-จริงอยู่เมื่อนั่งไกลกว่านั้นกสิณก็จะไม่ปรากฏชัด ​ เมื่อนั่งใกล้กว่านั้นโทษแห่งกสิณทั้งหลายเช่นรอยฝ่ามือเป็นต้นก็จะปรากฏให้เห็น ​ เมื่อนั่งสูงกว่านั้นย่อมจะต้องน้อมคอลง ​ คือก้มหน้าลงดู ​ เมื่อนั่งต่ำกว่านั้นก็จะปวดเข่า 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ พึงนั่งโดยทำนองที่กล่าวไว้นั่นแล ​ แล้วจงพิจารณาถึงโทษในกามทั้งหลาย ​ โดยนัยมีอาทิว่า ​ กามทั้งหลายมีความยินดีนิดหน่อย ​ แต่มีทุกข์มาก พึงเป็นผู้มีความพอใจในเนกขัมมะมีฌานเป็นต้น ​ อันเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกาม ​ อันเป็นอุบายล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ​ พึงทำปีติและปราโมชให้บังเกิดขึ้น ​ ด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณพระธรรมคุณและพระสังฆคุณ ​ พึงเป็นผู้มีความเคารพอย่างแม่นมั่นอยู่ในข้อปฏิบัติว่า ​ เนกขัมมปฏิปทานี้นั้น ​ เป็นข้อปฏิบัติอันพระพุทธเจ้า ​ พระปัจเจกพุทธเจ้า ​ และพระอริยสาวกทั้งหลายทุก ๆ 
- 
-(หน้าที่ 207) 
- 
-พระองค์ได้ปฏิบัติมาแล้ว ​ และพึงทำความอุตสาหะให้เกิดว่า ​ เราจักเป็นผู้มีส่วนได้ดื่มรสความสุขอันเกิดแต่ความสงัด ​ ด้วยข้อปฏิบัติอันนี้อย่างแน่นอน ​ แล้วพึงภาวนา ​ ลืมตาแต่พอดี ​ จับเอานิมิตในปถวีกสิณนั้น ​ โดยอาการอันสม่ำเสมอเรื่อย ๆ ไป ​ 
- 
-จริงอยู่ ​ เมื่อลืมตากว้างมากไปก็จะเมื่อยตา ​ และดวงกสิณก็จะปรากฏชัดเกินไป ​ ด้วยเหตุนั้นอุคคหนิมิตก็จะไม่เกิดขึ้นได้ ​ เมื่อลืมตาแคบไป ​ ดวงกสิณก็จะไม่ปรากฏชัด ​ และจิตก็จะห่อเหี่ยว ​ แม้ด้วยเหตุนี้อุคคหนิมิตก็จะไม่เกิดขึ้นได้ ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลพึงภาวนาลืมตาแต่พอดี ​ จับเอานิมิตในปถวีกสิณนั้น ​ โดยอาการอันสม่ำเสมอ ​ เหมือนดูเงาหน้าในบานกระจก ​ ฉะนั้น ​ และอย่าพิจารณาถึงสีของดิน ​ อย่าเอาใจใส่ถึงลักษณะของดินเช่นความแข็งของดินเป็นต้น ​ แต่ก็มิใช่จะปฏิเสธสีเสียทีเดียว ​ พึงตั้งจิตไว้ในคำบัญญัติว่าดิน ​ ด้วยอำนาจธาตุดิน ​ เป็นสิ่งที่มากกว่าธาตุอื่น ​ แล้วพิจารณาดินพร้อมกับสีที่อาศัยพร้อม ๆ กันไป 
- 
-แหละ ​ ในบรรดาชื่อของดินทั้งหลายในคำบาลี ​ เช่น ​ ปถวี, ​ มหี, ​ เมทนี, ​ ภูมิ, ​ วสุธา ​ และ ​ วสุนธรา ​ เป็นต้น ​ โยคีบุคคลปรารถนาชื่อใด ​ และชื่อใดสำเร็จเป็นเครื่องเกื้อหนุน ​ แก่ความจำของเธอ ​ เธอก็พึงระบุเอาชื่อนั้น หรือพระอาจารย์พึงบอกชื่อนั้นแก่เธอ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ที่ชื่อว่า ​ ปถวี ​ นี้นั่นเทียว ​ ปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากกว่าชื่ออื่น ​ ฉะนั้น ​ โยคีบุคคลพึงภาวนาด้วยคำบาลีว่า ​ ปถวี –ปถวี ​ หรือด้วยคำไทยว่า ​ ดิน–ดิน ​ ดังนี้ ​ ด้วยอำนาจเป็นชื่อที่ปรากฏนั่นเทียว ​ และบางครั้งพึงลืมตาดูนิมิต ​ บางครั้งพึงหลับตาเสียแล้วนึกทางใจ ​ อุคคหนิมิตยังไม่เกิดข้นตราบใด ​ ตราบนั้นจงภาวนาเรื่อย ๆ  ไปโดยนัยนี้แหละ ​ จนถึงร้อยครั้งพันครั้ง ​ หรือ ​ แม้จะมากครั้งกว่านั้นขึ้นไปก็ตาม 
- 
-==ได้อุปจาระ,​ละนิวรณ์,​ได้ปฏิภาคพร้อมกัน== 
- 
-===นิมิต 2=== 
- 
-====ได้อุคคหนิมิต==== 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลภาวนาอยู่อย่างนั้น ​ กาลใด ​ หลับตานึกทางใจ ​ นิมิตในปถวีกสิณนั้น ​ มาสู่คลองจักษุ ​ คือเข้าถึงความเป็นอารมณ์ของมโนทวาริกชวนจิต ​ กาลนั้น ​ ย่อมได้ชื่อว่า ​ อุคคหนิมิต ​ เกิดแล้ว ​ นับแต่เวลาอุคคหนิมิตเกิดแล้วไป ​ โยคีบุคคลไม่ต้องนั่งภาวนาอยู่ ​ ณ  ที่ดวงกสิณนั้นอีก ​ พึงกลับเข้าสู่ที่อยู่ของตนแล้วนั่งภาวนาอยู่ ​ ณ  ที่นั้นเถิด 
- 
-(หน้าที่ 208) 
- 
-อนึ่ง ​ เพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้ชักช้าเสียเวลาในเพราะอันที่จะต้องล้างเท้า ​ โยคีบุคคลจำต้องมีรองเท้าชนิดชั้นเดียวกับไม้เท้าด้วย ​ เพื่อว่าถ้าสมาธิที่ยังอ่อนจะเสื่อมหายไปด้วย ​ เหตุอันไม่เป็นที่สบายบางอย่างแล้ว ​ โยคีบุคคลจะได้สวมรองเท้าถือไม้เท้าไปยังที่เดิมนั้น ​ นั่งเพ่งกสิณจนได้อุคคหนิมิตอีก ​ จึงกลับมาที่อยู่ของตน ​ นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรงภาวนาเรื่อย ๆ ไป 
- 
-====ได้ปฏิภาคนิมิต==== 
- 
-อันโยคีบุคคลนั้นพึงพยายามนึกถึงอุคคหนิมิตนั้นให้บ่อย ๆ  ทำกัมมัฏฐานให้เป็นอันความนึกตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว ​ อันความนึกชอบตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว ​ เมื่อโยคีบุคคลทำกัมมัฏฐานให้เป็นความนึกตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว ​ อันความนึกชอบตะล่อมมาไว้ในจิตแล้วอย่างนี้ ​ นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้นก็จะสงบลง ​ และกิเลสทั้งหลายอันตั้งอยู่ในฐานะเดียวกันกับนิวรณ์นั้น ​ ก็จะระงับหายไปโดยลำดับแห่งภาวนา ​ จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ ​ ปฏิภาคนิมิต ​ ย่อมเกิดขึ้น ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-====ความแตกต่างของนิมิตทั้ง 2==== 
- 
-ในนิมิตทั้ง 2  นั้น ​ ความแปลกกันแห่งอุคคหนิมิตอันก่อนกับปฏิภาคนิมิตนี้ ​ ดังนี้ คือ ​ ในขั้นอุคคหนิมิตยังมีโทษแห่งกสิณปรากฏให้เห็นอยู่ได้ ​ ส่วนปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกว่าอุคคหนิมิตนั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า ​ เป็นดุจชำแรกอุคคหนิมิตออกมาคล้ายกับดวงแว่นที่ถอดออกจากถุง ​ คล้ายถาดสังข์ที่ขัดดีแล้ว ​ คล้ายดวงจันทร์ที่ออกจากกลีบเมฆ ​ และคล้ายหมู่นกยางอยู่ที่หน้าเมฆ 
- 
-ก็แหละ ​ ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่มีสีไม่มีสัณฐาน ​ เพราะไม่ใช่สภาวปรมัตถ์ ​ จริงอยู่ ​ ถ้าปฏิภาคนิมิตนั้นจะพึงเป็นสิ่งที่มีสีและสัณฐานเช่นนี้แล้ว ​ ก็จะพึงเป็นรูปหยาบที่รู้ได้ด้วยตาเนื้อ ​ เข้าถึงสัมมสนญาณได้ ​ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ได้ ​ แต่นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ​ มันเป็นสักว่าอาการที่ปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิซึ่งเกิดจากสัญญาภาวนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
- 
-ก็แหละ ​ นับจำเดิมแต่เวลาปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ​ นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น ​   ย่อมสงบไปเองนั่นเทียว ​   กิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในฐานะเดียวกันกับนิวรณ์ก็ระงับไปเองด้วย ​  ​จิตก็เป็นอันตั้งมั่นแล้วด้วย ​  ​อุปจารสมาธิ ​  ​นั่นแล 
- 
-(หน้าที่ 209) 
- 
-===สมาธิ ​ 2=== 
- 
-แหละสมาธินั้นมี ​  ​2 ​  ​อย่าง ​ คือ ​  ​อุปจารสมาธิ ​ 1   ​อัปปนาสมาธิ ​ 1   ​จิตในอุปจารภูมิ ​ หรือในปฎิลาภภูมิ ​  ( ภูมที่ได้อัปปนาฌาน )   ​ย่อมตั้งมั่นด้วยเหตุ ​ 2  ประการ ​ คือ ​ ใน ​ 2  ภูมินั้น ​  ​จิตในอุปจารภูมิย่อมตั้งมั่น ​  ​เพราะการประหานเสียได้ซึ่งนิวรณ์ ​  ​จิตในปฎิลาภภูมิย่อมตั้งมั่นเพราะความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ฌาน 
- 
-ก็แหละ ​  ​สมาธิ ​  ​2 ​  ​อย่างมีเหตุต่างกันดังนี้ ​  ​องค์ฌานทั้งหลายในอุปจารสมาธิยังไม่มีกำลัง ​  ​เพราะองค์ฌานทั้งหลายยังไม่เกิดกำลัง ​  ​คือยังไม่บรรลุซึ่งกำลัง ​  ​คือยังไม่บรรลุซึ่งกำลังแห่งภาวนา ​  ​เปรียบเหมือนเด็กเล็ก ๆ   ​ที่พยุงให้ลุกขึ้นยืนแล้วก็ล้มลงไปที่พื้นบ่อย ๆ  ฉันใด ​  ​เมื่ออุปจารสมาธิเกิดขึ้นนั้น ​  ​บางทีจิตก็ทำนิมิตให้เป็นอารมณ์ ​  ​บางทีก็ตกสู่ภวังค์ ​  ​ฉันนั้น ​  ​ส่วนในอัปปสมาธิ ​  ​องค์ฌานทั้งหลายมีกำลัง ​   เพราะองค์ฌานเหล่านั้นเกิดมีกำลังแล้ว ​  ​เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ​  ​ลุกจากที่นั่งแล้วพึงยืนอยู่ได้แม้ตลอดทั้งวัน ​  ​ฉันใด ​  ​แม้เมื่ออัปปนาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ​  ​ฌานจิตตัดวาระแห่งภวังค์ครั้งเดียว ​  ​แล้วก็ดำรงอยู่ตลอดคืนตลอดวันแม้ทั้งสิ้น ​  ​ย่อมเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจลำดับแห่งกุศลชวนะจิตอย่างเดียวเท่านั้น 
- 
-'''​รักษาปฏิภาคนิมิตเหมือนพระครรภ์จักรพรรดิ'''​ 
- 
-ในนิมิต ​  ​2 ​ อย่างนั้น ​  ​ปฏิภาคนิมิตซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอุปจารสมาธินั้นใด ​  ​การที่จะทำให้ปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดขึ้น ​  ​เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง ​  ​เพราะฉะนั้น ​  ​ถ้าโยคีบุคคลสามารถที่จะเจริญปฎิภาคนิมิตนั้นไป ​ จนบรรลุซึ่งอัปปนาสมาธิเสียได้ด้วยบัลลังก์นั้นทีเดียว ​ ข้อนั้นนับเป็นโชคดี ​ แต่ถ้าไม่สามารถจะปฏิบัติได้เช่นนั้น ​ แต่นั้น ​ โยคีบุคคลนั้นอย่าได้ประมาท ​ พึงรักษาปฏิภาคนิมิตนั้นไว้เหมือนกับพระครรภ์ที่ทรงไว้ซึ่งทารกผู้จะเป็นพระเจ้าจักพรรดิ ​ ฉะนั้น ​ เพราะเมื่อรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้เช่นนี้ ​ อุปจารฌานที่ได้แล้วก็จะไม่มีการเสื่อมหายไป ​ แต่เมื่อไม่มีการรักษาแม้อุปจารฌานที่ได้แล้วนั้นก็จะเสื่อมหายไปเสีย 
- 
-(หน้าที่ 210) 
- 
-===สัปปายะ 7=== 
- 
-====ระวัง 7 ข้อเพื่อรักษาปฏิภาคนิมิตที่เพิ่งได้มา==== 
- 
-ต้องเว้นอสัปปายะ 7  และเสพสัปปายะ ​ 7 
- 
-ในปฏิภาคนิมิตนั้น ​ มีวิธีรักษาดังต่อไปนี้ – 
- 
-(คาถาสำหรับท่องจำ) 
- 
-อาวาโส ​ โคจโร ​ ภสฺสํ ​   ปุคฺคโล ​ ฏภชนํ ​ อุตุ 
- 
-อิริยาปโถติ ​ สตฺเตเต ​   อสปฺปาเย ​ วิวชฺชเย 
- 
-สปฺปาเย ​ สตฺต ​ เสเวถ ​   เอวญฺหิ ​ ปฏิปชฺชโต 
- 
-นจิเรเนว ​ กาเลน ​   โหติ ​ กสฺสจิ ​ อปฺปนา 
- 
-โยคีบุคคลใดได้ปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น ​ พึงเว้นซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย 7  อย่างเหล่านี้ ​ คือ 
- 
-1.    อาวาโส ​   ได้แก่ที่อยู่อันไม่เป็นที่สบาย 
- 
-2.    โคจโร ​   ได้แก่หมู่บ้านบิณฑบาตไม่เป็นที่สบาย 
- 
-3.    ภสฺสํ ​   ได้แก่คำพูดอันไม่เป็นที่สบาย 
- 
-4.    ปุคฺคโล ​   ได้แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่สบาย 
- 
-5.    โภชนํ ​   ได้แก่อาหารอันไม่เป็นที่สบาย 
- 
-6.    อุตุ ​   ได้แก่อากาศอันไม่เป็นที่สบาย ​ และ 
- 
-7.    อิริยาปโถ ​   ได้แก่อิริยาบถอันไม่เป็นที่สบาย 
- 
-และพึงส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย 7  อย่างตรงกันข้าม ​ เพราะเมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ​ ไม่ช้าไม่นานเท่าใดนักเลย ​ โยคีบุคคลบางท่านก็จะได้สำเร็จอัปปนาฌานต่อไป 
- 
-'''​อธิบาย ​ อสัปปายะ 7  และสัปปายะ 7 
-'''​ 
- 
-'''​1. ​ อาวาส – ที่อยู่ 
-'''​ 
-ในที่อยู่ 2  อย่างนั้น ​ เมื่อโยคีบุคคลอยู่ในที่อันใด ​ นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ​ หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป ​ และสติที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น ​ จิตที่ไม่เป็นสมาธิก็ไม่เป็นสมาธิ ​ ที่อยู่เช่นนี้ ​ ชื่อว่า ​ ที่อยู่ไม่เป็นที่สบาย 
- 
-(หน้าที่ 211) 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ​ ณ  ที่ใด ​ นิมิตย่อมเกิดขึ้นด้วย ​ ย่อมถาวรมั่นคงอยู่ด้วย ​ สติย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น ​ จิตก็เป็นสมาธิ ​ เหมือนพระปธานิยติสสเถระผู้อยู่ ​ ณ  วัดนาคบรรพตเป็นตัวอย่าง ​ ที่อยู่เช่นนี้ ​ ชื่อว่า ​ ที่อยู่เป็นที่สบาย 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ ในวัดใดมีที่อยู่หลายแห่งด้วยกัน ​ ในวัดเช่นนั้น ​ โยคีบุคคลพึงอยู่ ​ ทดลองดูแห่งละ 3  วัน ๆ ณ  แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ​ ก็พึงอยู่ ​ ณ  ที่แห่งนั้นเถิด ​ จริงอยู่ ​ เพราะเหตุที่ได้ที่อยู่เป็นที่สบาย ​ ภิกษุ ​ 500  รูป ​ ซึ่งอยู่ ​ ณ  ถ้ำจูฬนาคะในประเทศลังกา ​ เรียนเอากัมมัฏฐานแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต ​ ณ  ถ้ำนั้นนั่นแล ​ แหละ ณ  ที่อื่น ๆ  พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ​ ได้บรรลุถึงขั้นอริยภูมิแล้วได้บรรลุพระอรหัต ​ ณ  ที่นั้น ๆ คณนานับไม่ถ้วน ​ แม้ที่วัดอื่น ๆ เช่น ​ วัดจิตตลบรรพต ​ เป็นต้น ​ ก็เช่นเดียวกันนี้ 
- 
-'''​2. ​ โคจรคาม – หมู่บ้านบิณฑบาต 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ โคจรคามคือหมู่บ้านสำหรับไปบิณฑบาตแห่งใด ​ มีอยู่ด้านทิศเหนือ ​ หรือด้านทิศใต้ ​ 1  มีอยู่ในที่ไม่ห่างไกลมากนัก ​ คือภายในระยะหนึ่งโกสะครึ่ง ​ ประมาณพันชั่วคันธนู ​ หรือ 2  กิโลเมตร 1  มีภิกษาหารบริบูรณ์หาได้สะดวก 1  หมู่บ้านเช่นนั้น ​ ชื่อว่า ​ หมู่บ้านบิณฑบาตเป็นที่สบาย ​ อย่างตรงกันข้าม ​ ชื่อว่า ​ หมู่บ้านบิณฑบาตไม่เป็นที่สบาย 
- 
-'''​3. ​ ภัสสะ -  คำพูด 
-'''​ 
-ถ้อยคำที่นับเนื่องในดิรัจฉานกถา 12  ประการ ​ มีการพูดถึงเรื่องพระราชาเป็นต้น ​ ชื่อว่าเป็นถ้อยคำไม่เป็นที่สบาย ​ เพราะถ้อยคำเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรธานเสียแห่งนิมิตของโยคีบุคคลนั้น 
- 
-ถ้อยคำที่อาศัยกถาวัตถุ 10  ประการ ​ มีพูดถึงความมักน้อยเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ เป็นถ้อยคำเป็นที่สบาย ​ แม้ถึงถ้อยคำเป็นที่สบายเช่นนั้น ​ ก็พึงพูดแต่พอประมาณ 
- 
-(หน้าที่ 212) 
- 
-'''​4. ​ ปุคคโล – บุคคล 
-'''​ 
-บุคคลผู้ไม่ชอบพูดเรื่องดิรัจฉานกถา ​ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติมีศีลเป็นต้น ​ ที่โยคีบุคคลอาศัยแล้ว ​ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น ​ หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น ​ บุคคลเห็นปานนี้ ​ ชื่อว่า ​ เป็นบุคคลเป็นที่สบาย 
- 
-ส่วนบุคคลที่ชอบประคบประหงมบำรุงตกแต่งร่างกาย ​ ชอบพูดแต่เรื่องดิรัจฉานกถา ​ ชื่อว่า ​ บุคคลไม่เป็นที่สบาย ​ เพราะบุคคลเช่นนั้นย่อมทำปฏิภาคนิมิตนั้นให้เศร้าหมองได้ทีเดียว ​ เปรียบเหมือนน้ำขี้ตมทำน้ำที่ใสให้ขุ่นได้ฉะนั้น ​ ไม่ต้องพูดถึงปฏิภาคนิมิตดอก ​ แม้แต่สมาบัติของพระหนุ่มผู้อยู่ ​ ณ  เขาโกฏบรรพตรูปหนึ่ง ​ ก็ยังเสื่อมหายไป เพราะเหตุอาศัยบุคคลไม่เป็นที่สบายเช่นนั้น 
- 
-'''​5 - 6.  โภชนะ – อาหาร ​ และ ​ อุตุ -  อากาศ 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ อาหารที่มีรสหวาน ​ ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ​ ที่มีรสเปรี้ยว ​ ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ​ แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ​ อากาศร้อนเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ​ เพราะฉะนั้น ​ เมื่อโยคีบุคคลส้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใดจึงมีความผาสุกสบาย ​ หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น ​ หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น ​ อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ​ ชื่อว่า ​ เป็นที่สบาย ​ อาหารและอากาศชนิดอื่นนอกจากนี้ ​ ชื่อว่า ​ ไม่เป็นที่สบาย 
- 
-'''​7. ​ อิริยาปโถ -  อิริยาบถ 
-'''​ 
-แม้ในอิริยาบถ 4  บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย ​ บางคนก็มีอิริยาบถนอน, ​ อิริยาบถยืน ​ หรืออิริยาบถนั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลพึงทดลอง ​ อิริยาบถนั้นดูอย่างละ 3  วัน ​ เหมือนกับทดลองที่อยู่ ​ ในอิริยาบถใด ​ จิตที่ยังไม่ได้ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น ​ หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น ​ พึงทราบว่าอิริยาบถนั้นชื่อว่า ​ เป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย ​ อิริยาบถอื่น ๆ  นอกนี้ ​ ไม่ใช่เป็นอิริยาบถที่สบาย 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ โยคีบุคคลพึงเว้นธรรมอันไม่เป็นที่สบาย 7  อย่างนี้ ​ พึงเสพธรรมอันเป็นที่สบาย 7  อย่างนี้นั้นเถิด ​ เพราเมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ​ และเสพปฏิภาคนิมิตมาก ๆ  ขึ้น ​ ไม่ช้าไม่นานเท่าไรเลย ​ โยคีบุคคลบางคนก็จะได้สำเร็จอัปปนาฌานแน่นอน 
- 
-(หน้าที่ 213) 
- 
-===อัปปนาโกศล ​ 10=== 
-====บริหาร 10 ข้อให้บรรลุอัปปนา==== 
- 
-ถ้ายังไม่สำเร็จอัปปนาฌาน ต้องบำเพ็ญอัปปนาโกศล ​ 10  ประการ 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลใดแม้จะได้ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว ​ ก็ยังไม่ได้สำเร็จอัปปนาฌาน โยคีบุคคลนั้นพึงบำเพ็ญอัปปนาโกศล ​ (คือวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนา) ​ ให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ต่อไป 
- 
-ในอัปปนาโกศลนั้น ​ มีนัยดังนี้ -  อันโยคีบุคคลจำต้องปรารถนาวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนาสมาธิ ​ โดยประการ ​ 10  อย่าง ​ คือ – 
- 
-1.    วตฺถุวิสทกิริยโต ​   โดยทำวัตถุให้สะอาด 
- 
-2.    อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนโต ​   โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน 
- 
-3.    นิมิตฺตกุสลโต ​   โดยฉลาดในนิมิต 
- 
-4.    จิตฺตปคฺคหโต ​   โดยยกจิตในสมัยที่ควรยก 
- 
-5.    จิตฺตนิคฺคหโต ​   โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 
- 
-6.    จิตฺตสมฺปหํสโต ​   โดยพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง 
- 
-7.    จิตฺตอชฺฌุเปกฺขโต ​   โดยเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย 
- 
-8.    อสมาหิตปุคฺคลปริวชฺชนโต ​   โดยเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ 
- 
-9.    สมาหตปุคฺคลเสวนโต ​   โดยสมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ ​ และ 
- 
-10.    ตทธิมุตฺตโต ​   โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น 
- 
-'''​อธิบาย ​ อัปปนาโกศล ​ 10  ประการ 
-'''​ 
-'''​1. ​ โดยทำวัตถุให้สะอาด 
-'''​ 
-ในอัปปนาโกศล ​ 10  ประการนั้น ​ การทำวัตถุทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกให้มีความสะอาด ​ ชื่อว่า ​ ทำวัตถุให้สะอาด ​ อธิบายว่า ​ กาลใด ​ โยคีบุคคลมีผม, ​ เล็บ ​ และ ​ ขนทั้งหลายขึ้นมา ​ หรือมีร่างกายถูกเหงื่อไคลจับเปื้อนเปรอะ ​ กาลนั้น ​ ชื่อว่า ​ มีวัตถุภายในไม่สะอาด ​ ไม่บริสุทธิ์ ​ แหละกาลใด ​ โยคีบุคคลมีจีวรเก่า ​ สกปรก ​ และเหม็นสาบ ​ หรือมีเสนาสนะรกรุงรัง ​ กาลนั้น ​ ชื่อว่า ​ มีวัตถุภายนอกไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ 
- 
-(หน้าที่ 214) 
- 
-เมื่อจิตและเจตสิกทั้งหลายเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นภายในและภายนอกที่ไม่สะอาดเช่นนั้น ​ แม้ฌานก็พลอยไม่สะอาดไปด้วย ​ ฉันเดียวกับแสงแห่งตะเกียงอันเกิดเพราะอาศัย ​ ตะเกียง, ​ ไส้ ​ และน้ำมันที่ไม่สะอาด ​ เมื่อโยคีบุคคลพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยฌานอันไม่สะอาด ​ แม้สังขารย่อมไม่ปรากฏแจ้งชัด ​ ถึงจะเพียรทำกัมมัฏฐานไป ​ แม้กัมมัฏฐานก็จะไม่บรรลุถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์อยู่นั่นเอง 
- 
-แต่เมื่อจิตและเจตสิกทั้งหลายเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นภายในและภายนอกที่สะอาด ​ แม้ญาณก็พลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย ​ ฉันเดียวกับแสงแห่งตะเกียงที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตะเกียง, ​ ไส้ ​ และน้ำมันที่สะอาด ​ และเมื่อโยคีบุคคลพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยญาณอันสะอาด ​ แม้สังขารทั้งหลายก็ย่อมปรากฏแจ้งชัด ​ เมื่อเพียรทำกัมมัฏฐานไป ​ แม้กัมมัฏฐานก็จะบรรลุถึง ​ ซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ 
- 
-'''​2. ​ โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน 
-'''​ 
-การทำอินทรีย์ 5  มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความสม่ำเสมอกันโดยหน้าที่ ​ ชื่อว่า ​ ทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน ​ อธิบายว่า ​ ถ้าแหละ ​ อินทรีย์คือศรัทธาของโยคีบุคคลนั้นมีกำลังมาก ​ อินทรีย์ 4  นอกนี้มีกำลังน้อยแล้วไซร้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ อินทรีย์คือวีริยะ ​ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือการประคอง ​ อินทรีย์คือสติ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือการปรากฏ อินทรีย์คือสมาธิ ​ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือความไม่ฟุ้งซ่าน ​ อินทรีย์คือปัญญาย่อมไม่สามารถทำหน้าที่คือการเห็นแจ้ง ​ เพราะฉะนั้น ​ ต้องลดสัทธินทรีย์นั้นลง ​ ด้วยการพิจารณาถึงสภาวธรรมคือภาวะที่เป็นจริงของสัทธินทรีย์นั้น ​ หรือด้วยไม่มนสิการถึงโดยวิธีที่มนสิการถึงแล้วสัทธินทรีย์เกิดมีกำลังมากขึ้น ​ แหละในอธิการนี้ ​ มีเรื่องพระวักกลิเถระ ​ เป็นตัวอย่าง 
- 
-'''​เรื่องพระวักกลิเถระ 
-'''​ 
-ก็แหละ ท่านวักกลิเถระนั้น ​ เป็นผู้มีบุญญาธิการอันได้สั่งสมไว้ในสัทธาธิมุต ​ คือ ​ ความเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า ​ จึงเป็นผู้ขวนขวายในอันจะได้เห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดาอยู่อย่างไม่รู้สร่าง ​ แม้พระบรมศาสดาจะได้ทรงโอวาทแล้วทรงประกอบไว้ในกัมมัฏฐาน ​ โดยนัยมีอาทิว่า ​ วักกลิ ​ เธอต้องการอะไรด้วยอันเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้เล่า ​ วักกลิ 
- 
-(หน้าที่ 215) 
- 
-ผู้ใดแลเห็นธรรม ​ ผู้นั้นจึงชื่อว่าเห็นเรา ​ ฉะนี้แล้วก็ตาม ​ เธอก็มิได้สนใจประกอบพระกัมมัฏฐานนั้น ​ กลับเสียใจ ​ ได้ขึ้นไปยังทีปากเหวเพื่อทำตนให้ตกลงไป ​ ทันใดนั้น ​ พระบรมศาสดาซึ่งเสด็จประทับนั่งอยู่อย่างปกตินั่นเทียว ​ ได้ทรงเปล่งพระรัศมีไปทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ​ ตรัสพระพุทธนิพนธคาถาว่า ​ "​ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมช ​ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีหวังได้บรรลุสันติบท ​ คือความสุขอันเป็นที่ระงับดับเสียซึ่งสังขารธรรมทั้งหลาย" ​ ฉะนี้แล้ว ​ ได้ทรงเรียกพระวักกลิเถระว่า ​ "​มานี่แน่ ​ วักกลิ" ​ ท่านวักกลิเถระนั้น ​ อันพระบรมศาสดาได้ทรงประพรมด้วยน้ำพระพุทธมนต์อมฤตรสนั้นแล้ว ​ กลับมีความร่าเริงยินดี ​ จึงได้เริ่มลงมือเจริญวิปัสสนา ​ แต่ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่วิปัสสนาวิถีได้ ​ เพราะเหตุที่ศรัทธามีกำลังมากเกินไป ​ พระผู้มีพระภาคทรงทราบเช่นนั้น ​ จึงทรงแก้ไขให้ท่านถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ​ ทรงสอบชำระพระกัมมัฏฐานประทานให้ ​ แล้วท่านวักกลิเถระปฏิบัติวิปัสสนาให้ก้าวหน้าขึ้นไป ​ โดยนัยที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้นั้น ​ ก็ได้บรรลุถึงซึ่งพระอรหัตโดยลำดับแห่งอริยมรรคขึ้นไป ​ ฉะนี้แล 
- 
-แหละถ้าวีริยินทรีย์มีกำลังมาก ​ แต่นั้น ​ สัทธินทรีย์ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่คือการตัดสินอารมณ์ได้ ​ อินทรีย์อื่นนอกนี้ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ที่ต่างกันนอกนี้ได้ ​ เพราะฉะนั้น ​ ต้องลดวีริยินทรีย์นั้นลง ​ ด้วยการเจริญสัมโพชฌงค์ 3  ประการ ​ คือ ​ ปัสสัทธิ, ​ สมาธิ ​ และอุเบกขา ​ แม้ในอธิการนี้ ​ ก็ควรแสดงเรื่องพระโสณเถระผู้ละเอียดอ่อนเป็นตัวอย่าง ​ ดังนี้ – 
- 
-'''​เรื่องพระโสณเถระ 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ท่านโสณเถระนั้น ​ เรียนเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระบรมศาสดาแล้วไปอยู่ ​ ณ  ป่าสีเสียด ​ ท่านคิดว่า ​ "​ร่างกายเราละเอียดอ่อนมาก ​ และเราไม่สามารถจะบรรลุถึงสุขได้โดยง่ายเลย ​ เราจึงควรบำเพ็ญสมณธรรมแม้อย่างที่ทรมานกายให้ลำบาก" ​ ฉะนี้แล้ว ​ ได้อธิษฐานเอาอิริยาบถยืนและเดินเพียง 2  อย่างเท่านั้น ​ พยายามประกอบความเพียรอยู่แม้ที่ฝ่าเท้าที่ข้อเท้าจะมีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ​ ก็ไม่เอาใจใส่ ​ พยายามทำความเพียรอย่างมุ่งมั่น 
- 
-(หน้าที่ 216) 
- 
-แต่กระนั้น ​ ก็ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นได้ ​ เพราะปรารถความเพียรแรงกล้าเกินไป ​ พระบรมศาสดาจึงได้เสด็จไป ณ  ที่นั้น ​ ทรงประทานพระพุทธโอวาทด้วยวีโณวาท ​ คือโอวาทเปรียบด้วยพิณสามสาย ​ ทรงแสดงวิธีปรับวีริยะให้สม่ำเสมอ ​ ทรงสอบชำระพระกัมมัฏฐานแล้ว ​ จึงเสด็จกลับยังภูเขาคิชฌกูฏ ​ ฝ่ายพระเถระปรับวีริยะให้สม่ำเสมอ ​ โดยนัยที่ทรงประทานแล้วเจริญวิปัสสนาให้ก้าวหน้าขึ้นไป ​ ดำรงตนไว้ในพระอรหัตแล้ว ​ ฉะนี้แล 
- 
-การอธิบายความสม่ำเสมอกันแม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ​ คือ ​ สติ, ​ สมาธิ ​ และปัญญา ​ ก็พึงทราบเหมือนกันนี้ ​ กล่าวคือ ​ เมื่ออินทรีย์แต่ละประการมีกำลังมาก ​ ก็จงทราบเถิดว่า ​ อินทรีย์นอกนี้ไม่สม่ำเสมอกันในหน้าที่ของตน ๆ 
- 
-'''​ศรัทธากับปัญญาเสมอกัน 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ในอินทรีย์ 5  นี้ ​ เมื่อกล่าวโดยที่แปลกกันแล้ว ​ ปราชญ์ทั้งหลายย่อมรับรองต้องกันว่า ​ ศรัทธาเสมอกันกับปัญญา ​ และสมาธิเสมอกันกับวีริยะ ​ อธิบายว่า ​ บุคคลผู้มีศรัทธามาก ​ แต่มีปัญญาน้อย ​ ย่อมเป็นคนมีความเลื่อมใสอย่างเซ่อ ๆ  คือไม่เลื่อมใสอย่างแน่วแน่ ​ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่อง ​ บุคคลผู้มีปัญญามากแต่มีศรัทธาน้อย ​ ย่อมแหกแนวไปสู่ทางฝ่ายเกเรโอ้อวด ​ เป็นผู้มีอันใคร ๆ  จะแก้ไขไม่ได้ ​ เหมือนกับโรคที่เกิดขึ้นจากยาเอง ​ ยากที่จะรักษาให้หายได้ ​ แต่เพราะศรัทธากับปัญญาสม่ำเสมอกัน ​ บุคคลย่อมเลื่อมใสถูกเรื่องเสมอ 
- 
-'''​สมาธิกับวีริยะเสมอกัน 
-'''​ 
-ส่วนบุคคลผู้มีสมาธิมากแต่มีวีริยะน้อย ​ ความเกียจคร้านย่อมครอบงำ ​ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายของความเกียจคร้าน ​ บุคคลผู้มีวีริยะมากแต่มีสมาธิน้อย ​ อุทธัจจะความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำ ​ เพราะวีริยะเป็นฝักฝ่ายของอุทธัจจะ ​ แต่สมาธิที่ประกอบเข้ากับวีริยะแล้วย่อมไม่ได้เพื่อตกไปในความเกียจคร้าน ​ วีริยะที่ประกอบเข้ากับสมาธิแล้ว ​ ก็ไม่ได้เพื่อตกไปในอุทธัจจะ ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงจำต้องวีริยะกับสมาธิทั้งสองนั้นให้สม่ำเสมอกัน ​ เพราะจะสำเร็จอัปปนาสมาธิได้ ​ ด้วยวีริยะสมาธิทั้งสองสม่ำเสมอกัน 
- 
-(หน้าที่ 217) 
- 
-'''​การปรับอินทรีย์ให้เสมอกันอีกนัยหนึ่ง 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ สำหรับโยคีบุคคลผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานนั้น ​ แม้จะมีศรัทธาชนิดที่มีกำลังมาก ​ ก็สมควร ​ เพราะเมื่อศรัทธามีกำลังมากอย่างนี้ ​ โยคีบุคคลเชื่อมั่นอยู่ ​ มุ่งหมายอยู่ ​ ก็จักได้บรรลุถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ 
- 
-แหละ ​ ในสมาธิกับปัญญานั้น ​ สมาธิมีกำลังมากย่อมสมควรสำหรับผู้ที่เจริญสมถกัมมัฏฐาน ​ เพราะโยคีบุคคลผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานนั้นจะบรรลุอัปปนาสมาธิได้ก็ด้วยสมาธิที่มีกำลังมากอย่างนี้ ​ ปัญญาที่มีกำลังมากย่อมสมควรสำหรับผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ​ เพราะโยคีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนานั้น ​ ย่อมจะบรรลุถึงซึ่งการแทงตลอดลักษณะของสังขารธรรม ​ ก็ด้วยปัญญาที่มีกำลังมากนี้ ​ แต่เพราะเหตุที่สมาธิกับปัญญาทั้งสองสมดุลย์กัน ​ จึงจะสำเร็จอัปปนาสมาธินั่นเทียว 
- 
-'''​สติจำปรารถนาในอินทรีย์ทั้ง ​ 5 
-'''​ 
-ส่วนสตินั้นมีกำลังมากในอินทรีย์ ​ 5  ทุกประการยิ่งดี ​ เพราะสติย่อมรักษา ​ กุศลจิตให้พ้นจากการตกไปในอุทธัจจะ ​ ด้วยอำนาจแห่งศรัทธา, ​ วีริยะ ​ และปัญญาอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน ​ เพราะเหตุนั้น ​ สติจึงจำปรารถนาในอินทรีย์ 5  ทุกประการ ​ เหมือนเกลือป่นจำปรารถนาในกับข้าวทุกชนิด ​ และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในกิจทั้งปวง ​ จำปรารถนาในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านอรรถกถาจารย์ ​ จึงกล่าวไว้ว่า ก็แหละ ​ สตินั้น ​ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ​ จำปรารถนาในกิจทุกอย่าง ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะจิตมีสติเป็นเครื่องเตือนให้ระลึก ​ และสติมีการอารักขาเป็นอาการปรากฏ ​ การยกจิตและการข่มจิต ​ เว้นจากสติแล้ว ​ หาเป็นไปได้ไม่ ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​3. ​ โดยฉลาดในนิมิต 
-'''​ 
-ความฉลาดในนิมิตนั้น ​ ได้แก่ความฉลาดในการทำนิมิตของสมาธิ ​ เช่นปถวีกสิณ ​ เป็นต้นซึ่งยังไม่ได้ทำขึ้นอย่างหนึ่ง ​ ได้แก่ความฉลาดในการภาวนาซึ่งนิมิตที่ทำขึ้นแล้วอย่าง 
- 
-(หน้าที่ 218) 
- 
-หนึ่ง ​ ความฉลาดในนิมิตที่ประสงค์เอาในอัปปนาโกศลกถานี้ ​ ได้แก่ความฉลาดในการรักษาซึ่งนิมิตที่ได้มาแล้วด้วยการภาวนานั้น 
- 
-====โพชฌงค์==== 
- 
- 
- 
-'''​4. ​ โดยยกจิตในสมัยที่ควรยก 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ โยคีบุคคลย่อมยกจิตในสมัยที่ควรยกนั้น ​ คือทำอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  กาลใด ​ โยคีบุคคลนั้นมีจิตหดหู่ด้วยเหตุทั้งหลาย ​ เช่น ​ ความมีวีริยะย่อหย่อนมากเป็นต้น ​ กาลนั้น ​ อย่าเจริญสัมโพชฌงค์ 3  ประการ ​ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น ​ แต่พึงเจริญสัมโพชฌงค์ 3  ประการ ​ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น 
- 
-'''​วิธียกจิตด้วยสัมโพชฌงค์ ​ 3 
-'''​ 
-ข้อนี้สมดังที่พระผู้มีพระภาคทรงเทศนาไว้ดังต่อไปนี้ – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ใคร่จะสุมไฟกองเล็ก ๆ  ให้ลุกโพลงขึ้น เขาใส่หญ้าสดเข้าไปด้วย ​ ใส่มูลโคสดเข้าไปด้วย ​ มิหนำซ้ำพ่นลมปนน้ำลายใส่ด้วย ​ โปรยขี้ฝุ่นใส่ด้วย ​ ในกองไฟนั้น ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ บุรุษนั้นควรหรือไม่เล่า ​ เพื่อจะทำไฟกองเล็ก ๆ  นั้นให้ลุกโพลงขึ้นได้ ?  ข้อนั้นไม่ควรจะเป็นไปได้ ​ พระพุทธเจ้าข้า 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ฉันเดียวกันนั่นเทียวแล ​ สมัยใดจิตหดหู่ ​ สมัยนั้นไม่ใช่กาล ​ เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ​ ไม่ใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ​ ไม่ใช่กาลเพื่อเจริญ ​ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ​ ข้อนั้น ​ เพราะเหตุไร ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะจิตหดหู่อยู่แล้ว ​ จิตที่หดหู่นั้นย่อมยากที่จะช่วยยกขึ้นได้ด้วยสมโพชฌงคธรรมเหล่านี้ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ แต่สมัยใดจิตหดหู่ ​ สมัยนั้นเป็นการเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ​ เป็นกาลเพื่อเจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ​ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ​ ข้อนั้น ​ เพราะเหตุไร ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะเหตุที่จิตหดหู่นั้น ​ ย่อมง่ายที่จะช่วยยกขึ้นด้วยสัมโพชฌงคธรรมเหล่านี้ 
- 
-(หน้าที่ 219) 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ใคร่จะสุมไฟกองเล็ก ๆ  ให้ลุกโพลงขึ้นเขาจึงใส่หญ้าแห้งเข้าไปด้วย ​ ใส่มูลโคแห้งเข้าไปด้วย ​ ใส่ไม้แห้งเข้าไปด้วย ​ ช่วยเป่าลมปากใส่ด้วย ​ แต่ไม่โปรยขี้ฝุ่นลงใส่ในกองไฟนั้น ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ บุรุษนั้นควรหรือไม่เล่า ​ เพื่อที่จะทำไฟกองเล็ก ๆ  นั้นให้ลุกโพลงขึ้นได้ ?  ควรที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ​ พระพุทธเจ้าข้า 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของธัมมวิจยะเป็นต้น 
-'''​ 
-แหละในอธิการนี้ ​  ​นักศึกษาพึงทราบถึงวิธีการเจริญสัมโพชฌงค์ ​ 3  ประการมี ​ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น ​ ด้วยอำนาจอาหารปัจจัยของตน ๆ  ต่อไป ​ ดังนี้ – 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของธัมมวิจยะ 
-'''​ 
-ข้อนี้ ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคทรงเทศนาไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลมีอยู่ ​ ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและที่หาโทษมิได้มีอยู่ ​ ธรรมทั้งหลายชั้นทรามและชั้นประณีตมีอยู่ ​ ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบด้วยของดำและที่มีส่วนเปรียบด้วยของขาวมีอยู่ ​ การหมั่นมนสิการโดยชอบในกุศลธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ​ นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปด้วยความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของวีริยะ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ ทรงเทศนาไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อารัมภธาตุ, ​ นิกกมธาตุ ​ และปรักกมธาตุมีอยู่ ​ การหมั่นมนสิการโดยชอบในอารัมภธาตุเป็นต้นเหล่านั้น ​ นี้จัดเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไปเพื่อทำ ​ วีริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งวีริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-(หน้าที่ 220) 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของปีติ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ ทรงเทศนาไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ​ การหมั่นมนสิการโดยชอบในธรรมเหล่านั้น ​ นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่เป็นไปเพื่อปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปด้วยความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-'''​อรรถาธิบายบาลี 
-'''​ 
-ในบาลีนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  มนสิการที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการรู้ปรุโปร่งซึ่งลักษณะของสภาวธรรม ​ และลักษณะที่เสมอกันของสังขารธรรม ​ ชื่อว่า ​ มนสิการโดยชอบในกุศลธรรมเป็นต้น 
- 
-มนสิการที่เป็นไปด้วยอำนาจที่ทำให้อารัมภธาตุเป็นต้นเกิดขึ้น ​ ชื่อว่า ​ มนสิการโดยชอบ ​ ในอารัมภธาตุเป็นต้น ​ ในธาตุเหล่านั้น ​ ความเพียรขั้นแรกเรียกว่า ​ อารัมภธาตุ ​ ความเพียรที่มีกำลังกว่าอารัมภธาตุนั้น ​ เพราะออกพ้นจากความเกียจคร้านแล้ว ​ เรียกว่า ​ นิกกมธาตุ ​ ความเพียรที่มีกำลังมากกว่านิกกมธาตุนั้นขึ้นไปอีก ​ เพราะก้าวสู่ฐานะยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ เรียกว่า ​ ปรักกมธาตุ 
- 
-แหละคำว่า ​ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ ​ นี้ ​ เป็นชื่อของปีตินั่นเอง ​ มนสิการที่ให้ปีติแม้นั้นเกิดขึ้นนั่นแล ​ ชื่อว่า ​ มนสิการโดยชอบ 
- 
-'''​ธรรม ​ 7  ที่เป็นเหตุให้ธัมมวิจยะเกิด 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ ธรรม 7  ประการ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​ คือ – 
- 
-(หน้าที่ 221) 
- 
-1.    การสอบถาม 
- 
-2.    การทำร่างกายและเครื่องใช้ให้สะอาด 
- 
-3.    การปรับอินทรีย์ ​ 5  ให้สู่ความสมดุลย์กัน 
- 
-4.    การหลีกเว้นคนมีปัญญาทราม 
- 
-5.    การสมาคมกับคนมีปัญญาดี 
- 
-6.    การพิจารณาธรรมที่ต้องสอดส่องด้วยญานอันลึกซึ้ง ​ และ 
- 
-7.    การน้อมจิตไปในธัมมวิจยะนั้น 
- 
-'''​ธรรม ​ 11  ที่เป็นเหตุให้วีริยะเกิด 
-'''​ 
-ธรรม 11  ประการ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้วีริยะสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​ คือ – 
- 
-1.    การพิจารณาเห็นภัยมีทุกข์ในอบายเป็นต้น 
- 
-2.    การเห็นอานิสงส์ของการบรรลุคุณวิเศษ ​ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระอันเนื่องด้วยความเพียร 
- 
-3.    การพิจารณาเห็นวิถีทางดำเนินอย่างนี้ว่า ​ เราจะต้องดำเนินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า, ​ พระปัจเจกพุทธเจ้า ​ และพระมหาสาวกทั้งหลายดำเนินไปแล้ว ​ แหละทางนั้นคนเกียจคร้านไม่สามารถจะดำเนินไปได้ 
- 
-4.      การเคารพในข้าวสุก ​ ด้วยทำให้ทายกผู้บริจาคทั้งหลายเป็นผู้ได้ผลมาก 
- 
-5.      การพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดาอย่างนี้ว่า ​ พระบรมศาสดาของเราตรัสสรรเสริญคุณของคนปรารภความเพียร ​ และพระองค์ทรงมีคำสอนอันใคร ๆจะละเมิดมิได้ ​ พระองค์ทรงมีพระอุปการะมากแก่เรา ​ ทรงเป็นผู้อันเราบูชาอยู่และจะบูชาต่อไปด้วยปฏิบัติบูชา ​ มิใช่ด้วยอามิสบูชาประการอื่น 
- 
-6.    การพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่แห่งมรดกอย่างนี้ว่า ​ มรดกอันยิ่งใหญ่ ​ คือพระสัทธรรม ​ เป็นสิ่งอันเราจะต้องรับไว้ ​ และมรดกอันยิ่งใหญ่นั้น ​ คนเกียจคร้านไม่สามารถจะรับไว้ได้ 
- 
-7.    การบรรเทาถีนะและมิทธะด้วยการมนสิกาถึงอาโลกสัญญา ​ การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ​ และการอยู่ในที่โล่งแจ้ง 
- 
-(หน้าที่ 222) 
- 
-8.      การหลีกเว้นคนเกียจคร้าน 
- 
-9.       ​การสมาคมกับคนปรารภความเพียร 
- 
-10.      การพิจารณาถึงอานุภาพของความเพียรชอบ ​ 4  ประการ ​  ​และ 
- 
-11.      การน้อมจิตไปในวีริยะนั้น 
- 
-'''​ธรรม ​ 11  ที่เป็นเหตุให้ปีติเกิด 
-'''​ 
-ธรรม ​ 11  ประการ ​  ​ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้ปีติสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​  ​คือ- 
- 
-1.      พุทธานุสสติ ​   ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า 
- 
-2.      ธัมมานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณของพระธรรม 
- 
-3.      สังฆานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณพระอริยสงฆ์ 
- 
-4.      สีลานุสสติ ​   ระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ของตน 
- 
-5.      จาคานุสสติ ​   ระลึกถึงการบริจาคทานที่ตนบริจาคแล้ว 
- 
-6.      เทวตานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา 
- 
-7.      อุปสมานุสสติ ​   ระลึกถึงพระนิพพานอันเป็นที่ดับทุกข์ทั้งปวง 
- 
-8.      การหลีกเว้นคนที่มีใจหยาบกระด้าง 
- 
-9.      การสมาคมกับคนที่รักใคร่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น 
- 
-10.      การพิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ​ และ 
- 
-11.      การน้อมจิตไปในปีตินั้น 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นด้วยอาการทั้งหลายเหล่านี้ ​ ชื่อว่า ​ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น 
- 
-โยคีบุคคลย่อมยกจิตในสมัยที่ควรยก ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​5. ​ โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ โยคีบุคคลย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่มนั้น ​ คือทำอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  กาลใด ​ โยคีบุคคลนั้น ​ มีจิตฟุ้งซ่านด้วยเหตุทั้งหลาย ​ มีการปรารภความเพียรเคร่งเครียดเกินไปเป็นต้น ​ กาลนั้น ​ อย่าเจริญสัมโพชฌงค์ ​ 3  ประการ ​ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น ​ แต่พึงเจริญสัมโพชฌงค์ ​ 3  ประการ ​ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น 
- 
-(หน้าที่ 223) 
- 
-'''​วิธีข่มจิตด้วยสัมโพชฌงค์ ​ 3 
-'''​ 
-ข้อนี้ ​ สมด้วยพระผู้มีพระภาคทรงเทศนาไว้ ​ ซึ่งมีปรากฏในคัมภีร์สังยุตตนิกายมหาวารวรรค ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ใคร่จะดับไฟกองใหญ่ให้มอด ​ เขาใส่หญ้าแห้งเข้าไปด้วย ​ ใส่มูลโคแห้งเข้าไปด้วย ​ ใส่ไม้แห้งเข้าไปด้วย ​ ช่วยเป่าลมปากใส่ด้วย ​ และไม่ได้โปรยขี้ฝุ่นใส่ ​  ​ในกองไฟนั้น ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ บุรุษนั้นเขาควรหรือไม่เล่า ​ เพื่อที่จะทำกองไฟใหญ่นั้นให้ดับมอดลง ?  ข้อนั้น ​ ไม่ควรที่จะเป็นไปได้ ​ พระพุทธเจ้าข้า 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ฉันเดียวกันนั่นเทียวแล ​ สมัยใด ​ จิตฟุ้งซ่าน ​ สมัยนั้น ไม่ใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ​ ไม่ใช่กาลเพื่อเจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ​ ไม่ใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ​ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?  ภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะเหตุที่จิตฟุ้งซ่านอยู่แล้ว ​ จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ​ ย่อมยากที่จะข่มให้สงบลงด้วยโพชฌงคธรรมเหล่านี้ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ แต่สมัยใดแล ​ จิตย่อมฟุ้งซ่าน ​ สมัยนั้น ​ เป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ​ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ​ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ​ ข้อนั้น ​ เพราะเหตุไร ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะเหตุที่จิตฟุ้งซ่าน ​ จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ​ ย่อมง่ายที่จะข่มให้สงบลงด้วยโพชฌงคธรรมเหล่านี้ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ใคร่จะดับไฟกองใหญ่ให้มอด ​ เขาใส่หญ้าสดเข้าไปด้วย ​ ใส่มูลโคสดเข้าไปด้วย ​ ใส่ไม้สดเข้าไปด้วย ​ พ่นลมปนน้ำลายเข้าไปด้วย ​ และโปรยขี้ฝุ่นเข้าใส่ด้วย ​ ในกองไฟนั้น ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ บุรุษนั้นเขาควรหรือไม่เล่า ​ เพื่อที่จะยังไฟกองใหญ่นั้นให้ดับมอดลง ?  ควรที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ​ พระพุทธเจ้าข้า 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของปัสสัทธิเป็นต้น 
-'''​ 
-แม้ในอธิการนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบถึงวิธีการเจริญสัมโพชฌงค์ ​ 3  ประการ ​ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น ​ ด้วยอาหารปัจจัยของตน ๆ  ต่อไป ​ ดังนี้ – 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของปัสสัทธิ 
-'''​ 
-ข้อนี้ ​ สมด้วยพระผู้มีพระภาคทรงเทศนาไว้ ​ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์สังยุตตนิกายมหาวารวรรค ​ ดังนี้ – 
- 
-(หน้าที่ 224) 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ กายปัสสัทธิ ​ ความสงบกาย ​ จิตตปัสสัทธิ ​ ความสงบจิตมีอยู่ ​ การหมั่นมนสิการโดยชอบในปัสสัทธิทั้งสองนั้น ​ นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไปเพื่อ ​ ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของสมาธิ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ ทรงเทศนาอาหารปัจจัยของสมาธิไว้ว่า - 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ สมถนิมิต ​ นิมิตคือความสงบ ​ อัพยัคคนิมิต ​ นิมิตคือความไม่ฟุ้งซ่าน ​ มีอยู่ ​ การหมั่นมนสิการโดยชอบในนิมิตทั้งสองนั้น ​ นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไปเพื่อทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-'''​อาหารปัจจัยของอุเบกขา 
-'''​ 
-และอีกประการหนึ่ง ​ ทรงเทศนาไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ​ มีอยู่ การหมั่นมนสิการโดยชอบในธรรมเหล่านั้น ​ นี้นับเป็นอาหารปัจจัย ​ ที่ย่อมเป็นไปเพื่อทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ​ หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง ​ เพื่อความไพบูลย์ ​ เพื่อความเจริญ ​ เพื่อความบริบูรณ์ ​ แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว  ​ 
- 
-'''​อรรถาธิบายบาลี 
-'''​ 
-ในบาลีนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ -  ธรรมทั้ง 3  คือ ​ ปัสสัทธิ, ​ สมาธิ ​ และอุเบกขา ​ เคยเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลแล้วโดยอาการอย่างใด ​ มนสิการที่เป็นไปด้วยอำนาจกำหนดเอาอาการนั้นแล้วทำให้ธรรมทั้ง 3  นั้นเกิดขึ้น ​ ชื่อว่า ​ การมนสิการโดยชอบแม้ในบทบาลีทั้ง 3  พากย์นั้น  ​ 
- 
-คำว่า ​ สมถนิมิต ​ นี้ ​ เป็นชื่อของสมถะนั่นเอง ​ และคำว่า ​ อัพยัคคนิมิต ​ ก็เป็นชื่อของสมถะนั้นเหมือนกัน ​ โดยมีความหมายว่า ​ ไม่ฟุ้งซ่าน ​ ฉะนี้แล 
- 
-(หน้าที่ 225) 
- 
-'''​ธรรม ​ 7  ที่เป็นเหตุให้ปัสสัทธิเกิด 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ ธรรม ​ 7  ประการ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​ คือ – 
- 
-1.      การบริโภคอาหารอันประณีต 
- 
-2.      การได้รับอากาศสบาย ​ 
- 
-3.      การใช้อิริยาบถที่สบาย 
- 
-4.      การประกอบกิจแต่พอดีอย่างสม่ำเสมอ 
- 
-5.      การหลีกเว้นคนที่มีกายกระวนกระวาย 
- 
-6.      การสมาคมกับคนผู้ที่มีกายสงบ ​ และ 
- 
-7.      การน้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น 
- 
-'''​ธรรม ​ 11  ที่เป็นเหตุให้สมาธิเกิด 
-'''​ 
-ธรรม ​ 11  ประการ ​  ​ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้สมาธิสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​ คือ – 
- 
-1.      ร่างกายและเครื่องใช้สะอาด 
- 
-2.      ความฉลาดในนิมิตกัมมัฏฐาน 
- 
-3.      การปรับอินทรีย์ ​ 5  ให้สู่ความสมดุลย์ 
- 
-4.      การข่มจิตในสมัย 
- 
-5.      การยกจิตในสมัย 
- 
-6.      การพยุงจิตที่เบื่อหน่ายให้ร่าเริงด้วยอำนาจความเชื่อและความสลดใจ 
- 
-7.      การวางเฉยต่อจิตที่เป็นไปโดยชอบแล้ว 
- 
-8.      การหลีกเว้นคนผู้ไม่มีสมาธิ 
- 
-9.      การสมาคมกับคนผู้มีสมาธิ 
- 
-10.     ​การพิจารณาเฉพาะฌานและวิโมกข์ และ 
- 
-11.     ​การน้อมจิตไปในสมาธินั้น 
- 
-(หน้าที่ 226) 
- 
-'''​ธรรม ​ 5  ที่เป็นเหตุให้อุเบกขาเกิด 
-'''​ 
-ธรรม ​ 5  ประการ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ​ คือ – 
- 
-1.      ความเป็นกลาง ๆ ในสัตว์บัญญัติ 
- 
-2.      ความเป็นกลาง ๆ ในสังขารทั้งหลาย 
- 
-3.      การหลีกเว้นคนผู้มีความสาละวนในสัตว์และสังขาร 
- 
-4.      การสมาคมกับคนเป็นกลาง ๆ  ในสัตว์และสังขาร ​ และ 
- 
-5.      การน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น 
- 
-โยคีบุคคลเมื่อยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอยู่ ​ ด้วยอาการทั้งหลายเหล่านี้ ​ ชื่อว่า ​ เจริญสัมโพชฌงค์ ​ 3  ประการมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น ​ ฉะนี้ 
- 
-โยคีบุคคลย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​6. ​ โดยพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ โยคีบุคคลย่อมพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริงนั้น ​ คือทำอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  กาลใด ​ โยคีบุคคลนั้นมีจิตไม่เบิกบาน ​ เพราะการขวนขวายในปัญญาย่อหย่อน ​ หรือเพราะไม่ได้รับความสงบสุข ​ กาลนั้น ​ ย่อมพยุงจิตนั้นให้สลดสังเวช ​ ด้วยการพิจารณาถึงสังเวควัตถุ ​ 8  ประการ ​ สังเวควัตถุ ​ 8  ประการนั้น ​ ได้แก่ ​ ชาติ, ​ ชรา, ​ พยาธิ ​ และมรณะเป็น 4,  ทุกข์ในอบายที่เป็น ​ 5,  ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลรากในอดีตเป็นที่ 6,  ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลรากในอนาคตเป็นที่ 7,  ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลรากในปัจจุบันเป็นที่ 8  และโยคีบุคคลย่อมพยุงจิตนั้นให้เกิดความเลื่อมใส ​ ด้วยการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ​ คุณพระธรรม ​ คุณพระสงฆ์ ​ อีกสถานหนึ่งด้วย 
- 
-โยคีบุคคลย่อมพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​7. ​ โดยเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย 
-'''​ 
-ถาม -  โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉยนั้น ​ คือทำอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  กาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ​ จิตของเธอย่อมไม่หดหู่ ​ ไม่ฟุ้งซ่าน ​ ย่อมแช่มชื่นเบิกบาน ​ เป็นไปโดยสม่ำเสมอในอารมณ์ ​ ดำเนินสู่วิถีแห่งสมถภาวนา 
- 
-(หน้าที่ 227) 
- 
-กาลนั้น ​ โยคีบุคคลย่อมไม่ขวนขวายในอันที่จะยกและข่มจิตและในอันที่จะพยุงจิตให้ร่าเริงเหมือนนายสารถีขับรถม้า ​ ไม่ขวนขวายในม้าทั้งหลายที่วิ่งลากรถไปอย่างสม่ำเสมอกัน ​ ฉะนั้น 
- 
-โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​8. ​ โดยหลีกเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ 
-'''​ 
-การหลีกเว้นเสียอย่างห่างไกล ​ ซึ่งบุคคลทั้งหลายจำพวกที่ไม่เคยก้าวขึ้นสู่เนกขัมมปฏิปทา ​ คือไม่เคยปฏิบัติปฏิปทาที่ให้ออกจากกาม ​ มัวแต่วิ่งวุ่นอยู่ในกิจการเป็นอันมาก ​ มีใจฟุ้งเฟ้อไปในกิจการนั้น ๆ  ชื่อว่า ​ หลีกเว้นคนผู้ไม่มีสมาธิ 
- 
-'''​9. ​ โดยสมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ 
-'''​ 
-การเข้าไปคบหาสมาคมกับบุคคลทั้งหลาย ​ จำพวกที่ปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทา ​ ได้สำเร็จสมาธิ ​ โดยกาลอันควรตลอดกาล ​ ชื่อว่า ​ สมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ 
- 
-'''​10. ​ โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น 
-'''​ 
-ความน้อมจิตไปในอันที่จะทำสมาธิให้บังเกิดขึ้น ​ คือความหนักในสมาธิ ​ ความน้อมไปในสมาธิ ​ ความโน้มไปในสมาธิ ​ ความทุ่มเทไปในสมาธิ ​ ชื่อว่า ​ น้อมจิตไปในสมาธินั้น 
- 
-อันโยคีบุคคลพึงทำอัปปนาโกศลให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อย่าทอดทิ้งความเพียร 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลทำอัปปนาโกศลนี้ให้บริบูรณ์ในปฏิภาคนิมิตที่ได้แล้ว ​ โดยอาการอย่างนี้ ​ อัปปนาสมาธิก็จะบังเกิดขึ้นแน่นอน ​ แต่เมื่อได้ปฏิบัติอย่างนี้ ​ ถ้าอัปปนาสมาธินั้นยังไม่บังเกิดขึ้น ​ แม้ถึงเช่นนั้น ​ โยคีบุคคลผู้บัณฑิตก็อย่าได้ทอดทิ้งความเพียรเสีย ​ จงพยายามให้หนักยิ่งขึ้น ​ เพราะเมื่อลูกผู้ชายทอดทิ้งความเพียรชอบเสียแล้ว ​ จะพึงได้บรรลุคุณวิเศษแม้แต่นิดหน่อยนั้น ​ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย 
- 
-'''​ประคองจิตให้จดจ่อในปฏิภาคนิมิต 
-'''​ 
-เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลผู้บัณฑิต ​ พึงคอยใคร่ครวญพิจารณาซึ่งพฤติการณ์ที่เป็นไปของจิต ​ พยายามปรับปรุงวีริยะกับสมาธิให้มีหน้าที่สมดุลย์กันอยู่เสมอ ๆ พึงคอยยกจิต 
- 
-(หน้าที่ 228) 
- 
-ที่ตกไปสู่ความหดหู่แม้เพียงเล็กน้อยขึ้นไว้ ​ ป้องกันจิตที่เคร่งเครียดเกินไป ​ ประคองจิตให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอสมดุลย์กันให้จงได้ 
- 
-พฤติการณ์ที่เป็นไปในละอองดอกไม้, ​ ในใบบัว, ​ ในใยแมลงมุม, ​ ในเรือ ​ และในขวดน้ำมัน ​ ของสัตว์ทั้งหลายมีแมลงผึ้งเป็นต้น ​ ซึ่งท่านพรรณนาไว้ด้วยดีแล้วในอรรถกถาฉันใด ​ โยคีบุคคลพึงพยายามปลดเปลื้องภาวนาจิตจากภาวะที่หดหู่และภาวะที่ฟุ้งซ่านโดยสิ้นเชิง ​ แล้วประคองภาวนาจิตให้บ่ายหน้าจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิต ​ ฉันนั้น 
- 
-'''​เปรียบด้วยพฤติการณ์แมลงผึ้งกับละอองดอกไม้ 
-'''​ 
-ในคำอุปมาอุปไมยนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-เปรียบเหมือนแมลงผึ้งตัวไม่ฉลาด ​ ครั้นรู้ว่าต้นไม้โน้นมีดอกบานแล้ว ​ ก็รีบบินไปด้วยความเร็วอย่างมาก ​ จึงบินเลยต้นไม้นั้นไปเสีย ​ เมื่อบินวกกลับมาอีก ​ กว่าจะมาถึงก็ต่อเมื่อละอองดอกไม้ร่วงโรยไปเสียแล้ว ​ แมลงผึ้งที่ไม่ฉลาดอีกตัวหนึ่ง ​ บินไปด้วยความเร็วน้อยมาก ​ เมื่อละอองดอกไม้ร่วงโรยแล้วจึงบินไปถึง ​ ส่วนแมลงผึ้งตัวที่ฉลาด บินไปด้วยความเร็วอย่างพอดี ​ จึงบินไปถึงป่าดอกไม้อย่างสบาย ​ พาเอาละอองดอกไม้พอแก่ความต้องการมาปรุงให้เป็นน้ำหวาน ​ แล้วย่อมได้เสวยรสแห่งน้ำหวาน ​ ฉันใด 
- 
-'''​เปรียบด้วยพฤติการณ์ศิษย์แพทย์ผ่าตัดกับใบบัว 
-'''​ 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ เปรียบเหมือนศิษย์ของแพทย์ผ่าตัดทั้งหลาย ​ ที่กำลังศึกษาการผ่าตัดที่ใบบัวซึ่งอยู่ในถาดน้ำ ​ ศิษย์คนหนึ่งซึ่งไม่ฉลาด ​ จรดมีดลงโดยแรงย่อมจะตัดใบบัวขาดเป็นสองเสี่ยง ​ หรือทะลุลงไปในน้ำเสีย ​ อีกคนหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกัน ​ ไม่สามารถแม้เพื่อจะจรดมีดลงใบบัว ​ เพราะเกรงใบบัวจะขาดและเกรงมีดจะทะลุลงไปในน้ำ ​ ส่วนศิษย์ผู้ฉลาดแสดงการจรดมีดลงที่ใบบัวนั้นได้ ​ ด้วยประโยชน์อันพอดี ​ นับว่าเป็นผู้มีศิลปะอันขาวสะอาด ​ ครั้นไปประกอบการงานในสถานที่เห็นปานนั้น ​ ก็จะได้ลาภร่ำรวยต่อไป ​ ฉันใด 
- 
-'''​เปรียบด้วยพฤติการณ์ของบุรุษกับใยแมงมุม 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เปรียบเหมือนพระราชาทรงมีพระราชโองการสั่งว่า ​ ผู้ใดสามารถเอาใยแมงมุมมาให้ได้ประมาณสัก ​ 4  วา ​ เขาจะได้รับรางวัล ​ 4  พันกหาปณะ ​ ฉะนี้ ​ บุรุษผู้ไม่ฉลาดคนหนึ่ง ​ รีบสาวเอาใยแมงมุมมาโดยเร็ว ​ เลยทำให้ใยแมลงมุมขาดกระท่อน 
- 
-(หน้าที่ 229) 
- 
-กระแท่นไปหมด ​ อีกคนหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกัน ​ ไม่กล้าแม้ที่จะจับต้องใยแมงมุมด้วยมือเพราะเกรงมันจะขาด ​ ส่วนบุรุษคนที่ฉลาด ​ ค่อย ๆ เอาใยแมงมุมพันเข้าที่ท่อนไม้ด้วยประโยคอันสม่ำเสมอตั้งแต่ปลายสุดแล้วนำมาถวายได้ ​ เขาย่อมได้รับพระราชทานรางวัล ​ ฉันใด 
- 
-'''​เปรียบด้วยพฤติการณ์ของนายท้ายเรือกับเรือ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เปรียบเหมือนนายท้ายเรือผู้ไม่ฉลาด ​ ในเวลาลมแรงจัด ​ กางใบเสียจนเต็ม ​ เขาย่อมพาเรือแล่นไปผิดที่หมาย ​ นายท้ายเรืออีกคนหนึ่ง ​ ซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกัน ​ ในเวลาลมอ่อน ​ ลดใบลงเสีย ​ เขาย่อมทำเรือให้หยุดอยู่ ​ ณ  ที่ตรงนั้นเอง ​ ส่วนนายท้ายเรือผู้ฉลาด ​ ในเวลาลมอ่อน ​ ก็กางใบให้เต็มใบ ​ ในเวลาลมแรง ​ ก็กางเพียงครึ่งใบ ​ เขาย่อมไปถึงสถานที่ซึ่งตนปรารถนาโดยความสวัสดี ​ ฉันใด 
- 
-'''​เปรียบด้วยพฤติการณ์ของศิษย์กับขวดน้ำมัน 
-'''​ 
-อีกประการณ์หนึ่ง ​ เปรียบเหมือนเมื่ออาจารย์ของศิษย์ทั้งหลายประกาศว่า ​ ผู้ใดสามารถกรอกน้ำมันให้เต็มขวดได้โดยไม่ให้หกทิ้งแล้ว ​ จะได้รับรางวัล ​ ฉะนี้ ​ ศิษย์คนหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดแต่โลภอยากได้รางวัล ​ จึงรีบกรอกน้ำมันโดยเร็ว ​ เลยทำให้น้ำมันหกทิ้งไป ​ อีกคนหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกัน ​ ย่อมไม่กล้าแม้เพื่อจะกรอกน้ำมันใส่ขวด ​ เพราะเกรงน้ำมันจะหกทิ้งเสีย ​ ส่วนศิษย์ผู้ฉลาด ​ ค่อย ๆ  กรอกน้ำมันใส่ขวดด้วยประโยคอันสม่ำเสมอ ​ โดยไม่หกเลย ​ เขาย่อมได้รับรางวัล ​ ฉันใด 
- 
-'''​พฤติการณ์ของภิกษุผู้เป็นอุปไมย 
-'''​ 
-ฉันเดียวกันนั่นแหละ ​ ภิกษุรูปหนึ่ง ​ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ​ ทำความเพียรอย่างเคร่งเครียดทีเดียว ​ ด้วยหมายใจว่า ​ เราจักบรรลุถึงซึ่งอัปปมาสมาธิโดยเร็วนั่นเทียว ​ จิตของเธอย่อมจะตกไปในความฟุ้งซ่านเสีย ​ เพราะเหตุที่ปรารภความเพียรเคร่งเครียดเกินไป ​ เธอไม่สามารถที่จะบรรลุถึงซึ่งอัปปนาสมาธิได้ ​ อีกรูปหนึ่ง ​ มองเห็นโทษในความเป็นผู้มีความเพียรเคร่งเครียดเกินไป ​ จึงได้ทอดทิ้งความเพียรเสียด้วยทอดธุระว่า ​ บัดนี้เราจะธุระอะไรกับอัปปนาสมาธิ ​ แต่นั้น ​ จิตของเธอก็จะตกไปในความเกียจคร้านเสีย ​ เพราะเหตุที่มีความเพียรย่อหย่อน ​ แม้ภิกษุนั้นก็ไม่สามารถเพื่อจะบรรลุถึงซึ่งอัปปนาสมาธิเช่นกัน ​ ส่วนภิกษุใดพยายาม 
- 
-(หน้าที่ 230) 
- 
-ปลดเปลื้องภาวนาจิตที่หดหู่แม้เพียงเล็กน้อยออกจากภาวะที่หดหู่ ​ ปลดเปลื้องภาวนาจิตที่ฟุ้งซ่านจากภาวะที่ฟุ้งซ่าน ​ แล้วประคองให้ภาวนาจิตเป็นไปเฉพาะต่อปฏิภาคนิมิต ​ ด้วยประโยคอันสม่ำเสมอ ​ (คือไม่ให้เคร่งเครียดเกินไปและไม่ให้หย่อนยานเกินไป) ​ ภิกษุนั้นย่อมจะได้บรรลุถึงซึ่งอัปปนาสมาธิอย่างแน่นอน ​ อันโยคีบุคคลพึงปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นนั่นเทียว 
- 
-ข้าพเจ้าหมายเอาอรรถาธิบายนี้ ​  ​จึงกล่าวประพันธคาถาไว้ ​ ซึ่งมีใจความว่า – 
- 
-พฤติการณ์ที่เป็นไป ​ ในละอองดอกไม้, ​ ในใบบัว, ​ ในใยแมงมุม, ​ ในเรือ และในขวดน้ำมัน ​ ของบุคคลทั้งหลาย ​ มีแมลงผึ้งเป็นต้น ​ ซึ่งท่านพรรณนาไว้ด้วยดีแล้วในอรรถกถา ​ ฉันใด ​ โยคีบุคคลพึงภาวนาปลดเปลื้องภาวนาจิตจากภาวะที่หดหู่ ​ และภาวะที่ฟุ้งซ่าน ​ โดยสิ้นเชิง ​ แล้วประคองภาวนาจิตให้บ่ายหน้าเฉพาะจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิต ​ ฉันนั้น ​ ฉะนี้แล 
- 
-==ได้ปฐมฌาน== 
-===อธิบายสภาพของผู้ได้ฌานอย่างละเอียด=== 
- 
-ก็แหละเมื่อโยคีบุคคลประคองภาวนาจิตให้บ่ายหน้าเฉพาะจดจ่อในปฏิภาคนิมิตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้นั้น ​ มโนทวาราวัชชนจิต ​ ทำปถวีกสิณอันปรากฏอยู่ด้วยอำนาจภาวนาว่า ​ ปถวี – ปถวี ​ นั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นตัดภวังคจิต ​ เหมือนจะเตือนให้รู้ว่า ​ อัปปนาสมาธิจักสำเร็จเดี๋ยวนี้แล้ว ​ ถัดจากนั้น ​ ชวนจิตเล่นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ ​ 4  ขณะบ้าง ​ 5 ขณะบ้าง ​ ในชวนจิต 4  หรือ ​ 5  ขณะนั้น ​ ดวงหนึ่งในขณะสุดท้ายจัดเป็น ​ รูปาวจรกุศลจิต ​ (อัปปนาจิต) ​ อีก 3  หรือ 4  ดวงที่เหลือข้างต้นคงเป็น ​ กามาวจรกุศลจิต 
- 
-===อัปปนาชวนวิถีจิต=== 
- 
-จิตเหล่าใดซึ่งมี ​ วิตก, ​ วิจาร, ​ ปีติ, ​ สุข, ​ เอกัคคตา ​ (จิตเตกัคคตา) ​ มีกำลังมากกว่าจิตปกติ ​ จิตเหล่านั้นเรียกว่า ​ บริกรรม ​ บ้าง ​ เพราะเหตุปรุงแต่งอัปปนา ​ เรียกว่า ​ อุปจาระ ​ บ้าง ​ เพราะเหตุอยู่ใกล้หรือเฉียดไปใกล้อัปปนา ​ เหมือนกับสถานที่ซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านและใกล้นครเป็นต้น ​ เขาเรียกกันว่า ​ อุปจาระแห่งบ้านและอุปจาระแห่งนคร ​ ฉะนั้น ​ และเรียกว่า ​ อนุโลม ​ บ้าง ​ เพราะเหตุสมควรแก่อัปปนา ​ ตั้งแต่ในตอนก่อนแต่นี้และตอนหลังแห่งบริกรรมทั้งหลายมา ​ แหละในกามวจรชวนจิตนั้น ​ ดวงใดที่เกิดภายหลังเขาทั้งหมด 
- 
-(หน้าที่ 231) 
- 
-กามวจรชวนจิตดวงนั้น ​ (ดวงที่ 3 หรือที่ 4)  เรียกว่า ​ โคตรภู ​ บ้าง ​ เพราะเหตุทำลายกามโคตร ​ และทำให้มหัคคตโคตรเกิดขึ้น 
- 
-แต่เมื่อว่าโดยศัพท์ที่ท่านมิได้กำหนดเอาไว้แล้ว ​ ในอัปปนาชวนวิถีจิต 5  ดวงนั้น ​ ดวงที่ 1  เรียกว่า ​ บริกรรม ​ ดวงที่ 2  เรียกว่า ​ อุปจาระ ​ ดวงที่ 3  เรียกว่า ​ อนุโลม ดวงที่ 4  เรียกว่า ​ โคตรภู ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ดวงที่ 1  เรียกว่า ​ อุปจาระ ​ ดวงที่ 2  เรียกว่า ​ อนุโลม ​ ดวงที่ 3  เรียกว่า ​ โคตรภู ​ ดวงที่ 4  หรือ 5   ​เรียกว่า ​ อัปปนา 
- 
-จริงอยู่ ​ ชวนจิตดวงที่ 4  หรือดวงที่ 5  เท่านั้น ​ ย่อมสำเร็จ ​ เป็น ​ อัปปนาจิต ​ แหละชวนจิตดวงที่ 4  หรือที่ 5  นั้นเล่า ​ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งโยคีบุคคลผู้มีปัญญาไวและมีปัญญาช้า ​ (คนมีปัญญาไว ​ ชวนจิตมีเพียง 4 ขณะ ​ ส่วนคนมีปัญญาช้ามีถึง 5  ขณะ) ​ หลังจากชวนจิตดวงที่ 4  หรือที่ 5  นั้นไป ​ ชวนจิตก็ตกภวังค์ ​ จึงเป็นวาระของภวังค์จิตต่อไป 
- 
-'''​ท่านโคทัตตเถระค้าน 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ท่านโคทัตตเถระผู้ชำนาญอภิธรรมกล่าวแย้งไว้ว่า ​ ธรรมที่เกิดขึ้นหลัง ๆ  ย่อมมีกำลังมาก ​ เพราะเหตุได้อาเสวนปัจจัย ​ เพราะฉะนั้น ​ อัปปนาจิตจึงมีได้ในชวนะดวงที่ ​ 6  บ้าง ​ ดวงที่ 7  บ้าง ​ เพราะท่านอ้างสูตรนี้ว่า ​ ปุริมา ​ ปุริมา ​ กุสลา ​ ธมฺมา ​ ปจฺฉิมานํ ​ ปจฺฉิมานํ ​ กุสลานํ ​ ธมฺมานํ ​ อาเสวนปจฺจเยน ​ ปจฺจโย ​ ความว่า ​ ธรรมทั้งหลาย ​ ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดขึ้นตอนก่อน ๆ  ย่อมเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่ธรรมทั้งหลาย ​ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้นตอนหลัง ๆ  ด้วยอาเสวนปัจจัย 
- 
-'''​ท่านอรรถกถาจารย์รับรอง 
-'''​ 
-คำคัดค้านของท่านโคทัตตเถระนั้น ​ ท่านอรรถกถาจารย์ปฏิเสธว่า ​ นั้นเป็นเพียงสักว่าอัตโนมติ ​ แล้วได้แสดงรับรองว่า ​ ก็อัปปนาจิตนั้นย่อมมี่ได้ในขณะชวนจิตที่ 4  หรือที่ 5  นั้นถูกแล้ว ​ ภายหลังจากนั้น ​ ชวนจิตนับว่าตกภวังค์ไปแล้ว ​ เพราะอยู่ใกล้ต่อภวังค์มาก  ​ 
- 
-คำของท่านอรรถกถาจารย์นั้น ​ อันใคร ๆ ไม่กล้าที่จะคัดค้านได้เลย ​ เพราะท่านได้แสดงไว้อย่างรอบคอบแล้ว ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้วิ่งตรงไปยังเหวอันชันโดยเร็ว ​ แม้ 
- 
-(หน้าที่ 232) 
- 
-ประสงค์จะยั้งตัวไว้ ​ ก็ไม่สามารถเพื่อจะยันเท้าที่ขอบเหวยั้งตัวไว้ได้ ​ ย่อมจะตกไปในเหวเลยทีเดียว ​ ฉันใด ​ ชวนจิตก็ไม่อาจที่จะเป็นอัปปนาได้ ​ ในชวนจิตดวงที่ 6  หรือดวงที่ ​ 7  เพราะเหตุที่อยู่ใกล้ภวังค์ ​ ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เพราะฉะนั้น ​   นักศึกษาพึงเข้าใจเถิดว่า ​ อัปปนาจิตย่อมมีในชวนจิตดวงที่ 4  หรือดวงที่ 5  นั้นถูกต้องแล้ว 
- 
-'''​อัปปนาเกิดชั่วขณะจิตเดียว 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ อัปปนานั้นเกิดขึ้นชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น ​ อธิบายว่า ​ ใน 7  ฐานะ ​ ย่อมไม่มีขีดขั้นกาลเวลา ​ คือ ​ ขณะอัปปนาจิตเกิดทีแรก 1  ขณะโลกิยอภิญญาทั้งหลาย 1  ขณะมรรคทั้งสี่ 1  ขณะผลเกิดต่อจากมรรค 1  ขณะภวังคฌานในรูปภพและอรูปภพ 1  ขณะเนวสัญญายตนฌานเป็นปัจจัยแก่นิโรธสมาบัติ 1  ขณะผลสมาบัติของท่านผู้ออกจากนิโรธ 1 
- 
-ในฐานะทั้ง 7  นั้น ​ ขณะผลเกิดต่อจากมรรค ​ ย่อมไม่มีเกินกว่า ​ 3  ขณะจิต ​ ขณะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นปัจจัยแก่นิโรธสมาบัติ ​ ย่อมไม่มีเกิน 2  ขณะจิต ​ ปริมาณมากน้อยของภวังคฌานในรูปภพและอรูปภพไม่มี ​ ในฐานะที่เหลือ 4  ฐานะ ​ มีเพียงขณะจิตเดียวเท่านั้น 
- 
-ฉะนี้ ​ อัปปนาจึงเกิดขึ้นชั่วขณะจิตเท่านั้น ​ แต่นั้นก็ตกภวังค์ ​ ครั้นแล้วอาวัชชนจิตตัดภวังค์เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาฌาน ​ แต่นั้นชวนจิตก็ทำหน้าที่พิจารณาฌานต่อไป 
- 
-===ส่วนประกอบ 4 เมื่อได้อัปปนา=== 
-ก็แหละ ​ ด้วยลำดับแห่งภาวนาวิธีมีประมาณเพียงเท่านี้ ​ เป็นอันว่าโยคีบุคคลนั้นมีส่วนประกอบดังนี้:​ 
- 
-#​สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ สงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัดอยู่ ​ (องค์ฌาน 5) 
-#​ละองค์ 5  และประกอบด้วยองค์ 5  ​ 
-#​มีความงาม 3  และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  ​ 
-#​ได้บรรลุปฐมฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ 
- 
-====ส่วนที่ 1 องค์ฌาน 5 (ได้สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เป็นต้น)==== 
- 
-ในคำบาลีอันแสดงถึงองค์สำหรับละของฌานนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-(หน้าที่ 233) 
- 
-คำว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ ได้แก่ ​ เพราะพรากแล้ว เว้นแล้ว ​ หลีกออกแล้ว ​ จากกามทั้งหลาย ​ ส่วน ​ เอว ​ อักษรในบทว่า ​ วิวิจฺเจว ​ นี้นั้น มีความหมายว่าเป็นการแน่นอน ​ และเพราะเหตุที่ ​ เอว ​ อักษรมีความหมายว่าเป็นการแน่นอน ​ ฉะนั้น ​ เอว ​ อักษรจึงประกาศถึงภาวะที่ปฐมฌานนั้นเป็นปฏิปักษ์แก่กามทั้งหลาย ​ แม้ที่ไม่มีปรากฏอยู่ ​ ในขณะที่เข้าอยู่ในปฐมฌานนั้นด้วย ​ และประกาศถึงการได้บรรลุถึงปฐมฌานนั้น ​ ด้วยการสละกามได้อย่างแน่นอนด้วย 
- 
-ถาม -  ข้อนี้มีอรรถาธิบายอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  อธิบายว่า ​ เมื่อ ​ เอว ​ อักษรทำความแน่นอนให้ในคำว่า ​ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ อย่างนี้ ​ ปฐมฌานย่อมปรากฏชัด ​ จริงทีเดียว ​ กามทั้งหลายย่อมเป็นปฏิปักษ์แก่ฌาน ​ เมื่อกามเหล่าใดมีอยู่ ​ ฌานนี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ​ เหมือนเมื่อความมืดมีอยู่แสงสว่างแห่งตะเกียงก็ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้น ​ และการบรรลุถึงฌานนั้นจะมีได้ ​ ก็ด้วยการละเสียได้ซึ่งกามเหล่านั้นอย่างแน่นอน ​ เปรียบเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้ด้วยการละซึ่งฝั่งนี้เสีย ​ เพราะฉะนั้น ​ เอว ​ อักษรจึงชื่อว่า ​ ทำความแน่นอนให้ ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​เอว ​ อักษรประกอบในสองบท 
-'''​ 
-จะพึงมีคำถามขึ้นในเรื่อง ​    ​เอว ​ อักษรนั้นว่า -  ก็แหละ ​ ทำไม ​ เอว ​ อักษรนี้ ​ ท่านจึงแสดงไว้แต่ในบทต้นบทเดียว ​ ไม่แสดงไว้ในบทหลัง ​ หรือว่า ​ โยคีบุคคลนั้นแม้ไม่สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ ก็จะพึงบรรลุฌานได้อยู่ ? 
- 
-ขอวิสัชนาว่า -  ก็แหละ ​ การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ​ เอว ​ อักษรไว้ในบทต้นนั้น ​ ท่านเข้าใจอย่างนั้นหาถูกไม่ ​ เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดง ​ เอว ​ อักษรไว้ในบทต้นนั้นก็โดยที่ฌานเป็นเครื่องสลัดทิ้งซึ่งกามนั้นต่างหาก 
- 
-จริงอยู่ ​ ฌานนี้เป็นเครื่องสลัดทิ้งซึ่งกามทั้งหลายแน่นอน ​ เพราะเป็นปฏิปทาเครื่องก้าวล่วงซึ่งกามธาตุด้วย ​ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะด้วย ​ สมกับที่ทรงแสดงไว้ว่า ​ เนกขัมมะ ​ คือฌานนี้นั้น ​ เป็นเครื่องสลัดทิ้งซึ่งกามทั้งหลาย 
- 
-(หน้าที่ 234) 
- 
-แต่อย่างไรก็ตาม ​ แม้ในบทหลังก็ต้องยกเอา ​ เอว ​ อักษรมาแสดงประกอบไว้ด้วยเหมือนอย่างที่ท่านยกมาแสดงประกอบไว้ในคำนี้ว่า ​ อิเธว ​ ภิกฺขเว ​ ปฐโม ​ สมโณ, ​ อิธทุติโย ​ สมโณ ​ ความว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ สมณะที่ 1  มีในศาสนานี้เท่านั้น ​ สมณะที่ 2  ก็มีในศาสนานี้เท่านั้น ​ ทั้งนี้ ​ เพราะว่าใคร ๆ  ก็ตาม ​ ที่ยังไม่สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ กล่าวคือนิวรณ์แม้ข้ออื่น ๆ  จากกามฉันทะแล้ว ​ ก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุถึงซึ่งฌานได้เลย ​ เพราะเหตุนั้น ​ เอว ​ อักษรนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่าประกอบไว้ในบททั้งสองว่า ​ วิวิจฺเจว ​ กาเมหิ ​ วิวิจฺเจว ​ อกุสเลหิ ​ ธมฺเมหิ ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิวิจฺจ -  สงัดแล้ว 
-'''​ 
-อนึ่ง ​ ด้วยคำว่า ​ วิวิจฺจ ​ ที่แปลว่าสงัดนี้แล้ว ​ อันเป็นคำร่วมกันในทั้งสองบท ​ ย่อมสงเคราะห์เอาวิเวกคือความสงัดแม้หมดทุกอย่าง ​ คือ ​ วิเวก 5  มีตทังควิเวกเป็นต้น ​ และวิเวก 3  มีกายวิเวกเป็นต้น ​ ก็จริง ​ แต่กระนั้น ​ ณ  ที่นี้นักศึกษาพึงเข้าใจว่า ​ หมายเอาเพียงวิเวก ​ 3  อย่าง ​ คือ ​ กายวิเวก ​ ความสงัดกาย 1  จิตตวิเวก ​ ความสงัดใจ 1  วิกขัมภนวิเวก ​ ความสงัดเพราะข่มกิเลสไว้ 1 
- 
-'''​กาม ​ หมายเอาวัตถุกามและกิเลสกาม 
-'''​ 
-ก็แหละด้วยบทว่า ​ กาเมหิ ​ ที่แปลว่า ​ จากกามทั้งหลายนี้ ​ วัตถุกามเหล่าใดที่ ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทสโดยนัยมีอาทิว่า ​ วัตถุกามทั้งหลายเป็นไฉน ?  วัตถุกามทั้งหลาย ​ คือ ​ รูปทั้งหลายอันเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ………. ​ และกิเลสกามเหล่าใดที่ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทสนั่นแหละ ​ และในคัมภีร์ฌานวิภังค์โดยนัยอย่างนี้ว่า ​ ฉันทะความพอใจ ​ ชื่อว่ากาม ​ ราคะ ​ ความกำหนัด ​ ชื่อว่ากาม ​ ฉันทราคะ ​ ความกำหนัดด้วยความพอใจ ​ ชื่อว่ากาม ​ สังกัปปะ ​ ความดำริ ​ ชื่อว่ากาม ​ ราคะ ​ ความกำหนัด ​ ชื่อว่ากามสังกัปปราคะ ​ ความกำหนัดด้วยความดำริ ​ ชื่อว่ากาม ​ อกุศลธรรมเหล่านี้ ​ เรียกว่ากาม 
- 
-นักศึกษาพึงเข้าใจว่า ​ ท่านสงเคราะห์เอาวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นแม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 235) 
- 
-'''​วิเวก ​ 2  อย่าง 
-'''​ 
-แหละเมื่อสงเคราะห์เอากามทั้ง ​ 2  อย่างเช่นนี้ ​ คำว่า ​  ​สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ ก็เป็นอันหมายความว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากวัตถุกามทั้งหลายแต่อย่างเดียวหาได้หมายเอาว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากกิเลสกามทั้งหลายไม่ ​ และด้วยความสงัดจากวัตถุกามนั้น ​ เป็นอันท่านแสดงถึง ​ กายวิเวก ​ คือความสงัดกาย ​ คำว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ ก็เป็นอันหมายความว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากกิเลสทั้งหลาย ​ หรือจากอกุศลธรรมทั้งปวง ​ และด้วยความสงัดจากกิเลสกามนั้น ​ เป็นอันท่านแสดงถึง ​ จิตตวิเวก คือความสงัดจิต 
- 
-'''​อธิบายวิเวก ​ 2  อย่าง 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ในวิเวกทั้ง ​ 2  นั้น ​ ด้วยบทที่ ​ 1  เป็นอันท่านประกาศถึงความสละซึ่ง ​ กามสุข ​ เพราะคำว่าสงัดจากวัตถุกามทั้งหลายนั้นเอง ​ ด้วยบทที่ 2  เป็นอันท่านประกาศถึงการถือเอาซึ่ง ​ เนกขัมมสุข ​ สุขเพราะออกจากกาม ​ เพราะคำว่าสงัดจากกิเลสกามทั้งหลายนั่นเอง ​ อนึ่ง ​ ในบททั้ง ​ 2  นั้น ​ ด้วยบทที่ 1  ท่านประกาศถึงการประหานซึ่งวัตถุแห่งสังกิเลส ​ ด้วยบทที่ 2  ท่านประกาศถึงการประหานซึ่งตัวสังกิเลสมีตัณหาเป็นต้น ​ เพราะคำว่าสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามนั่นเอง ​ อนึ่ง ​ ด้วยบทที่ 1  ท่านประกาศถึงการสละซึ่งเหตุแห่งการโลเล ​ ด้วยบทที่ 2  ท่านประกาศถึงการสละซึ่งเหตุแห่งความเป็นพาล ​ อนึ่ง ​ ด้วยบทที่ 1  ท่านประกาศถึงความบริสุทธิ์แห่งประโยคคือการกระทำ ​ ด้วยบทที่ 2  ท่านประกาศถึงการชำระอัชฌาสัยให้บริสุทธิ์ ​ นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายดังแสดงมา ​  ​ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายกิเลสกาม 
-'''​ 
-ส่วนในฝ่ายกิเลสกามนั้น ​ กามฉันทะซึ่งมีประเภทเป็นอันมาก ​ เช่น ​ ฉันทะ ​ และ ​ ราคะ ​ เป็นต้นนั่นเทียว ​  ​ท่านประสงค์เอาว่า ​ กาม ​ แหละกามนั้น ​ แม้ถึงจะนับเนื่องอยู่ในอกุศลธรรมแล้วก็ตาม ​ แต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแยกไว้ต่างหากโดยความเป็นปฏิปักษ์แก่ฌาน ​ ดังในคัมภีร์ฌานวิภังค์โดยนัยมีอาทิว่า ​ ในบรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น ​ กามเป็นไฉน ?  ฉันทะชื่อว่ากาม 
- 
-(หน้าที่ 236) 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในบทต้น ​ ท่านแสดงกามไว้โดยความเป็นกิเลสกาม ​ ในบทที่ 2  ท่านแสดงไว้ด้วยเป็นสภาพที่นับเนื่องอยู่ในอกุศลธรรม ​ แหละเพราะกามนั้นมีประเภทเป็นอันมาก ​ ท่านจึงไม่แสดงเป็นเอกพจน์ว่า ​ กามโต ​ จากกาม ​ แต่แสดงเป็นพหูพจน์ว่า ​ กาเมหิ ​ จากกามทั้งหลาย ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​องค์ฌาน ​ 5  เป็นปฏิปักษ์แก่นิวรณ์ ​ 5 
-'''​ 
-แหละถึงแม้ว่าธรรมทั้งหลายอื่น ๆ  เช่นทิฏฐิมานะเป็นต้น ​ มีภาวะเป็นอกุศลมีอยู่แต่ในคัมภีร์ฌานวิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคตรัสเอาเฉพาะนิวรณ์ทั้งหลายเท่านั้น ​ โดยที่ทรงแสดงถึงภาวะที่เป็นปฏิปักษ์แก่องค์ฌานทั้งหลายต่อ ๆ ไป ​ โดยนัยมีอาทิว่า ​ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ​ อกุศลธรรมเป็นไฉน ?  อกุศลธรรมได้แก่กามฉันทะ….. 
- 
-จริงอยู่ ​ นิวรณ์ทั้งหลายเป็นข้าศึกแห่งองค์ฌาน ​ องค์ฌานทั้งหลายนั้นเล่าก็เป็น ​ ปฏิปักษ์แก่นิวรณ์เหล่านั้น ​ คือเป็นเครื่องกำจัด ​ เป็นเครื่องทำลายนิวรณ์เหล่านั้น 
- 
-เป็นความจริงเช่นนั้น ​ ท่านพระมหากัจจายนะแสดงไว้ในคัมภีร์เปฏกะ ​ ว่า – 
- 
-1.      สมาธิ ​   เป็นปฏิปักษ์แก่ ​   กามฉันทะ 
- 
-2.      ปีติ ​   เป็นปฏิปักษ์แก่ ​   พยาปาทะ 
- 
-3.      วิตก ​   เป็นปฏิปักษ์แก่ ​   ถีนมิทธะ 
- 
-4.      สุข ​   เป็นปฏิปักษ์แก่ ​   อุทธัจจะกุกกุจจะ ​ และ 
- 
-5.      วิจาร ​   เป็นปฏิปักษ์แก่ ​   วิจิกิจฉา 
- 
-'''​บททั้ง ​ 2  เป็นเครื่องข่มกิเลสต่างกัน 
-'''​ 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ ในบททั้ง 2  นั้น ​ ด้วยบทว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ นี้ ​ พระพุทธองค์ทรงประสงค์เอาความสงัดเพราะข่มซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ​ ด้วยบทว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ นี้ ​ ทรงประสงค์เอาความสงัดเพราะข่มนิวรณ์ทั้ง ​ 5  ประการ 
- 
-(หน้าที่ 237) 
- 
-แต่เมื่อว่าโดยศัพท์ที่ท่านมิได้กำหนดไว้แล้ว ​ นักศึกษาพึงเข้าใจความหมายดังนี้-  ​ 
- 
-ด้วยบทที่ ​ 1  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มกามฉันทนิวรณ์ ​ ด้วยบทที่ 2  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มนิวรณ์ทั้งหลายที่เหลือ 
- 
-ในอกุศลมูล ​ 3  ก็เหมือนกันคือ ​ ด้วยบทที่ ​ 1  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มโลภะอันมีกามคุณ ​ 5  ต่างชนิดเป็นอารมณ์ ​ ด้วยบทที่ 2  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มโทสะและโมหะอันมีอาฆาตวัตถุต่างชนิดเป็นต้นเป็นอารมณ์ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในบรรดาอกุศลธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ​ ด้วยบทที่ 1  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มกามโอฆะ, ​ กามโยคะ, ​ กามาสวะ, ​ กามุปาทานะ,​ อภิชฌากายคันถะ ​ และกามราคสังโยชน์ ​ ด้วยบทที่ 2  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มโอฆะ, ​ โยคะ, ​ อาสวะ, ​ อุปาทานะ, ​ คันถะ, ​ และสังโยชน์ข้อที่เหลือ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ด้วยบทที่ ​ 1  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มตัณหาและธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับตัณหานั้น ​ ด้วยบทที่ ​ 2  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มอวิชชา ​ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับอวิชชานั้น 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ด้วยบทที่ 1  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มอกุศลจิตตุปบาท ​ 8  ดวง ​ ซึ่งประกอบด้วยโลภะ ​ (โลภมูลจิต 8  ดวง) ​ ด้วยบทที่ 2  ทรงหมายเอาความสงัดเพราะข่มอกุศลจิตตุปบาท 4 ดวงที่เหลือ ​ (คือโทสมูลจิต 2  โมหมูลจิต 2) 
- 
-อรรถาธิบายความในคำว่า ​ สงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ สงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ นี้ ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-=====องค์ฌาน 5===== 
- 
-ก็แหละ ​ ครั้นข้าพเจ้าได้แสดงองค์สำหรับละของปฐมฌาน ​ ด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้แล้ว ​ บัดนี้เพื่อจะแสดงองค์ที่ประกอบของปฐมฌานนั้น ​ ข้าพเจ้าจะอรรถาธิบายคำว่า ​ มีวิตกมีวิจาร ​ เป็นต้นต่อไป – 
- 
-'''​อธิบายวิตก 
-'''​ 
-ในวิตกและวิจาร 2  อย่างนั้น ​ ความนึกถึงอารมณ์ ​ ชื่อว่า ​ วิตก ​ ได้แก่ความกำหนดเอาอารมณ์ ​ วิตกนี้นั้น ​ มีอันยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์เป็นลักษณะ ​ มีอันตะล่อมอารมณ์ 
- 
-(หน้าที่ 238) 
- 
-ไว้ตะล่อมอารมณ์ไว้โดยรอบเป็นกิจ ​ จริงอย่างนั้น ​ เพราะวิตกนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ​ โยคาวจรบุคคลย่อมทำอารมณ์กัมมัฏฐานให้เป็นอันวิตกตะล่อมไว้แล้วให้เป็นอันวิตกตะล่อมไว้โดยรอบแล้วฉะนี้ แหละวิตกนั้นมีอันรั้งจิตเข้าไว้ในอารมณ์เป็นอาการปรากฏ 
- 
-'''​อธิบายวิจาร 
-'''​ 
-การพิจารณาอารมณ์ ​ เรียกว่า ​ วิจาร ​ ได้แก่การไตร่ตรองดูอารมณ์ ​ วิจารนี้นั้น ​ มีอันพิจารณาอารมณ์เป็นลักษณะ ​ มีอันประกอบสหชาตธรรมไว้ในอารมณ์นั้นเป็นกิจ ​ มีอันตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์เป็นอาการปรากฏ 
- 
-'''​วิตกหยาบและเกิดก่อนวิจาร 
-'''​ 
-ถึงแม้ว่า ​ ในจิตบางดวงคือในปฐมฌานจิตและกามาวจรจิตตุปบาท ​ วิตก ​ และ ​ วิจาร ​ นั้นจะไม่มีการแยกกันก็ตาม ​ แต่กระนั้น ​ วิตกก็ทำหน้าที่ยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์ก่อน ​ ด้วยความหมายว่าเป็นสิ่งที่หยาบกว่าวิจาร ​ และเกิดก่อนวิจาร ​ เปรียบเหมือนเสียงเคาะระฆัง ​ ซึ่งหยาบกว่าเสียงครางแห่งระฆัง ​ และเกิดก่อนเสียงครางนั้น 
- 
-'''​เปรียบวิตกวิจารเหมือนอาการบินของนกและแมลงภู่ 
-'''​ 
-อนึ่ง ​ ในวิตกและวิจารนั้น ​ วิตก ​ ยังมีความไหวอยู่ ​ คือทำให้จิตไหว ๆ  ในเวลาเกิดขึ้นครั้งแรก ​ เปรียบเหมือนการโบกปีกของนกขนาดใหญ่ที่เตรียมจะบินไปในอากาศ ​ และเหมือนการบินมุ่งหน้าไปหาดอกปทุมของแมลงภู่ ​ ซึ่งมีจิตติดพันในกลิ่นดอกไม้ ​ ส่วน ​ วิจาร ​ มีพฤติการณ์สงบ ​ คือมีภาวะไม่ทำจิตให้ไหวมาก ​ เปรียบเหมือนการกางปีกของนกที่บินขึ้นไปอยู่บนอากาศแล้ว ​ และเหมือนการเคล้าคลึงอยู่ที่ดอกปทุมของแมลงภู่ที่บินไปถึงดอกปทุมแล้ว  ​ 
- 
-ส่วนในอรรถกถาทุกนิบาตอังคุตตรนิกาย ​ ท่านแสดงไว้ว่า ​ วิตก ​ เป็นไปโดยภาวะที่ยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์ ​ เปรียบเหมือนนกชนิดใหญ่ ​ เมื่อบินอยู่บนอากาศมันกวักปีกทั้งสองเอาลม ​ แล้วกางปีกไว้เฉยบินไป ​ วิจาร ​ เป็นไปตามภาวะที่ตามพิจารณาอารมณ์ ​ เหมือนการบินของนกที่กระดิกปีกทั้งสองเพื่อให้กินลม ​ ฉะนี้ ​ คำของท่านอรรถกถาจารย์นั้นถูกต้อง ​ ในขณะที่วิตกวิจารเป็นไปโดยต่อเนื่องกันในอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ ​ ส่วนวามต่างกันของวิตกและวิจารนั้น ​ ย่อมปรากฏชัดในปฐมฌานและทุติยฌานในปัญจกนัยแล้ว 
- 
-(หน้าที่ 239) 
- 
-'''​เปรียบวิตกวิจารเหมือนคนขัดภาชนะ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เมื่อบุคคลจะขัดภาชนะสัมฤทธิ์ที่สนิมจับ ​ เอามือข้างหนึ่งจับภาชนะไว้อย่างแน่น ​ แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรงขนสัตว์ที่ชุบด้วยน้ำมันปนผง ​ วิตก ​ เปรียบเหมือนมือที่จับภาชนะไว้อย่างแน่น ​ วิจาร ​ เปรียบเหมือนมือที่ขัดภาชนะ 
- 
-'''​เปรียบวิตกวิจารเหมือนช่างตีหม้อ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เมื่อช่างหม้อทำหม้อ ​ ใช้เครื่องจักช่วยหมุนไม้ตีหม้อ ​ วิตก ​ เปรียบเหมือนมือที่กุมบีบก้อนดินไว้ ​ วิจาร ​ เปรียบเหมือนมือที่คอยลูบคลำข้างโน้นข้างนี้  ​ 
- 
-'''​เปรียบวิตกวิจารเหมือนเหล็กวงเวียน 
-'''​ 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ เมื่อบุคคลทำลายวงกลมที่ภาชนะสัมฤทธิ์เป็นต้น ​ วิตก ​ ซึ่งยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์ ​ เปรียบเหมือนเหล็กแหลมที่ใช้ปักติดไว้ตรงใจกลาง ​ วิจาร ​ ซึ่งตามพิจารณาอารมณ์ ​ เปรียบเหมือนเหล็กแหลมที่หมุนไปรอบ ๆ ข้างนอก 
- 
-'''​ปฐมฌานมีวิตกวิจาร 
-'''​ 
-ฌานย่อมเกิดร่วมกับวิตกนี้ด้วย ​ เกิดร่วมกับวิจารนี้ด้วย ​ เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดพร้อมกับดอกและผล ​ ดังนั้น ​ ท่านจึงเรียกฌานนี้ว่า ​ มีวิตกมีวิจาร ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ส่วนในคัมภีร์วิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นปุคคลาธิษฐานโดยนัยมีอาทิว่า ​ ฌานลาภีบุคคล ​ เป็นผู้เข้าถึงแล้ว ​ เข้าถึงพร้อมแล้ว ​ ด้วยวิตกนี้ ​ และด้วยวิจารนี้ ​  ​ฉะนี้ ​ แต่อรรถาธิบายแม้ในวิภังค์นั้น ​  ​นักศึกษาก็พึงทราบอย่างที่อธิบายมาแล้วนี้นั่นแล ​   ​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ เกิดแต่ความสงัด 
-'''​ 
-ในคำว่า ​ เกิดแต่ความสงัด ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายว่า -  ความสงบเงียบชื่อว่า ​ ความสงัด ​ หมายความว่า ​ การปราศจากนิวรณ์ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ สภาวธรรมที่สงบ ​ ชื่อว่า ​ ธรรมอันสงัด ​ หมายเอากองธรรมที่ประกอบกับฌานซึ่งสงบจากนิวรณ์ ​ เพราะฉะนั้น ​ ปีติและสุขที่เกิดแต่ความสงัดนั้น ​ หรือที่เกิดในธรรมอันสงัดนั้น ​ ชื่อว่า ​ วิเวกชํ ​ แปลว่า ​ เกิดแต่ความสงัด ​ หรือเกิดในธรรมอันสงัด ​ ก็ได้ 
- 
-(หน้าที่ 240) 
- 
-=====ปีติ ​ 5===== 
- 
-ในคำว่า ​ ปีติและสุข ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายว่า -  ธรรมชาติใดที่ทำให้เอิบอิ่ม ​ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ​ ปีติ ​ ปีตินั้นมีความเอิบอิ่มเป็นลักษณะ ​ มีอันทำกายและใจให้เอิบอิ่มเป็นกิจ ​ หรือมีอันแผ่ซ่านไปในกายและกายเป็นกิจก็ได้ ​ มีอันทำกายและใจให้ฟูขึ้นเป็นอาการปรากฏ 
- 
-ก็แหละ ​ ปีตินี้นั้น ​ มี ​ 5  อย่าง ​ คือ 
- 
-1.      ขุททกาปีติ ​   ปีติทำให้ขนชูชันเล็กน้อย 
- 
-2.      ขณิกาปีติ ​   ปีติที่เกิดขึ้นชั่วขณะ ๆ เหมือนฟ้าแลบ 
- 
-3.      โอกกันติกาปีติ ​   ปีติที่กระทบกาย ​ เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง 
- 
-4.      อุพเพงคาปีติ ​   ปีติโลดโผน ​ ทำให้ตัวลอยขึ้นได้ 
- 
-5.      ผรณาปีติ ​   ปีติที่ซาบซ่าน ​ แผ่ไปทั่วร่างกาย 
- 
-'''​อธิบายปีติ ​ 5 
-'''​ 
-ในปีติ ​ 5  อย่างนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ – 
- 
-1.  ขุททกาปีติ ​   เพียงแต่ทำให้ขนในกายลุกชูชันเบา ๆ แล้วก็หายไปไม่เกิดขึ้นอีก 
- 
-2.  ขณิกาปีติ ​   ย่อมเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง ๆ หลาย ๆครั้ง ​ เปรียบเหมือนฟ้าแลบแปลบปลาบ 
- 
-3.  โอกกันติกาปีติ ​   เกิดขึ้นกระทบกายแล้วหายไป ​ กระทบกายแล้วก็หาย ​ ไปเหมือนลูกคลื่นกระทบฝั่งมหาสมุทร 
- 
-4.  อุพเพงคาปีติ ​   มีกำลังมาก ​ ทำกายให้ลอยขึ้นได้ ​ ถึงขนาดทำให้ลอยไปบนอากาศก็ได้ 
- 
-'''​เรื่องท่านมหาติสสเถระ 
-'''​ 
-เป็นความจริงอย่างนั้น ​ ท่านมหาติสสเถระที่อยู่ ​ ณ  วัดปุณณวัลลิกวิหาร ​ เวลาเย็นแห่งวันเพ็ญวันหนึ่ง ​ ท่านได้ไปยังลานพระเจดีย์ ​ เห็นแสงเดือน ​ จึงหันหน้าสู่พระมหาเจดีย์ 
- 
-(หน้าที่ 241) 
- 
-พลางคิดว่า ​ "​เออหนอ ​ ป่านนี้พวกพุทธบริษัททั้ง 4  คงกำลังพากันไหว้พระมหาเจดีย์อยู่" ​ ดังนี้แล้วได้ทำอุพเพงคาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ​ ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ตนได้เห็นมาตามปกติ ​ ท่านได้ลอยขึ้นบนอากาศไปตกลงที่ลานพระมหาเจดีย์นั่นแล ​ มีอาการเหมือนลูกฟุตบอลอันวิจิตรงดงามตกลงที่พื้นปูนขาว ​ ฉะนั้น 
- 
-'''​เรื่องกุลธิดาคนหนึ่ง 
-'''​ 
-แม้กุลธิดาคนหนึ่ง ​ อยู่ที่บ้านวัตตกาลกคาม ​ ใกล้ ๆ กับวัดคิริกัณฑกวิหาร ​ ก็ได้ลอยไปบนอากาศด้วยอุพเพงคาปีติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อย่างแรงเหมือนกัน 
- 
-ได้ยินว่า ​ มารดาบิดาของนางกุลธิดานั้น ​ เมื่อจะไปฟังธรรมที่วัดในเวลาเย็นวันหนึ่ง ​ ได้สั่งเธอว่า ​ "​หนู ! เจ้ามีภาระธุระมากจึงไม่อาจที่จะไปในเวลาที่มิใช่กาล ​ แม่และพ่อจักฟังธรรม ​ แบ่งส่วนบุญให้แก่หนูด้วย" ​ ครั้นแล้วก็ได้ออกเดินทางไป 
- 
-ฝ่ายนางกุลธิดาแม้ถึงปรารถนาจะไปแทบใจจะขาด ​ แต่ก็ไม่อาจขัดขืนคำสั่งของ ​     มารดาบิดา ​ จึงค้างแขวนอยู่ที่บ้าน ​ เธอไปยืนอยู่ที่เนินบ้าน ​ มองเห็นองค์พระเจดีย์ซึ่งสร้างไว้ที่กลางแจ้ง ​ ณ  วัดคิริกัณฑกวิหารด้วยแสงเดือน ​ ได้เห็นแสงไฟบูชาพระเจดีย์และหมู่พุทธบริษัททั้ง 4  กำลังเดินปทักษิณทำการบูชาพระเจดีย์ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ​ และได้ยินเสียงสวดสาธยายของหมู่พระภิกษุสงฆ์ 
- 
-ขณะนั้น ​ นางจึงรำพึงอยู่ว่า ​ "​ชนเหล่าใด ​ มีโอกาสได้ไปวัดแล้วเดินเวียนไปบนลานพระเจดีย์เห็นปานนี้ ​ และได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะเห็นปานนี้ ​ ชนเหล่านั้น ​ ช่างมีบุญจริงหนอ" ​ ฉะนี้แล้ว ​ อุพเพงคาปีติได้เกิดขึ้นแก่นาง ​ ขณะที่นางเห็นองค์พระเจดีย์เหมือนดังกองแก้วมุกดานั่นแล ​ เธอได้ลอยขึ้นไปบนอากาศ ​ ไปลงจากอากาศที่ลานพระเจดีย์ก่อนกว่ามารดาบิดาเสียอีก ​ ไหว้พระเจดีย์แล้วได้ยืนฟังธรรมอยู่ ​ ภายหลังมารดาบิดามาถึงแล้วจึงถามนางว่า ​ "​แม่หนู ​ เจ้ามาทางไหน ?" ​ นางตอบว่า ​ "​หนูมาโดยทางอากาศ ​ มิได้มาโดยทางเท้าค่ะ" ​ เมื่อมารดาบิดาติงว่า ​ "​แม่หนู ​ พระอรหันตขีณาสพต่างหาก ​ จึงจะสัญจรไปโดยทางอากาศได้นี่หนูมาได้อย่างไร ​ ?" ​ เธอจึงตอบชี้แจงว่า ​ "​ขณะที่หนูยืนแลดูพระเจดีย์ด้วยแสงเดือนหงายอยู่นั้น ​ ปีติอันมีกำลังแรงซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ได้เกิดแก่หนู ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ หนูก็มิได้ 
- 
-(หน้าที่ 242) 
- 
-ทราบถึงภาวะที่ตนยืนอยู่ ​ มิได้ทราบถึงภาวะที่ตนนั่งอยู่ ​ แต่แล้วได้ลอยขึ้นไปบนอากาศมาตกลงที่ลานพระเจดีย์นี้ ​ ด้วยนิมิตที่หนูยึดเอานั่นเอง ​ ฉะนี้แล"​ 
- 
-อุพเพงคาปีติ ​ ย่อมมีกำลังมาก ​ ขนาดที่ทำให้ลอยไปบนอากาศได้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-5.  ส่วนผรณาปีติ ​ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายสิ้นเชิง ​ มีลักษณะ 
- 
-เหมือนกระเพาะน้ำเบาที่เต็ม ​ และท้องภูเขาที่กระแสน้ำใหญ่ไหลเข้าไปจนเต็ม ​ ฉะนั้น 
- 
-ปีติที่ประสงค์เอา ​ ณ  ที่นี้ 
- 
-ก็แหละ ​ ปีติ 5  ประการนี้นั้น ​ เมื่อถือเอาห้อง ​ ถึงความแก่เต็มที่แล้ว ​ ย่อมทำ ​ ปัสสัทธิ 2  ประการให้บริบุรณ์ ​ คือ ​ กายปัสสัทธิ ​ ความสงบกาย 1  จิตตปัสสัทธิ ​ ความสงบจิต 1  เมื่อปัสสัทธิถือเอาห้องถึงความแก่ได้ที่แล้ว ​ ย่อมทำสุขทั้ง 2  ประการให้บริบูรณ์ ​ คือ ​ กายิกสุข ​ สุขกาย 1  เจตสิกสุข ​ สุขใจ 1  เมื่อสุขถือเอาห้องถึงความแก่ได้ที่แล้วย่อมทำสมาธิ 3  ประการให้บริบูรณ์ ​ คือ ​ ขณิกสมาธิ 1  อุปจารสมาธิ 1  อัปปนาสมาธิ 1 
- 
-ในบรรดาปีติ 5  ประการนั้น ​ ผรณาปีติ ​ อันใดที่เจริญแก่กล้าขึ้นพอจะเป็นมูลฐานแก่อัปปนาสมาธิ ​ ถึงซึ่งอันประกอบเข้ากับสมาธิได้ ​ ปีตินี้ประสงค์เอาในอรรถาธิบายนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ สุข 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ความสบายอื่นจากปีติ ​ ชื่อว่า ​ สุข ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ธรรมขาติใดย่อมกินเสียซึ่งความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ​ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ​ สุข ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ธรรมชาติใดย่อมขุดออกซึ่งความไม่สบายกายไม่สบายใจ ​ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ​ สุข ​ สุขนั้น ​ มีความดีใจ ​ เป็นลักษณะ ​ มีอันเพิ่มพูนสัมปยุตธรรมให้เจริญเป็นกิจ ​ มีอันอนุเคราะห์เป็นอาการปรากฏ 
- 
-(หน้าที่ 243) 
- 
-'''​ความต่างกันระหว่างปีติกับสุข 
-'''​ 
-แหละถึงแม้ในจิตบางดวง ​ เช่น ​ ปฐมฌานจิตเป็นต้น ​ จะไม่มีการแยกกันระหว่างปีติกับสุขก็ตาม ​ แต่ความยินดีที่เกิดขึ้นเพราะได้อิฏฐารมณ์ ​ จัดเป็น ​ ปีติ ​ การเสวยรสแห่งอารมณ์ที่ได้มานั้น ​ จัดเป็น ​ สุข ​ ปีติมีในจิตใด ​ ในจิตนั้นก็มีสุขด้วย ​ แต่สุขมีในจิตใด ในจิตนั้นไม่มีปีติเสมอไป ​ ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ​ สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ​ เปรียบเหมือนเมื่อคนสิ้นเสบียงในทางทุรกันดาร ​ ในขณะที่ได้เห็นหรือได้ข่าวซึ่งป่าไม้หรือน้ำ ​ ปีติย่อมเกิด ​ ในขณะที่เข้าไปถึงร่มเงาป่าไม้หรือรับประทานน้ำแล้ว ​ สุขย่อมเกิด ​ นักศึกษาพึงเข้าใจว่า ​ ปีติและสุขนี้ท่านกล่าวหมายเอาโดยเป็นสิ่งที่ปรากฏในสมัยนั้นๆ 
- 
-'''​อธิบายมีปีติและสุข 
-'''​ 
-ปีตินี้ด้วย ​ สุขนี้ด้วย ​ ย่อมมีแก่ฌานนั้น ​ หรือย่อมมีในฌานนั้น ​ ดังนั้น ​ ฌานนั้นท่านจึงเรียกว่า ​ มีปีติและสุข ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ปีติด้วย ​ สุขด้วย ​ ชื่อว่า ​ ปีติและสุข ​ เช่นคำว่า ​ ธรรมและวินัย ​ เป็นต้น ​ ปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัดมีอยู่แก่ฌานนั้น ​ หรือมีอยู่ในฌานนั้น ​ ดังนั้น ​ ฌานนั้นชื่อว่า ​ มีปีติและสุขเกิดแต่ความสงัด ​ แม้ด้วยประการฉะนี้ ​ เหมือนอย่างว่า ​ ฌานย่อมเกิดแต่ความสงัด ​ ฉันใด ​ ปีติและสุขในที่นี้ก็ย่อมเกิดแต่ความสงัดเหมือนกัน ​ ฉันนั้น ​ อนึ่ง ​ ปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัดนั้น ​ ย่อมมีแก่ฌานนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ การที่จะกล่าวบวกเข้าเป็นบทเดียวกันว่า ​ วิเวกชมฺปีติสุขํ ​ ซึ่งแปลว่า ​ มีปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัดดังนี้ ​ ก็ใช้ได้ 
- 
-แต่ในคัมภีร์วิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ สุขนี้ประกอบด้วยปีตินี้ ​ ฉะนี้ ​ แม้ในคัมภีร์วิภังค์นั้น ​ นักศึกษาก็พึงทราบอรรถาธิบายอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน 
- 
-'''​อธิบายบรรลุแล้วซึ่งปฐมฌาน 
-'''​ 
-คำว่า ​ ปฐมฌาน ​ จักอธิบายให้แจ่มแจ้งข้างหน้า ​ คำว่า ​ บรรลุแล้ว ​ ได้แก่เข้าไปถึงแล้ว ​ คือประสบแล้ว ​ อีกนัยหนึ่ง ​ คำว่า ​ บรรลุแล้ว ​ ได้แก่ทำให้ถึงพร้อมแล้ว ​ คือให้สำเร็จแล้ว 
- 
-(หน้าที่ 244) 
- 
-แต่ในคัมภีร์วิภังค์ทรงแสดงไว้ว่า ​ การได้, ​ การได้เฉพาะ, ​ การถึง, ​ ถึงพร้อม, ​ การถูกต้อง, ​ การทำให้แจ้ง, ​ การเข้าถึงพร้อมซึ่งปฐมฌาน ​ ชื่อว่า ​ บรรลุแล้ว ​ แม้พระพุทธพจน์นั้นอันศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิหรติ ​ ที่แปลว่าอยู่ 
-'''​ 
-คำว่า ​ วิหรติ ​ ที่แปลว่า ​ อยู่ ​ นั้น ​ อธิบายว่า ​ โยคีบุคลผู้พรั่งพร้อมด้วยฌานมีประการดังกล่าวฉะนี้ ​ ย่อมยังการกระทำของอัตภาพร่างกาย ​ คือการประพฤติ, ​ การเลี้ยง, ​ การเป็นไป, ​ การให้เป็นไป, ​ การเที่ยวไป ​ และการผัดผ่อนแห่งอัตภาพร่างกาย ​ ให้สำเร็จโดยการอยู่ด้วยอิริยาบทชนิดที่สมควรแก่อัตภาพนั้น ​ ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า ​ คำว่า ​ ย่อมอยู่ ​ นั้น ​ คือ ​ ย่อมกระทำ ​ ย่อมประพฤติ ​ ย่อมเลี้ยง ​ ย่อมเป็นไป ​ ย่อมให้เป็นไป ​ ย่อมเที่ยวไป ​ ย่อมเดินไป ​  ​เพราะเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ วิหรติ ​ ย่อมอยู่ ​ ฉะนี้ 
- 
-====ส่วน 2 ละองค์ 5  และประกอบด้วยองค์ 5==== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ ละองค์ ​ 5  ประกอบด้วยองค์ ​ 5  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​องค์สำหรับละมี 5 
-'''​ 
-นักศึกษาพึงทราบถึงภาวะที่ปฐมฌาน ​ ละองค์ ​ 5  ด้วยอำนาจที่ประหานนิวรณ์ 5  เหล่านี้ ​ คือ 
- 
-'''​นิวรณ์ 5 
-'''​ 
-1.  กามฉันทะ ​       ความพอใจในกาม 
- 
-2.  พยาปาทะ ​   ความไม่ชอบใจ 
- 
-3.  ถีนมิทธะ ​   ความง่วงเหงาและความเซื่องซึม 
- 
-4.  อุทธัจจกุกกุจจะ ​   ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ ​ และ 
- 
-5.  วิจิกิจฉา ​   ความสงสัยตัดสินใจไม่ได้ ​       ​ 
- 
-ก็เมื่อโยคีบุคคลยังละนิวรณ์ 5  เหล่านี้ไม่ได้ ​ ฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้เป็นธรรมดาด้วยเหตุนั้น ​ นิวรณ์ 5 เหล่านี้ ​ จึงเรียกว่าเป็นองค์สำหรับละของฌานนั้น ​ ถึงแม้ว่า ​ ในขณะ 
- 
-(หน้าที่ 245) 
- 
-ฌานเกิดนั้น ​ แม้อกุศลธรรมอย่างอื่น ๆ  อันฌานลาภีบุคคลย่อมละได้ด้วยก็จริง ​ แต่กระนั้นนิวรณ์ 5  เหล่านี้เท่านั้นที่ทำอันตรายแก่ฌานโดยพิเศษ 
- 
-เป็นความจริง ​ จิตที่ถูก ​ กามฉันทนิวรณ์ ​ รบเร้าไว้ในอารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ​ ย่อมไม่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นเอกภาพคือมีอารมณ์อย่างเดียว ​ หรือจิตที่ถูกกามฉันทนิวรณ์ครอบงำแล้วนั้น ​ ย่อมไม่ดำเนินไปสู่ปฏิปทาเพื่อประหานเสียซึ่งกามธาตุ ​ (คือกามโลก) ​ และจิตที่ถูกพยาปาทนิวรณ์ ​ กดดันไว้ในอารมณ์ ​ ย่อมเป็นไปอย่างกระพร่องกระแพร่งไม่บริบูรณ์ ​ จิตที่ถูก ​ ถีนมิทธนิวรณ์ ​ ครอบงำแล้ว ​ ย่อมไม่ควรแก่ที่จะประกอบการภาวนา ​ จิตที่ถูก ​ อุจธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ​ ครอบงำแล้ว ​ ย่อมหมุนคว้างไปไม่สงบอยู่ได้เลย ​ จิตที่ถูก ​ วิจิกิจฉานิวรณ์ ​  ​เข้าแทรกแซงแล้ว ​ ย่อมไม่หยั่งลงสู่ปฏิปทาอันจะให้สำเร็จการบรรลุถึงซึ่งฌานได้ 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ เฉพาะนิวรณ์ 5 นี้ ​ ท่านจึงเรียกว่า ​ เป็นองค์สำหรับละ ​ เพราะเป็นข้าศึกที่ทำอันตรายแก่ฌานโดยพิเศษ 
- 
-'''​องค์แห่งปฐมฌาน 5 
-'''​ 
-แหละ ​ เพราะเหตุที่ ​ วิตก ​ ย่อมยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์ ​ วิจารณ์ ​ ตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ ​ ปีติ ​ อันเป็นที่เกิดแห่งประโยคสมบัติของจิตซึ่งมีประโยคอันวิตกและวิจารให้ถึงพร้อมแล้วด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ​ ย่อมทำให้จิตเอิบอิ่ม ​ สุข ​ ย่อมทำสัมปยุตธรรมให้เจริญและถัดมาเอกัคคตา ​ อันความยกขึ้น, ​ ความตามผูกพัน, ​ ความเอิบอิ่มและความเจริญเหล่านี้ ​ อนุเคราะห์แล้วย่อมตั้งจิตนั้นพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เหลือไว้ในอารมณ์อันเป็นเอกภาพ ​ อย่างสม่ำเสมอ ​ โดยถูกต้อง 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบถึงภาวะที่ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ 5  ด้วยอำนาจความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ 5  เหล่านี้ ​ คือ 
- 
-1.  วิตก ​       ธรรมชาติที่ยกจิตสู่อารมณ์ 
- 
-2.  วิจาร ​       ธรรมชาติที่พิจารณาอารมณ์ 
- 
-3.  ปีติ ​       ธรรมชาติที่ทำจิตใจให้เอิบอิ่ม 
- 
-(หน้าที่ 246) 
- 
-4.  สุข ​       ธรรมชาติที่ทำจิตให้ยินดี ​ และ 
- 
-5.  จิตเตกัคคตา ​   ความมีอารมณ์อย่างเดียวของจิต 
- 
-ก็เมื่อองค์ 5  เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ​ ย่อมเป็นอันชื่อว่า ​ ฌานเกิดขึ้นแล้ว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ องค์ 5 เหล่านี้ ​ จึงเรียกว่าองค์ที่ประกอบของฌานนั้น ​ นักศึกษาพึงยึดหลักไว้เถิดว่าขึ้นชื่อว่า ​ ฌาน ​ อื่นจากที่ประกอบด้วยองค์ ​ 5  เหล่านี้หามีไม่ 
- 
-ก็แหละ ​ เหมือนอย่างชาวโลกเรียกขานกันว่า ​ เสนามีองค์ 4  ดนตรีมีองค์ 5  มรรคมีองค์ 8  ทั้งนี้ ​ ด้วยอำนาจสักว่าองค์เท่านั้น ​   ฉันใด ​ แม้ฌานนี้นักศึกษาก็พึงเข้าใจว่าที่ท่านเรียกว่า ​ มีองค์ 5  หรือประกอบด้วยองค์ 5  นั้น ​ ด้วยอำนาจสักว่าองค์เท่านั้นเช่นเดียวกัน 
- 
-'''​องค์ฌาน 5  มีกำลังมากกว่าปกติ 
-'''​ 
-แหละ ​ แม้ว่าองค์ฌานทั้ง 5 เหล่านี้ ​ จะได้มีในขณะอุปจารสมาธิเกิด ​ และในขณะอุปจารสมาธินั้นจะมีกำลังมากกว่าจิตปกติก็ตาม ​ ส่วนในปฐมฌานนี้ ​ องค์ฌานทั้ง 5  มีกำลังมากกว่าอุปจารสมาธิขึ้นไปอีก ​ เพราะบรรลุถึงลักษณะที่เป็นรูปาวจรกุศลจิตแล้ว 
- 
-จริงอยู่ในปฐมฌานนี้ ​ วิตก ​ ย่อมเกิดยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์โดยอาการอันบริสุทธิ์ที่สุด ​ วิจาร ​ ย่อมเกิดขึ้นตามพิจารณาอารมณ์อย่างดีที่สุด ​ ปีติและสุข ​ ย่อมเกิดแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ​ ด้วยเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงทรงเทศนาไว้ว่า ​ ณ  ที่ตรงไหนทั่วสรรพางค์กายของฌานลาภีบุคคลนั้น ​ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัดจะไม่ถูกต้องนั้นเป็นอันไม่มี ​ ฝ่าย ​ จิตเตกัคคตา ​ คือภาวะที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียวนั้น ​ ย่อมเกิดขึ้นถูกต้องทั่วอารมณ์ทั้งหลาย ​ มีอาการเหมือนฝาสมุกอันบนสวมลงตัวสมุกอันล่างโดยทั่วสิ้นฉะนั้น 
- 
-อรรถาธิบายนี้เป็นความต่างกันระหว่างปีติและสุขกับองค์ฌานอื่น ๆ  แม้นอกนี้ 
- 
-'''​จิตเตกัคคตาเป็นองค์ฌานอันหนึ่ง 
-'''​ 
-ในบรรดาองค์ฌานทั้ง 5  นั้น ​ ถึงแม้ว่าจิตเตกัคคตาจะมิได้ทรงแสดงไว้ในบาลีที่ว่า ​ สวิตกฺกํ ​ สวิจารํ ​ เป็นต้นนั้นก็ตาม ​ แม้กระนั้น ​ จิตเตกัคคตาก็จัดเข้าเป็นองค์ฌาน 
- 
-(หน้าที่ 247) 
- 
-องค์หนึ่งเหมือนกัน ​ เพราะเหตุที่ทรงเทศนาไว้ในคัมภีร์ภวังค์ว่า ​ วิตก, ​ วิจาร, ​ ปีติ, ​ สุข, ​ และ ​ จิตเตกัคคตา ​ ชื่อว่า ​ ฌาน ​ ดังนี้ ​ อธิบายว่า ​ การที่พระผู้มีพระภาคทรงเทศนาพระบาลีไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ สวิตกฺกํ ​ สวิจารํ ​ ด้วยข้อพระพุทธาธิบายอย่างใด ​ ก็เป็นอันว่าข้อพระพุทธาธิบายนั้น ​ พระองค์ทรงประกาศแสดงไขไว้แล้วว่า ​ จิตเตกัคคตา ​ นั้น ​ ท่านไม่ได้ทรงถือเอาในพระบาลีที่แสดงถึงฌานนั้น ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-====ส่วน 3 มีความงาม 3  และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 10==== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวสังเขปไว้ว่า ​ มีความงาม ​ 3  สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  นั้น ​ มีอรรถาธิบายโดยพิศดารดังต่อไปนี้ – 
- 
-นักศึกษาพึงทราบความงาม 3  อย่างของปฐมฌาน ​ ด้วยอำนาจความงามในเบื้องต้น 1  ความงามในท่ามกลาง 1  และความงามในที่สุด 1  และพึงทราบความสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  ประการของปฐมฌาน ​ ด้วยอำนาจลักษณะของความงามในเบื้องต้น ​ ความงามในท่ามกลาง ​ และความงามในที่สุดเหล่านั้นนั่นแล 
- 
-ในการแสดงถึงความงามและลักษณะแห่งความงามของปฐมฌานนั้น ​ มีคำบาลีรับรองไว้ดังนี้ – 
- 
-'''​ความงาม 3  ประการ 
-'''​ 
-ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา ​ เป็นความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน ​ ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขา ​ เป็นความงามในท่ามกลางของปฐมฌาน ​ และความร่าเริงใจ ​ เป็นความงามที่สุดของปฐมฌาน 
- 
-'''​ลักษณะแห่งความงามเบื้องต้น ​ 3  ประการ 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา ​ เป็นความงามเบื้องต้นของปฐมฌานนั้น ​ ความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน ​ มีลักษณะเท่าไร ? 
- 
-(หน้าที่ 248) 
- 
-ตอบ -  ความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน ​ มีลักษณะ ​ 3  ประการ ​ คือ ​ จิตย่อมบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นข้าศึก 1  เพราะเหตุที่จิตบริสุทธิ์ ​ จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลาง 1  เพราะเหตุที่จิตดำเนินไป ​ จิตจึงแล่นตรงไป ​ ในสมถนิมิตอันเป็นกลางนั้น 1 
- 
-อาการที่จิตบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นข้าศึก ​ อาการที่จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลางด้วยเหตุที่บริสุทธิ์ ​ และอาการที่จิตแล่นตรงไปในสมถนิมิตอันเป็นกลาง ​ ด้วยเหตุที่ดำเนินไปแล้วเหล่านี้เป็นลักษณะ 3  ประการ ​ แห่งความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน ​ ซึ่งมีความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทาเป็นความงามในเบื้องต้น ​ ด้วยเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น ​ และสมบูรณ์ในลักษณะ 3  ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​ลักษณะแห่งความงามท่ามกลาง ​ 3  ประการ 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขาเป็นความงามในท่ามกลางของปฐมฌานนั้น ​ ความงามในท่ามกลางของปฐมฌานมีลักษณะเท่าไร ? 
- 
-ตอบ -  ความงามในท่ามกลางของปฐมฌานมีลักษณะ 3  ประการ ​ คือ โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตบริสุทธิ์แล้ว 1  ย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ปรากฏเป็นเอกภาพ ​ แล้ว 1 
- 
-อาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่บริสุทธิ์แล้ว ​ อาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถนิมิตแล้ว ​ และอาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ปรากฏเป็นเอกภาพแล้วเหล่านี้เป็นลักษณะ ​ 3  ประการ ​ แห่งความงามในท่ามกลางของปฐมฌาน ​ ซึ่งมีความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขาเป็นความงามในท่ามกลาง ​ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ​ ปฐมฌานมีความงามในท่ามกลางและสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 3  ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 249) 
- 
-'''​ลักษณะแห่งความงามในที่สุด 4  ประการ 
-'''​ 
-ถาม -  ข้อว่า ​ ความร่าเริงใจ เป็นความงามในที่สุดของปฐมฌานนั้น ​ ความงามในที่สุดของปฐมฌาน ​ มีลักษณะเท่าไร ? 
- 
-ตอบ -  ความงามในที่สุดของปฐมฌานมีลักษณะ 4  ประการ ​ คือ ​ ความร่าเริงใจเพราะผลที่ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดในฌานจิตนั้นไม่ล่วงล้ำก้ำเกินกัน 1  ความร่าเริงใจเพราะผลที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเดียวกัน 1  ความร่าเริงใจเพราะผลที่ทำให้วีริยะอันสมควรแก่อินทรีย์ทั้งหลายบังเกิดขึ้น 1 ความร่าเริงใจเพราะผลที่ได้อาเสวนปัจจัย 1 
- 
-อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ 4  ประการแห่งความงามในที่สุดของปฐมฌาน ซึ่งมีความร่าเริงใจเป็นความงามในที่สุด ​ ด้วยเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ ปฐมฌาน ​ มีความงามในที่สุดและสมบูรณ์ในลักษณะ 4  ด้วยประการฉะนี้แล 
- 
-'''​มติวัดอภัยคีรีวิหาร 
-'''​ 
-ในความงาม 3  อย่างนั้น ​ อุปจารสมาธิพร้อมทั้งธรรมเครื่องปรุงแต่ง ​ คือบริกรรมในอาวัชนะต่าง ๆ  ชื่อว่า ​ ปฏิปทาวิสุทธิ ​ ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา ​ อัปปนาสมาธิ ​ ชื่อว่า ​ ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขา ​ ปัจจเวกขณะ ​ คือการพิจารณาฌานที่ได้บรรลุแล้ว ​ ชื่อว่า ​ ความร่าเริงใจ ​ อธิบายนี้ท่านอาจารย์ทั้งหลายชาววัดอภัยคีรีวิหารพรรณาไว้ 
- 
-'''​มติในปฏิสัมภิทามัคค์ 
-'''​ 
-แต่เพราะเหตุที่ในบาลีแห่งปฏิสัมภิทามัคค์ ​ ท่านแสดงไว้ ​ จิตที่ถึงเอกภาพแล้ว ​ จึงจะเป็นอันแล่นไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา, ​ จึงจะเป็นอันเจริญได้ที่แล้วด้วยอุเบกขา ​ และจึงจะเป็นอันร่าเริงแล้วด้วยญาณ ​ ดังนี้ ​ ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงเข้าใจว่า ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทาจะมีได้ก็ด้วยอำนาจที่มาถึงภายในอัปปนาสมาธิเท่านั้น ​ ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขาจะมีได้ด้วยการทำกิจของตัตรมัชฌัตตุเบกขา ​ และความร่าเริงใจจะมีได้ด้วย 
- 
-(หน้าที่ 250) 
- 
-อำนาจความสำเร็จแห่งการทำกิจของญาณอันทำให้ผ่องใส ​ โดยยังภาวะที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงล้ำกันเป็นต้นให้สำเร็จ ​ (หมายความว่าอรรถาธิบายของพวกอาจารย์วัดอภัยคีรีวิหารผิดจากบาลีปฏิสัมภิทามัคค์) ​ 
- 
-ถาม -  ข้อนี้ ​ มีอรรถาธิบายอย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  มีอรรถาธิบายว่า ​ ในวาระที่อัปนาสมาธิเกิดขึ้น ​ จิตจึงจะบริสุทธิ์จากกลุ่มกิเลสคือนิวรณ์อันเป็นข้าศึกของฌานนั้น ​ เพราะจิตเป็นสภาพที่บริสุทธิ์แล้ว ​ จึงจะหลีกเว้นจากนิวรณ์เครื่องกั้น ​ ดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลาง ​ สมถนิมิตอันเป็นกลาง ​ นั้นได้แก่อัปนาสมาธิที่เป็นไปโดยสม่ำเสมอนั่นเอง 
- 
-'''​อธิบายความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ จิตดวงก่อน ​ ซึ่งเป็นอนันตรปัจจัยแก่อัปนาจิตนั้นได้แก่ ​ โคตรภูจิต ​ กำลังเข้าไปสู่ภาวะที่แท้ ​ ชื่อว่า ​ ดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลาง ​ ด้วยนัยที่แปรไปแห่งสันตติเพียงอันเดียว ​ เพราะจิตดำเนินไปด้วยอาการอย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​ แล่นไปในสมถนิมิตนั้น ​ ด้วยการดำเนินไปสู่ภาวะที่แท้ ​ นักศึกษาพึงเข้าใจถึงความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทาอันให้สำเร็จอาการที่บริสุทธิ์จากอันตรายเป็นต้นซึ่งมีอยู่ในจิตดวงก่อนแห่งอัปนาจิต ​ ด้วยอำนาจที่มาถึงในอุปปาทขณะแห่งปฐมฌาน ​ ด้วยประการฉะนี้ก่อน 
- 
-'''​อธิบาย ​ ความเจริญได้ที่อุเบกขา 
-'''​ 
-แหละเมื่อจิตนั้นบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ ​ โยคีบุคคลก็ไม่ทำความขวนขวายในอันที่จะทำจิตให้บริสุทธิ์อีก ​ เพราะไม่มีสิ่งที่จะต้องทำให้บริสุทธิ์ ​ ชื่อว่า ​ ย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตอันบริสุทธิ์แล้ว ​ เมื่อจิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตด้วยการเข้าสู่ภาวะที่สงบ ​ โยคีบุคคลก็ไม่ทำการขวนขวายในอันที่จะทำให้จิตตั้งมั่นอีก ​ ชื่อว่า ​ ย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถนิมิตแล้ว ​ และเมื่อฌานจิตนั้น ​ ละความคลุกคลีด้วยกิเลสเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นเอกภาพ ​ โดยภาวะที่ดำเนิน 
- 
-(หน้าที่ 251) 
- 
-ไปสู่สมถนิมิตแล้วนั่นแล ​ โยคีบุคคลก็ไม่ทำความขวนขวายในอันที่จะทำให้จิตปรากฏเป็นเอกภาพอีก ​ ชื่อว่า ​ ย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ปรากฏเป็นเอกภาพแล้ว 
- 
-นักศึกษาพึงเข้าใจความเจริญได้ที่ของอุเบกขา ​ ด้วยอำนาจการทำกิจของตัตรมัชฌัตตุเบกขา ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายความร่าเริงใจ 
-'''​ 
-แหละอาการทั้งหลาย ​ คือ ​ เมื่อฌานจิตเจริญได้ที่แล้วด้วยอุเบกขาอย่างนี้ ​ ธรรมที่เนื่องเป็นคู่กันคือสมาธิกับปัญญาซึ่งเกิดแล้วในฌานจิตนั้น ​ เป็นไปไม่ก้ำเกินซึ่งกันและกัน 1  อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ​ เป็นไปมีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส ​ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสนานาชนิด 1  โยคีบุคคลนั้นทำวีริยะอันควรแก่ธรรมเหล่านั้นคือสมควรแก่ภาวะที่ธรรมเหล่านั้นไม่ก้ำเกินกันและมีรสเป็นอันเดียวกันให้เป็นไปอยู่ 1  การเสพอารมณ์ของฌานจิตนั้นเป็นไปในขณะนั้น ​ (ภังคขณะ) 1  โดยเหตุที่อาการทั้งหมดนั้นสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ​ เพราะโยคีบุคคลเห็นโทษและอานิสงส์นั้น ๆ  ในความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วของภาวนาด้วยญาณ ​ จึงได้ร่าเริงใจแล้ว ​ ทำให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว ​ ด้วยประการนั้น ๆ ฉะนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า ​ นักศึกษาพึงเข้าใจว่า………ความร่าเริงใจจะมีได้ก็ด้วยอำนาจความสำเร็จแห่งการทำกิจของญาณให้ผ่องใส ​ โดยยังภาวะที่ธรรมทั้งหลายไม่ก้ำเกินกันเป็นต้นให้สำเร็จ 
- 
-'''​ญาณปรากฏชัดด้วยอุเบกขา 
-'''​ 
-เพราะในภาวนาจิตนั้น ​ ญาณย่อมปรากฏด้วยอำนาจอุเบกขาเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า ​ โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ตนประคองไว้อย่างนั้นเป็นอย่างดี ​ ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง ​ ด้วยอำนาจอุเบกขา ​ ด้วยอำนาจปัญญา ​ จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสอันมีสภาวะต่าง ๆ  ด้วยอำนาจอุเบกขา ​ ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง 
- 
-(หน้าที่ 252) 
- 
-ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ​ คือ ​ ศรัทธากับปัญญาและวีริยะกับสมาธิ ​ ย่อมมีรสเป็นอันเดียวกัน ​ คือ ​ ทำกิจเท่านั้น ​ เพราะผลที่มีรสเป็นอันเดียวกัน ​ จึงชื่อว่า ​ ภาวนา 
- 
-ฉะนั้น ​ ความร่าเริงใจอันเป็นกิจแห่งญาณ ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ เป็นความงามในที่สุดฉะนี้ 
- 
-====ส่วน 4 ได้บรรลุปฐมฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์==== 
- 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ ​ ได้บรรลุปฐมฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ ​ ต่อไป 
- 
-ที่ชื่อว่า ​ ปฐม ​  ​ซึ่งแปลว่า ​ ที่หนึ่ง ​ เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ ​ ที่ชื่อว่า ​ ปฐม ​ เพราะว่า ​ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ​ ดังนี้ก็ได้ 
- 
-ที่ชื่อว่า ​ ฌาน ​ เพราะเพ่งอารมณ์ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ที่ชื่อว่า ​ ฌาน ​ เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น 
- 
-แหละมณฑลแห่งดินคือวงกลมแห่งดิน ​ เรียกว่า ​ ปถวีกสิณ ​ ด้วยความหมายว่า ​ ดินทั้งสิ้น ​ นิมิต ​  ​ที่ได้เพราะอาศัยปถวีกสิณนั้นก็ชื่อว่า ​ ปถวีกสิณ ​ ฌานที่ได้นิมิตปถวีกสิณก็เรียกว่า ​ ปถวีกสิณ ​ ใน 2  อย่างนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ฌานปถวีกสิณ ​ ประสงค์เอาในอรรถาธิบายนี้ ​ (มิใช่นิมิตปถวีกสิณ) ​ ข้าพเจ้าหมายเอาปถวีกสิณนั้น ​ จึงได้กล่าวไว้ว่า ​ ปฐมฌานปถวีกสิณ….ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลนั้นได้บรรลุแล้ว ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===ต้องพยายามจำอาการที่บรรลุฌาณไว้ให้แม่นยำ=== 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อได้บรรลุปฐมฌานอย่างนี้แล้ว ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงกำหนดสังเกตอาการทั้งหลายขณะที่ได้บรรลุไว้ให้แม่นยำ ​ เหมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย ​ และเหมือนดังพ่อครัว  ​ 
- 
-'''​เปรียบเหมือนนายขมังธนูยิงขนทราย 
-'''​ 
-อธิบายว่า ​ เหมือนนายขมังธนูผู้ชาญฉลาด ประกอบกรรมในการยิงขนทราย ​ เมื่อยิงถูกขนทรายในวาระใด ​ เขาจะพึงกำหนดสังเกตุอาการที่ยันเท้า ​ อาการแห่งคันธนู ​ อาการ 
- 
-(หน้าที่ 253) 
- 
-แห่งสายธนู ​ และอาการแห่งลูกธนู ​ ในวาระนั้นไว้อย่างแม่นยำว่า ​ เรายืนท่านี้ ​ จับคันธนูท่านี้ ​ ขึ้นสายธนูอย่างนี้ ​ แล้วจึงยิงขนทราย ​ จำเดิมแต่นั้น ​ เขายังอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมอยู่ด้วยประการนั้นนั่นแหละ ​ ย่อมยิงถูกขนทรายอย่างไม่ผิดพลาดเลยฉันใด ​ แม้อันโยคีบุคคลนี้ ​ ก็ฉันเดียวกันนั่นแล ​ คือเธอพึงกำหนดสังเกตกิริยาอาการทั้งหลายมีอาการเป็นอันที่สบายเป็นต้นเหล่านี้ว่า ​ เราบริโภคอาหารชนิดนี้ ​ คบหาสมาคมบุคคลเห็นปานนี้ ​ จึงได้บรรลุปฐมฌานนี้ ​ ในเสนาสนะชนิดนี้ ​ ด้วยอิริยาบทอย่างนี้ ​ ในเวลาเช่นนี้ 
- 
-ครั้นสังเกตจดจำอาการไว้ได้อย่างนี้แล้ว ​ แม้เมื่อสมาธิขั้นอ่อน ๆ  นั้นเสื่อมหายไป ​ โยคีบุคคลนั้น ​ จักสามารถเพื่อที่จะทำอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมแล้ว ​ ทำสมาธินั้นให้กลับเกิดขึ้นอีกได้ ​ หรือจักสามารถเพื่อที่จะทำสมาธิที่ยังไม่คล่องแคล่วให้คล่องแคล่วกลับเป็นอัปนาสมาธิบ่อย ๆ โดยไม่ลำบากเลย 
- 
-'''​เปรียบเหมือนพ่อครัว 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เปรียบเหมือนพ่อครัวทำการเลี้ยงอาหารเจ้านาย ​ คอยสังเกตอาการนั้น ๆ ที่เจ้านายชอบบริโภคไว้เป็นอย่างดี ​ แต่นั้น ​ ก็พยายามเตรียมจัดเฉพาะแต่สิ่งที่เจ้านายชอบใจเท่านั้นเข้าไปให้ ​ เขาย่อมจะเป็นผู้มีส่วนได้รับรางวัล ​ ฉันใด ​ แม้โยคีบุคคลนี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว ​ คอยกำหนดจับเอาอาการทั้งหลายมีอาการอันเป็นที่สบายเป็นต้นในขณะที่บรรลุปฐมฌาน ​ แล้วยังอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ ​ ไม่ให้เลอะเลือน ​ เมื่อสมาธินั้นเสื่อมหายไป ​ ก็ย่อมจะได้อัปปนาสมาธิกลับคืนมาเสมอ ๆ 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ อันโยคีบุคคลนั้น ​ จึงจำต้องคอยสังเกตจดจำอาการทั้งหลาย ​ ในขณะที่ได้บรรลุปฐมฌานไว้ ​ เหมือนดังนายขมังธนูผู้ยิงขนทรายและเหมือนดังพ่อครัว ​ ข้อนี้สมจริงดังพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย ​ มหาวารวรรค ​ ซึ่งมีความว่า – 
- 
-'''​พระบาลีรับสมอ้างข้ออุปมา 
-'''​ 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เหมือนอย่างว่า ​ พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว ​ มีปรีชาญาณชาญฉลาด ​ ทำการต้อนรับพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยอาหารทั้งหลายนานาชนิด ​ คืออาหารที่มีรสเปรี้ยวบ้าง ​ มีรสขมบ้าง 
- 
-(หน้าที่ 254) 
- 
-มีรสเผ็ดบ้าง ​ มีรสหวานบ้าง ​ มีรสกร่อยบ้าง ​ มีรสเค็มบ้าง ​ มีรสจืดบ้าง 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว ​ มีปรีชาญาณอันชาญฉลาดนั้นแล ​ เขาย่อมคอยจับดูอาการของเจ้านายของตนว่า ​ วันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารชนิดนี้ ​ หรือเจ้านายของเราเอื้อมมือเอาอาหารอย่างนี้ ​ หรือเจ้านายของเราหยิบเอาอาหารชนิดนี้มาก ​ หรือเจ้านายของเราพูดชมคุณอาหารอย่างนี้ ​ หรือว่าวันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารมีรสเปรี้ยว ​ หรือเอื้อมมือเอาแต่อาหารรสเปรี้ยวเป็นส่วนมาก ​ หรือพูดชมคุณอาหารที่มีรสเปรี้ยว ….หรือว่า….พูดชมคุณอาหารที่มีรสจืด 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัวมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล ​ เขาย่อมจะได้เครื่องนุ่งห่มด้วย ​ ได้เครื่องบำเหน็จรางวัลด้วย ​ ได้เครื่องบรรณาการด้วย ​ ข้อนั้น ​ เพราะมีอะไรเป็นเหตุ ? 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะว่า ​ พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว ​ มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้น ​ เขาคอยจับตาดูเจ้านายของเขาด้วยประการดังกล่าวแล้ว ​ ฉันใด 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดบางรูปในศาสนานี้ ​ ก็ฉันเดียวกันนั่นแล ​ คือย่อมพิจารณาเห็นกายที่กายอยู่ ​ พิจารณาเห็นเวทนาที่เวทนาอยู่ ​ พิจารณาเห็นจิตที่จิตอยู่ ​ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ​ เป็นผ้มีความเพียร ​ มีสัมปชัญญะ ​ มีสติ ​ นำอภิชฌา ​ ความดีใจ ​ และโทมนัสความเสียใจในโลกออกเสียได้ ​ เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ​ จิตย่อมเป็นสมาธิ ​ อุปกิเลสทั้งหลายย่อมหายไป ​ เขาย่อมจ้องจับเอานิมิตนั้นได้ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ชำนาญ ​ มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล ​ ย่อมได้การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ​ ย่อมได้สติและสัมปชัญญะ ​ ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า ? 
- 
-(หน้าที่ 255) 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้น ​ คอยจ้องจับเอานิมิตแห่งจิตของตนได้เป็นเหตุโดยแท้ 
- 
-'''​พึงรักษาฌานให้ดำรงอยู่ได้นาน ๆ 
-'''​ 
-แหละเมื่อโยคีบุคคล ​ ทำอาการทั้งหลายให้ถึงพร้อมอยู่ด้วยการคอยจ้องจับเอานิมิตนั้น ​ อัปปนาสมาธิเพียงสำเร็จคืนมาได้อีกเท่านั้น ​ หาได้สำเร็จเป็นการให้ดำรงอยู่ได้นาน ๆ ไม่ ​ ส่วนที่จะให้อัปปนาสมาธิดำรงอยู่ได้นาน ๆ นั้น ​ ย่อมสำเร็จได้ด้วยการชำระล้างธรรมทั้งหลายที่เป็นข้าศึกแก่สมาธิให้สะอาดด้วยดี 
- 
-'''​เหตุที่อยู่ในสมาบัติไม่ได้นาน 
-'''​ 
-จริงอยู่ ​ ภิกษุใดไม่ได้ข่มกามฉันทนิวรณ์ไว้เป็นอย่างดีด้วยอุบายวิธีมีการพิจารณาเห็นโทษของกามเป็นต้น ​ ไม่ได้ทำความกระวนกระวายทางกายให้สงบลงด้วยดี ​ ด้วยอำนาจทำกายให้สงบ ​ ไม่ได้บรรเทาถีนมิทธนิวรณ์ด้วยดี ​ ด้วยอำนาจมนสิการถึงอารัมภธาตุ ​ คือการปรารถความเพียรเป็นต้น ​ ไม่ได้ถอดถอนออกด้วยดีซึ่งอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ​ ด้วยอำนาจมนสิการถึงสมถนิมิตเป็นต้น ​ แม้ธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกแก่สมาธิอย่างอื่น ๆ  ก็ไม่ได้ชำระล้างให้สะอาดด้วยดีแล้วเข้าสู่ฌานสมาบัติ ภิกษุนั้นย่อมจะออกจากฌานสมาบัติเสียโดยเร็วพลันนั่นเทียว ​ เหมือนแมลงภู่ที่เข้าไปยังโพรงที่อยู่อาศัย ซึ่งมิได้ชำระให้สะอาด ​ และเหมือนพระราชาที่เสด็จเข้าไปสู่พระราชอุทยานที่สกปรก ​ ย่อมไม่สามารถทรงทนอยู่ได้นาน 
- 
-'''​เหตุที่ให้อยู่ในสมาบัติได้นาน 
-'''​ 
-ส่วนภิกษุใด ​ ชำระธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกแก่สมาธิให้สะอาดด้วยดีเสียก่อนแล้วจึงสู่ฌานสมาบัติ ​ ภิกษุนั้นย่อมจะอยู่ได้ภายในแห่งสมาบัตินั่นแล ​ แม้ตลอดกาลอันเป็นส่วนแห่งวันทั้งสิ้นทีเดียว ​ เหมือนแมลงภู่ที่เข้าไปยังโพรงที่อยู่อาศัยซึ่งได้ชำระให้สะอาดแล้วเป็นอย่างดี ​ และเหมือนพระราชาเสด็จเข้าไปสู่พระราชอุทยานที่สะอาดเป็นอย่างดี ​ ฉะนั้น 
- 
-ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านโบราณาจารย์จึงได้ประพันธ์สุภาษิตไว้ ​ ซึ่งมีความว่า- 
- 
-(หน้าที่ 256) 
- 
-โยคีบุคคล ​ พึงกำจัดปัดเป่าเสียซึ่งความพอใจในกามทั้งหลาย 1  ความเคียดแค้น 1  ความฟุ้งซ่าน 1  ความเซื่องซึม 1  และความสงสัยเป็นที่ 5  แล้วพึงมีใจปราโมชซึ่งเกิดแต่ความสงัด ​ จากนิวรณ์กิเลสอภิรมย์ชมชื่นอยู่ในฌานนั้น ​ เหมือนพระราชาที่เสด็จเข้าไปสู่พระราชอุทยานที่สะอาดตลอดสุดบริเวณ ​ ย่อมทรงอภิรมย์ชมชื่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ​ ฉะนั้น 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​ อันโยคีบุคคลผู้ใคร่จะให้ฌานนั้นดำรงอยู่ได้นาน ๆ  ก็จงชำระธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกแก่สมาธิมีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นให้สะอาด ​ แล้วจึงเข้าสู่ฌานสมาบัตินั้นเถิด 
- 
-===การขยายปฏิภาคนิมิต=== 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ โยคีบุคคลผู้ฌานลาภีนั้น ​ พึงขยายปฏิภาคนิมิตตามที่ได้มาแล้วทั้งนี้ ​ เพื่อความเจริญไพบูลย์แห่งสมาธิภาวนา ​ ภูมิที่จะขยายปฏิภาคนิมิตนั้นมี 2 ภูมิ ​ ได้แก่ ​ อุปจารภูมิ ​ หรือ ​ อัปปนาภูมิ ​ กล่าวคือ ​ โยคีบุคคลบรรลุถึงอุปจารภูมิแล้วขยายปฏิภาคนิมิตนั้นก็ได้ ​ บรรลุถึงอัปปนาภูมิแล้วขยายปฏิภาคนิมิตนั้นก็ได้ ​ แต่ที่จริงแล้ว ​ จะพึงขยายได้ในฐานะอันเดียว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ​ พึงขยายปฏิภาคนิมิตตามที่ได้มาแล้ว ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​วิธีขยายปฏิภาคนิมิต 
-'''​ 
-แนวทางแห่งการขยายปฏิภาคนิมิตนั้น ​ ดังต่อไปนี้- ​ อันโยคีบุคคลอย่าได้ขยายปฏิภาคนิมิตนั้น ​ ด้วยวิธีที่ขยายของบาตร ​ วิธีขยายของขนม ​ วิธีขยายของข้าวสุก ​ วิธีขยายของเถาวัลย์ ​ และวิธีขยายของผ้า ​ พึงกะกำหนดประมาณแห่งนิมิตตามที่ได้มานั้นด้วยใจไว้ก่อนว่า ​ ประมาณ 1 นิ้ว ​ 2 นิ้ว ​ 3 นิ้ว ​ 4 นิ้ว ​ โดยลำดับ ​ แล้วจึงขยายไปเท่าที่กะกำหนดไว้ ​ เหมือนอย่างชาวนากะกำหนดสถานที่ซึ่งจะไถด้วยไถไว้ก่อน ​ แล้วจึงไถเนื้อที่ภายในที่กำหนดไว้ ​ แหละอีกประการหนึ่ง ​ เหมือนภิกษุสงฆ์จะผูกสีมา ​ กำหนดนิมิตทั้งหลายไว้ก่อนแล้วจึง 
- 
-(หน้าที่ 257) 
- 
-ผูกภายหลังฉะนั้น ​ เมื่อไม่ได้กะกำหนดเสียก่อนแล้วอย่าเพิ่งขยาย ​ ครั้นกะกำหนดขยายไปได้ขนาด 4 นิ้วแล้ว ​ แต่นั้นพึงขยายออกไปด้วยกำหนดเอาชั่วคืบหนึ่ง ​ ศอกหนึ่ง ​ ชั่วหน้ามุขหนึ่ง ​ บริเวณหนึ่ง ​ ชั่ววัดหนึ่ง ​ หรือชั่วเขตหมู่บ้านหนึ่ง ​ ชั่วตำบลหนึ่ง ​ ชั่วอำเภอหนึ่ง ​ ชั่วจังหวัดหนึ่ง ​ ชั่วประเทศหนึ่ง ​ และชั่วมหาสมุทรหนึ่ง ​ หรือพึงกำหนดขยายเขตออกไปชั่วจักรวาลหนึ่ง ​ หรือแม้กว้างใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็ได้ 
- 
-'''​เปรียบเหมือนลูกนกหงส์ 
-'''​ 
-เหมือนอย่างลูกนกหงส์ประเภทที่มีกำลังเร็ว ​ นับแต่เวลาที่ขนปีกทั้งหลายงอกขึ้นเต็มที่แล้ว ​ มันฝึกบินโฉบขึ้นไปคราวละเล็กละน้อยก่อน ​ ครั้นฝึกให้ชำนิชำนาญแล้วย่อมบินไปถึงที่ใกล้โลกพระจันทร์โลกพระอาทิตย์ก็ได้ตามลำดับ ​ ฉันใด ​ ภิกษุผู้ฌานลาภีก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว ​ คือ ​ เมื่อกำหนดขยายนิมิตออกไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว ​ ย่อมขยายออกไปจนถึงจักรวาลหนึ่งเป็นกำหนด ​ หรือแม้ขยายให้กว้างใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็ได้ ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ ปฏิภาคนิมิตนั้นย่อมจะปรากฏแก่เธอในที่จะขยายไปแล้วขยายไปแล้วนั้นๆ ​ เหมือนดั่งโคตัวผู้ที่ถูกเกี่ยวไว้ด้วยขอตั้งร้อยอัน ​ ณ  ตรงที่ดอนที่ลุ่มแห่งแผ่นดิน ​ ตรงที่คดโค้งแห่งแม่น้ำ ​ และตรงที่ลดหลั่นแห่งภูเขา 
- 
-===วสี 5=== 
-====ฝึกความชำนาญในฌาน 5 ประการ==== 
- 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลผู้แรกทำกัมมัฏฐาน ​ ซึ่งได้บรรลุปฐมฌานในเพราะปฏิภาคนิมิตนั้น ​ ต้องฝึกการเข้าฌานมาก ๆ  แต่อย่าพิจารณาองค์ฌานให้มาก ​ เพราะเมื่อพิจารณามากองค์ฌานทั้งหลายก็จะปรากฏเป็นสภาวะที่หยาบมีกำลังน้อย ​ และเพราะเหตุที่ปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น ​ องค์ฌานเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ความขวนขวายเพื่อภาวนาเบื้องสูงขึ้นไปเสีย ​ เมื่อเธอสาละวนขวนขวายอยู่ในฌานที่ยังไม่คล่องแคล่ว ​ เธอก็จะเสื่อมจากปฐมฌานที่ได้บรรลุแล้วด้วย ​ จะไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌานด้วย 
- 
-'''​พระบาลีรับสมอ้าง 
-'''​ 
-เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงทรงเทศนาไว้ว่า – 
- 
-(หน้าที่ 258) 
- 
-'''​เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา 
-'''​ 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ​ ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่หากิน ​ ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบ ​ แม่โคนั้นจะพึงคิดอย่างนี้ว่า ​ ทำอย่างไรหนอเราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป ​ ครั้นแล้วมันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ที่ดีเสียก่อนแล้วยกเท้าหลังขึ้น ​ มันก็จะไม่พึงไปถึงทิศที่ไม่เคยไป ​ ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนยังไม่เคยกัดกิน ​ และยังไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม ​ มิหนำซ้ำมันยังจะไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิมที่มันยืนคิดอยู่ว่า ​ ทำอย่างไรหนอ ​ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป ​ จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน ​ จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ​ ฉะนี้ด้วย ​ ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า ? 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะเหตุว่า ​ แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น ​ มันโง่ ​ มันไม่ชำนาญ ​ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน ​ มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขานั้นอันไม่เรียบราบโดยแท้ ​ ฉันใด 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว ​ คือเป็นคนโง่เพราะไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต ​ เป็นคนไม่ชำนาญ ​ เพราะไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้น ​ เป็นคนไม่รู้จักขอบเขต ​ เพราะไม่หมั่นทำให้มาก ​ และเป็นคนไม่ฉลาดเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ​ อันมีวิตก ​ มีวิจาร ​ มีปีติ ​ และสุขอันเกิดแต่ความสงัดอยู่ ​ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย 
- 
-ภิกษุนั้น ​ ไม่ได้ส้องเสพนิมิตนั้น ​ ไม่ทำนิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ​ ไม่ทำให้มาก ๆ  เข้า ​ ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี ​ ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ​ ทำอย่างไรหนอ ​ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่ง ​ ทุติยฌาน ​ อันเป็นภายใน ​ ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ ​ มีภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น ​ ไม่มีวิตก ​ ไม่มีวิจาร ​ เพราะวิตกวิจารสงบไปแล้ว ​ มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุถึงซึ่งทุติยฌาน……นั้นได้ ​ ถึงเธอจะมีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ​ ทำอย่างไรหนอ ​ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน ​  ​อันมีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัด ​ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน ….นั้นได้ 
- 
-(หน้าที่ 259) 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุนี้เราเรากล่าวว่าเป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง 2  เป็นผู้เสื่อมสูญแล้วจากฌานทั้ง 2  เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ​ ซึ่งเป็นสัตว์โง่ไม่ชำนาญ ​ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ​ ไม่ฉลาดเพื่อที่ท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น 
- 
-เพราะเหตุฉะนี้ ​ อันโยคีบุคคลนั้นจำต้องเป็นผู้สั่งสมวสีคือความสามารถด้วยอาการ 5  อย่าง ​ ในปฐมฌานนั้นนั่นเทียวเสียก่อน 
- 
-'''​วสี 5  อย่าง 
-'''​ 
-ในการสั่งสมวสีนั้น ​ วสีมี 5  อย่างดังนั้นคือ – 
- 
-1.  อาวัชชนวสี ​       ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยมโนทวาราวัชชนจิต 
- 
-2.  สมาปัชชนวสี ​   ความสามารถในการเข้าฌาน 
- 
-3.  อธิฏฺฐานวสี ​       ความสามารถในการให้ฌานดำรงอยู่ตามกำหนด 
- 
-4.  วุฏฺฐานวสี ​       ความสาใมารถในการออกจากฌานตามกำหนด ​ และ 
- 
-5.  ปัจจเวกขณวสี ​   ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิต 
- 
-ฌานลาภีบุคคล ​ ย่อมสามารถพิจารณาปฐมฌาน ​ ตามที่ตนปรารถนาตลอดเวลาที่ต้องการ ​ และในการพิจารณานั้นไม่มีความชักช้าเฉื่อยชา ​ ดังนั้นจึงเรียกว่า ​ อาวัชชนวสี ​ ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌาน ​ ฌานลาภีบุคคลย่อมสามารถเข้าปฐมฌานได้ตามที่ตนปรารถนาทุกครั้งตลอดเวลาที่ต้องการ ​ และในการเข้านั้น ​ ก็ไม่มีความชักช้า ​ เฉื่อยชา ​ ดังนั้นจึงชื่อว่า ​ สมาปัชชนวสี ​ ความสามารถในการเข้าฌาน ​ แม้วสี 3  ที่เหลือ ​ นักศึกษาก็พึงขยายความให้พิสดารโดยทำนองเดียวกันนี้ 
- 
-'''​อรรถาธิบายวสี 5  อย่าง 
-'''​ 
-ก็แหละ ​ ในวสี 5  อย่างนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​1. ​ อธิบาย อาวัชชนวสี 
-'''​ 
-ขณะเมื่อฌานลาภีบุคคลออกจากปฐมฌานแล้ว ​ พิจารณาถึงองค์ฌานที่ 1  คือ ​ วิตกอยู่นั้น ​ ชวนจิตทั้งหลายซึ่งมีวิตกเป็นอารมณ์นั่นแลย่อมแล่นไป ​ บางบุคคลก็ 4 ขณะ 
- 
-(หน้าที่ 260) 
- 
-บางบุคคลก็ 5  ขณะ ​ ต่อจากมโนทวาราวัชชนจิตที่ตัดภวังค์เกิดขึ้นนั้น ​ ถัดนั้นภวังคจิตก็เกิดขึ้น 2  ขณะ ​ ต่อจากภวังจิตนั้น ​ มโนทวาวัชชนจิตมีวิจารเป็นอารมณ์ ​ ก็เกิดขึ้นต่อไปอีก ​ ชวนจิตทั้งหลายซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ​ ก็เกิดขึ้นต่อจากมโนทวาราวัชชนะนั้น ​ กาลใด ​ ที่ฌานลาภีบุคคลสามารถส่งจิตไปพิจารณาในองค์ฌานทั้ง 5  ติดต่อกันดังกล่าวมานี้ ​ กาลนั้น ​ ชื่อว่า ​ อาวัชชนวสี ​ ย่อมสำเร็จแก่เธอ ​ แหละอาวัชชนวสีที่กล่าวมานี้ ​ ที่จัดเป็นวสีชั้นสูงถึงขั้นสุดยอด ​ ย่อมมีได้แต่ในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระยมกปาฏิหาริย์ ​ หรือในขณะเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งอาวัชชนวสีอย่างฉับพลันของท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะเป็นต้น ​ นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว ​ อาวัชชนวสีที่รวดเร็วฉับพลันเช่นนี้หามีไม่ 
- 
-'''​2. ​ อธิบาย ​ สมาปัชชนวสี 
-'''​ 
-แหละความสามารถในการเข้าฌานได้อย่างฉับพลัน ​ เหมือนในการที่ท่านมหาโมคคัลลานะทรมานพญานันโทปนันทนาคราช ​ ชื่อว่า ​ สมาปัชชนวสี 
- 
-'''​3. ​ อธิบายอธิฏฐานวสี 
-'''​ 
-ความสามารถเพื่อที่จะทำให้ฌานดำรงอยู่ได้ ​ ชั่วขณะประมาณลัดนิ้วมือหนึ่ง ​ หรือชั่วขณะประมาณ ​ 10  ลัดนิ้วมือก็ดี ​ ชื่อว่า ​ อธิฏฐานวสี 
- 
-'''​4. ​ อธิบาย ​ วุฏฐานวสี 
-'''​ 
-ความสามารถเพื่อที่จะออกจากฌานได้อย่างฉับพลัน ​ ชั่วขณะประมาณลัดนิ้วมือหนึ่ง ​ หรือชั่วขณะประมาณ 10  ลัดนิ้วมือก็ดี ​ ชื่อว่า ​ วุฏฐานวสี 
- 
-การข่มภวังคจิตไว้ไม่ให้เกิดขึ้น ​ เพื่อให้ฌานดำรงเป็นไปตามเวลาที่ต้องการเหมือนสะพานกั้นกระแสน้ำไม่ให้ไหลไปเร็ว ​ ชื่อว่า ​ อธิฏฐาน ​ เมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้ว ​ ก็ชื่อว่า ​ วุฏฐาน ​ คือการออกจากฌาน ​ ความสามารถในอันให้ฌานดำรงอยู่ได้ ​ คือไม่ให้ภวังคจิตเกิดด้วยอำนาจแห่งการบริกรรมเบื้องต้นว่า ​ จักให้ฌานดำรงอยู่ชั่วขณะประมาณเท่านั้นเท่านี้ ​ ชื่อว่า ​ อธิฏฐานวสี ​ ฉันใด ​ ความสามารถในการออกจากฌานด้วยอำนาจบริกรรม 
- 
-(หน้าที่ 261) 
- 
-เบื้องต้นว่า ​ เราอยู่ในฌานจักออกจากฌานชั่วขณะประมาณเท่านั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็น ​ วุฏฐานวสี ​ ฉันนั้น 
- 
-เพื่อที่จะแสดงวสีทั้ง 2  คืออธิฏฐานวสีกับวุฏฐานวสีให้แจ่มแจ้ง ​ ควรนำเรื่องพระพุทธรักขิตเถระมาเล่าประกอบด้วย ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​เรื่องพระพุทธรักขิตเถระ 
-'''​ 
-ได้ยินมาว่า ​ ท่านพุทธรักขิตเถระนั้น ​ จำเดิมแต่อุปสมบทมาได้ 8  พรรษาขณะที่ท่านนั่งอยู่ ​ ณ  ท่ามกลางพระเถระผู้ทรงฤทธิ์ทั้งหลายประมาณ 30  พันองค์ ​ ซึ่งพากันมายังที่เยี่ยมไข้ของพระมหาโรหณคุตตเถระที่เถรัมพัตถลวิหาร ​ ท่านได้เหลียวเห็นพระญาครุฑกำลังโฉบลงมาจากอากาศ ​ ด้วยหมายว่าจักเฉี่ยวเอาพญานาคผู้อุปัฏฐาก ​ ซึ่งกำลังถวายข้าวต้มแก่พระเถรอยู่ ​ ท่านจึงนิรมิตภูเขาขึ้นในทันใดนั้น ​ แล้วฉวยเอาพญานาคมาไว้ในระหว่างแขนแล้วไส่เข้าไปในหลืบภูเขาที่ท่านนิรมิตขึ้นนั้น ​ ฝ่ายพญาครุฑกระทบเข้ากับภูเขาเข้าปังใหญ่แล้วก็บินหนีไป ​ พระมหาโรหณคุตตเถระจึงได้พูดสรรเสริญว่า ​ "​อาวุโสทั้งหลาย ​ ถ้ามิได้มีพระภิกษุพุทธรักขิตะแล้ว ​ เราทั้งหมดจะถูกครหาว่า ​ '​ผู้มีฤทธิ์มากมายถึงเพียงนี้ ​ ไม่สามารถรักษาอุปัฏฐากเพียงคนเดียวให้รอดพ้นจากครุฑได้' ​ ฉะนี้"​ 
- 
-'''​5. ​ อธิบาย ​ ปัจจเวกขณวสี 
-'''​ 
-ส่วนปัจจเวกขณวสีนั้น ​ เป็นอันข้าพเจ้าได้แสดงไว้แล้วในอาวัชชนวสีนั้นแล้วเพราะปัจจเวกขณชวนะ 4 หรือ 5  ขณะนั้น ​ ย่อมเกิดขึ้นติดต่อมโนทวาราวัชชนะในวิถีจิตเดียวกันนั้น ​ กล่าวคือ ​ ชวนจิต 4  หรือ 5  ขณะเหล่าใดซึ่งเกิดขึ้นต่อจากมโนทวาราวัชชนจิตที่ทำหน้าที่พิจารณาองค์ฌานมีวิตกเป็นต้นไปตามลำดับโดยความเป็นอาวัชชนวสี ​ ชวนจิตเหล่านั้น ​ ก็ทำหน้าที่พิจารณาองค์ฌานเหล่านั้น ​ โดยความเป็น ​ ปัจจเวกขณวสี ​ ด้วย ​ นักศึกษาพึงทราบว่าความสำเร็จเป็นอาวัชชนวสีด้วยอารมณ์ใด ​ ความสำเร็จเป็นปัจจเวกขณวสีก็ด้วยอารมณ์นั้น ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 262) 
- 
-==ได้ทุติยฌาน== 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลผู้มีวสีอันได้สั่งสมดีแล้วในวสี 5 ประการเหล่านี้ ​ ออกจากปฐมฌานที่ทำให้คล่องแคล่วดีแล้ว ​ แต่นั้นพิจารณาเห็นโทษในปฐมฌานนั้นว่า ​ สมาบัตินี้ยังใกล้ต่อนิวรณ์อันเป็นข้าศึก ​ เพราะเพิ่งละนิวรณ์ได้เป็นครั้งแรก ​ และว่า ​ สมาบัตินี้มีองค์อันทุรพลเพราะวิตกและวิจารเป็นสภาพที่หยาบ ​ ฉะนี้แล้วพึงมนสิการถึง ​ ทุติยฌาน ​ โดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ คลายความยินดีในปฐมฌานแล้วพึงลงมือทำความเพียรเพื่อบรรลุซึ่งทุติยฌานต่อไป 
- 
-แหละการใด ​ เมื่อโยคีบุคคลนั้นออกจากปฐมฌาน ​ มีสติสัมปชัญญะพิจารณาถึงองค์ฌานอยู่นั้น ​ วิตกและวิจารย่อมจะปรากฏโดยเป็นสภาพที่หยาบ ​ ปีติ, ​ สุข ​ และเอกัคคตาย่อมจะปรากฏโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ กาลนั้น ​ ขณะที่โยคีบุคคลมนสิการถึงปฏิภาคนิมิตนั้นนั่นแล ​ อย่างแล้ว ๆ  เล่า ๆ ว่า ​ ปถวี -  ปถวี ​  ​หรือ ​ ดิน -  ดิน ​ ฉะนี้ ​ เพื่อละเสียซึ่งองค์ฌานที่หยาบ ​ และให้ได้มาซึ่งองค์ฌานที่ละเอียดอยู่นั้น ​ มโนทวาราวัชชนจิต ​ ทำปถวีกสิณนั้นนั่นแลให้เป็นอารมณ์ตัดภวังคจิตเกิดขึ้น ​ เหมือนจะบอกให้รู้ว่า ​ ทุติยฌานจักเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้แล้ว ​ ต่อแต่นั้น ​ ชวนจิตก็จะแล่นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ 4  ขณะบ้าง ​ 5  ขณะบ้าง ​ (ตามควรแก่โยคีที่เป็นติกขบุคคลและมันทบุคคล) ​ บรรดาชวนจิตเหล่านั้น ​ ดวงสุดท้าย 1  ดวงเป็น ​ รูปาวจรกุศลจิตทุติยฌาน ​ ดวงที่เหลือนอกนี้เป็น ​ กามาวจรกุศลจิต ​ เหมือนดังที่กล่าวมาแล้วในปฐมฌานนั้นทุกประการ 
- 
-===ส่วนประกอบ 4 เมื่อได้อัปปนา=== 
-ก็แหละ ​ ด้วยลำดับแห่งภาวนาวิธีมีประมาณเท่านี้ ​ เป็นอันว่าโยคีบุคคลนั้นมีส่วนประกอบดังนี้:​ 
- 
-#​วิตกและวิจารสงบไปแล้ว ​ สมาธิภายใน จึงปลอดโปร่ง เหลือเพียงสมาธิอย่างเดียว ไม่เหลือวิตกและวิจาร เข้าทุติยฌานที่มีแค่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ (องค์ฌาน 3) 
-#​ละองค์ 2  และประกอบด้วยองค์ 3  ​ 
-#​มีความงาม 3  และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  ​ 
-#​ได้บรรลุทุติยฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ 
- 
-(หน้าที่ 263) 
- 
-====ส่วน 1 องค์ฌาน 3 (วิตกและวิจารสงบไปแล้ว เป็นต้น)==== 
-ในคำว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  เพราะองค์ฌานทั้ง 2  คือวิตกและวิจารนี้สงบไป ​ คือ ​ เพราะก้าวล่วงวิตกและวิจารทั้ง 2 ไป ​ ได้แก่ เพราะไม่มีวิตกและวิจารทั้ง 2  ปรากฏในขณะแห่งทุติยฌาน 
- 
-ในฌานทั้ง 2 นั้น ​ ถึงแม้ว่าธรรมที่มีในปฐมฌานแม้ทุก ๆ อย่าง ​ จะไม่มีในทุติยฌาน ​ เพราะเจตสิกธรรมทั้งหลายเช่นผัสสะเป็นต้นในปฐมฌานก็เป็นอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ก็เป็นอย่างหนึ่ง ​ ก็ตาม ​ แต่กระนั้น ​ การบรรลุฌานอื่น ๆ  จากปฐมฌานขึ้นไปเช่นทุติยฌานเป็นต้นย่อมมีได้เพราะผ่านองค์ฌานที่หยาบ ๆ ไป ​ ดังนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ เพื่อที่จะแสดงความหมายดังอธิบายมานี้ ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายเป็นภายใน 
-'''​ 
-คำว่า ​ เป็นภายใน ​ ณ  ที่นี้ ​ หมายเอาภายในที่เกิดในตน ​ ส่วนในคัมภีร์วิภังคปกรณ์ ​ พุทธองค์ทรงแสดงไว้เพียงสั้น ๆ ว่า ​ คำว่า ​ เป็นภายใน ​ คือเป็นไปเฉพาะตน ​ และเพราะในคำว่า ​ เป็นภายใน ​ นี้ ​ ประสงค์เอาภายในที่เกิดในตน ​ ฉะนั้น ​ จึงมีอรรถาธิบายว่า ​ เกิดแล้วแก่ตนอย่างหนึ่ง ​ บังเกิดในสันดานตนอย่างหนึ่ง ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ สมฺปสาทนํ ​ ประด้วยความเลื่อมใส 
-'''​ 
-คำว่า ​ ประกอบด้วยความเลื่อมใส ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า – ศรัทธา ​ เรียกว่า ความเลื่อมใส ​ แม้ฌานก็เรียกว่าความเลื่อมใส ​ เพราะประกอบด้วยความเลื่อมใส ​ เหมือนที่เรียกว่า ​ ผ้าเขียว ​ เพราะประกอบด้วยสีเขียว ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ สมฺปสาทนํ ​ ทำจิตให้เลื่อมใส 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ เพราะฌานนั้นทำให้จิตเลื่อมใส ​ โดยเหตุที่ประกอบด้วย ​ ความเลื่อมใส ​ และโดยเหตุที่สงบเสียได้ซึ่งความวุ่นวายเพราะวิตกและวิจาร ​ ฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ สมฺปสาทนํ ​ แปลว่า ​ ทำให้จิตเลื่อมใส ​ แหละในอรรถวิกัปนี้ ​ พึงทราบถึงการ 
- 
-(หน้าที่ 264) 
- 
-เชื่อมบทเข้าด้วยกันอย่างนี้คือ ​ สมฺปทาทนํ ​ เจตโส ​ แปลว่า ​ ทำจิตให้เลื่อมใส ​ ส่วนในอรรถวิกัปต้นต้องยกเอาบทว่า ​ เจตโส ​ ไปประกอบเข้ากับบทว่า ​ เอโกทิภาวํ ​ เป็น ​ เจตโส ​ เอโกทิภาวํ ​ แปลว่า ​ เป็นภาวะที่ให้สมาธิชั้นเอกเกิดขึ้นแก่ใจ 
- 
-'''​อธิบาย ​ เอโกทิภาวํ 
-'''​ 
-ในบทว่า ​ เอโกทิภาวํ ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  สมาธิใดเป็นเอกเกิดขึ้น ​ ฉะนั้น ​ สมาธินั้นชื่อว่า ​ เอโกทิ ​ แปลว่า ​ เป็นเอกเกิดขึ้น ​ อธิบายว่า ​ เป็นธรรมล้ำเลิศ ​ เป็นธรรมประเสริฐเกิดขึ้น ​ เพราะไม่ถูกวิตกและวิจารขึ้นครอบงำ ​ จริงอยู่ ​ บุคคลรู้ประเสริฐ ​ เขาก็เรียกกันว่าเป็นเอกในโลก ​ หรือจะพูดว่า ​ สมาธิเป็นเอกคือไม่มีเพื่อน ​ เพราะเว้นจากวิตกและวิจาร ​ ฉะนี้บ้างก็ได้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ สมาธิโดยยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น คือให้ตั้งขึ้น ฉะนั้น สมาธินั้นชื่อว่า อุทิ แปลว่า สภาพที่ยังสัมปยุตธรรมให้เกิดขึ้น สมาธิที่เป็นเอกเพราะอรรถว่าประเสริฐนั้นด้วย ​ ทำให้สัมปยุตธรรมเกิดขึ้นด้วย ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ เอโกทิ ​ แปลว่า ​ สมาธิชั้นเอกและทำให้สัมปยุตธรรมเกิดขึ้นได้ ​ คำว่า ​ เอโกทิ ​ นี้เป็นชื่อของสมาธิ ​ ทุติยฌานนี้ ​ ชื่อว่า ​ เอโกทิภาวํ ​ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ​ ทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดขึ้น ​ คือทำให้เจริญขึ้น ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะสมาธิที่ชื่อว่า ​ เอโกทิ ​ นี้นั้น ​ เป็นสมบัติของใจ ​ มิใช่ของสัตว์ ​ มิใช่ของชีวะ ​ ฉะนั้นท่านจึงแสดงไว้ว่า ​ เจตโส ​ เอโกทิภาวํ ​ ดังนี้ ​ แปลว่า ​ ทุติยฌานเป็นภาวะที่ทำสมาธิชื่อเอโกทิให้เจริญขึ้นแก่ใจ 
- 
-ถาม -  แม้ในปฐมฌาน ​ ก็มีศรัทธานี้ด้วย ​ มีสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ด้วยแล้วใช่หรือเมื่อเป็นเช่นนี้ ​ ทำไมท่านจึงกล่าวเฉพาะทุติยฌานนี้เท่านั้นว่า ​ ทำจิตให้เลื่อมใส ​ เป็นภาวะที่ทำสมาธิชื่อเอโกทิให้เจริญขึ้น ​ ฉะนี้เล่า ?  
- 
-ตอบ -  ก็ปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสดีนัก ​ โดยเหตุที่ยังวุ่นวายอยู่เพราะวิตกและวิจาร ​ เปรียบเหมือนน้ำที่ถูกรบกวนอยู่ด้วยละลอกและลูกคลื่นฉะนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ถึงแม้ศรัทธาจะมีอยู่ก็ตาม ​ ท่านก็ไม่แสดงว่า ​ สมฺปสาทนํ ​ ทำจิตให้เลื่อมใส ​ และเพราะเหตุที่ยัง 
- 
-(หน้าที่ 265) 
- 
-ผ่องใสไม่ดีนั่นเอง ​ แม้สมาธิในปฐมฌานนั้นจึงยังไม่เด่นชัดดี ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงไม่แสดงว่า ​ เอโกทิภาวํ ​ เป็นภาวะที่ทำสมาธิชื่อเอโกทิให้เจริญขึ้น 
- 
-ส่วนในทุติยฌานนี้ ​ ศรัทธาได้โอกาสและมีกำลังมาก ​ เพราะเหตุไม่มีเครื่องกังวลคือวิตกและวิจารรบกวน ​ และแม้สมาธิเล่าก็เด่นชัดเพราะเหตุที่ได้เพื่อนคือศรัทธาอันมีกำลัง เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงแสดงเช่นนี้เฉพาะทุติยฌานนี้เท่านั้น ​ นักศึกษาพึงเข้าใจความหมาย ​ ฉะนี้ 
- 
-ในส่วนคัมภีร์วิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เพียงว่า ​ ความเชื่อ ​ ความเชื่อฟัง ​ ความหยั่งใจลงเชื่อ ​ ความเลื่อมใสยิ่ง ​ อันใด ​ นี้ชื่อว่า ​ ความเลื่อมใส ความตั้งอยู่แห่งจิต…….ความตั้งมั่นโดยชอบแห่งจิต ​ อันใด นี้ชื่อว่า ​ ภาวะที่ทำสมาธิ ​ ชื่อเอโกทิให้เจริญขึ้นแก่จิต ​ และการพรรณนาความนี้ย่อมไม่ผิดกับพระบาลีในคัมภีร์วิภังค์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างนั้น ​ คือย่อมเทียบกันได้ ​ ย่อมเข้ากันได้ด้วยประการใด ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยประการนั้นเทอญ 
- 
-'''​อธิบายไม่มีวิตกไม่มีวิจาร 
-'''​ 
-คำว่า ​ ไม่มีวิตก ​ ไม่มีวิจาร ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  วิตกไม่มีในทุติยฌานนี้ ​ หรือวิตกไม่มีแก่ทุติยฌานนี้ ​ เพราะเหตุที่ละได้แล้วด้วยภาวนา ​ เพราะเหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า ​ อวิตกฺกํ ​ แปลว่าไม่มีวิตก ​ คำว่า ​ วิจาร ​ ก็มีอรรถวิเคราะห์โดยทำนองเดียวกันนี้แล 
- 
-แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงไว้ว่า ​ วิตกนี้ด้วย ​ วิจารนี้ด้วย ​ เป็นสภาพสงบแล้ว ​ ระงับแล้ว ​ สงบด้วยดีแล้ว ​ ถึงภาวะที่ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ​ ถึงภาวะที่ตั้งอยู่ไม่ได้แน่แล้ว ​ ถึงภาวะที่พินาศไปแล้ว ​ ถึงภาวะที่พินาศแน่แล้ว ​ เหือดแห้งไปแล้ว ​ เหือดแห้งแน่แล้ว ​ ถูกทำให้หมดที่สุดแล้ว ​ ฉะนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ ทุติยฌานนี้จึงเรียกว่า ​ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร 
- 
-ในอธิการนี้ ​ จะมีผู้กล่าวติงขึ้นว่า -  แม้ด้วยคำว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ นี้ก็เป็นอันสำเร็จความหมายนี้แล้วมิใช่หรือ ​ เออก็เหตุไฉนจึงทรงแสดงว่า ​ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ​ ฉะนี้ ​ ซ้ำอีกเล่า ? 
- 
-(หน้าที่ 266) 
- 
-ข้าพเจ้าจะวิสัชนาต่อไป- ​  ​ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ​  ​ความหมายนี้ก็สำเร็จแล้วจริงแต่คำว่า ​  ​เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​  ​นี้ ​ มิได้บ่งถึงความหมายที่ว่า ​ ไม่มีวิตกและวิจาร ​ นั้น ​ ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วไม่ใช่หรือว่า ​ การบรรลุฌานขั้นอื่น ๆ จากปฐมฌานขึ้นไป ​ เช่นทุติยฌานเป็นต้น ​ ย่อมมีได้เพราะการผ่านองค์ฌานที่หยาบ ๆ ไป ​     ดังนั้น ​ เพื่อที่จะทรงแสดงความหมายดังอธิบายมานี้ ​ จึงตรัสว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ คำว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ นี้ ​ เป็นเครื่องแสดงถึงเหตุแห่งความเลื่อมใสและภาวะที่ทำสมาธิชั้นเอกให้เจริญขึ้นของทุติยฌานอย่างนี้ว่า ​ ทุติยฌานนี้ ​ ชื่อว่าประกอบด้วยความเลื่อมใส ​ เพราะเหตุที่วิตกและวิจารสงบไป ​ มิใช่เพราะเหตุที่กิเลสซึ่งเกิดฟุ้งขึ้นตามกาลสงบไป ​ และที่ชื่อว่า ​ เป็นภาวะที่ทำสมาธิชั้นเอกให้เจริญขึ้น ​ เพราะเหตุที่วิตกและวิจารสงบไป ​ มิใช่เพราะเหตุที่ประหานนิวรณ์เหมือนอุปจารฌาน ​ และมิใช่เพราะเหตุที่องค์ฌานปรากฏเด่นชัดเหมือนปฐมฌาน 
- 
-และอีกอย่างหนึ่ง ​ เป็นเครื่องแสดงถึงเหตุภาวะที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารอย่างนี้ว่า ​ ทุติยฌานนี้ ​ ชื่อว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ​ เพราะเหตุที่วิตกและวิจารสงบไป ​ มิใช่เพราะเหตุที่วิตกวิจารไม่มีมาแต่เดิม ​ เหมือนอย่างตติยฌานและจตุถฌาน ​ และเหมือนอย่างทวิปัญญจวิญญาน ​ เช่นจักขุวิญญานเป็นต้น ​ แต่ไม่ใช่เป็นเครื่องแสดงถึงแต่เพียงสักว่าความไม่มีแห่งวิตกและวิจาร ​ ส่วนคำว่า ​ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ​ นี้ ​ เป็นเครื่องแสดงถึงแต่เพียงสักว่าความไม่มีแห่งวิตกและวิจารเท่านั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ถึงแม้ว่าจะได้ทรงแสดงมาแล้วตอนต้นว่า ​ เพราะวิตกและวิจารสงบไป ​ ก็จำที่จะต้องทรงแสดงว่า ​ ไม่มีวิตก ​ ไม่มีวิจาร ​ ซ้ำอีกนั่นเทียว 
- 
-'''​อธิบายบทว่า สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ) เป็นต้น'''​ 
- 
-คำว่า ​ '''​สมาธิชํ (เกิดจากสมาธิ)''' ​ อธิบายว่า ฌานจิตตุปบาททั้งที่เกิดจากปฐมฌานสมาธิหรือที่เกิดจากทุติยฌานสัมปยุตตสมาธิ ก็ล้วนเกิดจากสมาธิ. ​ ใน 2 อย่างนั้น แม้ปฐมฌานจิตตุปบาทที่เกิดจากปฐมฌานสัมปยุตสมาธิจะมีอยู่ก็จริง,​ แต่ทุติยฌานสมาธิ(ที่ทำให้เกิดทุติยฌานจิตตุปบาท)นี่เองที่เรียกว่าสมาธิได้เต็มที่ เพราะไม่หวั่นไหวเกินไป และมีความปลอดโปร่งเป็นอย่างดีเนื่องจากไม่มีวิตกวิจารแล้วนั่นเอง,​ ดังนั้น จึงตรัสคำว่า "​สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ)"​ ไว้ในทุติยฌานจิตตุปบาทนี้เท่านั้น เพื่อกล่าวยกย่องสมาธิของทุติยฌานจิตตุปบาทด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้. 
- 
-(หน้าที่ 267) 
- 
-คำว่า ​ ปีติและสุข ​ นั้น ​ มีนัยดังพรรณนามาแล้วในปฐมฌานนั่นเทียว 
- 
-คำว่า ​ ฌานที่ 2  อธิบายว่า ​ ที่ชื่อว่า 2  เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณฌานนี้ชื่อว่าเป็นที่ 2  เพราะเหตุที่โยคีบุคคลย่อมเข้าเป็นอันดับที่ 2  ดังนี้ก็ได้ ​ ฌานนี้เกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 2  แม้เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ​ ฌานที่ 2  ดังนี้ก็ได้ 
- 
-====ส่วน 2 ละองค์ 2  และประกอบด้วยองค์ 3==== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า ​ ทุติยฌานละองค์ 2  ประกอบด้วยองค์ 3  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-ที่ว่า ​ ทุติยฌานละองค์ 2  นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งการละซึ่ง ​ วิตก 1  วิจาร 1  แหละโยคีบุคคลย่อมละนิวรณ์ทั้งหลายในขณะอุปจาระของปฐมฌาน ​ ฉันใดหาได้ละวิตก ​ และวิจารในขณะอุปจาระของทุติยฌานนี้เหมือนอย่างนั้นไม่ ​ แต่ทุติยฌานนี้ย่อมเกิดโดยปราศจากวิตกและวิจารทั้ง 2  ในขณะแห่งอัปปนานั่นเทียว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ วิตกและวิจารทั้ง 2  นั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ เป็นองค์สำหรับละของทุติยฌานนั้น 
- 
-'''​อธิบาย ​ ทุติยฌานประกอบด้วยองค์ 3 
-'''​ 
-ส่วนที่ว่า ​ ทุติยฌานประกอบด้วยองค์ 3  นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจความเกิดขึ้นแห่งองค์ 3 เหล่านี้ ​ คือ ​ ปีติ 1  สุข 1  จิตเตกัคคตา 1  เพราะฉะนั้น ​ พระพุทธวจนะใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า ​ คำว่า ​ ฌาน ​ ได้แก่ ​ ความเลื่อมใส, ​ ความเอิบอิ่ม, ​ ความสุข, ​ และภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ​ ดังนี้ ​ พระพุทธวจนะนั้น ​ พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้โดยอ้อม ​ เพื่อจะทรงชี้ถึงฌานพร้องทั้งเครื่องปรุงแต่งด้วย ​ แต่เมื่อว่าโดยตรงแล้ว ​ ทุติยฌานนี้ย่อมประกอบด้วยองค์ 3 เท่านั้น ​ ด้วยอำนาจแห่งองค์ที่ถึงซึ่งลักษณะที่เพ่งได้ ​ โดยยกเว้นความเลื่อมใสเสีย ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ ฌานที่ประกอบด้วยองค์ 3  นั้น ​ คือ ​ ปีติ 1  สุข 1 จิตเตกัคคตา 1  ฉะนี้ 
- 
-คำที่เหลือ[[#​ส่วน 3 มีความงาม 3 และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 10|มีนัยดังพรรณนามาแล้ว]]ในปฐมฌานนั่นแล 
- 
-(หน้าที่ 268) 
- 
-==ได้ตติยฌาน== 
- 
-ก็แหละ ​ ครั้นได้บรรลุทุติยฌานแม้นั้นด้วยประการฉะนี้แล้ว ​ โยคีบุคคลผู้มีวสีอันได้สั่งสมดีแล้วด้วยอาการ 5  อย่าง ​ โดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐมฌานนั่นแล ​ ออกจากทุติยฌานที่คล่องแคล่วดีแล้ว ​ แต่นั้นพิจารณาเห็นโทษในทุติยฌานนั้นว่า ​ สมาบัตินี้ ​ ยังใกล้ต่อวิตกและวิจารอันเป็นข้าศึก ​ และว่า ​ สมาบัตินี้มีองค์อันทุรพล ​ เพราะเป็นสภาพที่หยาบด้วยปีติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ​ ปีติในทุติยฌานนั้นใดทำใจให้กำเริบ ​ ทุติยฌานนั้นจึงปรากฏเป็นสภาพที่หยาบเพราะปีตินั้น ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงมนสิการถึงตติยฌานโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ คลายความยินดีในทุติยฌานแล้ว ​ พึงลงมือทำความเพียรเพื่อบรรลุซึ่งตติยฌานต่อไป 
- 
-แหละกาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลออกจากทุติยฌานแล้ว ​ มีสติมีสัมปชัญญะพิจารณาองค์ฌานอยู่นั้น ​ ปีติก็จะปรากฏโดยเป็นสภาพที่หยาบ ​ สุขกับเอกัคคตาจะปรากฏเป็นสภาพที่ละเอียด ​ กาลนั้น ​ ขณะที่โยคีบุคคลมนสิการถึงปฏิภาคนิมิตนั้นนั่นแล ​ อย่างแล้ว ๆ  เล่า ๆ ว่า ​ ปถวี – ปถวี ​ หรือ ​ ดิน -  ดิน ​ เพื่อละเสียซึ่งองค์ฌานที่หยาบและให้ได้มาซึ่งองค์ฌานที่ละเอียดอยู่นั้น ​ มโนทวาราวัชชนจิต ​ ก็จะตัดภวังคจิตเกิดขึ้น ​ เหมือนจะเตือนให้รู้ว่า ​ ตติยฌาน ​ จักเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้แล้ว ​ ถัดนั้น ​ ในอารมณ์ปถวีกสิณนั้นนั่นแล ​ ชวนจิตก็แล่นไป 4 ขณะบ้าง ​ 5 ขณะบ้าง ​ (ตามควรแก่โยคีบุคคลที่เป็นติกขบุคคลและมันทบุคคล) บรรดาชวนจิต 4 หรือ 5 ขณะนั้น ดวงหนึ่ง ​ สุดท้ายเขาเป็น ​ รูปาวจรกุศลจิตขั้นตติยฌาน ​ ส่วน 3  หรือ 4  ดวงที่เหลือข้างต้นเป็น ​ กามาวจรกุศลจิต ​ ตามนัยที่กล่าวแล้วในทุติยฌานนั่นแล 
- 
-===ส่วนประกอบ 4 เมื่อได้อัปปนา=== 
-ก็แหละ ​ ด้วยลำดับแห่งภาวนาวิธีมีประมาณเท่านี้ ​ เป็นอันว่าโยคีบุคคลนั้นมีส่วนประกอบดังนี้:​ 
- 
-#​ละปีติได้ อยู่อย่างมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้เสวยสุขอยู่ด้วยนามกายที่พระอริยเจ้าสรรเสริญว่า "​เป็นผู้มีอุเบกขามีสติเสวยสุขอยู่"​ เข้าตติยฌานอยู่ (องค์ฌาน 2) 
-#​ละองค์ 1  และประกอบด้วยองค์ 2  ​ 
-#​มีความงาม 3  และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  ​ 
-#​ได้บรรลุตติยฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ 
- 
-(หน้าที่ 269) 
- 
-====ส่วน 1 องค์ฌาน 2 (ละปีติได้ อยู่อย่างมีอุเบกขา เป็นต้น)==== 
- 
-'''​อธิบาย ​ เพราะก้าวล่วงซึ่งปีติ 
-'''​ 
-บรรดาคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ เพราะก้าวล่วงซึ่งปีติ ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  ความเบื่อหน่าย ​ หรือความก้าวล่วงซึ่งปีติอันมีประการดังกล่าวแล้ว ​ ชื่อว่า ​ วิราคะ ​ แปลว่า ​ ความก้าวล่วงปีติ ​ ส่วน จ  ศัพท์ระหว่างบททั้ง 2  คือ ​ ปีติยา ​ จ  วิราคา ​   หมายความว่า ​ รวบรวม กล่าวคือ ​ จ  ศัพท์นั้นรวบรวมเอาซึ่งความสงบ ​ หรือซึ่งความสงบไปแห่งวิตกและวิจาร ​ ใน 2  อย่างนั้น ​ คราวใด จ  ศัพท์ ​ รวมเอาความสงบแต่อย่างเดียว ​ คราวนั้นนักศึกษาพึงทราบการเรียงเข้าประโยคดังนี้ ​ ปีติยา ​ จ  วิราคา ​ กิญฺจ ​ ภิยฺโย ​ วูปสมา ​ จ  แปลว่า ​ เพราะเบื่อหน่ายปีติ ​ และเพราะความสงบโดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ และในการเรียงประโยคเช่นนี้ ​ วิราค ​ ศัพท์ ​ แปลว่า ​ ความเบื่อหน่าย ​ เพราะฉะนั้นพึงทราบความหมายว่า ​ เพราะเบื่อหน่ายปีติและความสงบ ​ ฉะนี้ 
- 
-แต่คราวใด ​ จ  ศัพท์ ​ รวมเอาความสงบแห่งวิตกและวิจารด้วย ​ คราวนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการเรียงเข้าประโยคดังนี้ ​ ปีติยา ​ จ  วิราคา, ​ กิญฺจ ​ ภิยฺโย ​ วิตกฺกวิจารานญฺจ ​ วูปสมา ​ ซึ่งแปลว่า ​ เพราะก้าวล่วงปีติไป ​ และเพราะความสงบแห่งวิตกและวิจารโดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ และในการเรียงเข้าประโยคเช่นนี้ ​ วิราค ​ ศัพท์ ​ แปลว่าก้าวล่วง ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงทราบความหมายว่า ​ เพราะก้าวล่วงปีติไปและเพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร ​ ฉะนี้ 
- 
-ถึงวิตกและวิจารทั้ง 2  นี้ได้สงบไปแล้วแต่ในทุติยฌานนั้นก็จริง ​ แต่ที่ท่านนำมาแสดงไว้อีกก็เพื่อที่จะประกาศแนวทางอันเป็นอุบายของตติยฌานนี้ ​ และเพื่อจะสรรเสริญคุณของตติยฌานนี้ ​ จริงทีเดียว ​ เมื่อพรรณนาว่า ​ เพราะความสงบไปแห่งวิตกและวิจาร ​ ฉะนี้ ​ ตติยฌานนี้ย่อมปรากฏเด่นชัด ​ ความสงบไปแห่งวิตกและวิจาร ​ จึงเป็นแนวทางของตติยฌานนี้อย่างแน่นอน ​ เหมือนอย่างในอริยมรรคที่ 3  (อนาคามิมรรค) ​ ท่านพรรณนาถึงการประหานสัญโญชน์ทั้งหลายแม้ที่ไม่ได้ประหานมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นว่า ​ เพราะประหานสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5  ประการ ​ ฉะนี้ ​ ก็เป็นการสรรเสริญคุณอริยมรรคที่ 3  นั้น ​ คือ 
- 
-(หน้าที่ 270) 
- 
-เป็นการยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ผู้ขวนขวายเพื่อจะบรรลุอริยมรรคที่ 3  นั้น ​ ฉันใด ​ ความสงบไปแห่งวิตกและวิจารแม้ที่ไม่ได้สงบ ​ ซึ่งท่านพรรณนาในตติยฌานนี้ ​ ก็เป็นอันสรรเสริญคุณแห่งตติยฌานนี้ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ด้วยเหตุนั้น ​ จึงได้ทรงแสดงความหมายว่า ​ เพราะการก้าวล่วงปีติไปและเพราะความสงบไปแห่งวิตกและวิจาร ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันอยู่ 
-'''​ 
-ในคำว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันอยู่ ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ธรรมชาติใดย่อมเห็นโดยกำเนิด ​ คือเห็นเสมอกัน ​ เห็นไม่ตกไปในฝ่าย ​ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ​ อุเปกฺขา ​ โยคีบุคคลผู้เข้าอยู่ในตติยฌาน ​ เรียกว่า ​ อุเปกฺขโก ​ ผู้เห็นเสมอกัน เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้น ​ อันบริสุทธิ์ ​ อันยิ่งใหญ่ ​ ถึงซึ่งความมั่นคง 
- 
-=====อุเบกขา ​ 10===== 
- 
-ก็แหละ ​ อุเบกขานั้นมี ​ 10  ประการ ​ คือ 
- 
-1.  ฉฬังคุเปกขา ​       อุเบกขาประกอบด้วยองค์ 6 
- 
-2.  พรหมวิหารุเปกขา ​   อุเบกขาพรหมวิหาร 
- 
-3.  โพชฌังคุเปกขา ​   อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 
- 
-4.  วีริยุเปกขา ​       อุเบกขาคือวิรียะ 
- 
-5.  สังขารุเปกขา ​       อุเบกขาในสังขาร 
- 
-6.   ​เวทนูเปกขา ​       อุเบกขาเวทนา 
- 
-7.  วิปัสสนูเปกขา ​       อุเบกขาในวิปัสสนา 
- 
-8.  ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ​   อุเบกขาเจตสิก 
- 
-9.  ฌานุเปกขา ​       อุเบกขาในฌาน ​ และ 
- 
-10.  ปาริสุทธุเปกขา ​   อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก 
- 
-'''​1. ​ อธิบาย ​ ฉฬังคุเปกขา 
-'''​ 
-ในอุเบกขา ​ 10  ประการนั้น ​ อุเบกขาของพระขีณาสพอันใด ​ คืออาการที่ไม่ละปกติ ​ ภาวะอันบริสุทธิ์ ​ ในคลองแห่งอารมณ์ 6  ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในทวาร 
- 
-(หน้าที่ 271) 
- 
-ทัง 6  ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพในศาสนานี้ ​ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ​ ย่อมไม่ดีใจ ​ ย่อมไม่เสียใจ ​ เป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะเห็นเสมอกันอยู่ ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ ฉฬังคุเปกขา 
- 
-'''​2. ​ อธิบาย ​ พรหมวิหารุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ คืออาการอันเป็นกลาง ๆ  ในสัตว์ทั้งหลาย ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปทางทิศหนึ่งอยู่ ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ พรหมวิหารุเปกขา 
- 
-'''​3. ​ อธิบาย ​ โพชฌังคุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ คืออาการอันเป็นกลาง ๆ  ในสหชาตธรรมทั้งหลาย ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ ภิกษุย่อมยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ​ อันอาศัยนิพพานให้เกิดขึ้น ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ โพชฌังคุเปกขา 
- 
-'''​4. ​ อธิบาย ​ วีริยุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ กล่าวคือความเพียรที่ไม่ตึงเครียดเกินไป ​ และที่ไม่หย่อนยานเกินไป ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ ภิกษุผู้โยคีบุคคล ​ ย่อมมนสิการถึงอุเบกขานิมิตตลอดกาลโดยกาล ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ วีริยุเปกขา 
- 
-'''​5. ​ อธิบาย ​ สังขารุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ ที่พิจารณาข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้นโดยสภาวะแล้วจึงลงความเห็น ​ ซึ่งมีอาการเป็นกลาง ๆ  ในการยึดถือสังขาร ​ อันมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ สังขารุเปกขาทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะมีเท่าไร ?  สังขารุเปกขาทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนามีเท่าไร ? สังขารุเปกขาทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะมี 8  สังขารุเปกขาเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนามี 10  อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ สังขารุเปกขา 
- 
-(หน้าที่ 272) 
- 
-'''​6. ​ อธิบาย ​ เวทนูเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ ที่รู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข ​ (คือเฉย ๆ)  ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ สมัยใดกามาวจรกุศลจิตอันประกอบด้วยอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ เวทนูเปกขา 
- 
-'''​7. ​ อธิบาย ​ วิปัสสนูเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ คือความเป็นกลาง ๆ ในการพิจารณา ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ ขันธ์ 5  ใดมีอยู่ ​ ขันธ์ 5  ใดปรากฏชัด ​ โยคีบุคคลย่อมละขันธ์ 5  นั้น ​ ย่อมได้อุเบกขาในขันธ์ 5  นั้น ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ วิปัสสนูเปกขา 
- 
-'''​8. ​ อธิบาย ​ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ ที่ยังสหชาตธรรมทั้งหลายให้เป็นไปเสมอกัน ​ ซึ่งมาแล้วในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา 
- 
-'''​9. ​ อธิบาย ​ ฌานุเปกขา 
-'''​ 
-อุเบกขาอันใด ​ ที่ไม่ให้เกิดความเอนเอียงไปในฝ่าย ​ แม้ในฝ่ายสุขอันเลิศนั้นก็ตาม ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ และเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะเห็นเสมอกันอยู่ ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ ฌานุเปกขา 
- 
-'''​10. ​ อธิบาย ​ ปาริสุทธุเปกขา 
-'''​ 
-แหละอุเบกขาอันใดที่บริสุทธิ์จากข้าศึกทั้งปวงมีนิวรณ์และวิตกวิจารเป็นต้น ​ มีอันไม่ขวนขวายแม้ในการสงบแห่งธรรมอันเป็นข้าศึก ​ เพราะธรรมอันเป็นข้าศึกเหล่านั้นสงบไปแล้ว ​ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ​ จตุตถฌาน ​ อันมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ​ อุเบกขานี้ชื่อว่า ​ ปาริสุทธุเปกขา 
- 
-'''​อุเบกขา 6  ความหมายเหมือนกัน 
-'''​ 
-ในบรรดาอุเบกขา 10  ประการนั้น ​ อุเบกขา 6  ประการเหล่านี้คือ ​ ฉฬังคุเบกขา 1  พรหมวิหารุเบกขา 1  โพชฌังคุเบกขา 1   ​ตัตรมัชฌัตตุเบกขา 1  ฌานุเบกขา 1  และปาริ 
- 
-(หน้าที่ 273) 
- 
-สุทธุเบกขา 1  โดยใจความเป็นอย่างเดียวกัน ​ คือเป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง ​ แต่ความต่างกันแห่งอุเบกขานั้นนี้ ​ ย่อมมีด้วยความต่างแห่งอวัตถานนั้น ๆ  เช่นเดียวกับความต่างกันแม้แห่งบุคคลคนเดียว ​ ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแห่งความเป็นเด็ก, ​ เป็นหนุ่ม, ​ เป็นผู้ใหญ่, ​ เป็นเสนาบดี ​ และเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น ​ เพราะเหตุนั้นนักศึกษาพึงทราบว่า ​ ในบรรดาอุเบกขา 6  ประการนั้น ​ ฉฬังคุเบกขามี ​ ณ  ที่ใด ​ ณ  ที่นั้นย่อมไม่มีโพชฌังคุเบกขาเป็นต้น ​ แหละหรือ ​ โพชฌังคุเบกขา ​ มี ​ ณ  ที่ใด ​ ณ  ที่นั้นย่อมไม่มีฉฬังคุเบกขาเป็นต้น 
- 
-'''​อุเบกขา 2  ความหมายเหมือนกัน 
-'''​ 
-แหละอุเบกขา 6  ประการนี้ ​ โดยความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ​ ฉันใด ​ แม้สังขารุเบกขากับวิปัสสนูเบกขา ​ โดยความหมายก็เป็นอย่างเดียวกัน ​ ฉันนั้นจริงอยู่ ​ อุเบกขานั้น ​ ก็คือปัญญานั่นเอง ​ ที่แบ่งออกเป็น 2  ประการ ​ ด้วยอำนาจทำหน้าที่ต่างกัน ​ เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาไม้เท้าแพะแล้วค้นหางู ​ ซึ่งเลื้อยเข้าไปในเรือนในเวลาเย็น ๆ  ไปพบงูนั้นนอนซ่อนอยู่ในลังแกลบ ​ ใคร่ครวญอยู่ว่าจะเป็นงูหรือมิใช่หนอ ​ ครั้นเห็นลายดอกจัน 3  แฉกแล้วก็หมดสงสัย ​ แต่นั้นย่อมเกิดความเป็นกลาง ๆ  ในการพิจารณาที่ว่าจะเป็นงูหรือมิใช่งูนั้นฉันใด ​ เมื่อโยคีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่นั้น ​ เห็นลักษณะทั้งสามของสังขารด้วยวิปัสสนาฌานแล้ว ​ ความเป็นเฉย ๆ  ในการพิจารณาว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นต้น ​ ย่อมเกิดขึ้น ​ ฉันนั้น ​ ความเป็นเฉย ๆ นี้ชื่อว่า ​ สังขารุเบกขา 
- 
-แหละเมื่อบุรุษนั้น ​ ใช้ไม้เท้าแพะกดงูไว้อย่างแน่นแล้ว ​ ค้นคิดหาวิธีการที่จะปล่อยงูอยู่ว่า ​ ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เบียดเบียนงูนี้ให้ลำบากด้วย ​ ไม่ให้มันกัดตัวเราด้วย ​ แล้วปล่อยมันไปฉะนี้ ​ ความเฉย ๆ  ในการกดงูไว้นั้น ​ ย่อมมี ​ ฉันใด ​ เมื่อโยคีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่นั้น ​ เห็นภพทั้งสามเป็นเหมือนถูกไฟเผา ​ เพราะได้เห็นลักษณะทั้งสามของสังขาร ​ ย่อมเกิดความเห็นเฉย ๆ  ในการยึดถือสังขาร ​ ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ความเห็นเฉย ๆ นี้ชื่อว่า ​ สังขารุเบกขา 
- 
-(หน้าที่ 274) 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ เมื่อ ​ วิปัสสนูเบกขา ​ สำเร็จแล้ว ​ แม้ ​ สังขารุเบกขา ​ ก็ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้วเหมือนกัน ​ และอุเบกขานี้แบ่งออกเป็น 2  ประการ ​ ด้วยการทำหน้าที่ ​ คือความเฉย ๆ  ในการพิจารณาและการยึดถือ ​ ดังพรรณนามานี้ 
- 
-'''​อุเบกขา 2  ความหมายต่างกัน 
-'''​ 
-ส่วน ​ วีริยุเบกขา ​ กับ ​ เวทนูเบกขา 2  อย่างนี้ ​ โดยความหมาย ​ ต่างกันเองด้วย ​ ต่างจากอุเบกขาทั้งหลายที่เหลือด้วย 
- 
-อุเบกขาที่ประสงค์ ​ ณ  ที่นี้ 
- 
-บรรดาอุเบกขา ​ 10  ประการนั้น ​ ณ  ที่นี้ประสงค์เอา ​ ฌานุเบกขา ​ เท่านั้น ​ ฌานุเบกขานั้น ​ มีความเป็นกลาง ๆ  เป็นลักษณะ ​ มีความไม่ห่วงใยเป็นรส ​ มีความไม่ขวนขวายเป็นอาการปรากฏ ​ มีความสร่างหายไปแห่งปีติเป็นปทัฏฐาน 
- 
-หากจะมีผู้ท้วงติงว่า -  ก็แหละ ​ ฌานุเบกขา ​ นี้ ​ โดยความหมาย ​ ก็คือ ​ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ​ นั่นเอง ​ และตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นย่อมมีมาแม้แต่ในปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว ​ เพราะเหตุนั้น ​ แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ​ ก็ควรที่ต้องแสดงฌานุเบกขานี้ไว้ด้วยคำว่า ​ อุเปกฺขโก ​ จ  วิหรติ ซึ่งแปลว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันอยู่ ​ แต่เหตุไฉน ​ จึงไม่ทรงแสดง ​ ฌานุเบกขา ​ นั้นไว้เล่า ? 
- 
-ข้าพเจ้าขอแถลงแก้ว่า -  ที่ท่านไม่แสดง ​ ฌานุเบกขา ​ ไว้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น เพราะฌานุเบกขายังไม่มีหน้าที่ปรากฏ จริงอยู่ หน้าที่ของฌานุเบกขาในปฐมฌานและทุติยฌานนั้นยังไม่ปรากฏ ​ เพราะถูกข้าศึกทั้งหลายมีวิตกเป็นต้นกันท่าไว้ ​ แต่ในตติยฌานนี้ ​ ฌานุเบกขานี้เกิดมีหน้าที่ปรากฏชัด ​ เป็นเสมือนโงศรีษะขึ้นมาแล้ว ​ เพราะไม่มีวิตกและวิจารกันท่าแล้ว ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงทรงแสดงไว้ 
- 
-อรรถาธิบายอย่างสิ้นเชิง ​ ของคำว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันอยู่ 
- 
-ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ ผู้มีสติมีสัมปชัญญะ 
-'''​ 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในคำว่า ​ เป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ​ ต่อไป -  บุคคลใดย่อมระลึกได้ ​ ฉะนั้น ​ บุคคลนั้น ​ ชื่อว่า ​ ผู้ระลึกได้ ​ คือผู้มีสติ ​ บุคคลใดย่อมรู้โดยชอบ 
- 
-(หน้าที่ 275) 
- 
-ฉะนั้น ​ บุคคลนั้นชื่อว่า ​ ผู้รู้โดยชอบ ​ คือผู้มีสัมปชัญญะ ​ พึงทราบว่า ​ ท่านแสดงสติและสัมปชัญญะด้วยบุคคลาธิษฐาน 
- 
-ในสติและสัมปชัญญะนั้น ​ สติ ​ มีความระลึกได้เป็นลักษณะ ​ มีความไม่ลืมเป็นรส ​ มีความอารักขาเป็นอาการปรากฏ ​ สัมปชัญญะ ​ มีความไม่หลงเป็นลักษณะ ​ มีความไตร่ตรองเป็นรส ​ มีความส่องเห็นเป็นอาการปรากฏ 
- 
-'''​จำปรารถนาสติและสัมปชัญญะ 
-'''​ 
-ในฌานเหล่านั้น ​ ถึงแม้สติและสัมปชัญญะนี้จะมีมาแต่ในฌานต้น ๆ  แล้วก็ตาม ​ เพราะเหตุที่โยคีบุคคลเผลอสติไม่มีสัมปชัญญะนั้น ​ แม้เพียงขั้นอุปจารฌานก็สำเร็จไม่ได้ ​ ไม่ต้องพูดถึงขั้นอัปปนาฌานกันละ ​ แต่กระนั้น ​ การดำเนินไปของจิตก็เป็นความสะดวกสบาย ​ เพราะฌานเหล่านั้นเป็นสภาพที่หยาบ ​ เปรียบเหมือนการเดินไปบนพื้นแผ่นดินของบุรุษ ​ และหน้าที่ของสติและสัมปชัญญะในฌานต้น ๆ  นั้น ​ ก็ยังไม่ปรากฏ ​ ส่วนฌานนี้เพราะเป็นสภาพที่ละเอียด ​ โดยเหตุที่ละองค์ฌานที่หยาบแล้ว ​ จึงจำต้องปรารถนาการดำเนินไปของจิตที่มีสติและสัมปชัญญะ ​ ทำหน้าที่ประคับประคองนั่นเทียว ​ เปรียบเหมือนการเดินไปในคมมีดของบุรุษ ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงทรงแสดงคำว่า ​ เป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ​ ไว้แต่ในตติยฌานนี้เท่านั้น 
- 
-'''​เปรียบสุขเหมือนลูกโคติดแม่ 
-'''​ 
-พึงทราบอรรถาธิบายยิ่งขึ้นไปอีกสักเล็กน้อย ​ เหมือนอย่างลูกโคที่ยังติดแม่โคนมอยู่ ​ ถึงจะถูกพรากไปจากแม่โคนมแล้ว ​ เมื่อไม่คอยระวังรักษาไว้ให้ดี ​ มันก็จะวิ่งเข้าไปหาแม่โคนมอีกโดยทันที ​ ฉันใด ​ อันสุขในตติยฌานนี้ก็เหมือนกัน ​ อันโยคีบุคคลพรากออกจากปีติแล้ว ​ เมื่อไม่ได้รักษาไว้เป็นอย่างดีด้วยเครื่องอารักขาคือสติและสัมปชัญญะแล้ว ​ มันก็จะพึงกลับเข้าไปหาปีติอีกโดยทันที ​ คือพึงประกอบกับปีตินั่นเทียว ​ ฉันนั้น 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ถึงแม้ว่าสัตว์ทั้งหลายจะกำหนัดยินดีนักในสุข ​ และสุขนี้เล่าก็เป็นสิ่งที่อร่อยยิ่งนักสำหรับสัตว์ทั้งหลาย ​ เพราะนอกเหนือไปจากสุขนั้นแล้ว ​ ก็ไม่มีสุขอะไร ​ ถึง 
- 
-(หน้าที่ 276) 
- 
-กระนั้น ​ ที่ในตติยฌานนี้ไม่มีความกำหนัดยินดีในสุข ​ ก็ด้วยอานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะเท่านั้น ​ มิใช่ด้วยเหตุอย่างอื่น ​ เพราะฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ที่ทรงแสดงคำว่า ​ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ​ นี้ไว้เฉพาะแต่ในตติยฌานนี้ ​ ก็เพื่อที่จะทรงชี้ถึงความหมายอันพิเศษกว่ากัน ​ ดังที่พรรณนามานี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ เสวยสุขด้วยนามกาย 
-'''​ 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในคำว่า ​ และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ​ นี้ต่อไป – 
- 
-โยคีบุคคลผู้เข้าอยู่ในตติยฌานย่อมไม่มีความพะวงในการเสวยสุขโดยแท้ ​ แม้ถึงความจริงจะเป็นเช่นนี้ก็ตาม ​ แต่เพราะเหตุที่สุขของโยคีบุคคลผู้เข้าอยู่ในตติยฌานนั้นประกอบอยู่กับนามกายประการหนึ่ง ​ อีกประการหนึ่ง ​ เพราะเหตุที่โยคีบุคคลนั้นถึงแม้จะออกจากฌานแล้วก็จะพึงได้เสวยสุข ​ เพราะรูปกายของท่านอันรูปที่ประณีตยิ่งซึ่งมีสุขอันประกอบอยู่กับนามกายนั้นเป็นสมุฏฐานแผ่ซ่านไปทั่วแล้ว ​ ดังนั้น ​ เมื่อจะชี้ถึงซึ่งความหมายดังกล่าวนี้ ​ จึงได้ทรงแสดงไว้ว่า ​ และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย  ​ 
-'''​ 
-เป็นเหตุให้พระอริยเจ้าสรรเสริญผู้บรรลุว่า 
- 
-เป็นผู้เห็นเสมอกันมีสติอยู่เป็นสุข 
- 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในคำว่า ​ เป็นเหตุให้พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันมีสติอยู่เป็นสุข ​ ดังนี้ต่อไป – 
- 
-ในคำนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบการเรียงเข้าประโยคอย่างนี้ ​ คือ ​ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ​ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ​ ย่อมตรัสบอก ​ ย่อมทรงแสดง ​ ย่อมทรงบัญญัติ ​ ย่อมทรงตั้งไว้ ​ ย่อมทรงเปิดเผย ​ ย่อมทรงจำแนก ​ ย่อมทรงทำให้ตื้น ​ ย่อมทรงประกาศ ​ คือย่อมทรงสรรเสริญ ​ ซึ่งบุคคลผู้เข้าอยู่ในตติยฌานนั้น ​ เพราะมีฌานใดเป็นเหตุ ​ เพราะมีฌานใดเป็นการณ์ 
- 
-สรรเสริญว่าอย่างไร ? สรรเสริญว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกัน ​ มีสติ ​ อยู่เป็นสุข ​ ฉะนี้ 
- 
-โยคีบุคคลนั้น ​ บรรลุแล้วซึ่งฌานนั้น ​ ได้แก่ตติยฌานอยู่ 
- 
-(หน้าที่ 277) 
- 
-'''​เหตุที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ 
-'''​ 
-ถาม -  ก็แหละ ​ เพราะเหตุไร ​ พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงสรรเสริญบุคคลผู้ได้บรรลุตติยฌานนั้นอย่างนี้ ? 
- 
-ตอบ -  เพราะเป็นผู้สมควรแก่การสรรเสริญ ​ อธิบายว่า ​ บุคคลผู้ได้บรรลุตติยฌานนี้ ​ ย่อมเป็นบุคคลสมควรแก่การสรรเสริญนั้น ​ เพราะเหตุที่เป็นผู้เฉย ๆในตติยฌานแม้อันเป็นสุขที่มีรสอร่อยอย่างยิ่ง ​ ถึงซึ่งความเป็นยอดสุดแห่งความสุข ​ และอันความติดสุขฉุดดึงเข้าไว้ในสุขนั้นไม่ได้ ​ และปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้ด้วยประการใดก็เป็นผู้มีสติตั้งมั่นอยู่ด้วยประการนั้น ​ ดังนี้ประการหนึ่ง ​ และอีกประการหนึ่ง ​ เพราะเหตุที่ได้เสวยความสุขอันสะอาดด้วยนามกาย ​ ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ​ ที่อริยชนส้องเสพแล้ว 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พระอริยเจ้าทั้งหลายเมื่อจะประกาศคุณอันเป็นเหตุแห่งความสรรเสริญเหล่านั้น ​ จึงได้สรรเสริญซึ่งบุคคลผู้ได้บรรลุตติยฌานนั้น ​ โดยเป็นผู้สมควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้ว่า ​ เป็นผู้เห็นเสมอกันมีสติอยู่เป็นสุข ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบาย ​ ตติยฌาน 
-'''​ 
-คำว่า ​ ตติยฌาน ​ ที่แปลว่า ​ ฌานที่ 3  นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  ฌานนี้ที่ชื่อว่า ​ ตติยฌาน ​ หรือที่ 3  เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ฌานนี้ชื่อว่าเป็นที่ 3  เพราะเหตุที่โยคีบุคคลย่อมเข้าสู่เป็นอันดับที่ 3  ดังนี้ก็ได้ 
- 
-====ส่วน 2 ละองค์ 1 และประกอบด้วยองค์ 2==== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ ละองค์ 1  ประกอบด้วยองค์ 2  นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  นักศึกษาพึงทราบว่าตติยฌานละองค์ 1 นั้น ​ ด้วยอำนาจการละซึ่งปีติ ​ แหละปีตินี้นั้นอันโยคีบุคคลละได้ในขณะแห่งอัปปนา ​ เช่นเดียวกับวิตกและวิจารของทุติยฌานที่โยคีบุคคลละได้ในขณะแห่งอัปปนานั้น ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ปีตินั้นท่านจึงเรียกว่าเป็นองค์สำหรับละของตติยฌานนั้น 
- 
-(หน้าที่ 278) 
- 
-'''​ตติยฌานประกอบด้วยองค์ 2 
-'''​ 
-ส่วนข้อว่า ​ ตติยฌานประกอบด้วยองค์ 2  นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นแห่งองค์ 2 นี้ ​ คือ ​ สุข 1  จิตเตกัคคตา 1 เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์วิภังค์ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า ​ คำว่า ​ ฌาน ​ ได้แก่ ​ อุเบกขา, ​ สติ, ​ สัมปชัญญะ, ​ สุขและจิตเตกัคคตา ​ ดังนี้ ​ ข้อนั้นทรงแสดงไว้โดยอ้อม ​ เพื่อจะทรงแสดงถึงฌานพร้อมทั้งเครื่องปรุงแต่ง ​ แต่เมื่อว่าโดยตรงแล้ว ​ ตติยฌานนี้ประกอบด้วยองค์ 2  เท่านั้น ​ ด้วยอำนาจแห่งองค์ที่ถึงซึ่งลักษณะที่เพ่งได้ ​ โดยยกเอาอุเบกขา, ​ สติ ​ และสัมปชัญญะออกเสีย ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ ฌานประกอบด้วยองค์ 2  ย่อมมีในสมัยนั้น ​ ได้แก่อะไร ?  ได้แก่สุข 1  จิตเตกัคคตา 1  ฉะนี้ 
- 
-คำที่เหลือ[[#​มีความงาม 3 และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 10|มีนัยดังที่พรรณนามาแล้ว]]ในปฐมฌานนั่นแล 
- 
-==ได้จตุตถฌาน== 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อได้บรรลุตติยฌานแม้นั้นด้วยประการฉะนี้แล้ว ​ โยคีบุคคลพึงสั่งสมวสีด้วยอาการ 5  อย่างโดยนัยดังที่พรรณนามาแล้วนั่นแล ​ ครั้นออกจากตติยฌานที่คล่องแคล่วแล้ว ​ พิจารณาเห็นโทษในตติยฌานนั้นว่า ​ สมาบัตินี้ยังใกล้ต่อปีติอันเป็นข้าศึกอยู่ ​ และว่าสมาบัตินี้ยังมีองค์อันทุรพล ​ เพราะสุขเป็นสภาพที่หยาบดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า องค์อันใดแล ​ ที่ทำใจให้พะวงว่าเป็นสุขในตติยฌานนั้น ​ ด้วยองค์นั้น ​ ตติยฌานนี้จึงปรากฏเป็นสภาพที่หยาบ ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงมนสิการถึงจตุตถฌานโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ คลายความยินดีในตติยฌานแล้ว ​ พึงลงมือทำความเพียรเพื่อบรรลุจตุตถฌานต่อไป 
- 
-แหละกาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลออกจากตติยฌานแล้ว ​ มีสติมีสัมปชัญญะพิจารณาองค์ฌานอยู่นั้น สุขคือโสมนัสอันเกิดขึ้นทางใจจะปรากฏโดยเป็นสภาพที่หยาบ ​ อุเบกขาเวทนากับจิตเตกัคคตาจะปรากฏโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ กาลนั้น ​ ขณะที่โยคีบุคคลมนสิการถึงปฏิภาคนิมิตนั้นนั่นแล ​ อย่างแล้ว ๆ  เล่า ๆ ว่า ​  ​ปถวี – ปถวี ​ หรือ ​ ดิน – ดิน ​ เพื่อละเสียซึ่งองค์ที่หยาบและเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ที่ละเอียดอยู่นั้น ​ มโนทวาราวัชชนจิต ​ ทำปถวีกสิณนั้นนั่นแลให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นตัดภวังคจิต ​ เหมือนจะเตือนให้รู้ว่า ​ จตุตถฌานจักเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้แล้ว 
- 
-(หน้าที่ 279) 
- 
-ถัดนั้นไป ​ ชวนจิตก็จะแล่นไปในอารมณ์นั้นนั่นแล 4  ขณะบ้าง ​ 5 ขณะบ้าง ​ (ตามควรแก่โยคีบุคคลที่เป็นติกขบุคคลหรือมันทบุคคล) ​ บรรดาชวนจิตเหล่านั้น ​ ดวงหนึ่งที่สุดท้ายเขาเป็น ​ รูปาวจรกุศลจิตขั้นจตุตถฌาน ​ ดวงที่เหลือนอกนั้นเป็น ​ กามาวจรกุศลจิต ​ มีประการดังกล่าวแล้วในปฐมฌานนั่นเทียว 
- 
-ส่วนที่พิเศษกว่านั้น ​ ดังนี้ ​ คือ ​ เพราะเหตุที่สุขเวทนาเป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัยแก่อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ​ และอุทุกขมสุขเวทนาจะต้องเกิดขึ้นในจตุตถฌาน ​ ฉะนั้น ​ ชวนจิตเหล่านั้นจึงย่อมประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ​ และแม้ปีติก็เป็นอันสร่างหายไปในจตุตถฌานนี้ด้วย ​ เพราะเหตุที่จตุตถฌานประกอบด้วยอุเบกขาเวทนานั่นแล 
- 
-===ส่วนประกอบ 4 เมื่อได้อัปปนา=== 
-ก็แหละ ​ ด้วยลำดับแห่งภาวนาวิธีมีประมาณเท่านี้ ​ เป็นอันว่าโยคีบุคคลนั้นมีส่วนประกอบดังนี้:​ 
- 
-#​ละสุขและละทุกข์แล้ว ​ โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว จึงไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ​ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เข้าจตุตถฌานอยู่ ​ (องค์ฌาน 2) 
-#​ละองค์ 1  และประกอบด้วยองค์ 2  ​ 
-#​มีความงาม 3  และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ​ 10  ​ 
-#​ได้บรรลุจตุตถฌานมีปถวีกสิณเป็นอารมณ์ 
- 
-====ส่วน 1 องค์ฌาน 2 (ละสุขและละทุกข์แล้ว เป็นต้น)==== 
- 
-ในบรรดาคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ เพราะละสุขและละทุกข์ ​ ความว่า ​ เพราะละกายิกสุขคือสุขทางกายและกายิกทุกข์คือทุกข์ทางกาย ​ คำว่า ​ แต่เบื้องต้น ​ ความว่า ​ การละนั้นแล ​ ได้ละมาแต่เบื้องต้นแล้ว ​ ไม่ใช่ละในขณะแห่งจตุตถฌาน ​ คำว่า ​ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับหายไป ​ ความว่า ​ เพราะความดับหายไปแต่เบื้องต้นแห่งเวทนาแม้ทั้ง 2  นี้คือ ​ สุขเวทนาที่เกิดทางใจ 1  ทุกขเวทนาที่เกิดทางใจ 1  อธิบายว่า ​ เพราะละเวทนาทั้ง 2  เสียได้แต่ในเบื้องต้นนั่นเอง 
- 
-ถาม -  ก็แหละ ​ การละเวทนาเหล่านั้น ​ ละในขณะไหน ? 
- 
-ตอบ -  ละในขณะอุปจาระของฌานทั้ง 4 
- 
-อธิบายว่า ​ โสมนัสเวทนา ​ ย่อมละในขณะแห่งอุปจาระของจตุตถฌาน ​ ทุกขเวทนา, ​ โทมนัสเวทนา ​ และสุขเวทนา ​ ย่อมละในขณะอุปจาระของปฐมฌาน, ​ ทุติยฌาน ​ และตติยฌาน ​ ตามลำดับ 
- 
-(หน้าที่ 280) 
- 
-นักศึกษาพึงทราบอย่างนี้ ​ การละซึ่งสุข, ​ ทุกข์, ​ โสมนัส ​ และโทมนัสเวทนาทั้งหลายแม้ในจตุตถฌานนี้ซึ่งแม้จะมิได้ทรงแสดงไว้ตามลำดับแห่งการละซึ่งเวทนาเหล่านั้น ​ แต่ทรงแสดงไว้ตามลำดับแห่งการแสดงซึ่งอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรียวิภังค์นั่นเทียว 
- 
-ถาม -  ก็แหละ ​ ถ้าองค์ธรรมเหล่านี้ ​ ย่อมละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานนั้น ๆ จริงแล้ว ​ ก็เหตุไฉนพระพุทธองค์จึงทรงแสดงความดับแห่งองค์เหล่านั้นไว้ตรงที่ฌานทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างนี้ว่า ​ ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับอย่างไม่มีเหลือ ​ ณ  ที่ไหน ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุในศาสนานี้ ​ ย่อมบรรลุซึ่งปฐมฌาน ​ อันมีวิตก ​ มีวิจาร ​ มีปีติ ​ และสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัด ​ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย ​ เพราะสงัดแล้วก็ตามจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ​ และทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับอย่างไม่มีเหลือ ​ ณ  ที่ปฐมฌานนี้แหละโทมนัสสินทรีย์….สุขินทรีย์….โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปอย่างไม่มีเหลือ ​ ณ  ที่ไหน ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุในศาสนานี้ ​ ย่อมบรรลุซึ่งจตุตถฌาน ​ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ​ เพราะละสุขและทุกข์แล้ว ​ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับหายไปแล้วแต่ในเบื้องต้น ​ อันมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ​ และโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปอย่างไม่มีเหลือ ​ ณ  ที่จตุตถฌานนี้ 
- 
-ตอบ -  การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความดับแห่งองค์ธรรมทั้งหลายไว้ตรงที่ฌานโดยเฉพาะเช่นนั้น ​ เพราะทรงประสงค์เอาความดับอย่างสนิท 
- 
-อธิบายว่า ​  ​ในขณะแห่งฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น ​ เป็นความดับอย่างสนิท ​ ขององค์ธรรมเหล่านั้น ​ ไม่ใช่ความดับอย่างสามัญ ​ ส่วนในขณะแห่งอุปจาระเป็นความดับอย่างสามัญ ​ ไม่ใช่ความดับอย่างสนิท 
- 
-'''​ละทุกข์ได้สนิทที่ปฐมฌาน 
-'''​ 
-เป็นความจริงอย่างนั้น ​ แม้ทุกข์ที่ดับไปในขณะอุปจาระแห่งปฐมฌาน ​ ซึ่งมีอาวัชชนจิตมากหลายนั้น ​ จะพึงเกิดขึ้นได้อยู่ ​ ด้วยถูกเหลือบและยุงกัด ​ หรือด้วยการปวด 
- 
-(หน้าที่ 281) 
- 
-เมื่อยเพราะนั่งไม่เรียบ ​ แต่ภายในอัปปนาฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ​ อีกประการหนึ่ง ​ แม้ทุกข์ที่ดับไปแล้วในขณะอุปจารฌานนี้ ​ ทั่วสรรพางค์กายอันสุขชโลมแล้วเพราะปีติแผ่ซ่านไป ​ และบุคคลผู้มีกายอันสุขชโลมแล้วนั้น ​ ย่อมมีความทุกข์ดับไปอย่างสนิท ​ เพราะถูกปฏิปักขธรรมทำลายแล้ว 
- 
-'''​ละโทมนัสได้สนิทที่ทุติยฌาน 
-'''​ 
-อนึ่ง ​ แม้โทมนัสที่ละได้แล้วในขณะอุปจาระแห่งทุติยฌานซึ่งมีอาวัชชนจิตมากหลายเช่นกันนั้น ​ จะพึงเกิดขึ้นได้อยู่ ​ เพราะเมื่อมีความลำบากกาย ​ และมีความเหนื่อยใจอันมีวิตกและวิจารเป็นปัจจัย ​ โทมนัสนี้ก็จะเกิดขึ้น ​ แต่เมื่อไม่มีวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแล้วหาเกิดขึ้นไม่เลย ​ ส่วนในยามใดที่โทมนัสเกิดขึ้นได้อยู่ ​ ในฌานนั้นยังมีวิตกและวิจารเป็นปัจจัยและวิตกและวิจารนั้นก็ยังละไม่ได้ทีเดียวในขณะอุปจาระแห่งทุติยฌาน ​ ดังนั้น ​ โทมนัสนั้นจึงยังบังเกิดขึ้นได้ในขณะอุปจาระแห่งทุติยฌานนั้น ​ แต่ในขณะทุติยฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเพราะละปัจจัยคือวิตกและวิจารเสียแล้ว 
- 
-'''​ละสุขได้สนิทที่ตติยฌาน 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ แม้สุขที่ละได้แล้วในขณะอุปจาระแห่งตติยฌานนั้น ​ ยังจะพึงเกิดขึ้นได้อยู่แก่ฌานลาภีบุคคล ​ ผู้มีกายอันรูปประณีตซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐานแผ่ซ่านไป ​ แต่ในขณะตติยฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ​ เพราะในขณะตติยฌานนั้นปีติอันเป็นปัจจัยแก่สุขได้ดับไปแล้วโดยสิ้นเชิง 
- 
-'''​ละโสมนัสได้สนิทที่จตุตถฌาน 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ แม้โสมนัสที่ละได้แล้ว ​ ในขณะอุปจาระแห่งจตุตถฌานนั้น ​ ยังจะพึงเกิดขึ้นได้อยู่ ​ ทั้งนี้ ​ เพราะเหตุที่อยู่ใกล้อย่างหนึ่ง ​ เพราะยังไม่บรรลุถึงอัปปนาฌานอย่างหนึ่ง ​ เพราะยังไม่มีอุเบกขาอย่างหนึ่ง ​ เพราะยังไม่ผ่านไปโดยชอบอย่างหนึ่ง ​ แต่ในขณะจตุตถฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด 
- 
-แหละเพราะเหตุดังพรรณนามานี้นั่นแหละ ​ ศัพท์ว่า ​ อปริเสสํ ​ ที่แปลว่า ​ ไม่มีเหลือ ​ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไว้ในฌานนั้น ๆ ว่า ​ เอตฺถุปฺปนฺนํ ​ ทุกฺขินฺทริยํ ​ อปริเสสํ ​ นิรุชฺฌติ ​ ความว่า ​ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ​ ย่อมดับไปอย่างไม่มีเหลือ ​ ณ  ที่ฌานนั้น ​ ฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 282) 
- 
-'''​เหตุที่ทรงแสดงเวทนา 4  ในจตุตถฌาน 
-'''​ 
-หากจะมีผู้กล่าวติงในอธิการนี้ว่า -  ก็แหละ ​ แม้เวทนาเหล่านี้เป็นอันละได้แล้วในอุปจาระแห่งฌานนั้น ๆ อย่างนี้ ​ เหตุไฉนพระพุทธองค์จึงทรงยกมาไว้ในจตุตถฌานนี้อีกเล่า ?  ​ 
- 
-ข้าพเจ้าขอแถลงแก้ว่า -  การที่พระพุทธองค์ทรงยกเวทนาเหล่านี้มาแสดงในจตุตถฌานนี้อีก ​ ก็เพื่อจะให้ถือเอาใจความได้ง่าย 
- 
-อธิบายว่า -  อทุกขมสุขเวทนานี้ใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ใน ​ จตุตถฌานนี้ว่า ​ อทุกฺขมสุขํ ​ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ​ ฉะนี้ ​ อทุกขมสุขเวทนานั้น ​ เป็นสภาพละเอียด ​ เข้าใจได้ยาก ​ ใคร ๆ  ก็ไม่อาจที่จะถือเอาความหมายได้โดยสะดวก ​ เพราะเหตุนั้นเพื่อให้ถือเอาความหมายได้โดยสะดวก ​ พระผู้มีพระภาคได้ทรงสงเคราะห์เอาเวทนาทั้งหมดมาไว้ในจตุตถฌานนี้แหละ ​ ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านี้รวมไว้อย่างนี้แล้ว ​ ย่อมทรงสามารถที่จะให้ใคร ๆ จับเอาอทุกขมสุขเวทนานี้ได้ว่า ​ ธรรมชาติใดที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่โสมนัสไม่ใช่โทมนัสธรรมชาตินี้คือ ​ อทุกขมสุขเวทนา ​ ดังนี้ ​ เช่นเดียวกับโคดุร้ายที่ใคร ๆ  ไม่กล้าที่จะเข้าไปคล้องเอามันได้ด้วยวิธีใด ๆ  เพื่อที่จะให้คล้องเอาได้โดยสะดวก ​ เจ้าของโคจึงต้อนโคทั้งหมดเข้ามาไว้ในคอกเดียวกัน ​ ทีนั้นจึงไล่ให้ออกไปทีละตัวแล้วสั่งให้คล้องเอาโคตัวนั้นซึ่งออกมาตามลำดับว่า ​ นี้โคนั้นช่วยคล้องมันให้ที ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​เวทนา 4  เป็นปัจจัยของอทุกขมสุขเจโตวิมุติ 
-'''​ 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ แม้เวทนา 4 เหล่านี้ ​ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ​ ก็เพื่อจะทรงชี้ถึงปัจจัยของอทุกขมสุขเจโตวิมุติ ​ จริงอยู่ ​ ปฐมฌานอันเป็นเครื่องละซึ่งทุกข์เป็นต้น ​ จัดเป็นปัจจัยของอทุกขมสุขเจโตวิมุติ ​ มี 4 อย่างแล ​ ดูกรอาวุโส ​ ปัจจัยของสมาบัติคืออทุกขมสุขเจโตวิมุติ ​ มี 4 อย่างแล ​ ดูก่อนอาวุโส ​ ภิกษุในศาสนานี้ ​ บรรลุแล้วซึ่งจตุตถฌาน ​  ​อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขและละทุกข์แล้ว ​ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับหายไปแล้วแต่ในเบื้องต้นเทียว ​ อันมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ​ ดูก่อนอาวุโส ​ ปัจจัยของสมาบัติคืออทุกขมสุขเจโตวิมุติ ​ มี 4 อย่าง ​ เหล่านี้แล 
- 
-(หน้าที่ 283) 
- 
-'''​แม้ละไปก่อนแล้วก็แสดงไว้เพื่อสรรเสริญ 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ นักศึกษาพึงทราบแม้อย่างนี้ว่า ​ สังโยชน์ ​ 10  มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ​ แม้ถึงจะละได้มาแล้วแต่ในมรรคอื่น ๆ แต่ก็ทรงแสดงไว้ว่าละได้ในตติยมรรค ​ (อนาคามิมรรค) ​ นั้น ​ ทั้งนี้ ​ เพื่อที่จะสรรเสริญคุณแห่งตติยมรรค ​ ฉันใด ​ เวทนา 4  เหล่านี้ทรงแสดงไว้ในจตุตถฌานนี้อีก ​ ก็เพื่อที่จะทรงสรรเสริญคุณแห่งฌานนี้ ​ ฉันนั้น ​ 
- 
-'''​ราคะโทสะอยู่ไกลจตุตถฌานมาก 
-'''​ 
-อีกประการหนึ่ง ​ นักศึกษาพึงทราบดังนี้ ​ เวทนา 4  เหล่านี้ที่ทรงแสดงไว้ในจตุตถฌานนี้ ​ เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงราคะและโทสะเป็นสภาพที่อยู่ห่างไกลมาก ​ เพราะได้ทำลายสิ่งที่เป็นปัจจัยมาแล้ว ​ จริงทีเดียว ​ ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น ​ สุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่โสมนัสเวทนา ​ โสมนัสเวทนาเป็นปัจจัยแก่ราคะ ​ ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่โทมนัสเวทนา ​ โทมนัสเวทนาเป็นปัจจัยแก่โทสะ ​ และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัย ​ ชื่อว่าอันจตุตถฌานนี้กำจัดไปแล้วด้วยเหตุที่ได้ทำลายสุขเวทนาเป็นต้นมาแล้ว ​ ดังนั้น ​ ราคะและโทสะจึงชื่อว่า ​ มีอยู่ในที่ห่างไกลมาก ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายไม่มีทุกข์ไม่มีสุข 
-'''​ 
-คำว่า ​ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ที่ชื่อว่าไม่มีทุกข์ ​ เพราะเหตุที่ทุกข์ไม่มี ​ ที่ชื่อว่า ​ ไม่มีสุข ​ เพราะเหตุที่สุขไม่มี ​ ด้วยคำว่า ​ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขนี้ ​ ท่านแสดงถึงเวทนาที่ 3  (คืออุเบกขาเวทนา) ​ อันเป็นปฏิปักษ์แก่ทุกขเวทนาในจตุตถฌานนี้ ​ ไม่ใช่แต่เพียงแสดงความไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเท่านั้น ​ และอทุกขมสุขเวทนา ​ ชื่อว่าเวทนาที่ 3  เรียกว่าอุเบกขาเวทนาก็ได้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ อทุกขมสุขเวทนานั้น ​ มีอันเสวยอารมณ์ที่ผิดจากอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ​ มีความเป็นกลาง ๆ เป็นรส มีความไม่ปรากฏชัด เป็นอาการปรากฏ ​ มีความดับไปแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นปทัฏฐาน ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-(หน้าที่ 284) 
- 
-'''​อธิบายมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา 
-'''​ 
-คำว่า ​ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ​ นั้นความว่า ​ ความบริสุทธิ์แห่งสติอันอุเบกขาให้เกิดแล้ว ​ อธิบายว่า ​ สติในฌานนี้เป็นสภาพบริสุทธิ์มาก ​ และความบริสุทธิ์ใดแห่งสตินั้น ​ ความบริสุทธิ์นั้นอันอุเบกขาปรุงแต่งให้ ​ มิใช่สิ่งอื่นปรุงแต่งให้ ​ เพราะฉะนั้น ​ ฌานนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ​ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา  ​ 
- 
-แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ​ พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงไว้ว่า ​ สตินี้เป็นสภาพที่สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่องเพราะอุเบกขานี้ ​ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา 
- 
-'''​อุเบกขาคือตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก 
-'''​ 
-ก็แหละ ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนี้ ย่อมสำเร็จเพราะอุเบกขาอันใด อุเบกขานั้น นักศึกษาพึงทราบว่า โดยใจความก็ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก และไม่ใช่แต่สติเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้น แม้สัมปยุตธรรมทั้งสิ้นก็เป็นสภาพบริสุทธิ์โดยแท้แล แต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนาไว้ด้วยทรงยกสติเป็นประธาน 
- 
-'''​อุเบกขาเวทนาเหมือนราตรี 
-'''​ 
-'''​ตัตรมัชฌัตตุเบกขาเหมือนดวงจันทร์ 
-'''​ 
-แม้ว่า ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้ จะมีอยู่ในฌานทั้ง 3 ข้างต้นนั้นก็ตาม แต่ก็เปรียบเหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน จะมีอยู่ก็ไม่สว่างไม่ขาวนวล ทั้งนี้ เพราะแสงพระอาทิตย์ในเวลากลางวันข่มกันไว้ และเพราะไม่ได้ราตรีอันมีส่วนเข้ากันได้ โดยเป็นที่ส่องแสงหรือโดยเป็นอุปการะแก่ตน ฉันใด แม้ดวงจันทร์คือตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้ก็เช่นเดียวกัน แม้จะมีอยู่ในประเภทแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น แต่ก็ยังไม่เป็นสภาพบริสุทธิ์ ทั้งนี้เพราะเดชแห่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นข่มกันไว้ และเพราะไม่ได้ราตรีคืออุเบกขาเวทนาอันมีส่วนเข้ากันได้ 
- 
-(หน้าที่ 285) 
- 
-อนึ่ง เมื่อตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นยังไม่บริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมทั้งหลาย (ธรรมที่เกิดร่วมในจิตดวงเดียวกัน) เช่นสติเป็นต้น ก็พลอยเป็นสภาพที่ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย เหมือนแสงจันทร์ที่ไม่ขาวนวลในเวลากลางวัน เพราะเหตุดังกล่าวนี้ ในบรรฌานทั้ง 3 นั้น แม้เพียงฌานเดียว พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงแสดงว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา 
- 
-ส่วนในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาเป็นสภาพที่บริสุทธิ์อย่างยิ่งเพราะไม่มีเดชแห่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นข่มกัน และเพราะได้ราตรีคืออุเบกขาเวทนาอันมีส่วนเข้ากันได้ และเพราะเหตุที่ตัตรมัชฌัตตุเบกขาเป็นสภาพบริสุทธิ์แล้วนั้น แม้สหชาตธรรมทั้งหลายเช่นสติเป็นต้น ก็พลอยเป็นสภาพที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เช่นเดียวกับแสงจันทร์อันสว่างขาวนวล ฉะนั้น 
- 
-เพราะเหตุดังพรรณนามานี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ จตุตถฌานนี้เท่านั้น ​ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ​ เป็นฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายจตุตถฌาน 
-'''​ 
-คำว่า ​ จตุตฺถ ​ ที่แปลว่า 4  นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ฌานที่เรียกว่าที่ 4  เพราะเป็นลำดับของการคำนวณ ​ หรือฌานนี้ที่จัดเป็นที่ 4  เพราะเหตุที่โยคีบุคคลย่อมเข้าเป็นอันดับที่ 4  ดังนี้ก็ได้ 
- 
-====ส่วน 2 ละองค์ 1 และประกอบด้วยองค์ 2==== 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ ละองค์ 1  ประกอบด้วยองค์ 2  นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า -  ใน 2  ข้อนั้น ​ ข้อว่า ​ จตุตถฌานละองค์ 1  นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจที่ละซึ่งโสมนัสเวทนา ​ และโสมนัสเวทนานั้นละมาได้แต่ในชวนจิตดวงต้น ๆ  ในวิถีเดียวกันนั่นเทียว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ โสมนัสเวทนานั้น ​ จึงเรียกว่า ​ เป็นองค์สำหรับละของจตุตถฌานนี้ 
- 
-'''​จตุตถฌานประกอบด้วยองค์ 2 
-'''​ 
-ส่วนข้อที่ว่า ​ จตุตถฌานประกอบด้วยองค์ 2  นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ 2  นี้ ​ คือ ​ อุเบกขาเวทนา 1  จิตเตกัคคตา 1 
- 
-(หน้าที่ 286) 
- 
-คำที่เหลือ[[#​มีความงาม 3 และสมบูรณ์ด้วยลักษณะ 10|มีนัยดังที่พรรณนามาแล้ว]]ในปฐมฌานนั่นแล  ​ 
- 
-ตามที่พรรณนามานี้ ​ เป็นแนวในฌาน 4  ประเภท ​ ที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งฌานที่เป็นจตุกกนัย ​ เป็นประเภทแรก 
- 
-==ฌานปัญจกนัย== 
- 
-ส่วนโยคีบุคคลผู้เจริญฌานปัญจกนัยให้บังเกิดขึ้นนั้น ​ ออกจากปฐมฌานที่คล่องแคล่วแล้ว ​ พิจารณาเห็นโทษในปฐมฌานนั้นว่า ​ สมาบัตินี้ยังใกล้ต่อนิวรณ์อันเป็นข้าศึกอยู่และว่า ​ สมาบัตินี้มีองค์อันทุรพล ​ เพราะวิตกเป็นสภาพที่หยาบ ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงมนสิการถึงทุตยฌานโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ คลายความยินดีในปฐมฌานแล้ว ​ จึงลงมือทำความเพียร ​ เพื่อบรรลุซึ่งทุติยฌานต่อไป 
- 
-===บรรลุทุติยฌาน=== 
- 
-ก็แหละ ​ กาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลออกจากปฐมฌานแล้วมีสติมีสัมปชัญญะพิจารณาองค์ฌานอยู่นั้น ​   องค์ฌานเพียงแต่วิตกอย่างเดียวก็จะปรากฏโดยเป็นสภาพที่หยาบ ​ องค์ฌานอื่น ๆ มีวิจารเป็นต้น ​ คงปรากฏโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ กาลนั้น ​ ขณะที่โยคีบุคคลมนสิการ ​ ถึงปฏิภาคนิมิตนั้นนั่นแลอย่างแล้ว ๆ  เล่า ๆ  ว่า ​ ปถวี – ปถวี ​ หรือ ​ ดิน – ดิน ​ ดังนี้ ​ เพื่อละองค์ที่หยาบและให้ได้มาซึ่งองค์ที่ละเอียดอยู่นั้น ​ ทุติยฌานก็จะบังเกิดขึ้นโดยนัยที่ได้แสดงมาแล้วนั่นแล ​ องค์สำหรับละของทุติยฌานนั้นมีวิตกอย่างเดียว ​ ส่วนองค์ประกอบมี 4  มีวิจารเป็นต้น ​ คำที่เหลือเหมือนคำที่แสดงมาแล้วทุกประการนั่นเทียว 
- 
-===บรรลุตติยฌาน=== 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อได้บรรลุทุติยฌานแม้นั้นอย่างนี้แล้ว ​ โยคีบุคคลนั้นพึงทำให้วสีสามารถดีแล้วด้วยอาการ 5  อย่างโดยนัยที่ได้พรรณนามาแล้วนั่นแล ​ ออกจากทุติยฌานที่คล่องแคล่วแล้วพิจารณาเห็นโทษในทุติยฌานนั้นว่า ​ สมาบัติยังใกล้ต่อวิตกอันเป็นข้าศึกอยู่ ​ และว่าสมาบัตินี้มีองค์อันทุรพล ​ เพราะวิจารเป็นสภาพที่หยาบ ​ ครั้นแล้ว ​ มนสิการถึงตติยฌานโดยเป็นสภาพที่ละเอียด ​ คลายความยินดีในทุติยฌานแล้ว ​ พึงลงมือทำความเพียรเพื่อบรรลุตติยฌานต่อไป 
- 
-แหละกาลใด ​ เมื่อโยคีบุคคลออกจากทุติยฌานแล้ว ​ มีสติสัมปชัญญะพิจารณาองค์ฌานอยู่นั้น ​ องค์ฌานเพียงแต่วิจารก็จะปรากฏโดยเป็นสภาพที่หยาบขึ้น ​ องค์ฌานอื่น ๆ 
- 
-(หน้าที่ 287) 
- 
-มีปีติเป็นต้นคงปรากฏโดยเป็นสภาพที่ละเอียดอยู่ ​ กาลนั้น ​ ขณะที่โยคีบุคคลมนสิการถึงปฏิภาคนิมิตนั้นนั่นแลอย่างแล้ว ๆ  เล่า ๆ  ว่า ​ ปถวี – ปถวี ​ หรือ ​ ดิน – ดิน ​ ฉะนี้ ​ เพื่อที่จะละองค์ที่หยาบและให้ได้มาซึ่งองค์ที่ละเอียดอยู่นั้น ตติยฌานก็จะเกิดขึ้นโดยนัยที่ได้แสดงมาแล้วนั่นแล ​ องค์สำหรับละของตติยฌานนั้นมีแต่วิจารอย่างเดียว ​ ส่วนองค์ประกอบมี 3  มีปีติเป็นต้น ​ เหมือนกับในทุติยฌานโดยจตุกกนัย ​ คำที่เหลือเหมือนดังที่แสดงมาแล้วทุกประการนั่นเทียว 
- 
-===สรุปฌานปัญจกนัย=== 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ ทุติยฌานใดในฌานจตุกกนัยนั้น ​ ในฌานปัญจกนัยนี้ ​ ทุติยฌานนั้นแยกออกเป็น 2  ฌาน ​ คือ ​ เป็นทุติฌานและตติยฌาน ​ ตติยฌานและจตุตถฌานในฌานจตุกกนัยนั้นแยกเป็นจตุตถฌานและปัญจมฌานในฌานปัญจกนัยนี้ ​ ส่วนปฐมฌานคงเป็นปฐมฌานตามเดิม ​ ฉะนี้แล 
- 
-'''​ปถวีกสิณนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 4 
-'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ​ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค 
-'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นเพื่อความปราโมชแห่งสาธุชน 
-'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้ 
-'''​ 
- 
-………………. 
- 
-=ดูเพิ่ม= 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​