วิสุทธิมรรค_03_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_03_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส [2020/10/30 05:20]
dhamma [ขั้นตอนทำสมาธิให้เกิดต่อเนื่องอย่างย่อ]
วิสุทธิมรรค_03_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head|}} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 127)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เริ่มเรื่องสมาธิ'''​ 
- 
-โดยเหตุที่โยคีบุคคลเมื่อตั้งตนไว้ในศีลอันบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยคุณทั้งหลายมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น ​ ซึ่งสำเร็จขึ้นด้วยการบำเพ็ญธุดงควัตรฉะนี้แล้ว ​ จำต้องจะเจริญสมาธิภาวนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยหัวข้อว่า ​ จิตฺตํ ​ โดยพระบาลีว่า ​ สีเล ​ ปติฏฺฐายนโร ​ สปญฺโญ ​ จิตฺตํ ​ ปญฺญญฺจ ​ ภาวยํ ​ ดังนี้ประการหนึ่ง ​ กับอีกประการหนึ่ง ​ โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสมาธินั้นไว้อย่างย่อสั้นมาก ​ ไม่ต้องกล่าวถึงที่จะเจริญภาวนา ​ แม้แต่เพียงจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ​ ก็ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่จะกระทำได้ง่ายเลย ​ ฉะนั้น ​ บัดนี้ ​ เพื่อที่จะแสดงสมาธินั้นอย่างพิสดาร ​ และเพื่อที่จะแสดงวิธีเจริญสมาธินั้น ​ จึงขอตั้งปัญหากรรมเป็นมาตรฐานขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ​ คือ – 
- 
-=คำถามเรื่องสมาธิ= 
- 
-#​สมาธิคืออะไร?​ 
-#​อะไรเป็นสภาวะของสมาธิ?​ 
-#​อะไรเป็นลักษณะ,​ รส, ปัจจุปัฏฐาน,​ ปทัฏฐานของสมาธิ 
-#​สมาธิมีกี่อย่าง 
-#​อะไรเป็นความเศร้าหมองของสมาธิ อะไรเป็นความผ่องแผ้วของสมาธิ 
-#​ทำภาวนาสมาธิได้อย่างไร ​ และ 
-#​อะไรเป็นอานิสงส์ของสมาธิภาวนา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 128)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=คำตอบเรื่องสมาธิ= 
-==สมาธิคืออะไร?​== 
- 
-บรรดาปัญหาเหล่านั้น ​ มีคำว่าวิสัชนาดังต่อไปนี้ – 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​ สมาธิคืออะไร?​ วิสัชนาว่า ​ สมาธินั้นมีหลายอย่างหลายประการด้วยกัน ​ การที่จะยกมาวิสัชนาแสดงให้แจ่มแจ้งทุก ๆ อย่างนั้น ​ เห็นทีจะไม่สำเร็จสมความหมายเฉพาะที่ต้องการ ​ กลับจะทำให้เกิดความฟั่นเฝือยิ่งขึ้นเสียด้วยซ้ำ ​ เพราะฉะนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงขอวิสัชนาเจาะเอาเฉพาะที่ต้องการในที่นี้ว่า ​ ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียวฝ่ายกุศล ​ ชื่อว่าสมาธิ 
- 
-==อะไรเป็นสภาวะของสมาธิ?​== 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​ อะไรเป็นสภาวะของสมาธิ? ​ นั้น ​ มีวิสัชนาว่า ​ ที่ชื่อว่าสมาธิ ​ เพราะอรรถว่า ​ ความตั้งมั่น ​ ที่ว่า ​ ความตั้งมั่น ​ นี้ได้แก่อะไร ?  ได้แก่ ​ ความตั้งอยู่หรือความดำรงอยู่ของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์อันเดียวอย่างสม่ำเสมอ ​ และโดยถูกทางด้วย ​ เพราะฉะนั้น ​ จิตและเจตสิกทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างสม่ำเสมอ ​ และโดยถูกทางด้วย ​ ไม่ฟุ้งซ่านและไม่ส่ายไปในอารมณ์อื่น ​ ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติใด ​ ธรรมชาตินี้พึงทราบว่า ​ คือ ​ ความตั้งมั่น 
- 
-==อะไรเป็นลักษณะ,​ รส, ปัจจุปัฏฐาน,​ ปทัฏฐานของสมาธิ== 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​  ​อะไร ​ เป็นลักษณะ, ​ เป็นรส, ​ เป็นอาการปรากฎ ​ และเป็นปทัฏฐานของสมาธิ ​ นั้น ​ มีวิสัชนาว่า ​ สมาธินั้นมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น ​ ลักษณะ ​  ​มีการกำจัดเสียซึ่งความฟุ้งซ่านเป็น ​ รส ​  ​มีการไม่หวั่นไหวเป็น ​  ​อาการปรากฎ ​  ​มีความสุขเป็น ​  ​ปทัฎฐาน ​  ​พระบาลีรับรองว่า ​  ​สุขิโน ​  ​จิตฺตํ ​  ​สมาธิยติ ​  ​จิตของบุคคลผู้มีความสุขย่อมตั้งมั่น ​  ​ฉะนี้ 
- 
-==สมาธิมีกี่อย่าง== 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​  ​สมาธิ ​  ​มีกี่อย่าง ​  ​นั้น ​  ​มีวิสัชนาว่า- 
- 
-1.  สมาธิมีอย่างเดียว ​  ​ด้วยมีลักษณะไม่ฟุ้ง ​  ​เป็นประการแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 129)''</​fs></​sub>​ 
- 
-2.   ​สมาธิมี ​ 2  อย่าง ​ ดังนี้คือ-หมวดที่ 1  โดยแยกเป็นอุปจารสมาธิ 1  อัปปนาสมาธิ 1  หมวดที่ 2  โดยแยกเป็น ​  ​โลกิยสมาธิ 1   ​โลกุตตรสมาธิ 1   ​หมวดที่ 3   ​โดยแยกเป็นสัปปีติกสมาธิ ​ สมาธิประกอบด้วยปีติ ​ 1  นิปปีติกสมาธิ ​  ​สมาธิปราสจากปีติ 1  หมวดที่ 4   ​โดยแยกเป็น ​   สุขสหคตสมาธิ ​  ​สมาธิประกอบด้วยสุขเวทนา 1   ​อุเปกขาสหคตสมาธิ ​  ​สมาธิประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ​ 1  
- 
-3.   ​สมาธิมี ​ 3  อย่าง ​ ดังนี้คือ-หมวดที่ ​ 1   ​โดยแยกเป็น ​  ​หีนสมาธิ ​ 1  มัชฌิมสมาธิ 1  ปณีตสมาธิ 1  หมวดที่ 2  โดยแยกเป็น ​ สวิตักกสวิจารสมาธิ ​ สมาธิมีทั้งวิตกมีทั้งวิจาร 1  อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ ​ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร 1  อวิตักกาวิจารสมาธิ ​ สมาธิไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจาร 1  หมวดที่ 3  โดยแยกเป็น ​ ปีติสหคตสมาธิ ​ สมาธิประกอบด้วยปีติ 1  สุขสหคตสมาธิ ​ สมาธิประกอบด้วยสุขเวทนา 1  อุเปกขาสหคตสมาธิ ​ สมาธิประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา 1  หมวดที่ 4  โดยแยกเป็น ​ ปริตตสมาธิ ​ สมาธิมีประมาณน้อย 1  มหัคคตสมาธิ ​ สมาธิอันยิ่งใหญ่ 1  อัปปมาณสมาธิ ​ สมาธิอันหาประมาณมิได้ 1 
- 
-4.  สมาธิมี 4 อย่าง ​ ดังนี้คือ-หมวดที่ 1  โดยแยกเป็น ​ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ สมาธิที่มีปฏิปทาลำบากทั้งรู้ช้า 1  ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ​ สมาธิที่มีปฏิปทาลำบากแต่รู้เร็ว 1  สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ สมาธิที่มีปฏิปทาสบายแต่รู้ช้า 1  สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ​ สมาธิที่มีปฏิปทาสบายด้วยรู้เร็วด้วย 1  หมวดที่ 2  โดยแยกเป็น ​ ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ​ สมาธที่ไม่คล่องแคล่วและไม่ได้ขยายอารมณ์ 1  ปริตตอัปปมาณารัมมณสมาธิ ​ สมาธิที่ไม่คล่องแคล่วแต่ขยายอารมณ์ 1 อัปปมาณปริตตารัมมณสมาธิ ​ สมาธิที่คล่องแคล่วแต่ไม่ได้ขยายอารมณ์ 1  หมวดที่ 3  โดยแยกเป็นองค์แห่งฌาน 4  คือ ​ องค์แห่งปฐมฌาน 1  องค์แห่งทุติยฌาน 1  องค์แห่งตติยฌาน 1  องค์แห่งจตุตถฌาน 1  หมวดที่ 4  โดยแยกเป็น ​ หานภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม 1  ฐิติภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งความติดแน่น 1  วิเสสภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ 1  นิพเพธภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งอันแทงทะลุสัจธรรม 1  หมวดที่ 5  โดยแยก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 130)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็น ​ กามาวจรสมาธิ ​ สมาธิเป็นกามาวจร 1  รูปาวจรสมาธิ ​ สมาธิเป็นรูปาวจร 1  อรูปาวจรสมาธิ ​ สมาธิเป็นอรูปาวจร 1  อปริยาปันนสมาธิ ​ สมาธิเป็นโลกุตตระ 1 หมวดที่ 6  โดยแยกเป็น ​ ฉันทาธิปติสมาธิ ​ สมาธิมีฉันทะเป็นอธิบดี ​ 1  วีริยาธิปติสมาธิ ​ สมาธิมีวีริยะเป็นอธิบดี 1  จิตตาธิปติสมาธิ ​ สมาธิมีจิตเป็นอธิบดี 1  วิมังสาธิปติสมาธิ ​ สมาธิมีวิมังสาคือปัญญาเป็นอธิบดี 1 
- 
-5.  สมาธิมี 5  อย่าง ​ ดังนี้คือ- โดยแยกเป็น ​ องค์แห่งฌาน 5  ในปัญจกนัย ​ ได้แก่ ​ องค์แห่งปฐมฌาน 1  องค์แห่งทุติยฌาน 1  องค์แห่งตติฌาน 1  องค์แห่งจตุตถฌาน 1  องค์แห่งปัญจมฌาน 1 
- 
-===อธิบายสมาธิหมวด 1=== 
- 
-ในสมาธิอย่างเดียวและสมาธิมี 2 อย่างนั้น ​ สมาธิที่มีส่วนอย่างเดียวมีเนื้อความกระจ่างอยู่แล้ว (คือ ด้วยมีลักษณะไม่ฟุ้ง) ไม่ต้องพรรณนาความอีก 
- 
-===อธิบายสมาธิหมวด 2=== 
- 
-ในสมาธิที่มีส่วน 2 อย่าง ​ หมวดที่ 1 ที่ว่า ​ สมาธิมี 2 อย่าง ​ โดยแยกเป็นอุปจารสมาธิ 1  อัปปนาสมาธิ 1 นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ ภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตา ​ ที่โยคีบุคคลได้มาด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน 10  เหล่านี้คือ ​ อนุสสติ 6  (พุทธานุสสติถึงเทวตานุสสติ) ​ มรณสติ 1  อุปสมานุสสติ 1  อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1  จตุธาตุววัตถาน 1 นี้อย่างหนึ่ง ​ กับเอกัคคตาในบุพภาคเบื้องต้นแห่งอัปปนาสมาธิทั้งหลายอย่างหนึ่ง ​ เอกัคคตาชนิดนี้เรียกว่า ​ อุปจารสมาธิ ​ ส่วนเอกัคคตาถัดไปแต่บริกรรมภาวนา ​ เอกัคคตาชนิดนี้ ​ เรียกว่า ​ อัปปนาสมาธิ ​ เพราะมีพระบาลีรับรองว่า ​ บริกรรมภาวนาแห่งปฐมฌาน ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานโดยอนันตรปัจจัย ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 131)''</​fs></​sub>​ 
- 
-หมวดที่ 2  ที่ว่า ​ สมาธิมี 2  อย่าง ​ โดยแยกเป็น ​ โลกิยสมาธิ 1  โลกุตตรสมาธิ 1 นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ เอกัคคตาที่ประกอบด้วยกุศลจิต ​ ในภูมิ 3  คือ ​  ​กามภูมิ, ​ รูปภูมิ ​ และอรูปภูมิ ​ เรียกว่า ​  ​โลกิยสมาธิ ​  ​เอกัคคตาที่ประกอบด้วยอริยมัคคจิต ​ เรียกว่า ​  ​โลกุตตรสมาธิ 
- 
-หมวดที่ ​ 3  ที่ว่า ​ สมาธิมี ​ 2  อย่าง ​  ​โดยแยกเป็น ​   สัปปีติกสมาธิ ​ 1   ​นิปปีติกสมาธิ ​ 1  นั้น ​  ​มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ เอกัคคตาในฌาน ​ 2  ข้างต้นในจตุกกนัย ​  ​และในฌาน ​ 3  ข้างต้นในปัญจกนัย ​ เรีกว่า ​  ​สัปปีติกสมาธิ ​  ​คือสมาธิที่ประกอบด้วยปีติ ​  ​เอกัคคตาในฌาน ​ 2  ที่เหลือข้างปลาย ​  ​เรียกว่า ​  ​นิปปีติกสมาธิ ​   คือสมาธิที่ปราศจากปีติ ​   ส่วนอุปจารสมาธิที่ประกอบด้วยปีติก็มี ​  ​ที่ปราศจากปีติก็มี 
- 
-หมวดที่ ​ 4  ที่ว่า ​ สมาธิมี ​ 2   ​อย่าง ​  ​โดยแยกเป็น ​  ​สุขสหคตสมาธิ ​ 1 อุเปกขาสหคตสมาธิ ​ 1  นั้น ​  ​มีอรรถาธิบายดังนี้- ​  ​เอกัคคตาในฌาน ​ 3   ​ข้างต้นในจตุกกนัย ​  ​และในฌาน ​ 4   ​ข้างต้นในปัญจกนัย ​  ​เรียกว่า ​  ​สุขสหคตสมาธิ ​  ​คือสมาธิที่ประกอบด้วยสุขเวทนาเอกัคคตาในฌานที่เหลือข้างปลาย ​  ​เรียกว่า ​  ​อุเปกขาสหคตสมาธิ ​  ​คือสมาธิที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ​  ​ส่วนอุปจารสมาธิที่ประกอบด้วยสุขเวทนาก็มี ​ ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนาก็มี 
- 
-===อธิบายสมาธิหมวด ​ 3=== 
- 
-ในสมาธิที่แยกเป็น ​ 3  อย่าง ​  ​หมวดที่ ​ 1  ที่ว่า ​  ​สมาธิมี ​ 3  อย่างโดยแยกเป็น ​ หีนสมาธิ ​ 1   ​มัชฌิมสมาธิ ​ 1   ​ปณีตสมาธิ ​ 1   ​นั้น ​  ​มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ สมาธิที่พอได้บรรลุยังไม่ได้ส้องเสพให้หนัก ​  ​ยังไม่ได้ทำให้มาก ๆ  เรียกว่า ​  ​หีนสมาธิ ​  ​คือสมาธิขั้นต่ำ ​  ​สมาธิที่ทำให้เกิดขึ้นยังไม่ได้ที่ ​  ​คือยังไม่ได้ทำให้ถึงความคล่องแคล่วเป็นอย่างดี ​  ​เรียกว่า ​   มัชฌิมสมาธิ ​  ​สมาธิขั้นกลาง ​  ​สมาธิที่ทำให้เกิดขึ้นได้ที่ดีแล้ว ​  ​คือถึงความเป็นวสีมีความสามารถอย่างคล่องแคล่วแล้ว ​  ​เรียกว่า ​  ​ปณีตสมาธิ ​  ​สมาธิขั้นประณีต ​  ​ไขความว่า ​  ​ที่ชื่อว่า ​  ​หีนสมาธิ ​ เพราะให้เป็นไปด้วยความปรารถนาผลบุญอันโอฬาร ​  ​ที่ชื่อว่า ​  ​มัชฌิมสมาธิ ​  ​เพราะให้เป็นไปด้วยจะให้สำเร็จอภิญญาโลกีย์ ​  ​ที่ชื่อว่า ​  ​ปณีตสมาธิ ​  ​เพราะท่านผู้ดำรงอยู่ในอริยภาพให้เป็นไปด้วยปรารถนาความสงัดจิต ​  ​อีกนัยหนึ่ง ​  ​ที่ชื่อว่า ​  ​หีนสมาธิ ​  ​เพราะให้เป็นไปเพื่อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 132)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประโยชน์ส่วนตน ​ ด้วยต้องการภวสมบัติ ​ ที่ชื่อว่า ​ มัชฌิมสมาธิ ​ เพราะให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยที่ไม่โลภอย่างเดียว ที่ชื่อว่า ปณีตสมาธิ เพราะให้เป็นไปเพื่อประโยชน์คนอื่น ​ อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่า ​ หีนสมาธิ ​ เพราะให้เป็นไปด้วยมีอัธยาศัยติดอยู่ในวัฏฏะ ​ ที่ชื่อว่า ​ มัชฌิมสมาธิ ​ เพราะให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยชอบความสงัด ​ ที่ชื่อว่า ​ ปณีตสมาธิ ​ เพราะให้เป็นไปด้วยอัธยาศัย ​ ใคร่ปราศจากวัฏฏ ​ ด้วยต้องการให้บรรลุถึงโลกุตตรธรรม  ​ 
- 
-หมวดที่ 2  ที่ว่า ​ สมาธิ มี 3 อย่าง ​ โดยแยกเป็น ​ สวิตักกสวิจารสมาธิ 1  อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ 1  อวิตักกาวิจารสมาธิ 1  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  สมาธิในปฐมฌานรวมทั้งอุปจารสมาธิ ​ เรียกว่า ​  ​สวิตักสวิจารสมาธิ ​  ​สมาธิมีทั้งวิตกทั้งวิจาร ​ สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย ​  ​เรียกว่า ​  ​อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ ​   สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารอธิบายว่า ​  ​โยคีบุคคลใดเห็นโทษแต่ในวิตกอย่างเดียวไม่เห็นโทษในวิจาร จึงปรารถนาที่จะละวิตกอย่างเดียว ผ่านพ้นปฐมฌานไป ​  ​โยคีผู้นั้นย่อมได้สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ​  ​ข้อว่าอวิตักกวิจารมัตตสมาธินั้น ​  ​หมายเอาสมาธิที่กล่าวนี้ ​  ​เอกัคคตาในฌาน ​ 3  สำหรับจตุกกนัยมีทุติยฌานเป็นต้นไป ​  ​สำหรับปัญจกนัย ​  ​มีตติยฌานเป็นต้นไป ​ เรียกว่า ​  ​อวิตักกาวิจารสมาธิ ​  ​สมาธิไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจาร 
- 
-หมวดที่ ​ 3  ที่ว่า ​ สมาธิมี ​ 3  อย่าง ​ โดยแยกเป็น ​ ปีติสหคตสมาธิ ​ 1  สุขสหคตสมาธิ ​ 1  อุเปกขาสหคตสมาธิ ​ 1  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- เอกัคคตาในฌาน ​ 2  เบื้องต้นในจตุกกนัย ​ และในฌาน ​ 3  เบื้องต้นในปัญจกนัย ​ เรียกว่า ​  ​ปีติสหคตสมาธิ ​  ​สมาธิประกอบด้วยปีติ ​ เอกัคคตาในฌานที่ ​ 3  และฌานที่ ​ 4  ในจตุกกนัยและปัญจกนัยนั้นนั่นแหละ ​ เรียกว่า ​  ​สุขสหคตสมาธิ ​   สมาธิประกอบด้วยสุขเวทนา ​  ​เอกัคคตาในฌานอันสุดท้ายทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย ​  ​คือในจตุตถฌานหรือในปัญจมฌาน ​  ​เรียกว่า ​  ​อุเปกขาสหคตสมาธิ ​  ​สมาธิประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ​   ส่วนอุปจารสมาธิ ​  ​ประกอบด้วยสุขเวทนาก็มี ​  ​ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนาก็มี 
- 
-หมวดที่ ​ 4  ที่ว่าสมาธิมี ​ 3  อย่าง ​ โดยแยกเป็น ​  ​ปริตตสมาธิ ​ 1  มหัคคตสมาธิ ​ 1 อัปปมาณสมาธิ ​ 1  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ เอกัคคตาในอุปจารฌานภูมิ ​ คือในจิตตุปบาทที่ประกอบด้วยอุปจารฌาน ​ เรียกว่า ​  ​ปริตตสมาธิ ​  ​สมาธิมีประมาณน้อย ​ ( หรือกามาวรจรสมาธิ ) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 133)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เอกัคคตาในรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ​ เรียกว่า ​  ​มหัคคตสมาธิ ​  ​สมาธิอันยิ่งใหญ่อธิบายว่า ​  ​สมาธิที่ถึงภาวะอันยิ่งใหญ่โดยการข่มกิเลส 1 โดยมีผลอันไพบูลย์กว้างขวาง 1 โดยสืบต่ออยู่ได้นาน ๆ 1  หรือสมาธิที่ดำเนินไปด้วยคุณอันยี่งใหญ่มีฉันทะอันยิ่งใหญ่เป็นต้น เรียกว่า ​  ​มหัคคตสมาธิ ​  ​เอกัคคตาที่ประกอบด้วยอริยมัคคจิต ​  ​คือที่เกิดร่วมกับอริยมัคคจิต ​ เรียกว่า ​   อัปปมาณสมาธิ ​   สมาธิอันหาประมาณมิได้ ​  ​หรือสมาธิอันมีธรรมหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ 
- 
-===อธิบายสมาธิหมวด 4=== 
- 
-ในสมาธิที่แยกเป็น ​ 4  อย่างหมวดที่ ​ 1  ที่ว่า ​ สมาธิมี ​  ​4 ​  ​อย่างโดยแยกเป็นทุขาปฎิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​  ​เป็นต้นนั้น ​  ​มีอรรถาธิบายดังนี้คือ- 
- 
-สมาธิ ​ 4  อย่าง ​ ได้แก่ ​ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ 1  ทุกขาปฎิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ​ 1  สุขาปฎิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ 1  สุขาปฎิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ​ 1 
- 
-อธิบายว่า ​ ในปฎิปทาและอภิญญา ​ 2  อย่างนั้น ​ การเจริญภาวนาสมาธิที่ดำเนินไปนับตั้งแต่ลงมือสำรวจจิตเจริญกัมมัฎฐานครั้งแรก ​  ​จนถึงอุปจารฌานของฌานนั้น ๆ   ​เกิดขึ้นเรียกว่า ​  ​ปฎิปทา ​   คือการปฎิบัติ ​   ส่วนปัญญาที่ดำเนินไป ​   นับตั้งแต่อุปจารฌานไปจนถึงอัปปนาฌาน ​  ​เรียกว่า ​  ​อภิญญา ​  ​คือการรู้แจ้ง ​  ​ก็แหละปฎิปทาคือการปฎิบัตินี้นั้น ​ ย่อมเป็นทุกข์คือลำบาก ​  ​ส้องเสพไม่สะดวกสำหรับโยคีบุคคลบางคน ​  ​เพราะการรบเร้าและยึดครองของธรรมที่เป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ​  ​แต่เป็นความสะดวกสบายสำหรับโยคีบุคคลบางคนเพราะไม่มีการรบเร้าและยึดครองของธรรมที่เป็นข้าศึก ​  ​แม้อภิญญาคือการรู้แจ้งก็เป็นการเชื่องช้าเฉื่อยชา ​  ​ไม่เกิดโดยฉับพลันสำหรับโยคีบุคคลบางคน ​  ​แต่สำหรับโยคีบุคคลบางคนก็รวดเร็วไม่เฉื่อยชาเกิดโดยฉับพลัน 
- 
-ก็แหละ ​ ธรรมอันเป็นที่สบายและไม่เป็นที่สบาย 1  บุพกิจเบื้องต้นมีการตัดปลิโพธคือเครื่องกังวลให้สิ้นห่วง 1 และความฉลาดในอัปปนาทั้งหลาย 1  เหล่าใด ​ ที่ข้าพเจ้าจักยกมาพรรณนาข้างหน้า ​  ​ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ​  ​โยคีบุคคลใดเป็นผู้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 134)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สบาย ​ โยคีบุคคลผู้นั้นย่อมมีปฏิปทาคือการปฏิบัติลำบากเป็นทุกข์ ​ และมีอภิญญาคือการรู้แจ้งเชื่องช้า ​ โยคีบุคคลผู้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ​ ย่อมมีปฏิปทาคือการปฏิบัติสะดวกสบาย ​ และมีอภิญญาคือการรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว ​ ส่วนโยคีบุคคลใด ​ ในตอนต้นก่อนแต่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ ​ ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ​ ตอนหลังจากที่บรรลุอุปจารสมาธิแล้ว ​ ได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ​ หรือในตอนต้นได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ​ ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ​ พึงทราบว่า ​ ปฏิปทาและอภิญญาของโยคีบุคคลนั้นคละกัน ​ อธิบายว่า ​ โยคีบุคคลใดในตอนต้นส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ​ ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ​ โยคีบุคคลนั้นมีปฏิปทาลำบากเป็นทุกข์ ​ แต่มีอภิญญาการรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว ​ ส่วนโยคีบุคคลใด ​ ในตอนต้นส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ​ ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ​ โยคีบุคคลนั้น ​ มีปฏิปทาสะดวกสบาย ​ แต่มีอภิญญาการรู้แจ้งเชื่องช้า ​ พึงทราบสมาธิที่ 2  และที่ 3  เพราะความคละกันแห่งสมาธิที่ 1  และที่ 4  ฉะนี้ 
- 
-สำหรับโยคีบุคคลผู้ไม่ได้จัดแจง ​ ทำบุพกิจเบื้องต้นมีการตัดปลิโพธเครื่องกังวลให้สิ้นห่วงเป็นต้นเสียก่อน ​ แล้วลงมือประกอบเจริญภาวนาก็เหมือนกัน ​ คือย่อมมีปฏิปทาการปฏิบัติลำบากเป็นทุกข์ ​ โดยปริยายตรงกันข้าม ​ สำหรับโยคีบุคคลผู้จัดแจงทำบุพกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว ​ จึงลงมือประกอบการเจริญภาวนา ​ ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย ​ ส่วนโยคีบุคคลผู้ไม่ได้ท่องจำอัปปนาโกศล ​ คือความเป็นผู้ฉลาดในอัปปนาให้สำเร็จก่อน ​ ย่อมมีอภิญญาการรู้แจ้งอย่างเชื่องช้า ​ ผู้ที่ท่องจำอัปปนาโกศลให้สำเร็จก่อน ​ ย่อมมีอภิญญาการรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พึงทราบประเภทของปฏิปทาและอภิญญานี้ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและอวิชชา 1  ด้วยอำนาจแห่งสมถาธิการและวิปัสสนาธิการ 1 ต่อไป ​ กล่าวคือ ​ โยคีบุคคลผู้อันตัณหาครอบงำ ​ ย่อมมีปฏิปาทาเป็นทุกข์ ​ ผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำ ​ ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย ​ และโยคีบุคคลผู้มีอวิชชาครอบงำ ​ ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ​ ผู้ที่ไม่ถูกอวิชชาครอบงำ ​ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว ​ และโยคีบุคคลผู้มีอธิการอันไม่ได้ทำไว้ในสมถภาวนา ​ ย่อมมีปฏิปทาลำบากเป็นทุกข์ ​ ผู้มีอธิการโดยไม่ได้ทำไว้ในวิปัสสนาภาวนา ​ ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ​ ผู้มีอธิการอันได้ทำไว้แล้ว ​ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 135)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พึงทราบประเภทของปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ ​ แม้ด้วยอำนาจแห่งกิเลสและอินทรีย์ 5 อีก ​ กล่าวคือโยคีบุคคลผู้มีกิเลสรุนแรง ​ แต่มีอินทรีย์ย่อหย่อน ​ ย่อมมีปฏิปทาลำบากเป็นทุกข์ ​ และมีอภิญญาเชื่องช้า ​ ส่วนผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ​ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว ​  ​และโยคีบุคคลผู้มีกิเลสบางเบา ​ มีอินทรีย์ย่อหย่อน ​ ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย แต่มีอภิญญาเชื่องช้า ​ ส่วนผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ​ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ ในปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ ​ โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิ ​ ด้วยปฏิปทาอันลำบากเป็นทุกข์และด้วยอภิญญาอันเชื่องช้า ​ สมาธิของโยคีบุคคลนั้น ​ เรียกว่า ​ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันลำบากเป็นทุกข์และด้วยอภิญญาอันรวดเร็ว ​ สมาธิของโยคีบุคคลนั้น ​ เรียกว่า ​ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ​ โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญาอันเชื่องช้า ​ สมาธิของโยคีบุคคลนั้น ​ เรียกว่า ​ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ​ โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญาอันรวดเร็ว ​ สมาธิของโยคีบุคคลนั้น ​ เรียกว่า ​ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ 
- 
-หมวดที่ 2 ที่ว่า ​ สมาธิมี 4  อย่างโดยแยกเป็น ​ ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ​ เป็นต้น ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ ​ คือ – 
- 
-สมาธิ 4  อย่างได้แก่ ​ ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ 1  ปริตตอัปปมาณารัมมณสมาธิ 1  อัปปมาณปริตตารัมมณสมาธิ 1  อัปปมาณอัปปมาณารัมมณสมาธิ 1  อธิบายว่าในสมาธิเหล่านั้น ​ สมาธิใดยังไม่คล่องแคล่ว ​ ไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ ​ สมาธินี้ชื่อว่า ​ ปริตตสมาธิ ​ สมาธิมีประมาณน้อย ​ ส่วนสมาธิใดเป็นไปในอารมณ์ ​ ที่ไม่ได้ขยาย ​ สมาธินั้นชื่อว่า ​ ปริตตารัมมณสมาธิ ​ สมาธิมีอารมณ์มีประมาณน้อย ​ สมาธิใดคล่องแคล่วแล้ว ​ เจริญให้เกิดขึ้นได้ที่แล้ว ​ สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ ​ สมาธินี้ชื่อว่า ​ อัปปมาณสมาธิ ​ สมาธิหาประมาณมิได้ ​ และสมาธิใดเป็นไปในอารมณ์ที่ขยายแล้ว ​ สมาธินี้ชื่อว่า ​ อัปปมาณารัมมณสมาธิ ​ สมาธิมีอารมณ์หาประมาณมิได้ ​ ส่วนนัยที่คละกันแห่งสมาธิที่ 1  และที่ 4  ซึ่งสงเคราะห์เข้าเป็นสมาธิที่ 2  และที่ 3  พึงทราบ ​ โดยความคละกันแห่งลักษณะที่กล่าวแล้วดังนี้คือ ​ สมาธิใดยังไม่คล่องแคล่ว ​ ไม่สามารถที่จะ 
- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 136)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ ​ แต่เป็นไปในอารมณ์ที่ขยายแล้ว ​ สมาธินี้ชื่อว่า ​ ปริตตอัปปมาณารัมมณสมาธิ ​ สมาธิมีประมาณน้อยมีอารมณ์หาประมาณมิได้ ​ ส่วนสมาธิใดคล่องแคล่วแล้ว ​ สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ ​ แต่เป็นไปในอารมณ์ที่ไม่ได้ขยาย ​ สมาธินี้ชื่อว่า ​ อัปปมาณปริตตารัมมณสมาธิ ​ สมาธิหาประมาณมิได้มีอารมณ์มีประมาณน้อย  ​ 
- 
-หมวดที่ 3  ที่ว่า ​ สมาธิมี 4  อย่าง ​ โดยแยกเป็นองค์แห่งฌาน 4  นั้น ​ โดยแยกเป็นองค์แห่งฌาน 4  นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ​ คือ – 
- 
-ปฐมฌานมีองค์ 5  ด้วยอำนาจวิตก 1  วิจาร 1  ปีติ 1  สุข 1  สมาธิ 1  ซึ่งข่มนิวรณ์ได้แล้ว ​ เหนือจากปฐมฌานไป ​ วิตกกับวิจารสงบลง ​ ทุติยฌานจึงมีเพียงองค์ 3  คือ ​ ปีติ 1  สุข 1  สมาธิ 1 เหนือจากทุติฌานไป ​ ปีติสร่างหายไป ​ ตติฌานจึงมีเพียงองค์ 2  คือ ​ สุข 1  สมาธิ 1  เหนือจากตติยฌานไปละสุขเสีย ​ แต่จตุตถฌานคงมีองค์ 2  ด้วยอำนาจสมาธิ 1  ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา 1  ด้วยประการฉะนี้ ​ องค์แห่งฌาน 4  เหล่านี้จึงเป็นสมาธิ 4  อย่าง 
- 
-สมาธิ 4  อย่างโดยแยกเป็นองค์ฌาน 4  ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-หมวดที่ 4  ที่ว่า ​ สมาธิมี 4  โดยแยกเป็น ​ หานภาคิยสมาธิ ​ เป็นต้น ​ มีอรรถาธิบาย ​ ดังนี้ ​ คือ – 
- 
-สมาธิ 4  อย่างได้แก่ ​ หานภาคิยสมาธิ 1  ฐิติภาคิยสมาธิ 1  วิเสสภาคิยสมาธิ 1  นิพเพธภาคิยสมาธิ 1  อธิบายว่า ​ ในสมาธิ 4  อย่างนั้น ​ พึงทราบว่า ​ ที่ชื่อว่า ​ หานภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ​ ด้วยอำนาจของความรบกวนของธรรมเป็นข้าศึกของฌานนั้น ๆ มีนิวรณ์, ​ วิตกและวิจาร ​ เป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ ฐิติภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งความติดแน่น ​ ด้วยอำนาจความติดแน่นด้วยสติอันสมควรแก่สมาธินั้น ​ ที่ชื่อว่า ​ วิเสสภาคิยสมาธิสมาธิเป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ ด้วยอำนาจเป็นเหตุบรรลุซึ่งคุณวิเศษเบื้องสูงขึ้นไป ​ และที่ชื่อว่า ​ นิพเพธภาคิยสมาธิ ​ สมาธิเป็นไปในส่วนแห่งอันแทงทะลุสัจธรรม ​ ด้วยอำนาจความใฝ่ใจในสัญญาอันประกอบด้วยนิพพิทาญานและความเร่งเร้า ​ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 137)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บุคคลผู้ใดสำเร็จปฐมฌาน ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายอันประกอบด้วยความหมายมั่นในกามคุณ ​ ย่อมเร่งเร้ารบกวนอยู่ ​ ปัญญาก็ยังมีส่วนแห่งความเสื่อม, ​ สติอันสมควรแก่ฌานนั้น ​ ย่อมติดแน่น ​ ปัญญาก็มีส่วนแห่งความติดมั่น, ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายอันประกอบด้วยฌานที่ไม่มีวิตก ​ ย่อมเร่งเร้า ​ ปัญญาก็มีส่วนแห่งคุณวิเศษ, ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายอันประกอบด้วยญาณเป็นเหตุให้เบื่อหน่าย ​ ย่อมเร่งเร้า ​ ปัญญามีส่วนแห่งความแทงทะลุสัจธรรม ​ ประกอบด้วยธรรมอันคลายความกำหนัด 
- 
-ก็แหละ ​ แม้สมาธิที่ประกอบด้วยปัญญานั้น ​ ก็จัดเป็นสมาธิ 4  อย่าง ​ ฉะนี้ 
- 
-สมาธิ 4 อย่างโดยแยกเป็น ​ หานภาคิยสมาธิ ​ เป็นต้น ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-หมวดที่ 5  ที่ว่ามี 4  อย่างโดยแยกเป็น ​ กามาวจรสมาธิ ​ เป็นต้นนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ ​ คือ – 
- 
-สมาธิ 4  อย่างนั้น ​ คือ ​ กามาวจรสมาธิ 1  อรูปาวจรสมาธิ 1  อปริยาปันนสมาธิ 1  อธิบายว่า ​ ในสมาธิ 4  อย่างนั้น ​ เอกัคคตาในอุปจารฌานแม้ทั้งสิ้น ​ เรียกว่า ​ กามาวจรสมาธิ ​ จิตเตกัคคตาอันเป็นรูปาวจรกุศล ​ เรียกว่า ​ รูปาวจรสมาธิ ​ จิตเตกัคคตาอันเป็นอรูปาวจรกุศล เรียกว่า ​ อรูปาวจรสมาธิ ​ จิตเตกัคคตาอันเป็นโลกุตตรกุศล ​ เรียกว่า ​ อปริยาปันนสมาธิ 
- 
-สมาธิ 4  อย่างโดยแยกเป็น ​ กามาวจรสมาธิ ​ เป็นต้น ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-หมวดที่ 6  ที่ว่า ​ สมาธิมี ​ 4  อย่างโดยแยกเป็น ​ อธิบดี 4 นั้น ​ มีอรรถาธิบายโดยมีพระบาลีรับสมอ้าง ​ ดังนี้ ​ คือ- 
- 
-ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้ว ​ ได้สมาธิ ​ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ​ สมาธินี้เรียกว่า ​ ฉันทาธิปติสมาธิ ​ ถ้าภิกษุทำวีริยะให้เป็น ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 138)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อธิบดีแล้ว ​ ได้สมาธิ ​ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียวสมาธินี้เรียกว่า ​ วีริยาธิปติสมาธิ ​ ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ​ สมาธินี้เรียกว่า ​ จิตตาธิปติสมาธิ ​ ถ้าภิกษุทำวิมังสาคือปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้ว ​ ได้สมาธิ ​ ได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียว ​ สมาธินี้เรียกว่า ​ วิมังสาธิปติสมาธิ 
- 
-สมาธิ 4  อย่าง ​ โดยแยกเป็นอธิบดี 4  ยุติเพียงเท่านี้  ​ 
- 
-===อธิบายสมาธิหมวด 5=== 
-ในสมาธิที่แยกเป็น ​ 5  อย่างนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบภาวะที่แยกสมาธิเป็น 5  อย่าง ​ ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานทั้ง 5  ในปัญจกนัยดังนี้ ​ คือ – 
- 
-ฌานที่จัดเป็น 5  ฌานนั้น ​ เพราะแยกทุติยฌานที่กล่าวไว้ในประเภทแห่งฌานโดยจตุกกนัยเป็น 2 ฌานอย่างนี้คือ เป็นทุติยฌานด้วยก้าวล่วงแต่วิตก 1  เป็นตติยฌานด้วยก้าวล่วงทั้งวิตกวิจาร 1  (นอกนั้นเหมือนในจตุกกนัย ​ กล่าวคือ ​ ปฐมฌานมีองค์ 5  ได้แก่ ​ วิตก, ​ วิจาร, ​ ปีติ, ​ สุข, ​ และสมาธิ, ​ ทุติยฌานมีองค์ 4  ได้แก่ ​ วิจาร, ​ ปีติ, ​ สุข, ​ และสมาธิ, ​ ตติยฌานมีองค์ ​ 3  ได้แก่ ​ ปีติ, ​ สุข, ​ และสมาธิ, ​ จตุตถฌานมีองค์ 2  ได้แก่ ​ สุข ​ และสมาธิ ​ ปัญจมฌานมีองค์ 2  ได้แก่ ​ อุเบกขาและสมาธิ) ​ ก็แหละ ​ องค์แห่งฌาน 5 เหล่านั้น ​ เรียกว่า ​ สมาธิ 5  อย่างด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==อะไรเป็นความเศร้าหมอง?​ อะไรเป็นความผ่องแผ้วของสมาธิ?​== 
- 
-ก็แหละ ​ ในปัญหา ​ 2  ข้อที่ว่า ​ อะไรเป็นความเศร้าหมองของสมาธิ ​ และ ​ อะไรเป็นความผ่องแผ้วของสมาธิ ​ นี้ ​ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาไว้ ​ ในฌานวิภังค์แห่งคัมภีร์วิภังคปกรณ์แล้วนั่นเทียว ​ เป็นความจริงทีเดียว ​ ในฌานวิภังค์นั้นท่านแสดงไว้ว่า ​ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ​ ชื่อว่า ​ สังกิเลสคือความเศร้าหมองธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ ชื่อว่า ​ โวทานะคือความผ่องแผ้ว 
- 
-ในธรรม 2  อย่างนั้น ​ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ​ นักศึกษาพึงทราบโดยนัยดังนี้ว่า ​ บุคคลผู้ใดสำเร็จปฐมฌาน ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายซึ่ง ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 139)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประกอบด้วยความมุ่งมั่นในกามคุณ ​ ย่อมรบเร้าได้อยู่ ​ ปัญญาก็มีส่วนแห่งความเสื่อม ​ อธิบายว่า ​ โยคีบุคคลผู้ได้สำเร็จปฐมฌานอันไม่คล่องแคล่ว ​ เมื่อออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลาย ​ ซึ่งเป็นสภาวะที่ประกอบด้วยความมั่นหมายในกามคุณด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ย่อมรบเร้า ​ คือกระตุ้นเตือนได้อยู่ ​ ปัญญาในปฐมฌานของโยคีบุคคลนั้นก็เสื่อมไป ​ ด้วยอำนาจความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายที่มุ่งดิ่งไปหากามคุณ ​ เพราะฉะนั้น ​ ปัญญาจึงมีส่วนแห่งความเสื่อม 
- 
-ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ นักศึกษาพึงทราบโดยนัยดังนี้ว่า ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายอันประกอบด้วยฌานที่ไม่วิตก ​ ย่อมเร่งเร้า ​ ปัญญาก็มีส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ อธิบายว่า ​ เมื่อโยคีผู้ฌานลาภีบุคคลนั้นใฝ่ใจถึงทุตติยฌานอันไม่มีวิตกอยู่ ​ ความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายซึ่งประกอบด้วยฌานอันไม่มีวิตก ​ ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ย่อมเร่งเร้า ​ คือกระตุ้นเตือน ​ ซึ่งโยคีบุคคลนั้นผู้ออกจากปฐมฌานอันคล่องแคล่วแล้ว ​ ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌานต่อไป ​ ปัญญาในปฐมฌานของโยคีบุคคลนั้น ​ ด้วยอำนาจความใฝ่ใจในสัญญาทั้งหลายที่มุ่งหน้าสู่ทุติยฌาน ​ ชื่อว่า ​ เป็นปัญญามีส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งการบังเกิดขึ้นของทุติยฌาน ​ อันนับเป็นคุณวิเศษ 
- 
-แต่อย่างไรก็ดี ​ ณ  ที่นี้ประสงค์เอาสมาธิซึ่งประกอบด้วยปัญญานั้น ​ ส่วนหานภาคิยธรรม ​ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ​ และวิเสสภาคิยธรรม ​ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ​ ในทุติยฌานเป็นต้น ​ นักศึกษาพึงทราบโดยวิธีที่กล่าวไว้แล้วในปฐมฌานนี้ 
- 
-=ขั้นตอนทำสมาธิให้เกิดต่อเนื่องอย่างย่อ= 
- 
-ก็แหละ ​ ในปัญหาข้อที่ว่า ​ ทำภาวนาสมาธิได้อย่างไร ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-สมาธิอันประกอบด้วยอริยมรรคนี้ใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำมีอาทิว่า ​ สมาธิมี 2  อย่าง ​ โดยแยกเป็น ​ โลกิยสมาธิ 1  โลกุตตรสมาธิ 1  ฉะนี้ ​ นัยแห่งการภาวนาซึ่งสมาธิอัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 140)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประกอบด้วยอริยมรรคนั้น ​ ท่านสงเคราะห์เข้าไว้กับนัยแห่งปัญญาภาวนาแล้วนั่นเทียว ​ เพราะว่า ​ เมื่อปัญญาอันโยคีบุคคลภาวนาให้เกิดขึ้นแล้ว ​ ก็เป็นอันได้ภาวนาให้สมาธินั้นเกิดขึ้นด้วย ​ เพราะฉะนั้น ​ อริยมัคคสมาธินั้น ​ ข้าพเจ้าจะไม่ยกเอามาอธิบายไว้แผนกหนึ่งต่างหากจากปัญญาภาวนาแต่ประการใดว่า ​ อริยมัคคสมาธินั้นพึงเจริญภาวนาอย่างนี้ ๆ 
- 
-'''​บทบริกรรมกรรมฐาน'''​ 
- 
-ส่วนสมาธิที่เป็นโลกิยะนี้ใด ​ สมาธินั้นข้าพเจ้าจะยกมาอธิบายด้วยภาวนาวิธีต่อไปดังนี้ – 
- 
-#​โยคีบุคคลชำระศีลทั้งหลายให้บริสุทธิ์ตามนัยที่ได้แสดงมาใน[[วิสุทธิมรรค_01-2_สีลนิทเทส|สีลนิทเทส]]นั้นแล้ว พึงตั้งตนไว้ในศีลอันบริสุทธิ์ดีแล้วนั้น  ​ 
-#​[[#​ปลิโพธ ​ 10  อย่าง|บรรดาปลิโพธ (เครื่องกังวล) อย่างใดมีอยู่แก่ตน ​ ก็จงตัดปลิโพธเครื่องกังวลอย่างนั้นเสียให้สิ้นห่วง  ​ 
-#​แล้วพึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้พระกัมมัฏฐาน]] 
-#[[#10 วิธีวินิจฉัยกัมมัฏฐาน 40|แล้วท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดากัมมัฏฐาน 40  ประการ ​ อันเหมาะสมแก่จริตจริยาของตน]] ​ 
-#​[[วิสุทธิมรรค_04_ปถวีกสิณนิทเทส#​วิธีเลือกวัดให้ภาวนาสะดวก|แล้วพึงออกจากวัดที่ไม่สมควรแก่การที่จะภาวนาสมาธิไปอยู่ในวัดที่สมควร]] 
-#​ครั้นแล้วพึงทำการตัดเครื่อง (ปลิโพธ) กังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ  เช่นตัดเล็บโกนหนวดเป็นต้น ​ ให้สิ้นเสร็จเรียบร้อย [วิสุทธิมรรค_03_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส?​h=พึงสอนให้ท่องจำลำดับขั้นตอน|หลังจากนั้นจึงควรลงมือภาวนาสมาธินั้น ​ โดยไม่ทำขั้นตอนทำภาวนาทุก ๆ อย่างให้ขาดตกบกพร่องไป] 
- 
-นี้เป็นวิธีภาวนาอย่างสังเขปในสมาธิภาวนานี้ 
- 
- 
-=อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนทำสมาธิให้เกิดต่อเนื่อง= 
- 
-ส่วนวิธีภาวนาอย่างละเอียด ​ มีอรรถาธิบายตามลำดับ ​ มีดังต่อไปนี้ – 
- 
-==ปลิโพธ ​ 10  อย่าง== 
- 
-คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยสังเขปว่า ​ บรรดาปลิโพธเครื่องกังวล ​ 10  ประการ ​ อย่างใดมีอยู่แก่ตน ​ ก็จงตัดปลิโพธเครื่องกังวลอย่างนั้นเสียให้สิ้นห่วง ​ ดังนี้ ​ ในคำนั้นมีอรรถาธิบายโดยพิสดาร ​ ดังนี้ – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 141)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อาวาโส ​ จ  กุลํ ​ ลาโก ​         คโณ ​ กมฺมญจ ​ ปญฺจมํ 
- 
-อทฺธานํ ​ ญาติ ​ อาพาโธ ​         คนฺโถ ​ อิทฺธีติ ​ เต ​ ทส 
- 
-ปลิโพธ ​ เครื่องทำให้เกิดความกังวลนั้น ​ มีอยู่ ​ 10  ประการ ​ คือ 
- 
-1.      อาวาสปลิโพธ ​             เครื่องกังวลคือที่อยู่ 
- 
-2.      กุลปลิโพธ ​                  ​เครื่องกังวลคือตระกูล 
- 
-3.      ลาภปลิโพธ ​                ​เครื่องกังวลคือลาภสักการะ 
- 
-4.      คณปลิโพธ ​                 เครื่องกังวลคือหมู่คณะ 
- 
-5.      กัมมปลิโพธ ​   เครื่องกังวลคือนวกรรม 
- 
-6.      อัทธานปลิโพธ ​   เครื่องกังวลคือการเดินทาง 
- 
-7.      ญาติปลิโพธ ​   เครื่องกังวลคือ ญาติ 
- 
-8.      อาพาธปลิโพธ ​   เครื่องกังวลคือโรคภัยไข้เจ็บ 
- 
-9.      คันถปลิโพธ ​    ​เครื่องกังวลคือการเล่าเรียน 
- 
-10.      อิทธิปลิโพธ ​   เครื่องกังวลคือการแสดงอิทธิฤทธิ์ 
- 
-ในปลิโพธ ​ 10  ประการนั้น ​ มีอรรถาธิบายตามลำดับ ​ ดังนี้ -  ที่อยู่นั่นเอง ​ ชื่อว่า ​ อาวาสปลิโพธ ​ ได้แก่เครื่องกังวลคือที่อยู่ ​ แม้ในปลิโพธอื่น ๆ  มีกุลปลิโพธเป็นต้น ​ ก็มีความหมายทำนองเดียวกันนี้ 
- 
-'''​อธิบายอาวาสปลิโพธ'''​ 
- 
-ห้องเล็ก ๆ แม้เพียงห้องเดียว ​ บริเวณแม้เพียงแห่งเดียว ​ หรือแม้ทั่วทั้งสังฆาราม ​ เรียกว่า ​ ที่อยู่ ​ ที่อยู่นี้นั้นหาได้เป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุไปเสียหมดทุกรูปไม่ ​ หากแต่ภิกษุใดกำลังขวนขวายอยู่ในการก่อสร้างเป็นต้นในวัดนั้น ​ หรือเป็นผู้สะสมสิ่งของไว้มากในวัดนั้น ​ หรือเป็นผู้มีความห่วงใยมีจิตผูกพันอยู่ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในวัดนั้น ​ ที่อยู่ย่อมเป็นเครื่องกังวลเฉพาะแก่ภิกษุนั้น ​ หาเป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุอื่นนอกนี้ก็หาไม่ ​ ในประการที่ที่อยู่ไม่เป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุนี้นั้น ​ มีเรื่องตัวอย่างดังต่อไปนี้ – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 142)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องภิกษุ ​ 2  รูป'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ มีกุลบุตรอยู่ ​ 2  คน ​ ได้พากันออกจากเมืองอนุราธปุระไปโดยลำดับ ​ แล้วพากันไปบวชอยู่ ​ ณ  วัดถูปาราม ​ ในภิกษุ ​ 2  รูปนั้น ​ รูปหนึ่งท่องมาติกาทั้ง ​ 2  ได้อย่างคล่องแคล่ว ​ ครั้นพรรษาครบ 5  ปวารณาออกพรรษาแล้ว ​ ไปอยู่ ​ ณ  วัดป่าชื่อปาจีนขัณฑราชี ​ (อยู่ที่ราวป่าระหว่างหุบเขาด้านทิศตะวันออก) ​ อีกรูปหนึ่งอยู่ที่วัดถูปารามนั่นเอง ​ ภิกษุรูปที่อยู่วัดป่าปาจีนขัณฑราชีนั้น ​ อยู่ ณ ที่นั้นนานจนเป็นพระเถระ ​ จึงคิดขึ้นมาได้ว่า ​ "​สถานที่นี้เหมาะสำหรับที่จะหลีกเร้นอยู่ ​ ถ้ากระไร ​ เราจะบอกสถานที่นี้แก่พระสหายด้วย" ​ เธอได้ออกจากวัดป่าปาจีนขัณฑราชีนั้น ​ ได้ไปถึงวัดถูปารามโดยลำดับ 
- 
-ส่วนพระเถระผู้บวชร่วมพรรษากัน ​ ครั้นได้เป็นพระเถระอาคันตุกะกำลังเดินเข้ามา ​ จึงรีบลุกขึ้นไปทำการปฏิสันถาร ช่วยรับบาตรและจีวรทำอาคันตุกวัตรด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ​ พระเถระผู้อาคันตุกะ ​ ครั้นเข้าไปอยู่ในเสนาสนะแล้ว ​ จึงคิดในใจว่า ​ "​บัดนี้พระสหายของเราคงจักส่งเนยใส, ​ น้ำอ้อยหรือเครื่องดื่มมาให้เป็นแน่ ​ เพราะเขาอยู่ในเมืองนี้มานานแล้ว" ​ เมื่อพระอาคันตุเถระไม่ได้อะไรในตอนกลางคืนตามที่คิด ​ ตกมาถึงตอนเช้าจึงคิดอีกว่า ​ "​บัดนี้พระสหายของเราคงจักส่งข้าวต้มและของเคี้ยวที่ได้รับจากอุปัฏฐากทั้งหลายมาให้" ​ แต่แล้วก็มิได้เห็นสิ่งของนั้น ​ จึงคิดว่า ​ "​ชะรอยจะไม่มีคนมาส่ง ​ เขาคงจักถวายแก่ภิกษุผู้เข้าไปรับเองกระมัง" ​ จึงได้เข้าไปในบ้านพร้อมกับพระสหายนั้นแต่เช้าทีเดียว 
- 
-พระเถระทั้ง 2  นั้นพากันไปบิณฑบาตที่ถนนสายหนึ่งได้ข้าวต้มประมาณหนึ่งกระบวย ​ แล้วพากันไปนั่งดื่มข้าวต้มที่โรงฉัน ​ ขณะนั้น ​ พระอาคันตุกเถระคิดว่า ​ "​ชะรอยข้าวต้มที่เขาถวายประจำจะไม่มี ​ บัดนี้ ​ มนุษย์ทั้งหลายคงจักถวายข้าวสวยอย่างประณีตในเวลาอาหาร" ​ แต่แล้วก็ผิดหวัง ​ แม้ในเวลาอาหารพระอาคันตุกเถระก็ฉันอาหารที่ไปบิณฑบาตได้มาเท่านั้น ​ จึงถามพระเถระผู้สหายว่า ​ "​สหาย ​ คุณเลี้ยงชีวิตมาตลอดกาลด้วยทำนองนี้หรือ ?" ​ พระเถระเจ้าถิ่นตอบว่า ​ "​ใช่แล้วสหาย" ​ พระอาคันตุกเถระจึงพูดชักชวนว่า ​ "​สหาย วัดป่าปาจีนขัณฑราชีผาสุขสบายมาก ​ เรามาไปกันที่โน้นเถอะ"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 143)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระเถระเจ้าถิ่นออกจากเมืองทางประตูด้านทิศทักษิณตรงไปตามทางที่จะไปยังบ้านนายช่างหม้อ ​ ฝ่ายพระอาคันตุกเถระจึงถามว่า ​ "​สหาย ​ คุณไปทางนี้ทำไม" ​ พระเถระเจ้าถิ่นตอบว่า ​ "​ก็คุณได้กล่าวสรรเสริญวัดป่าปาจีนขัณฑราชีนักมิใช่หรือ ?" ​ พระอาคันตุกเถระย้อนถามว่า "​จริงละสหาย ​ แต่ว่าบริขารที่เหลือเฟือของคุณในที่ที่คุณอยู่มานานถึงเพียงนี้ ไม่มีอะไรบ้างดอกหรือ" ​ พระเถระเจ้าถิ่นตอบว่า ​ "​มีซิคุณ ​ คือเตียงตั่งอันเป็นของสงฆ์ ​ แต่ของนั้นผมก็ได้เก็บงำเรียบร้อยแล้ว ​ สิ่งอื่นไม่มีอะไร" ​ พระอาคันตุกเถระพูดว่า ​ "​สหาย ​ ไม้เท้า ​ ทะนานน้ำมัน ​ รองเท้า ​ และถูงย่ามของผมยังอยู่ที่วัดโน้น" ​ พระเถระเจ้าถิ่นถามขึ้นอย่างแปลกใจว่า ​ "​เออ ! คุณมาอยู่เพียงวันเดียวยังเก็บสิ่งของไว้ได้ถึงเท่านี้หรือ ?" 
- 
-ส่วนพระอาคันตุกเถระตอบตามตรงว่า ​ "​ใช่แล้วคุณ" ​ ดังนี้แล้ว ​ เกิดมีจิตเลื่อมใส ​ ในพระเถระเจ้าถิ่นเป็นอย่างมาก ​ จึงไหว้พระเถระพลางกล่าวสรรเสริญว่า ​ "​สหาย ​ พระอย่างคุณนี้ย่อมมีที่อยู่เหมือนกับวัดป่าในที่ทั่วไป ​ วัดถูปารามเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 4   ​พระองค์ ​ คุณย่อมได้การฟังธรรมอันเป็นที่สัปปายะที่โลหปราสาท ​ ได้เห็นพระมหาเจดีย์ ​ และได้เห็นพระเถระ ​ กาลนี้ย่อมเป็นไปอยู่เหมือนกับสมัยพุทธกาล ​ ขอให้คุณจงอยู่ ​ ณ  ที่วัดถูปารามนี้แหละ" ​ ครั้นแล้วพอถึงวันที่ 2 พระอาคันตุกเถระถือเอาบาตรและจีวรกลับไปยังวัดป่าปาจีนขัณฑราชีแต่ลำพังตนผู้เดียว ​ ฉะนี้ 
- 
-ที่อยู่ย่อมไม่เป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุผู้มีจิตใจไม่ติดข้องเช่นนี้ ​ เหมือนอย่างพระเถระนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​2. ​ อธิบายกุลปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ ตระกูล ​ หมายเอาตระกูลญาติหรือตระกูลอุปัฏฐาก ก็แหละ แม้ตระกูลอุปัฏฐากย่อมเป็นเครื่องกังวล ​ แก่ภิกษุบางรูปซึ่งชอบอยู่อย่างคลุกคลีโดยนัยมีอาทิว่า ​ เมื่อตระกูลอุปัฏฐากมีความสุข ​ ภิกษุก็พลอยมีความสุขด้วย ​ ภิกษุผู้ชอบอยู่อย่างคลุกคลีนั้น ​ เมื่อเว้นจากญาติโยมในตระกูลแล้ว ​ แม้เพียงวัดใกล้ ๆก็ไม่ยอมไปฟังธรรม ​ แต่ภิกษุบางรูปแม้มารดาบิดาก็ไม่เป็นเครื่องกังวล ​ ตัวอย่างเช่น ​ ภิกษุหนุ่มหลานของพระเถระผู้อยู่ที่วัดโกรัณฑกวิหาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 144)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องภิกษุหนุ่ม'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้ไปยังโรหณชนบทเพื่อประสงค์จะท่องจำพระบาลี ​ ฝ่ายอุบาสิกาผู้เป็นพี่สาวของพระเถระซึ่งเป็นมารดาของเธอ ​ มักถามพระเถระถึงความเป็นไปของเธออยู่เสมอนับแต่เวลาที่เธอได้จากไป ​ พระเถระจึงคิดอยู่ว่า ​ จักไปพาเอาภิกษุหนุ่มมาสักวันหนึ่ง ​ แล้วก็ได้มุ่งหน้าไปสู่โรหณชนบท ​ ฝ่ายภิกษุหนุ่มก็บังเอิญคิดขึ้นว่า ​ "​เราอยู่ ​ ณ  ที่นี้มานานแล้ว ​ บัดนี้เราจักไปกราบเยี่ยมพระอุปัชฌาย์และทราบข่าวคราวของโยมอุบาสิกาแล้วจึงจักกลับมา" ​ แล้วก็ออกเดินทางจากโรหณชนบท ​ พอดีพระเถระหลวงลุงกับพระหนุ่มหลานชายทั้งสองได้มาพบกันเข้าที่ตรงฝั่งแม่น้ำ ​ พระหนุ่มหลานชายได้ทำอุปัชฌายวัตรแก่พระเถระหลวงลุง ​ ณ  โคนไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ​ พระเถระถามว่า ​ "​คุณจะไปไหน ?" ​ เธอจึงบอกความประสงค์พระเถระให้ทราบทุกประการ ​ พระเถระพูดกับพระหลานชายว่า ​ "​คุณทำถูกแล้ว ​ แม้อุบาสิกาโยมของคุณก็ถามถึงคุณอยู่เสมอ ๆ  แม้ฉันเองก็มาเพื่อประสงค์เช่นนี้เหมือนกัน ​ นิมนต์คุณไปเถิด ​ ส่วนฉัน ​ พรรษานี้จะจำพรรษา ​ ณ  วัดใดวัดหนึ่งในตำบลนี้" ​ แล้วก็อนุญาติให้ภิกษุหนุ่มนั้นไป ​ ภิกษุหนุ่มได้ไปถึงวัดโกรัณฑกวิหารในวันเข้าพรรษาพอดี ​ และบังเอิญเสนาสนะที่โยมบิดาให้สร้างขึ้นไว้นั่นแลถึงแก่เธอแล้ว 
- 
-ถัดมาในวันที่สอง ​ โยมบิดาของภิกษุหนุ่มนั้นได้มาถามสงฆ์ว่า ​ "​ท่านครับ ​ เสนาสนะของพวกกระผมได้แก่ภิกษุอะไร ?" ​ ครั้นทราบว่าได้แก่ภิกษุหนุ่มผู้อาคันตุกะ ​ จึงเข้าไปพบภิกษุนั้น ​ นมัสการแล้ว บอกข้อปฏิบัติว่า ​ "​คุณครับ ​ สำหรับภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในเสนาสนะของพวกกระผมย่อมมีธรรมเนียมที่จะต้องปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง" ​ ภิกษุหนุ่มถามว่า ​ "​ธรรมเนียมที่จะต้องปฏิบัตินั้นอย่างไร ​ อุบาสก" ​ โยมบิดาตอบว่า ​ "​ภิกษุที่อยู่จำพรรษาในเสนาสนะของพวกกระผมนั้น ​ ต้องไปรับบิณฑบาตที่เรือนของพวกกระผมนั่นเทียว ​ ตลอดไตรมาสสามเดือน" ​ ภิกษุหนุ่มรับปฏิบัติตามด้วยอาการที่นั่งเฉย ​ ฝ่ายอุบาสกกลับไปถึงเรือนแล้วได้แนะนำแก่ภิริยาว่า ​ "​พระผู้เป็นเจ้าอาคันตุกะรูปหนึ่งได้เข้าจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะของเรา ​ เราจะต้องอุปัฏฐากพระผู้เป็นเจ้าโดยความเคารพ" ​ อุบาสิการับคำว่า ​ สาธุ ​ แล้วก็ได้รับหน้าที่ทำของควรเคี้ยวของควรบริโภคล้วนแต่อย่างปราณีต ​ แม้ภิกษุหนุ่มก็ได้ไปฉันที่เรือนของโยมในเวลาภัตตาหารแต่ไม่มีใครจำเธอได้เลย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 145)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุหนุ่มได้ไปฉันบิณฑบาตที่เรือนของโยมนั้นครบไตรมาสตามสัญญา ​ ครั้นออกพรรษาแล้วจึงบอกลาว่า ​ "​อาตมาจะลาไปละ ​ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย" ​ ขณะนั้นหมู่ญาติของเธอได้ขอร้องว่า ​ "​ท่านครับ ​ พรุ่งนี้จึงค่อยไปเถิด" ​ ในวันที่สองได้นิมนต์เธอให้ฉัน ​ ณ  ที่เรือนนั่นเทียว ​ ครั้นแล้วได้บรรจุน้ำมันใส่ให้เต็มขวดถวาย ​ น้ำอ้อยงบหนึ่ง ​ และถวายผ้ายาว 9  กำมือเสร็จแล้วจึงบอกว่า ​ "​นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าไปเถิด ​ ขอรับ" ​ ภิกษุหนุ่มทำการอนุโมทนาทาน ​ แล้วได้มุ่งหน้าไปสู่โรหณชนบทต่อไป 
- 
-ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ของเธอ ​ ปวารณาออกพรรษาแล้วก็ได้เดินสวนทางมา ​ บังเอิญได้พบกับพระภิกษุหนุ่มนั้น ​ ณ  ที่ที่ได้พบกันครั้งก่อนนั้นพอดี ​ ภิกษุหนุ่มได้ทำอุปัชฌายวัตรแด่พระเถระ ​ ณ  ที่โคนไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ​ ทันใดนั้น ​ พระเถระได้ถามเธอว่า ​ "​พ่อหน้างามคุณได้พบโยมอุบาสิกาแล้วหรือ" ​ ภิกษุหนุ่มตอบว่า ​ "​ขอรับผม ​ กระผมได้พบแล้ว" ​ ครั้นได้บอกความเป็นไปถวายพระเถระให้ทราบทุกประการแล้ว ​ ได้เอาน้ำมันนั้นมาทาเท้าถวายพระเถระ ​ ทำน้ำปานะด้วยน้ำอ้อยงบถวาย ​   แม้ผ้าผืน ​ 9  กำมือนั้น ​ ก็ได้ถวายแก่พระเถระนั่นเทียว ​ นมัสการพระเถระแล้วบอกว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ โรหณชนบทเท่านั้นเป็นที่สัปปายะสำหรับกระผม" ​ ฉะนั้น ​ แล้วจึงได้กราบลาไป ​ ฝ่ายพระเถระครั้นมาถึงวัดโกรัณฑกวิหารแล้วในวันที่สองก็ได้เข้าไปบ้านโกรัณฑกะ 
- 
-ฝ่ายอุบาสิกา ​ ตั้งแต่ปวารณาแล้วมาได้ยืนคอยดูทางอยู่เสมอด้วยคิดว่า ​ "​พระเถระน้องชายของเราคงจะพาบุตรของเรามาเดี๋ยวนี้" ​ ครั้นได้เห็นพระเถระมาแต่รูปเดียวเท่านั้นก็สำคัญไปว่า ​ "​บุตรของเราชะรอยจะถึงแก่มรณภาพเสียแล้ว ​ พระเถระนี้จึงได้มาแต่ลำพังรูปเดียว" ​ แล้วจึงได้ร้องไห้รำพันต่าง ๆ  ล้มฟุบลงที่แทบเท้าของพระเถระ ​ พระเถระรู้ทันทีว่า ​ "​พระหนุ่มไม่ยอมแสดงตนให้ใคร ๆ ทราบ แล้วหลบไปเสีย ​ เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยแน่นอน" ​ จึงปลอบโยนอุบาสิกาพี่สาวให้เบาใจ ​ แล้วเล่าเรื่องความเป็นไปให้ทราบหมดทุกอย่าง ​ พลางล้วงเอาผ้าผืนที่ภิกษุหนุ่มถวายนั้นออกจากถลกบาตรแสดงให้ดูเป็นพยาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 146)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อุบาสิกาเกิดความเลื่อมใสในบุตร ​ ผินหน้าไปทางทิศที่บุตรอยู่แล้วนอนพังพาบลง ​ นมัสการพลางกล่าวสรรเสริญว่า ​ "​พระผู้มีพระภาคเจ้าชะรอยจะทรงทำภิกษุผู้มีปฏิปทาเหมือนบุตรของเรานี้เองให้เป็นพยานทางกาย ​ แล้วจึงได้ทรงแสดงปฏิปทาในรถวินีตสูตร, ​ ปฏิปทาในนาลกสูตร, ​ ปฏิปทาในตุวัฏฏกสูตร, ​ และมหาอริยวังสปฏิปทา ​ อันประกาศถึงความสันโดษในปัจจัยสี่และความเป็นผู้ยินดีในการเจริญภาวนา ​ บุตรของเราแม้มาฉันในเรือนของมารดาผู้บังเกิดเกล้าแท้ ๆ  ถึงสามเดือน ​ ไม่ปริปากพูดเลยว่า ​ '​อาตมาเป็นบุตร, ​ ท่านเป็นมารดา' ​ บุตรของเราเป็นมนุษย์น่าอัศจรรย์จริง ๆ  ฉะนี้"​ 
- 
-ภิกษุผู้มีปฏิปทาเห็นปานฉะนี้ ​ ไม่ต้องกล่าวถึงตระกูลอุปัฏฐากอื่นละที่จะมาเป็นเครื่องกังวล ​ แม้แต่มารดาบิดาก็ไม่ต้องเป็นเครื่องกังวลเสียแล้ว ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​3. ​ อธิบายลาภปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ ลาภ ​ หมายเอาปัจจัย 4  ปัจจัย 4  เหล่านั้นเป็นเครื่องกังวลอย่างไร ? ธรรมดาภิกษุผู้มีบุญ ​ ไป ​ ณ  ที่ไหน ๆ  ย่อมมีพวกมนุษย์พากันถวายปัจจัยซึ่งมีเครื่องบริวารเป็นอันมาก ​ ภิกษุผู้มีบุญเช่นนั้น ​ มัวแต่อนุโมทนาแสดงธรรมโปรดมนุษย์เหล่านั้น ​ ย่อมไม่ได้โอกาสเพื่อที่จะบำเพ็ญสมณธรรม ​ ตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงปฐมยาม ​ (06.00 น.  ถึง ​ 22.00 น.)  ไม่ขาดจากการเกี่ยวข้องกับมนุษย์เลย ​ พอถึงเช้าวันใหม่ ​ พวกภิกษุผู้ถือการบิณฑบาตที่มักมากด้วยปัจจัยก็มาบอกอีกว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ อุบาสกคนโน้น ​ อุบาสิกาคนโน้น ​ อำมาตย์คนโน้น ​ ธิดาของอำมาตย์คนโน้น ​ มีความประสงค์ที่จะได้เห็นท่าน" ​ ภิกษุผู้มีบุญนั้นพูดว่า ​ "​นี่แน่คุณ ​ ช่วยรับบาตรและจีวรไว้ด้วย" ​ แล้วก็ตระเตรียมที่จะไปอีก ​ ฉะนั้น ​ จึงเป็นผู้ขวนขวาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 147)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในอันที่จะอนุเคราะห์อุบาสกอุบาสิกาเป็นต้นตลอดกาลเป็นนิจ ​ ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุผู้มีบุญนั้นอย่างนี้ ​ ภิกษุผู้มีบุญพึงปลีกตนจากหมู่แล้วไปอยู่ตามลำพังผู้เดียว ​ ณ  ที่ที่คนทั้งหลายไม่รู้จัก ​ จึงจักเป็นอันตัดเครื่องกังวลนั้นได้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​4. ​ อธิบายคณปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ คณะ ​ ได้แก่คณะที่ศึกษาพระสูตรหรือคณะที่ศึกษาพระอภิธรรม ​ ภิกษุใดมัวแต่สาละวนสอนบาลีหรืออรรถกถาอยู่แก่คณะนั้น ​ ย่อมไม่ได้โอกาสเพื่อจะบำเพ็ญสมณธรรม ​ คณะจึงนับเป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุนั้น ​ พึงตัดเครื่องกังวลนั้นเสีย ​ ดังนี้ ​ ถ้าคัมภีร์ภิกษุเหล่านั้น ​ ท่องจำไปได้แล้วเป็นส่วนมาก ​ ที่ยังเหลือเล็กน้อย ​ ก็พึงสอนคัมภีร์นั้นให้จบเสียก่อนแล้วจึงเข้าป่า ​ บำเพ็ญสมณธรรม ​ แต่ถ้าที่ท่องจำไปแล้วเพียงเล็กน้อย ​ ที่เหลืออยู่มาก ​ พึงเข้าไปหาอาจารย์ผู้สอนคณะรูปอื่น ​ ภายในกำหนดโยชน์หนึ่ง ​ อย่าไปเกินกว่าโยชน์หนึ่ง ​ แล้วขอร้องว่า ​ "​ขอท่านได้กรุณาสงเคราะห์ภิกษุนักศึกษาเหล่านั้นด้วยบาลีเป็นต้นด้วยเถิด" ​ เมื่อไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ​ พึงพูดว่า ​ "​เธอทั้งหลาย ​ ฉันมีกิจอย่างหนึ่งอยู่ ​ ขอให้พวกเธอจงพากันไปสู่ที่อันผาสุขตามสะดวกเถิด" ​ ดังนี้แล้วพึงปลีกตนจากคณะไปบำเพ็ญสมณธรรมส่วนตนต่อไป 
- 
-'''​5. ​ อธิบายกัมมปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ กัมมะ ​ หมายเอานวกรรมคือการก่อสร้าง ​ ธรรมดาภิกษุผู้ทำการก่อสร้างนั้น ​ จำต้องทราบว่าสิ่งใดที่นายช่างเป็นต้นได้ทำ ​ สิ่งใดที่ยังไม่ได้ทำ ​ จำต้องพยายามขวนขวายในงานส่วนที่ทำเสร็จแล้วและที่ยังไม่เสร็จ ​ ดังนั้น ​ นวกรรมจึงเป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุผู้นวกัมมิกนั้นตลอดไป ​ แม้ภิกษุผู้นวกัมมิกนั้นพึงตัดเครื่องกังวลดังนี้ ​ คือ ​ ถ้านวกรรมนั้นยังเหลือน้อยพึงทำเสียให้เสร็จ ​ ถ้ายังเหลืออยู่มาก ​ หากเป็นนวกรรมของสงฆ์ ​ ก็จงมอบหมายให้แก่สงฆ์ ​ หรือแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีหน้าที่รับภาระแทนสงฆ์ ​ ถ้าเป็นของของตนก็จงมอบให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้รับภาระของตน ​ เมื่อไม่ได้ภิกษุเช่นนั้น ​ ก็จงตัดใจสละแก่สงฆ์ ​ แล้วพึงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 148)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​6. ​ อธิบายอัทธานปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ อัทธานะ ​ ได้แก่การเดินทาง ​ จริงอยู่ ​ ภิกษุใดมีเด็ก ๆ  ที่จะบรรพชาอยู่ในที่บางแห่งก็ดี ​ มีปัจจัยลาภบางอย่างที่ควรจะได้ก็ดี ​ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นไม่ได้ทำกิจนั้นให้สำเร็จหรือยังไม่ได้ปัจจัยลาภนั้นมา ​ ก็ไม่สามารถที่จะทำจิตให้หยุดคิดได้ ​ แม้ถึงจะหลบเข้าป่าไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ก็ตาม ​ จิตคิดที่จะไปเพื่อทำกิจนั้นเป็นสิ่งที่จะบรรเทาโดยยาก ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงไปทำกิจนั้นให้สำเร็จเสร็จสิ้นก่อน ​ แล้วจึงพยายามขวนขวายในอันที่จะบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ​ ได้ยินว่า ​ งานบรรพชาเด็ก ๆ  ในตระกูลที่ประเทศลังกา ​ เป็นเช่นกับงาน ​ อาวาหมงคลและวิวาหมงคล ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงไม่สามารถที่จะเลื่อนวันที่กำหนดไว้แล้วนั้นได้ ​ พึงตัดเครื่องกังวลด้วยการช่วยสงเคราะห์ทำกิจนั้นให้เสร็จสิ้นไป 
- 
-'''​7. ​ อธิบายญาติปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ ญาติ ​ ได้แก่บุคคลมีอาทิอย่างนี้คือ ​ ญาติในวัด ​ ได้แก่ ​ พระอาจารย์,​ พระอุปัชฌาย์, ​ สัทธิวิหาริก, ​ อันเตวาสิก ​ และภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ร่วมอาจารย์กัน ​ ญาติในบ้าน ​ ได้แก่โยมมารดา, ​ โยมบิดา, ​ และพี่น้องชายพี่น้องหญิง ​ ญาติเหล่านั้นที่เจ็บไข้ได้ป่วย ​ ย่อมเป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงตัดเครื่องกังวลนั้นด้วยการปฏิบัติบำรุงทำญาติเหล่านั้นให้หายเป็นปกติ 
- 
-ในบรรดาญาติเหล่านั้น ​ สำหรับพระอุปัชฌาย์อาพาธ ​ ถ้าท่านเป็นโรคชนิดที่ไม่หายเร็ว ​ สัทธิวิหาริกพึงอยู่ปรนนิบัติท่านแม้ถึงตลอดชีวิต ​ บรรพชาจารย์, ​ อุปสัมปทาจารย์, ​ สัทธิวิหาริก, ​ อันเตวาสิกผู้ที่ตนเป็นกรรมวาจาอุปสมบทและบรรพชาให้ ​ และภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์กัน ​ ก็พึงปฏิบัติตลอดชีวิตเช่นกัน ​ ส่วนนิสสยาจารย์, ​ อุทเทสาจารย์, ​ นิสสยันเตวาสิก, ​ อุทเทสันเตวาสิก ​ และภิกษุผู้ร่วมอาจารย์กัน ​ พึงอยู่ปรนนิบัติตลอดเวลาที่นิสัยยังไม่ขาดและอุทเทศคือการท่องจำบาลียังไม่เสร็จสิ้น ​ แต่สำหรับผู้มีความปรารถนาอยู่ ​ แม้จะพึงอยู่ปรนนิบัติให้เลยกว่านั้นไป ​ ก็ได้เหมือนกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 149)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในโยมหญิงโยมชาย ​ พึงอยู่ปรนนิบัติเช่นเดียวกับพระอุปัชฌาย์ ​ แม้ว่าท่านเหล่านั้น ​ จะดำรงอยู่ในราชสมบัติและไม่ต้องการซึ่งการปรนนิบัติบำรุงจากบุตร ​ ก็ยังต้องทำอยู่นั่นเอง ​ ถ้าเภสัชของท่านไม่มี ​ พึงให้เภสัชของตนเอง ​ แม้ของตนเองก็ไม่มี ​ พึงเสาะหาด้วยภิกษาจริยาวัตรแล้วให้แก่ท่าน ​ ส่วนพี่ชายน้องชายพี่สาวน้องสาว ​ พึงประกอบเภสัชอันเป็นของของเขาเท่านั้นให้ ​ ถ้าของของเขาไม่มี ​ ก็พึงให้ขอยืมของของตนไปก่อน ​ ภายหลังเมื่อจะได้ก็พึงรับคืน ​ เมื่อจะไม่ได้ก็ไม่ต้องทวง ​ สำหรับสามีของพี่สาวน้องสาวที่ไม่ได้เป็นญาติมาโดยกำเนิดจะประกอบเภสัชให้ก็ดี ​ จะให้เภสัชก็ดี ​ ไม่สมควรทั้งนั้น ​ แต่พึงมอบให้พี่สาวหรือน้องสาว ​ ไปพร้อมกับสั่งว่า ​ จงให้แก่สามีของเธอ ​ แม้ในกรณีของพี่ชายและน้องชายที่มิได้เป็นญาติ ​ ก็พึงปฏิบัติทำนองเดียวกันนี้ ​ ส่วนบุตรธิดาของพี่ชายน้องชายพี่หญิงน้องหญิงนั้น ​ นับเป็นญาติของภิกษุนี้นั่นเทียว ​ เพราะฉะนั้น ​ การที่จะประกอบยาให้เขาเหล่านั้น ​ ย่อมเป็นสิ่งสมควร ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​8. ​ อธิบายอาพาธปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ อาพาธ ​ ได้แก่โรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ โรคนั้นเมื่อมันเบียดเบียนอยู่ย่อมเป็นเครื่องกังวล ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงตัดด้วยการประกอบเภสัชรักษา ​ แต่ถ้าแม้เมื่อประกอบเภสัชรักษาอยู่ชั่วกาลหนึ่งแล้วมันยังไม่หาย ​ แต่นั้นพึงตำหนิอัตภาพว่า ​ "​ฉันไม่ใช่ทาสของเธอ ​ ไม่ใช่ผู้เลี้ยงดูเธอ ​ เมื่อฉันขืนเลี้ยงดูเธอต่อไป ​ ก็จะประสบทุกข์ในสังสารวัฏอันไม่ทราบเบื้องต้นและที่สุดเท่านั้น" ​ ฉะนี้แล้วพึงปลีกตนไปบำเพ็ญสมณธรรมเถิด 
- 
-'''​9. ​ อธิบายคันถปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ คันถะ ​ หมายเอาการรักษาปริยัติธรรม ​ การรักษาปริยัติธรรมนั้นย่อม ​ เป็นเครื่องกังวลแก่ภิกษุผู้ขวนขวายด้วยการสาธยายและการทรงจำเป็นต้น ​ แต่ย่อมไม่เป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุผู้ไม่ขวนขวายนอกนี้ ​ ในกรณีที่การรักษาปริยัติธรรมไม่เป็นเครื่องกังวลนั้น ​ มีเรื่องตัวอย่างดังต่อไปนี้ – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 150)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องพระมัชฌิมภาณกเทวเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ พระมัชฌิภาณกเทวเถระนั้น ​ ไปยังสำนักของพระมลยวาสิเทวเถระแล้วขอพระกัมมัฏฐาน ​ พระมลยวาสิเทวเถระได้สอบถามว่า ​ "​อาวุโส ​ ในทางพระปริยัติธรรมนั้น ​ คุณได้ศึกษามาอย่างไร ?" ​ พระมัชฌิมภาณกเทวเถระตอบว่า ​ "​กระผมชำนาญคัมภีร์มัชฌิมนิกายขอรับ" ​ พระมลยวาสิเทวเถระชี้แจงว่า ​ "​อาวุโส ​ ชื่อว่าคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้นเป็นสิ่งยากที่จะรักษาอยู่ ​ เมื่อขณะสาธยายมูลปัณณาสกะอยู่นั้น ​ มัชฌิมปัณณาสกะย่อมแทรกมาโดยพลั้งเผลอ ​ เพราะสุตตบทและวาระทั้งหลายคล้าย ๆ กัน ​ เมื่อขณะสาธยายมัชฌิมปัณณาสกะอยู่นั้น ​ อุปริปัณณาสกะย่อมหลงแทรกมา ​ คุณจักมีโอกาสทำกัมมัฏฐานที่ไหน ​ พระมัชฌิมภาณกเทวเถระกล่าวรับรองว่า ​ "​ไม่เป็นไร ​ ขอรับ ​ กระผมได้กัมมัฏฐานในสำนักของท่านไปแล้ว ​ จักไม่ดูพระคัมภีร์อีกต่อไป" ​ หลังจากรับเอาพระกัมมัฏฐานไปแล้ว ​ พระเถระมิได้ทำการสาธยายเป็นเวลาถึง 19 พรรษา ​ ครั้นต่อมาพรรษาที่ 20 ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตท่านได้พูดกับภิกษุที่มาหาเพื่อต้องการให้สาธยายว่า ​ "​อาวุโสทั้งหลาย ​ ผมไม่ได้ดูพระปริยัติมาถึง 20 พรรษาแล้ว ​ ก็แต่ว่า ​ ผมได้ทำการสั่งสอนมาแล้ว ​ ท่านทั้งหลายลองเริ่มสาธยาย ณ ตรงนี้" ​ ครั้นแล้วพระเถระก็มิได้มีความสงสัยในพยัญชนะเพียงตัวเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ 
- 
-'''​เรื่องพระนาคเถระ'''​ 
- 
-แม้พระนาคเถระผู้อาศัยอยู่วัดป่ากรุฬิยคีรี ​ ก็ได้ทอดทิ้งพระปริยัติธรรมไปบำเพ็ญสมณธรรมถึง 18  พรรษา ​ ครั้นต่อมาท่านได้แสดงคัมภีร์วัตถุกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้นำไปเทียบเคียงดูกับที่พวกเถระผู้คามวาสีแสดง ​ ก็ปรากฏว่า ​  ​ที่มาโดยผิดลำดับนั้น ​ แม้เพียงปัญหาข้อเดียวก็มิได้มี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 151)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องพระจูฬาภยเถระ'''​ 
- 
-แม้ที่วัดมหาวิหาร ​ ก็มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อจูฬาภยะ ​ ทรงจำพระไตรปิฏก ​ แต่ไม่ได้ทรงจำคัมภีร์อรรถกถาเลย ​ แล้วได้ให้ตีกลองสุวรรณเภรีประกาศว่า ​ "​ข้าพเจ้าจักแสดงพระไตรปิฏก ​ ณ  สนามแห่งพุทธบริษัทผู้ทรงจำนิกาย 5" ​ ภิกษุสงฆ์ได้กล่าวเตือนว่า ​ "​พระบาลีของพวกอาจารย์ที่ไหนกัน ​ คุณจงแสดงเฉพาะบาลีที่ท่องจำมาจากสำนักอาจารย์ของตนเท่านั้น ​ ที่จะแสดงนอกลู่นอกทางไปนั้น ​ พวกเราจะไม่ยอมเป็นอันขาด"​ 
- 
-ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ ​ เมื่อพระจูฬาภยเถระนั้นมายังที่อุปัฏฐาก ​ จึงได้สอบถามว่า ​ "​อาวุโส ​ เธอให้ตีกลองประกาศหรือ ?" ​ พระจูฬาภยเถระตอบว่า ​ "​ใช่แล้ว ​ ขอรับ" ​ พระอุปัชฌาย์ซักว่า ​ "​เธอให้ตีกลองประกาศทำไม ?" ​ พระจูฬาภยเถระตอบว่า ​ "​กระผมจักแสดงพระปริยัติธรรม ​ ขอรับ" ​ พระอุปัชฌาย์จึงลองตั้งปัญหาถามว่า ​ "​นี่แน่อาวุโส ​ อภยะ ​ ธรรมบทนี้อาจารย์ทั้งหลายอธิบายอย่างไร ?" ​ พระจูฬาภยเถระตอบว่า ​ "​อธิบายอย่างนี้ขอรับ" ​ พระอุปัชฌาย์ค้านว่า ​ "​หึ ! หึ !" ​ พระจูฬาภยเถระได้ตอบโดยปริยายอื่น ๆ  อีกถึง 3  ครั้งว่า ​ "​อาจารย์ทั้งหลายอธิบายอย่างนี้ ๆ ขอรับ" ​ พระอุปัชฌาย์คัดค้านว่า ​ หึ ! หึ !  หมดทุกปริยาย ​ แล้วกล่าวแนะนำว่า ​ "​อาวุโส ​ อภยะ ​ ที่เธอตอบครั้งแรกนั้นถูกแล้ว ​ เป็นกถามรรคของอาจารย์ละ ​ แต่เพราะเหตุที่เธอไม่ได้ท่องจำต่อจากปากของอาจารย์ ​ เธอจึงไม่อาจตั้งหลักอยู่ได้ว่า ​ อาจารย์ทั้งหลายอธิบายอย่างนี้ ​ เธอจงไปเถิด ​ ไปท่องจำในสำนักของพระอาจารย์ทั้งหลายผู้ควรจะสอนเธอได้" ​ พระจูฬาภยเถระถามพระอุปัชฌาย์ว่า ​ "​กระผมควรจะไปท่องจำเอา ณ  ที่ไหนขอรับ" ​ พระอุปัชฌาย์ได้แนะนำว่า ​ "​พระเถระชื่อมหาธัมรักขิตะเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฏกได้อย่างครบถ้วน ​ อยู่ที่วัดตุลาธารปัพพตวิหาร ​ ในโรหณชนบท ​ ฝั่งแม่น้ำฟากโน้น ​ เธอจงไปยังสำนักของท่านนั้นเถิด"​ 
- 
-พระจูฬาภยเถระรับคำพระอุปัชฌาย์ว่า ​ "​สาธุขอรับ" ​ กราบลาพระอุปัชฌาย์แล้วพร้อมด้วยภิกษุ ​ 500  ได้ตรงไปยังสำนักของพระธรรมรักขิตเถระ ​ ครั้นไปถึงกราบนมัสการแล้วก็ได้นั่งคอยโอกาสอยู่ ​ ขณะนั้น ​ พระเถระจึงทักขึ้นว่า ​ "​เธอมาทำไม" ​ พระจูฬาภยเถระตอบว่า ​ "​กระผมมาเพื่อฟังธรรม ​ ขอรับ" ​ พระเถระให้โอกาสว่า ​ "​อาวุโส ​ อภยะ ​ นักศึกษาทั้งหลายพากันสอบถามผมแต่ในคัมภีร์ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายตลอดกาล ​ ส่วนคัมภีร์ที่เหลือผมไม่ได้ดูมาเป็นเวลาประมาณ 30  พรรษาแล้ว ​ แต่ไม่เป็นไร ​ คุณจงช่วยสอนธรรมในสำนักของผมในเวลากลางคืนก็แล้วกัน ​ ส่วนเวลากลางวันผมจักแสดงธรรมให้คุณฟัง ​ พระอภยเถระรับคำพระเถระว่า ​ "​สาธุ ​ ขอรับ" ​ แล้วได้ปฏิบัติตามที่ได้ให้ปฏิญญานั้นทุกประการ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 152)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชาวบ้านทั้งหลายได้ให้สร้างมณฑป ​ (ปะรำ) ​ ขนาดใหญ่ขึ้นที่ตรงประตูบริเวณ ​ แล้วได้พากันมาฟังธรรมทุก ๆ วัน ​ ในเวลากลางคืนพระเถระก็ได้สอนธรรมเหมือนกัน ​ เมื่อพระธัมมรักขิตเถระแสดงธรรมอยู่ในเวลากลางวันนั้น ​ ครั้นทำให้การแสดงธรรมจบลงโดยลำดับแล้ว ​ จึงลงจากตั่งมานั่งบนเสื่อ ​ ณ  ที่ใกล้พระอภยเถระแล้วพูดว่า ​ "​อาวุโส ​ อภยะ ​ คุณจงสอนกัมมัฏฐานให้แก่ฉันด้วย" ​ พระอภยเถระจึงถามว่า ​ "​ท่านพูดอะไรขอรับ ​ กระผมฟังธรรมอยู่ในสำนักของท่านแท้ ๆ  มิใช่หรือ ?  จักให้กระผมสอนธรรมที่ท่านไม่ทราบอย่างไรได้"​ ลำดับนั้น ​ พระเถระได้พูดกับพระอภยเถระว่า ​ "​ชื่อว่า ​ ทางของผู้บรรลุถึงธรรมแล้วนี้ ​ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง" ​ ได้ยินว่า ​ เวลานั้นพระอภยเถระนั้นเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ ท่านจึงได้ให้พระกัมมัฏฐานแก่พระมหาธัมรักขิตเถระนั้น ​ ครั้นแล้วก็ได้กลับมาสอนธรรมประจำอยู่ที่โลหะปราสาท ​ ต่อมาท่านได้ทราบข่าวว่า ​ พระเถระปรินิพพานเสียแล้ว ​ ครั้นท่านได้ทราบข่าวดังนั้น ​ จึงบอกศิษย์ว่า ​ คุณช่วยหยิบจีวรมาให้ที ​ ท่านห่มจีวรอย่างเป็นปริมณฑลเพื่อแสดงคารวะแก่พระอาจารย์ ​ แล้วกล่าวสรรเสริญคุณของพระอาจารย์ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลายว่า ​ "​อาวุโสทั้งหลาย ​ พระอรหัตมรรคเป็นคุณสมควรแก่พระอาจารย์ของเรา ​ พระอาจารย์ของเราเป็นบุคคลที่ซื่อตรง ​ ด้วยไม่มีมารยาสาไถย ​ เป็นบุรุษอาชาไนย ​ พระอาจารย์ของเรานั้นท่านลงจากตั่งมานั่งบนเสื่อ ​ ณ  ที่ใกล้เราผู้เป็นธรรมมันเตวาสิกของท่านแล้วพูดว่า ​ "​คุณจงสอนพระกัมมัฏฐานให้แก่ฉัน" ​ ฉะนี้ ​ อาวุโสทั้งหลาย ​ พระอรหัตมรรคเป็นคุณอันสมควรแก่พระเถระโดยแท้"​ 
- 
-คันถะ ​ คือการรักษาปริยัติธรรม ​ ย่อมไม่เป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณสมบัติเห็นปานดังนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-(ผุ้ปรับสำนวน:​ อุคฺคห คือ การท่องจำ,​ ในที่นี้ พระเถระได้ท่องจำแต่พระไตรปิฎกแล้ว แต่ท่านไม่ได้ท่องจำอรรถกถาตามลำดับทั้งหมด คือ จำบ้าง ไม่จำบ้าง บางอย่างอาศัยความเข้าใจอธิบายเอา ซึ่งแม้จะอธิบายถูกต้อง แต่ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดหรือถูกตำหนิได้. คำว่า เรียน ในภาษาไทยปัจจุบันโดยมาก หมายถึง การอ่านและทำความเข้าใจ ซึ่งไม่ตรงกับคำว่า อุคฺคห ที่ใช้กันในพระไตรปิฎก อรรถกถา ที่ใช้ในความหมายว่า ท่องจำแล้วทำความเข้าใจขณะท่องจำ,​ ถ้าท่านเจอคำว่า เรียน ในตำราพุทธ ให้ท่านนึกถึงการบริกรรมท่องจำที่ละอักขระๆ พร้อมทั้งทำความเข้าใจในขณะที่ท่องจำด้วย,​ อย่าคิดเพียงว่า อ่านแล้วเข้าใจก็พอ เพราะความชำนาญต่างกันมาก ซึ่งมีผลต่อการปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธอย่างมากด้วย.) 
- 
-'''​10. ​ อธิบายอิทธิปลิโพธ'''​ 
- 
-คำว่า ​ อิทธิ ​ หมายเอาอิทธิฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน ​ ก็แหละ ​ อิทธิฤทธิ์ของปุถุชนนั้น ​ ย่อมเป็นสิ่งที่รักษาได้ยาก ​ เหมือนทารกที่ยังนอนหงาย ​ และเหมือนข้าวกล้าที่ยังอ่อน ​ ย่อมเสื่อมไปได้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ​ แต่ว่าอิทธิฤทธิ์ปุถุชนนั้นเป็นเครื่องกังวล ​ แก่วิปัสสนาเท่านั้น ​ หาเป็นเครื่องกังวลแก่สมาธิไม่ ​ เพราะต้องผ่านสมาธิมาแล้วจึงจะได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 153)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บรรลุถึงอิทธิฤทธิ์ ​ อธิบายว่า ​ อิทธิฤทธิ์นั้นเป็นเครื่องกังวลแก่วิปัสสนาสำหรับโยคีบุคคลผู้เป็นสมถยานิก ​ มิได้เป็นเครื่องกังวลสำหรับโยคีบุคคลผู้เป็นวิปัสสนายานิก ​ เพราะว่า ​ โดยมากโยคีบุคคลผู้ได้ฌานแล้วย่อมเป็นสมถยานิกทั้งนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีบุคคลผู้ต้องการวิปัสสนาจึงต้องตัดอิทธิปลิโพธ ​ ส่วนปลิโพธที่เหลืออีก ​ 9  อย่าง ​ โยคีบุคคลผู้ต้องการสมถะนอกนี้จำต้องตัด ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อรรถาธิบายความอย่างพิสดารในปลิโพธกถา ​ อันเป็นประการแรก ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-==กัมมัฏฐาน ​ 2  อย่าง== 
- 
-แหละในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้พระกัมมัฏฐาน ​ ฉะนี้ ​ มีอรรถาธิบายโดยพิสดารดังต่อไปนี้ – 
- 
-กัมมัฏฐานมี ​ 2  อย่างคือ ​ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ​ กัมมัฏฐานที่ปรารถนาเป็นเบื้องต้น ​ ในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานทั้งปวง ​ 1  ปาริหาริยกัมมัฏฐาน ​ กัมมัฏฐานที่จำต้องรักษาอยู่เป็นนิจ 1  ใน 2  อย่างนั้น ที่ชื่อว่า ​ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ​ ได้แก่ความมีเมตตาในหมู่ภิกษุเป็นต้น 1  กับมรณสติ ​ คือการระลึกถึงความตาย 1  ฝ่ายเกจิอาจารย์พวกหนึ่ง ​ หมายเอาอสุภสัญญา ​ คือความสำคัญเห็นในแง่ที่ไม่สวยไม่งาม 
- 
-อธิบายว่า ​ อันภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานนั้น ​ ชั้นต้นต้องกำหนดเสียก่อนแล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุซึ่งอยู่ในเขตว่า ​ ภิกษุที่อยู่ในวัดนี้ทั้งหมด ​ จงมีความสุขเถิด ​ อย่าได้เบียดเบียนกันเลย ​ แต่นั้น ​ พึงเจริญเมตตาไปในเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในเขต ​ แต่นั้น ​ พึงเจริญไปในชนผู้เป็นใหญ่ในโคจรคาม ​ คือหมู่บ้านที่ไปรับบิณฑบาต ​ แต่นั้น ​ พึงเจริญไปในสัตว์ทุกชนิด ​ นับแต่มนุษย์ทั้งหลายซึ่งอยู่ในโคจรคามนั้น 
- 
-โดยเหตุที่ภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานนั้นมีเมตตาจิตในหมู่ภิกษุ ​ ชื่อว่าทำให้หมู่ภิกษุที่อยู่ร่วมกันนั้นเกิดมีจิตใจนุ่มนวลในตน ​ แต่นั้น ​ ภิกษุเหล่านั้นก็จะมีการอยู่ร่วมกันอย่างสบายกับภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานนั้น ​ โดยเหตุที่เธอมีเมตตาจิตในเทวดาทั้งหลายซึ่งอยู่ในเขต ​ พวกเทวดาผู้ที่เธอทำให้มีจิตใจอันนุ่มนวลแล้วนั้น ​ ก็จะทำหน้าที่รักษาเธอเป็นอย่างดี ​ ด้วยการรักษาอันเป็นธรรม ​ โดยเหตุที่เธอมีเมตตาจิตในชนผู้เป็นใหญ่ในโคจรคาม ​ พวกชนผู้เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 154)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ใหญ่ที่เธอทำให้เป็นผู้มีจิตอันนุ่มนวลแล้วนั้น ​ ก็จะช่วยรักษาเครื่องบริขารเป็นอย่างดี ​ ด้วยการรักษาอันเป็นธรรม ​ โดยเหตุที่เธอมีเมตตาจิตในมนุษย์ทั้งหลายในโคจรคามนั้น ​ พวกมนุษย์ทั้งหลายที่เธอทำให้เป็นผู้มีความเลื่อมใสแล้วนั้น ​ ก็จะไม่ข่มเหงเบียดเบียน ​ โดยเหตุที่เธอมีเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทุกชนิดนั้น ​ เธอก็จะเป็นผู้มีอันเที่ยวไปไม่เดือดร้อนในที่ทั้งปวง 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานนั้นครุ่นคิดพิจารณาอยู่ด้วยมรณสติว่า ​ เราจะต้องตายอย่างแน่นอน ​ ฉะนี้ ​ เธอก็จะงดเว้นอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควรเสีย ​ จะมีความสังเวชสลดใจเพิ่มพูนทวียิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ ย่อมจะเป็นผู้มีจิตไม่ท้อถอยในสัมมาปฏิบัติ 
- 
-แหละเมื่อเธอมีจิตสั่งสมอบรมดีแล้วด้วยอสุภสัญญา ​ แม้อารมณ์อันเป็นทิพย์ก็จะครอบงำจิตด้วยอำนาจแห่งความโลภไม่ได้ ​ ฉะนี้แล 
- 
-กัมมัฏฐาน ​ 2  อย่างมีเมตตากัมมัฏฐานเป็นต้นนั้น ​ เรียกว่า ​ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ​ เพราะเป็นกัมมัฏฐานที่ต้องการปรารถนาด้วยการอาเสวนะเบื้องต้นในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานทั้งปวง ​ ด้วยเป็นกัมมัฏฐานที่มีอุปการะมากดังพรรณนามาอย่างหนึ่ง ​ เพราะเป็นเหตุให้สำเร็จแก่การประกอบภาวนาอันที่ตนประสงค์อย่างหนึ่ง 
- 
-แหละในบรรดากัมมัฏฐาน ​ 40  ประการนั้น ​ กัมมัฏฐานบทใดเหมาะสมแก่จริยาของโยคีบุคคลใด ​ กัมมัฏฐานบทนั้นเรียกว่า ​ ปาริหายกัมมัฏฐาน ​ เพราะเหตุที่โยคีบุคคลนั้นจะต้องรักษาไว้เป็นนิจอย่างหนึ่ง ​ เพราะเป็นปทัฏฐานแก่ภาวนากรรมขั้นสูง ๆ  ขึ้นไปอย่างหนึ่ง 
- 
- 
-ท่านผู้ใดก็ตามที่ให้กัมมัฏฐานทั้ง ​ 2  อย่างที่กล่าวแล้วนี้ได้ ​ ท่านผู้นี้แหละชื่อว่าผู้สามารถให้พระกัมมัฏฐาน ​ ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ข้างต้นนั้น ​ ผู้ประสงค์จะเจริญกัมมัฏฐานพึงเข้าไปหาท่านผู้เช่นนั้นนั่นเทียว 
- 
-==คุณสมบัติอาจารย์กัมมัฏฐานที่เป็นกัลยาณมิตร== 
-ส่วนคำว่า ​ กัลยาณมิตร ​ นั้น ​ หมายเอากัลยาณมิตรผู้ที่ดำรงตนอยู่ในฝ่ายข้างดี ​ มีจิตมุ่งในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ​ ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติประจำตนมีอาทิอย่างนี้ ​ คือ – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 155)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​คำบริกรรม'''​ 
- 
-ปิโย ​ ครุ ​ ภาวนีโย ​   วตฺตา ​ จ  วจนกฺขโม 
- 
-คมฺภีรญฺจ ​ กถํ ​ กตฺตา ​   โน ​ จฏฺฐาเน ​ นิโยชโก 
- 
-คุณสมบัติอาจารย์กัมมัฏฐานที่เป็นกัลยาณมิตร คือ 
- 
-1.      เป็นที่รัก 
- 
-2.      น่าเคารพ 
- 
-3.      น่าสรรเสริญ 
- 
-4.      มีความสามารถว่ากล่าวตักเตือน 
- 
-5.      อดทนฟังถ้อยคำติติงและสรรเสริญได้ 
- 
-6.      สามารถชี้แจงถ้อยคำที่สุขุมลุ่มลึกได้ ​ และ 
- 
-7.      ไม่แนะนำในทางที่ไม่สมควร 
- 
-'''​อธิบายลักษณะกัลยาณมิตร'''​ 
- 
-อธิบายว่า ​ ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้น ​ ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา 1  สมบูรณ์ด้วยศีล 1  สมบูรณ์ด้วยสุตะ 1  สมบูรณ์ด้วยจาคะ 1  สมบูรณ์ด้วยวีริยะ 1  สมบูรณ์ด้วยสติ 1  และเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา 1  คือย่อมเชื่อมั่นต่อความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้าและ ​ เชื่อมั่นต่อกรรมและผลแห่งกรรม ​ ด้วยศรัทธาสมบัติ ​ ไม่ยอมปล่อยวางการแสวงหาประโยชน์ ​ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ ​ ด้วยศรัทธาสมบัตินั้น ​ ย่อมเป็นที่รักเป็นที่น่าเคารพเป็นที่น่าสรรเสริญ ​ เป็นผู้ทักท้วงตำหนิโทษว่ากล่าว ​ เป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำของสัตว์ทั้งหลายได้ ​ ด้วยศีลสมบัติ ​ เป็นผู้สามารถชี้แจงถ้อยคำอันลุ่มลึก ​ ซึ่งประกอบด้วยสัจธรรม ​ และปฏิจจสมุปปาทธรรมเป็นต้น ​ ด้วยสุตสมบัติ ​ เป็นผู้มักน้อย ​ สันโดษ ​ ชอบสงัด ​ ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ​ ด้วยจาคสมบัติ ​ เป็นผู้เพียรพยายามในการปฏิบัติทั้งที่เป็นประโยชน์ตน ​ และประโยชน์คนอื่น ​ ด้วยวีริยสมบัติ ​ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นในทางดี ​ ด้วยสติสมบัติ ​ เป็นผู้มีจิตใจไม่คิดฟุ้ง ​ มีจิตมั่นคงด้วยสมาธิสมบัติ ​ และรู้แจ้งชัดไม่วิปริตผิดเพี้ยน ​ ด้วยปัญญาสมบัติ ​ ท่านผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเห็นปานนี้นั้น ​ ย่อมสอดส่องมองเห็นคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ​ ด้วยสติรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ​ และเป็นโทษของสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริง ​ ด้วยปัญญา ​ มีจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษนั้น ​ ด้วยสมาธิ ​ ช่วยกำสิ่งที่เป็นโทษ ​ พยายามชักจูงแนะนำ ​ สัตว์ทั้งหลายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ​ ด้วยวีริยะ ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 156)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==หลักการเลือกอาจารย์กัมมัฏฐานหลังพุทธปรินิพพาน== 
- 
-ก็แหละ ​  ​กัลยาณมิตรผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติทุก ๆ  ประการนั้น ​ คือ ​  ​พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ​  ​โดยพระบาลีรับรองว่า- ​   
- 
-ดูก่อนอานันทะ ​  ​สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ​  ​ย่อมพ้นจากชาติความเกิดได้ ​  ​ด้วยอาศัยกัลยาณมิตรคือเราตถาคตนั่นเทียว 
- 
-เพราะเหตุดังนั้น ​ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น ​ การท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคนั้นนั่นแลเป็นประเสริฐที่สุด ​ แต่เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้ว ​ ในบรรดาพระมหาสาวก 80  องค์ ​ องค์ใดยังมีชนมายุอยู่ ​ การท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระมหาสาวกองค์นั้น ​ ย่อมเป็นการสมควร ​ เมื่อพระมหาสาวกนั้นไม่มีอยู่แล้ว ​ ก็พึงท่องจำเอาในสำนักของพระอรหันตขีณาสพองค์ที่ได้ฌานจตุกกนัยหรือฌานปัญจกนัย ด้วยพระกัมมัฏฐานบทที่ตนประสงค์จะท่องจำเอานั้น แล้วเจริญวิปัสสนาซึ่งมีฌานเป็นปทัฏฐาน จนได้บรรลุถึงซึ่งความสิ้นสุดแห่งอาสวะกิเลสนั่นเถิด 
- 
-ถาม –ก็แหละ ​ พระอรหันตขีณาสพนั้น ​ ท่านประกาศตนให้ทราบหรือว่าท่านเป็นพระขีณาสพ ? 
- 
-ตอบ –จะต้องตอบทำไม ​ เพราะพระอรหันตขีณาสพนั้น ​ ท่านรู้ถึงภาวะที่ผู้จะทำความเพียรแล้วย่อมแสดงตนให้ทราบด้วยความอาจหาญและรื่นเริง ​ โดยชี้ให้เห็นถึงภาวะแห่งการปฏิบัติไม่เป็นโมฆะ ​ พระอัสสคุตตเถระรู้ว่า ​ ภิกษุนี้เป็นผู้จะทำกัมมัฏฐาน ​ ฉะนี้แล้ว ​ ท่านปูลาดแผ่นหนังไว้บนอากาศแล้วนั่งขัดสมาธิอยู่บนแผ่นหนังนั้น ​ บอกพระกัมมัฏฐานแก่ภิกษุผู้ปรารภพระกัมมัฏฐานแล้ว ​ มิใช่หรือ ? 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​  ​ถ้าโยคีบุคคลได้พระอรหันตขีณาสพ ​ ข้อนั้นนับว่าเป็นบุญ ​ แต่ถ้าหาไม่ได้ ​ พึงท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของท่านผู้ทรงคุณสมบัติเหล่านี้ ​ โดยจากก่อนมาหลังคือ ​ พระอนาคามี ​ พระสกทาคามี ​ พระโสดาบัน ​ ปุถุชนผู้ได้ฌาน ​ ท่านผู้ทรงจำปิฏกทั้งสาม ​ ท่านผู้ทรงจำปิฏกสอง ​ ท่านผู้ทรงจำปิฏกหนึ่ง ​ แม้เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฏกหนึ่งก็ไม่มี ​ ท่านผู้ใดมีความชำนาญแม้เพียงสังคีติอันเดียวพร้อมทั้งอรรถกถา ​ และเป็นผู้มีความละอายด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 157)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พึงท่องจำเอากัมมัฏฐานในสำนักของท่านผู้นั้นเถิด ​ ด้วยว่าบุคคลผู้มีลักษณะเห็นปานฉะนี้ ​ ชื่อว่าเป็นผู้รักษาประเพณี ​ เป็นอาจารย์ผู้นับถือมติของอาจารย์ ​ ไม่ใช่ผู้ถือมติของตนเองเป็นใหญ่ ​ เพราะเหตุฉะนี้แหละ ​ พระเถระในปางก่อนทั้งหลาย ​ จึงได้กล่าวประกาศไว้ถึง ​ 3  ครั้งว่า ​ ท่านผู้มีความละอายจักรักษา, ​ ท่านผู้มีความละอายจักรักษา, ​ ท่านผู้มีความละอายจักรักษา ​ ฉะนี้ 
- 
-ก็แหละ ​ ในบรรดากัลยาณมิตรเหล่านั้น ​ กัลยาณมิตรที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ ​ เป็นอาทิ ​ ที่ข้าพเจ้ากล่าวมาในตอนต้น ​ ท่านย่อมบอกพระกัมมัฏฐานให้ได้เฉพาะแต่แนวทาง ​ ที่ท่านได้บรรลุมาด้วยตนเองเท่านั้น ​ ส่วนกัลยาณมิตรผู้เป็นพหุสูต ​ เพราะเหตุที่พระบาลีและอรรถกถาอันเป็นอุปการะแก่กัมมัฏฐานเป็นสิ่งที่ท่านได้เข้าไปหาพระอาจารย์นั้น ๆ แล้วท่องจำเอาอย่างขาวสะอาด ​ ไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ​ ท่านจึงเลือกสรรเอาแต่สุตบทและเหตุอันคล้อยตามสุตบทซึ่งสมควรแก่กัมมัฏฐานนั้น ๆ  จากนิกายนี้บ้างโน้นบ้าง ​ แล้วเอามาปรับปรุงให้เป็นที่สะดวกสบายเหมาะสมแก่โยคีบุคคลผู้ที่ท่านจะให้กัมมัฏฐาน ​ แสดงวิธีแห่งกัมมัฏฐานให้เห็นแนวทางอย่างกว้างขวาง ​ เป็นดุจพญาช้างบุกไปในสถานที่รกชัฏ ​ จึงจักบอกกัมมัฏฐาน 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​ โยคีบุคคลพึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กัมมัฏฐาน ​ ซึ่งมีคุณสมบัติเห็นปานฉะนี้ ​ ทำวัตรปฏิบัติแก่ท่านแล้ว ​ พึงท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานเถิด 
- 
-==ระเบียบเข้าหาอาจารย์ผู้กัลยาณมิตร== 
- 
-แหละถ้าโยคีบุคคลได้กัลยาณมิตรนั้นในวัดเดียวกัน ​ ข้อนั้นนับว่าเป็นบุญ ​ แต่ถ้าหาไม่ได้ ​ ท่านอยู่ ​ ณ  วัดใดก็พึงไป ​ ณ  ที่วัดนั้น ​ และเมื่อไปนั้น ​ อย่าล้างเท้า ​ อย่าทาน้ำมัน ​ อย่าสวมรองเท้า ​ อย่ากั้นร่ม ​ อย่าให้ศิษย์ช่วยถือทนานน้ำมันและน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น ​ อย่าไปอย่างมีอันเตวาสิกห้อมล้อม ​ แต่พึงไปอย่างนี้ ​ คือ ​ พึงทำคมิกวัตร ​ (วัตรของผู้เตรียมจะไป) ​ ให้เสร็จบริบูรณ์แล้วถือเอาบาตรและจีวรของตนด้วยตนเองไป ​ เมื่อแวะพัก ​ ณ  วัดใด ๆ  ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 158)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ระหว่างทาง ​ พึงทำวัตรปฏิบัติ ​ ณ  วัดนั้น ๆ  ตลอดไป ​ คือในเวลาเข้าไป ​ พึงทำอาคันตุกวัตร ​ ในเวลาจะออกมา ​ พึงทำคมิกวัตร ​ ให้บริบูรณ์ ​ พึงมีเครื่องบริขารเพียงเล็กน้อยและมีความประพฤติอย่างเคร่งครัดที่สุด  ​ 
- 
-ก่อนแต่จะเข้าไปสู่วัดนั้น ​ พึงให้ทำไม้ชำระฟันให้เป็นกัปปิยะสมควรแก่ที่จะใช้ได้เสียแต่ในระหว่างทาง ​ แล้วพึงถือเข้าไป ​ และอย่าได้ไปแวะพัก ​ ณ  บริเวณอื่น ​ ด้วยตั้งใจว่าจะแวะพักสักครู่หนึ่ง ​ ล้างเท้าทาน้ำมันเท้าเป็นต้นแล้วจึงจะไปสำนักของอาจารย์ ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะว่า ​ ถ้าในวัดนั้นจะพึงมีพวกภิกษุที่ไม่ลงคลองกันกับอาจารย์นั้น ​ ภิกษุเหล่านั้น ​ ก็จะพึงซักถามถึงเหตุที่มาแล้ว ​ ประกาศตำหนิติโทษของอาจารย์ให้ฟัง ​ จะพึงก่อกวนให้เกิดความเดือดร้อนใจว่า ​ ฉิบหายแล้วสิ ​ ถ้าคุณมาสู่สำนักของภิกษุองค์นั้น ​ ข้อนี้ก็จะพึงเป็นเหตุให้ต้องกลับไปเสียจากที่นั่นได้ ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงถามถึงที่อยู่ของอาจารย์แล้วตรงไปยังที่นั้นเลยทีเดียว 
- 
-==ระเบียบปฏิบัติต่ออาจารย์== 
- 
-ถ้าแหละ ​ แม้อาจารย์นั้นจะเป็นผู้อ่อนพรรษากว่า ​ ก็อย่าพึงยินดีต่อการช่วยรับบาตรและจีวรเป็นต้น ​ ถ้าท่านแก่พรรษากว่า ​ พึงไปไหว้ท่านแล้วยืนคอยอยู่ก่อน ​ พึงเก็บบาตรและจีวรไว้ตามที่ท่านแนะนำว่า ​ "​อาวุโส ​ เก็บบาตรและจีวรเสีย" ​ ถ้าปรารถนาอยากจะดื่มก็จงดื่มตามที่ท่านแนะนำว่า ​ "​อาวุโส ​ นิมนต์ดื่มน้ำ" ​ แต่อย่าพึ่งล้างเท้าทันทีตามที่ท่านแนะนำว่า ​ "​ล้างเท้าเสีย ​ อาวุโส" ​ เพราะถ้าเป็นน้ำที่พระอาจารย์ตักเอามาเอง ​ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ​ แต่เมื่อท่านแนะนำว่า ​ "​ล้างเถิด ​ อาวุโส ​ ฉันไม่ได้ตักมาเองดอก ​ คนอื่นเขาตักมา" ​ พึงไปนั่งล้างเท้า ​ ณ  โอกาสอันกำบังที่อาจารย์มองไม่เห็น ​ หรือ ​ ณ  ส่วนข้างหนึ่งของวิหารอันเป็นที่ว่างเปล่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 159)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ถ้าแหละ ​ ท่านอาจารย์หยิบเอาขวดน้ำมันสำหรับทามาให้ ​ พึงลุกขึ้นรับโดยเคารพด้วยมือทั้งสอง ​ เพราะถ้าไม่รับ ​ ความสำคัญเป็นอย่างอื่นก็จะพึงมีแก่อาจารย์ว่า ​ ภิกษุนี้ทำการสมโภคคือการใช้ร่วมกันให้กำเริบเสียหายตั้งแต่บัดนี้เทียว ​ (รังเกียจการใช้สิ่งของร่วมกัน) ​ แต่ครั้นรับแล้วอย่าพึงทาตั้งต้นแต่เท้าไป ​ เพราะถ้าน้ำมันนั้น ​ เป็นน้ำมันสำหรับทาตัวของพระอาจารย์แล้ว ​ ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงทาศรีษะแล้วทาตามลำดับตัวเป็นต้นก่อน ​ แต่เมื่อท่านแนะนำว่า ​ "​อาวุโส ​ ทาเท้าก็ได้ ​ น้ำมันนี้เป็นน้ำมันรักษาอวัยวะทั่วไป" ​ พึงทาที่ศรีษะนิดหน่อยแล้วจึงทาเท้า ​ ครั้นทาเสร็จแล้วพึงบอกว่า ​ "​กระผมขออนุญาติเก็บขวดน้ำมันนี้ขอรับ" ​ เมื่อท่านรับเองก็พึงมอบถวายคืน 
- 
-อย่าเพิ่งกล่าวขอว่า ​ "​ขอท่านกรุณาบอกพระกัมมัฏฐานให้แก่กระผมด้วย" ​ ตั้งแต่วันที่มาถึง ​ แต่ถ้าอุปัฏฐากประจำของท่านอาจารย์มี ​ พึงขออนุญาตกะเขาแล้วทำวัตรปฏิบัติแก่ท่านนับตั้งแต่วันที่สองไป ​ ถ้าแม้ขอแล้วแต่เขาไม่ยอมอนุญาตให้ ​ เมื่อได้โอกาสก็พึงทำทันที ​ เมื่อทำวัตรปฏิบัติพึงจัดเอาไม้ชำระฟัน ​ 3  ชนิดเข้าไปวางไว้ ​ คือ ​ ชนิดเล็ก ​ ชนิดกลาง ​ และชนิดใหญ่ ​ พึงตระเตรียมน้ำบ้วนปากและน้ำสรง 2  ชนิด ​ คือ ​ น้ำเย็นและน้ำอุ่น ​ แต่นั้นพึงสังเกตุไว้ ​ ท่านอาจารย์ใช้ชนิดไหนถึง 3  วัน ​ ก็พึงจัดเฉพาะชนิดนั้นตลอดไป ​ เมื่อท่านไม่ถือระเบียบแน่นอน ​ ใช้ตามมีตามเกิด ​ ก็พึงจัดไปไว้ตามที่ได้ 
- 
-ธุระอะไรที่ข้าพเจ้าจะต้องพิจารณามากเล่า ​ วัตรปฏิบัติโดยชอบอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วฉันใด ​ พึงทำวัตรปฏิบัติแม้นั้นให้ครบทุก ๆ อย่าง ​ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาขันธกะวินัยปิฏก ​ มีอาทิว่า – 
- 
-ภิกษุทั้งหลาย ​ อันเตวาสิกพึงประพฤติปฏิบัติโดยชอบในพระอาจารย์ ​ กิริยาที่ประพฤติปฏิบัติโดยชอบในพระอาจารย์นั้น ​ ดังนี้ ​ พึงลุกขึ้นแต่เช้าแล้วถอดรองเท้าเสีย ​ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ​ ถวายไม้ชำระฟัน ​ ถวายน้ำล้างหน้า ​ ปูลาดอาสนะ ​ ถ้ามีข้าวต้มพึงล้างภาชนะให้สะอาดแล้วน้อมข้าวต้มเข้าไปถวาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 160)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลทำให้ท่านอาจารย์พอใจด้วยวัตรสมบัติอยู่โดยทำนองนี้ ​ ตกถึงเวลาเย็น ​ กราบท่านแล้ว ​ เมื่อท่านอนุญาติให้ไปว่าไปได้ฉะนี้ ​ จึงค่อยไป ​ เมื่อใดท่านถามว่า ​ "​เธอมา ​ ณ  ที่นี้เพื่อประสงค์สิ่งใดหรือ ?" ​ เมื่อนั้น ​ พึงบอกเหตุที่มาให้ทราบ ​ ถ้าท่านไม่ถามเลย ​ แต่ก็ยินดีต่อวัตรปฏิบัติ ​ ครั้นล่วงเลยมาถึง ​ 10  วันหรือปักษ์หนึ่งแล้ว ​ แม้ถึงท่านจะอนุญาติให้ไป ​ ก็อย่าพึ่งไป ​ พึงขอให้ท่านให้โอกาสแล้ว ​ พึงบอกถึงเหตุที่มา ​ ให้ทราบสักวันหนึ่ง ​ หรือพึงไปหาท่านให้ผิดเวลา ​ เมื่อท่านถามว่า ​ มาทำไม ?  พึงฉวยโอกาสบอกถึงเหตุที่มา ​ ถ้าท่านนัดหมายให้มาเช้า ​ ก็พึงเข้าไปเช้าตามนัดนั่นแล 
- 
-ก็แหละ ​ ถ้าตามเวลาที่นัดหมายนั้น ​ โยคีบุคคลเกิดเสียดท้องด้วยโรคดีกำเริบก็ดี ​ หรืออาหารไม่ย่อยเพราะไฟธาตุอ่อนก็ดี ​ หรือโรคอะไรอย่างอื่นเบียดเบียนก็ดี ​ พึงบอกโรคนั้นให้ท่านอาจารย์ทราบตามความจริง ​ แล้วขอท่านเปลี่ยนเป็นเวลาที่ตนสบาย ​ แล้วพึงเข้าไปหาในเวลานั้น ​ ทั้งนี้เพราะว่า ​ ในเวลาที่ไม่สบายแม้ท่านอาจารย์จะบอกพระกัมมัฏฐานให้ก็ไม่สามารถที่จะมนสิการได้ 
- 
-อรรถาธิบายพิสดารในหัวข้อสังเขปว่า ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้พระกัมมัฏฐาน ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-==จริยา ​ 6  อย่าง== 
- 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ อันเหมาะสมแก่จริยาของตน ​ ฉะนี้ต่อไป – 
- 
-คำว่า ​ จริยา ​ ได้แก่จริยา ​ 6  อย่างคือ 
- 
-1.  ราคจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจราคะ 
- 
-2.  โทสจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจโทสะ 
- 
-3.  โมหจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจโมหะ 
- 
-4.  สัทธาจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจศรัทธา 
- 
-5.  พุทธจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจปัญญา 
- 
-6.  วิตักกจริยา ​   ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจวิตก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 161)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่เกจิอาจารย์ประสงค์เอาจริยาถึง ​ 14  อย่าง ​ โดยบวกจริยา ​ 8  เข้าด้วย ​ ดังนี้คือ ​ จริยาอื่นอีก ​ 4  ด้วยอำนาจการคละกันและต่อกันของราคจริยาเป็นต้น ​ คือราคโทสจริยา 1  ราคโมหจริยา 1  โทสโมหจริยา 1  ราคโทสโมหจริยา 1  และจริยา 4  อย่างอื่นอีกด้วยอำนาจการคละกันและต่อกันของสัทธาจริยาเป็นต้น ​ คือ ​ สัทธาพุทธิจริยา 1  สัทธาวิตักกจริยา 1  พุทธิวิตักกจริยา 1  สัทธาพุทธิวิตักกจริยา 1 
- 
-แต่เมื่อจะกล่าวประเภทแห่งจริยา ​ ด้วยอำนาจการคละกันและต่อกันอย่างนี้แล้ว ​ จริยาก็จะมีเป็นอเนกประการ ​ โดยยกเอาราคจริยาเป็นต้นมาคละกันกับสัทธาจริยาเป็นต้น ​ ความสำเร็จแห่งอรรถาธิบายที่ประสงค์ก็จะไม่พึงมี ​ เพราะฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงเข้าใจแต่โดยสังเขปว่า ​ จริยามีเพียง ​ 6  อย่างเท่านั้น 
- 
-'''​จริตบุคคล ​ 6  ประเภท'''​ 
- 
-คำว่า ​ จริยา 1  ปกติ ​ 1  ความหนาแน่น 1  โดยใจความเป็นอันเดียวกัน ​ และด้วยอำนาจแห่งมูลจริยา 6  อย่างนั้น ​ บุคคลจึงมี ​ 6  ประเภทเหมือนกัน ​ ดังนี้ – 
- 
-1.      ราคจริตบุคคล ​   คนราคจริต 
- 
-2.      โทสจริตบุคคล ​   คนโทสจริต 
- 
-3.      โมหจริตบุคคล ​   คนโมหจริต 
- 
-4.      สัทธาจริตบุคคล ​   คนศรัทธาจริต 
- 
-5.      พุทธิจริตบุคคล ​   คนพุทธิจริต ​ และ 
- 
-6.      วิตักกจริตบุคคล ​   คนวิตกจริต 
- 
-'''​อธิบายจริตบุคคล ​ 6  ประเภท'''​ 
- 
-คนราคจริตมีส่วนเข้ากันได้กับคนศรัทธาจริต ​ โดยมีอรรถาธิบายว่า ​ ในสมัยที่กุศลจิตเกิดขึ้น ​ สำหรับคนราคจริตนั้น ​ ศรัทธามีกำลังมาก ​ เพราะศรัทธามีคุณลักษณะใกล้กับราคะ ​ ขยายความว่า ​ ในฝ่ายอกุศล ​ ราคะย่อมทำให้เยื่อใยติดใจในอารมณ์ ​ ไม่ห่อเหี่ยว ฉันใด ในฝ่ายกุศล ศรัทธาก็ทำให้เยื่อใยติดใจในอารมณ์ ไม่ห่อเหี่ยว ​ ฉันนั้น ​ ราคะย่อมแสวงหาวัตถุกาม ​ ฉันใด ​ ศรัทธาก็ย่อมแสวงหาคุณมีศีลเป็นต้น ​ ฉันนั้น ​ และราคะย่อมไม่ละวางซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ฉันใด ศรัทธาก็ไม่ละวางซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฉันนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 162)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คนโทสจริตมีส่วนเข้ากันได้กับคนพุทธิจริต ​ โดยมีอรรถาธิบายว่า ​ ในสมัยที่กุศลจิตเกิดขึ้น ​ สำหรับคนโทสจริตนั้น ​ ปัญญามีกำลังมาก ​ เพราะปัญญามีคุณลักษณะใกล้กับโทสะ ​ ขยายความว่า ​ ในฝ่ายอกุศล ​ โทสะไม่เยื่อใย ​ ไม่ติดอารมณ์ ​ ฉันใด ​ ในฝ่ายกุศล ​ ปัญญาก็ไม่เยื่อใย ​ ไม่ติดอารมณ์ ​ ฉันนั้น ​ โทสะย่อมแสวงหาแต่โทษแม้ที่ไม่มีจริง ​ ฉันใด ​ ปัญญาก็ย่อมแสวงหาแต่โทษที่มีจริง ​ ฉันนั้น ​ และโทสะย่อมเป็นไปโดยอาการหลีกเว้นสัตว์ ​ ฉันใด ​ ปัญญาก็ย่อมเป็นไปโดยอาการหลีกเว้นสังขาร ​ ฉันนั้น 
- 
-แหละ ​ โมหจริตบุคคลมีส่วนเข้ากันได้กับวิตกจริตบุคคล ​ โดยมีอรรถาธิบายว่า ​ เมื่อโมหจริตบุคคลเพียรพยายามเพื่อทำให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นนั้น ​ วิตกผู้ทำอันตราย ​ ย่อมชิงเกิดขึ้นเสียโดยมาก ​ ทั้งนี้ ​ เพราะวิตกมีลักษณะใกล้กับโมหะ ​ ขยายความว่า ​ โมหะเป็นสภาพไม่ตั้งมั่น ​ เพราะเกลื่อนกลาดดาษดาไปในอารมณ์ ​ ฉันใด ​ วิตกก็เป็นสภาพไม่ตั้งมั่น ​ เพราะตริตรึกนึกไปโดยประการต่าง ๆ  ฉันนั้น ​ และโมหะเป็นสภาพไหวหวั่นเพราะไม่หยั่งลงมั่นในอารมณ์ ​ ฉันใด ​ วิตกก็เป็นสภาพไหวหวั่น ​ เพราะกำหนดอารมณ์รวดเร็ว ​ ฉันนั้น  ​ 
- 
-อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ​ จริยาอื่น ๆ  ยังมีอีก 3  อย่าง ​ ด้วยอำนาจตัณหา 1  มานะ 1  ทิฏฐิ 1  ใน ​ 3  อย่างนั้น ​ ตัณหาก็ได้แก่ราคะนั่นเอง ​ และมานะก็ประกอบด้วยราคะนั้น ​ เพราะเหตุฉะนี้ ​ ตัณหาและมานะทั้งสองจึงไม่พ้นราคจริตไปได้ ​ ส่วนทิฏฐิจริยาก็บวกเข้าไปในโมหจริยานั่นเอง ​ เพราะทิฏฐิมีโมหะเป็นเหตุให้เกิด 
- 
-'''​ปัญหา ​ 3  ข้อในจริยา ​ 6  อย่าง'''​ 
- 
-1.      จริยา ​ 6  อย่างนี้นั้น ​ มีอะไรเป็นเหตุ 
- 
-2.      จะทราบได้อย่างไรว่า ​ บุคคลนี้ ​ เป็นราคจริต ​ บุคคลนี้ ​ เป็นโทสจริตเป็นต้น ​ จริตใดจริตหนึ่ง 
- 
-3.      บุคคลจริตชนิดไหน ​ มีธรรมเป็นที่สบายอย่างไร 
- 
-'''​วิสัชนาปัญหา ​ ข้อที่ ​ 1'''​ 
- 
-ในจริยา ​ 6  อย่างนั้น ​ เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า ​ จริยา ​ 3  อย่างข้างต้น ​ มีกรรมที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติก่อนเป็นเหตุ 1  มีธาตุ และโทษเป็นเหตุ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 163)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อธิบายว่า ​ บุคคลผู้มีการกระทำสิ่งที่น่าเจริญใจและทำกรรมอันดีงามไว้มากในชาติก่อน ​ หรือบุคคลที่จุติจากสวรรค์มาเกิดในโลกนี้ ​ ย่อมเป็นคนราคจริต ​ บุคคลผู้สร้างเวรกรรม ​ คือตัดช่องย่องเบาปล้นฆ่าและพันธนาจองจำไว้มากในชาติก่อน ​ หรือบุคคลที่จุติจากนรกและกำเนิดนาคมาเกิดในโลกนี้ ​ ย่อมเป็นคนโทสจริต ​ บุคคลที่ดื่มน้ำเมามากและขาดการศึกษาการค้นคว้าในชาติก่อน ​ หรือบุคคลที่จุติจากกำเนิดดิรัจฉานมาเกิดในโลกนี้ ​ ย่อมเป็นคนโมหจริต 
- 
-เกจิอาจารย์กล่าวว่า ​ จริยา ​ 3  ข้างต้น ​ มีกรรมที่สั่งสมมาในชาติก่อนเป็นเหตุ ​ อย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะมีธาตุทั้ง ​ 2  คือ ​ ธาตุดินและธาตุน้ำมาก ​ บุคคลจึงเป็นคนโมหจริต ​ เพราะมีธาตุทั้ง ​ 2  คือธาตุไฟและธาตุลมนอกนี้มา ​ บุคคลจึงเป็นคนโทสจริต ​ และเพราะมีธาตุหมดทั้ง ​ 4  ธาตุสม่ำเสมอกัน ​ บุคคลจึงเป็นคนราคจริต ​ ส่วนในข้อว่าด้วยโทษนั้นคือ ​ บุคคลผู้มีเสมหะมากเป็นคนราคจริต ​ บุคคลผู้มีลมมากเป็นคนโมหจริต ​ หรือบุคคลผู้มีเสมหะมากเป็นคนโมหจริต ​ บุคคลผู้มีลมมากเป็นคนราคจริต 
- 
-เกจิอาจารย์กล่าวว่า ​ จริยา ​ 3  ข้างต้น ​ มีธาตุและโทษเป็นเหตุอย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​มติมหาพุทธโฆสเถระแย้งเกจิอาจารย์'''​ 
- 
-คำของพวกเกจิอาจารย์ทั้งหมดนี้ ​ เป็นคำที่ไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ​ เพราะเหตุนี้ ​ บุคคลผู้มีการกระทำสิ่งที่น่าเจริญใจและทำกรรมอันดีงามไว้มากในชาติก่อนก็ดี ​ บุคคลจำพวกที่จุติจากสวรรค์มาเกิดในโลกนี้ก็ดี ​ ไม่ใช่จะเป็นคนราคจริตไปเสียทั้งหมดมิได้ ​ หรือบุคคลจำพวกสร้างเวรกรรมมีการตัดช่องย่องเบาเป็นต้นไว้มากก็ดี ​ บุคคลจำพวกที่จุติจากนรกเป็นต้นมาเกิดในโลกนี้ก็ดี ​ ไม่ใช่จะเป็นคนโทสจริต ​ คนโมหจริตไปเสียทั้งหมดมิได้ ​ และการกำหนดเอาความมากของธาตุทั้ง ​ 4  โดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ​ ก็ไม่เป็นอย่างนั้นทีเดียว ​ และในการกำหนดเอาโทษเล่า ​ ก็กล่าวถึงเพียงคนราคจริตกับคนโมหจริต ​ 2  บุคคลเท่านั้น ​ และแม้คำกำหนดด้วยอำนาจโทษนั้น ​ ก็ผิดกันทั้งเบื้องต้นเบื้องปลาย ​ (เพราะการกำหนดจริยา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 164)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ด้วยอำนาจแห่งโทษว่า ​ บุคคลเป็นคนราคจริตเป็นต้นด้วยมีโทษคือเสมหะเป็นต้นมากนั้น ​ พวกเกจิอาจารย์กล่าวว่า ​ บุคคลมีเสมหะมากเป็นคนราคจริตดังนี้แล้วกลับกล่าวว่า ​ บุคคลมีเสมหะมากเป็นคนโมหจริต ​ และว่าบุคคลมีลมมากเป็นคนโมหจริต ​ แล้วยังซ้ำกล่าวว่า ​ บุคคลมีลมมากเป็นคนมีราคจริตอีกเล่า) ​ และในศรัทธาจริยาเป็นต้น ​ ก็มิได้กล่าวถึงเหตุจริยาอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว 
- 
-'''​มติของท่านอรรถกถาจารย์'''​ 
- 
-ส่วนการวินิจฉัยตามแนวมติของท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ​ ในอธิการนี้ ​ มีดังนี้ กล่าวคือ ​ ในการระบุเอาส่วนที่มากหนาของเหตุ ​ ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ -  สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ​ เป็นผู้มีโลภะมากหนา ​ เป็นผู้มีโทสะมากหนา ​ เป็นผู้มีโมหะมากหนา ​ เป็นผู้มีอโลภะมากหนา ​ ทั้งนี้โดยนิยามแห่งเหตุ ​ มีโลภะเป็นต้นอันเป็นไปในภพก่อน ​ ดังนี้ 
- 
-'''​อกุศลวาระ ​ 4'''​ 
- 
-1.  บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ โลภะมีกำลังมากแต่อโลภะมีกำลังน้อย ​ อโทสะ, ​ อโมหะมีกำลังมาก ​ แต่โทสะ, ​ โมหะมีกำลังน้อย ​ อโลภะซึ่งมีกำลังน้อยของบุคคลนั้น ​ ย่อมไม่สามารถครอบงำโลภะได้ ​ ส่วนอโทสะ, ​ อโมหะมีกำลังมาก ​ จึงสามารถครอบงำโทสะ, ​ โมหะได้ เพราะเหตุนั้น ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ชื่อว่าบังเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิวิบากอันกรรมนั้นเผล็ดผลให้ ​ ย่อมเป็นคนขี้โลภ ​ แต่อ่อนโยน ​ ไม่มักโกรธ ​ มีปัญญา ​ มีปรีชาญานแหลมคมดังเพชร 
- 
-2.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ โลภะ, ​ โทสะมีกำลังมาก ​ แต่อโลภะ, ​ อโทสะมีกำลังน้อย อโมหะมีกำลังมากแต่โมหะมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนี้ ​ ย่อมเป็นคนขี้โลภด้วย ​ ขี้โกรธด้วย ​ โดยนัยต้นนั่นเทียว ​ แต่เป็นคนเจ้าปัญญา ​ มีฌานปรีชาแหลมคมดังเพชร ​ เหมือนพระทัตตาภยเถระเป็นตัวอย่าง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 165)''</​fs></​sub>​ 
- 
-3.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ โลภะ, ​ อโทสะ, ​ โมหะมีกำลังมาก ​ แต่อโลภะ, ​ โทสะ, ​ อโมหะมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนขี้โลภด้วย ​ มีปัญญาอ่อนด้วยโดยนัยต้นนั่นเทียว ​ แต่เป็นคนอ่อนโยน ​ ไม่ขี้โกรธ ​ เหมือนพระพากุลเถระเป็นตัวอย่าง 
- 
-4.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ โลภะ, ​ โทสะ, ​ โมหะครบทั้ง ​ 3  เหตุมีกำลังมาก ​ แต่อโลภะ, ​ อโทสะ, ​ อโมหะเหตุมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนข้โลภด้วย ​ ขี้โกรธด้วย ​ ขี้หลงด้วย ​ โดยนัยต้นนั่นเทียว 
- 
-'''​กุศลวาระ ​ 4'''​ 
- 
-1.    ส่วนบุคคลใดในขณะทำกรรม ​ อโลภะ, ​ โทสะ, ​ โมหะมีกำลังมาก ​ แต่โลภะ, ​ อโทสะ, ​ อโมหะมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนไม่โลภ ​ มีกิเลสน้อย ​ แม้จะได้ประสพกับอารมณ์อันเป็นทิพย์ ​ ก็ไม่หวั่นไหวโดยนัยต้นนั่นเทียว ​ แต่ว่าเป็นคนขี้โกรธ ​ และมีปัญญาอ่อน 
- 
-2.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ อโลภะ, ​ อโทสะ, ​ โมหะมีกำลังมาก ​ แต่โลภะ, ​ โทสะ, ​ อโมหะมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนไม่ขี้โลภ ​ และไม่ขี้โกรธ ​ อ่อนโยน ​ โดยนัยต้นนั่นเทียว ​ แต่เป็นคนมีปัญญาอ่อน 
- 
-3.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ อโลภะ, ​ โทสะ, ​ อโมหะมีกำลังมาก ​ แต่โลภะ, ​ อโทสะ, ​ โมหะมีกำลังน้อย ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนไม่ขี้โลภ ​ และมีปัญญาดี ​ โดยนัยต้นนั่นเทียว ​ แต่เป็นคนขี้โทโสขี้โกรธ 
- 
-4.    อนึ่ง ​ บุคคลใดในขณะทำกรรม ​ อโลภะ, ​ อโทสะ, ​ อโมหะเหตุทั้ง ​ 3  ประการ ​ มีกำลังมาก ​ แต่โลภะ, ​ โทสะ, ​ โมหะมีกำลังอ่อน ​ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเหตุเช่นนั้น ​ ย่อมเป็นคนไม่ขี้โลภ ​ ไม่ขี้โกรธ ​ และมีปัญญาดี ​ เหมือนพระมหารักขิตเถระ ​ โดยนัยต้นนั่นเทียว 
- 
-'''​อรรถาธิบายของท่านฎีกาจารย์'''​ 
- 
-อกุศลวาระและกุศลวาระนี้ ​   ท่านฎีกาจารย์ให้อรรถาธิบายไว้ดังนี้- ​  ​ก็แหละในอรรถกถานั้น ​ ได้วาระ 14 วาระ ​ คือ ​ ในฝ่ายอกุศลได้ 7 วาระ ทั้งนี้ ด้วยอำนาจความมากหนา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 166)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แห่งเหตุมีโลภเหตุเป็นต้น ​  ​โดยจัดเป็นอย่างละหนึ่ง 3 วาระ ​ อย่างละสอง 3 วาระ ​ อย่างละสาม 1 วาระ ​  ​คือโลภวาระ 1   ​โทสวาระ ​ 1  โมหวาระ ​ 1  โลภ, ​ โทส, ​ วาระ ​ 1  โลภ, ​ โมหวาระ ​ 1  โทส, ​ โมหวาระ ​ 1  และโลภ,​ โทส, ​ โมหวาระ 1   ​ในฝ่ายกุศลได้ ​ 7  วาระเหมือนกันทั้งนี้ ​  ​ด้วยอำนาจความมากหนาแห่งเหตุมีอโลภเหตุเป็นต้น ​  ​โดยจัดเป็นอย่างละหนึ่ง ​ 3  วาระ ​ อย่างละสอง ​ 3  วาระ ​  ​อย่างละสาม ​ 1  วาระ ​ คือ ​ อโลภวาระ ​ 1  อโทสวาระ ​ 1  อโมหวาระ ​ 1  อโลภ, ​ อโทสวาระ ​ 1   ​อโลภ, ​ อโมหวาระ, ​ 1  อโทส, ​ อโมหวาระ ​ 1   ​อโลภ, ​ อโทส, ​ อโมหวาระ ​ 1 
- 
-ใน ​ 14  วาระนั้น ​  ​ท่านอรรถกถาจารย์แสดงเป็นเพียง ​ 8  วาระเท่านั้น ​  ​โดยจัดวาระในฝ่ายอกุศลเป็น ​ 3  วาระ ​  ​ในฝ่ายกุศลเป็น ​ 3  วาระ ​  ​เข้าไว้ในภายในดังนี้ ​  ​ในฝ่ายกุศลท่านถือเอาโทสุสสทวาระด้วยวาระที่ ​ 3    ถือเอาโมหุสสทวาระด้วยวาระที่ ​ 2   ​และถือเอาโทส-โมหุสสทวาระ ​  ​ด้วยวาระที่ ​ 1   ​ซึ่งมาในอรรถกถานั้นว่า ​  ​อโลภ, ​ โทส, ​ อโมห, ​ มีกำลังมาก, ​ อโลภ, ​ อโทส, ​ โมห, ​  ​มีกำลังมาก ​  ​อโลภ, ​ โทส, ​ โมห, ​  ​มีกำลังมาก ​  ​ในฝ่ายอกุศลก็เหมือนกันท่านถือเอาอโทสุสสทวาระ ​   ด้วยวาระที่ ​  ​3 ​   ถือเอาอโมหุสสทวาระด้วยวาระที่ ​  ​2 ​   และถืออโทสอโมหุสสทวาระด้วยวาระที่ ​ 1   ​ซึ่งมาในอรรถกถานั้นว่า ​  ​โลภ, ​ อโทส, ​ โมห, ​  ​มีกำลังมาก, ​ โลภ, ​ โทส, ​ อโมห, ​ มีกำลังมาก ​  ​โลภะอโทส, ​ อโมห, ​  ​มีกำลังมาก 
- 
-ก็แหละ ​ ในอรรถกถานั้น ​  ​บุคคลใดที่ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ​  ​เป็นคนขี้โลภ ​ ดังนี้ ​  ​บุคคลนั้นเป็นคนราคจริต ​  ​บุคคลที่ขี้โกรธและบุคคลมีปัญญาอ่อน ​  ​เป็นคนโทสจริตและคนโมหจริต ​  ​บุคคลผู้มีปัญญาดี ​  ​เป็นคนพุทธิจริต ​  ​บุคคลผู้ไม่โลภไม่โกรธ ​  ​เป็นคนศรัทธาจริต ​ เพราะมีปกติเลื่อมใสศรัทธา ​  ​อีกนัยหนึ่ง ​  ​บุคคลที่บังเกิดมาด้วยกรรมอันมีอโมหะเป็นบริวาร ​  ​เป็นคนพุทธิจริต ​  ​ฉันใด ​  ​บุคคลที่บังเกิดมาด้วยกรรมอันมีศรัทธาที่มีกำลังมากเป็นบริวาร ​  ​ก็เป็นคนศรัทธาจริต ​ ฉันนั้น ​  ​บุคคลที่เกิดมาด้วยกรรมซึ่งมีกามวิตกเป็นต้น ​ เป็นบริวาร ​  ​เป็นคนวิตกจริต ​  ​บุคคลที่บังเกิดมาด้วยกรรมซึ่งมีความผสมกับโลภะเป็นต้นเป็นบริวาร ​  ​จัดเป็นคนมีจริตเจือปน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 167)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​  ​กรรมอันให้เกิดปฎิสนธิวิบาก ​  ​ซึ่งมีโลภะเป็นต้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบริวาร ​ นับเป็นเหตุแห่งจริยาทั้งหลาย ​  ​ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​วิปัสนาปัญหา ​ ข้อที่ ​ 2'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในปัญหาที่ข้าพเจ้าตั้งไว้มีอาทิว่า ​ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า ​ บุคคลนี้เป็นคนราคจริต ​ ฉะนี้นั้น ​ มีแนวทางที่จะให้ทราบได้โดยบทประพันธคาถา ​ ดังนี้ – 
- 
-อิริยาปถโต กิจฺจา ​     โภชนา ​ ทสฺสนาทิโต 
- 
-ธมฺมปฺปวตฺติโต ​ เจว ​   จริยาโย ​ วิภาวเย 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายได้โดยประการเหล่านี้ ​ คือ – 
- 
-1.      โดยอิริยาบถ 
- 
-2.      โดยการงาน 
- 
-3.      โดยอาหาร 
- 
-4.      โดยการเห็นเป็นต้น ​ และ 
- 
-5.      โดยความเกิดขึ้นแห่งธรรมะ 
- 
-'''​1. ​ โดยอิริยาบถ'''​ 
- 
-ในประการเหล่านั้น ​ ข้อว่า ​ โดยอิริยาบถ ​ มีอรรถาธิบายว่า -  คนราคจริต ​ เมื่อเดินอย่างปกติ ​ ย่อมเดินไปโดยอาการอันเรียบร้อย ​ ค่อย ๆ วางเท้าลง ​ วางเท้ายกเท้าอย่างสม่ำเสมอ ​ และเท้าของคนราคจริตนั้นเป็นเว้ากลาง ​ คนโทสจริตนั้นย่อมเดินเหมือนเอาปลายเท้าขุดพื้นดินไป ​ วางเท้ายกเท้าเร็ว ​ และเท้าของคนโทสจริตนั้นจิกปลายเท้าลง ​ คนโมหจริตย่อมเดินด้วยกิริยาที่ส่ายไปข้าง ๆ  วางเท้ายกเท้าเหมือนคนที่สะดุ้งตกใจ และเท้าของคนโมหจริตนั้นลงส้น ​ ข้อนี้สมด้วยคำที่อรรถาจารย์กล่าวไว้ในอุปบัติแห่งคัณฑิยสูตรว่า ​ 
- 
-คนขี้กำหนัดเท้าเว้ากลาง ​ คนขี้โกรธเท้าจิกปลายลง ​ คนขี้หลงเท้าลงส้น ​ ส่วนเท้าชนิดนี้นี้ ​ เป็นเท้าของท่านผู้ละกิเลส เหมือนดังหลังคาได้แล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 168)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้อิริยาบถยืนของคนราคจริต ​ ก็มีอาการหวานตา ​ น่าเลื่อมใส ​   ของคนโทสจริต ​ มีอาการแข็งกระด้าง ​ ของคนโมหจริตมีอาการซุ่มซ่าม ​ แม้ในอิริยาบถนั่งก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ ​ ส่วนอิริยาบถนอน ​ คนราคจริตไม่รีบร้อน ​ ปูที่นอนอย่างสม่ำเสมอ ​ ค่อย ๆ นอนทอดองค์อวัยวะลงโดยเรียบร้อย ​ นอนหลับด้วยอาการอันน่าเลื่อมใส ​ และเมื่อปลุกให้ตื่นก็ไม่ผลุนผลันลุกขึ้น ขานตอบเบา ๆ เหมือนคนมีความรังเกียจ ​ คนโทสจริตรีบร้อน ​ ปูที่นอนตามแต่จะได้ ​ ทอดกายผลุงลง ​ นอนอย่างเกะกะไม่เรียบร้อย ​ และเมื่อปลุกให้ตื่นก็ผลุนผลันลุกขึ้น ​ ขานตอบเหมือนกับคนโกรธ ​ คนโมหจริต ​ ปูที่นอนไม่ถูกฐานผิดรูป ​ นอนทอดกายส่ายไปข้างโน้นข้างนี้ ​ คว่ำหน้ามาก ​ และเมื่อปลุกให้ตื่น ​ ก็มัวทำเสียงหื้อหื้ออยู่ ​ ลุกขึ้นอย่างเชื่องช้า ​ ส่วนคนศรัทธาจริตเป็นต้น ​ เพราะมีส่วนเข้ากันได้กับคนราคจริตเป็นต้น ​ ฉะนั้น ​ แม้คนศรัทธาจริตเป็นต้นจึงมีอิริยาบถเหมือนกับคนราคจริตเป็นต้นนั่นเทียว 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายโดยอิริยาบถ ​ เป็นประการแรก ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​2. ​ โดยการงาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ข้อว่า ​ โดยการงาน ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  ในการงานต่าง ๆ เช่น ​ การปัดกวาดลานวัดเป็นต้น ​ คนราคจริตจับไม้กวาดเรียบร้อย ​ ไม่รีบร้อน ​ ไม่คุ้ยดินทรายให้เกลื่อนกลาด ​ กวาดสะอาดราบเรียบ ​ เหมือนลาดพื้นด้วยเสื่อปอและดอกไม้ ​ คนโทสจริตจับไม้กวาดแน่นมาก ​ ท่าทางรีบร้อน ​ คุ้ยเอาดินทรายขึ้นไปกองไว้สองข้าง ​ กวาดเสียงดังกราก ๆ  แต่ไม่สะอาดไม่เรียบราบ ​ คนโมหจริตจับไม้กวาดหลวม ๆ  กวาดวนไปวนมาทำให้ดินทรายและหยากเยื่อกลาดเกลื่อน ​ ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย  ​ 
- 
-ในกรณีปัดกวาด ​ ฉันใด ​ แม้ในการงานทั่ว ๆ ไป ​ เช่นการซักจีวร ​ ย้อมจีวร ​ เป็นต้น ​ ก็เหมือนกัน ​ คนราคจริตมักทำอย่างละเอียดลออ ​ เรียบร้อย ​ สม่ำเสมอ ​ และด้วยความตั้งใจ ​ คนโทสจริต ​ มักทำอย่างเคร่งเครียด ​ เข้มแข็ง ​ แต่ไม่สม่ำเสมอ ​ คนโมหจริต ​ มักทำไม่ละเอียดลออ ​ งุ่มง่าม ​ ไม่สม่ำเสมอ ​ และไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ​ แม้การนุ่งห่มจีวร ​ สำหรับคนราคจริต ​ นุ่งห่มไม่ตึงเกินไม่หลวมเกิน ​ นุ่งห่มปริมณฑล ​ น่าเลื่อมใส ​ สำหรับคนโทสจริต ​ นุ่งห่มตึงเปรี๊ยะ ​ ไม่เป็นปริมณฑล ​ สำหรับคนโมหจริต ​ นุ่งห่มหลวม ๆ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 169)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พะรุงพะรัง ​ ส่วนคนศรัทธาจริตเป็นต้น ​ พึงทราบโดยทำนองแห่งคนราคจริตเป็นต้นนั่นเทียว ​ เพราะเป็นผู้มีส่วนเข้ากันได้ ​ กับคนราคจริตเป็นต้นเหล่านั้น 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายโดยการงาน ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​3. ​ โดยอาหาร'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ โดยอาหาร ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  คนราคจริตชอบอาหารที่มีรสหวานจัด ​ และเมื่อบริโภคก็ทำคำข้าวกลมกล่อม ​ ไม่ใหญ่จนเกินไป ​ มีความต้องการรสเป็นสำคัญ ​ บริโภคอย่างไม่รีบร้อน ​ และได้อาหารที่ดี ๆ แล้วจะเป็นอะไรก็ตาม ​ ย่อมดีใจ ​ คนโทสจริตชอบอาหารที่ไม่ประณีต ​ มีรสเปรี้ยว ​ และเมื่อบริโภคก็ทำคำข้าวใหญ่เสียจนเต็มปากไม่ต้องการโอชารส ​ บริโภคอย่างรีบร้อน ​ และได้อาหารที่ไม่ดีแล้วจะเป็นอะไรก็ตาม ​ ย่อมดีใจ ​ คนโมหจริตย่อมไม่ชอบรสอะไรแน่นอน ​ และเมื่อบริโภคก็ทำคำข้าวเล็ก ๆ  ไม่กลมกล่อม ​ ทำเมล็ดข้าวหกเรี่ยราดในภาชนะ ​ ริมฝีปากเปื้อนเปรอะ ​ บริโภคอย่างมีจิตฟุ้งซ่าน ​ นึกพล่านไปถึงสิ่งนั้น ๆ  ฝ่ายคนศรัทธาจริตเป็นต้นก็พึงทราบโดยทำนองของคนราคจริตเป็นต้นนั่นเทียว ​ เพราะเป็นผู้มีส่วนเข้ากันได้กับคนราคจริตเป็นต้นนั้น 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายโดยอาหาร ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​โดยการเห็นเป็นต้น'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ โดยการเห็นเป็นต้น ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ คนราคจริตเห็นรูปที่น่าเจริญใจแม้นิดหน่อย ​ ก็เกิดพิศวงแลดูเสียนาน ๆ  ย่อมข้องติดอยู่ในคุณเพียงเล็กน้อย ​ ไม่ถือโทษแม้ที่เป็นจริง ​ แม้จะหลีกพ้นไปแล้วก็ไม่ประสงค์ที่จะปล่อยวาง ​ หลีกไปทั้ง ๆ ที่มีความอาลัยถึง ​ คนโทสจริตเห็นรูปที่ไม่น่าเจริญใจแม้นิดหน่อยก็เป็นดุจว่าลำบากใจเสียเต็มที ​ ทนแลดูนาน ๆ ไม่ได้ ​ ย่อมเดือดร้อนเป็นทุกข์ในโทษแม้เพียงเล็กน้อย ​ ไม่ถือเอาคุณแม้ที่มีจริง ​ แม้จะหลีกพ้นไปแล้ว ​ ก็ยังปรารถนาที่จะพ้นอยู่นั่นเอง ​ หลีกไปอย่างไม่อาลัยถึง ​ คนโมหจริตเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ​ ย่อมอาศัยคนอื่นกระตุ้นเตือน ​ ครั้นได้ยินคนอื่นเขานินทาก็นินทาตาม ​ ครั้นได้ยินคนอื่นเขาสรรเสริญก็สรรเสริญตาม ​ ส่วนลำพังตนเองเฉย ๆ  ด้วยความเฉยเพราะไม่รู้ ​ แม้ในกรณีที่ได้ฟังเสียงเป็นต้นก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ ​ ส่วนคนศรัทธาจริต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 170)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นต้น ​ พึงทราบโดยทำนองของคนราคจริตเป็นต้นนั่นเทียว ​ เพราะเป็นผู้มีส่วนเข้ากันได้กับคนราคจริตเป็นต้นนั้น 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายโดยการเห็นเป็นต้น ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​5. ​ โดยความเกิดขึ้นแห่งธรรมะ'''​ 
- 
-ข้อว่า ​ โดยความเกิดขึ้นแห่งธรรมะ ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  อกุศลธรรม ​ มีอาทิอย่างนี้คือ ​ ความเสแสร้ง, ​ ความโอ้อวด, ​ ความถือตัว, ​ ความปรารถนาลามก, ​ ความมักมาก, ​ ความไม่สันโดษ, ​ ความแง่งอน, ​ และความมีเล่ห์เหลี่ยม ​ ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนราคจริต ​ อกุศลธรรมมีอาทิอย่างนี้คือ ​ ความโกรธ, ​ ความผูกโกรธ, ​ ความลบหลู่, ​ ความตีเสมอ, ​ ความริษยา ​ และความตระหนี่ ​ ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนโทสจริต ​ อกุศลธรรมมีอาทิอย่างนี้คือ ​ ความหดหู่, ​ ความเซื่องซึม, ​ ความฟุ้งซ่าน, ​ ความรำคาญใจ, ​ ความสงสัย, ​ ความยึดมั่นถือมั่นด้วยความสำคัญผิด ​ และความไม่ปล่อยวาง ​ ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนโมหจริต 
- 
-กุศลธรรมมีอาทิอย่างนี้คือ ​ ความเสียสละเด็ดขาด, ​ ความใคร่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย, ​ ความใคร่ฟังพระสัทธรรม, ​ ความมากไปด้วยปราโมช, ​ ความไม่โอ้อวด, ​ ความไม่มีมารยา ​ และความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ​ ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนศรัทธาจริต ​ กุศลธรรมมีอาทิอย่างนี้ ​ คือ ​ ความเป็นผู้ว่าง่าย, ​ ความเป็นผู้มีมิตรดี, ​ ความรู้จักประมาณในโภชนะอาหาร, ​ ความมีสติสัมปชัญญะ, ​ ความหมั่นประกอบความเพียร, ​ ความเศร้าสลด ​ ในฐานะที่ควรเศร้าสลดและความเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคายของผู้เศร้าสลดแล้ว ​ ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนพุทธิจริต, ​ อกุศลธรรมมีอาทิอย่างนี้คือ ​ ความมากไปด้วยการพูด, ​ ความยินดีในหมู่คณะ, ​ ความไม่ยินดีในการภาวนากุศลธรรม, ​ ความมีการงานไม่แน่นอน, ​ ความบังหวนควันในเวลากลางคืน, ​ ความลุกโพลงในเวลากลางวัน ​ และความคิดพล่านไปโน่น ๆ นี่ ๆ  ย่อมเกิดขึ้นมากแก่คนวิตกจริต 
- 
-นักศึกษาพึงทราบจริยาทั้งหลายโดยความเกิดขึ้นแห่งธรรมะ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​วินิจฉัยวิสัชนาปัญหาข้อที่ ​ 2'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะวิธีแสดงจริยานี้ ​ ไม่ได้มาในบาลีและอรรถกถาโดยประการทั้งปวง ​ ข้าพเจ้ายกมาแสดงไว้โดยอาศัยมติของอาจารย์อย่างเดียว ​ ฉะนั้น ​ จึงไม่ควรเชื่อถือเอา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 171)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โดยเป็นสาระนัก ​ เพราะเหตุว่า ​ อาการทั้งหลายมีอิริยาบถเป็นต้น ​ ของคนราคจริตที่แสดงไว้นั้น ​ แม้จำพวกคนโทสจริตเป็นต้น ​ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ​ ก็สามารถทำได้อยู่ ​ และสำหรับบุคคลผู้มีจริตผสมกันเพียงคนเดียว ​ จริยาทั้งหลายมีอิริยาบถเป็นต้นซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ​ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ 
- 
-ส่วนวิธีแสดงจริยานี้ใดที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย ​ ข้อนั้นเท่านั้นควรเชื่อถือโดยเป็นสาระแท้ ​ สมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ อาจารย์ผู้ได้สำเร็จเจโตปริยญาณ ​ จึงจักรู้จริยาแล้วบอกพระกัมมัฏฐานได้เอง ส่วนอาจารย์นอกนี้ต้องถามอันเตวาสิกผู้จะท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานทั้งนั้น 
- 
-เพราะเหตุฉะนี้ ​ จะพึงทราบได้ว่า ​ บุคคลนี้ ​ เป็นคนราคจริต ​ บุคคลนี้ ​ เป็นคนจริตใดจริตหนึ่งในโทสจริตเป็นต้น ​ ก็ด้วยเจโตปริยญาณ ​ หรือเพราะสอบถามตัวบุคคลผู้นั้นเอง ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​วิสัชนาปัญหาข้อที่ ​ 3'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในปัญหาข้อว่า ​ บุคคลจริตชนิดไหน ​ มีธรรมเป็นที่สบายอย่างไร ​ ฉะนี้นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ – 
- 
-'''​ธรรมเป็นที่สบายของคนราคจริต'''​ 
- 
-จะอธิบายถึงเสนาสนะสำหรับคนราคจริต ​ เป็นประการแรก 
- 
-เสนาสนะ ​ ชนิดที่ตั้งอยู่กับพื้นดิน ​ ชายคารอบ ๆ ไม่ล้างเช็ด ​ ไม่ทำกันสาด เป็นกุฏิมุงหญ้า ​ เป็นบรรณศาลาที่มุงบังด้วยใบตองอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ เปรอะไปด้วยละอองธุลี ​ เต็มไปด้วยค้างคาวเล็ก ๆ  ทะลุปรุโปร่ง ​ และปรักหักพัง ​ สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ​ อยู่ที่ดอนมีความรังเกียจด้วยภัยอันตราย ​ มีทางสกปรก ​ และสูง ๆ ต่ำ ๆ  แม้จะมีเตียงและตั่งก็เต็มไปด้วยตัวเรือด ​ รูปร่างไม่ดี สีไม่งาม ​ ที่พอแต่เพียงแลเห็นก็ให้เกิดความรังเกียจ ​ เสนาสนะเช่นนั้นเป็นที่สบายของคนราคจริต 
- 
-ผ้านุ่งและผ้าห่ม ​ ชนิดที่ขาดแหว่งที่ชาย ​ มีเส้นด้ายสับสนสวนขึ้นสวนลง ​ เช่นเดียวกับขนมร่างแห ​ มีสัมผัสสากเหมือนปอป่าน ​ เป็นผ้าเศร้าหมองและหนัก ​ รักษาลำบากเป็นที่สบายของคนราคจริต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 172)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้บาตร ​ บาตรดินชนิดที่สีไม่งาม ​ หรือบาตรเหล็กชนิดที่ทำลายความงามเสียด้วยแนวตะเข็บและหมุด ​ เป็นบาตรที่หนัก ​ ทรวดทรงไม่ดี ​ น่าเกลียดเหมือนกระโหลกศรีษะ ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนราคจริต 
- 
-แม้ทางสำหรับไปบิณฑบาต ​ ก็เป็นทางชนิดที่ไม่พอใจ ​ ห่างไกลหมู่บ้านขรุขระ ​ ไม่เรียบร้อย ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนราคจริต 
- 
-แม้หมู่บ้านที่ไปรับบิณฑบาต ​ ก็เป็นหมู่บ้านที่มีคนทั้งหลายเที่ยวไปทำเป็นเหมือนไม่เห็น ​ และที่มีคนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุผู้ได้ภิกษาแม้ในตระกูลหนึ่งแล้วให้เข้าไปสู่โรงฉันว่า ​ "​นิมนต์มาทางนี้ขอรับ" ​ ครั้นถวายข้าวต้มและข้าวสวยแล้ว เมื่อจะไปก็พากันไปอย่างไม่เหลียวแล ​ คล้าย ๆ กับคนรับจ้างเลี้ยงโค ​ ต้อนโคเข้าในคอกแล้วก็ไม่เหลียวแล ​ ฉะนั้นหมู่บ้านเช่นนั้นเหมาะสมแก่คนราคจริต 
- 
-แม้พวกคนสำหรับอังคาสปรนนิบัติ ​ ก็เป็นจำพวกทาสหรือกรรมกรที่มีผิวพรรณเศร้าหมองไม่น่าดู ​ เครื่องนุ่งห่มสกปรก ​ เหม็นสาบ ​ น่าสะอิดสะเอียน ​ ที่อังคาสปรนนิบัติโดยอาการไม่เคารพ ​ ทำเหมือนจะเทข้าวต้มและข้าวสวยทิ้ง ​ คนอังคาสปรนนิบัติเช่นนั้น ​ เหมาะสมกับคนราคจริต 
- 
-แม้ข้าวต้มข้าวสวยและของเคี้ยว ​ ก็เป็นชนิดที่เลว ​ สีสันไม่ดี ​ ที่ทำด้วยข้าวฟ่างข้าวกับแก้และข้าวปลายเกรียนเป็นต้น ​ เปรียงบูด ​ ผักเสี้ยนดองแกงผักเก่า ๆ  ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว ​ พอให้เต็มท้องเท่านั้น ​ เหมาะสมแก่คนราคจริต 
- 
-แม้อิริยาบถ ​ อิริยายืนหรืออิริยาบถเดิน ​ เหมาะสมแก่คนราคจริต 
- 
-อารมณ์กัมมัฏฐาน ​ เป็นอารมณ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ ในวรรณกสิณทั้งหลาย ​ มีนีลกสิณเป็นต้น ​ ชนิดที่มีสีไม่สะอาดตา ​ เหมาะสมกับคนราคจริต 
- 
-นี้คือธรรมที่เป็นที่สบายของคนราคจริต ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​ธรรมเป็นที่สบายของคนโทสจริต'''​ 
- 
-เสนาสนะ ​ สำหรับคนโทสจริตนั้น ​ เป็นชนิดที่ไม่สูงเกินไป ​ ไม่ต่ำเกินไป ​ มีร่มเงาบริบุรณ์ด้วยน้ำใช้น้ำฉัน ​ มีฝา ​ เสาและบันไดที่จัดไว้อย่างเรียบร้อย ​ เขียนภาพลายดอกไม้ลายเครือวัลย์สำเร็จเสร็จสรรพ ​ รุ่งเรืองงามด้วยจิตกรรมนานาชนิด ​ มีพื้นเรียบ ​ เกลี้ยง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 173)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เกลา ​ นุ่มนิ่ม ​ มีพวงดอกไม้และผ้าสีอันวิจิตรประดับเพดานอย่างเป็นระเบียบ ​ คล้ายกับวิมานพรหม ​ เครื่องปูลาดและเตียงตั่งจัดแจงแต่งไว้อย่างดี ​ สะอาดน่ารื่นรมย์ ​ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยเครื่องอบดอกไม้ที่จัดวางไว้เพื่อให้อบ ​ ณ  ที่นั้น ๆ  ซึ่งพอเห็นเท่านั้นก็ให้เกิดความปีติปราโมช ​ เสนาสนะเห็นปานฉะนี้ ​ เป็นที่สบายของคนโทสจริต 
- 
-แม้ทางสำหรับเสนาสนะ ​ นั้น ​ ก็เป็นสิ่งปลอดภัยอันตรายทั้งปวง ​ มีพื้นสะอาดและสม่ำเสมอ ​ ประดับตกแต่งเรียบร้อย ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-แม้เครื่องใช้สำหรับเสนาสนะ ​ ในทีนี้ ​ ก็ไม่ต้องมีมากนัก ​ มีเพียงเตียงและตั่งตัวเดียวก็พอ ​ ทั้งนี้เพื่อตัดไม่ให้เป็นที่อาศัยของจำพวกสัตว์ต่าง ๆ  เช่นแมลงสาบ ​ เรือด งูและหนูเป็นต้น ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-ผ้านุ่งและผ้าห่ม ​ ก็เป็นประเภทผ้าเมืองจีน ​ ผ้าเมืองโสมาร ​ ผ้าไหมผ้าฝ้ายและผ้าเปลือกไม้อย่างละเอียด ​ ซึ่งเป็นของประณีตชนิดใด ๆ ก็ตาม ​ เอาผ้าชนิดนั้น ๆ มาทำเป็นชั้นเดียวหรือสองชั้น ​ เป็นผ้าเบา ​ ย้อมดี ​ มีสีสะอาด ​ ควรแก่สมณะ ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-บาตร ​ เป็นชนิดบาตรเหล็ก ​ มีทรวดทรงดีเหมือนต่อมน้ำ ​ เกลี้ยงเกลาเหลาหล่อเหมือนแก้วมณี ​ ไม่มีสนิม ​ มีสีสะอาดควรแก่สมณะ ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-ทางสำหรับไปบิณฑบาต ​ เป็นชนิดที่ปลอดภัยอันตราย ​ สม่ำเสมอ ​ น่าเจริญใจ ​ ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-แม้หมู่บ้านที่ไปรับบิณฑบาต ​ ก็เป็นหมู่บ้านที่มีคนทั้งหลายคิดว่า ​ พระผู้เป็นเจ้าจักมาเดี๋ยวนี้แล้ว ​ จึงปูอาสนะเตรียมไว้ ​ ณ  ประเทศที่สะอาดเกลี้ยงเกลา ​ ลุกรับ ​ ช่วยถือบาตรนิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน ​ นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ​ จึงอังคาสเลี้ยงดูด้วยมือของตนโดยความเคารพ ​ หมู่บ้านเช่นนี้ ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-คนปรนนิบัติเลี้ยงดู ​ เป็นคนรูปร่างสวย ​ น่าเลื่อมใส ​ อาบน้ำชำระกายดีแล้วไล้ทาตัวดีแล้ว ​ หอมฟุ้งด้วยกลิ่นธูปกลิ่นเครื่องอบและกลิ่นดอกไม้ ​ ประดับตกแต่งด้วยผ้าและอาภรณ์ที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ  ล้วนแต่สะอาดและน่าภูมิใจ ​ มีปกติทำการปรนนิบัติด้วยความเคารพ ​ คนปรนนิบัติเลี้ยงดูเช่นนั้น ​ จึงเป็นที่สบายแก่คนโทสจริต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 174)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้ข้าวต้มข้าวสวยและของเคี้ยว ​ ก็เป็นชนิดที่มีสีต้องตา ​ ถึงพร้อมด้วยกลิ่นและรส ​ มีโอชาน่าชอบใจ ​ ประณีตโดยประการทั้งปวง ​ และเพียงพอแก่ความต้องการ ​ จึงเหมาะสมแก่คนโทสจริต 
- 
-แม้อิริยาบถ ​ ก็ต้องเป็นอิริยาบถนอนหรืออิริยาบถนั่ง ​ จึงเหมาะสมแก่คนโทสจริต  ​ 
- 
-อารมณ์กัมมัฏฐาน ​ เป็นอารมณ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ ในวรรณกสิณทั้งหลาย ​ มีนีลกสิณเป็นต้น ​ ซึ่งเป็นชนิดที่มีสีสะอาดหมดจดเป็นอย่างดี 
- 
-นี้คือธรรมเป็นที่สบายของคนโทสจริต ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​ธรรมเป็นที่สบายของคนโมหจริต'''​ 
- 
-สำหรับคนโมหจริตนั้น ​ เสนาสนะต้องหันหน้าสู่ทิศไม่คับแคบ ​ ที่เมื่อนั่งแล้วทิศย่อมปรากฏโล่งสว่าง ​ ในบรรดาอิริยาบถ 4  อิริยาบถเดินจึงจะเหมาะสม ​ ส่วนอารมณ์กัมมัฏฐานขนาดเล็กเท่าตะแกรง ​ หรือเท่าขันโอ ​ ย่อมไม่เหมาะสมแก่คนโมหจริตนั้น ​ เพราะเมื่อโอกาสคับแคบ ​ จิตก็จะถึงความมึนงงยิ่งขึ้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ดวงกสิณขนาดใหญ่กว้างมากจึงจะเหมาะสม ​ ประการที่เหลือ ​ มีเสนาสนะเป็นต้น ​ ซึ่งควรจะยกมาแสดงสำหรับคนโมหจริต ​ พึงเข้าใจว่ามีลักษณะเช่นเดียวกันกับการที่ได้แสดงไว้แล้วสำหรับคนโทสจริตนั่นแล 
- 
-นี้คือธรรมเป็นที่สบายแก่คนโมหจริต ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​ธรรมเป็นที่สบายของคนศรัทธาจริตเป็นต้น'''​ 
- 
-วิธีที่ได้แสดงมาแล้วในคนโทสจริตแม้ทุก ๆ ประการ ​ จัดเป็นธรรมเป็นที่สบาย ​ สำหรับคนศรัทธาจริตด้วย ​ แหละในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐานทั้งหลาย ​ เฉพาะอนุสสติกัมมัฏฐานจึงจะเหมาะสมแก่คนศรัทธาจริต 
- 
-สำหรับคนพุทธิจริตนั้น ​ ไม่มีข้อที่จะต้องกล่าวว่า ​ ในบรรดาสัปปายะทั้งหลาย ​ มีเสนาสนะสัปปายะเป็นต้น ​ สิ่งนี้ย่อมเป็นที่สบายแก่พุทธิจริตฉะนี้ ​ 
- 
-สำหรับคนวิตกจริตนั้น ​ เสนาสนะที่โล่งโถงหันหน้าสู่ทิศสว่าง ​ ที่เมื่อนั่งแล้วสวน, ​ ป่า, ​ สระโบกขรณี, ​ ทิวแถบแห่งหมู่บ้าน, ​ นิคมชนบท ​ และภูเขาอันมีสีเขียวชะอุ่ม ​ ย่อมปรากฏ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 175)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เห็นเด่นชัด ​ เสนาสนะเช่นนั้นย่อมไม่เหมาะสม ​ เพราะเสนาสนะอันมีลักษณะเช่นนี้นั้น ​ ย่อมเป็นปัจจัยทำให้วิตกวิ่งพล่านไปนั่นเทียว ​ เพราะฉะนั้น ​ วิตกจริตบุคคลพึงอยู่ในเสนาสนะที่ตั้งอยู่ในซอกเขาลึก ​ มีป่ากำบัง ​ เช่นเงื้อมเขาท้องช้างและถ้ำชื่อมหินทะ ​ เป็นต้น ​ แม้อารมณ์กัมมัฏฐานชนิดกว้างใหญ่ก็ไม่เหมาะสมแก่คนวิตกจริต ​ เพราะอารมณ์เช่นนั้นย่อมเป็นปัจจัยทำให้จิตแล่นพล่านไปด้วยอำนาจแห่งวิตก ​ แต่อารมณ์ชนิดเล็กจึงจะเหมาะสม ​ ประการที่เหลือ ​ เหมือนกับที่ได้แสดงมาแล้วสำหรับคนราคจริตนั่นเทียว 
- 
-นี้คือธรรมเป็นที่สบายสำหรับคนวิตกจริต ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-อรรถาธิบายอย่างพิสดาร ​ โดยประเภท, ​ เหตุให้เกิด, ​ วิธีให้รู้ ​ และธรรมเป็นที่สบายของจริยาทั้งหลาย ​ ซึ่งมาในหัวข้อว่า ​ อันเหมาะสมแก่จริตจริยาของตน ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-ส่วนกัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่จริยานั้น ​ ข้าพเจ้ายังจะไม่แสดงให้แจ้งชัดโดยสิ้นเชิงก่อน ​ เพราะกัมมัฏฐานนั้น ๆ  จักปรากฏแจ้งชัดด้วยตัวเอง ​ ในอรรถาธิบายพิสดารของหัวข้อถัดไปนี้ 
- 
-==10 วิธีวินิจฉัยกัมมัฏฐาน 40== 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​ ในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ ท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาพระกัมมัฏฐาน ​ 40  ประการ ​ ฉะนี้นั้น ​ ประการแรกนักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยอาการ ​ 10  อย่าง ​ ดังนี้ ​ คือ- 
- 
-1.      วิธีแสดงจำนวนกัมมัฏฐาน 
- 
-2.      วิธีการนำมาซึ่งอุปจารฌานและอัปปนาฌาน 
- 
-3.      วิธีความต่างกันแห่งฌาน 
- 
-4.      วิธีผ่านองค์ฌานและอารมณ์ 
- 
-5.      วิธีควรขยายและไม่ควรขยาย 
- 
-6.      วิธีอารมณ์ของฌาน 
- 
-7.      วิธีภูมิเป็นที่บังเกิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 176)''</​fs></​sub>​ 
- 
-8.      วิธีการถือเอา 
- 
-9.      วิธีความเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ​ และ 
- 
-10.      วิธีเหมาะสมแก่จริยา 
- 
-===โดยอธิบายวิธีนับจำนวน=== 
- 
-ในวิธีวินิจฉัย ​ 10  ข้อนั้น ​ ข้อแรกว่า ​ โดยอธิบายวิธีนับจำนวน ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  ก็ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า ​ ในบรรดาพระกัมมัฏฐาน ​ 40  ประการ ดังนี้ หมายถึง พระกัมมัฏฐาน ​ 40  ประการนั้น (จัดเป็น 7 ประเภท) คือ – 
- 
-1.      กสิณกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง 
- 
-2.      อสุภกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง 
- 
-3.      อนุสสติกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง (ุ6+4) 
- 
-4.      พรหมวิหารกัมมัฏฐาน ​ 4  อย่าง 
- 
-5.      อารุปปกัมมัฏฐาน ​ 4  อย่าง 
- 
-6.      สัญญากัมมัฏฐาน ​ 1  อย่าง ​ และ 
- 
-7.      ววัตถานกัมมัฏฐาน ​ 1  อย่าง 
- 
-(ใน 7 ประเภทนั้น) 
- 
-'''​1/​7. ​ กสิณกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-1.      ปถวีกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยดิน 
- 
-2.      อาโปกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยน้ำ 
- 
-3.      เตโชกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยไฟ 
- 
-4.      วาโยกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยลม 
- 
-5.      นีลกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยสีเขียว 
- 
-6.      ปีตกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยสีเหลือง 
- 
-7.      โลหิตกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยสีแดง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 177)''</​fs></​sub>​ 
- 
-8.      โอทาตกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยสีขาว 
- 
-9.      อาโลกกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยแสงสว่าง ​ และ 
- 
-10.      ปริจฉินนากาสกสิณ ​   กสิณสำเร็จด้วยช่องว่างซึ่งกำหนดขึ้น 
- 
-'''​2/​7. ​ อสุภกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง ​  ​คือ'''​ 
- 
-1.       ​อุทธุมาตกอสุภ ​   ซากศพที่ขึ้นพองน่าเกลียด 
- 
-2.      วินีลกอสุภ ​   ซากศพที่ขึ้นเป็นสีเขียวน่าเกลียด 
- 
-3.      วิปุพพกอสุภ ​   ซากศพที่มีแต่หนองแตกพลักน่าเกลียด 
- 
-4.      วิจฉิททกอสุภ ​   ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อน ๆ  น่าเกลียด 
- 
-5.      วิกขายิตกอสุภ ​   ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกระจุยกระจายน่าเกลียด 
- 
-6.      วิกขิตตกอสุภ ​   ซากศพที่ทิ้งไว้เรี่ยราดน่าเกลียด 
- 
-7.      หตวิกขิตตกอสุภ ​   ซากศพที่ถูกสับฟันทิ้งกระจัดกระจายน่าเกลียด 
- 
-8.      โลหิตกอสุภ ​   ซากศพที่มีโลหิตไหลออกน่าเกลียด 
- 
-9.      ปุฬุวกอสุภ ​   ซากศพที่เต็มไปด้วยหนอนน่าเกลียด ​ และ 
- 
-10.      อัฏฐิกอสุภ ​   ซากศพที่เป็นกระดูกน่าเกลียด 
- 
-'''​3/​7. ​ อนุสสติกัมมัฏฐาน ​ 10  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-1.    พุทธานุสสติ ​   ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า 
- 
-2.    ธัมมานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณของพระธรรม 
- 
-3.    สังฆานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ 
- 
-4.    สีลานุสสติ ​   ระลึกถึงศีลของตน 
- 
-5.    จาคานุสสติ ​   ระลึกถึงการบริจาคที่ตนบริจาคแล้ว 
- 
-6.    เทวตานุสสติ ​   ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา 
- 
-7.    มรณานุสสติ ​   ระลึกถึงความตาย 
- 
-8.    กายคตาสติ ​   ระลึกถึงร่างกายที่ล้วนแต่ไม่สะอาด 
- 
-9.    อานาปานสติ ​   ระลึกถึงกำหนดลมหายใจเข้าออก ​ และ 
- 
-10.    อุปสมานุสสติ ​   ระลึกถึงนิพพานอันเป็นที่ดับทุกข์ทั้งปวง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 178)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​4/​7. ​ พรหมวิหารกัมมัฏฐาน ​ 4  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-1.    เมตตา ​   ความรักที่มุ่งช่วยทำประโยชน์ 
- 
-2.    กรุณา ​   ความสงสารที่มุ่งช่วยบำบัดทุกข์ 
- 
-3.    มุทิตา ​   ความพลอยยินดีต่อสมบัติ ​ และ 
- 
-4.    อุเปกขา ​   ความเป็นกลางไม่เข้าฝ่ายใด 
- 
-'''​5/​7. ​ อารุปปกัมมัฏฐาน ​ 4  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-1.    อากาสานัญจายตนะ ​   อากาศไม่มีที่สุด 
- 
-2.    วิญญาณัญจายตนะ ​   วิญญาณไม่มีที่สุด 
- 
-3.    อากิญจัญญายตนะ ​   ความไม่มีอะไร ​ และ 
- 
-4.    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ​   สัญญาละเอียด ​ ซึ่งจะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ 
- 
-ไม่มีก็ไม่ใช่ 
- 
-'''​6/​7. ​ สัญญา ​ 1  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-อาหาเรปฏิกูลสัญญา ​   ความหมายรู้ในอาหารโดยเป็นสิ่งที่น่าเกียด 
- 
-'''​7/​7. ​ ววัตถาน ​ 1  อย่าง ​ คือ'''​ 
- 
-จตุธาตุววัตถาน ​   การกำหนดแยกร่างกายออกเป็นธาตุ ​ 4 
- 
-นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยแสดงจำนวน ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยนำมาซึ่งอุปจารฌานและอัปปนาฌาน=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยนำมาซึ่งอุปจารฌานและอัปปนาฌาน ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้- ​ ก็แหละ ​ ในกัมมัฏฐาน ​ 40  ประการนั้น ​ เฉพาะกัมมัฏฐาน ​ 10  ประการ ​ คือ ​ ยกเว้นกายคตาสติกับอานาปานสติเสีย ​ อนุสสติกัมมัฏฐานที่เหลือ ​ 8  กับอาหาเรปฏิกูลสัญญา ​ 1  จตุธาตุววัตถาน ​ 1  นำมาซึ่งอุปจารฌาน ​ กัมมัฏฐานที่เหลือ ​ 30  ประการ ​ นำมาซึ่งอัปปนาฌาน 
- 
-นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยนำมาซึ่งอุปจารฌานและอัปปนาฌานด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 179)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===โดยความต่างกันแห่งฌาน=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยความต่างกันแห่งฌาน ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  แหละในกัมมัฏฐาน ​ 30  ประการที่นำมาซึ่งอัปปนาฌานนั้น ​ กสิณ ​ 10  กับ ​ อานาปานสติ ​ 1  รวมเป็น ​ 11  ประการ ​ ย่อมให้สำเร็จฌานได้ทั้ง ​ 4  ฌาน ​ อสุภ 10  กับ ​ กายคตาสติ 1  รวมเป็น 11  ประการ ​ ย่อมให้สำเร็จเพียงปฐมฌานอย่างเดียว ​ พรหมวิหาร 3  ข้างต้นให้สำเร็จฌาน 3  ข้างต้น ​ พรหมวิหาร ​ ข้อที่ 4  และอรุปปกัมมัฏฐาน 4  ย่อมให้สำเร็จฌานที่ 4 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยความต่างกันแห่งฌานด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยผ่านองค์ฌานและอารมณ์=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยผ่านองค์ฌานและอารมณ์ ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  การผ่านนั้นมี 2  อย่าง ​ คือ ​ การผ่านองค์ฌาน 1  การผ่านอารมณ์ 1  ใน 2  อย่างนั้น ​ การผ่านองค์ฌานย่อมมีได้ในกัมมัฏฐานที่ให้สำเร็จฌาน 3  และฌาน 4  แม้ทั้งหมด ​ ทั้งนี้ ​ เพราะทุติยฌาน ​ เป็นต้นที่ฌานลาภีบุคคลจะพึงได้บรรลุในอารมณ์เดียวกันนั้น ​ ต้องผ่านองค์ฌานทั้งหลาย ​ มีวิตกและวิจารเป็นต้นขึ้นไป ​ ในพรหมวิหารข้อที่ 4  ก็เหมือนกัน ​ เพราะแม้พรหมวิหารข้อที่ 4  นั้น ​ อันฌานลาภีบุคคลจะพึงได้บรรลุ ​ ก็ต้องผ่านโสมนัสเวทนาในอารมณ์ของพรหมวิหาร 3   ​มีเมตตาเป็นต้นไปเหมือนกัน 
- 
-ส่วนการผ่านอารมณ์ ​ ย่อมมีได้ในอารุปปกัมมัฏฐาน 4  เพราะอากาสานัญจายตนฌานอันฌานลาภีบุคคลจะพึงได้บรรลุ ​ ก็ต้องผ่านกสิณอันใดอันหนึ่งในบรรดากสิณ 9  อย่างข้างต้น ​ และวิญญานัญจายตนฌานเป็นต้นอันฌานลาภีบุคคลจะพึงได้บรรลุ ​ ก็ต้องผ่านอารมณ์ทั้งหลายมีอากาศเป็นต้นขึ้นไป ​ การผ่านอารมณ์หาได้มีในกัมมัฏฐานที่เหลือนอกจากนี้ไม่ 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยผ่านองค์ฌานและอารมณ์ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 180)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===โดยควรขยายและไม่ควรขยาย=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยควรขยายและไม่ควรขยาย ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ 
- 
-'''​กัมมัฏฐานที่ควรขยาย'''​ 
- 
-ในกัมมัฏฐาน 40  ประการนั้น ​ กสิณกัมมัฏฐานที่ควรขยายทั้ง 10  ประการนั่นเทียว ​ เพราะว่า ​ โยคีบุคคลแผ่กสิณไปสู่โอกาสได้ประมาณเท่าใด ​ ก็สามารถได้ยินเสียงด้วยทิพโสต ​ เห็นรูปได้ด้วยทิพจักษุและรู้จิตของสัตว์อื่นได้ด้วยจิต ​ ภายในโอกาสประมาณเท่านั้น 
- 
-'''​กัมมัฏฐานที่ไม่ควรขยาย'''​ 
- 
-ส่วนกายคตาสติ ​ กับ ​ อสุภกัมมัฏฐาน 10  ประการ ​ ไม่ควรขยาย ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะกัมมัฏฐานเหล่านี้ ​ โยคีบุคคลกำหนดเอาด้วยโอกาสเฉพาะ และเพราะไม่มีอานิสงส์อะไร และข้อที่กัมมัฏฐานเหล่านี้อันโยคีบุคคลกำหนดเอาด้วยโอกาสเฉพาะนั้น ​ จักปรากฏในแผนกแห่งภาวนาของกัมมัฏฐานนั้น ๆ  ข้างหน้า ​ แหละเมื่อโยคีบุคคลขยายกัมมัฏฐานเหล่านี้แล้ว ​ ก็เป็นแต่เพียงขยายกองแห่งซากศพเท่านั้น ​ หามีอานิสงส์อะไรแต่ประการใดไม่ ​ แม้ความข้อนี้สมกับที่ท่านกล่าวไว้ในโสปากปัญหาพยากรณ์ว่า ​ ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาค ​ รูปสัญญาปรากฏชัดแล้ว ​ แต่อัฏฐิกสัญญาไม่ปรากฏชัด ​ ก็ในปัญหาพยากรณ์นั้นที่ท่านกล่าวว่าอัฏฐิกสัญญาไม่ปรากฏชัดนั้น ​ ท่านกล่าวด้วยอำนาจที่ไม่ได้ขยายนิมิต 
- 
-ส่วนพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ​ ภิกษุแผ่อัฏฐิกสัญญาไปสู่แผ่นดินทั่วสิ้น ​ ฉะนี้นั้น ​ พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจอาการที่ปรากฏแก่ภิกษุผู้มีอัฏฐิกสัญญา ​ หาได้ตรัสด้วยการขยายนิมิตไม่ ​ จริงอย่างนั้น ​ ในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมาโศกราช ​ ได้มีนกกรวีกเห็นเงาของตนที่ฝาซึ่งทำด้วยกระจกโดยรอบ ๆ  ตัวแล้ว ​ มันสำคัญว่ามีนกกรวีกอยู่ในทั่วทุกทิศ ​ จึงได้ร้องออกไปด้วยเสียงอันไพเราะ ​ แม้พระเถระก็เช่นเดียวกัน ​ เพราะท่านได้สำเร็จอัฏฐิกสัญญา ​ จึงเห็นนิมิตปรากฏอยู่ทั่วทุกทิศ ​ เลยเข้าใจว่า ​ แผ่นดินแม้ทั้งหมดเต็มไปด้วยอัฐิ ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 181)''</​fs></​sub>​ 
- 
-หากเกิดปัญหาขึ้นว่า ​ ถ้าเมื่อถือเอาความอย่างนี้แล้ว ​ ภาวะที่อสุภฌานทั้งหลายมี ​ อารมณ์หาประมาณมิได้อันใด ​ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในธัมมสังคหะ ​ ข้อนั้นก็จะผิดเสียละซี ? 
- 
-วิสัชนาว่า ​ ข้อนั้นไม่ใช่จะผิดไปเสียเลย ​ เพราะโยคีบุคคลบางคนย่อมถือเอานิมิตในซากศพที่ขึ้นพองหรือในซากศพที่เป็นโครงกระดูกชนิดใหญ่ ​ บางคนก็ถือเอานิมิตในซากศพ ​ เช่นนั้นชนิดเล็ก ​ โดยปริยายนี้ฌานของโยคีบุคคลบางคนจึงมีอารมณ์เล็ก ​ บางคนมีอารมณ์หาประมาณมิได้ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ คำว่า ​ ฌานมีอารมณ์หาประมาณมิได้ ​ ท่านหมายเอาโยคีบุคคลที่ไม่เห็นโทษในการขยายนิมิตแห่งอสุภกัมมัฏฐานนั้นแล้วขยายกัมมัฏฐานนั้น ​ แต่อย่างไรก็ตาม ​ กายคตาสติกัมมัฏฐานกับอสุภกัมมัฏฐาน 10  ประการ ​ ไม่ควรขยาย ​ เพราะไม่มีอานิสงส์อะไร 
- 
-มิใช่แต่เท่านี้ ​ แม้กัมมัฏฐานที่เหลือก็ไม่ควรขยายเช่นเดียวกับกายคตาสติ ​ และอสุภกัมมัฏฐานนี้ ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะว่า ​ ในบรรดากัมมัฏฐานเหล่านั้น ​ นิมิตแห่งอานาปานสติ ​ เมื่อโยคีบุคคลขยาย ​ ก็จะขยายแต่กองแห่งลมเท่านั้น ​ และนิมิตแห่งอานาปานสตินั้น ​ กำหนดเอาด้วยโอกาสเฉพาะ ​ เช่นนิมิตที่ปลายจมูกและริมฝีปากเป็นต้น ​ ฉะนี้ ​ อานาปานสติกัมมัฏฐานจึงไม่ควรขยาย ​ เพราะมีแต่โทษอย่างหนึ่ง ​ เพราะโยคีบุคคลกำหนดเอาด้วยโอกาสเฉพาะอย่างหนึ่ง 
- 
-พรหมวิหาร 4  มีสัตว์เป็นอารมณ์ ​ เมื่อขยายอารมณ์ของพรหมวิหารเหล่านั้น ​ ก็จะขยายแต่กองแห่งสัตว์เท่านั้น ​ ที่จะได้ประโยชน์อะไรกับการขยายกองแห่งสัตว์นั้น ​ หามีไม่ เพราะฉะนั้น ​ แม้อารมณ์ของพรหมวิหารเหล่านั้นก็ไม่ควรขยาย ​ ส่วนพระพุทธพจน์ใดที่ทรงแสดงไว้ว่า ​ ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา ​ แผ่เมตตาจิตไปทางทิศหนึ่งอยู่ ​ ฉะนี้นั้น ​ ทรงแสดงด้วยอำนาจการกำหนดถือเอาต่างหาก ​ หาใช่ด้วยอำนาจการขยายนิมิตไม่ ​ จริงอยู่ ​ ภิกษุกำหนดเอาสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในทิศหนึ่งแล้วจึงเจริญเมตตาไปโดยลำดับมีอาทิว่า ​ อาวาสหนึ่ง ​ สองอาวาส ​ ฉะนี้ ​ พระพุทธองค์ตรัสว่า ​ ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปทางทิศหนึ่งอยู่ ​ มิใช่ภิกษุขยายนิมิตกัมมัฏฐาน ​ อนึ่ง ​ ในพรหมวิหารภาวนานี้เล่า ​ ก็ไม่มีปฏิภาคนิมิตที่โยคีบุคคลนี้จะพึงขยายด้วย ​ แม้การที่พรหมวิหารฌานมีอารมณ์เล็กน้อยและมีอารมณ์หาประมาณมิได้ในอธิการนี้ ​ พึงทราบด้วยอำนาจการกำหนดเอาสัตว์จำนวนมากเป็นเกณฑ์ต่างหาก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 182)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้ในอารมณ์ของอารุปปฌาน 4  นั้น ​ อากาศ ​ (หมายเอาอากาสานัญจายตนะ) ​ ก็ไม่ควรขยาย ​ เพราะเป็นกสิณุคฆาฏิมากาศ ​ คืออากาศตรงที่เพิกกสิณออก ​ จริงอยู่ ​ กสิณุคฆาฏิมากาศ ​ (อากาศที่เพิกกสิณออก) ​ นั้น ​ โยคีบุคคลพึงสนใจแต่เพียงว่าเป็นที่ปราศจากกสิณเท่านั้น ​ นอกเหนือไปจากนั้น ​ แม้จะขยายก็ไม่มีประโยชน์อะไร ​ วิญญาณ ​ (หมายเอาวิญญาณัญจายตนะ) ​ ก็ไม่ควรขยาย ​ เพราะเป็นสภาวธรรม ​ จริงอยู่ใคร ๆ  ก็ตามไม่สามารถจะขยายสภาวธรรมได้ ​ ความปราศจากวิญญาณ ​ (หมายเอาอากิญจัญญายตนะ) ​ ก็ไม่ควรขยาย ​ เพราะเป็นภาวะสักว่าความไม่มีแห่งวิญญาณ ​ อารมณ์ของเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ​ ก็ไม่ควรขยาย ​ เพราะเป็นสภาวธรรมเช่นเดียวกัน 
- 
-กัมมัฏฐานที่เหลืออีก ​ 10  มีพุทธานุสสติเป็นต้น ​ ก็ไม่ควรขยาย ​ ด้วยไม่มีปฏิภาคนิมิต ​ เพราะกัมมัฏฐานที่มีปฏิภาคนิมิตเท่านั้น ​ ที่เป็นกัมมัฏฐานควรจะขยาย ​ และอารมณ์ที่เป็นปฏิภาคนิมิตของกัมมัฏฐาน 10  ประการมีพุทธานุสสติเป็นต้น ​ หามีไม่ ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงไม่ควรขยายอารมณ์นั้น 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยควรขยายและไม่ควรขยายด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยอารมณ์ของฌาน=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยอารมณ์ของฌาน ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  ก็แหละในกัมมัฏฐาน 40  ประการนั้น ​ กสิณ 10  อสุภ 10  อานาปานสติ 1  กายคตาสติ 1  รวม 22  กัมมัฏฐานนี้ ​ มีอารมณ์เป็นปฏิภาคนิมิต ​ กัมมัฏฐานที่เหลือ 18  มีอารมณ์ไม่เป็นปฏิภาคนิมิต 
- 
-อนึ่ง ​ ในอนุสสติ 10  ยกเว้นอานาปานสติกับกายคตาสติเสีย ​ อนุสสติที่เหลือ 8  กับอาหาเรปฏิกูลสัญญา 1  จตุธาตุววัตถาน 1  วิญญาณัญจายตนะ 1  เนวสัญญานาสัญญายตนะ 1  รวม 12  กัมมัฏฐานนี้ ​ มีอารมณ์เป็นสภาวธรรม ​ กสิณ ​ 10  อสุภ 10  อานาปานสติ 1  กายคตาสติ 1  รวม 22 กัมมัฏฐานนี้ ​ มีอารมณ์เป็นนิมิต ​ กัมมัฏฐานที่เหลือ 6  คือ ​ พรหมวิหาร 4  อากาสานัญจายตนะ 1  อากิญจัญญายตนะ 1  มีอารมณ์ที่พูดไม่ถูก ​ (คือ ​ ไม่ใช่สภาวธรรมและไม่เป็นนิมิต) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 183)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ วิปุพพกอสุภ 1  โลหิตกอสุภ 1  ปุฬุวกอสุภ 1  อานาปานสติ 1  อาโปกสิณ 1  เตโชกสิณ 1  วาโยกสิณ 1  และอารมณ์คือดวงแสงแห่งอาทิตย์เป็นต้น ​ ที่ฉายเข้าไปข้างใน ​ โดยทางช่องหน้าต่างเป็นต้น ​ ในอาโลกกสิณนั้น 1  รวม 8  กัมมัฏฐานนี้ ​ มีอารมณ์เคลื่อนไหวได้ ​ แต่ก็เคลื่อนไหวได้ในเบื้องต้นก่อนแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นเท่านั้น ​ ส่วนที่เป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว ​ ก็สงบนิ่งเหมือนกัน ​ กัมมัฏฐานที่เหลือจาก 8  กัมมัฏฐานนี้ มีอารมณ์ไม่เคลื่อนไหว 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานในอารมณ์ของฌานด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยภูมิเป็นที่บังเกิด=== 
- 
-ก็แหละ ​ ในข้อว่า ​ โดยภูมิเป็นที่บังเกิด ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  อสุภกัมมัฏฐาน 10  กายคตาสติ 1  อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1  รวม ​ 12  กัมมัฏฐานนี้ ​ ย่อมไม่บังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ​ เพราะซากศพและอาหารอันน่าเกลียดไม่มีในเทวโลกชั้นนั้น ​ กัมมัฏฐาน 12  นั้น ​ รวมกับอานาปานสติ 1  เป็น 13  กัมมัฏฐานนี้ ​ ย่อมไม่บังเกิดในพรหมโลก ​ เพราะลมอัสสาสะปัสสาสะไม่มีในพรหมโลก ​ กัมมัฏฐานอื่น ๆ  นอกจากอารุปปกัมมัฏฐาน 4  แล้ว ย่อมไม่บังเกิดในอรูปภพ ​ ส่วนในโลกมนุษย์ ​ กัมมัฏฐานบังเกิดได้ครบหมดทั้ง ​ 40  ประการ  ​ 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยภูมิเป็นที่บังเกิด ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยการถือเอา=== 
- 
-ในข้อว่า ​ โดยการถือเอา ​ นั้น ​ พึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐาน ​ แม้โดยการถือเอาด้วยวัตถุที่ได้เห็น, ​ ได้ถูกต้อง ​ และที่ได้ยินดังนี้ -  ในกัมมัฏฐานเหล่านั้น ​ ยกเว้นวาโยกสิณเสีย ​ กสิณที่เหลือ 9  กับ ​ อสุภ 10  รวมเป็น 19  กัมมัฏฐานนี้ ​ พึงถือเอาได้ด้วยสีที่ได้เห็น ​ อธิบายว่า ​ ในเบื้องต้นต้องแลดูด้วยตาเสียก่อนแล้วจึงถือเอานิมิตของกัมมัฏฐานเหล่านั้นได้ในกายคตาสติ ​ อาการ 5  คือ ​ ผม, ​ ขน, ​ เล็บ, ​ ฟัน, ​ และหนัง ​ พึงถือเอาได้ด้วยสีที่ได้เห็น ​ อาการที่เหลือ 27  พึงถือเอาได้ด้วยเสียงที่ได้ยิน ​ ดังนั้น ​ อารมณ์ของกายคตาสติกัมมัฏฐาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 184)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พึงถือเอาได้ด้วยสีที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ยิน ​ ฉะนี้ ​ อานาปานสติกัมมัฏฐาน ​ พึงถือเอาได้ด้วยการถูกต้อง ​ วาโยกสิณพึงถือเอาได้ด้วยสีที่ได้เห็นและสัมผัสที่ได้ถูกต้อง ​ กัมมัฏฐานที่เหลืออีก 18  พึงถือเอาได้ด้วยเสียงที่ได้ยิน ​ แหละในกัมมัฏฐาน 40  ประการนั้น ​ กัมมัฏฐาน 5  คือ ​ อุเปกขาพรหมวิหาร 1  อารุปปกัมมัฏฐาน 4  อันโยคีบุคคลผู้เริ่มลงมือทำกัมมัฏฐาน ​ จะพึงถือเอาไม่ได้ในทันทีทีเดียว ​ กัมมัฏฐานที่เหลืออีก ​ 35  จึงถือเอาได้โดยทันที 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยการถือเอา ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยความเป็นปัจจัยเกื้อหนุน=== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยความเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  ก็แหละในบรรดากัมมัฏฐานเหล่านี้ ​ ยกเว้นอากาสกสิณเสีย ​ กสิณที่เหลือ 9  ประการ ​ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อารุปปฌานทั้งหลาย ​ กสิณทั้ง 10  ประการ ​ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อภิญญาทั้งหลาย ​  ​พรหมวิหาร 3  (ข้างต้น) ​ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่พรหมวิหารข้อที่ 4  อารุปปกัมมัฏฐานบทต่ำ ๆ  ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อารุปปกัมมัฏฐานบทสูง ๆ  เนวสัญญานาสัญญายตนกัมมัฏฐาน ​ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่นิโรธสมาบัติ ​ กัมมัฏฐานแม้ทั้งหมด ​ ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่การอยู่เป็นสุข ​ แก่วิปัสนากัมมัฏฐาน ​ และแก่ภวสมบัติทั้งหลาย 
- 
-ฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยความเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===โดยเหมาะสมแก่จริยา=== 
- 
-ในข้อว่า ​ โดยเหมาะสมแก่จริยา ​  ​นี้ ​ พึงทราบการวินิจฉัยแม้โดยความเหมาะสม ​ แก่จริยาทั้งหลาย ​ ดังนี้ – 
- 
-ประการแรก ​ ในกัมมัฏฐาน 40  นั้น ​ กัมมัฏฐาน 11  คือ ​ อสุภ 10  กายคตาสติ 1  ย่อมเหมาะสมแก่คนราคจริต ​ กัมมัฏฐาน 8  คือ ​ พรหมวิหาร 4  วรรณกสิณ 4  เหมาะสมแก่คนโทสจริต ​ อานาปานสติกัมมัฏฐานข้อเดียวเท่านั้น ​ เหมาะสมแก่คนโมหจริตและคนวิตกจริต ​ อนุสสติ 6  ข้างต้น ​ เหมาะสมแก่คนศรัทธาจริต ​ กัมมัฏฐาน 4  คือ ​ มรณสติ 1  อุปสมานุสสติ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 185)''</​fs></​sub>​ 
- 
-จตุธาตุววัตถาน 1  อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1  เหมาะสมแก่คนพุทธิจริต ​ กสิณกัมมัฏฐานที่เหลือ 6  กับอารุปปกัมมัฏฐาน 4  เหมาะสมแก่คนทุกจริต ​ แต่ว่าในกสิณ 10  นั้น ​ กสิณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล็กขนาดขันโอ ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนวิตกจริต ​ ขนาดใหญ่กว่านั้นจนขนาดเท่าจานข้าวเป็นต้น ​ ย่อมเหมาะสมแก่คนโมหจริตเป็นต้น ​ ฉะนี้ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยกัมมัฏฐานโดยความเหมาะสมแก่จริยาในกัมมัฏฐาน 40  นี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​สรุปความในจริยา'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ถ้อยแถลงทั้งหมดนี้ ​ ข้าพเจ้าแสดงไว้ด้วยอำนาจที่เป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงอย่างหนึ่ง ​  ​ด้วยอำนาจเป็นกัมมัฎฐานที่สบายแท้ ๆ  อย่างหนึ่ง ​  ​แต่อย่างไรก็ดี ​  ​ขึ้นชื่อว่าภาวนาฝ่ายกุศลแล้ว ​  ​ที่จะไม่กำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น ​  ​หรือที่จะไม่เป็นอุปการะแก่คุณธรรมมีศรัทธาเป็นต้น ​  ​เป็นอันไม่มี ​ ข้อนี้สมด้วยคำที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ​ ซึ่งมีในเมฆิยสูตรว่า 
- 
-พึงเจริญธรรม 4  ประการ ​ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ คือ ​ พึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานทั้งหลายเพื่อประหานเสียซึ่งราคะ ​ พึงเจริญเมตตาเพื่อประหานเสียซึ่งพยาบาท ​ พึงเจริญอานาปานสติเพื่อกำจัดเสียซึ่งมิจฉาวิตก ​ พึงเจริญอนิจจสัญญา ​ เพื่อถอนเสียซึ่งอัสมิมานะ 
- 
-แม้ในราหุลสุตร ​ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงพระกัมมัฏฐาน 7  ประการ ​ โปรดพระราหุลเถระเพียงองค์เดียว ​ โดยนัยมีอาทิว่า ​ ดูก่อนราหุล ​ เธอจงเจริญซึ่งภาวนาอันมีเมตตาเป็นอารมณ์…. ​ เพราะเหตุฉะนี้ ​ นักศึกษาจงอย่าได้ทำความยึดถือเพียงแต่ในถ้อยแถลงที่แสดงไว้ ​ กัมมัฏฐานอย่างโน้นเหมาะสมแก่จริตบุคคลประเภทโน้น ​ พึงค้นคว้าแสวงหาอรรถาธิบายในคัมภีร์ต่าง ๆ ทั่วไปเถิด 
- 
-การวินิจฉัยกัมมัฏฐานกถาโดยพิสดาร ​ ในหัวข้อสังเขปว่า ​ ท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ในบรรดาพระกัมมัฏฐาน ​ 40  ประการ ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 186)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วิธีท่องจำเอา(เรียน)กัมมัฏฐาน== 
- 
-ก็แหละ ​ คำว่า ​ ท่องจำเอา (เรียน) ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-อันโยคีบุคคลนั้น ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้มีลักษณาการตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาในหัวข้อว่า ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้พระกัมมัฏฐาน ​ ฉะนี้แล้ว ​ พึงถวายตัวแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหรือแก่พระอาจารย์ ​ แล้วพึงทำตนให้เป็นผู้มีอัชฌาสัยอันสมบูรณ์ ​ และมีอธิมุติอันสมบูรณ์ ​ แล้วพึงขอเอาพระกัมมัฏฐานเถิด 
- 
-'''​คำถวายตัวแด่พระพุทธเจ้า'''​ 
- 
-ในการถวายตัวนั้น ​ โยคีบุคคลพึงกล่าวคำถวายตัวแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าว่าดังนี้- 
- 
-'''​คำบาลี'''​ 
- 
-อิมาหํ ​ ภควา ​ อตฺตภาวํ ​ ตุมฺหากํ ​ ปริจฺจชามิ 
- 
-'''​คำไทย'''​ 
- 
-ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ ข้าพระพุทธเจ้า ​ ขอถวายอัตภาพร่างกายอันนี้ ​ แด่พระพุทธองค์ 
- 
-'''​โทษที่ไม่ถวายตัวแด่พระพุทธเจ้า'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ โยคีบุคคลครั้นไม่ได้ถวายตนอย่างนี้แล้ว ​ เมื่อหลีกไปอยู่ที่เสนาสนะอันเงียบสงัด ​ ครั้นอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏให้เห็นในคลองแห่งจักษุ ​ ก็ไม่สามารถที่จะยับยั้งตั้งตนได้ ​ จะเลี่ยงหนีไปยังแดนหมู่บ้าน ​ เกิดเป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ ​ ทำการแสวงหาลาภสักการะอันไม่สมควร ​ ก็จะพึงถึงซึ่งความฉิบหายเสีย 
- 
-'''​อานิสงส์ถวายตัวแด่พระพุทธเจ้า'''​ 
- 
-ส่วนโยคีบุคคลผู้ได้ถวายตัวแล้ว ​ ถึงแม้จะมีอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏให้เห็นในคลองแห่งจักษุ ​ ก็จะไม่เกิดความหวาดกลัวแต่อย่างใด ​ มีแต่จะเกิดความโสมนัสอย่างเดียวโดยที่จะได้เตือนตนว่า ​ พ่อบัณฑิต ​ ก็วันก่อนนั้น ​ เจ้าได้ถวายตัวแด่พระพุทธเจ้าแล้ว  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 187)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มิใช่หรือ ?  เหมือนอย่างว่า ​ บุรุษคนหนึ่งจะพึงมีผ้ากาสิกพัสตร์ ​ (ผ้าที่ทำในแว่นแคว้นกาสี) ​ อย่างดีที่สุด ​ เมื่อผ้านั้นถูกหนูหรือพวกแมลงสาบกัด ​ เขาก็จะพึงเกิดความโทมนัสเสียใจ ​ แต่ถ้าเขาจะพึงถวายผ้านั้นแก่ภิกษุผู้ไม่มีจีวรไปเสีย ​ แต่นั้นถึงเขาจะได้เห็นผ้านั้นอันภิกษุเอามาตัดทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ​ เขาก็จะพึงเกิดแต่ความโสมนัสอย่างเดียว ​ ฉันใด ​ แม้คำอุปไมยนี้ ​ นักศึกษาก็พึงทราบเหมือนฉันนั้น 
- 
-'''​คำถวายตัวแก่อาจารย์'''​ 
- 
-โยคีบุคคล ​ แม้เมื่อจะถวายตัวแก่พระอาจารย์ ​ ก็พึงกล่าวคำถวายตัวดังนี้ – 
- 
-'''​คำบาลี'''​ 
- 
-อิมาหํ ​ ภนฺเต ​ อตฺตภาวํ ​ ตุมฺหากํ ​ ปริจฺจชามิ 
- 
-'''​คำไทย'''​ 
- 
-ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ ​ กระผมขอมอบถวายอัตภาพร่างกายอันนี้แก่ท่านอาจารย์ 
- 
-'''​โทษที่ไม่ถวายตัวแก่อาจารย์'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ โยคีบุคคลผู้ไม่ได้ถวายตัวอย่างนี้ ​ ย่อมจะเป็นคนอันใคร ๆ  ขัดขวางไม่ได้ ​ บางทีก็จะเป็นคนว่ายากไม่เชื่อฟังโอวาท ​ บางทีก็จะเป็นคนตามแต่ใจตนเอง ​ อยากไปไหนก็จะไปโดยไม่บอกลาอาจารย์ก่อน ​ โยคีบุคคลเช่นนี้นั้น ​ อาจารย์ก็จะไม่รับสงเคราะห์ด้วยอามิส ​ หรือด้วยธรรมคือการสั่งสอน ​ จะไม่ให้ศึกษาวิชากัมมัฏฐานอันสุขุมลึกซึ้ง ​ เมื่อเธอไม่ได้รับการสงเคราะห์ 2  ประการนี้แล้ว ​ ก็จะไม่ได้ที่พึ่งในพระศาสนา ​ ไม่ช้าไม่นานก็จะถึงซึ่งความเป็นคนทุศีล ​ หรือเป็นคฤหัสถ์ไปเลย 
- 
-'''​อานิสงส์ที่ถวายตัวแก่อาจารย์'''​ 
- 
-ส่วนโยคีบุคคลผู้ถวายตัวแล้ว ​ จะไม่เป็นคนอันใคร ๆ  ขัดขวางไม่ได้ ​ ไม่เป็นคนตามแต่ใจตนเอง ​ จะเป็นคนว่าง่าย ​ มีความประพฤติติดเนื่องอยู่กับอาจารย์ ​ เมื่อเธอได้รับการสงเคราะห์ 2  ประการจากอาจารย์แล้ว ​ ก็จะถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนา ​ เหมือนอย่างพวกศิษย์อันเตวาสิกของพระจูฬปิณฑปาติกติสสเถระเป็นตัวอย่าง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 188)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องศิษย์พระติสสเถระ'''​ 
- 
-มีเรื่องเล่าว่า ​ มีภิกษุ ​ 3  รูป ​ ได้มาสู่สำนักพระติสสเถระแล้ว ​ ใน ​ 3  รูปนั้น รูปหนึ่งกล่าวเสนอตัวแก่พระเถระว่า ​  "​ท่านขอรับ ​  ​เมื่อมีใคร ๆ  ขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้ว ​ กระผมสามารถที่จะกระโดดลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ" ​  ​รูปที่สองกล่าวเสนอตัวว่า ​  "​ท่านขอรับ ​  ​เมื่อมีใคร ๆ   ​ขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้ว ​  ​กระผมสามารถที่จะเอาร่างกายนี้ฝนที่พื้นหินให้กร่อนไปตั้งแต่ส้นเท้าจนกระทั่งไม่มีร่างกายเหลืออยู่" ​  ​รูปที่สามกล่าวเสนอตัวแก่่พระเถระว่า ​ "​ท่านขอรับ ​  ​เมื่อมีใคร ๆ   ​ขอร้องเพื่อประโยชน์ของท่านอาจารย์แล้วกระผมสามารถที่จะกลั้นลมอัสสะปัสสาสะทำกาลกิริยาตายได้" ​  ​ฝ่ายพระเถระพิจารณาเห็นว่า ​  "​ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มีความสมควรแล้ว" ​  ​จึงได้บอกพระกัมมัฎฐานให้ ​  ​ภิกษุเหล่านั้นดำรงตนอยู่ในโอวาทของพระเถระ ​  ​ได้บรรลุซึ่งพระอรหัตแม้ทั้ง ​ 3  รูปแล 
- 
-นี้เป็นอานิสงส์ในการมอบถวายตัว ​  ​ด้วยเหตุนี้ ​  ​ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า ​  ​พึงมอบถวายตัวแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหรือแก่อาจารย์ ​  ​ฉะนี้ 
- 
-==โยคีผู้มีอัชฌาสัยและอธิมุติสมบูรณ์== 
- 
-ก็แหละ ​  ​ในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า ​  ​เป็นผู้มีอัชฌาสัยอันสมบูรณ์และมีอธิมุติอันสมบูรณ์ ​  ​ฉะนี้นั้น ​  ​มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- 
- 
-อันโยคีบุคคลนั้น ​ พึงเป็นผู้มีอัชฌาสัยอันสมบูรณ์ ​ โดยอาการ 6  อย่าง ​ ด้วยอำนาจแห่งธรรมมีอโลภะเป็นต้น 
- 
-'''​อรรถาธิบายของฏีกาจารย์'''​ 
- 
-ในอธิการนี้ ​ ท่านฏีกาจารย์ได้อรรถาธิบายไว้อย่างพิสดารดังนี้ – 
- 
-ธรรมทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้น ​ มีอุปการะมากแก่สัตว์ทั้งหลายและแก่โยคีบุคคลโดยพิเศษ ​ ทั้งนี้เพราะเป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งโทษอย่างอนันต์ ​ และเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณอย่างมหันต์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 189)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นความจริงอย่างนั้น ​ ธรรมทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้น ​ ย่อมเป็นไปโดยความเป็นปฏิปักษ์แก่มลทินทั้งหลายมีมลทินคือความตระหนี่เป็นต้น ​ สมจริงตามที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอรรถกถาแห่งอภิธรรม ​ ดังต่อไปนี้ – 
- 
-อโลภะ ​ เป็นปฏิปักษ์แก่มลทินคือความตระหนี่ ​ อโทสะ ​ เป็นปฏิปักษ์แก่มลทินคือความทุศีล ​ อโมหะ ​ เป็นปฏิปักษ์แก่การไม่ภาวนาในกุศลธรรมทั้งหลาย ​ แหละใน ​ 3  เหตุนั้น ​ อโลภะ ​ เป็นเหตุแห่งทาน ​ อโทสะ ​ เป็นเหตุแห่งศีล ​ อโมหะ ​ เป็นเหตุแห่งภาวนา ​ แหละใน 3  เหตุนั้น ​ บุคคลย่อมถืออย่างไม่ตรึงเครียดด้วย ​ อโลภะ ​ เพราะคนที่โลภแล้ว ​ ย่อมถืออย่างตรึงเครียด ​ บุคคลย่อมถืออย่างไม่หย่อนยานด้วย ​ อโทสะ ​ เพราะคนที่โกรธแล้ว ​ ย่อมถืออย่างหย่อนยาน ​ บุคคลย่อมถืออย่างไม่วิปริตผิดเพี้ยนด้วย ​ อโมหะ ​ เพราะคนที่หลงแล้วย่อมถืออย่างวิปริตผิดเพี้ยน 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ใน 3  เหตุนั้น ​ บุคคลทรงจำโทษอันมีอยู่ไว้โดยความเป็นโทษและประพฤติเป็นไปในโทษนั้นด้วย ​ อโลภะ ​ เพราะคนที่โลภแล้วย่อมปกปิดโทษไว้ ​ บุคคลทรงจำคุณอันมีอยู่ไว้โดยความเป็นคุณและประพฤติเป็นไปในคุณนั้นด้วย ​ อโทสะ ​ เพราะคนที่โกรธแล้วย่อมลบล้างคุณเสีย ​ บุคคลทรงจำซึ่งสภาวะที่เป็นจริงโดยเป็นสภาวะที่เป็นจริงและประพฤติเป็นไปในสภาวะที่เป็นจริงนั้นด้วย ​ อโมหะ ​ เพราะคนหลงแล้วย่อมยึดถือสิ่งที่เปล่าว่าไม่เปล่าและสิ่งที่ไม่เปล่าว่าเปล่า ​ อนึ่ง ​ ทุกข์เพราะพรากจากสิ่งที่รักย่อมไม่เกิดมีด้วย ​ อโลภะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะคนที่โลภแล้วเป็นแดนเกิดแห่งสิ่งเป็นที่รักด้วย ​ เพราะอดกลั้นไว้ไม่ได้ต่อการ ​ พรากจากสิ่งที่รักด้วย ​ ทุกข์เพราะประจวบกับสิ่งไม่เป็นมี่รักย่อมไม่เกิดมี ​ ด้วย ​ อโทสะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะคนโกรธแล้วเป็นแดนเกิดแห่งสิ่งไม่เป็นที่รักด้วย ​ ทุกข์เพราะไม่ได้สมหวัง ​ ย่อมไม่เกิดมี ​ ด้วย ​ อโมหะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะคนที่ไม่หลงเป็นแดนเกิดแห่งการใคร่ครวญพิจารณาว่าข้อนั้นจะพึงได้ ​ ณ  ที่นี้ ​ แต่ที่ไหนเล่า ? 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในเหตุ 3  อย่างนั้น ​ ชาติทุกข์ไม่มี ​ ด้วย ​ อโลภะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะอโลภะเป็นปฏิปักษ์แก่ตัณหา ​ เพราะชาติทุกข์มีตัณหาเป็นมูลราก ​ ชราทุกข์ไม่มีด้วย ​ อโทสะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะความโกรธอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้แก่เร็ว ​ มรณทุกข์ไม่มีด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 190)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อโมหะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะความหลงตายเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ ​ และมรณทุกข์นั้นย่อมไม่มีแก่คนที่ไม่หลง ​ อนึ่ง ​ ความอยู่ร่วมกันอย่างสบาย ย่อมมีแก่คฤหัสถ์ทั้งหลายด้วย ​ อโลภะ ​ เป็นเหตุ ​ ความอยู่ร่วมกันอย่างสบายย่อมมีแก่บรรพชิตทั้งหลายด้วย ​ อโมหะ ​ เป็นเหตุ ​ ส่วนความอยู่ร่วมกันอย่างสบายสำหรับคนทุกเพศ ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโทสะ ​ เป็นเหตุ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ เมื่อว่าโดยพิเศษแล้ว ​ ในเหตุ 3  นั้น ​ ด้วย ​ อโลภเหตุ ​ จึงไม่มีการบังเกิดในเปตติวิสัย ​ จริงอยู่ ​ ส่วนมากสัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงเปตติวิสัยด้วยตัณหา ​ และอโลภะก็เป็นปฏิปักษ์แก่ตัณหาด้วย ​ ด้วย ​ อโทสเหตุ ​ จึงไม่มีการบังเกิดในนรก ​ จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงนรกอันคล้ายกับโทสะด้วยโทสะเป็นเหตุ ​ เพราะเป็นผู้มีสันดานดุร้าย ​ และอโทสะก็เป็นปฏิปักษ์แก่โทสะด้วย ​ ด้วย ​ อโมหเหตุ ​ จึงไม่มีการบังเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ​ จริงอยู่ ​ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉานอันหลงอยู่ตลอดกาล ​ ด้วยโมหะเป็นเหตุ ​ และอโมหะก็เป็นปฏิปักษ์แก่โมหะด้วย ​ อนึ่ง ​ ใน 3  เหตุนั้น ​ อโลภเหตุ ​ ทำให้ไม่มีการประจวบด้วยอำนาจราคะ ​ อโทสเหตุ ทำให้ไม่มีการพลัดพรากด้วยอำนาจโทสะ ​ อโมหเหตุ ​ ทำให้ไม่มีความไม่เป็นกลางด้วยอำนาจโมหะ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ สัญญา 3  เหล่านี้ ​ คือ ​ เนกขัมมสัญญา ​ สัญญาในการออกจากกาม 1  อัพยาปาทสัญญา ​ สัญญาในอันไม่พยาบาท 1  อวิหิงสาสัญญา ​ สัญญาในอันไม่เบียดเบียน 1  และสัญญาอีก 3  เหล่านี้ ​ คือ ​ อสุภสัญญา ​ สัญญาในความไม่งาม 1  อัปปมาณสัญญา ​ สัญญาในอันไม่มีประมาณ 1  ธาตุสัญญา ​ สัญญาในความเป็นธาตุ 1  ย่อมมีได้ด้วยเหตุแม้ทั้ง 3  ประการนี้โดยลำดับ ​ อนึ่ง ​ การงดเว้นซึ่งขอบทางคือกามสุขัลลิกานุโยค ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโลภะ ​ การงดเว้นซึ่งขอบทางคืออัตตกิลมถานุโยคย่อมมีได้ด้วย ​ อโทสะ ​ การดำเนินไปสู่ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโมหะ ​ อนึ่ง ​ การทำลายอภิชฌากายคันถะย่อมมีได้ด้วย ​ อโลภะ ​ การทำลายพยาบาทกายคันถะ ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโทสะ ​ การทำลายคันถะ 2  ที่เหลือ ​ คือ ​ สีลัพพตปรามาส ​ และอิทังสัจจาภินิเวส ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโมหะ ​ อนึ่ง ​ สตปัฏฐาน 2  ข้อต้น ​ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพของกุศลเหตุ 2  ข้างต้น ​ สติปัฏฐาน 2  ข้อหลัง ​ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพของกุศลเหตุข้อหลังข้อเดียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 191)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ใน 3  เหตุนั้น ​ อโลภเหตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรค ​ จริงอยู่คนที่ไม่มีโลภย่อมไม่เสพอาหารอันไม่เป็นที่สบาย ​ แม้ที่เร้าให้อยากกิน ​ จึงเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยเหตุนั้น ​ อโทสเหตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นหนุ่ม ​ จริงอยู่ ​ คนที่ไม่โกรธ ​ อันไฟคือความโกรธไม่เผาผลาญด้วยอำนาจทำหนังให้เหี่ยวและทำผมให้หงอก ​ ย่อมเป็นหนุ่มอยู่ได้นาน ๆ  อโมหเหตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความมีอายุยืน ​ จริงอยู่ ​ คนที่ไม่หลง ​ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์แล้ว ​ ละเว้นเสียซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ​ ส้องเสพแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ใน 3  เหตุนั้น ​ อโลภะ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแก่โภคสมบัติ ​ เพราะเหตุที่คนจะได้โภคสมบัติด้วยการบริจาค ​ อโทสะ ​ เป็นปัจจัยแก่มิตตสมบัติ ​ เพราะเหตุที่คนจะได้มิตรทั้งหลายด้วยเมตตา ​ และเพราะไม่เสื่อมมิตรก็ด้วยเมตตา ​ อโมหะ ​  ​เป็นปัจจัยแก่อัตตสมบัติ ​ จริงอยู่ ​ คนที่ไม่หลง ​ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างเดียว ​ ย่อมทำตนให้สมบูรณ์ ​ อนึ่ง ​ อโลภะ ​ เป็นปัจจัยแก่การอยู่อย่างเทวดา ​ อโทสะ ​ เป็นปัจจัยแก่การอยู่อย่างพรหม ​ อโมหะ ​ เป็นปัจจัยแก่การอยู่อย่างพระอริยเจ้า 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ใน 3  เหตุนั้น ​ บุคคลเป็นผู้ดับเสียได้ในสัตว์และสังขารทั้งหลายฝ่ายของตนด้วย ​ อโลภะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะทุกข์ซึ่งเป็นเหตุปรุงแต่งไม่มีเพราะสัตว์และสังขารเหล่านั้นพินาศไป ​ บุคคลเป็นผู้ดับเสียได้ในสัตว์และสังขารทั้งหลายฝ่ายของคนอื่นด้วย ​ อโทสะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะความจองเวรแม้ในคนคู่เวรทั้งหลายไม่มีสำหรับคนที่ไม่โกรธ ​ บุคคลเป็นผู้ดับเสียได้ในสัตว์และสังขารทั้งหลายฝ่ายเป็นกลาง ๆ ด้วย ​ อโมหะ ​ เป็นเหตุ ​ เพราะความปรุงแต่งทั้งปวงไม่มีสำหรับคนที่ไม่หลง 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ การเห็นอนิจจัง ​ ย่อมมีได้ด้วย ​ อโลภะ ​ จริงอยู่ ​ คนที่โลภแล้วย่อมไม่เห็นสังขารทั้งหลายแม้ที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ​ ด้วยหวังในการส้องเสพอยู่ ​ การเห็นทุกขังย่อมมีได้ด้วย ​ อโทสะ ​ จริงอยู่ ​ คนที่มีอัชฌาสัยไม่โกรธ ​ เป็นผู้ปล่อยวางอาฆาตวัตถุแล้วย่อมเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์ ​ การเห็นอนัตตาย่อมมีได้ด้วย ​ อโมหะ จริงอยู่ ​ คนที่ไม่หลง ​ เป็นผู้ฉลาดในการถือเอาตามความจริง ​ ย่อมรู้แจ้งขันธ์ 5  อันไม่ได้เป็นผู้นำ ​ อนึ่ง ​ ทรรศนะทั้งหลายมีการเห็นไม่เที่ยงเป็นต้น ​ ย่อมมีได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 192)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ด้วยเหตุทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้นเหล่านี้ ​ ฉันใด ​ แม้เหตุทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้นเหล่านี้ ​ ก็มีได้ด้วยทรรศนะทั้งหลายมีการเห็นอนิจจังเป็นต้นเช่นเดียวกัน ​ จริงอยู่ ​ อโลภะ ​ ย่อมมีได้ด้วยการเห็นอนิจจัง ​ อโทสะ ​ ย่อมมีได้ด้วยการเห็นทุกขัง ​ อโมหะ ​  ​ย่อมมีได้ด้วยการเห็นอนัตตา ​ ก็ใครเล่ารู้โดยถูกต้องว่าขันธ์ 5  นี้เป็นทุกข์แล้ว ​ จะพึงยังความรักให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ขันธ์ 5  นั้น ​ หรือรู้สังขารทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว ​ จะพึงยังทุกข์เพราะความโกรธอันคมกล้าที่สุดแม้อื่นอีกให้เกิดขึ้น ​ และรู้ความว่างเปล่าจากตัวตนของสังขารทั้งหลายแล้ว ​ จะพึงยังความหลงงมงายให้เกิดขึ้นอีกต่อไป 
- 
-ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ​ ท่านฏีกาจารย์จึงให้อรรถาธิบายคำว่าผู้มีอัฌชาสัยสมบูรณ์ไว้ว่า ​ อัฌชาสัยของบุคคลนี้สมบูรณ์แล้ว ​ ด้วยอำนาจการยังศีลสมบัติเป็นต้นอันเป็นส่วนเบื้องต้นให้สำเร็จ ​ และด้วยความเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่โลกุตตรธรรมทั้งหลาย ​ เหตุนั้น ​ บุคคลนี้จึงชื่อว่า ​ สมฺปนฺนชฺฌาสโย ​ ผู้มีอัชฌาสัยสมบูรณ์แล้ว ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อัชฌาสัย ​ 6  ประการ'''​ 
- 
-มีความจริงอยู่ว่า ​ โยคีบุคคลผู้มีอัชฌาสัยสมบูรณ์เห็นปานฉะนี้ ​ ย่อมจะบรรลุพระโพธิญาณ 3  ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ สมกับที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า – 
- 
-อัชฌาสัย 6  ประการ ​ ย่อมเป็นไปด้วยความแก่แห่งโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​ คือ 
- 
-1.      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยไม่โลภ ​   เห็นโทษในความโลภ 
- 
-2.      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยไม่โกรธ ​   เห็นโทษในความโกรธ 
- 
-3.      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยไม่หลง ​   เห็นโทษในความหลง 
- 
-4.      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยในการออกบวช ​ เห็นโทษในฆราวาส 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 193)''</​fs></​sub>​ 
- 
-5.      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยชอบความสงัด ​ เห็นโทษในการคลุกคลีกับหมู่คณะ ​ และ 
- 
-6.      พระโพธิสัตว์ทังหลาย ​   ผู้มีอัชฌาสัยในพระนิพพาน ​ เห็นโทษในภพและคติทั้งปวง 
- 
-ก็แหละ ​ พระโสดาบัน ​ พระสกทาคามี ​ พระอนาคามี ​ พระขีณาสพ ​ พระปัจเจกพุทธเจ้า ​ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ​ ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ​ ทั้งที่จะมีมาในอนาคต ​ ทั้งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ​ ทั้งหมดนั้นได้บรรลุแล้วซึ่งคุณวิเศษอันตนและตน ​ พึงบรรลุด้วยอาการทั้งหลาย ​ 6  ประการนี้นั่นเทียว ​ เพราะฉะนั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงเป็นผู้มีอัชฌาสัยสมบูรณ์ด้วยอาการ 6  ประการเหล่านี้ 
- 
-'''​โยคีผู้มีอธิมุติสมบูรณ์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลนั้น ​ พึงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอธิมุติ ​ ด้วยความเป็นผู้น้อมจิตไปเพื่อประโยชน์นั้น ​ อธิบายว่า ​ พึงเป็นผู้น้อมจิตไปในสมาธิ ​ เป็นผู้หนักในสมาธิ ​ เป็นผู้โน้มจิตไปในสมาธิ ​ และพึงเป็นผู้น้อมจิตไปในนิพพาน ​ เป็นผู้หนักในนิพพาน ​ เป็นผู้โน้มจิตไปในนิพพาน 
- 
-'''​วิธีสอนกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลนั้นซึ่งมีอัชฌาสัยและอธิมุติสมบูรณ์ได้ที่แล้วดังพรรณนามานี้ขอเอากัมมัฏฐาน ​ อันอาจารย์ผู้ได้สำเร็จเจโตปริยญาณ ​ พึงตรวจสอบวารจิตให้ทราบจริยาเสียก่อน ​ สำหรับอาจารย์ที่ไม่ได้สำเร็จเจโตปริยญาณนอกนี้ ​ พึงทราบจริยาโดยสอบถามโยคีบุคคลโดยนัยมีอาทิว่า ​ เธอเป็นคนจริตอะไร ​ หรือธรรมอะไรบ้างรบกวนเธอมาก ​ หรือเมื่อเธอพิจารณาถึงกัมมัฏฐานข้อไหน ​ จึงมีความผาสุกสบาย ​ หรือจิตของเธอน้อมไปในกัมมัฏฐานข้อไหน ​ ครั้นทราบจริยาอย่างนี่แล้ว ​ จึงสอนกัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่จริยาต่อไป 
- 
-'''​พึงสอนกัมมัฏฐานด้วย ​ 3  วิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันอาจารย์นั้น ​ เมื่อจะสอนกัมมัฏฐานพึงสอนด้วยวิธี 3  ประการ ​ คือ  ​ 
- 
-#​สำหรับโยคีบุคคลผู้ชอบท่องจำกัมมัฏฐานอยู่แล้วตามปกติ ​ พึงให้มานั่งท่องจำกรรมฐานปากเปล่าให้ฟังต่อหน้าสัก 1  หรือ 2  ครั้ง,  ​ 
-#​สำหรับผู้ที่อยู่ประจำในสำนัก ​ พึงบอกกรรมฐานให้ทุก ๆ ครั้งที่เธอมาหา,  ​ 
-#​สำหรับผู้ที่ท่องจำเอาแล้วประสงค์จะไปปฏิบัติ ​ ณ  ที่อื่น ​ พึงสอนอย่าให้ย่อเกินไป ​ อย่าให้ละเอียดเกินไป. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 194)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​พึงสอนให้ท่องจำลำดับขั้นตอน ​ 9  อย่าง'''​ 
- 
-ในกัมมัฏฐานเหล่านั้น ​ เมื่ออาจารย์จะสอนปถวีกสิณกัมมัฏฐานเป็นประการแรก ​ พึงสอนให้ท่องจำลำดับขั้นตอน 9  เหล่านั้น ​ คือ ​ โทษแห่งกสิณ 4  อย่าง 1  วิธีทำดวงกสิณ 1  วิธีภาวนาซึ่งกสิณที่ทำแล้ว 1  นิมิต ​ 2  อย่าง ​ สมาธิ ​ 2  อย่าง 1  ธรรมเป็นที่สบายและไม่เป็นที่สบาย 7  อย่าง 1  ความเป็นผู้ฉลาดในอัปปนา 10  อย่าง ​ 1  การทำความเพียรให้สม่ำเสมอ 1  วิธีแห่งอัปปนา 1 
- 
-แม้ในกัมมัฏฐานที่เหลือทั้งหลาย ​ ก็พึงสอนลำดับขั้นตอนอันสมควรแก่กัมมัฏฐานนั้น ๆ  ลำดับขั้นตอนทั้งหมดนั้นจักแจ้งชัดในวิธีภาวนาของกัมมัฏฐานทั้งหลายเหล่านั้น 
- 
-==โยคีบุคคลต้องจำให้แม่นยำ== 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่ออาจารย์สอนกัมมัฏฐานให้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ​ โยคีบุคคลนั้นพึงตั้งใจฟัง ​ เพื่อท่องจำเอานิมิตนั้นให้ได้ ​ คือ เอาอาการ 9 อย่างนั้นแต่ละอย่างๆ ​ มาผูกไว้ในใจอย่างนี้ว่า ​ "​คำนี้เป็นบทหลัง,​ คำนี้เป็นบทหน้า, ​ ความหมายของบทนั้นๆ เป็นอย่างนี้, ​ จุดมุ่งหมายของบทนั้นเป็นอย่างนี้, ​ และบทนี้เป็นคำอุปมาอุปไมย"​ (จดจำได้ชำนาญนึกหัวถึงท้าย นึกท้ายถึงหัว เหมือนในบทธรรมคุณข้อว่า [[วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_7_ฉอนุสสตินิทเทส#​1._อธิบายบท_สวากฺขาโต|ความงาม 3 ของปริยัติธรรม]] ได้แสดงไว้) 
- 
-แหละ ​ เมื่อโยคีบุคคลฟังอยู่โดยความเคารพ ​ ท่องจำเอานิมิตได้อย่างนี้แล้ว ​ ย่อมเป็นอันชื่อว่า ท่องจำเอากัมมัฏฐานด้วยดีแล้ว ​ เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ การบรรลุคุณวิเศษ ​ ก็จะสำเร็จแก่เธอ ​ เพราะอาศัยการท่องจำเอาด้วยดีแล้วนั้น ​ แต่ย่อมจะไม่สำเร็จแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ได้ท่องจำเอาด้วยดีนอกนี้ 
- 
-อรรถาธิบายความแห่งคำว่า ​  ​(ท่องจำเอา) เรียน ​ นี้ ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-ด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ ​ เป็นอันว่าบทอันเป็นหัวข้อสังเขปว่า ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรแล้ว ​ ท่องจำเอาพระกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ในบรรดาพระกัมมัฏฐาน 40  ประการ ​ อันเหมาะสมแก่จริตจริยาของตน ​ ดังนี้ ​ อันข้าพเจ้าได้อธิบายให้พิสดารแล้วโดยสิ้นเชิง ​ ด้วยประการฉะนี้แล 
- 
-'''​กัมมัฏฐานคหณนิทเทส ​ ปริเฉทที่ ​ 3'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ​ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นเพื่อความปราโมชแห่สาธุชน'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-=ดูเพิ่ม= 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​