วิสุทธิมรรค_01-2_สีลนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_01-2_สีลนิทเทส [2020/08/20 15:53]
dhamma
วิสุทธิมรรค_01-2_สีลนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head|}} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 9)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​พรรณนาศีลโดยพิสดาร'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ '''​วิสุทธิมัคค''' ​ คือทางแห่งวิสุทธินี้ ​ แม้ว่าพระผู้มีพระภาคจะได้ทรงแสดงโดยมุขคือศีลสมาธิปัญญาอันสงเคราะห์ด้วยคุณธรรมเป็นอเนกประการ ​ ดังที่พรรณนามาแล้วก็ตาม ​ นับว่าทรงแสดงไว้อย่างย่อมาก ​ เหตุนั้น ​ จึงยังไม่เพียงพอเพื่อความเป็นอุปการะแก่เวไนยสัตว์ทั่ว ๆ ไป ​ ดังนั้น ​ เพื่อจะพรรณนาความแห่งวิสุทธิมัคคนั้นอย่างพิสดาร ​ ขอตั้งปัญหากรรมปรารภถึงศีล ​ เป็นประการแรก ​ ดังนี้ – 
- 
-=คำถามเรื่องศีล= 
- 
-1.  อะไร ​ ชื่อว่าศีล 
- 
-2.  อะไรเป็นสภาวะของคำว่าศีล 
- 
-3.  อะไร ​ เป็นลักษณะ ,  เป็นรส ,  เป็นอาการปรากฎ และเป็นปทัฎฐานของศีล 
- 
-4.  ศีลมีอานิสงส์อย่างไร 
- 
-5.  ศีลนี้มีกี่อย่าง 
- 
-6.  อะไร ​ เป็นความเศร้าหมองของศีล ​ และ อะไร ​  ​เป็นความผ่องแผ้วของศีล 
- 
-=คำตอบเรื่องศีล= ​                                               ​ 
- 
-==อะไร ​ ชื่อว่าศีล== 
- 
-ในปัญหากรรมเหล่านั้น ​ มีคำวิสัชนาดังต่อไปนี้ - 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​ '''​อะไร ​ ชื่อว่าศีล''' ​ วิสัชนาว่าธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นอยู่ก็ดี ​ ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ก็ดี ​ ชื่อว่าศีล ​ คำนี้สมดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคำภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า ​ " อะไรชื่อว่าศีล เจตนาชื่อว่าศีล ​ เจตสิกชื่อว่าศีล ​ สังวรชื่อว่าศีล ​ การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล" ​       ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 10)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เจตนาศีล'''​ 
- 
-ในศีลเหล่านั้น ​ คำว่า ​ '''​เจตนาชื่อว่าศีล''' ​ ได้แก่เจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากบาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นอยู่ ​ หรือเจตนาของบุคคลผู้กำลังบำเพ็ญวัตตปฏิบัติอยู่ ​         
- 
-'''​เจตสิกศีล'''​ 
- 
-'''​เจตสิกศีล ​ ชื่อว่าศีล''' ​ ได้แก่ ​ '''​วิรติเจตสิก''' ​ ของบุคคลผู้งดเว้นจากบาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ '''​เจตนาชื่อว่าศีล''' ​ ได้แก่เจตนาในกรรมบถ 7 ดวง ​ ของบุคคลผู้ละอยู่ซึ่งบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ​ '''​เจตสิกชื่อว่าศีล''' ​ ได้แก่กุศลธรรมทั้งหลายคือความไม่โลภ ​ ความไม่พยาบาท ​ ความเห็นชอบ ​ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ '''​ภิกษุละอภิชฌาแล้วเป็นผู้มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่''' ​                                     
- 
-'''​สังวรศีล'''​ 
- 
-'''​สังวร''' ​ ในคำว่าสังวรชื่อว่าศีลนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบโดยประการ 5 อย่าง ​ คือปาติโมกขสังวร 1  สติสังวร 1  ญาณสังวร 1  ขันติสังวร 1  วีริยสังวร 1 
- 
-ในสังวร 5  อย่างนั้น ​ สังวรนี้คือ ​ " ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้วเข้าถึงพร้อมแล้วด้วยความสังวรคือปาติโมกข์นี้" ​ ชื่อว่า ​ '''​ปาติโมกขสังวร''' ​ สังวรนี้คือ ​ "​ภิกษุย่อมรักษาซึ่งอินทรีย์คือจักษุ ​ ย่อมถึงซึ่งความสังวรในอินทรีย์คือจักษุ" ​ ชื่อว่า ​ '''​สติสังวร''' ​ สังวรนี้คือ ​ "​พระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาอชิตมานพว่า ​ อชิตะ ​ กระแสกิเลสใดในโลก ​ สติเป็นเครื่องกั้นซึ่งกระแสเหล่านั้น ​ กระแสเหล่านั้นจะพึงตัดให้เด็ดขาดได้ด้วยปัญญา" ​ ชื่อว่า ​ '''​ญาณสังวร''' ​ แม้การเสพปัจจัยก็ถึงซึ่งอันรวมลงในญาณสังวรนี้ด้วย ​ ส่วนสังวรนี้ได้ซึ่งมาโดยนัยมีอาทิว่า ​ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ​ เป็นผู้อดทนต่อความร้อน" ​ สังวรนี้ชื่อว่า ​ '''​ขันติสังวร''' ​ อนึ่ง ​ สังวรใดที่มาโดยนัยมีอาทิ ​ "​ภิกษุย่อมไม่ให้กามวิตกซึ่งเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ภายใน" ​ สังวรนี้ชื่อว่า ​ วีริยสังวร ​ แม้อาชีวปาริสุทธิคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ ​ ก็ถึงซึ่งอันรวมลงในวีริยสังวรนี้ด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 11)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สังวรทั้ง 5 อย่างนี้ก็ดี ​ การงดเว้นจากวัตถุที่ประจวบเข้าของเหล่ากุลบุตรผู้กลัวบาปก็ดี ​ แม้ทั้งหมดนี้ ​ พึงทราบเถิดว่าเป็น ​ สังวรศีล ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อวีติกกมศีล'''​ 
- 
-คำว่า ​ '''​การไม่ล่วงละเมิด ​ ชื่อว่าศีล''' ​ ได้แก่การไม่ล่วงละเมิดที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางวาจา ​ ของบุคคลผู้สมาทานศีลแล้ว 
- 
-การวิสัชนาปัญหาข้อว่า ​ อะไรชื่อว่าศีล ​ ประการแรก ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==อะไรเป็นสภาวะของคำว่าศีล?​== 
- 
-จะวิสัชนาปัญหาข้อที่เหลือต่อไปดังนี้ - ปัญหาข้อว่า ​ ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร ​ วิสัชนาว่า ​ ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่า ​ ความปกติ ​ ถาม – ที่ว่าความปกตินี้คืออย่างไร ? ตอบ – อย่างหนึ่ง ​  ​คือ ​ ความทรงอยู่ที่เรียบร้อย ​ หมายความว่า ​ ความเป็นผู้มีกริยาทางกายเป็นต้นไม่เกะกะด้วยอำนาจความสุภาพเรียบร้อย ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ คือ ​ ความรองรับ ​ หมายความว่า ​ ภาวะที่รองรับด้วยสามารถเป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลายก็แหละความหมาย 2 อย่างนี้เท่านั้นใน สีล ศัพท์นี้ ​ บรรดาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในลักษณะของศัพท์รับรองต้องกัน ​ ส่วนอาจารย์ฝ่ายอื่นพรรณนาความหมายใน สีล ศัพท์นี้ไว้แม้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ​ ความหมายแห่งสีล ศัพท์ ​ หมายความว่า ยอด ​ ความหมายแห่งสีลศัพท์ ​ หมายความว่า ​ เย็น ​ ฉะนี้ ​   ( ฉบับพม่า ​ บาลีเป็น – สิรฏฺโฐ ​ สีลตฺโถ, ​ สีตลฏฺโฐ ​ สีลตฺโถ –แปลตามนี้ ) 
- 
-==อะไรเป็นลักษณะ,​รส,​ ปัจจุปัฏฐาน,​ ปทัฎฐานของศีล?​== 
- 
-ลำดับนี้ ​ จะวิสัชนาปัญหาข้อที่ว่า ​ อะไรเป็นลักษณะ, ​ เป็นรส, ​ เป็นอาการปรากฎและเป็นปทัฎฐานของศีล ​ ต่อไปดังนี้ - 
- 
-แม้ศีลนั้นแม้จะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ​ ก็มีความปกติ ​ เป็นลักษณะ เหมือนรูปซึ่งต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ​ ก็มีภาวะจะพึงเห็นใด้เป็นลักษณะฉะนั้น ​ เหมือนอย่างว่า ​ แม้รูปายตนะถึงจะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมากโดยที่ต่างกันด้วยสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น ​ ก็มีภาวะที่จะพึงเห็นได้เป็นลักษณะ ​ เพราะถึงแม้รูปายตนะจะต่างกันโดยประเภทแห่งสีเขียวเป็นต้น ​ ก็ไม่พ้นไปจากภาวะที่พึงจะเห็นได้ ​ ฉันใด ​ แม้ศีลถึงจะต่างกันโดยประเภท 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 12)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นอันมากโดยต่างกันด้วยเจตนาเป็นต้น ​ ก็มีความปกติซึ่งได้กล่าวมาแล้วด้วยสามารถแห่งความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยของกิริยาทางกายเป็นต้น ​ และด้วยสามารถแห่งความเป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลายนั้นนั่นแลเป็นลักษณะ ​ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ​ ก็ไม่พ้นไปจาก ​ ความทรงอยู่เรียบร้อย ​ และ ​ ความรองรับ ​ ฉันนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ การขจัดเสียซึ่งความเป็นผู้ทุศีล ​ หรือคุณคือความหาโทษมิได้ ​ ท่านกล่าวว่า ​   เป็นรส ​ ของศีลอันมีอันมีลักษณะดังกล่าวมาแล้ว ​ โดยอรรถว่า ​ เป็นกิจ ​ และ ​ เป็นสมบัติ เพราะฉะนั้น ​ ชื่อว่าศีลนี้นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ที่ว่ามีการขจัดเสียซึ่งความเป็นผู้ทุศีลเป็นรสนั้นด้วยรสเพราะอรรถว่า กิจ ​ ที่ว่ามีความหาโทษมิได้เป็นรสนั้น ​ ด้วยรสเพราะอรรถว่า ​ สมบัติ ​ เป็นความจริง ​ ในปัญหากรรมมีลักษณะเป็นต้น ​ กิจ ​ หรือ ​ สมบัติ ​ นั่นเองท่านเรียกว่า รส 
- 
-ศีลนี้นั้นมีความสะอาด ​ เป็นอาการปรากฎ ​ วิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่า ​ โอตตัปปะและหิริ ​ เป็นปทัฏฐาน ​ ของศีลนั้น ​ จริงอยู่ ​ ศีลนี้นั้นมีความสะอาดที่ตรัสไว้อย่างนี้คือ ​ "​ความสะอาดกายความสะอาดวาจาความสะอาดใจ" ​ เป็นอาการปรากฏ ​ ย่อมปรากฏโดยสภาวะอันสะอาด ​ ย่อมถึงภาวะอันจะพึงถือเอาไว้ได้ ​ ส่วนหิริโอตตัปปะวิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น ​ อธิบายว่า ​ หิริและโอตตัปปะเป็นเหตุใกล้ของศีล ​ เป็นความจริง ​ เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่ ​ ศีลจึงเกิดขึ้นและดำรงอยู่ ​ เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ​ ศีลย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ​ ตั้งอยู่ไม่ได้เลย 
- 
-นักศึกษาพึงทราบ ​ ลักษณะ,​ รส, อาการปรากฏและปทัฏฐานของศีลตามที่พรรณนามา ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
- 
- 
-==ศีลมีอานิสงส์อย่างไร== 
- 
-ปัญหาข้อว่า ​ ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ​ วิสัชนาว่า ​ ศีลนั้นมีอันได้ซึ่งคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ ​ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ​ "​ดูก่อนอานันทะ ​ กุศลศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล ​ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์แล"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 13)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า – ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ อานิสงส์ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ​ มี 5 ประการเหล่านี้ ​ อานิสงส์ 5 ประการนั้น ​ คืออะไรบ้าง ? 
- 
-1. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ บุคคลผู้มีศีล ​ สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ​ ย่อมประสบกองแห่งโภคทรัพย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ ​ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 1 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 
- 
-2. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ ข้ออื่นยังมีอีก ​ เกียรติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ​ ย่อมฟุ้งขจรไป ​ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2ของศีลสมบัติของบุคคลที่มีศีล 
- 
-3. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ ข้ออื่นยังมีอีก ​ บุคคลผู้มีศีล ​ สมบูรณ์ด้วยศีล ​ เข้าไปสู่สังคมใดๆ ​ จะเป็นสังคมกษัตริย์ก็ดี ​ จะเป็นสังคมพราหมณ์ก็ดี ​ จะเป็นสังคมคหบดีก็ดี ​ จะเป็นสังคมสมณะก็ดี ​ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน ​ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 
- 
-4. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ ข้ออื่นยังมีอีก ​ บุคคลผู้มีศีล ​ สมบูรณ์ด้วยศีล ​ เป็นผู้ไม่หลงทำการกิริยา ​ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 
- 
-5. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ​ ข้ออื่นยังมี ​ บุคคลผู้มีศีล ​ สมบูรณ์ด้วยศีล ​ เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ​ ย่อมเข้าถึงสุคติ, ​ โลกสวรรค์ ​ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 ของศีลสมบัติ ​ ของบุคคลผู้มีศีล 
- 
-แม้อานิสงส์ของศีลอย่างอื่นๆ เป็นอเนกประการซึ่งมีความเป็นที่รัก ​ เป็นที่เจริญใจ ​ เป็นต้น ​ มีความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด ​ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ถ้าภิกษุพึงมุ่งหวังอยู่ว่า ​ ขอให้เราพึงเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเป็นที่เคารพ ​ และเป็นที่สรรเสริญ ​ ของบรรดาภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ​ เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั่นเถิด"​ 
- 
-ศีลมีคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ ​ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 14)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อานิสงส์แห่งศีลอีกนัยหนึ่ง'''​ 
- 
-ที่พึ่งของกุลบุตรทั้งหลายในพระศาสนา ​ เว้นเสียซึ่งศีลอันใดแล้วย่อมไม่มี ​ ใครเล่าจะพึงพรรณนากำหนดอานิสงส์ของศีลอันนั้นได้ 
- 
-น้ำคือศีลย่อมล้างมลทินอันใดของสัตว์ทั้งหลายได้ ​ แม่น้ำใหญ่ ๆ  คือ ​ คงคา,​ ยมุนา,​ สรภู,​ สรัสวดี,​ นินนคา,​ อจิรวดีหรือมหี ​ หาสามารถล้างมลทินนั้นของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ได้ไม่ 
- 
-ศีลที่รักษาดีแล้วเป็นศีลห่างไกลจากกิเลสมีความเย็นอย่างที่สุดนี้ ​ ย่อมบันดาลความร้อนกลุ้มของสัตว์ทั้งหลายให้สงบลงได้ ​ ลมปนฝนก็ดี ​ จันท์เหลืองก็ดี ​ แก้วมุขดาหารก็ดี ​ แก้วมณีก็ดี ​ แสงจันทร์อ่อนก็ดี ​ หาบันดาลความร้อนกลุ้มของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ให้สงบลงได้ไม่ 
- 
-กลิ่นอันใดที่ฟุ้งไปได้ทั้งทวนลมและตามลมเสมอกัน ​ กลิ่นอันนั้นที่จะทัดเทียมด้วยกลิ่นคือศีล ​ จักมีแต่ที่ไหน 
- 
-บันใดสำหรับขึ้นสู่สวรรค์ ​ หรือประตูในอันเข้าสู่นครนฤพานอย่างอื่นๆ ​ ที่จะเสมอด้วยศีล ​ จักมีแต่ทีไหน 
- 
-พระราชาทั้งหลายผู้ทรงประดับแล้วด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณีก็ไม่งามเหมือนนักพรตทั้งหลายผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล 
- 
-ศีลของบุคคลผู้มีศีล ​ ย่อมกำจัดภัยมีการตำหนิตนเป็นต้นเสียได้โดยประการทั้งปวง ​ และย่อมบันดาลให้เกิดเกียรติและความหรรษาในกาลทุกเมื่อ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบกถามุขอันแสดงถึงอานิสงส์ของศีล ​ อันเป็นมูลรากแห่งคุณทั้งหลาย ​ และเป็นเครื่องทำลายกำลังแห่งโทษทั้งหลาย ​ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล 
- 
-==ศีลมีกี่อย่าง== 
- 
-ลำดับนี้ ​ จะวิสัชนาในปัญหากรรมข้อที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ ศีลนี้มีกี่อย่าง ต่อไปนี้ 
- 
-ศีลนี้สิ้นทั้งมวล ​ ชื่อว่า ​ มีอย่างเดียว ​ ด้วยลักษณะคือความปกติของตน ​ เป็นประการแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 15)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ศีล 2 อย่างหมวดที่ 1 โดยแยกเป็น ​ จาริตตศีล 1 วาริตตศีล 1, ศีล 2 อย่าง ​ หมวดที่ 2 โดยแยกเป็น ​ อาภิสมาจาริกศีล 1 อาทิพรหมจริยกศีล 1, ศีล 2 อย่าง ​ หมวดที่ 3 โดยแยกเป็น ​ วิรติศีล 1 อวิรติศีล 1, ศีล 2 อย่างหมวดที่ 4 โดยแยกเป็น ​ นิสสิตศีล 1 อนิสสิตศีล 1, ศีล 2  อย่างหมวดที่ 5 โดยแยกเป็น ​ กาลปริยันตศีล 1 อาปาณโกฏิกศีล 1, ศีล 2 อย่างหมวดที่ 6 โดยแยกเป็น ​ สปริยันตศีล 1 อปริยันตศีล 1, ศีล 2 อย่างหมวดที่ 7 โดยแยกเป็น ​ โลกิยศีล 1 โลกุตตรศีล 1 
- 
-ศีล 3 อย่างหมวดที่ 1 โดยแยกเป็น ​ หีนศีล 1 มัชฌิมศีล 1 ปณีตศีล 1 , ศีล ​ 3 อย่างหมวดที่ 2 โดยแยกเป็น ​ อัตตาธิปไตยศีล 1 โลกาธิปไตยศีล 1 ธัมมาธิปไตยศีล 1, ศีล 3  อย่างหมวดที่ 3 โดยแยกเป็น ​ ปรามัฏฐศีล 1 อปรามัฏฐศีล 1 ปฏิปัสสัทธิศีล 1, ศีล 3 อย่างหมวดที่ 4 โดยแยกเป็น ​ วิสุทธศีล 1 อวิสุทธศีล 1 เวมติกศีล 1, ศีล 3 อย่างหมวดที่ 5 โดยแยกเป็น ​ เสกขศีล 1 เนวเสกขานาเสกขศีล 1 
- 
-ศีล 4 อย่างหมวดที่ 1 โดยแยกเป็น ​ หาภาคิยศีล 1 ฐิติภาคิยศีล 1 วิเสสภาคิยศีล 1 นิพเพธภาคิยศีล 1, ศีล 4 อย่างหมวดที่ 2 โดยแยกเป็น ​ ภิกขุศีล 1 ภิกขุนีศีล 1 อนุปสัมปันนศีล 1 คหัฏฐศีล 1, ศีล 4 อย่างหมวดที่ 3 โดยแยกเป็น ​ ปกติศีล 1  ธัมมตาศีล 1  ปุพพเหตุกศีล 1,  ศีล 4 อย่างหมวดที่ 4  โดยแยกเป็น ​ ปาติโมกขสังวรศีล 1  อินทรียสังวรศีล 1  อาชีวปาริสุทธิศีล 1  ปัจจยสันนิสสิตศีล 1 
- 
-ศีล 5 อย่างหมวดที่ 1  โดยแยกเป็น ​ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นต้น ​ ข้อนี้สมจริงดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะแสดงไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า ​ "​ศีล 5 อย่าง ​ คือ ​ ปริยันตปาริสุทธิศีล 1  อปริยันตปาริสุทธิศีล 1  ปริปุณณปาริสุทธิศีล 1  อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล 1 ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล 1", ศีล 5 อย่างหมวดที่ 2 โดยแยกเป็น ปหานศีล 1 เวรมณีศีล 1  เจตนาศีล 1  สังวรศีล 1  อวีติกกมศีล 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 16) ''</​fs></​sub>​ 
- 
-===อธิบายศีลหมวด 1=== 
- 
-ในบรรดาศีลเหล่านี้ ​ อรรถาธิบายในส่วนแห่งศีลมีอย่างเดียว ​ นักศึกษาพึงทราบ ​ โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเทียว 
- 
-ในส่วนแห่งศีลมี 2  อย่าง ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – การบำเพ็ญสิกขาตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ​ สิ่งนี้ควรทำ ​ ดังนี้ ​ อันใด ​ การบำเพ็ญสิกขาบทนั้นชื่อว่า ​ จาริตตศีล ​ การไม่ฝ่าฝืนสิกขาบทที่ทรงห้ามไว้ว่า ​ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ​ ดังนี้ ​ อันใด การไม่ฝ่าฝืนนั้นชื่อว่า ​ วาริตตศีล ​ ในศีล 2 อย่างนั้น ​ มีอรรถวิเคราะห์ถ้อยคำดังนี้ ​ บุคคลทั้งหลาย ​ ย่อมประพฤติในศีลนั้น ​ คือเป็นไปด้วยความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ​ ฉะนั้นศีลนั้นชื่อว่า ​ จาริตตศีล ​ แปลว่า ​ ศีลเป็นที่ประพฤติตามของบุคคลทั้งหลาย, ​ ย่อมป้องกันรักษาซึ่งสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามด้วยศีลนั้น ​ ฉะนั้นศีลนั้น ​ ชื่อว่า ​ วาริตตศีล ​ แปลว่า ​ ศีลเป็นเครื่องป้องกันสิกขาบทที่ทรงห้าม, ​ ในศีล 2 อย่างนั้น ​ จาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธาและวีริยะ ​ วาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธา 
- 
-ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นจารีตตศีล ​ และ ​ วาริตตศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===อธิบายศีลหมวด 2=== 
- 
-'''​อธิบายศีล 2  หมวดที่ 2'''​ 
- 
-ในศีล 2 อย่างหมวดที่ 2  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – คำว่า ​ อาภิสมาจาร ​ ได้แก่ ​ ความประพฤติอย่างสูง ​ อภิสมาจารศัพท์นั่นแหละสำเร็จรูปเป็น ​ อาภิสมาจาริก ​ อีกอย่าง ​ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติปรารภอภิสมาจาร ​ ชื่อว่า ​ อาภิสมาจาริก ​ คำว่า ​ อภิสมาจาริก ​ นี้เป็นชื่อของศีลที่นอกเหนือไปจากอาชีวัฏฐมกศีล 
- 
-ศีลชื่อว่า ​ อาทิพรหมจริยก ​ เพราะเหตุว่า ​ เป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ ​ คำว่า ​ อาทิพรหมจริยก ​ นี้เป็นชื่อของ ​ อาชีวัฏฐมกศีล ​ เป็นความจริง ​ ศีลนั้นมีภาวะเป็นเบื้องต้นของมรรค ​ เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องชำระให้บริสุทธิ์ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั่นเทียว ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า ​ "​ก็แหละ ​ กายกรรม ​ วจีกรรม ​ อาชีพ ​ ของภิกษุนั้น ​ ย่อมเป็นสภาพบริสุทธิ์ในเบื้องต้น ​ โดยแท้แล"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 17)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ สิกขาบทเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่าเป็นสิกขาบทเล็ก ๆ  น้อย ๆ  สิกขาบทนี้จัดเป็น ​ อาภิสมาจาริกศีล ​ สิกขาบทที่เหลือจัดเป็น ​ อาทิพรหมจริยกศีล  ​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ สิกขาบทที่นับเนื่องในอุภโตวิภังค์ ​ (คำว่าอุภโตวิภังค์ ​ ได้แก่วิภังค์ 2  คือ ​ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์) ​ ชื่อว่า ​ อาทิพรหมจริยกศีล ​ สิกขาบทที่นั้นเนื่องในขันธกะและวัตรชื่อว่า ​ อาภิสมาจาริกศีล ​ อาทิพรหมจริยกศีลจะสำเร็จได้ก็ด้วย ​ ความสมบูรณ์แห่งอาภิสมาจาริกศีลนี้เท่านั้น ​ เพราะเหตุฉะนั้นแหละ ​ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุนั้นหนา ​ ไม่ทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว ​ จักทำอาทิพรหมจริยกธรรมให้บริบูรณ์ดังนี้ ​ ข้อนี้ ​ มิใช่ฐานะที่จะมีได้"​ 
- 
-ศีล 2  อย่างโดยแยกเป็นอาภิสมาจาริกศีลและอาทิพรหมจริยกศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 2  หมวดที่ 3'''​ 
- 
-ในศีล 2  หมวดที่ 3  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ภาวะสักว่าความงดเว้นจากบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นชื่อว่า ​ วิรติศีล ​ คุณธรรมที่เหลือมีเจตนาเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ อวิรติศีล 
- 
-ศีล 2  อย่างโดยแยกเป็นวิรติศีลและอวิรติศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 2  หมวดที่ 4'''​ 
- 
-ในศีล 2  หมวดที่ 4  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  คำว่า ​ นิสสัย ​ ได้แก่นิสสัย 2 อย่าง ​ คือ ​ ตัณหานิสสัย 1  ทิฏฐินิสสัย 1  ในศีล 2  อย่างนั้น ​ ศีลใดที่บุคคลปราถนาภวสมบัติให้เป็นไปอย่างนี้ว่า ​ "​เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีลนี้" ​ ศีลนี้ชื่อว่า ​ ตัณหานิสสิตศีล ​ ศีลใดที่บุคคลให้เป็นไปด้วยทิฏฐิล้วน ๆ  อย่างนี้ว่า ​ "​เราจักเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลนี้" ​ ศีลนี้ชื่อว่า ​ ทิฏฐินิสสิตศีล ​ ส่วนศีลใด ​ ที่เป็นโลกุตตรศีล ​ และเป็นโลกิยศีลแต่เป็นเหตุแห่งโลกุตตรศีล นั้นเฉพาะ ​ ศีลนี้ชื่อว่า ​ อนิสสิตศีล ​     
- 
-ศีล 2  อย่างโดยแยกเป็นนิสสิตศีลและอนิสสิตศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 18)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายศีล 2  หมวดที่ 5'''​ 
- 
-ในศีล 2  หมวดที่ 5  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ศีลที่บุคคลสมาทานทำกำหนดเวลาชื่อว่า ​ กาลปริยันตศีล ​ ศีลที่บุคคลสมาทานตลอดชีวิตแล้วคงให้ดำเนินไปได้เหมือนอย่างนั้น ​ ชื่อว่า ​ อาปาณโกฏิกศีล 
- 
-ศีล 2  อย่างโดยแยกเป็นการปริยันตศีลและอาปาณโกฏิกศีล ​ ยุติด้วยปประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 2 หมวดที่ 6 '''​ 
- 
-ในศีล 2  หมวดที่ 6  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ศีลที่มีความเห็นด้วยสามารถแห่งลาภ, ​ ยศ, ​ ญาติ, ​ อวัยวะและชีวิตเป็นที่สุด ​ ชื่อว่า ​ สปริยันตศีล ​ ศีลที่ตรงกันข้าม ​ ชื่อว่า ​ อปริยันตศีล ​ สมจริง ​ ดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า ​ "​ศีลมีที่สุดนั้นเป็นอย่างไร ?  ศีลมีลาภเป็นที่สุดมีอยู่ ​ ศีลมียศเป็นที่สุดมีอยู่ ​ ศีลมีญาติเป็นที่สุดมีอยู่ ​ ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดมีอยู่ ​ ศีลมีลาภ ​ เป็นที่สุดนั้น ​ เป็นอย่าง ?  บุคคลบางคนในโลกนี้ ​ ย่อมล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว ​ เพราะลาภเป็นเหตุ ​ เพราะลาภเป็นปัจจัย ​ เพราะลาภเป็นตัวการ ​ นี้ชื่อว่าศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น" ​ แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว ​ แม้ในอธิการวิสัชนาอปริยันตศีล ​ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะก็ได้กล่าวไว้ว่า "​ศีลที่มิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น ​ เป็นอย่างไร ?  บุคคลบางคนในโลกนี้ ​ แม้แต่จิตก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว ​ เพราะลาภเป็นเหตุ ​ เพราะลาภเป็นปัจจัย ​ เพราะลาภเป็นตัวการ ​ ไฉนเขาจักล่วงละเมิด ​ นี้ชื่อว่า ​ ศีลมิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น" ​ แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว 
- 
-ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นสปริยันตศีลและอปริยันตศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 2 หมวดที่ 7'''​ 
- 
-ในศีล 2 หมวดที่ 7 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ​ ศีลที่ประกอบด้วยอาสวะแม้ทุกประเภท ​ ชื่อว่า ​ โลกิยศีล ​ ศีลที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ​ ชื่อว่า ​ โลกุตตรศีล ​ ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 19) ''</​fs></​sub>​ 
- 
-ศีล 2 อย่างนั้น ​ โลกิยศีลย่อมนำมาซึ่งภพชั้นวิเศษ ​ และเป็นเหตุแห่งอันออกจากภพด้วย สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ "​วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสังวร ​ ความสังวรเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ​ ความไม่เดือดร้อนใจเพือประโยชน์แก่ความปราโมช ​ ความปราโมชเพื่อประโยชน์แก่ปีติเพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ ​ ความสงบใจเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ​ ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ ​ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ​ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา ​ นิพพิทาเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ ​ วิราคะเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ ​ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน, ​ การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด ​ การพูดวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ ​ การปรึกษาวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ ​ การเข้าไปอิงวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ ​ การเงี่ยโสตลงฟังวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์" ​ โลกุตตรศีลย่อมนำมาซึ่งการออกจากภพและเป็นภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณด้วย 
- 
-ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นโลกิยศีลและโลกุตตรศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===อธิบายศีลหมวด 3=== 
- 
-'''​อธิบายศีล 3 หมวดที่ 1'''​ 
- 
-ในบรรดาศีล 3 อย่าง ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ​ ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 1 ความว่า ​ ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะหรือวิมังสาชั้นต่ำ ​ ชื่อว่า ​ หีนศีล ​ ศีลที่บุคคประพฤติเป็นไป ​ ด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ​ ชั้นปานกลาง ​ ชื่อว่า ​ มัชฌิมศีล ​ ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายชั้นประณีต ​ ชื่อว่า ​ ปณีตศีล 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ยศ ​ ชื่อว่า ​ หีนศีล ​ ศีลที่บุคคลสาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ผลบุญ ​ ชื่อว่า ​ มัชฌิมศีล ​ ศีลที่บุคคลสมาทานเพราะอาศัยอริยภาพว่า ​ ศีลนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ ​ ชื่อว่า ​ ปณีตศีล 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ศีลที่หม่นหมองไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย ​ มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้นอย่างนี้ว่า ​ เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ​ ส่วนภิกษุอื่น ๆ  นี้นั้นเป็นผู้ทุศีล ​ มีบาปธรรมชื่อว่า ​ หีนศีล ​ ศีลที่ไม่หม่นหมองอย่างนั้นแต่เป็นชั้นโลกิยะ ​ ชื่อว่า ​ มัชฌิมศีล ​ ศีลชั้นโลกุตตระ ​ ชื่อว่า ​ ปรีตศีล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 20) ''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการภวสมบัติและโภคสมบัติด้วยอำนาจแห่งตัณหา ​ ชื่อว่า ​ หีนศีล ​ ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับตน ​ ชื่อว่า ​ มัชฌิมศีล ​ ปารมิตาศีลที่พระโพธิสัตว์ประพฤติเป็นไป ​ เพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ ปณีตศีล 
- 
-ศีล 3  อย่างโดยแยกเป็นหีนศีล, ​ มัชฌิมศีลและประณีตศีล ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 3  หมวดที่ 2'''​ 
- 
-ในศีล 3  อย่างหมวดที่ 2  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ศีลที่บุคคลเพื่อใคร่เพื่อจะสละทิ้งสิ่งซึ่งไม่สมควรแก่ตน ​ ผู้มีตนเป็นที่เคารพ ​ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในตน ​ ชื่อว่า ​ อัตาธิปไตยศีล ​ ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะหลีกเลี่ยงการตำหนิของชาวโลก ​ ผู้มีโลกเป็นที่เคารพ ​ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในโลก ​ ชื่อว่า ​ โลกาธิปไตยศีล ​ ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะบูชาความยิ่งใหญ่ของธรรม ​ ผู้มีธรรมเป็นที่เคารพ ​ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในธรรม ​ ชื่อว่า ​ ธัมมาธิปไตยศีล 
- 
-ศีล 3  อย่าง ​ โดยแยกเป็นอัตตาธิปไตยศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 3  หมวดที่ 3'''​ 
- 
-ในศีล 3  อย่างหมวดที่ 3  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ -  ศีลใดที่ข้าพเจ้าเรียกว่า ​ นิสสิตศีลในหมวด 2  ศีลนั้น ​ ชื่อว่า ​ ปรามัฏฐศีล ​ เพราะอันตัณหาและทิฏฐิถูกต้องแล้ว ​ ศีลอันเป็นเหตุแห่งมัคญาณของกัลยาณปุถุชน ​ และประกอบด้วยมัคญาณของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ อปรามัฏฐศีล ​ ศีลอันประกอบด้วยผลญาณของพระเสกขะและพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ ปฏิปัสสัทธิศีล 
- 
-ศีล 3  อย่างโดยแยกเป็นปรามัฏฐศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 21)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายศีล 3  หมวด 4'''​ 
- 
-ในศีล 3  อย่างหมวดที่ 4  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –ศีลใดที่ภิกษุไม่ต้องอาบัติบำเพ็ญแล้ว ​ หรือที่ต้องแล้วได้ทำกลับคืนอีก ​ ศีลนั้นชื่อว่า ​ วิสุทธิศีล ​ ศีลที่ภิกษุต้องอาบัติ ​ แล้วไม่ได้ทำกลับคืน ​ ชื่อว่า ​ อวิสุทธิศีล ​ ศีลของภิกษุผู้สงสัยในวัตถุก็ดี ​ ในอาบัติก็ดี ​ ในอัชฌาจารก็ดี ​ ชื่อว่า ​ เวมติกศีล ​ ในศีล 3  อย่างนั้น ​ อวิสุทธิศีลอันโยคีบุคคลพึงทำให้บริสุทธิ์ ​ เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นอย่าได้ทำการล่วงละเมิดวัตถุ ​ พึงกำจัดความสงสัยเสียความผาสุขใจจักมีแก่โยคีบุคคลนั้นด้วยอาการอย่างนี้ 
- 
-ศีล 3  อย่างโดยแยกเป็นวิสุทธิศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 3  หมวดที่ 5'''​ 
- 
-ในศีล 3  อย่างหมวดที่ 5  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – ศีลที่ประกอบด้วยอริยมัคคญาณ 4  และประกอบด้วยสามัญผล 3  ชื่อว่า ​ เสกขศีล ​ ศีลที่ประกอบด้วยอรหัตผลชื่อว่า ​ อเสกขศีล ​ ศีลที่เหลือชื่อว่า ​ เนวเสกขนาเสกขศีล 
- 
-ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นเสกขศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ส่วนในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ​ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ว่า "​โดยที่แม้ความปกติของสัตว์นั้น ๆ ในโลก ​ ที่คนทั้งหลายอาศัยใช้พูดกันอยู่ว่า ​ "​คนนี้มีสุขเป็นปกติ ​ คนนี้มีทุกข์เป็นปกติ ​ คนนี้มีการทะเลาะเป็นปกติ ​ คนนี้ประดับตนเป็นปกติ" ​ ดังนี้ก็เรียกว่าศีล" ​ ฉะนั้น ​ โดยปริยายนั้น ​ ศีลก็มีอยู่ 3  อย่างคือ ​ กุศลศีล 1  อกุศลศีล 1  อัพยากตศีล 1  ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นกุศลศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ ​ ในศีล 3 อย่างนั้น ​ อกุศลศีล ​ ย่อมเข้ากันไม่ได้กับอาการของศีลที่ประสงค์เอาในอรรถนี้มีลักษณะเป็นต้นแม้สักอาการเดียวดังนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงมิได้ยกมาไว้ในอธิการนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบภาวะที่ศีลนั้นมี 3 อย่าง ​ โดยนัยเท่าที่บรรยายมาแล้วเท่านั้น 
- 
-===อธิบายศีลหมวด 4=== 
- 
-'''​อธิบายศีล 4  หมวดที่ 1'''​ 
- 
-ในบรรดาศีล 4 ทั้งหลาย ​ ศีล 4  อย่างหมวดที่ 1  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – ภิกษุใดในศาสนานี้ ​ ชอบคบแต่พวกภิกษุทุศีล ​ ไม่ชอบคบภิกษุมีศีล ​ มองไม่เห็นโทษ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 22)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในการล่วงละเมิดวัตถุ ​ เป็นผู้โง่เซอะ ​ มากไปด้วยความดำริผิด ​ ไม่รักษาอินทรีย์ทั้งหลายศีลของภิกษุเช่นนี้นั่นแล ​ จัดเป็น ​ หานภาคิยศีล ​ อนึ่ง ​ ภิกษุใดในศาสนานี้เป็นผู้พอใจอยู่ด้วยศีลสมบัติ ​ ไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้นในการบำเพ็ญกรรมฐานเนือง ๆ  ศีลของภิกษุนั้นผู้ยินดีเฉพาะเพียงแค่ศีล ​ ไม่พยายามเพื่อคุณเบื้องสูงขึ้นไป ​ จัดเป็น ​ ฐิติภาคิยศีล ​ อนึ่งภิกษุใดในศาสนานี้ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ​ ยังพยายามเพื่อต้องการสมาธิต่อไปอีก ​ ศีลของภิกษุนี้จัดเป็น ​ วิเสสภาคิยศีล ​ อนึ่ง ​ ภิกษุใดในศาสนานี้ ​ ไม่ยินดีอยู่แต่เฉพาะแค่ศีลสมบัติ ​ ย่อมประกอบเนือง ​ ๆ  ซึ่งนิพพิทา ​ คือวิปัสสนาต่อไป ​ ศีลของภิกษุนี้ ​ จัดเป็น ​ นิพเพธภาคิยศีล 
- 
-ศีล ​ 4  อย่างโดยจำแนกเป็นหานภาคิยศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล ​ 4  หมวดที่ ​ 2'''​ 
- 
-ในศีล ​ 4  อย่างหมวดที่ ​ 2  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ​ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุ ​ และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุเหล่านั้นจะต้องรักษานอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุณีทั้งหลาย ​ นี้ชื่อว่า ​ ภิกขุศีล ​ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุณี ​ และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุณีจะต้องรักษา ​ นอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุทั้งหลาย ​ นี้ชื่อว่า ​ ภิกขุนีศีล ​ ศีล ​ 10  ประการของสามเณรและสามเณรี ​ ชื่อว่า ​ อนุปสัมปันนศีล ​ สิกขาบท 5  ประการด้วยอำนาจแห่งนิจศีล ​ หรือในเมื่อมีความอุตสาหะก็สิกขาบท 10  ประการ ​ และสิกขาบท 8  ประการด้วยสามารถองค์แห่งอุโบสถ ​ สำหรับอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ​ นี้ชื่อว่า ​ คหัฏฐศีล 
- 
-ศีล 4  อย่างโดยแยกเป็นภิกขุศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 4  หมวดที่ ​ 3'''​ 
- 
-ในศีล 4  อย่างหมวดที่ 3  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –การไม่ล่วงละเมิด ​ (เบญจศีล) ​ ของพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปทั้งหลาย ​ จัดเป็น ​ ปกติศีล ​ จารีตประเพณีในขอบเขตของตน ๆ  ของตระกูลของตำบลและของลัทธิเดียรถีย์ทั้งหลาย ​ จัดเป็น ​ อาจารศีล ​ ศีลพระมารดาของพระโพธิสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ​ "​ดูก่อนอานันทะ ​ ในการใดพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ​ ความพอพระทัยในบุรุษอันประกอบด้วยกามคุณ ​ ย่อมไม่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 23)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เกิดขึ้นแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์" ​ ดังนี้ ​ จัดเป็น ​ ธัมมตาศีล ​ อนึ่ง ​ ศีลในชาตินั้น ​ ๆ  ของจำพวกสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ​ เช่นพระมหากัสสปเป็นต้นและของพระโพธิสัตว์ ​ จัดเป็น ​ ปุพพเหตุกศีล 
- 
-ศีล ​ 4  อย่างโดยแยกเป็นปกติศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล ​ 4  หมวดที่ ​ 4'''​ 
- 
-ในศีล ​ 4  อย่างหมวดที่ ​ 4  มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ​ ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า ​ "​ภิกษุในศาสนานี้ ​ เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรคือปาติโมกข์ ​ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร ​ มีปกติมองเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย ​ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย"​ ศีลนี้ชื่อว่า ​ ปาติโมกขสังวรศีล 
- 
-อนึ่ง ​ ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ "​ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ​ ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ ​ อกุศลบาปธรรมทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์เพราะมีจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ​ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรซึ่งจักรขุนทรีย์นั้น ​ ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ​ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์, ​ ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว………ได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว……..ได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว……..ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว………ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว……..ย่อมไม่ยึดถือซึ่งนิมิต………ย่อมถึงซึ่งความสังวรในมนินทรีย์" ​ ฉะนี้ ​ ศีลนี้จัดเป็น ​ อินทรียสังวรศีล 
- 
-อนึ่ง ​ การวิรัติจากมิจฉาอาชีพอันใด ​ ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท ​ 6  ประการ ​ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีวะเป็นเหตุ ​ และด้วยอำนาจแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ ​ คือ ​ "​การหลอกลวง ​ การพูดเลาะเล็ม ​ การกระทำนิมิต ​ การด่าแช่ง ​ การแสวงหาลาภด้วยลาภ" ​ นี้จัดเป็น ​ อาชีวปาริสุทธิศีล 
- 
-การบริโภคปัจจัย 4  อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ​ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ "​ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ​ จึงใช้สอยจีวร ​ เพียงเพื่อกำจัดเสียซึ่งความเย็น…………" ​ ฉะนี้ ​ จัดเป็น ​ ปัจจยสันนิสสิตศีล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 24) ''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายปาติโมกขสังวรศีล'''​ 
- 
-ในปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้นนั้น ​ มีกถาวินิจฉัยพร้อมทั้งการพรรณนาตามลำดับบทจำเดิมตั้งแต่ต้น ​ ดังต่อไปนี้- 
- 
-บทว่า ​ อิธ ​ หมายความว่าในศาสนานี้ ​ บทว่า ​ ภิกขุ ​ ได้แก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ​ ที่ได้โวหารว่าอย่างนั้น ​ เพราะเป็นผู้เห็นภัยในสงสารอย่างหนึ่ง ​ เพราะเป็นผู้ใช้ผ้าที่ถูกทำลายแล้วเป็นต้นอย่างหนึ่ง ​ บทว่า ​ ปาติโมกข ​ ในคำว่า ​ สำรวมแล้วด้วยสังวรคือ ​ ปาติโมกข์นี้ ​ ได้แก่ศีลอันเป็นสิกขาบท ​ จริงอยู่ ​ ศีลอันเป็นสิกขาบทนั้น ​ เรียกว่า ​ ปาติโมกข ​ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ​ ปลดเปลื้องภิกษุผู้รักษาศีลนั้น ​ ให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย ​ มีทุกข์ในอบายเป็นต้น ​ ความระวัง ​ ชื่อว่า ​ ความสังวร ​ ความสังวรนี้ ​ เป็นชื่อของการไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางกายและเกิดทางวาจา ​ ความสังวรคือปาติโมกข์ ​ ชื่อว่า ​ ปาติโมกขสังวร ​ เป็นผู้สำรวมด้วยสังวรคือปาติโมกข์นั้น ​ ชื่อว่า ​ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต ​ อธิบายว่า ​ ผู้สำรวมคือผู้เข้าถึงคือผู้ประกอบด้วยสังวรคือปาติโมกข์ ​   วิหรติ ​ หมายความว่า ​ ยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ​ ( คืออยู่ด้วยอิริยาบถ ​ 4 ) 
- 
-อรรถาธิบายของบทว่า ​ ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร ​ เป็นต้น ​ พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในพระบาลีนั่นเทียว ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังต่อไปนี้- 
- 
-'''​บาลีแสดงอาจารและโคจร'''​ 
- 
-บทว่า ​ ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร ​ ไขความว่า ​ อาจารมีอยู่ ​ อนาจารมีอยู่ 
- 
-'''​อนาจาร'''​ 
- 
-ในอาจารและอนาจารนั้น ​ อนาจาร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ความล่วงละเมิดที่เกิดทางกาย ​ ความล่วงละเมิดที่เกิดทางวาจา ​ ความล่วงละเมิดที่เกิดทั้งทางกายและวาจา ​ นี้เรียกว่า ​ อนาจาร ​ แม้ความทุศีลทุก ๆ  อย่างก็ชื่อว่า ​ อนาจาร ​ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ ย่อมสำเร็จการเลียงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ ​ คือด้วยการให้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 25)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไม้ไผ่บ้าง ​ ด้วยการให้ใบไม้บ้าง ​ ด้วยการให้ดอกไม้, ​ ผลไม้, ​ แป้งเครื่องสนานและไม้สีฟันบ้างด้วยความเป็นผู้ประจบสอพลอบ้าง ​ ด้วยความเป็นผู้เหมือนแกงถั่วบ้าง (คือพูดจริงบ้างไม่จริงบ้าง ​ สุก ๆ ดิบ ๆ  เหมือนแกงถั่ว) ​ ด้วยความเป็นผู้รับเลี้ยงเด็กบ้าง ​ ด้วยรับส่งหนังสือด้วยกำลังแข้งบ้าง ​ หรือด้วยมิจฉาอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงครหา ​ อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ การสำเร็จความเลี้ยงชีพนี้ ​ เรียกว่า ​ อนาจาร 
- 
-'''​อาจาร'''​ 
- 
-ในอาจารและอนาจารนั้น ​ อาจาร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางกาย ​ ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางวาจา ​ ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทั้งทางกายและทางวาจา ​ ความไม่ล่วงละเมิดนี้ ​ เรียกว่า ​ อาจาร ​ แม้สังวรคือศีลทั้งหมดก็เรียกว่า ​ อาจาร ​ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ ย่อมไม่สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ ​ คือด้วยการให้ไม้ไผ่บ้าง ​ ด้วยการให้ใบไม้บ้าง ​ ด้วยการให้ดอกไม้,​ผลไม้,​แป้งเครื่องสนานและไม้สีฟันบ้าง ​ ด้วยความเป็นผู้ประจบสอพลอบ้าง ​ ด้วยความเป็นผู้เหมือนแกงถั่วบ้าง ​ ด้วยความเป็นผู้รับเลี้ยงเด็กบ้าง ​ ด้วยรับส่งหนังสือด้วยกำลังแข้งบ้าง ​ หรือด้วยมิจฉาอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงครหาอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ​ การไม่สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพนี้ ​ เรียกว่า ​ อาจาร 
- 
-บทว่า ​ อโคจร ​ ไขความว่า ​ โคจรมีอยู่ ​ อโคจรมีอยู่ 
- 
-'''​อโคจร'''​ 
- 
-ในโคจรและอโคจรนั้น ​ อโคจร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ภิกษุในบางรูปในศาสนานี้ ​ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นที่โคจรบ้าง ​ มีหญิงหม้าย ,  สาวเทื้อ, ​ บัณเฑาะก์, ​ ภิกษุณีและร้านสุราเป็นที่โคจรบ้าง ​ เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา ​ มหาอำมาตย์ของพระราชา ​ กับพวกเดียรถีย์ ​ และสาวกของพวกเดียรถีย์ ​ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ​ อันไม่สมควร ​ แหละหรือ ​ ย่อมส้องเสพคบหาเข้าไปนั่งใกล้ ​ ซึ่งตระกูลทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ ​ คือ ​ ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ​ ตระกูลที่ไม่เลื่อมใส ​ ตระกูลที่มิได้เตรียมตั้งเครื่องดื่ม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 26)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไว้ ​ ตระกูลที่ด่าที่บริภาษ ​ ตระกูลที่ไม่ใคร่ประโยชน์ ​ ตระกูลที่ไม่ใคร่ความเกื้อกูล ​ ตระกูลที่ไม่ใคร่ความผาสุก ​ ตระกูลที่ไม่ใคร่ความเกษมจากโยคธรรม ​ แก่ภิกษุภิกษุณีอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ​ พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ ​ เรียกว่า ​ อโคจร 
- 
-'''​โคจร'''​ 
- 
-ในโคจรและอโคจรนั้น ​ โคจร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ เป็นผู้ไม่มีหญิงแพศยาเป็นที่โคจร ​ เป็นผู้ไม่มีหญิงหม้าย, ​ สาวเทื้อ, ​ บัณเฑาะก์, ​ ภิกษุณีและร้านสุราเป็นที่โคจร ​ เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับพระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา ​ กับพวกเดียรถีย์ ​ ด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ​ อันไม่สมควร ​ แหละหรือ ​ ย่อมส้องเสพคบหา ​ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ​ ซึ่งตระกูลทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ ​ คือตระกูลมีศรัทธา ​ ตระกูลเลื่อมใส ​ ตระกูลเตรียมตั้งเครื่องดื่มไว้ ​ ตระกูลรุ่งเรืองไป ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ​ ตระกูลฟุ้งตลบไปด้วยกลิ่นฤาษี ​ ตระกูลใคร่ประโยชน์ตระกูลใคร่ความเกื้อกูล ​ ตระกูลใคร่ความผาสุก ​ ตระกูลใคร่ความเกษมจากโยคธรรม ​ แก่ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ​ พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ ​ เรียกว่า ​ โคจร 
- 
-ภิกษุเป็นผู้ประกอบแล้ว ​ ประกอบพร้อมแล้ว ​ เข้าไปแล้ว ​ เข้าไปพร้อมแล้ว ​ เข้าถึงแล้ว ​ เข้าถึงพร้อมแล้ว ​ มาตามพร้อมแล้ว ​ ด้วยอาจารนี้และด้วยโคจรนี้ ​ ด้วยประการดังอรรถาธิบายมา ​ เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ​ อาจารโคจรสมฺปนฺโน ​ แปลว่า ​ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจารและโคจร ​ ฉะนี้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในอธิการแห่ง ​ ปาติโมกขสังวรศีล ​ นี้ ​ นักศึกษาพึงทราบ ​ อาจารและโคจร ​ แม้โดยนัยดังพรรณนาโดยต่อไปนี้ –  
- 
-'''​อนาจารทางกาย'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อนาจาร ​ มี 2 ประการ ​ คือ ​ อนาจารทางกาย 1  อนาจารทางวาจา 1 
- 
-ใน 2  ประการนั้น ​ อนาจารทางกาย ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 27)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คือ ​ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ แม้เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์ก็ไม่ทำความเคารพ ​ ยืนเบียดบ้าง ​ นั่งเบียดบ้าง ​ ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ ยืนข้างหน้าบ้าง ​ นั่งข้างหน้าบ้าง ​ นั่งบนอาสนะสูงบ้าง ​ นั่งคลุมศีรษะบ้าง ​ ยืนพูดบ้าง ​ กวักมือพูดบ้าง ​ เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินไม่สวมรองเท้า ​ ก็เดินสวมรองเท้า ​ เมื่อภิกษุชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ ​ ณ  ที่จงกรมต่ำ ​ ไพล่ไปเดินที่จงกรมสูง ​ เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ​ ไพล่ไปเดินจงกรมเสียบนที่จงกรม ​ ยืนแทรกบ้างนั่งแทรกบ้าง ​ ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ ย่อมกีดกันแม้พวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะ ​ แม้อยู่ในเรือนไฟ ​ ไปอาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ ก็ใส่ฟืน ​ ปิดประตูแม้ ​ ณ  ที่ท่าน้ำ ​ ก็ลงเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ ลงไปข้างหน้าเสียบ้าง ​ สรงเบียดบ้าง ​ สรงอยู่ข้างหน้าบ้าง ​ ขึ้นเบียดบ้าง ​ ขึ้นไปข้างหน้าบ้าง ​ แม้เมื่อเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ​ เดินเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระบ้าง ​ เดินไปข้างหน้าบ้าง ​ และเดินแซงไปข้างหน้า ๆ  ของภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ แม้ ​ ณ  ห้องลับและห้องปิดบังสำหรับตระกูลทั้งหลายที่กุลสตรีและกุลกุมารีทั้งหลายพากันนั่งเล่นเช่นนั้น ​ เธอก็จู่โจมเข้าไปลูบศรีษะเด็กบ้าง ​ อันว่าพฤติการเช่นนี้ ​ เรียกว่า ​ อนาจารทางกาย 
- 
-'''​อนาจารทางวาจา'''​ 
- 
-ในอนาจาร 2  ประการนั้น ​ อนาจารทางวาจา ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-คือ ​ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ แม้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์แล้วก็ไม่ทำความเคารพ ​ ไม่อาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ​ พูดธรรม ​ วิสัชนาปัญหา ​ แสดงพระปาติโมกข์ ​ ยืนพูดบ้าง ​ กวักมือพูดบ้าง ​ แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว ​ ย่อมพล่ามพูดกับสตรีบ้าง ​ กับกุมารีบ้าง ​ อย่างนี้ว่า ​ "​คุณโยมผู้นี้มีชื่ออย่างนี้ ​ มีนามสกุลอย่างนี้ ​ มีอะไรไหม? ​ มีข้าวยาคูไหม? ​ มีข้าวสวยไหม? ​ มีของเคี้ยวไหม? ​ อาตมาจักดื่มอะไร? ​ จักเคี้ยวอะไร? ​ จักฉันอะไร? ​ คุณโยมจักถวายอะไรแก่อาตมาหรือ ?" ​ พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ ​ เรียกว่า ​ อนาจารทางวาจา 
- 
-ส่วน ​ อาจาร ​ นักศึกษาพึงทราบด้วยสามารถข้อความอันตรงกันข้ามกับ ​ อนาจาร ​ นั้นเถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 28)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อาจารตามนัยแห่งอรรถกถา'''​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ภิกษุเป็นผู้มีความคารวะ ​ มีความเคารพ ​ สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ​ นุ่งสบงห่มจีวรเรียบร้อย ​ มีการเดินหน้าถอยหลัง ​ มีการเหลียวไปแลมา ​ มีการคู้เหยียด ​ อันน่าเลื่อมใส ​ มีจักษุทอดลงประมาณชั่วแอก ​ มีอิริยาบทเรียบร้อย ​ รักษาทวารในอินทรีย์ 6  รู้จักประมาณในโภชนะ ​ หมั่นประกอบความเพียร ​ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ ​ มักน้อย ​ สันโดษ ​ ปรารถความเพียร ​ มีปกติทำความเคารพในอาภิสมาจาริกศีลทั้งหลาย ​ เป็นผู้มากด้วยการทำความเคารพในฐานแห่งความเคารพ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบ ​ อาจาร ​ อันเป็นประการแรก ​ ด้วยประกาศดังพรรณนามานี้ 
- 
-'''​โคจร 3  อย่าง'''​ 
- 
-ส่วน ​ โคจร ​ มี 3  อย่าง ​ คือ ​ อุปนิสสยโคจร 1  อารักขโคจร 1  อุปนิพันธโคจร 1 
- 
-'''​อุปนิสสยโคจร '''​ 
- 
-ในโคจร 3อย่างนั้น ​ อุปนิสสยโคจร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-กัลยาณมิตร ​ ซึ่งประกอบด้วยคุณคือกถาวัตถุ 10  ที่ภิกษุพึ่งพิงแล้ว ​ ย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ​ ย่อมสิ้นความสงสัย ​ ย่อมทำทฤษฎีให้ถูกต้อง ​ ย่อมทำจิตใจให้ผ่องใส ​ แหละหรือ ​ กัลยาณมิตรผู้ที่ภิกษุศึกษาสำเหนียกตามอยู่ ​ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา, ​ ศีล, ​ สุตะ, ​ จาคะ, ​ และปัญญา ​ กัลยาณมิตรนี้ ​ เรียกว่า ​ อุปนิสัสยโคจร 
- 
-'''​อารักขโคจร'''​ 
- 
-อารักขโคจร ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ภิกษุในศาสนานี้ ​ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ​ เดินไปตามถนน ​ ทอดสายตาลงมองดูประมาณชั่วแอก ​ เดินไปอย่างสำรวม ​ ไม่เหลียวดูพลช้าง ​ ไม่เหลียวดูพลม้า ​ ไม่เหลียวดูพลรถ ​ ไม่เหลียวดูพลเดินเท้า ​ ไม่เหลียวดูสตรี ​ ไม่เหลียวดูบุรุษ ​ ไม่แหงนขึ้นข้างบน ​ ไม่เหลียวลงข้างล่าง ​ ไม่เดินมองทิศใหญ่ทิศน้อย ​ พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ ​ เรียกว่า ​ อารักขโคจร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 29)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อุปนิพันธโคจร'''​ 
- 
-อุปนิพันธโคจร ​ เป็นอย่างไร 
- 
-คือ ​ สติปัฏฐาน 4  อันเป็นที่ผูกจิตไว้ ​ สมดังพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ก็โคจรของภิกษุได้แก่อะไร ?  ได้แก่วิสัยอันเป็นสมบัติของพุทธบิดาของตน ​ คือ ​ สติปัฏฐาน 4  นี้เรียกว่า ​ อุปนิพันธโคจร 
- 
-ภิกษุ ​ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ​ เข้าไปแล้ว ​ เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว ​ เข้าถึงพร้อมแล้ว ​ มาตามพร้อมแล้ว ​ ด้วยอาจารนี้และด้วยโคจรนี้ ​ ด้วยประการดังอรรถาธิบายมา ​ แม้ด้วยเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ​ อาจารโคจรสมฺปนฺโน ​ แปลว่า ​ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจารและโคจร ​ ฉะนี้ 
- 
-คำว่า ​ มีปกติมองเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย ​ คือมีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย ​ อันต่างด้วยโทษ ​ เช่น ​ การต้องอาบัติเสขิยวัตรโดยไม่ได้แกล้งและเกิดอกุศลจิตเป็นต้น 
- 
-คำว่า ​ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ​ ความว่า ​ ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ​ ศีลนั้นทั้งหมดเธอถือเอามาศึกษาสำเหนียกอยู่ในความเคารพ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ปาติโมกขสังวรศีล ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วในบทว่า ​ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต ​ ที่แปลว่า ​ ผู้สำรวมด้วยสังวรคือปาติโมกข์นี้ ​ และด้วยเทศนาปุคลาธิษฐานมีประมาณเท่านี้ ​ ส่วนบทว่า ​ อาจารโคจรสมฺปนฺโน ​ ที่แปลว่า ​ ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร ​ เป็นต้น ​ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติโดยประการที่ศีลนั้นทั้งหมดจะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ 
- 
-'''​อธิบายอินทรียสังวรศีล'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในอินทรียสังวรศีล ​ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในลำดับแห่งปาติโมกขสังวรศีลโดยนัยมีอาทิว่า ​ ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุ ​ ดังนี้นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 30)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไปนี้ –  คำว่า ​ ภิกษุนั้น ​ ได้แก่ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในปาติโมกขสังวรศีล ​ คำว่า ​ เห็นรูปด้วยจักษุ ​ อธิบายว่า ​ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญานอันสามารถเห็นรูปได้ ​ ซึ่งได้โวหารว่า ​ จักษุ ​ ด้วยอำนาจแห่งเหตุ ​ ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ​ จักษุเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต ​ จิตเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจักษุแต่เพราะทวารกับอารมณ์กระทบกัน ​ บุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วยจิตซึ่งมีจักษุปสาทเป็นวัตถุ ​ ก็แหละ ​ การพูดที่ประกอบด้วยเหตุเช่นนี้ ​ ย่อมมีได้เหมือนอย่างในคำมีอาทิว่า ​ คนยิงด้วยธนู ​ เพราะฉะนั้น ​ อรรถาธิบายในคำว่า ​ เห็นรูปด้วยจักษุนี้ ​ ได้แก่ ​ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญานนั่นเทียว 
- 
-คำว่า ​ ไม่ยืดถือซึ่งนิมิต ​ อธิบายว่า ​ ไม่ยืดถือด้วยนิมิตที่เป็นหญิงและนิมิตเป็นชาย ​ หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีนิมิตสวยงามเป็นต้น ​ หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น 
- 
-คำว่า ​ ไม่ยืดถือซึ่งอนุพยัญชนะ ​ อธิบายว่า ​ ไม่ยืดถือซึ่งอาการอันต่างด้วย ​ มือ, ​ เท้า, ​ การยิ้ม, ​ การหัวเราะ, ​ การพูดและการเหลียวแลเป็นต้น ​ ซึ่งได้โวหารว่า ​ อนุพยัญชนะ ​ เพราะกระทำความปรากฎ ​ โดยเป็นที่ปรากฏเนือง ๆ  ของกิเลสทั้งหลาย ​ อาการใดปรากฏในสรีระนั้น ​ ก็ถือเอาเพียงอาการนั้น ​ เหมือนพระติสสเถระผู้อยู่ที่เจติยบรรพต 
- 
-'''​เรื่องพระติสสเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ขณะที่พระเถระจากเจติยบรรพตมายังเมืองอนุราธบุรี ​ เพื่อเที่ยวบิณฑบาตนั้น ​ ยังมีหญิงสะใภ้แห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง ​ เกิดทะเลาะกับสามีแล้วประดับตกแต่งตนอย่างสวยงามเป็นเสมือนเทพกัญญา ​ แล้วหนีออกจากเมืองอนุราธบุรีไปแต่เช้ามืดทีเดียวเมื่อเดินไปเรือนญาติ ​ ได้พบพระเถระเข้าระหว่างทางพอดี ​ เกิดมีจิตวิปลาสขึ้น ​ จึงหัวเราะอย่างเสียงดัง ​ พระเถระมองดูด้วยคิดว่า ​ นี่อะไรกัน ​ แล้วได้อสุภสัญญากัมมัฏฐานที่กระดูกฟันของหญิงนั้น ​ เลยได้บรรลุพระอรหัต ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ​ พระเถระนั้นเห็นกระดูกฟันของหญิงสะใภ้นั้นแล้วก็ระลึกขึ้นได้ซึ่งอสุภกัมมัฏฐานที่ตนเคยได้มาแล้วในกาลก่อน ​ ได้บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตทั้งยืน ​ ณ  ที่ตรงนั้นนั่นเทียว ​ ฝ่ายสามีของนางตามหาไปโดยทางนั้น ​ เห็นพระเถระเข้า ​ จึงเรียนถามว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ ท่านเห็นสตรีอะไร ๆ บ้างไหม?​ " ​ พระเถระได้ตอบกับชายสามีนั้นว่า ​ "​จะเป็นหญิงหรือเป็นชายอาตมาไม่ทราบ ​ แต่ว่าโครงกระดูกนี้เดินไปในทางใหญ่" ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 31)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในคำว่า ​ ยตฺวาธิกรณเมนํ ​ เป็นต้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ ​ พึงไหลไปคือติดตามไป ​ ซึ่งบุคคลนี้ผู้ไม่ปิดซึ่งจักขุนทรีย์ด้วยบานประตูคือสติ ​ คือไม่ได้ปิดคือจักขุทวาร ​ เพราะการไม่สังวรจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ​ คือเพราะเหตุแห่งไม่สังวรจักขุนทรีย์ใด 
- 
-คำว่า ​ ย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรจักขุนทรีย์นั้น ​ ความว่า ​ ย่อมปฎิบัติเพื่อปิดซึ่งจักขุนทรีย์นั้นด้วยบานประตูคือสติ ​ แหละเมื่อภิกษุปฏิบัติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ​ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ​ รักษาจักขุนทรีย์บ้าง ​ ถึงซึ่งความสังวรในอินทรีย์บ้าง 
- 
-'''​สังวรอสังวรไม่มีที่จักขุนทรีย์'''​ 
- 
-ในคำว่า ​ ย่อมถึงซึ่งความสังวรในจักขุนทรีย์นั้น ​ อันที่จริง ​ ความสังวรหรือความไม่สังวร ​ ย่อมไม่มีที่จักขุนทรีย์ดอก ​ ความมีสติหรือความเผลอสติก็หาได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุปสาทไม่ ​ ก็แต่ว่า ​ การใดอารมณ์คือรูปมาสู่คลองจักษุ ​ (รูปกระทบตา) ​ กาลนั้นเมื่อ ​ ภวังคจิต ​ เกิดขึ้น 2 ขณะแล้วดับไป ​ กิริยามโนธาตุ ​ (หมายเอาปัญจทวาราวัชชนจิต) ​ เกิดขึ้น ​ ทำอาวัชชนกิจ ​ (กิจคือการนึกเอารูปารมณ์) ​ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ​ แต่นั้น ​ จักขุวิญญาณจิต ​ เกิดขึ้น ​ ทำทัสสนกิจ ​ (กิจคือการเห็นรูป) ​ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ​ แต่นั้น ​ วิปากมโนธาตุ ​ (หมายเอาสัมปฏิจฉันนจิต) ​ เกิดขึ้น ​ ทำปฏิจฉันนกิจ ​ (กิจคือการรับเอารูปารมณ์) ​ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ​ แต่นั้น ​ วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ​ (หมายเอาสันตีรณจิต) ​ เกิดขึ้น ​ ทำสันตีรณกิจ ​ (กิจคือการพิจราณารูปารมณ์) ​ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ​ แต่นั้น ​ กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ​ (หมายเอามโนทวาราวัชชนจิต) ​ เกิดขึ้น ​ ทำโวฏฐัพพนกิจ ​ (กิจคือการตัดสินรูปารมณ์) ​ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ​ ลำดับต่อจากกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้น ​ ชวนจิต ​ ก็เล่นไป 7 ขณะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 32)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​สังวรและอสังวรมีขณะแห่งชวนจิต'''​ 
- 
-แม้ในสมัยเหล่านั้น ​ สังวรก็ดี ​ อสังวรก็ดี ​ ย่อมไม่มีในภวังคสมัยนั่นเทียว ​ ย่อมไม่มีในอาวัชชนสมัยเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่งเช่นกัน ​ แต่ถ้าว่า ​ ความทุศีล ​ ความเผลอสติ ​ ความไม่รู้ ​ ความไม่อดทน ​ หรือความเกียจคร้าน ​ เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต ​ อสังวรก็ย่อมมี ​ แหละอสังวรนั้นเมื่อมีอยู่โดยทำนองนี้ ​ ท่านเรียกว่า ​ ความไม่สังวรในจักขุนทรีย์ 
- 
-เพราะเหตุไร? ​ เพราะเหตุว่า ​ เมื่อสังวรนั้นมี ​ แม้ทวารก็ชื่อว่าเป็นอันไม่รักษาแล้ว ภวังจิตก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันไม่รักษาแล้วตลอดแถว 
- 
-ข้อความที่กล่าวนี้เปรียบเหมือนอะไร ?  เปรียบเหมือนประตูเมือง 4 ประตูไม่ได้ปิด ​ ถึงจะปิดประตูเรือน, ​ ยุ้งฉางและห้องหับอันเป็นภายในอย่างเรียบร้อยแล้วก็ตาม ​ แม้ถึงกระนั้นก็ชื่อว่ารักษาไม่คุ้มครองสิ่งของทั้งมวลอันอยู่ภายในเมืองนั่นเทียว ​ เพราะเหตุว่าโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูเมืองแล้วจะทำสิ่งที่ตนปารถนาได้อยู่ ​ ฉันใด ​ เมื่อโทษทั้งหลายมีความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ชวนะ ​ ครั้นความไม่สังวรมีอยู่ที่ชวนะนั้น ​ แม้ทวารก็เป็นอันไม่ได้รักษาแล้ว ​ แม้ภวังคจิต ​ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันไม่ได้รักษาแล้ว ​ ฉันนั้นเหมือนกัน 
- 
-แต่เมื่อคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ ​ ชวนะ ​ นั้น ​ แม้ทวารก็ชื่อว่าเป็นอันรักษาแล้ว ​ แม้ภวังคจิต ​ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันรักษาแล้วเช่นกัน 
- 
-ที่กล่าวนี้เปรียบเหมือนอะไร ?  เปรียบเหมือนเมื่อประตูเมืองปิดแล้ว ​ ถึงเรือนทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองเป็นต้นมิได้ปิดประตู ​ แม้ถึงกระนั้น ​ ก็ได้ชื่อว่ารักษาดีแล้ว ​ คุ้มครองดีแล้ว ​ ซึ่งสิ่งของทั้งมวล ​ ที่มีอยู่ภายในเมืองนั่นแล ​ เพราะเหตุว่า ​ เมื่อปิดประตูเมืองทั้ง 4ประตูแล้ว ​ โจรทั้งหลายย่อมเล็ดลอดเข้าไปไม่ได้ ​ ฉันใด ​ เมื่อคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ ​ ชวนะ ​ แม้ทวารก็ชื่อว่ารักษาแล้ว ​ แม้ภวังคจิต ​ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ​ ก็เป็นอันรักษาแล้ว ​ ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เพราะเหตุดังบรรยายมา ​ แม้ถึงความสังวรจะเกิดขึ้นอยู่ที่ขณะแห่ง ​ ชวนะ ​ ท่านก็กล่าวว่า ​ ความสังวรในจกขุนทรีย์ ​ ฉะนี้ 
- 
-แม้ในคำทั้งหลาย ​ มีคำว่า ​ ฟังเสียงด้วยโสต ​ เป็นต้น ​ ก็มีอรรถาธิบายโดยทำนองเดียวกันนี้นั่นเทียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 33)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​ เมื่อว่าโดยย่อแล้ว ​ อินทรียสังวรศีล ​ นี้ ​ มีอันเว้นจากการยึดถือซึ่งนิมิต ​ อันเป็นที่ตามผูกพันแห่งกิเลสในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายอาชีวปาริสุทธิศีล'''​ 
- 
-บัดนี้ ​ จะอรรถาธิบายในอาชีวปาริสุทธิศีล ​ ซึ่งตรัสไว้ในลำดับแห่งอินทรียสังวรศีล ​ ต่อไปดังนี้ – 
- 
-คำว่า ​ ด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท 6 ประการ ​ ซึ่งทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีพเป็นต้น ​ อธิบายว่า ​ ด้วยอำนาจการล่วงละเมิดสิกขาบท 6 ประการเหล่านี้ ​ ซึ่งทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ – 
- 
-1. ภิกษุมีความปารถนาลามก ​ อันความอยากครอบงำแล้ว ​ ย่อมพูดอวดอุตริมนุษยธรรม ​ คือธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ​ อันไม่มีจริงอันไม่เป็นจริง ​ เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ ​ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ​ ต้องอาบัติปาราชิก 
- 
-2. ภิกษุทำการชักสื่อ ​ (ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน) ​ เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ ​ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ​ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 
- 
-3. ภิกษุพูดไก๋ว่า ​ ภิกษุใดอยู่ในวัดของท่าน ​ ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ ​ ดังนี้เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ ​ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ​ เมื่อยังยืนยันอยู่ ​ ต้องอาบัติถุลลัจจัย 
- 
-4. ภิกษุไม่ต้องอาพาธ ​ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อตนมาฉัน ​ เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ ​ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ​ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 
- 
-5. ภิกษุณีไม่ได้ต้องอาพาธ ​ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อตนมาฉัน ​ เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ ​ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ​ ต้องปาฏิเทสนียะ 
- 
-6. ภิกษุไม่ได้ต้องอาพาธ ​ ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อตนมาฉัน ​ ต้องอาบัติทุกกฎ 
- 
-'''​บาปธรรม 5  อย่างในพระบาลี'''​ 
- 
-1. ในบาปธรรมเหล่านั้น ​ การหลอกลวง ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-การสยิ้วหน้า ​ กิริยาสยิ้วหน้า ​ การหลอกลวง ​ กิริยาหลอกลวง ​ ภาวะที่หลอกลวง ​ ด้วยกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย 4  หรือด้วยการพูดกระซิบ ​ หรือการสยิ้วหน้า ​ กิริยาสยิ้วหน้า ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 34)''</​fs></​sub>​ 
- 
-การหลอกลวง ​ กิริยาหลอกลวง ​ ภาวะที่หลอกลวง ​ คือการวางท่า ​ การตั้งท่า ​ การแต่งท่า ​ แห่งอิริยาบถทั้ง 4 อันใด ​ ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ นี้เรียกว่า ​ การหลอกลวง 
- 
-2. ในบาปธรรมเหล่านั้น ​ การพูดเลาะเล็ม ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-การพูดทัก ​ การพูดอวด ​ การพูดเอาใจ ​ การพูดยกยอ ​ การพูดยกยอให้หนักขึ้น ​ การพูดผูกมัด ​ การพูดผูกมัดให้หนักขึ้น ​ การพูดยกตน ​ การพูดยกตนให้หนักขึ้น ​ การพูดให้รักอย่างพร่ำเพรื่อ ​ การพูดลดตนเอง ​ การพูดเหมือนแกงถั่ว ​ การพูดรับเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ​ แก่คนอื่น ๆอันใด ​ ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ ผู้อันความปารถนาคอบงำแล้ว ​ นี้เรียกว่า ​ การพูดเลาะเล็ม 
- 
-3. ในบาปธรรมเหล่านั้น ​ การกระทำนิมิต ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-การกระทำกายและวาจาเป็นนิมิต ​ ความฉลาดในการกระทำนิมิตคำพูดเป็นปัจจัย ​ ทำคำพูดเป็นนัย ​ การพูดกระซิบ ​ การพูดเลียบเคียง ​ แก่คนอื่น ๆ อันใด ​ ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ นี้เรียกว่า ​ การกระทำนิมิต 
- 
-4. ในบาปธรรมเหล่านั้น ​ การด่าแช่ง ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-การพูดด่า ​ การพูดข่ม ​ การพูดครหา ​ การพูดสาด ​ การพูดสาดหนักขึ้น ​ การพูดติเตียน ​ การพูดติเตียนหนักขึ้น ​ การพูดให้ร้าย ​ การพูดให้ร้ายหนักขึ้น ​ การนำโทษไปโพนทนา ​ การพูดให้โทษลับหลัง ​ แก่คนอื่น ๆ  อันใด ​ ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ นี้เรียกว่า ​ การด่าแช่ง 
- 
-5. ในบาปธรรมเหล่านั้น ​ การแสวงหาลาภด้วยลาภ ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ นำเอาอามิสที่ได้แล้วจากตระกูลนี้ไปตระกูลโน้น ​ หรือนำเอาอามิสที่ได้แล้ที่ตระกูลโน้นมาที่ตระกูลนี้ ​ การเสาะหา ​ การซอกหา ​ การแสวงหา ​ กิริยาเสาะหา ​ กิริยาซอกหา ​ กิริยาแสวงหา ​ ซึ่งอามิสเห็นปานฉะนี้ ​ อันใด ​ นี้เรียกว่า ​ การแสวงหาลาภด้วยลาภ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 35)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายความพระบาลี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อรรถาธิบายความแห่งพระบาลีนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบดังจะบรรยายต่อไปนี้ 
- 
-'''​1 -  ในกุหนนิทเทส'''​ 
- 
-พึงทราบอรรถาธิบายในกุหนนิทเทสเป็นประการแรกดังนี้ - คำว่า ​ ผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ​ ความว่า ​ ผู้อิงอาศัยคือปารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง ​ คำว่า ​ ผู้มีความปารถนาลามก ​ คือมีความใคร่ที่จะแสดงถึงคุณอันไม่มีอยู่ ​ คำว่า ​ ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ คือผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ คือเข้าประทุษร้ายแล้ว 
- 
-ต่อแต่นี้ไป ​ โดยเหตุที่กุหนวัตถุ 3  อย่างมาในคัมภีร์มหานิทเทส ​ โดยแยกเป็น ​ กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย, ​ กุหนวัตถุคือการกระซิบและกุหนวัตถุคือการอาศัยอิริยาบถ ​ ฉะนั้น ​ เพื่อที่จะแสดงกุหนวัตถุแม้ 3  อย่างนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงทรงปรารภคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ​ ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน ​ วา ​ ที่แปลว่า ​ ด้วยกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย 4  หรือ 
- 
-การทำให้พิศวง ​ ด้วยการปฏิเสธ ​ เพราะเป็นผู้อาศัยความเป็นผู้มีความปารถนาลามก ​ เมื่อถูกคหบดีทั้งหลายนิมนต์ด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ​ ทั้ง ๆ ที่ตนมีความต้องการปัจจัยนั้นอยู่ ​ และด้วยหยั่งรู้ถึงคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในตนแล้ว ​ เมื่อเขาพูดว่า ​ "​โอ ​ พระผู้เป็นเจ้ามักน้อย ​ ไม่ต้องการที่จะรับปัจจัยอะไร ๆ  ถ้าหากว่าพระผู้เป็นเจ้าจะพึงรับปัจจัยอะไรๆ ​ แม้สักเล็กน้อย ​ ก็จะพึงเป็นอันเราทั้งหลายได้ดีแล้วหนอ" ​ ดังนี้แล้ว ​ จึงพากันน้อมปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นที่ประณีต ๆ  มาด้วยอุบายวิธีมีประการต่างๆ เธอจึงรับโดย ​ ทำให้รู้ความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เขาเหล่านั้นเท่ากัน ​ ตั้งแต่นั้น ​ ก็เป็นเหตุให้เขาน้อมนำมาด้วยปัจจัยทั้งหลายแม้เป็นเล่มเกวียน ๆ  การทำให้พิศวงทำนองนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัยประการหนึ่ง ​ ในบรรดากุหนวัตถุ 3  ประการนั้น ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส 
- 
-'''​(1) ​ กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย'''​ 
- 
-กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ในศาสนานี้ ​ คหบดีทั้งหลายนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร, ​ บิณฑบาต, ​ เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ​ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปารถนาลามก ​ อันความปารถนาครอบงำแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 36)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มีความต้องการจีวร, ​ บิณฑบาต, ​ เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขารอยู่ ​ เพราะอาศัยความอยากได้ให้ยิ่งขึ้น ​ จึงบอกปัดจีวร ​ บอกปัดบิณฑบาต ​ บอกปัดเสนาสนะ ​ บอกปัดคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ​ เธอพรรณนาอย่างนี้ว่า ​ "​ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยจีวรที่มีค่ามาก การที่สมณะพึงเก็บเอาผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ​ จากป่าช้าบ้าง ​ จากกองหยากเยื่อบ้าง ​ จากร้านตลาดบ้าง ​ มาทำผ้าสังฆาฏิครอง ​ นี้เป็นการสมควร, ​ ประโยชน์อะไรของสมณะกับบิณฑบาตที่มีค่ามาก การที่สมณะพึงสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยคำข้าวที่ทำให้เป็นก้อน ​ ซึ่งได้มาด้วยภิกขาจารวัตร ​ นี้เป็นการสมควร, ​ ประโยชน์อะไรของสมณะกับเสนาสนะที่มีค่ามาก ​ การที่สมณะพึงอยู่โคนต้นไม้หรือพึงอยู่กลางแจ้ง ​ นี้เป็นการสมควร, ​ ประโยชน์อะไรของสมณะกับคิลานปัจจยเภสัชบริขารอันมีค่ามาก ​ การที่สมณะพึงทำยาด้วยมูตรเน่าหรือด้วยชิ้นส่วนแห่งผลสมอ ​ นี้เป็นการสมควร" ​ อาศัยเหตุนั้นเธอจึงครองจีวรปอน ๆ  ฉันบิณฑบาตเลว ๆ  เสพเสนาสนะอย่างมัวหมอง ​ เสพคิลานปัจจยเภสัชบริขารอย่างถูก ๆ  คหบดีทั้งหลาย จึงรู้จักเธอนั้นทำนองนี้ว่า ​ "​สมนะนี้ ​ เป็นผู้มักน้อย ​ สันโดษ ​ ชอบสงัด ​ ไม่คลุกคลี ​ มีความเพียรปารถนาแล้ว ​ มีวาทะกำจัดกิเลส" ​ จึงนิมนต์เธอด้วยจีวร, ​ บิณฑบาต, ​ เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ​ เธอจึงสาธยาย ​ ดังนี้ว่า ​ "​กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมจะประสบบุญเป็นอันมาก ​ เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ 3  ประการ ​ คือ ​ กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสบบุญเป็นอันมาก ​ เพราะความพร้อมหน้าแห่งศรัทธา 1  กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสพบุญเป็นอันมาก ​ เพราะความพร้อมหน้าแห่งเครื่องไทยธรรม 1  กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสพบุญเป็นอันมาก ​ เพราะความพร้อมหน้าแห่งทักขิเนยยบุคคลทั้งหลาย 1  ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่แล้ว ​ เครื่องไทยธรรมก็มีอยู่ ​ และอาตมาก็เป็นปฏิคาหกด้วย ​ ถ้าอาตมาจักไม่รับ ​ ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้เสื่อมจากบุญไปเสียด้วยอาการอย่างนี้ ​ อาตมาไม่ต้องการด้วยปัจจัยนี้ ​ แต่ที่รับไว้ก็เพื่อจะอนุเคราะห์ท่านทั้งหลายเท่านั้น" ​ อาศัยเหตุนั้นเธอจึงรับจีวรบ้าง ​ บิณฑบาตบ้าง ​ เสนาสนะบ้าง ​ คิลานปัจจยเภสัชบริขารบ้าง ​ ไว้อย่างละมาก ๆ  การสยิ้วหน้า ​ กิริยาสยิ้วหน้า ​ การหลอกลวง ​ กิริยาหลอกลวง ​ ภาวะที่หลอกลวง ​ เห็นปานฉะนี้อันใด ​ นี้ชื่อว่า ​ กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 37)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​(2) ​ กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ การทำให้เกิดพิศวงด้วยประการนั้น ๆ  ด้วยวาจาที่แสดงถึงการได้บรรลุอุตริมนุษยธรรม ​ ของภิกษุผู้มีความปารถนาลามกนั่นแล ​ นักศึกษาพึงทราบ ​ กุหนวัตถุคือ ​ การพูดกระซิบ ​ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ เป็นผู้มีความปารถนาลามก ​ อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ มีความต้องการความสรรเสริญ ​ สำคัญว่า ​ คนจักสรรเสริญเราด้วยอาการอย่างนี้ ​ แล้วจึงพูดถ้อยคำอาศัยอิงอริยธรรม ​ คือพูดว่า ​ "​ภิกษุใดครองจีวรเห็นปานฉะนี้ ​ ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่" ​ พูดว่า ​ "​ภิกษุใดใช้บาตร ​ ใช้ถาดโลหะ ​ ใช้กระบอกกรองน้ำ ​ ใช้ผ้ากรองน้ำ ​ ใช้กุญแจ ​ ใช้ผ้าประคต ​ สวมรองเท้า ​ ชนิดนี้ ๆ  ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่" ​ พูดว่า ​ "​พระอุปัชฌายะ ​ พระอาจารย์ ​ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ​ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ​ ภิกษุผู้เป็นมิตร ​ เป็นเพื่อนเห็น ​ เป็นเพื่อนคบ ​ เป็นสหาย ​ เห็นปานฉะนี้ ๆ  ของภิกษุใด, ​ ภิกษุใดอยู่ในวิหาร ​ ในโรงยาว ​ ในปราสาท ​ ในเรือนล้น ​ ในคูหา ​ ในที่เร้น ​ ในกระท่อม ​ ในเรือนยอด ​ ในป้อม ​ ในโรงกลม ​ ในศาลายาว ​ ในโรงประชุม ​ ในมณฑป ​ และในรุกขมูล ​ ชนิดนี้ ๆ  ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่"​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ภิกษุผู้มีความปารถนาลามกนั้น ​ ตีหน้ายู่ยี่อย่างยิ่ง ​ สยิ้วหน้าอย่างหนัก ​ หลอกลวงอย่างเจนจัด ​ พูดเลาะเล็มอย่างคล่องแคล่ว ​ ชอบสรรเสริญด้วยปาก ​ ย่อมพูดถ้อยคำอันลึกซึ้ง ​ เร้นลับ ​ ละเอียด ​ ปิดบัง ​ ชั้นโลกุตตระ ​ ประกอบด้วยความว่าเช่นนั้นว่า ​ สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติอันสงบเห็นปานฉะนี้ ​ การสยิ้วหน้า ​ กิริยาสยิ้วหน้า ​ การหลอกลวง ​ กิริยาหลอกลวง ​ เห็นปานฉะนี้ ​ อันใด ​ นี้ชื่อว่า ​ กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 38)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​(3) ​ กุหนวัตถุคืออิริยาบถ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ การทำให้พิศวงด้วยอิริยาบถที่กระทำเพื่อประสงค์สรรเสริญ ​ ของภิกษุผู้มีปารถนาลามกนั่นแล ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ กุหนวัตถุที่อาศัยอิริยาบถ ​ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-'''​กุหนวัตถุคืออิริยาบถ ​ เป็นอย่างไร ?'''​ 
- 
-ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ​ เป็นผู้มีความปารถนาลามก ​ อันความปารถนาครอบงำแล้ว ​ มีความประสงค์ความสรรเสริญ ​ สำคัญว่า ​ คนจักสรรเสริญเราด้วยอาการอย่างนี้ ​ แล้วประจงเดิน ​ ประจงยืน ​ ประจงนั่ง ​ ประจงนอน ​ ตั้งใจแล้วจึงเดิน ​ ตั้งใจแล้วจึงยืน ​ ตั้งใจแล้วจึงนั่ง ​ ตั้งใจแล้วจึงนอน ​ เดินทำเป็นเหมือนคนมีจิตตั้งมั่น ​ นั่งทำเป็นเหมือนคนมีจิตตั้งมั่น ​ นอนทำเป็นเหมอนคนมีจิตตั้งมั่น ​ ทำเป็นเหมือนเข้าฌานต่อหน้าคน 
- 
-การสยิ้วหน้า ​ กิริยาสยิ้วหน้า ​ การหลอกลวง ​ กิริยาหลอกลวง ​ ภาวะที่หลอกลวง ​ คือการวางท่า ​ การตั้งท่า ​ การแต่งท่า ​ แห่งอิริยาบถ ​ เห็นปานฉะนี้ ​ นี้เรียกว่า ​ กุหนวัตถุ ​ คืออิริยาบถ 
- 
-'''​อธิบายศัพท์บาลี'''​ 
- 
-ในบทเหล่านี้ ​ บทว่า ​ ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน ​ แปลว่า ​ ด้วยกุหนวัตถุที่ ​ บัณฑิตกล่าวอย่างนี้ว่า ​ การเสพปัจจัย ​ อีกนัยหนึ่ง ​ แปลว่า ​ ด้วยกุหนวัตถุ ​ คือการเสพปัจจัย ​ บทว่า ​ สามนฺตชปฺปิเตน ​ แปลว่า ​ ด้วยการพูดกระซิบ ​ (พูดใกล้หู) ​ บทว่า ​ อิริยาปถสฺส ​ วา ​ แปลว่า ​ หรือ….แห่งอิริยาบถ 4  บทว่า ​ อฏฺฐปนา ​ ความว่า ​ การวางท่าไว้แต่ต้น ​ หรือ ​ วางท่าไว้ด้วยความเอื้อเฟื้อ ​ บทว่า ​ ฐปนา ​ ได้แก่ ​ อาการตั้งท่า ​ บทว่า ​ สณฺฐปนา ​ ได้แก่ ​ การแต่งท่า ​ อธิบายว่า ​ การทำภาพให้เกิดการเลื่อมใส ​ บทว่า ​ ภากุฏิกา ​ คือการกระทำ ​ ความสยิ้วหน้าโดยแสดงถึงภาวะแห่งผู้เคร่งเครียดด้วยความเพียร ​ อธิบายว่า ​ เป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ​ การกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติของภิกษุนั้น ​ เหตุนั้นภิกษุนั้น ​ ชื่อว่า ​ ภากุฏิโก ​ แปลว่า ผู้มีความสยิ้วหน้าเป็นปกติ ​ ภาวะแห่งภิกษุผู้มีการกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ ภากุฏิยํ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 39)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แปลว่า ​ ภาวะแห่งภิกษุผู้มีการกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติ ​ บทว่า ​ กุหนา ​ แปลว่า ​ การหลอกลวง ​ คือการทำให้พิศวง ​ กิริยาเป็นไปแห่งการหลอกลวง ​ ชื่อว่า ​ กุหายนา ​ แปลว่า ​ กิริยาที่หลอกลวง ​ ภาวะแห่งบุคคลผู้หลอกลวง ​ ชื่อว่า ​ กุหิตตฺตํ ​ แปลว่า ​ ภาวะของบุคคลผู้หลอกลวง 
- 
-'''​2- ​ ในลปนานิทเทส'''​ 
- 
-ใน ​ ลปนานิทเทส ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-การที่ภิกษุเห็นคนทั้งหลายมาวัด ​ แล้วรีบทักก่อนอย่างนี้ว่า ​ "​ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ​ พากันมาเพื่อต้องการอะไรหรือ ?  เพื่อจะนิมนต์ภิกษุทั้งหลายหรือ ?  ถ้าเช่นนั้นเชิญกลับไปได้ ​ อาตมาจะพาภิกษุไปภายหลัง" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ อาลปนา ​ ที่แปลว่า ​ พูดทัก ​ อีกประการหนึ่ง ​ การที่ภิกษุพูดเสนอตนเข้าไป ​ ชักเข้าหาตนอย่างนี้ว่า ​ "​อาตมาชื่อ ​ ติสสะ ​ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา ​ มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้นและมหาอำมาตย์ของพระราชาโน้น ​ ก็เลื่อมใสในอาตมา" ​ ดังนี้ก็ชื่อว่า ​ อาลปนา ​ เมื่อภิกษุถูกถามแล้วพุด ​ มีประการดังกล่าวมาแล้วนั่นแล ​ ชื่อว่า ​ ลปนา ​ แปลว่า ​ พูดอวด ​ การที่ภิกษุกลัวในอันที่คหบดีทั้งหลายจะหน่ายแหนง ​ จึงพูดเอาใจให้โอกาสเสียเรื่อย ๆ  ชื่อว่า ​ สลฺลปนา ​ แปลว่า ​ พูดเอาใจ ​ การที่ภิกษุพูดยกให้สูงขึ้นอย่างนี้ว่า ​ "​ท่านกุฏุมพีก์ใหญ่ ​ ท่านนายเรือใหญ่ ​ ท่านทานบดีใหญ่" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ อุลฺลปนา ​ แปลว่า ​ การพุดยกยอ ​ การพูดยกให้สูงขึ้นโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ​ ชื่อว่า ​ สมุลฺลปนา ​ แปลว่า ​ การยกยอให้หนักขึ้น ​ การพูดผูกมัด ​ คือพูดผูกพันให้หนัก ๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า ​ "​ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ​ เมื่อก่อน ​ ในการเช่นนี้พวกท่านย่อมถวายนวทาน ​ (ให้สิ่งของแรกเกิดขึ้นใหม่ ๆ)  แต่บัดนี้ ​ ทำไมจึงไม่ถวายเล่า" ​ ทั้งนี้จนกว่าอุบาสกอุบาสอกาทั้งหลายจะกล่าวรับรองซึ่งคำมีอาทิว่า ​ "​ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญพวกกระผมจักถวายอยู่ ​ แต่ยังไม่ได้โอกาส" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ อุนฺนหนา ​ การพูดผูกมัด ​ อีกประการหนึ่ง ​ ภิกษุเห็นอ้อยในมือแล้วถามว่า ​ "​เอามาจากไหน ​ อุบาสก ?" ​ เมื่อเขาตอบว่า ​ "​เอามาจากไร่อ้อยขอรับ" ​ จึงถามต่อไปว่า ​ "​อ้อยที่ไร่นั้นหวานไหม ?" ​ เมื่อเขาตอบว่า "​ต้องเคี้ยวดูจึงจะทราบขอรับ" ​ ภิกษุพูดต่อไปว่า ​ "​ดูก่อนอุบาสก ​ การที่ภิกษุจะพูดว่า ​ ท่านทั้งหลายจงถวายอ้อยแก่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 40)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุ ​ ดังนี้ ​ หาสมควรไม่" ​ การพูดผูกพันแม้ของภิกษุผู้ปฏิเสธอยู่เห็นปานฉะนี้นั้น ​ ชื่อว่า ​ อุนฺนหนา ​ การพูดผูกมัดบ่อย ๆ  โดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ​ ชื่อว่า ​ สมุนฺนหนา ​ แปลว่า พูดผูกมัดหนักขึ้น 
- 
-บทว่า ​ อุกฺกาจนา ​ ความว่า ​ การพูดยกตนอย่างนี้ว่า ​ "​ตระกูลนี้รู้จักแต่อาตมาเท่านั้น ​ ถ้าไทยธรรมเกิดขึ้นในตระกูลนี้ ​ เขาก็ถวายแต่อาตมาเท่านั้น" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ อุกฺกาจนา ​ พูดยกตน ​ อธิบายว่า ​ พูดเชิดตน ​ ก็แหละ ​ ในบทนี้ ​ นักศึกษาพึงนำเอาเรื่องของนางเตลกันทริกามาเล่าประกอบด้วย ​ อนึ่ง ​ การพูดยกตนบ่อย ๆ  โดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ​ ชื่อว่า ​ สมุกฺกาจนา ​ แปลว่า ​ การพูดยกตนให้หนักขึ้น 
- 
-การพูดให้เป็นที่รักอย่างพร่ำเพรื่อไปอย่างเดียว ​ โดยไม่แลเหลียวถึงความสมควร ​ แก่สัจจะสมควรแก่ธัมมะหรือไม่ ​ ชื่อว่า ​ อนุปิยภาณิตา ​ การพูดให้รักอย่างพร่ำเพรื่อ ​ ความประพฤติตนต่ำ ​ คือประพฤติตั้งตนไว้ต่ำ ​ ชื่อว่า ​ จาฏุกมฺยตา ​ การพูดลดตนเอง ​ บทว่า ​ มุคฺคสูปตา ​ แปลว่า ​ ความเป็นผู้เช่นกับแกงถั่ว ​ อธิบายว่า ​ เมื่อเขาแกงถั่วอยู่ ​ ถั่วบางเมล็ดเท่านั้นที่จะไม่สุก ​ ส่วนที่เหลือสุกหมด ​ ฉันใด ​ ในถ้อยคำของบุคคลใด ​ มีความจริงเป็นบางคำเท่านั้น ​ ส่วนคำที่เหลือคือคำพล่อย ๆ  บุคคลนี้เรียกว่า ​ มุคฺคสูโป ​ แปลว่า ​ คนเหมือนแกงถั่วฉันนั้น ​ ภาวะแห่งบุคคลผู้เหมือนแกงถั่วนั้น ​ ชื่อว่า ​ มุคฺคสูปตา ​ ความเป็นคนพูดเหมือนแกงถั่ว ​ บทว่า ​ ปาริภฏฺยตา ​ แปลว่า ​ ความเป็นผู้รับเป็นพี่เลี้ยง ​ อธิบายว่า ​ ภิกษุใดเลี้ยงคืออุ้มเด็กในตระกูลทั้งหลายด้วยสะเอวบ้าง ​ ด้วยคอบ้าง ​ เหมือนอย่างหญิงพี่เลี้ยง ​ การงานของ ​ ภิกษุผู้เลี้ยงเด็กนั้น ​ ชื่อว่า ​ ปาริภฏฺยํ ​ ภาวะของการงานของภิกษุผู้เลี้ยงเด็กนั้น ​ ชื่อว่า ​ ปาริภฏฺยตา ​ แปลว่า ​ ภาวะแห่งการงานของภิกษุผู้เลี้ยงเด็ก 
- 
-'''​3- ​ ในเนมิตติกตานิทเทส'''​ 
- 
-ใน ​ เนมิตติกตานิทเทส ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-การกระทำทางกายและทางวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ซึ่งเป็นเหตุให้คนอื่น ๆ  หยั่งรู้ในอันจะถวายปัจจัย ​ ชื่อว่า ​ นิมิตฺต ​ การเห็นคนทั้งหลายถือของเคี้ยวเดินผ่านไป ​ แล้วกระทำนิมิตโดยนัยมีอาทิว่า ​ "​พวกท่านได้ของเคี้ยวอะไร" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ นิมิตฺตกมฺม ​ การกระทำ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 41)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นิมิต ​ การพูดประกอบด้วยปัจจัยสี่ ​ ชื่อว่า ​ โอภาส ​ (การประกาศความปารถนาของตน) ​ การที่ภิกษุเห็นเด็กเลี้ยงโคแล้วถามว่า ​ ลูกโคเหล่านี้เป็นลูกโคนมหรือลูกโคเปรียง ​ เมื่อเขาตอบว่า ​ ลูกโคนม ​ ขอรับ ​ ดังนี้แล้ว ​ จึงสั่งให้เด็กเหล่านั้นบอกแก่บิดามารดาให้ถวายน้ำนมโดยนัย ​ มีอาทิอย่างนี้ว่า ​ ลูกโคเหล่านี้จะไม่ไช่ลูกโคนม ​ ถ้าเป็นลูกโคนมพวกภิกษุก็จะได้น้ำนมกันบ้าง ​ ดังนี้ชื่อว่า ​ โอภาสกมฺม -  การกระทำโอภาส ​ การพูดกระซิบใกล้ ๆ  ชื่อว่า ​ สามนฺตชปฺปา ​ ก็แหละในบทนี้ ​ นักศึกษษควรนำเรื่อง ​ กุลูปกภิกษุ ​ มาเล่าประกอบด้วย 
- 
-'''​เรื่องกุลูปกภิกษุ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ภิกษุกุลูปกะใคร่จะฉันอาหาร ​ จึงเข้าไปในบ้านแล้วนั่งอยู่ ​ หญิงแม่บ้านเห็นเธอแล้วไม่ประสงค์จะถวายจึงพูดว่า ​ "​ข้าวสารไม่มี" ​ ดังนี้แล้วพลางเดินไปเรือนคนคุ้นเคยกัน ​ ทำเป็นเสมือนจะไปเอาข้าวสารมา ​ ฝ่ายภิกษุเข้าไปในห้องเห็นอ้อยลำหนึ่งพิงอยู่ที่ซอกประตู ​ เห็นน้ำอ้อยงบอยู่ที่ภาชนะ ​ เห็นปลาเกลือผ่าแบะอยู่ในกระเช้า ​ เห็นข้าวสารอยู่ในโอ่ง ​ เห็นเปรียงอยู่ในหม้อ ​ แล้วจึงออกมานั่งรออยู่ ​ หญิงแม่บ้านกลับมาถึงพูดว่า ​ "​ข้าวสารหาไม่ได้" ​ ภิกษุพูดเปรยขึ้นว่า ​ "​อุบาสิกา ​ อาตมาได้เห็นลางมาก่อนแล้วว่า ​ วันนี้ภิกษาหารจักไม่สำเร็จ" ​ หญิงแม่บ้านพูดว่า ​ "​เห็นลางอะไร ​ เจ้าคะ" ​ ภิกษุพูดต่อไปว่า ​ "​อาตมาได้เห็นงูเหมือนอ้อยที่พิงไว้ที่ซอกประตู ​ คิดว่าจะตีมัน ​ มองไปได้เห็นเหมือนก้อนน้ำอ้อยงบที่เก็บไว้ในภาชนะ ​ เห็นพังพานที่งูถูกตีด้วยก้อนดินแล้วแผ่ออกเหมืนปลาเกลือที่แผ่แบะเก็บไว้ในกระเช้า ได้เห็นเขี้ยวของมันเมื่องูทำท่าจะขบกัดก้อนดินนั้น ​ เหมือนข้าวสารที่อยู่ในโอ่ง ​ แต่นั้นได้เห็นน้ำลายเจือพิษกำลังไหลออกมาจากปากของมัน ​ ซึ่งมีความโกรธจัดเหมือนเปรียงที่ใส่ไว้ในหม้อ" ​ หญิงแม่บ้านคิดว่า ​ "​เราไม่อาจลวงภิกษุหัวโล้นได้แล้ว"​ จึงจำถวายอ้อยลำแล้วหุงข้าว เสร็จแล้วได้ถวายสิ่งทั้งปวงพร้อมด้วยเปรียงน้ำอ้อยงบและปลาทั้งหลาย ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-การพูดกระซิบใกล้ๆ ​ ด้วยประการดังกล่าวมา ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ การพูดกระซิบ ​ การพูดอ้อมไปอ้อมมาโดยประการที่จะได้มาซึ่งปัจจัยนั้น ​ ชื่อว่า ​ ปริกถา ​ แปลว่าพูดเลียบเคียง ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 42)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​4- ​ ในนิปเปสิกตานิทเทส'''​ 
- 
-ใน ​ นิปเปสิกตานิทเทส ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ 
- 
-การด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 ประการ ​ ชื่อ ​ อกฺโกสนา ​ การพูดข่ม ​ ชื่อว่า ​ วมฺภนา ​ การพูดยกโทษโดยนัยมีอาทิว่า ​ เป็นผู้ไม่ศรัทธา ​ เป็นผู้ไม่เลื่อมใส ​ ชื่อว่า ​ ครหณา ​ การพูดสาดด้วยวาจา ​ ท่านทั้งหลายอย่ามาพูดอย่างนี้ ​ ณ  ที่นี้ ​ ชื่อว่า ​ อุเปกฺขนา ​ การพูดสาดอันประกอบด้วยเหตุโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ​ ชื่อว่า ​ สมุเปกฺขนา ​ อีกนัยหนึ่ง ​ เห็นคนไม่ให้ทานแล้วพูดยกขึ้นอย่างนี้ว่า ​ โอ ! ท่านทานบดี ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ อุกฺเขปนา ​ การพูดยกให้ดีขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า ​ ท่านมหาทานบดี ​ ชื่อว่า ​ สมุกฺเขปนา ​ การพูดติเตียน หนักยิ่งขึ้นว่า ​ ผู้ใดให้คำพูดว่าไม่มีแม้แก่คนทั้งปวงตลอดการเป็นนิตย์ ​ ท่านทั้งหลายจะพูดปฏิเสธบุคคลผู้นี้ว่า ​ ไม่ใช่ทายกได้อย่างไร ​ ดังนี้ชื่อว่า ​ สํขิปนา ​ การพูดให้เขาถึงแก่ความไม่เป็นทายก ​ หรือให้ถึงแก่ความเป็นโทษ ​ ชื่อว่า ​ ปาปนา ​ การพูดให้เขาถึงแก่ความไม่เป็นทายกหรือให้ถึงแก่ความเป็นโทษโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ​ ชื่อว่า ​ สมฺปาปนา ​ การนำความเสียหายจากเรือนโน้นมาสู่เรือนนี้ ​ จากบ้านโน้นสู่บ้านนี้ ​ จากตำบลโน้นสู่ตำบลนี้ ​  ​โดยหมายความว่าเขาจักให้แก่เราแม้เพราะกล่าวความเสียหายด้วยอาการอย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​  ​อวณฺณหาริกา ​  ​ต่อหน้าพูดดีลับหลังพูดเสีย ​ ชื่อว่า ​  ​ปรปิฎฐิมํสิกตา ​  ​จริงอยู่ ​ การพูดเช่นนี้จะมีใด้ก็แต่แก่คนที่ไม่อาจอยู่สู้หน้า ​  ​สำหรับคนอยู่ลับหลังแล้วทำเป็นเหมือนจะกินเนื้อเอาทีเดียว ​  ​เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาค ​  ​จึงตรัสว่า ​  ​ปรปิฏฺฐิมํสิกตา ​  ​คำว่า ​  ​นี้เรียกว่าการด่าแช่ง ​  ​ความว่าโดยที่ภิกษุนี้ย่อมกวาดล้างคุณความดีของผู้อื่นให้พังพินาศไป ​ ดุจกวาดล้างด้วยซี่ไม้ไผ่ ​  ​อีกอย่างหนึ่ง ​ โดยที่วาจานี้เป็นสิ่งที่บดป่นคุณความดีของผู้อื่นแสวงหาลาภ ​ เหมือนคนบดไม้หอมแสวงหาของหอม ​  ​ฉะนั้น ​  ​จึงเรียกว่า ​  ​นิปฺเปสิกตา 
- 
-'''​5- ​ ในนิทเทสแสวงหาลาภด้วยลาภ'''​ 
- 
-ในนิทเทสแสวงหาลาภด้วยลาภ ​  ​มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- 
- 
-บทว่า ​  ​นิคึสนตา ​  ​แปลว่า ​ แสวงหา ​ บทว่า ​  ​อิโต ​ ลทฺธํ ​  ​แปลว่า ​ ได้จากเรือนนี้ ​ บทว่า ​  ​อมุตฺร ​  ​แปลว่า ​ ณ  เรือนโน้น ​ บทว่า ​  ​เอฎฺฐิ ​  ​แปลว่า ​ เสาะหา ​ บทว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 43)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คเวฎฺฐิ ​  ​แปลว่า ​ แสวงหาบ่อยๆ ​ อนึ่ง ​ ในอธิการนี้นักศึกษาพึงเล่าเรื่องภิกษุผู้ให้ภิกษาที่ได้มาแล้วๆ ตั้งแต่แรกๆ ​ แก่พวกเด็กๆ ​ ในตระกูล ​ ณ  ที่นั้นแล้ว ​ ในที่สุดก็ได้ข้าวยาคูเจือน้ำนมไป ​ มาประกอบด้วย 
- 
-บทว่า ​  ​เอสนา ​  ​ที่แปลว่า ​  ​กิริยาที่แสวงหา ​  ​เป็นต้น ​  ​เป็นไวพจน์ของบทว่า ​  ​เอฎฺฐิ ​  ​ที่แปลว่า ​ เสาะหา ​ นั่นเอง ​ เพราะฉะนั้นคำว่า ​  ​เสาะหา ​  ​ได้แก่กิริยาที่เสาะหา ​ คำว่า ​  ​แสวงหา ​  ​ได้แก่กิริยาที่แสวงหา ​ คำว่า ​  ​แสวงหาบ่อยๆ ​  ​ได้แก่กิริยาที่แสวงหาบ่อยๆ นักศึกษาพึงทราบการเข้าประโยค ​ ณ  ที่นี้ ​ ด้วยประการฉะนี้นั่นเทียว 
- 
-อรรถาธิบายแห่งกุหนนิทเทสเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-บัดนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ด้วย ​ อาทิ ​ ศัพท์ ​ ในคำว่า ​ แห่งบาปธรรมทั้งหลายมี ​ อาทิ ​ อย่างนี้นั้น ​ ได้แก่การถือเอาบาปธรรมทั้งหลายเป็นอเนกประการ ​ ที่พระผู้มีพระภาค ​ ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ​ โดยในมีอาทิว่า ​ "​ก็แหละ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ เหมือนอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกหนึ่ง ​ ฉันโภชนะทั้งหลายที่เขาถวายด้วยศรัทธาแล้ว ​ ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ ​ ด้วยดิรัจฉานวิชา ​ เห็นปานฉะนี้ ​ คือทำนายองค์อวัยวะ ​ ทำนายลาง ​ ทำนายอุบาทว์ ​ ทำนายฝัน ​ ทำนายลักษณะ ​ ทำนายหนูกัดผ้า ​ บูชาไฟ ​ บังหวนควัน"​ 
- 
-มิจฉาชีพที่เป็นไปโดยอำนาจการล่วงละเมิดสิกขาบท 6  ประการ ​ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะอาชีวะเป็นเหตุเหล่านี้ ​ และมิจฉาชีพที่เป็นไปด้วยอำนาจบาปธรรมทั้งหลาย ​ มีอาทิอย่างนี้ว่า ​ การหลอกลวง ​ การพูดเลาะเล็ม ​ การกระทำนิมิต ​ การด่าแช่ง ​ การแสวงหาลาภด้วยลาภ ​ นี้อันใด ​ การงดเว้นจากมิจฉาชีพแม้ทุกๆประการนั้น ​ อันใด ​ อันนี้ชื่อว่า ​ อาชีวปาริสุทธิศีล ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อรรถวิเคราะห์แห่งถ้อยคำในบทอาชีวปาริสุทธินั้น ​ ดังนี้ –'''​ 
- 
-ภิกษุทั้งหลายอาศัยการงานนั้นเป็นอยู่ ​ เหตุนั้นการงานนั้น ​ ชื่อว่า ​ อาชีวะ ​ อาชีวะนั้นคืออะไร ?  คือการพยายามแสวงหาปัจจัย 4,  ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ​ ปาริสุทฺธิ, ​ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ​ ชื่อว่า ​ อาชีวปาริสุทฺธิ ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 44)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายปัจจยสันนิสสิตศีล'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ใน ​ ปัจจยสันนิตสิตศีล ​ ซึ่งตรัสไว้ในลำดับแห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนี้นั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​อธิบายบทจีวร'''​ 
- 
-คำว่า ​ พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ​ ความว่า ​ พิจารณาแล้ว ​ รู้แล้ว ​ คือเห็นประจักษ์แล้ว ​ โดยอุบายคือโดยถูกทาง ​ จริงอยู่ ​ การพิจารณาที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ​ เพื่อบำบัดความเย็น ​ ดังนี้นั่นเอง ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ณ  ที่นี้ ​ ในคำเหล่านี้ ​ คำว่า ​ จีวร ​ ได้แก่ผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาผ้า ​ 3  ผืน มีผ้าอันตรวาสกเป็นต้น ​ คำว่า ​ ย่อมเสพ ​ คือย่อมใช้สอยได้แก่นุ่งห่ม ​ คำว่า ​ ยาวเทว ​ เป็นคำกำหนดเขตแห่งประโยชน์อย่างแน่นอน ​ จริงอยู่ ​ ประโยชน์ในการเสพจีวรของโยคีบุคคลมีกำหนดเพียงเท่านี้ ​ คือประโยชน์มีว่า ​ เพื่อบำบัดความเย็น ​ เป็นต้นนี้ ​   ไม่ยิ่งไปกว่านี้ ​ บทว่า ​ ซึ่งความเย็น ​ ความว่า ​ ซึ่งความเย็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ธาตุภายในกำเริบบ้าง ​ เพราะเหตุที่อุตุภายนอกเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ​ บทว่า ​ เพื่อบำบัด ​ ความว่า ​ เพื่อบรรเทาคือเพื่อบรรเทาเสียซึ่งความเย็นนั้น ​ โดยประการที่จะไม่ให้มันทำความอาพาธให้เกิดขึ้นในร่างกาย ​ จริงอยู่ ​ โยคีบุคคลผู้มีจิตฟุ้งไปในเพราะเหตุร่างกายกระทบความเย็น ​ ย่อมไม่อาจที่จะตั้งความเพียรโดยแยบคายได้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาติว่า ​ ภิกษุพึงเสพจีวรเพื่อบำบัดความเย็น ​ ดังนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบนัยในประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกันนี้ ​ เพราะในบทนี้มีอรรถาธิบายอย่างครบถ้วน ​ บทว่า ​ ซึ่งความร้อน ​ ความว่า ​ ซึ่งความร้อนอันเกิดแต่ไฟ ​ นักศึกษาพึงทราบแดนที่เกิดของความร้อนนั้นในเพราะไฟป่าเป็นต้นก็มี 
- 
-อนึ่ง ​ ในบทว่า ​ ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ -  บทว่า ​ ฑํสา ​ แปลว่า ​ เหลือบ ​ ลางอาจารย์กล่าวว่า ​ ได้แก่แมลงวันหัวเขียวก็มี ​ บทว่า ​ มกสา ​ ได้แก่ยุงโดยเฉพาะ ​ บทว่า ​ วาตา ​ ได้แก่ลมทั้งหลายอันต่างด้วยลมปนฝุ่นและไม่ไช่ลมปนฝุ่นเป็นต้น ​ บทว่า ​ อาตาป ​ ได้แก่แสงอาทิตย์ ​ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเสือกคลานไปมีตัวยาวเช่นงูเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ สิรึสป ​ สัมผัสของสัตว์เหล่านั้นมี 2 อย่าง ​ คือ ​ สัมผัสด้วยการ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 45)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กัด 1  สัมผัสด้วยการถูกต้อง 1  แม้สัมผัสนั้นย่อมเบียดเบียนภิกษุผู้นุ่งห่มจีวรแล้วไม่ได้ ​ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงเสพจีวรเพื่อประโยชน์จะป้องกันสัมผัสทั้งหลาย ​ ในสถานที่ทั้งหลายเช่นนั้น ​ ตรัสคำว่า ​ ยาวเทว ​ ซ้ำอีก ​ ก็เพื่อแสดงถึงกำหนดเขตประโยชน์ที่แน่นอนของจีวรนั้น จริงอยู่ การปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหาย นับเป็นประโยชน์ที่แน่นอน ​ ส่วนประโยชน์นอกนั้น ​ เช่น ​ การบำบัดความเย็นเป็นต้น ​ ย่อมมีได้เป็นบางครั้งบางคราวอวัยวะที่แคบ ๆ นั้น ​ ชื่อว่า ​ หิริโกปิน ในบทว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนํ นั้น จริงอยู่เมื่อองค์อวัยวะส่วนใด ๆ ถูกเปิดอยู่ ความละอายย่อมสูญย่อมหายไป องค์อวัยวะส่วนนั้น ๆ ท่านเรียกว่า หิริโกปิน ​ เพราะเป็นเหตุทำให้ความละอายสูญหายไป ​ แหละที่เรียกว่า ​ หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ เพราะอรรถว่า เพื่อปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหายไปนั้น บาลีว่า หิีริโกปินํ ปฏิจฺฉาทนตฺถํ ​ ดังนี้ก็มี 
- 
-'''​อธิบายบทบิณฑบาต ​   '''​ 
- 
-คำว่า ​ ซึ่งบิณฑบาต ​ คือซึ่งอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ จริงอยู่ ​ อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ ท่านเรียกว่า ​ บิณฑบาต ​ เพราะอาหารนั้นตกลงในบาตรด้วยภิกขาจารวัตรของภิกษุ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ความตกลงแห่งก้อนข้าวทั้งหลายชื่อว่า ​ บิณฑบาต ​ อธิบายว่า ​ ได้แก่ ความรวมกันความเป็นกลุ่มกันแห่งภิกษาหารทั้งหลายที่ภิกษุได้แล้ว ​ ณ  ที่นั้น ๆ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อเล่น อธิบายว่า ​ เพื่อเล่นคือทำเป็นเครื่องหมายกีฬา ​ เหมือนอย่างพวกเด็กชาวบ้าน ​ เป็นต้น ​ หามิได้ ​ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อความเมา ​ อธิบายว่า ​ เพื่อความเมาคือเป็นเครื่องหมายของความเมากำลังและเป็นเครื่องหมายความเมาของความเป็นบุรุษ ​ เหมือนพวกนักมวยเป็นต้น ​ หามิได้ ​ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อประดับ ​ อธิบายว่า ​ เพื่อประดับคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีองค์อวัยวะน้อยใหญ่อิ่มเต็ม ​ เหมือนกับพวกผู้หญิงชาววังและหญิงแพศยาเป็นต้น ​ หามิได้ ​ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง ​ อธิบายว่า ​ เพื่อตกแต่งคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนพวกหญิงละครและหญิงช่างฟ้อนเป็นต้น ​ หามิได้ 
- 
-ก็แหละ ​ ในบรรดาคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อเล่น ​ นี้ ​ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประหานอุปนิสัยแห่งโมหะ ​ คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อความเมา ​ นี้ ​ ตรัสไว้เพื่อประหาน ​ อุปนิสัยแห่งโทสะ ​ 2 คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อประดับ ​ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง ​ นี้ ​ ตรัสไว้เพื่อ  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 46)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประหานอุปนิสัยแห่งราคะ ​ อนึ่ง 2 คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อเล่น ​ ไม่ใช่เพื่อเมา ​ นี้ ​ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ของตน ​ 2 คำว่า ​ ไม่ใช่เพื่อประดับ ​ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง ​ นี้ ​ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์แม้ของผู้อื่น ​ อนึ่ง ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ การประหานซึ่งข้อปฏิบัติโดยไม่แยบคายและกามสุขัลลิกานุโยค ​ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแม้ด้วยบททั้ง 4 บทนี้ 
- 
-บทว่า ​ ยาวเทว ​ มีอรรถาธิบายดังกล่าวมาแล้วนั่นแล ​ คำว่า ​ แห่งกายนี้ ​ คือแห่งรูปกายอันประกอบด้วยมหาภูตทั้ง 4 นี้ ​ คำว่า ​ เพื่อดำรงอยู่ ​ คือ ​ เพื่อความดำรงอยู่สืบเนื่องกันไป ​ คำว่า ​ เพื่อความเป็นไป ​ คือเพื่อต้องการแก่ความเป็นไปอย่างไม่ขาดสายหรือเพื่อดำรงอยู่ตลอดกาล ​ จริงอยู่ ​ ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตเพื่อความดำรงอยู่และเพื่อความเป็นไปของกาย ​ เหมือนเจ้าของเรือนที่ทรุดโทรมทำการค้ำจุนเรือน ​ และเหมือนพ่อค้าเกวียนทำการหยอดเพลาเกวียน ​ ฉะนั้น ​ ไม่ใช่เสพบิณฑบาตเพื่อเล่นเพื่อความเมาเพื่อประดับและเพื่อตกแต่ง ​ อีกประการหนึ่ง ​ คำว่า ​ ฐิติ ​ ที่แปลว่า ​ ความดำรงอยู่นี้ ​ เป็นชื่อของอินทรีย์คือชีวิต ​ เพราะเหตุนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ด้วยคำว่า ​ เพื่อความดำรงอยู่ ​ เพื่อความเป็นไปแห่งกายนี้ ​ เพียงเท่านี้ ​ จะอธิบายว่า ​ เพื่อยังอินทรีย์คือชีวิตแห่งกายนี้ให้เป็นไปดังนี้ก็ได้ 
- 
-คำว่า ​ เพื่อระงับความเบียดเบียน ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ความหิวชื่อว่า ​ วิหึส ​ โดยอรรถว่า ​ เบียดเบียน ​ ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตแม้เพื่อระงับความเบียดเบียนนั้น ​ เหมือนคนเป็นแผลทาแผล ​ และเหมือนเมื่อคนไข้ในฤดูร้อนและฤดูหนาวเป็นต้น ​ รับประทานยาเพื่อป้องกันความร้อนความหนาวนั้น ​ ฉะนั้น ​ คำว่า ​ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือศาสนาทั้งมวลอย่างหนึ่ง ​ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือมรรคอย่างหนึ่ง ​ จริงอยู่ ​ ภิกษุนี้ได้อาศัยกำลังกาย ​ เพราะมีอันเสพบิณฑบาตเป็นปัจจัย ​ ปฏิบัติอยู่เพื่อสลัดออกจากความกันดารคือภพ ​ ด้วยอำนาจการประกอบเนือง ๆ  ในสิกขา 3  ชื่อว่าย่อมเสพบิณฑบาตเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ​ เหมือนมารดาบิดาผู้มีความต้องการข้ามทางกันดารจำกินเนื้อของบุตร ​ เหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำย่อมอาศัยแพ ​ และเหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามมหาสมุทรย่อมอาศัยเรือ ​ ฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 47)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ จักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ ​ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ​ ด้วยเหตุที่เสพบิณฑบาตนี้ ​ เราจักกำจัดเวทนาคือ ​ ความหิวเก่า ​ และจักไม่ให้เวทนาใหม่ซึ่งมีการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัยเกิดขึ้น ​  ​เหมือนพราหมณ์ชื่ออาหรหัตถกะ, ​ ชื่ออลังสาฏกะ, ​ ชื่อตัตรวัฏฏกะ, ​ ชื่อกากมาสกะและชื่อภุตตวมิตกะ ​ คนใดคนหนึ่ง ​ ทำนองเดียวกันกับคนไข้รับประทานยา ​ อีกประการหนึ่ง ​ พึงทราบอรรถาธิบาย ​ ในคำนี้ ​ แม้อย่างนี้ว่า ​ เวทนาใดที่เรียกว่า ​ เวทนาเก่า ​ เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยคือกรรมเก่า ​ โดยอาศัยการฉันบิณฑบาตที่ไม่เป็นสัปปายะและฉันเกินประมาณในปัจจุบัน ​ เราทำปัจจัยแห่งเวทนาเก่านั้นให้หายไป ​ ด้วยการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและแนแต่พอประมาณ ​ ชื่อว่า ​ จักกำจัดเวทนาเก่านั้น ​ อนึ่ง ​ เวทนาใดที่เรียกว่า ​ เวทนาใหม่ ​ เพราะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยความสั่งสมกรรม ​ คือการฉันอันไม่สมควรที่ภิกษุทำแล้วในปัจจุบัน ​ เราไม่ให้มูลเหตุแห่งเวทนาใหม่นั้น ​ บังเกิดได้ด้วยอำนาจการฉันอันสมควร ​ ชื่อว่า ​ จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ด้วยบททั้ง 2 นี้ ​ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการสงเคราะห์เอาการฉันอันสมควรด้วย ​ การประหานกามสุขัลลิกานุโยคด้วย ​ และการไม่ยอมเสียสละความสุขอันเกิดโดยธรรมด้วย 
- 
-คำว่า ​ แหละความเป็นไปจักมีแก่เรา ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ​ ก็แหละ ​ ความเป็นไป ​ คือความดำเนินไปตลอดกาลนาน ​ จักมีแก่เรา ​ คือแก่กายนี้ ​ อันมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย ​ โดยไม่มีอันตรายอันเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ​ หรือตัดทอนอิริยาบถ ​ เพราะการฉันโดยประมาณ ​ ดังนี้บ้าง ​ เหมือนคนมีโรคติดต่อ ​ รับประทานยาอันเป็นปัจจัยแก่โรคนั้น ​ ฉะนั้น ​ คำว่า ​ ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่ผาสุก ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ​ ความไม่มีโทษ ​ จักมีแก่เรา ​ โดยงดเว้นการแสวงหาการรับและการฉันอันไม่สมควร ​ ความอยู่ผาสุก ​ จักมีแก่เรา ​ โดยการฉันพอประมาณ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ความไม่มีโทษ ​ จักมีแก่เรา ​ เพราะไม่มีโทษเช่น ​ ความกระสัน, ​ ความหลับ, ​ ความบิดกาย ​ ซึ่งมีการฉันบิณฑบาตอันไม่เป็นสัปปายะและการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัย ​ และอันวิญญูชนครหาเป็นต้น ​ ความอยู่ผาสุก ​ จักมีแก่เรา ​ ด้วยความบังเกิดแห่งกำลังกาย ​ เพราะมีการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและการฉันพอประมาณเป็นปัจจัย ​ อีก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 48)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษ ​ เพราะละเสียซึ่งความสุขในการเอนหลัง, ​ ความสุขในการเอกเขนก ​ และความสุขในการหลับ ​ จักมีแก่เรา ​ ด้วยการหลีกเว้นการฉันจนแน่นท้องตามที่ต้องการ ​ และ ​ ความอยู่ผาสุก ​ เพราะยังคงประกอบด้วยอิริยาบถทั้ง 4  ให้ถึงพร้อม จักมีแก่เรา ​ โดยการฉันให้หย่อนไว้สัก 4 -5  คำ…. ​ ดังนี้บ้าง ​ สมด้วยพุทธนิพนธคาถาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-พึงหยุดฉันเสียเมื่อ 4 -5  คำจะอิ่ม ​ แล้วพึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีตนส่งไปแล้ว 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ด้วยคำทั้ง 3  ตามที่อรรถาธิบายมานี้ ​ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการกำหนดเอาประโยชน์และมัชฌิมาปฏิปทา ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายบทเสนาสนะ'''​ 
- 
-คำว่า ​ เสนาสนะ ​ แยกเป็น ​ เสนะ ​ คำหนึ่ง ​ อาสนะ ​ คำหนึ่ง ​ อธิบายว่า ​ ภิกษุนอน ​ ณ  ที่ใด ๆ จะเป็นวิหารหรือเรือนโรงมีเพิงเป็นต้นก็ตาม ที่นั้นชื่อว่า เสนะ แปลว่า ที่นอน ภิกษุนั่ง ณ ที่ใดๆ ​ ที่นั้นชื่อว่า ​ อาสนะ ​ แปลว่าที่นั่ง ​ 2 คำนั้นท่านบวกเข้าเป็นคำเดียวกัน ​ แล้วจึงกล่าวว่า ​ เสนาสนะ ​ แปลว่า ​ ที่นอนและที่นั่ง ​ คำว่า ​ เพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู ​ และความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ อุตุนั่นเอง ​ ชื่อว่าอันตรายคือฤดู ​ เพราะอรรถว่าเบียดเบียน ​ เพื่อบรรเทาซึ่งอันตรายคือฤดู ​ และเพื่อความ ​ ความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ ​ อธิบายว่า ​ ฤดูการอันใดที่เบียดเบียนร่างกายและทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสัปปายะ ​ เป็นสิ่งอันภิกษุพึงบรรเทาเสียด้วยการเสพเสนาสนะ ​ เพื่อบรรเทาซึ่งฤดูกาลนั้น ​ และเพื่อความสุขในความเป็นบุคคลผู้เดียว ​ การบรรเทาอันตรายคือฤดู ​ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยพระพุทธพจน์มีอาทิว่า ​ สีตสฺส ​ ปฏิฆาตาย ​ ดังนี้โดยแท้ ​ แต่ถึงอย่างนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ซ้ำอีก ​ โดยทรงหมายเอาการบรรเทาอันตรายคือฤดูที่แน่นอน ​ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในบทเสพจีวรว่า ​ การปกปิดอวัยวะที่ทำให้ความละอายสูญหายไป ​ เป็นประโยชน์ที่แน่นอน ​ ส่วนประโยชน์นอกนั้นมีได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 49)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นบางครั้งบางคราว ​ ดังนี้ ​ อีกประการหนึ่ง ​ ฤดูที่มีประการดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ​ ชื่อว่า ​ ฤดูคงที่ ​ ส่วนอันตรายมี 2  อย่างคือ ​ อันตรายที่ปรากฏหนึ่ง ​ อันตรายที่ปกปิดหนึ่ง ​ ใน 2  อย่างนั้น ​ สัตว์ร้ายทั้งหลายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น ​ ชื่อว่าอันตรายปรากฏ ​ กิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะเป็นต้นชื่อว่าอันตรายปกปิด ​ อันตรายเหล่านั้นย่อมไม่ทำความเบียดเบียน ​ โดยที่ไม่ได้รักษาทวารและโดยที่เห็นรูปอันที่ไม่เป็นสัปปายะ ณ  เสนาสนะใด ​ ภิกษุรู้ ​ คือพิจารณาเสนาสนะนั้นอย่างนี้แล้วเสพอยู่ ​ พึงทราบว่า ​ ชื่อว่าพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงเสพเสนาสนะเพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายบทคิลานปัจจยเภสัชบริขาร'''​ 
- 
-ในคำว่า ​ ซึ่งคิลานปัจจยบริขาร ​ นี้ ​ มีอรรถาทิบายดังต่อไปนี้ 
- 
-เภสัช ​ ชื่อว่า ​ ปจฺจย ​ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อต้านโรค ​ คำว่า ​ ปจฺจย ​ นี้ ​ เป็นชื่อของความสัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่ง, ​ กิจกรรมของหมอเพราะหมอนั้นอนุญาติแล้ว ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ เภสชฺช, ​ เภสัช ​ คือปัจจัยแห่งคนไข้ ​ ชื่อว่า ​ คิลานปจฺจยเภสชฺช ​ อธิบายว่า ​ ได้แก่กิจกรรมของหมออันเป็นสัปปายะแก่คนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ​ มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ​ ส่วนคำว่า ​ บริขาร ​ พระผู้มีพระภาคตรัสเอาเครื่องล้อมก็มี ​ ในพระบาลีมีอาทิว่า ​  "​พระนครเป็นอันล้อมดีแล้วด้วยเครื่องล้อมพระนครถึงเจ็ดชั้น" ​ ตรัสหมายเอาเครื่องอลังการก็มี ​  ​ในพระบาลีมีอาทิว่า ​ "​รถมีศีลเป็นเครื่องอลังการ ​  ​มีฌานเป็นเพลา ​  ​มีวิริยะเป็นล้อ" ​ ตรัสหมายเอาสำภาระก็มีในพระบาลีมีอาทิว่า ​  "​เครื่องสำภาระแห่งชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ​  ​อันบรรพชิตพึงนำมาโดยชอบ" ​  ​แต่ในที่นี้ ​ ศัพท์ว่า ​  ​บริขาร ​  ​แม้หมายเอาสัมภาระก็ควร ​  ​แม้หมายเอาเครื่องล้อมก็ควร ​  ​เพราะว่าคิลานปัจจยเภสัชนั้น ​  ​ย่อมเป็นเครื่องล้อมชีวิตก็ได้ ​  ​เพราะเป็นเครื่องรักษาไม่ให้ช่องแก่ความบังเกิดขึ้นแห่งอาพาธอันจะทำชีวิตให้พินาศไป ​  ​เป็นสำภาระของชีวิตก็ได้เพราะเป็นเหตุแห่งชีวิตนั้นโดยประการที่ชีวิตจะดำเนินไปได้ตลอดกาลนาน ​  ​เพราะเหตุนั้นคิลานปัจจยเภสัช ​  ​พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ​ เป็นบริขาร ​  ​คิลานปัจจยเภสัช ​  ​ดังกล่าวมาแล้วนั้นด้วย ​ เป็น ​  ​บริขาร ​  ​ด้วย ​  ​ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​   คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ​  ​ซึ่งคิลาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 50)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปัจจัยเภสัชบริขารนั้น ​  ​อธิบายว่า ​  ​ซึ่งเภสัชอันเป็นสัปปายะแห่งคนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่งอันหมออนุญาตแล้ว ​  ​มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ​  ​อันเป็นบริขารแห่งชีวิต, ​ คำว่า ​  ​เกิดขึ้นแล้ว ​  ​คือ ​ เกิดแล้ว ​ เป็นแล้ว ​ บังเกิดแล้ว ​ ความกำเริบแห่งธาตุและอาพาธต่าง ๆ มีโรคเรื้อนโรคฝีและพุพองเป็นต้นวึ่งมีความกำเริบแห่งธาตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ​ ชื่อว่า ​  ​พยาพาธ ​ ในบทว่า ​  ​เวยฺยาพาธิกานํ ​  ​นี้ ​ เวทนาทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​  ​เวยฺยาพาธิก ​  ​เพราะเกิดแต่อาพาธต่างๆ ​ คำว่า ​  ​ซึ่งเวทนาทั้งหลาย ​ ได้แก่ ​ ทุกขเวทนาคือเวทนาอันเป็นอกุศลวิบาก, ​ ซึ่งเวทนาทั้งหลายนั้นอันเกิดแต่อาพาธต่าง ๆ เหล่านั้น ​ บทว่า ​  ​อพยาปชฺฌปรมตาย ​  ​แปลว่า ​ เพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง ​ อธิบายว่า ​ ทุกข์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอันภิกษุละได้แล้วเพียงใดเพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่งเพียงนั้น 
- 
-ปัจจยสันนิตสิตศีล ​ นี้ ​ ซึ่งมีอันพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคปัจจัยเป็นลักษณะ ​ นักศึกษาพึงทราบโดยสังเขปดังพรรณนามานี้ ​ ส่วนอรรถวิเคราะห์แห่งถ้อยคำในบทว่า ​ ปจฺจยสนฺนิสฺสิต ศีล ​ นี้ดังนี้ ​ ก็แหละ ​ ภัณฑะทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ​ เรียกว่า ​ ปจฺจย ​ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ​ เป็นที่เป็นไป ​ เป็นที่ดำเนินไป ​ ของสัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลาย ​ ซึ่งอิงอาศัยบริโภคปัจจัยเหล่านั้น, ​ ศีลอาศัยแล้วซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ​ ฉะนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ปัจจยสันนิสสิตศีล ​ ฉะนี้แล 
- 
-'''​ธรรมเป็นเหตุให้ปาริสุทธิศีล 4  สำเร็จ'''​ 
- 
-'''​1. ​ ศรัทธาเป็นเหตุให้ปาติโมกขสังวรศีลสำเร็จ'''​ 
- 
-ในศีล 4  อย่างดังที่พรรณนามาแล้วนี้ ​ ปาติโมกขสังวรศีล ​ อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ​ ศรัทธา ​ จริงอยู่ ​ ปาติโมกขสังวรศีลนั้น ​ ชื่อว่า ​ มีศรัทธาเป็นเหตุให้สำเร็จ ​ เพราะการบัญญัติสิกขาบทเป็นสิ่งที่เกินวิสัยของพระสาวก ​ ก็ในข้อนี้ ​ มีการทรงห้ามการขอบัญญัติสิกขาบทเป็นตัวอย่าง ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงสมาทานเอาสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้วอย่างไม่ให้มีเศษเหลือ ​ ไม่กระทำความอาลัยแม้ในชีวิต ​ พึงทำปาติโมกขสังวรศีลนี้ให้สำเร็จเป็นอย่างดีด้วยศรัทธา ​ เถิด ​ สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 51)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ​ มีความเคารพศีล ​ ตามรักษาศีล ​ ในกาลทุกเมื่อ ​ เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ ​ เหมือนจามรีรักษาขนหางเหมือนมารดารักษาบุตรที่รัก ​ เหมือนคนตาเอกรักหน่วยตาข้างเดียวฉะนั้นเถิด 
- 
-แม้ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า ​ "​มหาสมุทรมีความดำรงอยู่เป็นธรรมดา ​ ไม่ไหลล้นฝั่งไป ​ แม้ฉันใด ​ ดูก่อนปหาราทะ ​ สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนอย่างนั้น ​ ไม่ล่วงข้ามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้วสำหรับสาวกทั้งหลาย ​ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต" ​ ก็แหละ ​ ในอรรถาธิบายนี้ ​ นักศึกษาพึงเล่าเรื่องทั้งหลายของพวกพระเถระที่ถูกพวกโจรมัดไว้ในดงประกอบด้วย ​ ดังนี้  ​ 
- 
-'''​เรื่องพระเถระถูกโจรมัด'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ โจรทั้งหลายมัดพระเถระด้วยเครือหญ้านาง ​ ให้นอนอยู่ในดงชื่อมหาวัตตนี ​ พระเถระได้เจริญวิปัสสนาตลอด 7 วัน ​ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่นั่นเทียว ​ ได้บรรลุพระอนาคามิผลแล้ว ​ ถึงซึ่งมรณภาพไปในดงนั่นเอง ​ แล้วไปบังเกิดในพรหมโลก 
- 
-ยังมีพระเถระรูปอื่น ๆ อีก ​ ในตัมพปัณณิทวีป ​  ​(ประเทศลังกา) ​ ถูกพวกโจรเอาเถาหัวด้วนมัดให้นอนอยู่ ​ เมื่อไฟป่าลามมา ​ ท่านก็หาได้ตัดเถาวัลย์ไม่ ​ เริ่มเจริญวิปัสสนา ​ ได้สำเร็จเป็น ​ พระอรหันต์สมสีสี ​ ปรินิพพานแล้ว ​ พระอภยเถระผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ทีฆนิกายพร้อมด้วยภิกษุห้าร้อยรูปมาเห็นเข้า ​ ได้ทำฌาปนกิจศพของพระเถระนั้น แล้วให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ กุลบุตรผู้มีศรัทธาแม้อื่น ​ เมื่อจะชำระปาติโมกขสังวรศีลให้บริสุทธิ์ ​ พึงยอมสละแม้กระทั่งชีวิตโดยแท้ ​ ไม่พึงทำลายปาติโมกขสังวรศีล ​ อันพระโลกนาถเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว 
- 
-'''​2. ​ สติเป็นเหตุให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​   ปาติโมกขสังวรศีล ​  ​อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ​ ศรัทธา ​ ฉันใด ​ อินทรียสังวรศีล ​  ​อันโยคีบุคคลก็พึงให้สำเร็จด้วย ​ สติ ​ ฉันนั้น ​ จริงอยู่ ​ อินทรียสังวรศีลนั้นชื่อว่า ​ มีสติเป็นเหตุให้สำเร็จ ​ เพราะอินทรีย์ทั้งหลายที่ตั้งมั่นอยู่ด้วยสติแล้ว ​ เป็นสภาพอัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 52)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บาปธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นจะพึงรั่วไหลเข้าไปมิได้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงระลึกถึงพระอาทิตตปริยายสูตรโดยนัยมีอาทิว่า ​ "​จักขุนทรีย์ ​ อินทรีย์คือจักษุ ​ ถูกทิ่มแทงแล้วดว้ยซี่เหล็กที่เผาอย่างร้อนลุกโชนมีแสงโชติช่วงอยู่ ​ ยังนับว่าประเสริฐ ​ ส่วนการยึดถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูปทั้งหลายอันจะพึงรู้ด้วยจักษุ ​ ไม่ประเสริฐเลย" ​ ดังนี้แล้ว ​ เมื่อวิญญาณเกิดทางจักษุทวารเป็นต้น ​ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ​ พึงกั้นความยึดถือซึ่งนิมิตเป็นต้น ​ ที่บาปธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นจะพึงรั่วไหลเข้าไป ​ พึงทำอินทรียสังรศีลนี้ให้สำเร็จเป็นอย่างดี ​ ด้วย ​ สติ ​ อันไม่หลงลืมเถิด 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่ออินทรียสังวรศีลนี้อันภิกษุไม่ทำให้สำเร็จด้วยประการดังกล่าวมา ​ แม้ปาติโมกขสังวรศีลก็พลอยเป็นอันตั้งอยู่ไม่นานดำรงอยู่ไม่นานไปด้วย ​ เหมือนข้าวกล้าที่เขาไม่ได้จัดการล้อมรั้ว ​ ฉะนั้น ​ อนึ่ง ​ ภิกษุผู้ไม่ทำให้อินทรีสังวรศีลสำเร็จนี้ ​ ย่อมจะถูกพวกโจรคือกิเลสปล้นเอาได้ ​ เหมือนบ้านที่เปิดประตูทิ้งไว้ย่อมจะถูกพวกโจรขโมยเอาได้ฉะนั้น ​ อนึ่ง ​ ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตของภิกษุนั้นได้ ​ เหมือนฝนรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี ​ ฉะนั้น ​ สมด้วยพระพุทธวจนะ ​ ที่ตรัสไว้ว่า – 
- 
-จงรักษาอินทรีย์ ​ ที่รูป, ​ เสียง, ​ กลิ่น, ​ รส, ​ และผัสสะทั้งหลาย ​ เพราะว่า ​ ทวารเหล่านี้ถูกเปิดทิ้งไว้ไม่รักษา ​ ย่อมจะถูกโจรคือกิเลสปล้นเอา ​ เหมือนพวกโจรปล้นบ้าน ​ ฉะนั้น 
- 
-ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี ​ ฉันใด ​ ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ​ ฉันนั้น 
- 
-แต่เมื่ออินทรียสังวรศีลนั้นอันภิกษุทำให้สำเร็จแล้ว ​ แม้ปาติโมกขสังวรศีลก็พลอยเป็นอันตั้งอยู่ได้นานดำรงอยู่ได้นานไปด้วย ​ เปรียบเหมือนข้าวกล้าที่เขาจัดล้อมรั้วดีแล้ว ​ ฉะนั้น ​ อนึ่ง ​ ภิกษุผู้ทำให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จแล้วนี้ ​ ย่อมจะไม่ถูกพวกโจรคือกิเลสปล้นเอาได้ ​ เปรียบเหมือนบ้านที่ปิดประตูดีแล้ว ​ พวกโจรทั้งหลายก็ขโมยไม่ได้ ​ ฉะนั้น ​ อนึ่ง ​ ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตของภิกษุนั้นไม่ได้ ​ เหมือนฝนรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ​ ฉะนั้น ​ สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 53)''</​fs></​sub>​ 
- 
-จงรักษาอินทรีย์ ​ ที่รูป,​เสียง, ​ กลิ่น, ​ รสและผัสสะทั้งหลาย ​ เพราะว่า ​ ทวารเหล่านี้ที่ปิดแล้วระวังดีแล้ว ​ อันพวกโจรคือกิเลส ​ ปล้นไม่ได้ ​ เหมือนพวกโจรปล้นบ้านที่ปิดประตูดีแล้วไม่ได้ ​ ฉะนั้น ​ 
- 
-ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงหลังคาดีแล้วไม่ได้ ​ ฉันใด ​ ราคะย่อมรั่วไหลเข้าไปสู่จิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ​ ฉันนั้น 
- 
-ก็แหละ ​ พระธรรมเทศนานี้ ​ นับเป็นพระธรรมเทศนาชั้นอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง  ​ 
- 
-ขึ้นชื่อว่าจิตนี้นั้นเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ​ เพราะฉะนั้น ​ อันโยคีบุคคลพึงบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วด้วยมนสิการถึงอสุภกัมมัฏฐาน ​ แล้วพึงทำให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จ ​ เหมือนอย่างพระวังคีสเถระผู้บวชไม่นานเถิด 
- 
-'''​เรื่องพระวังคีสเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ เมื่อพระวังคีสเถระผู้บวชแล้วไม่นาน ​ กำลังเดินบิณฑบาตไปนั้น ​ ความกำหนัดเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะได้เห็นสตรีคนหนึ่ง ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงเรียนพระอานันทเถระว่า – 
- 
-กระผมถูกไฟคือกามราคะเผาเข้าแล้ว ​ จิตของกระผมถูกเผาจนเกรียม ​ สาธุ ​ ท่านผู้โคตมโคตร ​ ขอท่านได้กรุณาโปรดบอกอุบายเครื่องดับไฟให้ด้วย  ​ 
- 
-'''​พระอานันทเถระได้กล่าวแนะนำว่า -'''​ 
- 
-จิตของเธอถูกเผาเกรียมเพราะสัญญาวิปลาส ​ เธอจงเว้นสุภนิมิตอันประกอบด้วยความกำหนัดเสีย ​ จงอบรมจิตด้วยอสุภกัมมัฏฐาน ​ ทำให้ตั้งมั่นด้วยดี ​ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง 
- 
-เธอจงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย ​ โดยเป็นอื่น ​ โดยเป็นทุกข์ ​ และโดยมิใช่ตน ​ จงทำความกำหนัดอันยิ่งใหญ่ให้ดับไปเสีย ​ จงอย่าได้มีความเร่าร้อนต่อไปเลย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 54)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระวังคีสเถระบรรเทาความกำหนัดได้แล้ว ​ ก็เที่ยวบิณฑบาตต่อไป 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ อันภิกษุผู้บำเพ็ญอินทรียสังวรศีล ​ พึงเป็นเหมือนพระจิตตคุตตเถระ ​ ผู้อยู่ในถ้ำใหญ่ชื่อกุรัณฑกะ ​ และพระมหามิตตเถระ ​ ผู้อยู่ในมหาวิหารชื่อโจรกะ 
- 
-'''​เรื่องพระจิตตคุตตเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ในถ้ำใหญ่กุรัณฑกะ ​ ได้มีจิตกรรมเกี่ยวกับเรื่องเสด็จออกทรงผนวช ​ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายถึง 7  พระองค์ ​ เป็นสิ่งที่หน้าจับใจ ​ ภิกษุเป็นจำนวนมาก ​ พากันเที่ยวจาริกชมเสนาสนะ ​ มองเห็นจิตกรรมแล้ว ​ เรียนพระเถระว่า ​ "​จิตรกรรมเป็นสิ่งที่หน้าจับใจมาก ​ ขอรับ" ​ พระเถระพูดว่า ​ "​ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ​ ฉันอยู่ในถ้ำเกินหกสิบปีมาแล้ว ​ ไม่ทราบดอกว่ามีจิตรกรรมหรือไม่มี ​ อาศัยพวกเธอซึ่งมีตาจึงทราบในวันนี้เดี๋ยวนี้เอง" ​ ได้ยินว่า ​ พระเถระถึงจะอยู่ตลอดกาลเท่านั้น ​ ก็ไม่เคยลืมตาขึ้นมองดูถ้ำเลย ​ อนึ่ง ​ ตรงที่ปากถ้ำของพระเถระนั้น ​ ได้มีต้นกากะทิงใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ​ แม้ต้นไม้นั้นพระเถระก็ไม่เคยมองขึ้นดูเลย ​ ครั้นเห็นเกสรร่วงลงมาที่พื้นดินตามลำดับปี ​ จึงทราบว่าต้นไม้นั้นบาน 
- 
-พระราชาทรงสดับคุณสมบัติของพระเถระแล้ว ​ มีพระราชประสงค์เพื่อจะทรงนมัสการ ​ จึงได้ทรงส่งราชบุรุษไปนิมนต์ถึง 3  ครั้ง ​ ครั้นพระเถระไม่มา ​ จึงทรงรับสั่งให้ผูกถันของสตรีผู้มีลูกอ่อนทั้งหลายในบ้านนั้น ​ แล้วประทับตราพระราชลัญจกรไว้ ​ ได้มีพระราชโองการว่า ​ "​ทารกทั้งหลายอย่าได้ดื่มน้ำนม ​ ตลอดเวลาที่พระเถระยังไม่มา" ​ พระเถระจึงได้มาสู่หมู่บ้านใหญ่ ​ เพราะความเอ็นดูแก่ทารกทั้งหลาย ​ พระราชาทรงทราบแล้ว ​ ทรงรับสั่งให้พาไปในพระราชวังว่า ​ "​พนาย ​ พวกเธอจงพาพระเถระเข้าไป ​ ฉันจักรับศีล" ​ ครั้นทรงนมัสการทรงให้ฉันเสร็จแล้ว ​ ทรงมีพระราชดำรัสว่า ​ "​พระคุณเจ้า ​ วันนี้ยังไม่มีโอกาส ​ พรุ่งนี้หม่อมฉันจึงจักรับศีล" ​ ครั้นแล้วทรงรับบาตรพระเถระ ​ เสด็จตามส่งไปหน่อยหนึ่งแล้ว ​ พร้อมด้วยพระราชเทวีทรงนมัสการแล้วเสด็จกลับ ​ พระราชาจะทรงไหว้ก็ช่าง ​ พระราชเทวีจะทรงไหว้ก็ช่าง ​ พระเถระคงถวายพระพรว่า ​ "​ขอพระมหาราชาจงทรงเกษมสำราญเถิด" ​ เป็นทำนองนี้ล่วงไปถึง 7  วัน ​ พวกภิกษุจึงเรียนถามว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ เมื่อพระราชาทรงไหว้อยู่ก็ดี ​ ทำไมท่านจึงถวายพระพรเพียงอย่างเดียวว่า ​ ขอพระมหาราชาทรงพระเกษมสำราญเถิด" ​ พระเถระตอบว่า ​ "​ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ​ ฉัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 55)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไม่ได้ทำความกำหนดแยกว่า ​ พระราชาหรือพระราชเทวี" ​ โดยล่วงไปได้หนึ่งสัปดาห์ ​ พระราชาทรงดำริว่า ​ "​การที่พระเถระอยู่ ​ ณ  ที่นี้ ​ เป็นความลำบาก" ​ จึงทรงพระกรุณาโปลดปล่อยไป ​ พระเถระไปถึงถ้ำใหญ่กุรัณฑกะ ​ ได้ขึ้นสู่ที่จงกรมในส่วนแห่งราตรี ​ เทวดาที่สิงอยู่ ​ ต้นกากะทิงได้ยืนถือประทีปด้ามให้อยู่ ​ ครั้งนั้น ​ กัมมัฏฐานของท่านได้ปรากฏบริสุทธิ์ยิ่งนัก ​ พระเถระดีใจว่า ​ "​วันนี้ทำไมหนอ ​ กัมมัฏฐานของเราจึงปรากฏชัดเสียเหลือเกิน" ​ แล้วทำภูเขาให้สะเทือนสะท้านไปทั้งลูก ​ ได้บรรลุพระอรหัตแล้วในลำดับแห่งมัชฌิมยาม 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ แม้กุลบุตรอื่น ๆ  ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ของตน ​ ไม่พึงเป็นผู้มีหน่วยตาลอกแลก ​ เหมือนลิงในป่า ​ เหมือนมฤคาตกใจตื่นในวนา ​ และเหมือนทารกาอ่อนสะด้งกลัว 
- 
-พึงทอดจักษุ ​ พึงแลดูชั่วแอก ​ อย่าพึงไปสู่อำนาจของจิตอันมีปกติหลุกหลิกเหมือนลิงในป่า 
- 
-'''​เรื่องพระมหามิตตเถระ'''​ 
- 
-ฝ่ายมารดาของพระมิตตเถระ ​ ได้เกิดเป็นโรคฝีมีพิษขึ้น ​ แม้ธิดาของท่านก็บวชในสำนักของภิกษุณีทั้งหลาย ​ ท่านจึงพูดกับธิดาว่า ​ "​แม่ !  ไปเถอะ ​ จงไปสำนักของพี่ชาย ​ เรียนถึงภาวะที่แม่ไม่สบายแล้วนำเอายามา" ​ นางได้ไปกราบเรียนพี่ชายแล้ว ​ พระเถระพูดว่า ​ "​ฉันไม่รู้ที่จะเก็บยาทั้งหลายมียารากไม้เป็นต้นมาปรุงให้เป็นเภสัชได้ ​ ก็แต่ว่า ​ ฉันจักบอกยาให้แก่เธอว่า ​ "​นับจำเดิมตั้งแต่บวชมา ​ ฉันไม่เคยทำลายอินทรีย์ทั้งหลายแลดูรูปอันเป็นวิสภาค ​ ด้วยจิตอันประกอบด้วยโลภะเลย ​ ด้วยสัจวาจานี้ ​ ขอความสบายจงมีแก่โยมมารดาของฉัน" ​ เธอจงไปแล้วกล่าวคำนี้ ​ พลางลูบร่างกายให้แก่โยมมารดาไปด้วย" ​ ภิกษุณีนั้นไปเรียนข้อความนี้แก่มารดาแล้ว ​ ได้กระทำตามพระเถระแนะนำทุกประการ ​ ฝีของอุบาสิกาได้ฝ่อ ​ อันตรธานหายไปเหมือนก้อนฟองน้ำในทันทีทันใดนั้นนั่นแล ​ มารดาของพระเถระนั้นลุกขึ้นมา ​ เปล่งวาจาแสดงถึงความดีใจว่า ​ "​ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ​ ทำไมจะไม่พึง ​ ทรงลูบศรีษะของภิกษุผู้เช่นบุตรของเราด้วยพระหัตถ์อันวิจิตรไปด้วยลายตาข่ายเล่า"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 56)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ แม้บุคคลอื่นซึ่งถือตนว่าเป็นกุลบุตร ​ บวชในศาสนาแล้ว ​ พึงดำรงอยู่ในอินทรียสังวรศีลอันประเสริฐเหมือนอย่างพระมหามิตตเถระนั่นเถิด 
- 
-'''​3. ​ วีริยะเป็นเหตุให้อาชีวปาริสุทธิศีลสำเร็จ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ อินทรียสังวรศีล ​ อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย สติ ​ ฉันใด ​ อาชีวปาริสุทธิศีล ​ อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ​ วีริยะ ​ ฉันนั้น ​  ​จริงอยู่ ​ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นชื่อว่ามีวิริยะเป็นเหตุให้สำเร็จ ​ เพราะวีริยะที่ปรารภโดยชอบแล้วเป็นการประหานมิจฉาอาชีวะ เพราะฉะนั้น ​   อันภิกษุพึงละอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควรอันไม่เหมาะสมแล้ว ​ เสพอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์เท่านั้น ​ หลีกเว้นอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยไม่บริสุทธิ์ ​ เหมือนหลีกเว้นอสรพิษทั้งหลาย ​ พึงทำอาชีวปาริสุทธิศีลนี้ให้สำเร็จด้วย ​ วีริยะ ​ ด้วยการแสวงหาโดยชอบมีการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้นเถิด 
- 
-ในปัจจัย 2 อย่างนั้น ​ สำหรับภิกษุผู้ไม่ได้ถือธุดงค์ ​ ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดจากสงฆ์จากคณะและจากสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใสโดยคุณทั้งหลายของภิกษุนั้นมีการแสดงธรรมเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ ปัจจัยอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์ ​ ส่วนปัจจัยที่เกิดจากการบิณฑบาตเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ เกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์อย่างยิ่งนั่นเทียว ​ สำหรับภิกษุผู้ถือธุดงค์ ​ ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดจากการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น ​ และที่เกิดจากสำนักของผู้เลื่อมใสในธุดงคคุณของภิกษุนั้นโดยอนุโลมแก่ธุดงคนิยม ​ ชื่อว่า ​ ปัจจัยอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์ ​ อนึ่ง ​ เมื่อสมอดองด้วยมูตรเน่าและมธุรเภสัช ​ 4  อย่าง ​ เกิดขึ้นเพื่อบำบัดพยาธิชนิดหนึ่ง ​ ภิกษุนั้นคิดว่า ​ "​แม้เพื่อนพรหมจรรย์อื่น ๆ  จักฉันมธุรเภสัช 4" ​ ดังนี้แล้ว ​ จึงฉันแต่ชิ้นแห่งสมอเท่านั้น ​ การสมาทานธุดงค์ของเธอ ​ จัดว่าเป็นการสมควร ​ จริงอยู่ ​ ภิกษุนี้เรียกได้ว่าเป็นภิกษุผู้ประกอบอยู่ในชั้นอริยวงค์ชั้นอุดม 
- 
-อนึ่ง ​ ในบรรดาปัจจัย 4  มีจีวรเป็นต้นนี้นั้น ​ สำหรับภิกษุผู้ชำระอาชีวให้บริสุทธิ์รูปใดรูปหนึ่ง ​ นิมิต, ​ โอภาส, ​ ปริกถาและวิญญัติ ​ ย่อมไม่ควรในจีวรและบิณฑบาต ​ ส่วนภิกษุผู้ถือธุดงค์ ​ นิมิต, ​ โอภาสและปริกถาย่อมไม่ควรในเสนาสนะ ​ ในนิมิต, ​ โอภาสและ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 57)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปริกถานั้น ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ ​ เมื่อภิกษุทำการปราบพื้นเป็นต้น ​ เพื่อสร้างเสนาสนะ ​ มีพวกคฤหัสถ์ถามว่าจะสร้างอะไร ​ ขอรับ ​ ใครจะเป็นผู้สร้าง ?  ให้คำตอบว่า ​ ยังไม่มีใครดังนี้ก็ดี ​ หรือแม้การกระทำนิมิตอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ​ ชื่อว่า ​ นิมิต ​ ภิกษุถามว่า ​ "​อุบาสก ​ อุบาสิกาทั้งหลาย ​ พวกท่านอยู่ที่ไหน ?" ​ เมื่อเขาบอกว่า ​ "​พวกกระผมอยู่ที่ปราสาท ​ ขอรับ" ​ ภิกษุพูดว่า ​ "​อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ​ ก็ปราสาทย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุทั้งหลาย" ​ ดังนี้ก็ดี ​ ก็หรือแม้การกระทำโอภาสอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ​ ชื่อว่า ​ โอภาส ​ การพูดว่า ​ "​เสนาสนะของภิกษุสงฆ์คับแคบ" ​ ดังนี้ก็ดี ​ แหละหรือแม้การกล่าวโดยปริยายอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ​ ชื่อว่า ​ ปริกถา ​ ในปัจจยเภสัชสมควรแม้ทุก ๆ ประการ ​ แต่ครั้นโรคหายแล้วจะฉันเภสัชที่เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนั้น ​ ย่อมไม่ควร  ​ 
- 
-ในอธิการแห่งเภสัชนี้นั้น ​ อาจารย์ผู้ทรงพระวินัยทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ​ "​พระผู้มีพระภาคทรงประทานประตูไว้ให้แล้ว ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงสมควร" ​ ส่วนพวกอาจารย์ผู้ชำนาญพระสูตรกล่าวไว้อย่างเด็ดขาดว่า ​ "​ถึงแม้จะไม่เป็นอาบัติก็จริง ​ แต่ทำอาชีวให้เสียหาย ​ เพราะฉะนั้นจึงไม่สมควร"  ​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุใด ​ ไม่ยอมกระทำนิมิต, ​ โอภาส, ​ ปริกถาและวิญญัติ ​ ทั้ง ๆที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแล้ว ​ อาศัยคุณมีความมักน้อยเป็นต้นเท่านั้น ​ แม้ถึงความจะสิ้นชีวิตปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า ​ ก็คงเสพปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่สมควรมีโอภาส ​ เป็นต้นนั่นเทียว ​ ภิกษุนี้ ​ เรียกได้ว่า ​ ผู้มีความประพฤติขัดเกลาชั้นยอด ​ แม้ทำนองเดียวกับพระสารีปุตตเถระ 
- 
-'''​เรื่องพระสารีปุตตเถระต้องอาพาธ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ สมัยหนึ่งท่านพระสารีปุตตเถระนั้นจะเพิ่มพูนความสงัด ​ จึงพร้อมกับท่านพระมหาโมคคัลลานเถระไปพักอยู่ในป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ​ อยู่มาวันหนึ่ง ​ ท่านพระสารีปุตตะเถระนั้นได้เกิดอาพาธลมเสียดท้องขึ้น ​ มันได้ทำความทุกข์อย่างหนักให้เกิดแก่ท่าน ​ พระมหาโมคคัลลานเถระไปยังที่อุปัฏฐากของท่านในเวลาเย็น ​ เห็นพระเถระนอนอยู่ ​ สอบถามซึ่งพฤติการณ์นั้นแล้วเรียนถามว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ ครั้งก่อนท่านหายด้วยเภสัชอะไร"​ พระเถระสารีปุตตะเรียนบอกว่า ​ "​ท่าน ​ เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์มารดาของผมได้ให้ข้าวปายาสหุง  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 58)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ด้วยน้ำนมล้วน ๆ  ประสมกับเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ​ ผมได้หายโรคเพราะข้าวปายาสนั้น" ​ ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นเรียนว่า ​ "​เอาเถอะท่าน ​ ถ้าบุญของกระผมหรือบุญของท่านมีอยู่ ​ พรุ่งนี้เราจักต้องได้อย่างแน่นอน"​ 
- 
-ก็แหละ ​ ยังมีเทวดาที่สิงอยู่บนต้นไม้ท้ายที่จงกรม ​ ได้ยินพระเถระทั้งสองสนทนากันเช่นนั้น ​ จึงคิดว่า ​ "​พรุ่งนี้เราจะบันดาลให้ข้าวปายาสเกิดขึ้นแก่พระผู้เป็นเจ้า" ​ ทันใดนั้นได้ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระ ​ เข้าสิงร่างกายบุตรคนโต ​ บันดาลให้เกิดความดิ้นรนอยู่ ​ ลำดับนั้นเทวดาจึงได้กล่าวกับพวกญาติ ๆ ของบุตรคนโตนั้น ​ ซึ่งมาประชุมกันหมายจะเยียวยารักษาว่า ​ "​ถ้าพวกท่านรับจะจัดข้าวปายาสเห็นปานฉะนี้ ​ ถวายแด่พระเถระในวันพรุ่งนี้ ​ ฉันจึงจักปล่อยมัน" ​ พวกญาติเหล่านั้นรับว่า ​ "​แม้ถึงท่านไม่บอก ​ พวกเราก็ถวายภิกษาหารแก่พระเถระทั้งหลายเป็นประจำอยู่แล้ว" ​ ครั้นถึงวันที่สองได้พากันจัดข้าวปายาสเห็นปานดังนั้นไปถวายแล้ว ​ พระมหาโมคคัลลานมาถึงแต่เช้าตรู่ ​ เรียนว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ นิมนต์คอยอยู่ ​ ณ  ที่นี้แหละจนกว่ากระผมไปบิณฑบาตกลับมา" ​ แล้วก็เข้าไปบ้าน ​ พวกมนุษย์เหล่านั้น ​ รับบาตรของพระเถระใส่ให้เต็มด้วยข้าวปายาสมีประการดังกล่าวแล้วจึงถวายไป ​ พระเถระแสดงอาการที่จะไป ​ พวกมนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า ​ "​นิมนต์ท่านฉันเถิด ​ ขอรับ ​ พวกกระผมจักถวายข้าวปายาสแม้อื่นอีก" ​ ครั้นให้พระเถระฉันเสร็จแล้ว ​ ได้ถวายไปอีกจนเต็มบาตร ​ พระเถระไปแล้วน้อมข้าวปายาสเข้าไปพร้อมกับพูดว่า ​ "​ดูก่อนท่านสารีปุตตะ ​ นิมนต์ฉันเสียเถอะ" ​ ฝ่ายพระเสรีปุตตเถระเห็นข้าวปายาสนั้นแล้วพิเคราะห์ดูว่า ​ "​ข้าวปายาสเป็นที่หน้าพึงใจยิ่งนัก ​ เกิดขึ้นมาได้อย่างใรหนอ" ​ ครั้นเห็นมูลเหตุเกิดของข้าวปายาสนั้นแล้วจึงพูดว่า"​ท่านโมคคัลลานะ ​ เอาไปเสียเถิด ​ บิณฑบาตไม่ควรแก่อันจะบริโภค" ​ ฝ่ายมหาโมคคัลลานเถระ ​ แม้แต่จะคิดว่าพระสารีปุตตะไม่ยอมฉันบิณฑบาตที่คนอย่างเรานำมาถวาย ​ ก็ไม่มีด้วยคำพูดเพียงคำเดียวเท่านั้น ​ ก็รีบคว้าจับบาตรที่ขอบปากไปเทคว่ำลง ​ ณ  ส่วนข้างหนึ่ง ​ อาพาธของพระเถระได้หายไปพร้อมกับข้าวปายาสจรดพื้นดิน ​ จำเดิมแต่นั้นมาตลอดเวลา ​ 45  พรรษา ​ อาพาธก็มิได้เกิดขึ้นอีกเลย ​ ด้วยเหตุนั้น ​ พระสารีปุตตเถระ ​ จึงกล่าวกับพระมหาโมคคัลลานเถระว่า ​ "​ดูก่อน ​ ท่านโมคคัลลานะ ​ ข้าวปายาสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวจีวิญญัติ ​ เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 59)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สิ่งไม่สมควรเพื่อจะฉัน ​ ถึงแม้ไส้จะไหลออกมาเที่ยเพ่นพ่านอยู่ที่พื้นดินก็ตาม" ​ แหละได้เปล่งคำอุทานดังนี้ว่า – 
- 
-ถ้าเราจะพึงฉันข้าวมธุปายาส ​ อันเกิดขึ้นเพราะเปล่งวจีวิญญัติไซร้ ​ อาชีวของเราก็จะพึงถูกบัณฑิตครหา 
- 
-แม้ว่าไส้ของเราจะไหลออกมาเที่ยวเพ่นพ่านอยู่ข้างนอกก็ตาม ​ เรายอมเอาชีวิตเข้าแลก ​ จะไม่พึงทำลายอาชีวเป็นอันขาด 
- 
-เราทำจิตของเราให้รื่นรมย์ ​ เราหลีกเว้นอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควร ​ และเราจักไม่กระทำอเนสนาที่พระพุทธองค์ทรงรังเกียจแล้ว 
- 
-อนึ่ง ​ ในอธิการแห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนี้ ​ นักศึกษาพึงเล่าเรื่องของพระอัมพขาทกมหาติสสเถระซึ่งอยู่ประจำจีวรคุมพวิหารประกอบด้วย ​ นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายแม้ในทุก ๆ บท ​ ดังที่ได้อรรถาธิบายมานี้ 
- 
-นักพรตผู้มีวิจารณญาณ ​ บวชแล้วด้วยศรัทธา ​ แม้แต่คิดก็อย่าให้เกิดขึ้นในอเนสนา ​ พึงชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์เถิด 
- 
-'''​4. ​ ปัญญาเป็นเหตุให้ปัจจยสันนิสสิตศีลสำเร็จ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ อาชีวปาริสุทธิศีล ​ อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ​ วีริยะ ​ ฉันใด ​ ปัจจยสันนิสสิตศีล ​ อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ​ ปัญญา ​ ฉันนั้น ​ จริงอยู่ ​ ปัจจยสันนิสสิตศีลนั้น ​ ชื่อว่ามีปัญญาเป็นเหตุให้สำเร็จ ​ เพราะผู้มีปัญญาจึงสามารถมองเห็นโทษและอานิสงส์ของปัจจัยทั้งหลายได้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ภิกษุพึงละความกำหนัดยินดีในปัจจัยแล้วพึงพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ​ ด้วยวิธีดังได้พรรณนามาแล้วจึงบริโภค ​ พึงทำปัจจยสันนิสสิตศีลนี้ให้สำเร็จด้วย ​ ปัญญา ​ เถิด 
- 
-การพิจารณาปัจจัยทั้งหลายในปัจจยสันนิสสิตศีลนั้นมี 2  อย่าง ​ คือ ​ พิจารณาในเวลารับ 1  พิจารณาในเวลาบริโภค 1  อธิบายว่า ​ ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นที่ซึ่งได้พิจารณาด้วยสามารถแห่งความเป็นทาสหรือความเป็นของปฏิกูลแม้ในเวลารับแล้วเก็บไว้ ​ เมื่อภิกษุบริโภคเลยจากเวลารับนั้นไป ​ การบริโภคก็หาโทษมิได้เลย ​ การบริโภคแม้เวลาบริโภคก็หาโทษมิได้เหมือนกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 60)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​การบริโภค 4 อย่าง'''​ 
- 
-ในการพิจารณาในการบริโภคนั้น ​ มีวินิจฉัยที่ทำความตกลงไว้ดังนี้ – 
- 
-ก็แหละ ​ การบริโภคมี 4 อย่าง ​ คือ ​ เถยฺยปริโภค ​ บริโภคเป็นขโมย 1  อิณปริโภค ​ บริโภคเป็นหนี้ 1  ทายชฺชปริโภค ​ บริโภคเป็นทายาท 1  สามิปริโภค ​ บริโภคเป็นนาย 1  ใน 4 อย่างนั้น ​ การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลแม้นั่งบริโภคอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ​ ชื่อว่า ​ เถยฺยปริโภค ​ การบริโภคไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ​ ชื่อว่า ​ อิณปริโภค ​ เพราะเหตุนั้น ​ ภิกษุพึงพิจารณาในทุก ๆ  ขณะที่บริโภค ​ บิณฑบาตพึงพิจารณาในทุก ๆ คำข้าว ​ เมื่อภิกษุใม่สามารถปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น ​ ในเวลาก่อนอาหาร, ​ หลังอาหาร, ​ ในปุริมยาม, ​ มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ​ ถ้าไม่ได้พิจารณาเลย ​ ปล่อยให้อรุณขึ้น ​ ภิกษุนั้นชื่อว่า ​ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นอิณบริโภค ​ แม้เสนาสนะก็พึงพิจารณาในทุก ๆ  ขณะที่บริโภค ​ สำหรับเภสัชเมื่อมีสติเป็นปัจจัย(คือเมื่อใช้สติพิจารณาเสียก่อน-มหาฏีกา)ทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคจึงจะควร ​ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ​ เมื่อภิกษุทำสติในขณะรับแล้วขณะบริโภคไม่ได้ทำอีก ​ เป็นอาบัติ ​ ไม่ทำในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ​ ไม่เป็นอาบัติ 
- 
-'''​สุทธิ 4 อย่าง'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ สุทธิมี 4 อย่าง ​ คือ ​ เทสนาสุทธิ 1  สังวรสุทธิ 1  ปริเยฏฐิสุทธิ 1  ปัจจเวกขณสุทธิ 1  ใน 4 อย่างนั้น ​ ปาติโมกขสังวรศีล ​ ชื่อว่า ​ เทสนาสุทธิ ​ จริงอยู่ ​ ปาติโมกขสังวรศีลนั้นเรียกว่า ​ เทสนาสุทธิ ​ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดงอาบัติ ​ อินทรียสังวรศีล ​ ชื่อว่า ​ สังวรสุทธิ ​ จริงอยู่ ​ อินทรียสังวรศีลนั้นเรียกว่า ​ สังวรสุทธิ ​ เพราะบริสุทธิ์ด้วยความสังวร ​ คือตั้งใจว่า ​ จักไม่กระทำอย่างนี้ต่อไป ​ อาชีวปาริสุทธิศีลชื่อว่า ​ ปริเยฏฐิสุทธิ ​ จริงอยู่ ​ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเรียกว่า ​ ปฏิเยฏฐิสุทธิ ​ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหา ​ ของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วจึงยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ​ ปัจจยสันนิสสิตศีล ​ ชื่อว่า ​ ปัจจเวกขณสุทธิ ​ จริงอยู่ ​ ปัจจยสันนิสสิตศีลนั้นเรียกว่า ​ ปัจจเวกขณสุทธิ ​ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณามีประการดังพรรณนามาแล้ว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ​ เมื่อไม่ทำสติในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ​ ไม่เป็นอาบัติ ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 61)''</​fs></​sub>​ 
- 
-การบริโภคปัจจัยของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย 7  จำพวก ​ ชื่อว่า ​ ทายัชชบริโภค ​ จริงอยู่ ​ พระเสกขบุคคลเหล่านั้นเป็นพระบุตรของพระผู้มีพระภาค ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระเสกขบุคคลเหล่านั้นย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลาย ​ โดยฐานเป็นทายาทแห่งปัจจัยทั้งหลาย ​ อันเป็นสมบัติของพระบิดา 
- 
-ถาม -  ก็พระเสกขบุคคลเหล่านั้น ​ บริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคหรือ ? ไม่ใช่บริโภคปัจจัยทั้งหลายของคฤหัสถ์ดอกหรือ ? 
- 
-ตอบ -  แม้ปัจจัยทั้งหลายอันพวกคฤหัสถ์ถวายแล้ว ​ ก็จัดเป็นของแห่งพระผู้มีพระภาค ​ เพราะเป็นสิ่งอันพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พระเสกขบุคคลทั้งหลาย ​ ย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ​ อนึ่ง ​ ธัมมทายาทสูตร ​ เป็นเครื่องสาธกในอธิการนี้ 
- 
-การบริโภคของพระขีณาสพทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ สามิบริโภค ​ จริงอยู่ ​ พระขีณาสพ ​ เหล่านั้นชื่อว่า บริโภคเป็นนาย ​ เพราะล่วงพ้นความเป็นทาสของตัณหาไป 
- 
-ในการบริโภคเหล่านี้ ​ สามิบริโภค 1  ทายัชชบริโภค 1  ย่อมสมควรแก่พระอริยะ ​ และปุถุชนทั้งหมด ​ อิณบริโภคไม่สมควรทั้งหมด ​ ในเถยยบริโภคไม่จำมีอันพูดถึงกันละ ​ อนึ่งการบริโภคที่ได้พิจารณาแล้วของภิกษุผู้มีศีลนี้ใด ​ การบริโภคนั้นจัดเป็นการบริโภคที่ไม่เป็นหนี้ เพราะเป็นข้าศึกแก่การบริโภคเป็นหนี้ ​ หรือจะจัดสงเคราะห์เข้าในทายัชชบริโภคนั้นแหละก็ได้ ​ จริงอยู่ ​ แม้ภิกษุผู้มีศีลก็ย่อมถึงซึ่งอันนับเป็นเสกขะได้เหมือนกัน ​ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลสิกขานี้ ​ อนึ่ง ​ ในบรรดาผู้บริโภค 4 อย่างนี้ ​ เพราะสามิบริโภคจัดเป็นการบริโภคชั้นยอด ​ ฉะนั้น ​ อันภิกษุเมื่อปารถนาซึ่งสามิบริโภคนั้น ​ พึงพิจารณาด้วยด้วยวิธีพิจารณาอันมี ​ ประการดังกล่าวมาแล้วจึงบริโภค ​ พึงยังปัจจยสันนิสสิตศีลให้สำเร็จเถิด ​ ก็แหละ ​ เมื่อภิกษุกระทำได้ดังกล่าวมานี้ย่อมจัดว่าเป็น ​ กิจจการี ​ ผู้มีปกติกระทำกิจ ​ สมด้วยนิพนธพจน์อันบัณฑิตประพันธ์ไว้ว่า 
- 
-พระสาวกผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ได้สดับธรรมอันพระสุคตเจ้าทรงแสดงแล้ว พึงพิจารณาก่อนจึงเสพ ​ บิณฑบาต, ​ วิหาร, ​ ที่นอน, ​ ที่นั่ง, ​ และน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 62)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุนั้นแหละ ​ ภิกษุจึงเป็นผู้ไม่ติดในปัจจยธรรมเหล่านี้ ​ คือ ​ บิณฑบาต, ​ ที่นอน, ​ ที่นั่งและน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ ​ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ​ ฉะนั้น 
- 
-ภิกษุนั้น ​ ครั้นได้อาหารโดยการอนุเคราะห์จากคนอื่นตามกาลแล้ว ​ พึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นติดต่อกันไป ​ รู้จักประมาณในของเคี้ยว, ​ ของฉัน, ​ และของลิ้มเลียทั้งหลาย ​ เหมือนคนไข้รู้จักประมาณในการทาแผลและพอกยา ​ ฉะนั้น 
- 
-ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่หลงติด ​ ฉันอาหารเพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป ​ เหมือนมารดาบิดากินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดาร ​ และเหมือนพ่อค้าเกวียนหยอดน้ำมันเพลาเกวียน ​ ฉะนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ ในความเป็นผู้กระทำปัจจยสันนิสสิตศีลนี้ให้บริสุทธิ์ ​ นักศึกษาพึงเล่าเรื่อง ​ สามเณรสังฆรักขิตผู้หลานประกอบด้วย ​ จริงอยู่ ​ สามเณรนั้นพิจารณาโดยชอบแล้วจึงบริโภค ​ สมดังคำประพันธ์ที่สามเณรนั้นกล่าวไว้ว่า 
- 
-พระอุปัชฌายะได้สอนข้าพเจ้ากำลังฉันข้าวสาลีอันเย็นสนิทว่า ​ พ่อสามเณร ​ เจ้าจงอย่าเป็นคนไม่สำรวม ​ เผาลิ้นตัวเองเสียนะ 
- 
-ข้าพเจ้าได้ฟังคำสอนของพระอุปัชฌายะแล้ว ​ ก็ได้ความสังเวชในขณะนั้น ​ นั่งอยู่ที่อาสนะเดียวได้บรรลุพระอรหัตแล้ว 
- 
-ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ ​ เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ​ เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว ​ บัดนี้ภพไม่มีอีกแล้ว 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ กุลบุตรแม้อื่นปรารถนาความสิ้นไปแห่งทุกข์ ​ พึงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงเสพปัจจัยทั้งหลายเถิด ​ 
- 
-ศีล 4 อย่างโดยแยกเป็นปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===อธิบายศีลหมวด 5=== 
- 
-'''​อธิบายศีล 5 อย่าง ​ หมวดที่ 1'''​ 
- 
-ปัญจกะที่ 1  ของส่วนที่จัดเป็นศีล 5 อย่าง ​ นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบาย ​ โดยแยกเป็นอนุปสัมปันนศีลเป็นต้น ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 63)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็แหละ ​ พระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ​ ดังนี้- 
- 
--   ​ปริยันตปาริสุทธิศีล ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ศีลของอนุปสัมบันทั้งหลายผู้มีสิกขาบทเป็นที่สุด ​ นี้จัดเป็น ​ ปริยันตปาริสุทธิศีล 
- 
--    อปริยันตปาริสุทธิศีล ​ เป็นอย่างไร ?  
- 
-ศีลของอุปสัมบันทั้งหลายผู้มีสิกขาไม่มีที่สุด ​ นี้จัดเป็น ​ อปริยันตปาริสุทธิศีล 
- 
--   ​ปริปุณณปาริสุทธิศีล ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ศีลของกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ​ ผู้ประกอบในกุศลธรรม ​ ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันจรดแดนแห่งพระเสกข ​ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ​ ผู้มีชีวิตอันสละแล้ว ​ นี้จัดเป็น ​ ปริปุณณปาริสุทธิศีล ​           ​ 
- 
--   ​อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ศีลของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย 7 จำพวก ​ นี้จัดเป็น ​ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล 
- 
--   ​ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-ศีลของพระขีณาสพทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ​ นี้จัดเป็น ​ ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล 
- 
-ในบรรดาศีลเหล่านั้น ​ ศีลของอนุปสัมปันทั้งหลาย ​ พึงทราบว่าเป็น ​ ปริยันตปาริสุทธิศีล ​ เพราะเป็นศีลมีที่สุดด้วยอำนาจแห่งการนับ ​ ศ๊ลของอุปสัมปันทั้งหลายถึงแม้จะมีที่สุด ​ ด้วยสามารถแห่งการนับอย่างนี้ว่า – 
- 
-สังวรวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วเหล่านี้ ​ คือเก้าพันโกฏิสิกขาบท ​ แปดสิบร้อยโกฏิสิกขาบท ​ ห้าสิบแสนสิกขาบท ​ และอื่น ๆ อีก ​ 36 สิกขาบท ​ (รวมเป็นหนึ่งหมื่นเจ็ดพันโกฏิห้าล้านสามสิบหกสิกขาบท) ​ สิกขาทั้งหลายในวินัยปิฏกทรงแสดงไว้ด้วยมุข ​ คือ ​ เปยยาล  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 64)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ดังนี้ก็ตาม ​ พึงทราบว่า ​ คงเป็นอปริยันตปาริสุทธิศีล ​ เพราะหมายเอาภาวะสมาทานโดยไม่มีส่วนเหลือ ​ และภาวะที่ไม่แสดงที่สุดได้ด้วยอำนาจลาภ, ​ ยศ, ​ ญาติ,​ องค์อวัยวะและชีวิต ​ เหมือนศีลของพระอัมพขาทกมหาติสสเถระผู้อยู่ในจีวรคุมพวิหาร 
- 
-'''​เรื่องพระอัมพขาทกมหาติสสเถระ'''​ 
- 
-จริงอย่างนั้น ​ ท่านพระมหาเถระนั้น ​ ไม่ละสัปปุริสานุสติข้อนี้คือ – 
- 
-นรชน ​ พึงยอมสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งองค์อวัยวะอันประเสริฐ ​ เมื่อจะรักษาไว้ซึ่งชีวิต ​ ก็พึงยอมเสียสละองค์อวัยวะ ​ เมื่อระลึกถึงธรรมะ ​ ก็พึงยอมเสียสละทรัพย์ ​ องค์อวัยวะและชีวิต ​ แม้หมดทุกอย่าง 
- 
-แม้เมื่อความสงสัยในชีวิตมีอยู่ ​ ท่านก็ไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบท ​ อาศัยอปริยันตปาริสุทธิศีลนั่นแหละ ​ ได้บรรลุพระอรหัตทั้งที่อยู่บนหลังอุบาสกนั่นเทียว ​ สมดังที่ท่านพระมหาเถระนั้นกล่าวนิพนธคาถาไว้ว่า – 
- 
-อุบาสกนี้ ​ มิใช่บิดา ​ มิใช่มารดา ​ มิใช่ญาติ ​ ทั้งมิใช่เผ่าพันธุ์ของเธอ ​ เขากระทำกิจเช่นนั้นให้แก่เธอ ​ ก็เพราะเหตุแห่งเธอเป็นผู้มีศีล 
- 
-ท่านทำความสังเวชให้เกิดขึ้นแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยแยบคายได้บรรลุพระอรหัตทั้ง ๆ ที่อยู่บนหลังของอุบาสกนั้น ​ ฉะนี้ 
- 
-ศีลของกัลยาณปุถุชนทั้งหลายแม้ปราศจากมลทินเพียงชั่วจิตตุปบาทหนึ่ง ​ ก็สำเร็จเป็นปทัฏฐานแก่พระอรหัตได้เหมือนกัน ​ เพราะเป็นศีลที่บริสุทธิ์ยิ่งนับแต่อุปสมบทมา ​ เหมือนชาติมณีนายช่างเจียระไนดีแล้ว ​ และเหมือนทองคำที่นายช่างทำบริกรรมดีแล้ว ​ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น ​ ปริปุณณปาริสุทธิศีล ​ เหมือนศีลของพระมหาสังฆรักขิตเถระและพระสังฆรักขิตเถระผู้หลาน 
- 
-'''​เรื่องพระมหาสังขิตเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ภิกษุสงฆ์ได้เรียนถามถึงการบรรลุโลกุตตรธรรมกะพระมหาสังฆรักขิตเถระผู้มีพรรษาเกิน ​ 60  ไปแล้ว ​ ซึ่งนอนอยู่บนเตียงที่จะถึงแก่มรณภาพ ​ พระเถระตอบว่า ​ "​โลกุตตธรรมของฉันไม่มี" ​ ลำดับนั้น ​ ภิกษุหนุ่มอุปัฏฐากของท่านกราบเรียนว่า ​ "​ท่านขอ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 65)''</​fs></​sub>​ 
- 
-รับ ​ พวกมนุษย์ตั้ง 12 โยชน์ ​ โดยรอบประชุมกันด้วยสำคัญว่าท่านจะปรินิพพาน ​ ความเดือดร้อนใจจักมีแก่มหาชน ​ เพราะท่านถึงแก่มรณภาพเป็นปุถุชน" ​ พระเถระพูดว่า ​ "​เธอ ​ ฉันไม่เริ่มทำวิปัสนาด้วยคิดว่า ​ จักรอพบพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตย ​ ถ้าเช่นนั้น ​ เธอจงพยุงให้ฉันนั่ง ​ กระทำโอกาสให้ฉัน" ​ พระภิกษุหนุ่มนั้นพยุงให้พระเถระนั่งแล้วก็ออกไปข้างนอก ​ พร้อมกับการออกไปข้างนอกของภิกษุหนุ่มนั้นแล ​ พระเถระได้บรรลุพระอรหัต ​ แล้วได้ให้สัญญาด้วยการดีดนิ้วมือ ​ สงฆ์ประชุมกันแล้วเรียนว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ ท่านทำให้โลกุตตรธรรม ​ บังเกิดในเวลาใกล้จะมรณภาพเห็นปานนี้ ​ ชื่อว่าท่านได้กระทำสิ่งที่กระทำได้ด้วยยาก" ​ พระเถระตอบว่า ​ "​นี้ไม่ใช่สิ่งกระทำได้ด้วยยากดอก ​ อาวุโสทั้งหลาย ​ ก็แต่ว่าสิ่งที่กระทำได้ด้วยยาก ​ ฉันจักบอกแก่เธอทั้งหลาย ​ คือ ​ อาวุโสทั้งหลาย ​ นับจำเดิมตั้งแต่เวลาที่ฉันบวชแล้วมา ​ ฉันระลึกไม่ได้เลยว่ามีกรรมที่ฉันกระทำไปด้วยความไม่รู้โดยไม่มีสติ"​ 
- 
-ฝ่ายพระสังฆรักขิตเถระผู้หลานของท่าน ​ ก็ได้บรรลุพระอรหัตเหมือนอย่างเดียวกันในเวลามีพรรษา 50 ฉะนี้แล 
- 
-ภิกษุใด ​ ถ้าเป็นผู้มีสุตะน้อยทั้งเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล ​ บัณฑิตทั้งหลายย่อมจะครหาภิกษุนั้นได้ ​ โดยศีลและโดยสุตะทั้งสองสถาน 
- 
-ภิกษุใด ​ ถ้าเป็นผู้มีสุตะน้อยแต่เป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ​ บัณฑิตทั้งหลายย่อมจะสรรเสริญภิกษุนั้นโดยศีล ​ แต่สุตะย่อมไม่สำเร็จแก่เธอ 
- 
-ภิกษุใด ​ ถ้าเป็นผู้มีสุตะมากทั้งเป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ​ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้น ​ โดยศีลและสุตะทั้งสองสถาน 
- 
-ใครเล่า ​ ควรที่จะนินทาพระสาวกนั้น ​ ผู้พระหุสูตทรงธรรม ​ มีปัญญาดี ​ ดุจแท่งแห่งทองคำชมพูนท ​ พระพุทธสาวกนั้น ​ แม้ฝูงเทวดาก็เชยชม ​ ทั้งพรหมก็สรรเสริญ 
- 
-อนึ่ง ​ ศีลของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ​ พึงทราบว่าเป็น ​ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ​ เพระเป็นศีลที่ไม่ได้ลูบคลำด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ศีลที่ไม่ลูบคลำด้วยอำนาจแห่งราคะของปุถุชนทั้งหลายพึงทราบว่า ​ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ​ เหมือนศีลของพระกุฏุมพิยปุตตติสสเถระ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 66)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องพระกุฎฎุมพิยปุตตติสสเถระ'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ พระผู้เป็นเจ้ากุฎุมพิยปุตตติสสเถระนั้น ​ อาศัยศีลเห็นปานนั้นแล้วเป็นผู้ปรารถนาที่จะตั้งตนไว้ในพระอรหัต ​ จึงได้กล่าวรับรองกับหมู่โจรผู้ไพรีก์ว่า 
- 
-อาตมาจักทำลายเท้าทั้งสอง ​ แล้วทำสัญญาให้แก่ท่านทั้งหลาย ​ ข้าพเจ้าย่อมรังเกียจย่อมละอายต่อความตายที่ยังมีราคะ 
- 
-ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้แล้วจึงพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยแยบคาย ​ ก็ได้บรรลุพระอรหัตเมื่อรุ่งอรุณพอดี 
- 
-'''​เรื่องพระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่ง'''​ 
- 
-แม้พระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่งนั้น ​ ต้องอาพาธอย่างหนัก ​ ไม่อาจที่จะฉันแม้อาหารด้วยมือของตนได้ ​ นอนกลิ้งเกลือกอยู่ในมูตรและกรีสของตน ​ ภิกษุหนุ่มรูปใดรูปหนึ่งเห็นอาการของท่านนั้นแล้วพูดว่า ​ "​โอ ! สังขารคือชีวิตเป็นทุกข์" ​ พระมหาเถระได้พูดกับภิกษุหนุ่มนั้นว่า ​ "​เธอ ​ ฉันตายลงเดี๋ยวนี้ก็จักได้สวรรค์สมบัติ ​ ฉันไม่มีความสงสัยในข้อนี้ ​ ขึ้นชื่อว่าสมบัติที่ได้มาเพราะทำลายศีลนี้ ​ ก็เป็นเช่นเดียวกับได้ความเป็นคฤหัสถ์เพราะบอกคืนสิกขา" ​ ครั้นแล้วจึงได้ตั้งใจว่า ​ "​เราจักตายพร้อมกับศีลนี้นั่นเทียว" ​ นอนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละพิจารณาโรคนั้น ​ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ​ จึงได้พยากรณ์แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยนิพนธคาถาเหล่านี้ว่า - 
- 
-เมื่อข้าพเจ้าต้องพยาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ถูกโรคเสียดแทงเป็นทุกข์ขนาดหนัก ​ กเฬวรากอันนี้ก็เหี่ยวแห้งลงอย่างรวดเร็ว ​ เหมือนดอกไม้ที่เขาหมกไว้ในฝุ่นกลางแดด 
- 
-กเฬวรากนี้ ​ เป็นสิ่งไม่น่าพึงใจ ​ คนพาลกลับถือว่าเป็นสิ่งน่าพึงใจ ​ กเฬวรากนี้เป็นของไม่สะอาด ​ คนพาลกลับเห็นว่าเป็นของสะอาด ​ กเฬวรากนี้เต็มเพียบด้วยซากศพนานาชนิด ​ ก็ยังเป็นรูปอันน่าพึงใจสำหรับผู้มองไม่เห็นความจริง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 67)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ทุด ! ทุด ! ประชาชนทั้งหลายมัวเป็นผู้ประมาทเริงหลงอยู่ในกเฬวรากนี้ ​ อันอาดูร ​ เปื่อยเน่า ​ มีกลิ่นเหม็น ​ ไม่สะอาด ​ มีพยาธิประจำ ​ จนทำทางสำหรับสู่สุคติให้เสียไป 
- 
-อนึ่ง ​ ศีลของสัตบุรุษทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ​ พึงทราบว่า ​  ​ปฎิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ​ เพราะเป็นศีลที่บริสุทธิ์โดยทำความกระวนกระวายทั้งปวงให้สงบระงับ 
- 
-ศีล 5 อย่าง ​ โดยแยกเป็นปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายศีล 5 อย่าง ​ หมวดที่ 2'''​ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในศีล 5 อย่าง ​ หมวดที่ 2  ด้วยสามารถแห่งการ ​ ประหานบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ​ ดังต่อไปนี้ ​ สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า – 
- 
-ศีล 5 คือ ​ 1. ปหาน ​ การประหานซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น ​ ชื่อว่าศีล ​ 2.  เวรมณี ​ ความงดเว้น ​ ชื่อว่าศีล ​ 3.  เจตนา ​ ความจงใจ ​ ชื่อว่า ศีล ​ 4.  สํวร ​ ความระวัง ​ ชื่อว่า ศีล ​ 5.  อวีติกฺกม ​ ความไม่ล่วงละเมิด ​ ชื่อว่า ศีล 
- 
-การประหาน ​ ความงดเว้น ​ ความจงใจ ​ ความระวัง ​ ความไม่ล่วงละเมิด ​ ซึ่งอทินนาทาน…. กาเมสุมิจฉาจาร…. มุสาวาท…. ปิสุณาวาจา…. ผรุสวาจา…. สัมผัปปลาปะ… อภิชฌา…. พยาบาท…. มิจฉาทิฏฐิ ​ ชื่อว่าศีล 
- 
-การประหานกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ, ​ ประหานพยาบาทด้วยอัพยาบาท, ​ ประหานถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา, ​ ประหานอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ, ​ ประหานวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน, ​ ประหานอวิชชาด้วยญาณ, ​ ประหานอรติด้วยปราโมช, ​ ประหานนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน,​ ประหารวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน, ​ ประหานปีติด้วยตติยฌาน, ​ ประหานสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน, ​ ประหานรูปสัญญา ​ ปฏิฆสัญญา ​ อนัตตสัญญา ​ ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ, ​ ประหานอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ, ​ ประหานวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ, ​ ประหานอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 68)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประหานนิจจสัญญา ​  ​ด้วยอนิจจานุปัสสนา, ​ ประหานสุขสัญญา ​ ด้วยทุกขานุปัสสนา, ​ ประหานอัตตสัญญา ​ ด้วยอนัตตานุปัสสนา, ​ ประหานนันทิ ​ ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ​ ประหานราคะ ​ ด้วยวิราคานุปัสสนา, ​ ประหานสมุทัย ​ ด้วยนิโรธานุปัสสนา, ​ ประหานอมุญจิตุกามยะ ​ ด้วยมุญจิตุกามยตานุปัสสนา, ​ ประหานอาทานะ ​ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา, ​ ประหานฆมสัญญา ​ ด้วยขยานุปัสสนา, ​ ประหานอายูหนะ ​ ด้วยวยานุปัสสนา, ​ ประหานธุวสัญญา ​ ด้วยวิปริณามานุปัสสนา, ​ ประหานนิมิต ​ ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา, ​ ประหานปณิธิ ​ ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา, ​ ประหานอภินิเวสะ ​ ด้วยสุญญตานุปัสสนา, ​ ประหานสาราทานาภินิเวสะ ​ ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา, ​ ประหานสัมโมหาภินิเวสะ ​ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ, ​ ประหานอาลยาภินิเวสะ ​ ด้วยอาทีนวานุปัสสนา, ​ ประหานอัปปฏิสังขา ​ ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา,​ ประหานสังโยคาภินิเวสะ ​ ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา 
- 
-ประหารกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในฐานเดียวกับทิฎฐิ ​ ด้วยโสตาปัตติมรรค, ​ ประหานกิเลสชั้นหยาบทั้งหลาย ​ ด้วยสกทาคามิมรรค,​ ประหานกิเลสชั้นละเอียดทั้งหลาย ​ ด้วยอนาคามิมรรค, ​ ประหานกิเลสอย่างสิ้นเชิง ​ ด้วยอรหัตมรรค ​ ชื่อว่าศีล, ​ ความงดเว้น….ความจงใจ….ความระวัง….ความไม่ล่วงละเมิด….ชื่อว่าศีล 
- 
-ศีลเห็นปานดังนี้ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต ​ เป็นไปเพื่อปราโมช ​ เป็นไปเพื่อปัสสัทธิ ​ เป็นไปเพื่อโสมนัส ​ เป็นไปเพื่ออาเสวนะ ​ เป็นไปเพื่อภาวนา ​ เป็นไปเพื่อทำให้มาก ​ เป็นไปเพื่ออลังการ ​ เป็นไปเพื่อบริขาร ​ เป็นไปเพื่อบริวาร ​ เป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ ​ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ​ เพื่อความสำรอก ​ เพื่อความดับ ​ เพื่อความสงบ ​ เพื่อความรู้ยิ่ง ​ เพื่อความตรัสรู้ ​ เพื่อนิพพาน 
- 
-ก็แหละ ​ ในธรรม 5 อย่างนั้น ​ ธรรมอะไร ๆ ที่ชื่อว่าประหาน ​ ย่อมไม่มี ​ เป็นแต่เพียงเว้นความไม่บังเกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 69)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ โดยที่การประหานนั้น ๆ   ​ย่อมเป็นการรองรับ ​ และอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนั้น ๆ   ​และเป็นการดำรงอยู่โดยเรียบร้อย ​ เพราะไม่กระทำความเกะกะ ​ เพราะเหตุนั้น ​ การประหานจึงเรียกว่า ​ ศีล ​  ​เพราะอรรถว่า ​ ความปกติ ​ กล่าวคือความรองรับและความดำรงอยู่โดยเรียบร้อย ​ ซึ่งได้พรรณนามาแล้วในตอนต้นนั้นแล 
- 
-ธรรม 4 อย่างนอกนี้ ​ คือ ​ เวรมณี, ​ เจตนา, ​ สังวร ​ และอวีติกกมะ ​ ท่านกล่าวไว้โดยหมายเอาสภาพที่เป็นไปของจิต ​ ด้วยสามารถแห่งความงดเว้นจากบาปธรรมนั้น ๆ 1 ด้วยสามารถแห่งความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ 1  ด้วยสามารถแห่งความระวังซึ่งบาปธรรมนั้น ๆ 1 ด้วยสามารถแห่งความจงใจที่ประกอบด้วยความงดเว้นและความระวังทั้งสองนั้น 1 ด้วยสามารถแห่งความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ ของบุคคลผู้ไม่ล่วงละเมิดอยู่ 1 ส่วนอรรถาธิบายแห่งธรรม 4 อย่างนั้นที่ชื่อว่าศีล ​ ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้วในตอนต้นนั่นเทียว 
- 
-ศีล 5 อย่างโดยแยกเป็นปหานศีลเป็นต้น ​ ยุติด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ก็แหละ ​ การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ ​ คือ ​ อะไรชื่อว่าศีล 1  ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร 1 อะไรเป็นลักษณะ, ​ เป็นรส, ​ เป็นอาการปรากฎ ​ และเป็นปทัฎฐานของศีล 1  ศีลมีอานิสงส์อย่างไร 1  และศีลนี้มีกี่อย่าง 1  ดังนี้ ​ เป็นอันจบลงด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ 
- 
-==อะไรเป็นความเศร้าหมองเป็นความผ่องแผ้วของศีล== 
- 
-ปัญหากรรมใดที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า ​ อะไรเป็นความเศร้าหมองเป็นความผ่องแผ้วของศีล ​ นั้น ​ ข้าพเจ้าจะวิสัชนาในปัญหากรรมนั้นต่อไป ​ ดังนี้ -  ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้น ​ เป็นความเศร้าหมองของศีล ​ ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นความผ่องแผ้วของศีล 
- 
-===ความเศร้าหมองของศีล=== 
- 
-ก็แหละ ​ ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นนั้น ​ ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกซึ่งมีลาภและยศเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ​ ด้วยเมถุนสังโยค 7  ประการอย่างหนึ่ง 
- 
-จริงอย่างนั้น ​ ในบรรดาอาบัติ 7  กอง ​ สิกขาบทของภิกษุใดขาดเบื้องต้นหรือที่สุด ​ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ​ ศีลขาด ​ เหมือนผ้าที่ขาดชาย ​ ส่วนสิกขาบทของภิกษุใดขาดตรงกลาง ​ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ​ ศีลทะลุ ​ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน ​ สิกขาบทของ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 70)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุใดขาดสอง, ​ สาม ​ สิกขาบทไปตามลำดับ ​ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า ​ ศีลด่าง ​ เหมือนแม่โคมีสีเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้น ​ อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปรากฏขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ​ สิกขาบทของภิกษุใดขาดเป็นตอน ๆ ไป ​ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ​ ศีลพร้อย ​ เหมือนแม่โคลายเป็นจุดด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะ ๆ ไป 
- 
-ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นย่อมมีด้วยความแตกซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นเหตุ ​ ด้วยประการดังอธิบายมานี้ 
- 
-'''​เมถุนสังโยค 7'''​ 
- 
-ภาวะที่ศีลขาดด้วยอำนาจแห่งเมถุนสังโยค ​ 7  ประการ ​ มีอรรถาธิบายดังจะบรรยายต่อไปนี้ ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ – 
- 
-1. ดูก่อนพราหมณ์ ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ​ ปฏิญญาณตนว่าเป็น ​ พรหมจารีโดยชอบ ​ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่ ​ ก็แต่ว่ายังยินดี ​ การลูบคลำ, ​ การขัดสี, ​ การให้อาบและการนวดของมาตุคาม ​ เขายินดีต่อการปรารถนาต่อการบำเรอนั้น ​ และถึงซึ่งความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น ​ ดูก่อนพราหมณ์ ​ ความยินดีต่อการบำเรอแห่งมาตุคามนี้ ​ จัดเป็นความขาดบ้าง ​ ความทะลุบ้าง ​ ความพร้อยบ้าง ​ ของพรหมจรรย์ ​ ดูก่อนพราหมณ์ ​ สมณะหรือพราหมณ์นี้เรากล่าวว่า ​ เขาประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ​ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ​ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ​ ชรา ​ มรณะ ฯลฯ ​ เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-2. ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ​ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ​ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย ​ แม้การลูบคลำ…. ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ​ ก็แต่ว่ายังกระซิกกระซี้เล่นหัวและยังล้อเลียนกับมาตุคามอยู่ ​ เขายินดีต่อการกระซิกกระซี้เป็นต้นนั้น… เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-3. ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ​ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ​ หาได้ถึงความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย ​ แม้การลูบคลำ…. ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ​ ทั้งไม่กระซิกกระซี้ ​ ไม่เล่นหัว ​ ไม่ล้อเลียนกับมาตุคาม ​ ก็แต่ว่ายังชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ​ เขายินดีต่อการเพ่งดูนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 71)''</​fs></​sub>​ 
- 
-4.  ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย ​ แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี ​ ทั้งมิได้กระซิกกระซี้เล่นหัว ​ ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ​ ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ​ ก็แต่ว่ายังชอบฟังเสียงของมาตุคาม ​ หัวเราะอยู่ก็ดี ​ พูดอยู่ก็ดี ​ ร้องเพลงอยู่ก็ดี ​ ร้องให้อยู่ก็ดี ​ ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม ​ เขายินดีต่อเสียงนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-5.  ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย ​ แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี ​ ทั้งมิได้กระซิกกระซี้เล่นหัว ​ ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ​ ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ​ ทั้งไม่ชอบฟังเสียงมาตุคาม ​ หัวเราะอยู่ก็ดี ​ พูดอยู่ก็ดี ​ ร้องเพลงอยู่ก็ดี ​ ร้องไห้อยู่ก็ดี ​ ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม ​ ก็แต่ว่ายังระลึกถึงซึ่งการหัวเราะและการพูดจาและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน ​ เขายินดีต่อความเก่านั้น… เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-6.  ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย ​ แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี…. แม้การหัวเราะการพูดเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน ​ ก็มิได้ระลึกถึง ​ ก็แต่ว่าเขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ​ บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5  อย่างอิ่มเอิบเพียบพร้อม ​ เขายินดีต่อการบำเรอนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์ 
- 
-7.  ดูก่อนพราหมณ์ ​ อีกประการหนึ่ง ​ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย … หาได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ​ ผู้บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5  อย่างอิ่มเอิบเพียบพร้อมแล้วยินดีไม่ ​ ก็แต่ว่าเขาประพฤติพรหมจรรย์โดยปรารถนาเป็นเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่งว่า ​ "​เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่งด้วยศีลอันนี้ ​ ด้วยพรตอันนี้ ​ ด้วยตบะอันนี้ ​ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้" ​ เขายินดีปรารถนาต่อความเป็นเทพนั้น ​ และย่อมถึงซึ่งความปลาบปลื้มด้วยความเป็นเทวดานั้น ​ ดูก่อนพราหมณ์ ​ ความยินดีด้วยความเป็นเทวดาแม้นี้ ​ จัดเป็นความขาดบ้าง ​ ความทะลุบ้าง ​ ความด่างบ้าง ​ ความพร้อยบ้าง ​ ของพรหมจรรย์ ​ ฉะนี้แล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 72)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้น ​ ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกซึ่ง ​ มีลาภเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ​ ด้วยเมถุนสังโยค 7  ประการอย่างหนึ่ง ​ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ 
- 
-===ความผ่องแผ้วของศีล=== 
- 
-ก็แหละ ​ ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น ​ ท่านสงเคราะห์ด้วยความไม่แตกแห่งสิกขาบททั้งหลายโดยสิ้นเชิง 1  ด้วยการกระทำคืนสิกขาบทที่ทำคืนได้ซึ่งแตกแล้ว 1  ด้วยความไม่มีเมถุนสังโยค 7  ประการ 1  ด้วยข้อปฏิบัติอื่น ๆ  คือความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมี ​ อาทิ ​ เช่น ​ ความโกรธ ​ ความผูกโกรธ ​ ความลบหลู่ ​ ความริษยา ​ ความตระหนี่ ​ ความมารยา ​ ความโอ้อวด ​ ความหัวดื้อ ​ ความแข่งดี ​ ความถือตัว ​ ความดูหมิ่น ​ ความมัวเมา ​ ความเลินเล่อ 1  ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งคุณทั้งหลายมีอาทิเช่น ​ ความมักน้อย ​ ความสันโดษ ​ ความขัดเกลา 1 
- 
-จริงอยู่ ​ ศีลเหล่าใดแม้ไม่ขาดเพื่อต้องการลาภเป็นต้นก็ดี ​ แม้ศีลที่ขาดไปด้วยโทษ ​ คือความประมาทแต่กระทำคืนแล้วก็ดี ​ ศีลที่อันเมถุนสังโยคหรือบาปธรรมทั้งหลายมีความ ​ โกรธและความผูกโกรธเป็นต้น ​ ไม่ได้เข้าไปทำลายแล้วก็ดี ​ ศีลเหล่านั้นเรียกว่า ​ ไม่ขาด ​ ไม่ทะลุ ​ ไม่ด่าง ​ ไม่พร้อย ​ โดยประการทั้งปวง ​ และศีลเหล่านั้นแหละ ​ ชื่อว่า ​ ภุชิสสะ ​ เพราะสร้างความเป็นไท ​ ชื่อว่า ​ วิญญุปสัตถะ ​ เพราะผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ ​ ชื่อว่า ​ อปรามัฏฐะ ​ เพราะตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายไม่ถูกต้องแล้ว ​ ชื่อว่า ​ สมาธิสังวัตตนิกะ ​ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้วของศีลทั้งหลายเหล่านั้น 
- 
-ก็แหละ ​ ความผ่องแผ้วนี้นั้น ​ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเหตุ 2  ประการ ​ คือ ​ ด้วยการ ​ มองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ 1  ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ 1 
- 
-'''​โทษแห่งศีลวิบัติ'''​ 
- 
-ในเหตุ 2  ประการนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบโทษแห่งศีลวิบัติโดยสุตตันตนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ โทษแห่งศีลวิบัติของภิกษุผู้ทุศีลมี 5  อย่างเหล่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 73)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ บุคคลผู้ทุศีล ​ เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีล ​ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ​ เป็นผู้อันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึงพร่ำสอน ​ เป็นผู้มีทุกข์ในเพราะการครหาความเป็นผู้ทุศีล ​ เป็นผู้มีความร้อนใจในเพราะการสรรเสริญของผู้มีศีลทั้งหลาย ​ แหละเพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นเหตุ ​ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง ​  ​เหมือนผ้าเปลือกไม้ ​ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมผัสหยาบ ​ เพราะนำอบายทุกข์มาให้แก่คนทั้งหลายผู้ถึงซึ่งการเอาเยี่ยงอย่างของเขาตลอดกาลนาน ​ ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณค่าน้อย ​ เพราะทำไม่ให้มีผลมาก ​ แก่ผู้ที่ตนรับปัจจัยธรรมของเขา ​ เป็นผู้ล้างให้สะอาดได้ยาก ​  ​เหมือนหลุมคูถที่หมักหมมไว้นานปี ​ เป็นผู้เสื่อมจากประโยชน์ทั้ง 2  เหมือนดุ้นฟืนเผาศพ ​ ถึงแม้จะปฏิญญาณตนว่าเป็นภิกษุ ก็ไม่เป็นภิกษุอยู่นั่นแหละ ​ เหมือนฬาที่ติดตามฝูงโค ​ เป็นผู้หวาดสะดุ้งเรื่อย ๆ ไป ​ เหมือนคนมีเวรอยู่ทั่วไป ​ เป็นผู้ไม่ควรแก่การอยู่ร่วม ​ เหมือนกเฬวรากของคนตาย ​ แม้ถึงจะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ​ มีสุตะเป็นต้นก็ตาม ​ ยังเป็นผู้ไม่ควรแก่การบูชา ​ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง ​ เหมือนไฟในป่าช้าไม่ควรแก่การบูชาของพราหมณ์ทั้งหลาย ​ เป็นผู้ไม่ควรในอันที่จะบรรลุธรรมวิเศษเหมือนคนตาบอดไม่ควรในการดูรูป ​ เป็นผู้หมดหวังในพระสัทธรรม ​ เหมือนเด็กจัณฑาลหมดหวังในราชสมบัติ ​ แม้ถึงจะสำคัญอยู่ว่าเราเป็นสุข ​ ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์อยู่นั่นเทียว ​ เพราะเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ดังที่ตรัสไว้ใน ​ อัคคิกขันธปริยายสูตร 
- 
-จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงประจักษ์แจ้งกรรมและวิบากของกรรมโดยประการทั้งปวง ​ เมื่อจะทรงแสดงทุกข์อันเผ็ดร้อนยิ่งซึ่งมีความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นปัจจัย ​ อันสามารถจะทำความรุ่มร้อนแห่งใจให้เกิด ​ แล้วบันดาลความกระอักเลือดอย่างสด ๆ ให้เป็นไป ​ แม้เพียงแต่ระลึกถึง ​ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ทุศีล ​ มีจิตกำหนัดด้วยความยินดีในสุขอันเกิดแก่การบริโภคเบญจกามคุณ ​ และสุขเกิดแต่การกราบไหว้การนับถือเป็นต้น ​ จึงได้ตรัสพระพุทธโอวาทไว้ ​ ดังนี้ – 
- 
-'''​อัคคิกขันธสูตร'''​ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอเห็นหรือไม่ ​ โน่น ​ กองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่ ​ พวกภิกษุกราบทูลว่า ​ อย่างนั้นพระเจ้าข้า ​ ตรัสต่อไปว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้ง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 74)''</​fs></​sub>​ 
- 
-หลาย ​ พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ?  คือการที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอน ​ กอดกองไฟใหญ่ซึ่งลุกติดเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่น ​ เป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​ หรือว่าการที่ภิกษุพึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์ ​ นางสาวพราหมณ์ ​ หรือนางสาวคหบดี ​ ผู้มีมือและเท้าอ่อนนุ่มเหมือนปุยนุ่น ​ เป็นสิ่งประเสริฐเล่า ? 
- 
-พวกภิกษุกราบทูลว่า ​ การที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์, ​ นางสาวพราหมณ์หรือนางสาวคหบดี ​ ผู้มีมือและเท้าอันอ่อนนุ่มนิ่มเหมือนปุยนุ่น ​ นี้แหละเป็นสิ่งประเสริฐพระพุทธเจ้าข้า ​ เพราะว่าการที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนั้น ​ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า 
- 
-ตรัสต่อไปว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เราจะบอกเธอทั้งหลาย ​ จะแนะนำเธอทั้งหลาย ​ ให้รู้แจ้ง ​ การที่พึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนี้นั้นแลเป็นสิ่งประเสริฐ ​ สำหรับภิกษุนั้นผู้มีศีลเลว ​ มีธรรมลามก ​ มีความประพฤติไม่สะอาด ​ น่ารังเกียจ ​ มีการงานเร้นลับ ​ ไม่ใช่สมณะปฏิญญาณว่าเป็นสมณะ ​ ไม่ใช่พรหมจารีปฏิญญาณว่าเป็นพรหมจารี ​ เป็นผู้เน่าใน ​ ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส ​ รกเป็นหยากเยื่อ ​ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะว่าภิกษุผู้ทุศีลนั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือความทุกข์ขนาดปางตาย ​ เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุก็ตาม ​ ก็แต่ว่าเขาจะไม่พึงเข้าถึงอบาย,​ ทุคติ, ​ วินิบาต, ​ นรก, ​ เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ​ เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นปัจจัย 
- 
-ครั้นทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการบริโภคเบญจกามคุณอันเนื่องด้วยสตรีเป็นปัจจัย ​   โดยอุปมาด้วยกองไฟอย่างนี้แล้ว ​ จึงได้ทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการกราบไหว้การประนมมือ ​ และการบริโภคจีวร, ​ บิณฑบาต, ​ เตียง, ​ ตั่ง, ​ วิหารเป็นปัจจัย ​ โดยอุปมาด้วยเชือกขนหางสัตว์,​ หอกคม, ​ แผ่นเหล็ก, ​ ก้อนเหล็ก, ​ เตียงเหล็ก, ​ ตั่งเหล็กและหม้อเหล็กทั้งหลายเหล่านี้ว่า – 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?  คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาเชือกขนหางสัตว์ ​ ชนิดที่มั่นเหนียวพันแข้งทั้งสองแล้วสีไปมา ​ เชือกนั้นจะพึงตัดผิว ​ ครั้นตัดผิวแล้วจะพึงตัดหนัง ​ ครั้นตัดหนังแล้วจะพึงตัดเนื้อ ​ ครั้นตัดเนื้อแล้วจะพึงตัดเอ็น ​ ครั้นตัดเอ็นแล้วจะพึงตัดกระดูก ​ ครั้นตัดกระดูกแล้วจะพึงตัดจรดเยื่อกระดูก ​ นี้เป็นสิ่งประ- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 75)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เสริฐหรือ ​   หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงยินดีกราบไห้วของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์ มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล ​ เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?   ​คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาหอกอันคมซึ่งชะโลมด้วยน้ำมันทิ่มเข้าตรงกลางอก ​ นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลยินดีการประนมมือของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล ​ เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ​ ?  คือการที่บุรุษผู้มีกำลังจะพึงเอาแผ่นเหล็กที่ร้อน ​  ​ไฟติดลุกเป็นเปลว ​ มีแสงโชติช่วง ​ มาหุ้มเข้ากับกาย ​ นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงนุ่งห่มจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์หรือเหล่าคหบดีมหาศาล ​ เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​  ​พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?  คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาคีมเหล็กที่ร้อน ​  ​ไฟติดลุกเป็นเปลว ​  ​มีแสงโชติช่วง ​  ​มางัดปากแล้ว ​  ​พึงใส่ก้อนเหล็กที่ไฟติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงเข้าในปาก ​  ​ก้อนเหล็กที่ร้อนนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ​  ​ปากบ้าง ​  ​ลิ้นบ้าง ​  ​ลำคอบ้าง ​  ​ท้องบ้าง ​  ​ของภิกษุผู้ทุศีลนั้น ​  ​พาเอาทั้งไส้ใหญ่ไส้น้อยออกมายังส่วนเบื้องล่าง ​  ​นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​  ​หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงฉันบิณฑบาตที่เขาให้ด้วยศรัทธา ​  ​ของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาลเป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ ​ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​  ​พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?  คือ ​  ​บุรุษผู้มีกำลังจับที่ศรีษะหรือที่คอ ​  ​แล้วพึงให้นั่งหรือให้นอนบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กที่ร้อน ​  ​อันไฟติดลุกเป็นเปลวโชติช่วงอยู่ ​  ​นั้นเป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​  ​หรือว่าการที่ภิกษุใช้ตั่งเหล็กที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล ​  ​เหล่าพราหมณ์มหาศาล ​  ​หรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสี่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ ​ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ?  คือบุรุษผู้มีกำลัง ​ จะพึงจับทำให้มีเท้าขึ้นเบื้องบนมีศรีษะลงเบื้องล่าง ​ แล้วใส่ลงในหม้อเหล็กที่ร้อน ​ อันไฟติดลุกเป็นเปลว ​ มีแสงโชติช่วง ​ เขาถูกต้มเดือดพล่านเป็นฟอง ​ บางทีก็ลอยขึ้นมา ​ บางทีก็พึงจม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 76)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ลงไป ​ บางทีก็ลอยขวางไป ​ นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ ​ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลจะพึงใช้วิหารที่เขาให้ด้วยศรัทธา ​ ของเหล่ากษัตริย์มหาศาล ​ เหล่าพราหมณ์มหาศาล ​ หรือเหล่าคหบดีมหาศาล ​ เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ​ ฯลฯ  ​ 
- 
-===คำบริกรรมโทษที่ทุศีล=== 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ นักศึกษาพึงทราบการมองเห็นโทษในศีลวิบัติ ​ ด้วยการพิจารณามี ​ อาทิอย่างนี้ว่า 
- 
-ความสุขของภิกษุผู้มีศีลขาด ​ ไม่สละกามสุขอันมีผลเป็นทุกข์เผ็ดร้อนยิ่งกว่าทุกข์ในการกอดกองไฟ ​ จักมีแต่ที่ไหน 
- 
-ความสุขในอันยินดีการกราบไหว้ ​ ของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ​ ผู้มีส่วนแห่งทุกข์ ​ ยิ่งกว่าทุกข์ในการเสียดสีแห่งเชือกขนหางสัตว์อันมั่นเหนียว ​ จักมีได้อย่างไรเล่า 
- 
-ความสุขในการยินดีต่อการประณมมือ ​ ของผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ​ ของภิกษุผู้ไม่มีศีล ​ ผู้มีทุกข์อันมีประมาณยิ่งกว่าทุกข์เกิดแต่การทิ่มแทงด้วยหอก ​ เหตุไรจึงจักมีได้เล่า 
- 
-ความสุขในการบริโภคจีวร ​ ของภิกษุผู้ไม่สำรวมแล้ว ​ ผู้จะต้องเสวยสัมผัสแผ่นเหล็กอันลุกโชนในนรกสิ้นกาลนาน ​ จักมีได้อย่างไร 
- 
-สำหรับภิกษุผู้ไม่มีศีล ​ แม้บิณฑบาตจะมีรสอร่อยก็เปรียบเหมือนยาพิษอันร้ายแรง ​ เพราะมันเป็นเหตุให้กลืนกินก้อนเหล็กแดงตลอดกาลนาน 
- 
-การใช้เตียงและตั่ง ​ ของภิกษุผู้ไม่มีศีล ​ ซึ่งจะต้องถูกเตียงและตั่งเหล็กอันลุกโชนเบียดเบียนตลอดกาลนาน ​ แม้เขาจะสำคัญว่าเป็นสุข ​ ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์ 
- 
-จะน่ายินดีอะไร ​ ในการอยู่ในวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ​ สำหรับภิกษุผู้ทุศีล ​ เพราะมันเป็นเหตุให้ต้องตกไปอยู่ในกลางหม้อเหล็กอันลุกโชน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 77)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นครูของโลก ​ ได้ตรัสครหาภิกษุผู้ทุศีลว่า ​ เป็นผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ ​ รกเป็นอยากเยื่อ ​ ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส ​ ลามกและเน่าใน 
- 
-ทุด ! ทุด ! ชีวิตของภิกษุผู้ไม่สำรวมนั้น ​ ทรงเพศสมณชน ​ แต่ไม่ใช่สมณะ ​ พาตนซึ่งถูกโค่นถูกขุดไปอยู่ 
- 
-สัตบุรุษผู้มีศีลทั้งหลายในโลกนี้ ​ หลีกเว้นภิกษุผู้ทุศีลใด ​ เหมือนพวกคนรักในการประดับตน ​ หลีกเลี่ยงคูถหลีกเลี่ยงซากศพ ​ ชีวิตของภิกษุผู้ทุศีลนั้น ​ จะมีประโยชน์อะไร 
- 
-ภิกษุผู้ทุศีล ​ เป็นผู้ไม่พ้นจากภัยทั้งปวง ​ กลับเป็นผู้พ้นจาก ​ อธิคมสุขคือสุขอันตนจะพึงบรรลุอย่างสิ้นเชิง ​ เป็นผู้มีประตูสวรรค์ ​ อันถูกปิดสนิทแล้ว ​ เลยไปขึ้นสู่ทางแห่งอบาย 
- 
-บุคคลอื่นใครเล่า ​ ที่จะเป็นที่ตั้งแห่งความกรุณาของบุคคลผู้มีความกรุณาเสมอเหมือนภิกษุผู้ทุศีล ​ โทษแห่งความเป็นผู้ทุศีลมีมากอย่างหลายประการดังพรรณนามา ​ ฉะนี้ 
- 
-===คำบริกรรมอานิสงส์ที่มีศีล=== 
- 
-ส่วนการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ ​ โดยประการตรงกันข้ามจากประการที่กล่าวมาแล้ว ​ นักศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้ – 
- 
-อีกประการหนึ่ง 
- 
-ศีลของภิกษุใดปราศจากมลทินดีแล้ว ​ การทรงบาตรและจีวรของภิกษุนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเลื่อมใส ​ บรรพชาของท่านก็เป็นสิ่งที่มีผล  ​ 
- 
-ดวงหทัยของภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ​ ย่อมไม่หยั่งลงสู่ภัย ​ มีการติเตียนตนเองเป็นต้น ​ เป็นเหมือนพระอาทิตย์ที่ไม่หยั่งลงสู่ความมืดมน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 78)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุงามอยู่ในป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะด้วยศีลสมบัติ ​ เหมือนพระจันทร์งามในท้องฟ้าด้วยสมบัติคือรัศมี 
- 
-แม้เพียงกลิ่นกายของภิกษุผู้มีศีล ​ ก็ยังทำความปราโมชให้ ​ แม้แก่ฝูงทวยเทพ ​ ไม่จำต้องกล่าวถึงกลิ่นคือศีล 
- 
-กลิ่น ​ คือ ​ ศีล ย่อมครอบงำสมบัติแห่งคันธชาติ ​ คือของหอมทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง ​ ย่อมฟุ้งตลบไปทั่วทุกทิศไม่มีการติดขัด 
- 
-สักการะทั้งหลายที่บุคคลกระทำแล้วในภิกษุที่มีศีล ​ แม้จะเป็นของเล็กน้อย ​ ก็ย่อมมีผลมาก ​ ภิกษุผู้มีศีลย่อมเป็นภาชนะรองรับเครื่องบูชาสักการะ 
- 
-อาสวะทั้งหลายในปัจจุบัน ​ ก็เบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลไม่ได้ ​ ภิกษุผู้มีศีลย่อมขุดเสียซึ่งรากแห่งทุกข์อันจะพึงมีในชาติเบื้องหน้าทั้งหลาย 
- 
-สมบัติอันใดในโลกมนุษย์ ​ และสมบัติอันใดในโลกเทวดา ​ สมบัติอันนั้น ​ อันผู้มีศีลถึงพร้อมแล้วปรารถนาอยากจะได้ ​ ก็เป็นสิ่งจะพึงหาได้โดยไม่ยาก 
- 
-อนึ่ง ​ นิพพานสมบัติอันสงบอย่างหาที่สุดมิได้นี้ใด ​ ใจของผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ​ ย่อมแล่นตรงแน่วไปสู่นิพพานสมบัตินั้นนั่นเทียว 
- 
-บัณฑิต ​ พึงแสดงอานิสงส์อันมากหลายเป็นอเนกประการ ​ ในศีลอันเป็นมูลแห่งสมบัติทั้งปวง ​ โดยประการดังพรรณนามาแล้ว ​ นั่นเถิด ​ เพราะว่า ​ เมื่อบัณฑิตแสดงอยู่โดยประการอย่างนั้น ​ จิตใจก็จะหวาดเสียวแต่ศีลวิบัติแล้วน้อมไปหาศีลสมบัติได้ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ โยคีบุคคลครั้นมองเห็นโทษของศีลวิบัตินี้และมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัตินี้ ​ ตามที่ได้บรรยายมาแล้ว ​ พึงชำระศีลให้ผ่องแผ้วด้วยความเอื้อเฟื้อ ​ โดยประการทั้งปวง ​ เทอญ  ​ 
- 
-ก็แหละ ​ โดยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ ​ เป็นอันข้าพเจ้าได้แสดงแล้วซึ่ง ​ ศีล ​ อันเป็นประการแรก ​ ในปกรณ์วิสุทธิมัคค ​ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยมุขคือศีล, ​ สมาธิและปัญญาด้วยพระพุทธนิพนธคาถานี้ว่า – 
- 
-นรชน ​ ผู้มีปัญญา ​ เป็นภิกษุ ​ มีความเพียร ​ มีปัญญาเครื่องบริหาร ​ ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ ​ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้ 
- 
-'''​สีลนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 1'''​ 
- 
-'''​ในปกรณ์วิเสส ​ ชื่อว่าวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นเพื่อความปารโมชแห่งสาธุชน'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​-----------------------------------'''​ 
- 
-=ดูเพิ่ม= 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​