(เรื่องนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของท่านอาจารย์แลดี โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ควรท่องจำบาลีทั้งหมดที่ผมได้รวบรวมลิงก์ไว้ในในบทความเรื่องปรมัตถ์ตามลิงก์นี้ แล้วแทงตลอดให้ได้ก่อนค่อยมาอ่าน จึงจะไม่เป็นโทษ)
ตตฺถ ปจฺจุปฺปนฺนํ ปรสฺส จิตฺตํ ชานนกาเล อาวชฺชนํ ภาวยํ ปรสฺส จิตฺตํ อตฺตนา สหุปฺปนฺนํฯ ตํ วา อาวชฺชติฯ อุทาหุ ปรโต ตํ ตํ ชวเนน สหุปฺปนฺนํวาฯ ชวนานิจยํ อาวชฺชเนน สหุปฺปนฺนํ ตํ วา ชานนฺติ, ปจฺเจกํ อตฺตนา สหุปฺปนฺนํวาติฯ
ถามว่า อาวัชชนจิตที่เกิดตอนรู้ปัจจุบันจิตของคนอื่นนั้น มีอารมณ์เป็นจิตของคนอื่นที่เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิตนั้น หรือว่า มีอารมณ์เป็นจิตในภายหลังที่เกิดพร้อมกับชวนจิตดวงหลังๆ? และชวนะจิตที่เกิดตามมามีอารมณ์เป็นจิตที่เกิดพร้อมกับชวนจิตนั้น หรือ มีอารมณ์เป็นจิตที่เกิดพร้อมกับชวนะแต่ละดวงต่างหาก?
กิญฺเจตฺถ, ยทิ ตาว อาวชฺชเนน สหุปฺปนฺนํ อาวชฺชติ ชานนฺติจฯ เอวํ สติ ธมฺมโต อภินฺนํ โหติฯ กาลโต ภินฺนํฯ ตญฺหิ จิตฺตํ อาวชฺชนสฺส ปจฺจุปฺปนฺนํ โหติฯ ชวนานํ ปน อตีตนฺติฯ อถ ปจฺเจกํ อตฺตนา สหุปฺปนฺนํ อาวชฺชติ ชานนฺติจฯ เอวญฺจ สติ กาลโต อภินฺนํ โหติฯ ธมฺมโต ภินฺนเมวฯ อถปิ ยํ ปจฺเจกํ สหุปฺปนฺนํ ชานนฺติฯ ตเทว อาวชฺชติฯ เอวํปิ ภินฺนเมว โหตีติฯ
ถ้าเป็นอย่างข้อแรก คือ ทั้งอาวัชชนจิตและชวนจิตมีอารมณ์เป็นจิต(ของคนอื่น)ที่เกิดพร้อมกับอาวัชชวนจิตเหมือนกัน อย่างนี้ธรรมที่เป็นอารมณ์เป็นสภาวะเดียวกันแต่เป็นคนละกาลหน่ะสิ เพราะจิตที่เป็นอารมณ์จะเป็นปัจจุบันของอาวัชชนะจิตแต่เป็นอดีตของชวนจิต. แต่ถ้าทั้งอาวัชชนจิตและชวนจิตต่างก็แยกกันมีอารมณ์เป็นปัจจุบันจิต(ของคนอื่น)ที่เกิดพร้อมกับตน อย่างนี้ธรรมที่เป็นอารมณ์เป็นกาลเดียวกันแต่เป็นคนละสภาวะหน่ะสิ.
เอตฺถ อฏฺฐกถายํ ตาว ยํ อาวชฺชเนน สหุปฺปนฺนํฯ ตเทว อาวชฺชติ ชานนฺติจาติ ธมฺมโต อภินฺนํ วตฺวา ตํ จิตฺตํ นิรุทฺธํปิ อทฺธาวเสน สนฺตติวเสนจ คหิตํ ชวนานํปิ ปจฺจุปฺปนฺนเมว โหตีติ วินิจฺฉิตํฯ อาจริยานนฺทมเตน ปน ปรสฺส ตํ ตํ อาการํ สลฺลกฺเขตฺวา ตํ ตํ อธิปฺปายชานนกาเล อาวชฺชนชวนานิ ปจฺเจกํ อตฺตนา สหุปฺปนฺนํ จิตฺตํ อาวชฺชติ ชานนฺติ จฯ น เจตฺถ ธมฺมโต กาลโตจ ภินฺนํนาม โหติฯ สพฺเพสํปิ หิ อารมฺมณํ จิตฺตเมว โหติ ปจฺจุปฺปนฺนญฺจาติฯ น จ ชวนานิ นิราวชฺชนานินาม โหนฺติฯ อาวชฺชเนนปิ หิ จิตฺตนฺเตว อาวชฺชิตํ โหติฯ ชวนานิจ จิตฺตนฺเตว ชานนฺตีติฯ
เรื่องนี้ อันดับแรกจะขอยกวินิจฉัยของอรรถกถาก่อนว่า "ทั้งอาวัชชนจิตและชวนจิตก็มีอารมณ์เป็นจิตที่เกิดพร้อมกับชวนจิตนั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวสภาวะธรรมที่เป็นอารมณ์ไว้ว่าเป็นอย่างเดียวกันแล้วนับเอาจิตที่เป็นอารมณ์แม้ที่ดับไปแล้วนั่นแหละด้วยอำนาจปัจจุบันอัทธาและปัจจุบันสันตติ แม้ชวนะก็เลยมีอารมณ์(เดียวกัน)ที่เป็นปัจจุบันไปด้วย". แต่พระอานันทาจารย์มีมติว่า "ในกาลที่กำหนดอาการนั้นๆของคนอื่นแล้วรู้ความประสงค์ อาวัชชนะจิตและชวนจิต ต่างก็แยกกันมีอารมณ์เป็นจิต(ของคนอื่น)ที่เกิดพร้อมกับตนเป็นอารมณ์ คือ ในมตินี้ จิตที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ไม่ต่างกันทั้งโดยสภาวะและโดยกาล เพราะสภาวะที่เป็นอารมณ์ทั้งของอาวัชชนจิตและชวนจิตก็คือจิต(ของคนอื่น)นั่นแหละและก็เป็นจิตที่เป็นกาลปัจจุบันด้วย. และชวนทั้งหลายก็จะไม่ชื่อว่าไม่มีอาวัชชนะด้วย เพราะจิตนั่นเองได้ถูกอาวัชชนจิตอาวัชนะว่า "จิต" แล้ว และจิตนั่นเองได้ถูกชวนะจิตรู้ว่า "จิต" แล้วเช่นกัน.
ยทิ ปน อาวชฺชเนน จิตฺตนฺติ อาวชฺชิเต ชวนานิ รูปนฺติ ชานนฺติฯ รูปนฺติวา อาวชฺชิเต จิตฺตนฺติ ชานนฺติ, นีลนฺติวา อาวชฺชิเต ปีตนฺติ ชานนฺติฯ เอวํ สติ ชวนานิ ธมฺมโต นิราวชฺชนานิ นาม โหนฺติฯ ตถา อตีตนฺติ อาวชฺชิเต ปจฺจุปฺปนฺนนฺติฯ เอวญฺจ สติ ตานิ กาลโต นิราวชฺชนานินาม โหนฺตีติฯ ยสฺมา จ อตีโต ธมฺโม ปจฺจุปฺปนฺนสฺส ธมฺมสฺส อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโยติ ปฏฺฐาเน วุตฺโตฯ ตสฺมา อิธ ขณวเสเนว ปจฺจุปฺปนฺนํ วตฺตุํ ยุตฺตํฯ น อทฺธาสนฺตติ วเสนาติฯ อิตรถา สพฺพ วีถิจิตฺตวาเรสุปิ อารมฺมณานํ อตีตาทิภาโว อทฺธาสนฺตติวเสเนว วตฺตพฺโพ สิยาติฯ
แต้ถ้าเป็นอย่างที่ว่า 'เมื่ออาวัชชนจิตอาวัชนะว่า "จิต" แล้วชวนะจิตไปรู้ว่า "รูป"' หรือ 'เมื่อจิตอาวัชนะว่า "รูป" แล้วจิตชวนะรู้ว่า "จิต"' หรือ 'เมื่อจิตอาวัชนะว่า "เขียว" แล้วจิตชวนะรู้ว่า "เหลือง"' อย่างนี้ชวนจิตก็จะชื่อว่า ไม่มีอาวัชชนะไปเสียได้ ฉันใดก็ฉันนั้น 'เมื่อจิตอาวัชชนะว่า "อดีต" แล้วจิตที่ชวนะรู้ว่า "ปัจจุบัน" ก็จะชื่อว่าไม่มีอาวัชชนะไปด้วยเช่นกัน. และเพราะในปัฏฐานตรัสว่า "อดีตธรรมเป็นอนันตรปัจจัยแห่งปัจจุบันธรรม", ดังนั้น ในที่นี้เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจขณะกาลเท่านั้น, ไม่ใช่อัทธากาลและสันตติกาล. ถ้าวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ก็จะกลายเป็นอาจกล่าวความเป็นอดีตแห่งอารมณ์ด้วยอำนาจอัทธาและสันตติแม้ในวิถีจิตวาระทั้งวาระได้ด้วย.