ผมพัฒนาจากสายปริยัติมาสู่สายปฏิบัติได้อย่างไร

**นี่คือเอกสารรุ่น/ฉบับเก่า**


ปรมัตถ์

บทความนี้ต้องทรงจำคล่องปากขึ้นใจในบาลีมาติกา(th.r.45.1.0.1)และนิทเทส(th.i.45) พร้อมทั้งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคบาลี(th.i.104)ก่อน พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของทั้งหมดนั่น, และต้องเข้าใจสัมมสนญาณกถาในวิสุทธิมรรค, รวมถึงต้องเข้าใจอุทยัพพยญาณกถา ภังคญาณกถา ในวิสุทธิมรรคด้วย โดยเฉพาะนามรูปปัสสนาการสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการ พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของแต่ละเรื่อง.

ต่อไปจะเป็นคำอธิบายสนธิอนุสนธิของขุ.ปฏิ.ญาณกถา ในธัมมัฏฐิติญาณอุทเทสแสดงการแยกปัจจัยเพื่อเอาสภาวธรรมเป็นอารมณ์(ที่นี้ ปริคฺคห>กายารมฺมณํ ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา อารมฺมณํ กโรติ) แล้วในนิทเทสอธิบายว่าเป็นการแยกปัจจัยออกเป็นอัทธากาล 3 ซึ่งรวมถึงคำว่า "ปุริมกมฺมภวสฺมิํ อิธ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยา" และ "อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ" ซึ่งในอรรถกถาอธิบายสรุปว่า เห็นกรรมและกิเลสของตนที่ีกระทำอยู่ในอดีตชาติ ซึ่งตรงกับการปฏิบัติบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยามของพระโพธิสัตว์ และตรงกับการเรียงไว้ในลำดับแรกของวิปัสสนาญาณวิชชาของวิชชา 8 ใน ที.สี.สุภสูตร.

เพราะในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาสอนแยกนามรูปแบบอัทธากาล 3 ดังอธิบายข้างต้นแล้ว มาติกาข้อถัดไปจึงสอนวิธีเอาปัจจุบันอัทธากาล 3 มาแยกจนเป็นสันตติกาล 3 สมยกาล 3 และขณะกาล 3 อรรถกถาสัมมสนญาณมาติกาจึงแสดงว่า "อทฺธาสนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ(th.r.104.12.0.43) อิธาธิปฺเปตํฯ" ในคำว่า สนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ คือ แยกอัทธาเป็นสันตติ แล้วแยกสันตติเป็นขณะ, ส่วนคำว่า สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ อิธาธิปฺเปตํ คือ ในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาแยกอัทธากาล 3 แล้ว ในสัมมสนญาณมาติกาจึงมาเอาปัจจุบันอัทธากาลนั้นมาแยกจนเป็นสันตติกาล เพื่อที่จะตามเห็นนามรูปขณะเกิดดับแบบปรมัตถ์ว่า "เอตฺถ จ ขณาทิกถาว(th.r.104.227.0.7) นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ".

ในอรรถกถา ญาณปัญจกะ บทว่า วตฺถุนานตฺเต(th.r.104.12.0.43) อธิบายสนธิอนุสนธิไว้ว่า การววัตถานนามรูป (ตั้งแต่ "อตีตานาคต… ววตฺถาเน"เป็นต้น ของสัมมสนญาณขึ้นไป) ไม่ได้กล่าวอธิบายไว้ในมาติกาญาณ 12 ท่านพระสารีบุตรจึงแสดงญาณปัญจกมาติกาต่อจากมาติกาของญาณ 12 แรก เพื่ออธิบายคำว่าววัตถานนั้น. ซึ่งในจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโสของญาณปัญจกนิทเทสนี้เอง แสดงการกำหนดวิถีจิตทีละดวงไว้ตั้งแต่ "อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา" เป็นต้นไป. ฉะนั้น เมื่อในสัมมสนญาณอุทเทสจึงดึงเอาคำว่าอัทธาในธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสนั้นมาเป็นอุทเทสของตนว่า "อตีตานาคตปจฺจุปนฺนานํธมฺมานํ" เป็นต้น แล้วอรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทสจึงแสดงกาล 3 แบ่งจากหยาบไปละเอียดได้ 4 ว่า "อดีตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, อนาคตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, และปัจจุบันแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ" ในที่นี้เองท่านจึงอธิบายคล้อยตามจริยานานัตตญาณว่า "ในคำว่า รูปอดีตไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ มุ่งหมายเอาอดีตขณะเป็นต้นเป็นหลัก ส่วนอดีตอัทธาสมยะสันตตินั้นมุ่งหมายเอาโดยอ้อม (เอตฺถ จ ขณาทิกถาว นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ)" หมายความว่า ค่อยๆ แบ่งซอยความไม่เที่ยงจากหยาบระดับปัจจุบันอัทธาไปจนกว่าจะละเอียดเป็นปัจจุบันขณะ แบบที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค รูปอรูปสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการะ และอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ.

การที่อรรถกถาทุกแห่ง แสดงการรู้วิถีจิตที่ละปรมัตถ์ขณะไว้ ก็สอดคล้องกับ ขุ.ปฏิ.ญาณปัญจกนิทเทสนี้ และสอดคล้องกับอภิธัมมปิฎกที่แสดงปรมัตถขณะของนามรูปไว้.

เมื่อท่านพระสารีบุตรสอนววัตถานเป็นการแยกนามรูปจนกว่าไตรลักษณ์จะชัดระดับขณะปรมัตถ์ไปแล้ว ผู้ปฏิบัติก็สามารถจะเห็นอุปาทอนุขณะและภังคอนุขณะของนามรูปได้ เพราะสงฺขตลกฺขณสุตฺต(th.r.19.52)และอภิ.ธ.อ.ติกมาติกา อุปฺปนฺนตฺติเก(th.r.106.88) แสดงไว้สรุปว่า สังขตธรรมเท่านั้นมีอุปาทะและภังคะอนุขณะ, ฉะนั้น ผู้ฝึกแยกนามรูปจนเห็นปรมัตถ์ขณะที่มีสังขตลักษณะอย่างนี้ จึงจะเริ่มฝึกอุทยัพพยญาณได้ เพราะการฝึกอุทยัพพยญาณทุกตำราล้วนแสดงไว้สรุปว่า เป็นการเห็นอุปาทะอนุขณะและภังคอนุขณะของขันธ์ ตั้งแต่ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคว่า จิตฺตสฺส ภงฺคํ อนุปสฺสติ(th.r.45.55), ที.ม.มหาสติปัฏฐานสูตรว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี(th.r.7.232), ตำราของพระมหาเถระรุ่นก่อนๆทั้งหลาย เช่น พระพุทธโฆสเถระ-ภงฺคกฺขเณ(th.r.151.265.0.4), พระมหานามเถระ-ภงฺคกฺขเณ(th.r.151.265.0.4), พระพุทธทัตตะเถระ-ยทุปฺปาทฏฺฐิติอาทีหิ ปสฺสโต(th.r.146.476), วิสุทธิมรรคมหาฏีกา พระธัมมปาลเถระ (เป็นทั้งพระอรรถกถาจารย์และพระฏีกาจารย์)-สนฺตติวเสน หิ รูปารูปธมฺเม อุทยโต, วยโต จ มนสิ กโรนฺตสฺส อนุกฺกเมน ภาวนาย พลปฺปตฺตกาเล ญาณสฺส ติกฺขวิสทภาวปฺปตฺติยา ขณโต(th.r.153.422) อุทยพฺพยา อุปฏฺฐหนฺตีติฯ อยญฺหิ ปฐมํ ปจฺจยโต อุทยพฺพยํ มนสิ กโรนฺโต อวิชฺชาทิเก ปจฺจยธมฺเม วิสฺสชฺเชตฺวา อุทยพฺพยวนฺเต ขนฺเธ คเหตฺวา เตสํ ปจฺจยโต อุทยพฺพยทสฺสนมุเขน ขณโตปิ อุทยพฺพยํ มนสิ กโรติฯ, พระอนุรุธาจารย์-ขณวเสน(th.r.147.64), พระสุมังคลมหาสามี-อตีตาทิขณวเสน(th.r.147.270), พระอุปติสสเถระ (วิมุตติมรรค) เป็นต้น ดังได้ยกหลักฐานมาข้างต้น.

บางมติว่า "น สาวกานํ(th.r.163.426)-สาวกไม่สามารถเห็นขณะปรมัตถ์ได้" คำนั้นข้าพเจ้าไม่พบหลักฐานจากตำราใดๆ ที่ตรงกันเลย. และเป็นมติที่ขัดแย้งกับพระบาลีจำนวนมาก เช่น ตามหลักวิถีจิตในอภิธรรมที่แม้แต่ปัญจทวารวิถีของเดรัจฉานก็สามารถรับรู้ขณะปรมัตถ์ได้ และ แม้อกุศลจิตก็รู้ขณะปรมัตถ์ได้ (อกุสลานิ(th.r.147.21.1.0)…โลกุตฺตรวชฺชิตสพฺพารมฺมณานิ) ถ้าจิตแม้อกุศลยังรู้ขณะปรมัตถ์จะมีเหตุอะไรให้กุศลจิตรู้ขณะปรมัตถ์และญาณสัมปยุตจิตแทงตลอดขณะปรมัตถ์ไม่ได้เล่า, ถ้ามีความเห็นว่าไม่สามารถเห็นปรมัตถขณะได้ ก็เท่ากับทำอริยุปวาทในพระอริยเจ้าผู้ทรงจำพระบาลีสืบกันมาทั้งหลายว่า "อภิธรรมที่เรียนสืบกันมาทั้งหมดเป็นแค่จินตนาการตามๆ กันมาเท่านั้น ไม่ได้เห็นของจริง" ซึ่งอริยุปวาทะเป็นเหตุให้เรียนพระบาลีไม่รู้เรื่องและบรรลุยาก, หรือ หลักฐานข้างต้นที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาก่อนนั้นทั้งหมด ก็ล้วนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน. ความจริง ขณะปรมัตถ์มีอยู่แล้วและหมู่สัตว์ก็รู้จักอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก แต่ไม่มีใครสามารถจะแยกนามรูปปรมัตถ์ขณะในทุกอย่างจนเหลือเพียงฆนวินิพโภคสัญญาอันเป็นปหานปริญญาได้แบบที่พระพุทธเจ้าทำได้เป็นพระองค์แรก.

ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายที่มีในโลกที่ข้าพเจ้าเคยศึกษามา ข้าพเจ้าไม่พบคำสอนใดเลยที่สอนเรื่องนามรูปนับไม่ถ้วนเกิดดับล้านๆครั้งในเสี้ยววินาที แม้แต่วิทยาศาสตร์ที่รู้ว่าอนุภาควิ่งได้ไวมากนั้น ก็ยังถือว่าอนุภาค 1 วินาทีนั้นเป็นอนุภาคเดียวกันทั้ง 1 วินาที ไม่ได้เกิดดับแค่เคลื่อนที่เร็ว, หรือ เรื่องแสงปริกัมโมภาสซึ่งเป็นของปรากฎได้ยากก็ยังมีกล่าวถึงในลัทธิอื่น แต่เรื่องนามรูปปรมัตถ์นี้ไม่เคยมีลัทธิไหนกล่าวถึงสมบูรณ์แบบในระดับสภาคฆฏนามาก่อนและก็จะไม่มีต่อไปในอนาคตด้วย. และข้าพเจ้าไม่พบวิธีใดๆ ที่จะสอนเรื่องเกิดดับปรมัตถ์นี้ให้รู้เรื่องได้ง่ายเลย นอกจากการทำฌานสมาธิแล้วแยกนามรูปไปตามลำดับเป็นระบบตามพระอริยเจ้าผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีสอนสืบๆกันมา. บัณฑิตทั้งหลาย ควรเรียนเอาพระกรรมฐานและพระไตรปิฎกทั้งปวงจากผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีอย่างเช่นพะอ็อคตอยะสยาดอเถิด เพราะท่านเป็นผู้มีความละอาย ผู้ทรงจำสืบต่อจากพระอริยเจ้ารุ่นก่อนๆ ผู้ชำนาญกรรมฐานทั้งปวงและผู้ทบทวนพระไตรปิฎกบาลีมาแล้วถึง 6 รอบ. อย่าประมาทว่าจะสามารถอ่านเรื่องพวกนี้แล้วแทงตลอดได้เองเลย เพราะพระเถระทั้งหลายจะตำหนิเอาเป็นแน่ ดังที่มีมาแล้วว่าแม้ผู้ทรงจำนิกายทั้ง 5 ก็ถูกตำหนิ เพราะไม่ได้เรียนวิธีรักษาพระบาลีสืบต่อจากผู้ทรงจำพระไตรปิฎกรุ่นก่อนๆใน วิสุทฺธิ. คนฺโถ(th.r.150.92) ปลิโพโธ แสดงไว้.

ตอบว่า การทำฆนวินิพโภคะจนเห็นนามรูปขณะปรมัตถ์เกิดดับ คือ จุดสูงสุดของการแยกนามรูปขั้นที่ไม่หลงเหลือนามรูปใดๆ ที่ไม่ได้แทงตลอดด้วยทุกฺเข ญาณํ และทุกฺขสมุทเย ญาณํ. ตัวอย่างเช่น เหตุให้คาหะ 3 ยังเกิดได้ในฌานลาภีปุถุชนบุคคลที่ไม่ได้เข้าสมาบัติอยู่ เพราะปุถุชนแม้ได้ฌานวสีก็ไม่สามารถเห็นคาหะ 3 ตัณหาทิฏฐิมานะปรมัตถ์ได้ เนื่องจากยังแยกแยะนามรูปจนเป็นขณะปรมัตถ์อย่างชำนาญในภพ 3 ในกาลทุกเมื่อไม่ได้, อุปมาเหมือนบุตรผู้มีแม่ดูแลแม่ได้ แต่เมื่อแม่เจ็บป่วยหนัก ก็ไม่อาจผ่าตัดให้แม่ได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องอะตอมและอนุภาคพอจะผ่าตัดอย่างที่หมอใหญ่ต้องมี ฉันนั้น ผู้ได้ฌานนอกศาสนาก็เหมือนบุตร การดูแลแม่ก็เหมือนฌานจิตที่ป้องกันนิวรณ์ 5 ได้ แต่ไม่อาจผ่าตัดความเจ็บป่วยหนัก คือ อนุสัยได้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องอะตอมอนุภาคพอจะผ่าตัด คือ ฆนวินิพโภคะ อย่างที่หมอใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าจะต้องมี. แต่เมื่อทำวินิพโภคะฆนะ 4 จนชำนาญ ก็ไม่มีคาหะใดหลุดรอดสายตาไปได้. เมื่อเห็นคาหะ 3 ในนามรูปขณปรมัตถ์ได้ตรงตามเป็นจริง สักกายทิฏฐิก็ไม่สามารถมีช่องให้เกิด อธิบายว่า ที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นปัจจัยปัจจยุปบันผิดเพี้ยนอย่างชำนาญ, ที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ คือ เห็นขันธ์ 5 ผิดเพี้ยนปัจจัยปัจจยุปบันอย่างชำนาญ, ที่ชื่อว่า ปัสสนา คือ เห็นชำนาญก็ได้ ยังไม่ชำนาญก็ได้, ที่ชื่อว่า อนุปัสสนา คือ ฝึกการเห็นนั้นแหละให้ชำนาญกลายเป็นทิฏฐิ, ที่ชื่อว่า ทิฏฐิ คือ เห็นอย่างชำนาญ, ในคำว่าปัญญากับญาณ,ปชานาติกับญาณ, ปชานาติกับสัมปชัญญะ แห่งมาติกาปฏิสัมภิทามรรคญาณกถาและมหาสติปัฏฐานสูตรก็อธิบายโดยนัยเดียวกันนี้ เพราะในที่นี้เป็นปัญญัตติหาระ แต่บางแห่งก็เป็นเววจนหาระเช่นในธัมมสังคณี. จริงอยู่ ปุถุชนผู้ไม้ได้สดับพระพุทธเจ้า แม้เขากำลังอ่านธรรมะอยู่ก็ตาม ฟังธรรมอยู่ก็ตาม สนทนาธรรมอยู่ก็ตาม ตัณหาทิฏฐิมานะก็ตามยึดถือจิตฟังธรรมเป็นต้นนั้นที่เป็นไปอยู่กว่าล้านๆครั้งในเสี้ยวินาทีก็เหมารวมอยู่เป็นก้อน 1 วินาทีว่า "ก้อนจิต 1 วินาทีนี้เป็นกุศลทั้งหมด มีทวารอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งกุศลทั้งหมด" เป็นต้น ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากปัจจัยปัจจยุปบันตามที่เป็นจริงที่ 1 วินาที มีกุศลอกุศลวิบากกิริยาเกิดสลับกันมากมาย, แต่เมื่อได้สดับญาณปัญจกนิทเทสจึงทำนามรูปววัตถานญาณแทงตลอดปัจจัยได้ว่า "ทสฺสนตฺถาย อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา วิญฺญาณจริยา รูเปสุ, ทสฺสนฏฺโฐ จกฺขุวิญฺญาณํ วิญฺญาณจริยา รูเปสุ" เป็นต้น จึงเข้าฌานให้เป็นบาท แยกนามขณะได้ว่า "อย่างนีี้อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา, อย่างนี้จกฺขุวิญฺญาณํ" และแยกได้ว่า "อย่างนี้สราคา จรติ ไม่ใช่ นีราคา จรติ" เมื่อเห็นนามรูปทางทวาร 6 เกิดดับอยู่อย่างนี้เป็นปัสสนา เป็นปัญญา เป็นปชานาติ, เมื่อทำให้ต่อเนื่องก็เป็นภาวนา เป็นอนุปัสสนา เป็น สัมปชานการี เป็นญาณ, ในขณะจิตเดียวที่ขันธ์กับไม่เที่ยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมกับกิเลสขาดสะบั้นลง พร้อมกับจิตมีอารมณ์เป็นนิพพาน และพร้อมกับวิปัสสนาถึงระดับอัปปนาฌาน ขณะนี้แหละชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอริยสัจจญาณทั้ง 4 ถึงที่สุดรอบ ปฏิเวธะแทงตลอดทุกอย่างที่ฝึกมาได้ในขณะเดียว.

ตอบว่า จิตที่ไม่อาจรวมเป็นหนึ่งด้วยอำนาจโลกุตตรอัปปนาสมาธิ แม้ถึงยอดของวิปัสสนา (สิขัปปัตตะ) อย่างเช่นภังคญาณ ก็ไม่อาจมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้. จริงอย่างนั้น ตำราบาลีของโบราณาจารย์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าแสดงไว้ข้างต้น ข้าพเจ้ามองเห็นสนธิอย่างนี้ว่า 'ถ้ายังต้องพิจารณานามรูปละเอียดเป็นอดีตอนาคตปัจจุบันเป็นต้นอยู่ จิตก็ไม่อาจได้แม้เพียงพลววิปัสสนาสมาธิ จะป่วยกล่าวไปใยถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิเล่า?' ที่ข้าพเจ้าเห็นสนธิอย่างนั้น เพราะพลววิปสฺสนาสมาธิ(th.r.104.117)ในมาติกา ขุ.ปฏิ. ภังคญาณมาติกาว่า วิปสฺสเน ญาณํ(th.r.45.1.0.1) ซึ่งท่านเรียกว่า วิปสฺสนาสิขํ ญาณํ(th.r.104.20) ซึ่งในอภิ.วิ. แสดงภาวนามยปัญญาหมายถึงอัปปนาสมาธิว่า สพฺพาปิ สมาปนฺนสฺส ปญฺญา ภาวนามยา ปญฺญา(th.r.50.337) ซึ่งธรรมที่ใกล้ของอัปปนาสมาธิก็คือ อุปจารสมาธิและพลววิปัสสมาธิข้างต้น ซึ่งมีองค์เหมือนกัน คือ 1. ต้องไม่มีอกุศลเกิดแทรก (สมถะไม่มีนิวรณ์, วิปัสสนาไม่มีคาหะ 3) 2. มีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติของอารมณ์กรรมฐานชัดเจนเจิดจ้า ทั้ง 2 ภาวนาชัดทั้งคู่ แต่สมถะเลือกทิ้งปรมัตถ์ถือเอาบัญญัติเพื่อออกจากกาม ส่วนพลววิปัสสนาสมาธิทิ้งภพ 3 ด้วยการถือเอาไตรลักษณ์บัญญัติ ซึ่งเป็นตัวแทนของนิพพาน เนื่องจากไม่สามารถมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้แบบปฏิภาคนิมิตของอุปจารสมาธิ (สมถะมีปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิตที่เกือบจะเป็นปฏิภาคนิมิต เช่น จตุธาตุมีก้อนแสงกลาปะเป็นอารมณ์คู่ไปกับธาตุ 4). เพราะเหตุนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรแสดงการพิจารณานามรูปอย่างละเอียดนับไม่ถ้วนทั้งโดยอัทธาสมยะสันตติและขณะในธัมมัฏฐิติญาณและสัมมสนญาณไปแล้ว กลับแสดงแต่เฉพาะขณะปัจจุบันในอุทยัพพยญาณ และเพิกเฉยต่ออดีตและอนาคตด้วยการแสดงปัจจักขญาณแยกออกจากอนุโพธญาณไว้ในภังคญาณ เพราะความที่วิปัสสนาถึงความแก่รอบแล้ว แต่วิปัสสนาสมาธิยังไม่ถึงความแก่รอบถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ.

ตอบว่า ในอนัตตลักขณสูตรนั้นพระปัญจวัคคีย์เป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคลผู้ได้ฌานวสีมาก่อนแล้วและมีบารมีถึงพร้อม เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติกับพระโพธิสัตว์ซึ่งได้สมาบัติ 8 มาก่อนจะได้ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเสียอีก จึงไม่ใช่ฐานะจะเอามาเปรียบเทียบกับการแสดงกรรมฐานอย่างละเอียดสำหรับบุคคลทุกเหล่าอย่างในมาติกาปฏิสัมภิทามรรคนั้นได้ เพราะอุคฆฏิตัญญูบุคคลผู้มีบุญญาธิการสามารถจะทำจิตให้เป็นพลววิปัสสนาสมาธิและโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้โดยไม่ลำบาก แต่ฐานะอย่างนั้น บุคคล 3 ที่เหลือไม่อาจทำได้โดยง่าย. อธิบายว่า บุคคลมี 4 โดยสีหวิกกีฬิตนัยในเนตติปกรณ์ เทสนาหารวิภังค์ ในบุคคล 4 นั้น เป็น 3 โดยอังกุสนัย ในบุคคล 3 นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลจะทำอะไรก็สำเร็จอัปปนาได้อย่างรวดเร็ว คือ ได้สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4 สัมมัปปธาน 4 ไม่ยาก ท่านจึงแสดงข้ามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไปที่สัจจะ 4 ได้เลยว่า "ทิฏฺฐิจริโต อุทตฺโต(th.r.46.5.0.5) ปญฺญินฺทฺริเยน สุขาย ปฏิปทาย ขิปฺปาภิญฺญาย นิยฺยาติ สจฺเจหิ นิสฺสเยหิฯ" เพราะด้วยบุพเพกตปุญญตาเป็นต้นทำให้อุคฆฏิตัญญูบุคคลได้อยู่ในปฏิรูปเทสที่ไม่มีพาลบุคคลเป็นต้นจึงตั้งจิตได้ตรงโดยง่ายมาก่อน, แต่บุคคล 3 ที่เหลือหาได้เป็นเช่นนั้นไม่. เป็นความจริงทีเดียวว่า พระปัญจวัคคี อาฬารดาบส ชฏิละและอุปติสมาณพทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ชำนาญในกุศลได้ฌานไม่ยากมาตั้งแต่ก่อนจะตรัสรู้ทั้งนั้น.

ด้วยเหตุผลโดยประการทั้งปวงข้างต้น จึงไม่สมควรตามยุตติหาระที่จะยกอนัตตลักขณสูตรซึ่งแสดงกับอุคฆฏิตัญญูบุคคลมาสมอ้างกับมาติกาปฏิสัมภิทามรรคที่แสดงกับบุคคลทุกประเภทจนทำให้ผู้ปฏิบัติถึงยอดของวิปัสสนาแล้วไขว้เขว่จิตไม่อาจตั้งมั่น ไม่อาจทำจิตให้ถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้ตามที่ในอุทยัพพยญาณและภังคญาณแนะนำให้เพิกเฉยต่อการพิจารณาอดีตอนาคตไว้ เพื่อพอกพูนพลววิปัสสนาสมาธิจนกว่าจะถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ.

ตอบว่า กรณีท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุเมื่อเทียบกันก็เท่ากับนิทเทสแห่งมาติกาปฏิสัมภิทามรรคที่มีความยาวและเป็นลำดับจึงจะถูก แต่ไม่อาจเทียบกับอนัตตลักขณสูตรที่มีความย่อปรับแต่งเฉพาะบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าได้ เพราะในพระไตรปิฎกบาลีโดยมากถ้าคฤหัสถ์ที่จะบรรลุนั้นบรรลุในทีแรกที่ฟังธรรมเลย ก็มักจะย่อธรรมที่แสดงกับคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่มาณพปริพาชกนักบวรที่สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันในสูตรนั้นไว้ เพราะเนื้อหามีความยาวมาก เมื่อจะไม่ย่อก็จะยาวมากดังที่สามัญญผลสูตรกะพระเจ้าอชาตสัตตุไว้ ซึ่งยากต่อการท่องจำในระบบมุขปาฐะจึงย่อไว้. แม้คฤหัสถ์ที่บรรลุในธัมมบทและชาดกท่านก็ทำสนธิอนุสนธิไว้อย่างนี้เช่นกัน คือ ถ้าเป็นครั้งแรกก็แสดงยาวมากแล้วย่อไว้ว่าเป็นอนุปุพพิกถาบ้าง เป็นมัคคสัจในอริยสัจจกถาบ้าง (ซึ่งก็ย่อในย่ออีกที) แต่ถ้าผู้ฟังเคยติดตามฟังจำธรรมของพระพุทธเจ้ามาก่อนแล้วจึงอาจจะแสดงสั้นลงก็น่าจะเป็นไปได้. เป็นความจริงว่า ผู้ที่อ่านฉบับแปลเอาเองไม่ได้ทรงจำในระบบมุขปาฐะกะผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีที่ชำนาญกรรมฐาน อย่างเช่นพะอ็อคตอยะสยาดอ เป็นต้น จะไม่สามารถขยายบท 6 อรรถ 6 ที่ย่อไว้เหล่านี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้เลย เขาผู้ประมาทในพระอริยเจ้าทั้งหลายก็จะสัมพันธ์บทต่างๆ ในพระไตรปิฎก ด้วยอำนาจคาหะ 3 บ้าง ด้วยอำนาจความเคยชินของตนเองบ้าง ซึ่งอาจไม่สมควรต่อพุทธพจน์และบางครั้งอาจไม่เหมาะกะผู้ฟังทำให้ไม่อาจเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ เหตุนี้พระเถระในสมัยโบราณจึงได้ตำหนิการเรียนผิดวิถีนี้ไว้ในเรื่องใน วิสุทฺธิ. คนฺโถ(th.r.150.92) ปลิโพโธ. ฉะนั้น ไม่สมควรจะกล่าวเปรียบเทียบว่า "ในอนัตตลักขณสูตรท่านแสดงการพิจารณานามรูปในอดีตอนาคตปัจจุบันแก่บุคคลผู้ไม่มีบุญและไม่ได้ฌานวสีมาก่อน" นั้นไปเองว่าเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงแสดงกะท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุ แต่ควรจะกล่าวว่า "สูตรที่แสดงกะคฤหัสถ์อย่างท่านพระยสกุลบุตรหรือพระเจ้าอชาตสัตตุนั้น แสดงละเอียดเป็นเช่นเดียวกับมาติกาปฎิสัมภิทามรรคที่ข้าพเจ้าได้แสดงไว้ข้างต้น".

ตอบว่า คำถามนั้นตั้งขึ้นผิดด้วยอำนาจตัณหาทิฏฐิมานะ ความไม่เคารพเพื่อนสหธรรมิกตีตัวเสมอท่านลบหลู่คุณท่าน และความที่ไม่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรผู้โจทก์ผู้เป็นอุปัชฌาย์จารย์ผู้เป็นธัมมกถิกะ เป็นต้น. อธิบายว่า คำว่า "คนสมัยนี้" แสดงให้เห็นถึงการไม่แยกนามรูปจนเป็นขณะปรมัตถ์ จึงได้กล้าที่จะทำอุปวาทะรวมๆ ที่ได้ใจความลบหลู่คุณคนสมัยนี้ทั้งหมดว่า "คนสมัยนี้แค่เพียงญาตปริญญาก็ไม่ได้แล้ว" ทั้งๆที่ ตามเป็นจริงแล้ว คนที่ทำได้ก็มีและคนที่ทำไม่ได้ก็มี ผู้พูดกลับสำคัญเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันหมดว่า "คนสมัยนี้ไม่ได้ญาตปริญญา". และที่กล้าทำอุปวาทะตั้งคำถามเช่นนี้ ก็เพราะไม่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรผู้โจทก์ผู้เป็นอุปัชฌาย์จารย์ผู้เป็นธัมมกถิกะนั่นเอง, เป็นความจริงว่า ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติกล่าวพลาดเพี้ยน เช่น เมื่อพลาดไปลวกๆอ่านค้นคว้าภิกขุนิขันธกะและอรรถกถาแปลเรื่องอายุพระศาสนาเป็นต้นโดยปราศจากฌานวสีและความชำนาญในพระบาลี ก็จะเข้าใจผิดและตั้งคำถามที่ปรามาสคุณธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายเช่นนั้นได้ง่ายๆ เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้มักง่ายอ่านผ่านๆเอา ไม่ได้เรียนปริยัติและปฏิบัติด้วยมุขปาฐะสืบต่อมาจากพระอริยเจ้าที่มีคุณสมบัติดังกล่าวตามที่พระวินัยปิฎก ตำราบาลี และพระโบราณเถระทั้งหลายย้ำไว้เป็นอย่างหนักมากๆ. เป็นความจริงอีกว่า ผู้ที่ตั้งคำถามเช่นนั้น เมื่ออ่านภิกขุนิขันธกะและอรรถกถาแปล จิตที่มีปัญญาทุรพลของเขาก็ไม่อาจแทงตลอดตำราทั้งหลายที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้เข้าใจถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าและพระโบราณเถระทั้งหลายได้ เพราะมีความลึกซึ้งมากเกิน 10 แหล่งอ้างอิง จึงเกินปัญญาของเขาที่จะแทงตลอดทั้งหมดนั่น.

อธิกรเช่นนี้เป็นของหนัก เป็นอันตรายต่อผู้กล่าว และเป็นเหตุเสื่อมแห่งศาสนาที่ร้ายแรง จงอย่าประมาทในการเปล่งวาจาแม้เล็กน้อยเถิด เพราะจิตเป็นของไปไว ทำให้ปากไวปากพล่อยไปด้วย อันตรายเกินจะเปรียบได้. ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวให้หนักขนาดนี้เลย ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่ร้ายแรงและเป็นอันตรายจริงๆ.

บาลี

อาจารย์

องค์ของผู้โจทก์ องค์ของกัลยาณมิตร องค์ของอุปัชฌาย์ อุคคหปริปุจฺฉาสวนธารณสัมมสนปฏิเวธปัจจเวกขณะ

ลูกศิษย์

ถามว่า จตุธาตุมีก้อนแสงกลาปะเป็นอารมณ์คู่ไปกับธาตุ 4 ได้อย่างไร ในเมื่อวิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า เสสานิ อนิมิตฺตตฺตาฯ(th.r.150.109)? ตอบว่า ในที่นั้นวิสุทธิมรรคระบุไว้ชัดเจนว่าหมายถึงปฏิภาคนิมิตเท่านั้น ปฏิภาคนิมิตฺตญฺหิ วฑฺเฒตพฺพํ นาม ภเวยฺยฯ พุทฺธานุสฺสติอาทีนญฺจ เนว '''ปฏิภาคนิมิตฺตํ''' อารมฺมณํ โหติ, ตสฺมา ตํ น วฑฺเฒตพฺพนฺติ เอวํ วฑฺฒนาวฑฺฒนโตฯ(th.r.150.109), มหาฏีกาก็เช่นกัน. สมถะกรรมฐานทุกกองมีปริกัมมนิมิตที่มาทดแทนนิมิตและอนุพยัญชนะ (กามคุณ 5) ดังนั้นใน ที.สี.สุภสูตรท่านจึงแสดงอินทริยสังวรไว้ในสมาธิขันธ์ว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหี(th.r.6.188.0.17) กรรมฐานทุกกองแยกสภาวะแล้วถือเอา (ปริคฺคห) โดยสมถะแยกแล้วถือเอาที่แยกเป็นก้อนรวมๆ เพื่อถือเอาบัญญัติที่ไม่ใช่กามคุณ 5 ส่วนวิปัสสนาแยกแล้วถือเอาเป็นสภาวะแต่ละอย่างๆ ที่แม้เป็นกามคุณ 5 แต่มีไตรลักษณ์บัญญัตซึ่งเป็นเหตุแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ดังท่านกล่าวไว้ว่า กายปริคฺคาหิกนฺติ วุตฺเต สมโถ กถิโต โหติ, กายารมฺมณนฺติ วุตฺเต วิปสฺสนาฯ(th.r.72.102) หมายความว่า กรรมฐานทุกกองมีทั้งบัญญัตและปรมัตถ์เป็นอุคคหนิมิต แต่จิตถือเอากรรมฐานบัญญัต (ปฏิภาคนิมิตหรือกรรมฐานนิมิตนั้นๆ) เมื่อทำสมถะทุกกองจนถึงอุปจารสมาธิ โดยกรรมฐานที่ไม่ถึงอัปปนาทุกกองแม้แต่พุทธคุณก็มีกามคุณเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจปัจจัยปัจจยุปบันที่ถูกพิจารณาในสมถะกองนั้นๆ เหตุนี้แม้เมื่อจิตชำนาญจนเห็นอุคคหนิมิตบัญญัติแล้วก็ออกจากกามคุณที่เป็นอารมณ์ไม่ได้ จึงหยุดอยู่แค่อุปจารสมาธิที่มีปริกัมมโอภาสคืออาโลกสัญญาที่เป็นปฏิปักข์ของถีนมิทธะนิวรณ์เป็นอารมณ์สลับกับอารมณ์ภาวนาที่เป็นปรมัตถ์ ส่วนพลวิปัสสนานั้นไม่อาจเป็นอุปจาระได้ เพราะไม่สามารถมีอารมณ์เดียวกับอัปปนาของตนคือนิพพานได้ด้วย ไม่มีอนุสัยเกิดอยู่ให้ข่มด้วย ทั้งยังมีกามคุณเป็นอารมณ์คู่ไปด้วย และกรรมฐานทุกกองมีปริกัมมโอภาสคืออาโลกสัญญาปรากฎเมื่อสามารถข่มนิวรณ์ได้ด้วยขณิกสมาธิหรือตรุณวิปัสสนาสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง. ปริกัมมโอภาสนี้ ในพระสูตรท่านเรียกว่าอาโลกสัญญา ในพระสูตรจำนวนมากเป็นศัพท์ที่ปรากฎก่อนแสดงฌาน 4 เพราะเมื่อทำฌานแล้วก็กลายเป็นศัพท์ที่ใช้ในจตุตถฌานว่า ปริโยทาต (ขาวรอบ) หมายถึงจิตที่เบาอ่อนควร ซึ่งใช้ในวิชชาทั้ง 8 ที่เรียกว่าอธิปัญญาด้วยว่า ปริโยทาเต.

ถ้าไม่ทรงจำกาลามสูตรทั้งสูตรด้วยสนธิบาลี

ภาวนา